ยอดติดเชื้อวันนี้ 25,298 ราย ดับนิวไฮ 98 ผู้ป่วยปอดอักเสบ 1,936
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3279889
ยอดติดเชื้อวันนี้ 25,298 ราย ดับนิวไฮ 98 ผู้ป่วยปอดอักเสบ 1,936
วันที่ 9 เม.ย. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2565 โดยวันนี้มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก 25,298 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 25,220 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 78 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,634,911 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 22,003 ราย หายป่วยสะสม 1,412,426 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 251,451 ราย และ เสียชีวิต 98 ราย
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,936 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 25 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 29.1
หมอธีระ ชี้ โอมิครอน ในไทยรุนแรงสวนกระแสโลก หลังสงกรานต์ติดเชื้อเพิ่ม 4 เท่า
https://www.nationtv.tv/news/378869549
หมอธีระ ชี้สถานการณ์โอมิครอนในไทยระบาดรุนแรงต่อเนื่อง เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 19% สวนกระแสทั้งทั่วโลกและของทวีปเอเชีย คาดหลังสงกรานต์ติดโควิดเพิ่มขึ้น 4 เท่า ช่วงครึ่งเดือนแรกของพฤษภาคม
9 เมษายน 2565 รศ.นพ.
ธีระ วรธนารัตน์ หรือ
“หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ในเพจเฟซบุ๊ก “
Thira Woratanarat” ประเทศไทยพบการระบาดของ โควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน สวนกระแสของทั้งทั่วโลกและของทวีปเอเชีย หลังเทศกาลสงกรานต์คาดว่าจะมีผู้ติดเช้อเพิ่ม 4 เท่า มีเนื้อหาดังนี้
9 เมษายน 2565 ทะลุ 497 ล้าน
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,012,924 คน ตายเพิ่ม 3,232 คน รวมแล้วติดไปรวม 497,354,784 คน เสียชีวิตรวม 6,198,548 คน โดย 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี และออสเตรเลีย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 82.44 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 78.09 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 31.67 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 28.71
สถานการณ์ระบาดของไทย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก
เปรียบเทียบสถิติรายสัปดาห์
○ ทั่วโลกติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ลดลง 22% เสียชีวิตลดลง 14%
○ ทวีปเอเชียติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ลดลง 25% เสียชีวิตลดลง 19%
○ แต่ไทยเราติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 1% (ยังไม่รวม ATK) และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 19% สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์ระบาดยังรุนแรงต่อเนื่อง สวนกระแสของทั้งทั่วโลกและของทวีปเอเชีย
คาดการณ์สถานการณ์หลังสงกรานต์
สงกรานต์ปีที่แล้วทำให้จำนวนติดเชื้อเฉลี่ยในครึ่งเดือนหลังสูงกว่าครึ่งเดือนแรกถึง 3.26 เท่า และเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าในครึ่งเดือนแรกของพฤษภาคม และ 6.67 เท่าในครึ่งเดือนหลังของพฤษภาคมตามลำดับ
ดังนั้นหากเป็นไปตามธรรมชาติการระบาดในอดีต ปีนี้จะมีความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากจำนวนติดเชื้อรายวันขณะนี้มีสูงกว่า 4-5 หมื่นต่อวัน (รวม ATK)
ติดเชื้อ ป่วย หาย ตาย หรือไปสู่ Long COVID
ด้วยข้อมูลที่เห็นปัจจุบัน ติดเชื้อส่วนใหญ่มักป่วยแบบมีอาการ มากกว่าจะไม่มีอาการ แต่ป่วยแบบมีอาการมักเป็นอาการน้อย อย่างไรก็ตามสังคมที่มีการติดเชื้อจำนวนมากมาย ทำให้มีจำนวนคนป่วยปอดอักเสบ ป่วยรุนแรง ต้องใช้ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตย่อมมากขึ้นเป็นเงาตามตัว นี่คือวัฏจักรที่ทุกคนรับรู้ได้จากตัวเลขในแต่ละวันที่รายงานมา เปรียบเหมือนแผ่นดินไหว ที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ หรือเสียหายในระยะเฉียบพลัน
แต่ปัญหาหนักที่หลายประเทศทั่วโลกเผชิญอยู่คือ ภาวะผิดปกติระยะยาวหรือ Long COVID ที่เกิดขึ้นในประชากรจำนวนมากที่เคยติดเชื้อมาก่อน ไม่ว่าจะชายหญิง เด็กผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ ป่วยแบบไม่มีอาการ มีอาการน้อย หรืออาการรุนแรง ล้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดได้หมด
