“ซึมเศร้า” รักษาได้ ไม่เฉพาะคนรวย อธิบดีฯ ยืนยัน “6 แสน” ขึ้นกับ “อาการ+วีไอพี”
** อย่าเพิ่งเหมารวม-เข้าใจผิดว่า “โรคซึมเศร้า = โรคของคนรวย” **
“ค่ารักษาพยาบาล 6 แสน ไม่ต้องรักษากูก็ได้นะ ถ้าจะแพงขนาดนี้ สั..นรก”
“ปล่อยกูไปตามทางของกูเถอะ”
หลัง IG Story ของแรปเปอร์ดัง “UrboyTJ” (เต๋า-ทีเจ จิรายุทธ ผโลประการ) ปล่อยถ้อยคำอันน่าเป็นห่วงครั้งล่าสุดออกมา
ในระหว่างขอพักงานไปรักษาตัว จากอาการป่วยซึมเศร้า-ไบโพลาร์ คำถามเรื่อง “โรคซึมเศร้า = โรคของคนรวย” ก็ผุดขึ้นมาเต็มโซเชียลฯ
และเพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือที่สุด ทางทีมข่าวจึงติดต่อไปยัง “พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์” อธิบดีกรมสุขภาพจิต เพื่อให้ช่วยวิเคราะห์เรื่องนี้ จนได้คำตอบว่า...
มีความเป็นไปได้ที่ค่ารักษาจะพุ่งถึงหลักแสน แต่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ, การเลือกระดับความพิเศษของการรักษา และระยะเวลาว่าต้องใช้เวลานานหลายปีแค่ไหน
“โรคซึมเศร้าคือโรคที่มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ความรุนแรงน้อย ถึงรุนแรงมากๆ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องการมีโรคร่วม หรือโรคแทรกซ้อน ฉะนั้น รูปแบบการรักษาคงต้องหลากหลายไปตามพื้นฐานของผู้ป่วยแต่ละราย
และโรคซึมเศร้ายังเป็นโรคเรื้อรังด้วยนะคะ เพราะฉะนั้น อาจจะใช้ระยะเวลาในการรักษานานพอสมควร ผู้ป่วยบางรายเป็นต่อเนื่องหลักหลายปีเลย
ถ้าหากรวมทั้งหมดเลย เนื่องจากความยาวนานของการรักษาโรคด้วย อาจจะมีค่ารักษาที่สูงขึ้นตามระยะเวลา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นไปตามรายละเอียดอื่นๆ ด้วยค่ะ
เท่าที่คุณหมอทราบมา ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางรายอาจจะมีข้อจำกัดของบริบทครอบครัว ก็เลยเลือกที่จะพักอยู่ในโรงพยาบาล เพื่อที่จะปลีกออกจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นแรงกดดัน คือเลือกนอนในโรงพยาบาล
และเรื่องการเลือกนอนในโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน ก็มีรูปแบบการรักษาที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะต้องการห้องที่พิเศษมาก-พิเศษน้อย
ซึ่งค่าห้อง ถ้าเป็นระบบเอกชนเท่าเคยได้ยินมา ก็จะมีตั้งแต่หลักร้อย, หลักพัน, หลักหมื่นต่อวัน เพราะเป็นที่ทราบว่าในหลายๆ โรงพยาบาล เทียบเท่าโรงแรม 5 ดาวเลย ซึ่งกรณีเช่นนี้ก็ต้องเป็นไปตามกลไก
แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนนึงสามารถรองรับตรงนี้ได้ และยินดีที่จะเลือกด้วย ก็อาจต้องจ่ายพอสมควรเลยค่ะ”
ย้ำว่าอย่าเพิ่งเข้าใจผิด คิดว่าจะรักษาโรคซึมเศร้าได้ “ต้องรวย” เท่านั้น เพราะถ้าพึ่งระบบของโรงพยาบาลรัฐ และศึกษาเรื่องสิทธิต่างๆ ให้ดี จะได้รับ “การรักษาฟรี” ถ้าไม่ติดข้อจำกัดอะไร
