JJNY : TDRI หวั่นออกมาตรการปูทางหาเสียง│‘หมอธีระ’จี้ออกมาตรการ│ ชัชชาติแจงหนังกลางแปลง│ชี้ปชช.หนุนซักฟอก ตู่-ป้อม-อนุทิน

ทีดีอาร์ไอห่วง กก.แก้วิกฤตของรัฐบาลแก้ปัญหาไม่ได้ หวั่นออกมาตรการปูทางหาเสียง 
https://www.matichon.co.th/economy/news_3445106
 
ทีดีอาร์ไอห่วง กก.แก้วิกฤตเศรษฐกิจของรัฐบาลแก้ปัญหาไม่ได้ หวั่นออกมาตรการปูทางหาเสียง
 
นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสสถาบันการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงการจัดตั้งคณะกรรมการชุดเฉพาะกิจของรัฐ ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 2 ชุดของรัฐบาลว่า ถือเป็นเรื่องพื้นฐาน เวลาที่ต้องการจะแก้ไขปัญหาอะไร ต้องมีการตั้งทีมงาน ชุดทำงานพิเศษ ที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาดูแล ดังนั้น ในส่วนของรูปแบบนั้น มาถูกทางแล้ว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นคงเป็นปัญหาเดียวกับ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. และคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด-19) หรือ ศบศ. ว่าในแง่ของความเป็นจริง คณะกรรมการที่ถูกจัดตั้งมักจะไม่ได้มีพลังมากพอที่จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง หรือให้ข้อเสนอได้จริง

“ประเด็นสำคัญ คือ คณะกรรมการที่ได้รับการจัดตั้ง ไม่ได้มีอำนาจด้วยตนเอง โดยอำนาจไปอยู่ที่คนที่อยู่ด้านบน คือผู้ที่มีอำนาจต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ว่ามีปัจจัยหรือความเกี่ยวข้องในด้านการเมืองเรื่องฐานเสียงที่เข้ามากระทบ หรือแทรกแซงอำนาจ ทำให้นโยบายที่ออกมานั้น ไม่ได้เป็นอย่างที่ควรจะเป็น ถือเป็นจุดด้อยของการทำงานในลักษณะเช่นนี้” นายนณริฏกล่าว

นายนณริฏกล่าวว่า สำหรับข้อเสนอด้านมาตรการนั้น การทำนโยบายทำได้มีหลายวิธี และหลากหลายรูป แต่สิ่งที่ต้องเพิ่มเติมคือ ควรมีนักวิชาการที่เข้ามาให้คำปรึกษาและช่วยทำให้นโยบายหรือข้อเสนอมีความสมดุลว่า มาตรการที่ออกมาไม่ได้ใช้งบประมาณมากเกินไป ไม่ทำให้เกิดหนี้สาธารณะมากเกินไป และอาจจะต้องมีหลักการที่ว่า ประชาชนต้องเข้ามาช่วยแบกรับด้วยบางส่วน มาตรการที่ออกมาจะต้องไม่ไปช่วย แต่ต้องประคองตัวเองไหว และมุ่งไปช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเท่านั้น

“ควรมีการวางกรอบช่วยเหลือให้ชัดเจน จะได้ไม่มีการผันเปลี่ยนของมาตการ และยิ่งอยู่ในช่วงที่ใกล้จะมีการเลือกตั้งมากๆ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่นโยบายหรือมาตรการที่ออกมา แทนที่จะช่วยเหลือคนที่เปราะบาง และต้องประหยัดงบประมาณ จะกลายเป็นนำงบไปใช้เพื่ออุดหนุนคนบางกลุ่ม เพื่อให้ได้ฐานคะแนนเสียงมา ซึ่งไม่อยากให้ภาพแบบนี้เกิดขึ้น” นายนณริฏกล่าว และว่า สำหรับมาตรการที่ผ่านมาของรัฐบาลก็เห็นด้วยบางส่วน อาทิ คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน การช่วยราคาน้ำมันดีเซล คนละครึ่ง หรือมาตรการลดค่าใช้ไฟฟ้า ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์ แต่สิ่งที่ไม่ชอบคือ การแทรกแซงกลไกต่างๆ เช่น การแทรกแซงกลไกของระบบประกันสังคม เป็นต้น


 
‘หมอธีระ’ จี้รัฐออกมาตรการ หวั่นLongCovid ทำไทยยอดเท่าระดับโลก!
https://www.dailynews.co.th/news/1235449/
 
"หมอธีระ" ย้ำไทยยังน่าหวั่น ไม่ใช่เพียงจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ไม่ตรงความจริงเท่านั้น แต่ปัญหา "Long Covid" ยังต้องเป็นห่วง เหตุกระทบคุณภาพชีวิตได้มากกว่าที่คิด หวั่นทำยอดผู้ติดเชื้อเทียบเท่าระดับท็อปของโลก!
 