Long COVID มีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉลี่ย 20-40%
หากเป็นคนสูงอายุเกิน 65 ปี โอกาสเกิดราว 50% โดยชายเสี่ยงกว่าหญิง
แต่หากเป็นคนที่อายุ 20-60 ปี โอกาสเกิดมีตั้งแต่ 5-30% โดยหญิงเสี่ยงกว่าชาย
และในภาพรวมผู้ใหญ่มีความเสี่ยงมากกว่าเด็ก อย่างไรก็ตามพบเด็กที่มีปัญหา Long COVID มากขึ้นอย่างต่อเนื่องในระลอก Omicron
ล่าสุด National COVID-10 Clinical Evidence Taskforce ของประเทศออสเตรเลีย ก็เพิ่งออกแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่เป็น Long COVID หรือ Post COVID conditions เมื่อวานนี้ 8 เมษายน 2565
ตอกย้ำให้เห็นว่า Long COVID is real เปรียบเหมือนคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ที่จะถาโถมมาหลังเกิดแผ่นดินไหวหนัก และจำเป็นที่แต่ละประเทศต้องเตรียมรับมือ เพราะจะส่งผลบั่นทอนสมรรถนะของประชากรในการดำรงชีวิตและการทำงาน รวมถึงก่อให้เกิดภาวะทุพลภาพหรือโรคเรื้อรัง และภาระค่าใช้จ่ายทั้งของผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะเจาะจงสำหรับ Long COVID การป้องกันตนเองและครอบครัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด สงกรานต์นี้ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อตัวคุณและคนที่คุณรักเถิดครับ...
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10224145977749661
ฟรุ้ทบอร์ดหวั่นโควิดถล่มจีนฉุด ‘ส่งออก’ ผลไม้ไทย
https://www.bangkokbiznews.com/business/998222
คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ หรือ Fruit Board เห็นชอบแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก 4 ชนิด ในปี 2565 คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง รวมทั้งสิ้น 1,186,364 ตัน และผลไม้ภาคเหนือ คือ ลิ้นจี่ 43,511 ตัน
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อลงกรณ์ พลบุตร ระบุ คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ หรือ Fruit Board เห็นชอบแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก 4 ชนิด ในปี 2565 คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง รวมทั้งสิ้น 1,186,364 ตัน และผลไม้ภาคเหนือ คือ ลิ้นจี่ 43,511 ตัน โดยให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนบริหารจัดการผลไม้
ส่วนกรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหา ให้จังหวัดประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณา ใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป
ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในจีนระลอกใหม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกผลไม้ของไทยที่ประมาทไม่ได้ จึงขอให้ผู้ส่งออกเพิ่มการขนส่งทางเรือให้มากที่สุดเป็น 55% และการขนส่งทางรถไฟสายจีน-ลาว ในระบบผสม “ราง-รถ” เป็นทางเลือกเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงของการขนส่งทางรถที่มีความไม่แน่นอนของด่านทางรถที่อาจปิดได้ทุกเมื่อหากเกิดการระบาดของโควิดในพื้นที่ใกล้เคียง แม้ตอนนี้ด่านทุกด่านยกเว้นด่านตงชิงยังเปิดเป็นปกติ
รวมทั้งต้องเร่งรณรงค์การบริโภคผลไม้ภายในประเทศให้มากขึ้นจาก 30% เป็น 40% เพื่อช่วยสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ทั้งในส่วนของภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคเหนือและทุกภาคทั่วประเทศ
สถานการณ์การค้าผลไม้กับจีนในปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกผลไม้ไปจีน 1.6 แสนล้านบาท แต่จีนส่งผลไม้มาไทย 4 หมื่นล้านบาท นับว่าไทยได้เปรียบการค้าจีนด้านผลไม้ 3-4 เท่าตัว โดยผลไม้ไทยครองตลาดจีนมีมาร์เก็ตแชร์กว่า 40% อันดับ 2 คือ ชีลี 14% เวียดนาม 6% อยู่อันดับ 3 ซึ่งสะท้อนขีดความสามารถของไทย
ในปีที่ผ่านมา ไทยยังส่งออกผลไม้ไปจีนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เฉพาะทุเรียนส่งออกทะลุ 1 แสนล้านบาทเป็นครั้งแรก แม้จะเผชิญปัญหามาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในจีนซึ่งกระทบการขนส่งและการส่งออกเป็นระยะๆ ปีนี้จึงประมาทไม่ได้แม้จะได้เตรียมมาตรการและงบประมาณสนับสนุนล่วงหน้าก็ตามแต่การระบาดระลอกใหม่ของโควิดในจีนยากจะคาดคะเนว่าจะยุติลงเมื่อใด