“ถ้าเป็นโรงพยาบาลภาครัฐ ไม่ต้องมีเงินก็อยู่รักษาได้ค่ะ เพราะระบบประกันสุขภาพรองรับตรงนี้อยู่แล้วในสิทธิบัตรทอง
โรคซึมเศร้าไม่ว่าจะอาการน้อย หรืออาการมาก ในระบบการรักษาของกระทรวงสาธารณสุข ในโรงพยาบาลรัฐสามารถให้การรักษาได้
และมีสิทธิเบิกจ่าย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์เบิกจ่ายของกรมบัญชีกลาง, สิทธิประกันสังคม และสิทธิประกันสุขภาพ
แต่ที่ยังมีข้อจำกัดอยู่คือ ระบบประกันของบริษัทประกันต่างๆ ยังมีหลายแห่งที่ยังไม่ครอบคลุมถึงผู้ป่วยซึมเศร้า ซึ่งเป็นจุดที่ควรได้รับการแก้ไขค่ะ
และเนื่องจากทาง สปสช.(สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) อาจจะมีข้อจำกัดอยู่ว่า อาจจะเข้ารักษายังไม่ได้ทุกที่เหมือนกับโรคมะเร็ง
ซึ่งเราก็มีความกังวลอยู่ว่า ถ้าผู้ป่วยสามารถเข้ารักษาโดยที่ไม่ต้องกังวลว่า ตัวเองอยู่ในพื้นที่ไหน จึงจะรักษาในโรงพยาบาลนั้นได้
โดยเฉพาะผู้ป่วยทางจิตที่อาจจะมีมุมมองบางอย่างที่ไม่ได้ปรับตัวง่ายนัก ก็เลยกลายเป็นว่าจะต้องไปที่นี่เท่านั้น ถ้าไม่ได้เป็นไปตามสิทธิจะยอมจ่ายสตางค์เอง
แต่พอจ่ายสตางค์เอง และใช้ระยะเวลานานขึ้น ก็อาจจะเป็นความสิ้นเปลืองที่น่าเสียดายนะคะ
แต่เข้าใจว่ารายที่เป็นข่าว ที่บอกว่าจ่ายในราคาหลักแสน ไม่น่าจะเป็นระบบของรัฐนะคะ และถ้ารักษาโรงพยาบาลเอกชน กินเวลาหลายปีก็อาจจะมีความเป็นไปได้อยู่
และจริงๆ แล้ว ระบบการรักษาโรคทั้งหมด จะมีมาตรฐานทางการรักษาอยู่ ทั้งโรคทางกายหรือโรคทางจิตค่ะ กลไกการรักษาก็จะเป็นไปในระดับมาตรฐานเดียวกัน
แต่ข้อแตกต่างจะคล้ายๆ โรคทางกาย เช่น ความพึงพอใจต่อตัวผู้รักษา, ความสะดวกสบาย, ความรวดเร็ว, ความรู้สึกคุ้นชินกับสถานที่และบรรยากาศ
จุดนี้อาจจะมีผลต่อค่ารักษาพยาบาล โดยเฉพาะในกลุ่มของ 'โรงพยาบาลเอกชน' ค่ะ แต่ในกรณีนี้เราไม่ทราบรายละเอียดว่า เกิดขึ้นเพราะอะไร ถ้าเป็นข้อกังวล อาจจะต้องติดตามเพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้เกิดความสบายใจ
รวมถึงมีการให้ทางเลือกที่ทำให้ผู้ที่กำลังรู้สึกแย่แบบนี้ ได้มีทางออกที่ดีด้วยนะคะ เดี๋ยวหมอจะให้ทางทีมงานตามข่าว และดูว่าจะมีจุดไหนที่จะช่วยกันได้”
จากการอัปเดตเรื่องการรักษา ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา บน IG ของ “เต๋า UrboyTJ” ระบุว่ารักษาด้วย “Electroconvulsive Therapy” หรือการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ช็อกไฟฟ้า)
“ตอนนี้ผมอยู่ ICQ ในโรงพยาบาลแห่งนึง ผมรู้สึกเหมือนโดนจับเข้าคุกยังไงก็ไม่รู้ มีกล้องวงจรปิด มีกระจกกันกระสุน
หลายคนคงคิดว่าดีแล้วไง จะได้ไม่ทำร้ายตัวเอง แต่ผมกลับรู้สึกเหมือนผมอยู่ในคุก ที่จะทำอะไรก็ไม่ได้ ไปไหนก็ไม่ได้ อยู่ในห้องเล็กๆ ใส่เครื่องช่วยหายใจ