เมื่อวันที่ 10 ก.ค. รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า 
 
“สถานการณ์ระบาดของไทย 

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย แม้ สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค. จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม”
 
…Long COVID ในออสเตรเลีย 

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียได้เผยแพร่ข้อมูล คาดประมาณว่า ขณะนี้ออสเตรเลียประสบปัญหาผู้ป่วย Long COVID สูงถึง 400,000 คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะทุพพลภาพ กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเรียกร้องให้รัฐบาลเตรียมแผนรับมือปัญหา Long COVID อย่างจริงจัง ทั้งเรื่องระบบเฝ้าระวัง ติดตาม ดูแลรักษา ฟื้นฟูสภาพ รวมถึงระบบสนับสนุนทางสังคมและสวัสดิการต่างๆ
 
สถิติจาก Worldometer จะพบว่าปัจจุบันประเทศออสเตรเลีย มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมราว 8.45 ล้านคน และแต่ละวันขณะนี้มีผู้ติดเชื้อใหม่ราว 37,000 คน…ตัวเลขสถานการณ์ของไทยนั้น แม้ในระบบรายงานจะมีจำนวนติดเชื้อสะสมที่ 4.54 ล้านคน แต่เป็นตัวเลขที่รายงานเฉพาะ RT-PCR โดยไม่ได้รวมจำนวนคนที่ตรวจพบว่าติดเชื้อจาก ATK เลย ดังนั้นหากรวม ATK ตั้งแต่ที่มีรายงานเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน ตัวเลขสะสมจะเกือบ 7 ล้านคน เฉพาะที่รายงาน ATK ในระบบ (ซึ่งในช่วงหลังที่ผ่านมา เราทราบจากข่าวกันชัดเจนว่า ตัวเลขที่รายงาน ATK นั้นน้อยกว่าความเป็นจริง)
 
จึงเป็นไปได้สูงว่า สถานการณ์ประเทศไทยนั้นมีจำนวนคนติดเชื้อไปแล้วอาจสูงเทียบเท่ากับออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ อาร์เจนตินา หรือญี่ปุ่น และ สิ่งที่ควรตระหนักคือ ปัญหา Long COVID ที่จะเกิดขึ้น และส่งผลบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายต่อทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศในระยะยาว
 
รัฐจึงควรขันนอตมาตรการควบคุมป้องกันโรค สร้างความตระหนักถึงสถานการณ์จริง ด้วยการนำเสนอข้อมูลจริงอย่างละเอียด เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้อันตรายและความเสี่ยงที่แท้จริงในสภาพสังคมปัจจุบัน ที่สถานการณ์การระบาดกระจายไปทั่ว และมีการติดเชื้อจริงในแต่ละวันสูงมาก
ที่เป็นห่วงคือ การนำเสนอข้อมูลที่ต่ำกว่าความเป็นจริงไปมาก รวมถึงการตัดสินใจนโยบายโดยอาศัยกราฟข้อมูลที่ไม่เป็นจริง ย่อมส่งผลกระทบมากมายตามมา ทั้งนี้กลไกสนับสนุนต่างๆ ทางการรักษาพยาบาล รวมถึงการเงินและบริการทางสังคมนั้นลดน้อยถอยลงกว่าช่วงก่อนๆ เพราะข้อจำกัดด้านงบประมาณ หากมีปัญหาผู้ป่วย Long COVID จำนวนมากเกิดขึ้น ระบบที่จะรองรับ ติดตาม ดูแล รักษา ฟื้นฟูสภาพ ทั้งด้านสุขภาพและสังคม อาจไม่สามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะตกอยู่ในสภาพเตี้ยอุ้มค่อม สู้ศึกทั้งหน้าและหลังไปพร้อมกัน โอกาสที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากที่จะเกิดขึ้น
 
“ดังนั้นการนำเสนอภาพจริง กระตุ้นเตือนให้เน้นการป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด จึงจำเป็นอย่างยิ่ง…ใส่หน้ากากนะครับ สำคัญมาก…”..
 
https://www.facebook.com/thiraw/posts/pfbid0djSyooyy6zGvQYNkvQevYNicmPap5y4pqME9i58Z6XDbMKreCAsfd7nBMBXrPe7El
  


ชัชชาติ แจงประเด็น หนังกลางแปลงจอละ 8 ล้าน
https://www.innnews.co.th/news/news_371187/

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชี้แจงกรณีดราม่า หนังกลางแปลงจอละ 8 ล้านบาท
 
นายชัชชาติชี้แจงว่า ค่าใช้จ่ายจอละ 8 ล้านเป็นยอดเงินค่อนข้างเยอะ กทม.ไม่ได้มีงบขนาดนั้น ส่วนการดำเนินการจัดงานนั้นมีรายชื่อผู้สนับสนุนอย่างชัดเจน โดยกทม.จะทำการชี้แจงรายละเอียดต่างๆให้ประชาชนรับทราบ ประชาชนจะได้เข้าใจ จะได้โปร่งใส เพราะภายใต้การทำงานของทีมสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา
 
ด้านการจัดงานฉายหนังกลางแปลงทางกทม.ไม่ได้มีการเก็บเงินในส่วนพื้นที่ขายของ เนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะ ถือเป็นการกระจายรายได้ให้พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย จึงให้มองในมิติเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่