JJNY : ติดเชื้อ25,298 ดับนิวไฮ98│หมอธีระชี้โอมิครอนไทยสวนกระแสโลก│หวั่นโควิดถล่มจีนฉุดส่งออกผลไม้ไทย│รัสเซียเจอศก.ถดถอย
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3279889
วันที่ 9 เม.ย. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2565 โดยวันนี้มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก 25,298 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 25,220 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 78 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,634,911 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 22,003 ราย หายป่วยสะสม 1,412,426 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 251,451 ราย และ เสียชีวิต 98 ราย
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,936 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 25 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 29.1
หมอธีระ ชี้ โอมิครอน ในไทยรุนแรงสวนกระแสโลก หลังสงกรานต์ติดเชื้อเพิ่ม 4 เท่า
https://www.nationtv.tv/news/378869549
หมอธีระ ชี้สถานการณ์โอมิครอนในไทยระบาดรุนแรงต่อเนื่อง เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 19% สวนกระแสทั้งทั่วโลกและของทวีปเอเชีย คาดหลังสงกรานต์ติดโควิดเพิ่มขึ้น 4 เท่า ช่วงครึ่งเดือนแรกของพฤษภาคม
9 เมษายน 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ในเพจเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ประเทศไทยพบการระบาดของ โควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน สวนกระแสของทั้งทั่วโลกและของทวีปเอเชีย หลังเทศกาลสงกรานต์คาดว่าจะมีผู้ติดเช้อเพิ่ม 4 เท่า มีเนื้อหาดังนี้
9 เมษายน 2565 ทะลุ 497 ล้าน
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,012,924 คน ตายเพิ่ม 3,232 คน รวมแล้วติดไปรวม 497,354,784 คน เสียชีวิตรวม 6,198,548 คน โดย 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี และออสเตรเลีย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 82.44 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 78.09 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 31.67 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 28.71
สถานการณ์ระบาดของไทย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก
เปรียบเทียบสถิติรายสัปดาห์
○ ทั่วโลกติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ลดลง 22% เสียชีวิตลดลง 14%
○ ทวีปเอเชียติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ลดลง 25% เสียชีวิตลดลง 19%
○ แต่ไทยเราติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 1% (ยังไม่รวม ATK) และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 19% สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์ระบาดยังรุนแรงต่อเนื่อง สวนกระแสของทั้งทั่วโลกและของทวีปเอเชีย
คาดการณ์สถานการณ์หลังสงกรานต์
สงกรานต์ปีที่แล้วทำให้จำนวนติดเชื้อเฉลี่ยในครึ่งเดือนหลังสูงกว่าครึ่งเดือนแรกถึง 3.26 เท่า และเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าในครึ่งเดือนแรกของพฤษภาคม และ 6.67 เท่าในครึ่งเดือนหลังของพฤษภาคมตามลำดับ
ดังนั้นหากเป็นไปตามธรรมชาติการระบาดในอดีต ปีนี้จะมีความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากจำนวนติดเชื้อรายวันขณะนี้มีสูงกว่า 4-5 หมื่นต่อวัน (รวม ATK)
ติดเชื้อ ป่วย หาย ตาย หรือไปสู่ Long COVID
ด้วยข้อมูลที่เห็นปัจจุบัน ติดเชื้อส่วนใหญ่มักป่วยแบบมีอาการ มากกว่าจะไม่มีอาการ แต่ป่วยแบบมีอาการมักเป็นอาการน้อย อย่างไรก็ตามสังคมที่มีการติดเชื้อจำนวนมากมาย ทำให้มีจำนวนคนป่วยปอดอักเสบ ป่วยรุนแรง ต้องใช้ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตย่อมมากขึ้นเป็นเงาตามตัว นี่คือวัฏจักรที่ทุกคนรับรู้ได้จากตัวเลขในแต่ละวันที่รายงานมา เปรียบเหมือนแผ่นดินไหว ที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ หรือเสียหายในระยะเฉียบพลัน
แต่ปัญหาหนักที่หลายประเทศทั่วโลกเผชิญอยู่คือ ภาวะผิดปกติระยะยาวหรือ Long COVID ที่เกิดขึ้นในประชากรจำนวนมากที่เคยติดเชื้อมาก่อน ไม่ว่าจะชายหญิง เด็กผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ ป่วยแบบไม่มีอาการ มีอาการน้อย หรืออาการรุนแรง ล้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดได้หมด