นี่คือประสบการณ์ครั้งแรกใน ICQ ของผม และผมก็ไม่ชอบมันมากๆ”
จากมุมมองของแพทย์แล้ว อธิบดีกรมสุขภาพจิตมองว่า การออกมาโพสต์ตัดพ้อของผู้รับการรักษา อาจเกิดจากความรู้สึกวิตกกังวล จึงจำเป็นต้องแยกเรื่องความรู้สึกออกจากข้อเท็จจริง
“กรณีของความรู้สึกวิตกกังวลต่อการรักษา ในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางจิตเวชก็มีความเป็นไปได้ว่า อาจจะมีมุมมองที่รู้สึกไม่มีคำตอบ-สับสน
จนทำให้เห็นปัญหาที่มีอยู่มากมาย ท่วมท้นขึ้นไปเรื่อยๆ ได้ ก็คงจะต้องหาข้อเท็จจริงว่า ตัวผู้ป่วยแต่ละรายกำลังเผชิญอยู่นั้นคืออะไร
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลเลยค่ะ ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรฐานการกำกับควบคุมของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งต้องหาข้อมูลกับทางกรมสนับสนุนบริการเพิ่ม
“ถ้าจะจำแนกหลักๆ ก็คงจะมีการรักษาแบบ 'ผู้ป่วยนอก' กับ 'ผู้ป่วยใน' โดยหลักการแล้ว ไม่ได้ต่างกับการเจ็บป่วยทางร่างกาย
โดย 'ผู้ป่วยนอก' คือกลุ่มที่อาการไม่รุนแรงมากนัก แต่ 'ผู้ป่วยใน' มักจะใช้กับผู้ป่วยที่อาการค่อนข้างรุนแรง และอาจมีโรคอื่นๆ ทั้งโรคทางกายหรือโรคทางจิตก็แล้วแต่
รวมถึงอาจจะมีประเด็นแทรกซ้อน หรือมีความไม่พร้อมของสิ่งแวดล้อมรอบตัว ที่จะรองรับหรือดูแลผู้ป่วยให้ดีขึ้นจากโรค หรือปลอดภัยได้
และไม่ว่าจะเป็น 'ผู้ป่วยนอก' หรือ 'ผู้ป่วยใน' คงต้องรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ และการรักษาก็มีตั้งแต่การรักษาด้วยยา ซึ่งมีความหลากหลายอีกเช่นกัน แล้วแต่รายละเอียดความเจ็บป่วยของผู้ป่วยรายนั้นๆ
แต่สิ่งที่แตกต่างจากโรคทางกายอื่นๆ คือในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง อาจจะมีการใช้เครื่องมือ ใช้อุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติมทางด้านจิตเวช
และอาจจะมีเรื่องการให้คำปรึกษา ทำจิตบำบัด หรือทำกลุ่มบำบัด รวมถึงเรื่องการฟื้นฟูทางด้านจิตใจอีกหลากหลายรูปแบบ ซึ่งตรงนี้มีรายละเอียดแตกต่างกันไป
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าเข้าข่าย หรือต้องการคำปรึกษา สามารถโทร.สอบถามเบื้องต้นที่ call center 1323 ได้เลยค่ะ หรือเข้าไปใน 'หมอพร้อม' ก็ได้นะคะ
จะมีการประเมินสุขภาพจิต และมีแอปฯ ที่จะช่วยประเมิน-ให้คำปรึกษาเบื้องต้นได้ รวมถึงสามารถติดต่อไปที่โรงพยาบาลจิตเวชได้ทุกแห่ง”
ทางนั้นจะมีข้อกำหนดว่าต้องแจ้งค่ารักษากับผู้ป่วยก่อน ซึ่งตรงนี้ตรวจสอบได้ ไม่ใช่เข้าไปแล้ว สุดท้ายจะเคว้ง ไม่น่าจะเป็นแบบนั้นนะคะ”
สกู๊ป : ทีมข่าว MGR Live
รายละเอียดเพิ่มเติม : "แฟนเพจ 1323 ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต"
https://mgronline.com/live/detail/9650000064042
“ซึมเศร้า” รักษาได้ ไม่เฉพาะคนรวย อธิบดีฯ ยืนยัน “6 แสน” ขึ้นกับ “อาการ+วีไอพี”
** อย่าเพิ่งเหมารวม-เข้าใจผิดว่า “โรคซึมเศร้า = โรคของคนรวย” **
“ค่ารักษาพยาบาล 6 แสน ไม่ต้องรักษากูก็ได้นะ ถ้าจะแพงขนาดนี้ สั..นรก”
“ปล่อยกูไปตามทางของกูเถอะ”
หลัง IG Story ของแรปเปอร์ดัง “UrboyTJ” (เต๋า-ทีเจ จิรายุทธ ผโลประการ) ปล่อยถ้อยคำอันน่าเป็นห่วงครั้งล่าสุดออกมา
ในระหว่างขอพักงานไปรักษาตัว จากอาการป่วยซึมเศร้า-ไบโพลาร์ คำถามเรื่อง “โรคซึมเศร้า = โรคของคนรวย” ก็ผุดขึ้นมาเต็มโซเชียลฯ
และเพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือที่สุด ทางทีมข่าวจึงติดต่อไปยัง “พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์” อธิบดีกรมสุขภาพจิต เพื่อให้ช่วยวิเคราะห์เรื่องนี้ จนได้คำตอบว่า...
มีความเป็นไปได้ที่ค่ารักษาจะพุ่งถึงหลักแสน แต่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ, การเลือกระดับความพิเศษของการรักษา และระยะเวลาว่าต้องใช้เวลานานหลายปีแค่ไหน
“โรคซึมเศร้าคือโรคที่มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ความรุนแรงน้อย ถึงรุนแรงมากๆ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องการมีโรคร่วม หรือโรคแทรกซ้อน ฉะนั้น รูปแบบการรักษาคงต้องหลากหลายไปตามพื้นฐานของผู้ป่วยแต่ละราย
และโรคซึมเศร้ายังเป็นโรคเรื้อรังด้วยนะคะ เพราะฉะนั้น อาจจะใช้ระยะเวลาในการรักษานานพอสมควร ผู้ป่วยบางรายเป็นต่อเนื่องหลักหลายปีเลย
ถ้าหากรวมทั้งหมดเลย เนื่องจากความยาวนานของการรักษาโรคด้วย อาจจะมีค่ารักษาที่สูงขึ้นตามระยะเวลา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นไปตามรายละเอียดอื่นๆ ด้วยค่ะ
เท่าที่คุณหมอทราบมา ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางรายอาจจะมีข้อจำกัดของบริบทครอบครัว ก็เลยเลือกที่จะพักอยู่ในโรงพยาบาล เพื่อที่จะปลีกออกจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นแรงกดดัน คือเลือกนอนในโรงพยาบาล
และเรื่องการเลือกนอนในโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน ก็มีรูปแบบการรักษาที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะต้องการห้องที่พิเศษมาก-พิเศษน้อย
ซึ่งค่าห้อง ถ้าเป็นระบบเอกชนเท่าเคยได้ยินมา ก็จะมีตั้งแต่หลักร้อย, หลักพัน, หลักหมื่นต่อวัน เพราะเป็นที่ทราบว่าในหลายๆ โรงพยาบาล เทียบเท่าโรงแรม 5 ดาวเลย ซึ่งกรณีเช่นนี้ก็ต้องเป็นไปตามกลไก
แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนนึงสามารถรองรับตรงนี้ได้ และยินดีที่จะเลือกด้วย ก็อาจต้องจ่ายพอสมควรเลยค่ะ”
ย้ำว่าอย่าเพิ่งเข้าใจผิด คิดว่าจะรักษาโรคซึมเศร้าได้ “ต้องรวย” เท่านั้น เพราะถ้าพึ่งระบบของโรงพยาบาลรัฐ และศึกษาเรื่องสิทธิต่างๆ ให้ดี จะได้รับ “การรักษาฟรี” ถ้าไม่ติดข้อจำกัดอะไร