Long COVID มีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉลี่ย 20-40%
หากเป็นคนสูงอายุเกิน 65 ปี โอกาสเกิดราว 50% โดยชายเสี่ยงกว่าหญิง
แต่หากเป็นคนที่อายุ 20-60 ปี โอกาสเกิดมีตั้งแต่ 5-30% โดยหญิงเสี่ยงกว่าชาย
และในภาพรวมผู้ใหญ่มีความเสี่ยงมากกว่าเด็ก อย่างไรก็ตามพบเด็กที่มีปัญหา Long COVID มากขึ้นอย่างต่อเนื่องในระลอก Omicron
ล่าสุด National COVID-10 Clinical Evidence Taskforce ของประเทศออสเตรเลีย ก็เพิ่งออกแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่เป็น Long COVID หรือ Post COVID conditions เมื่อวานนี้ 8 เมษายน 2565
ตอกย้ำให้เห็นว่า Long COVID is real เปรียบเหมือนคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ที่จะถาโถมมาหลังเกิดแผ่นดินไหวหนัก และจำเป็นที่แต่ละประเทศต้องเตรียมรับมือ เพราะจะส่งผลบั่นทอนสมรรถนะของประชากรในการดำรงชีวิตและการทำงาน รวมถึงก่อให้เกิดภาวะทุพลภาพหรือโรคเรื้อรัง และภาระค่าใช้จ่ายทั้งของผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะเจาะจงสำหรับ Long COVID การป้องกันตนเองและครอบครัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด สงกรานต์นี้ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อตัวคุณและคนที่คุณรักเถิดครับ...
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10224145977749661
ฟรุ้ทบอร์ดหวั่นโควิดถล่มจีนฉุด ‘ส่งออก’ ผลไม้ไทย
https://www.bangkokbiznews.com/business/998222
คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ หรือ Fruit Board เห็นชอบแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก 4 ชนิด ในปี 2565 คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง รวมทั้งสิ้น 1,186,364 ตัน และผลไม้ภาคเหนือ คือ ลิ้นจี่ 43,511 ตัน
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อลงกรณ์ พลบุตร ระบุ คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ หรือ Fruit Board เห็นชอบแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก 4 ชนิด ในปี 2565 คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง รวมทั้งสิ้น 1,186,364 ตัน และผลไม้ภาคเหนือ คือ ลิ้นจี่ 43,511 ตัน โดยให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนบริหารจัดการผลไม้
ส่วนกรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหา ให้จังหวัดประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณา ใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป
ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในจีนระลอกใหม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกผลไม้ของไทยที่ประมาทไม่ได้ จึงขอให้ผู้ส่งออกเพิ่มการขนส่งทางเรือให้มากที่สุดเป็น 55% และการขนส่งทางรถไฟสายจีน-ลาว ในระบบผสม “ราง-รถ” เป็นทางเลือกเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงของการขนส่งทางรถที่มีความไม่แน่นอนของด่านทางรถที่อาจปิดได้ทุกเมื่อหากเกิดการระบาดของโควิดในพื้นที่ใกล้เคียง แม้ตอนนี้ด่านทุกด่านยกเว้นด่านตงชิงยังเปิดเป็นปกติ
รวมทั้งต้องเร่งรณรงค์การบริโภคผลไม้ภายในประเทศให้มากขึ้นจาก 30% เป็น 40% เพื่อช่วยสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ทั้งในส่วนของภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคเหนือและทุกภาคทั่วประเทศ
สถานการณ์การค้าผลไม้กับจีนในปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกผลไม้ไปจีน 1.6 แสนล้านบาท แต่จีนส่งผลไม้มาไทย 4 หมื่นล้านบาท นับว่าไทยได้เปรียบการค้าจีนด้านผลไม้ 3-4 เท่าตัว โดยผลไม้ไทยครองตลาดจีนมีมาร์เก็ตแชร์กว่า 40% อันดับ 2 คือ ชีลี 14% เวียดนาม 6% อยู่อันดับ 3 ซึ่งสะท้อนขีดความสามารถของไทย
ในปีที่ผ่านมา ไทยยังส่งออกผลไม้ไปจีนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เฉพาะทุเรียนส่งออกทะลุ 1 แสนล้านบาทเป็นครั้งแรก แม้จะเผชิญปัญหามาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในจีนซึ่งกระทบการขนส่งและการส่งออกเป็นระยะๆ ปีนี้จึงประมาทไม่ได้แม้จะได้เตรียมมาตรการและงบประมาณสนับสนุนล่วงหน้าก็ตามแต่การระบาดระลอกใหม่ของโควิดในจีนยากจะคาดคะเนว่าจะยุติลงเมื่อใด