“ถ้าเป็นโรงพยาบาลภาครัฐ ไม่ต้องมีเงินก็อยู่รักษาได้ค่ะ เพราะระบบประกันสุขภาพรองรับตรงนี้อยู่แล้วในสิทธิบัตรทอง
โรคซึมเศร้าไม่ว่าจะอาการน้อย หรืออาการมาก ในระบบการรักษาของกระทรวงสาธารณสุข ในโรงพยาบาลรัฐสามารถให้การรักษาได้
และมีสิทธิเบิกจ่าย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์เบิกจ่ายของกรมบัญชีกลาง, สิทธิประกันสังคม และสิทธิประกันสุขภาพ
แต่ที่ยังมีข้อจำกัดอยู่คือ ระบบประกันของบริษัทประกันต่างๆ ยังมีหลายแห่งที่ยังไม่ครอบคลุมถึงผู้ป่วยซึมเศร้า ซึ่งเป็นจุดที่ควรได้รับการแก้ไขค่ะ
และเนื่องจากทาง สปสช.(สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) อาจจะมีข้อจำกัดอยู่ว่า อาจจะเข้ารักษายังไม่ได้ทุกที่เหมือนกับโรคมะเร็ง
ซึ่งเราก็มีความกังวลอยู่ว่า ถ้าผู้ป่วยสามารถเข้ารักษาโดยที่ไม่ต้องกังวลว่า ตัวเองอยู่ในพื้นที่ไหน จึงจะรักษาในโรงพยาบาลนั้นได้
โดยเฉพาะผู้ป่วยทางจิตที่อาจจะมีมุมมองบางอย่างที่ไม่ได้ปรับตัวง่ายนัก ก็เลยกลายเป็นว่าจะต้องไปที่นี่เท่านั้น ถ้าไม่ได้เป็นไปตามสิทธิจะยอมจ่ายสตางค์เอง
แต่พอจ่ายสตางค์เอง และใช้ระยะเวลานานขึ้น ก็อาจจะเป็นความสิ้นเปลืองที่น่าเสียดายนะคะ
แต่เข้าใจว่ารายที่เป็นข่าว ที่บอกว่าจ่ายในราคาหลักแสน ไม่น่าจะเป็นระบบของรัฐนะคะ และถ้ารักษาโรงพยาบาลเอกชน กินเวลาหลายปีก็อาจจะมีความเป็นไปได้อยู่
และจริงๆ แล้ว ระบบการรักษาโรคทั้งหมด จะมีมาตรฐานทางการรักษาอยู่ ทั้งโรคทางกายหรือโรคทางจิตค่ะ กลไกการรักษาก็จะเป็นไปในระดับมาตรฐานเดียวกัน
แต่ข้อแตกต่างจะคล้ายๆ โรคทางกาย เช่น ความพึงพอใจต่อตัวผู้รักษา, ความสะดวกสบาย, ความรวดเร็ว, ความรู้สึกคุ้นชินกับสถานที่และบรรยากาศ
จุดนี้อาจจะมีผลต่อค่ารักษาพยาบาล โดยเฉพาะในกลุ่มของ 'โรงพยาบาลเอกชน' ค่ะ แต่ในกรณีนี้เราไม่ทราบรายละเอียดว่า เกิดขึ้นเพราะอะไร ถ้าเป็นข้อกังวล อาจจะต้องติดตามเพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้เกิดความสบายใจ
รวมถึงมีการให้ทางเลือกที่ทำให้ผู้ที่กำลังรู้สึกแย่แบบนี้ ได้มีทางออกที่ดีด้วยนะคะ เดี๋ยวหมอจะให้ทางทีมงานตามข่าว และดูว่าจะมีจุดไหนที่จะช่วยกันได้”
จากการอัปเดตเรื่องการรักษา ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา บน IG ของ “เต๋า UrboyTJ” ระบุว่ารักษาด้วย “Electroconvulsive Therapy” หรือการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ช็อกไฟฟ้า)
“ตอนนี้ผมอยู่ ICQ ในโรงพยาบาลแห่งนึง ผมรู้สึกเหมือนโดนจับเข้าคุกยังไงก็ไม่รู้ มีกล้องวงจรปิด มีกระจกกันกระสุน
หลายคนคงคิดว่าดีแล้วไง จะได้ไม่ทำร้ายตัวเอง แต่ผมกลับรู้สึกเหมือนผมอยู่ในคุก ที่จะทำอะไรก็ไม่ได้ ไปไหนก็ไม่ได้ อยู่ในห้องเล็กๆ ใส่เครื่องช่วยหายใจ
นี่คือประสบการณ์ครั้งแรกใน ICQ ของผม และผมก็ไม่ชอบมันมากๆ”
จากมุมมองของแพทย์แล้ว อธิบดีกรมสุขภาพจิตมองว่า การออกมาโพสต์ตัดพ้อของผู้รับการรักษา อาจเกิดจากความรู้สึกวิตกกังวล จึงจำเป็นต้องแยกเรื่องความรู้สึกออกจากข้อเท็จจริง
“กรณีของความรู้สึกวิตกกังวลต่อการรักษา ในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางจิตเวชก็มีความเป็นไปได้ว่า อาจจะมีมุมมองที่รู้สึกไม่มีคำตอบ-สับสน
จนทำให้เห็นปัญหาที่มีอยู่มากมาย ท่วมท้นขึ้นไปเรื่อยๆ ได้ ก็คงจะต้องหาข้อเท็จจริงว่า ตัวผู้ป่วยแต่ละรายกำลังเผชิญอยู่นั้นคืออะไร
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลเลยค่ะ ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรฐานการกำกับควบคุมของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งต้องหาข้อมูลกับทางกรมสนับสนุนบริการเพิ่ม
“ถ้าจะจำแนกหลักๆ ก็คงจะมีการรักษาแบบ 'ผู้ป่วยนอก' กับ 'ผู้ป่วยใน' โดยหลักการแล้ว ไม่ได้ต่างกับการเจ็บป่วยทางร่างกาย
โดย 'ผู้ป่วยนอก' คือกลุ่มที่อาการไม่รุนแรงมากนัก แต่ 'ผู้ป่วยใน' มักจะใช้กับผู้ป่วยที่อาการค่อนข้างรุนแรง และอาจมีโรคอื่นๆ ทั้งโรคทางกายหรือโรคทางจิตก็แล้วแต่
รวมถึงอาจจะมีประเด็นแทรกซ้อน หรือมีความไม่พร้อมของสิ่งแวดล้อมรอบตัว ที่จะรองรับหรือดูแลผู้ป่วยให้ดีขึ้นจากโรค หรือปลอดภัยได้
และไม่ว่าจะเป็น 'ผู้ป่วยนอก' หรือ 'ผู้ป่วยใน' คงต้องรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ และการรักษาก็มีตั้งแต่การรักษาด้วยยา ซึ่งมีความหลากหลายอีกเช่นกัน แล้วแต่รายละเอียดความเจ็บป่วยของผู้ป่วยรายนั้นๆ
แต่สิ่งที่แตกต่างจากโรคทางกายอื่นๆ คือในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง อาจจะมีการใช้เครื่องมือ ใช้อุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติมทางด้านจิตเวช
และอาจจะมีเรื่องการให้คำปรึกษา ทำจิตบำบัด หรือทำกลุ่มบำบัด รวมถึงเรื่องการฟื้นฟูทางด้านจิตใจอีกหลากหลายรูปแบบ ซึ่งตรงนี้มีรายละเอียดแตกต่างกันไป
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าเข้าข่าย หรือต้องการคำปรึกษา สามารถโทร.สอบถามเบื้องต้นที่ call center 1323 ได้เลยค่ะ หรือเข้าไปใน 'หมอพร้อม' ก็ได้นะคะ
จะมีการประเมินสุขภาพจิต และมีแอปฯ ที่จะช่วยประเมิน-ให้คำปรึกษาเบื้องต้นได้ รวมถึงสามารถติดต่อไปที่โรงพยาบาลจิตเวชได้ทุกแห่ง”
ทางนั้นจะมีข้อกำหนดว่าต้องแจ้งค่ารักษากับผู้ป่วยก่อน ซึ่งตรงนี้ตรวจสอบได้ ไม่ใช่เข้าไปแล้ว สุดท้ายจะเคว้ง ไม่น่าจะเป็นแบบนั้นนะคะ”
สกู๊ป : ทีมข่าว MGR Live
รายละเอียดเพิ่มเติม : "แฟนเพจ 1323 ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต"
https://mgronline.com/live/detail/9650000064042