ผู้บริโภคเตรียมรับมือ”ของแพง”หลังสงกรานต์
https://www.bangkokbiznews.com/business/998306
“เผือกร้อน” กรมการค้าภายใน ปมราคาสินค้า หลังผู้ประกอบการแห่ขอปรับราคาสินค้า จากราคาน้ำมันพุ่ง กระทบต้นทุนการผลิตส่วนผู้บริโภคเตรียมใจ”ของแพง”
สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกที่ปรับสูงขึ้นเกินกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน เป็นวิกฤตซ้ำเติมปัญหาราคาสินค้าของไทยให้แพงขึ้นไปอีกเพราะน้ำมันส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคจ่อปรับราคาสินค้าขายปลีกหลายรายการในเดือนเม.ย.นี้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน และ สินค้าประเภทอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นหมู ไก่สด ไข่ไก่ ผักสดบางชนิด เครื่องประกอบอาหาร และอาหารปรุงสำเร็จ ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ
ล่าสุดราคาก๊าซหุงต้มก็ปรับขึ้นมีผลบังคับ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความกังวลว่าอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารปรุงสุกจะขึ้นราคตามไปด้วย เพราะราคาสินค้าที่สูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน หรือ พ่อค้า แม่ค้า ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นขณะที่รายได้เท่าเดิมหรืออาจลดลง
แม้ว่ากระทรวงพาณิชย์ที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลราคาสินค้า จะเสียง”แข็ง”ไม่ยอมให้ปรับราคาสินค้า โดยมีการขอความร่วมมือผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้าใน 18 หมวด ประกอบด้วย 1.บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 2.หมวดอาหารสด 3.อาหารกระป๋อง 4.ข้าวสารถุง 5.ซอสปรุงรส 6.น้ำมันพืช 7.น้ำอัดลม 8.นมและผลิตภัณฑ์จากนม 9.เครื่องใช้ไฟฟ้า 10.ผลิตภัณฑ์ซักล้าง 11.ปุ๋ย 12.ยาฆ่าแมลง 13.อาหารสัตว์ 14.เหล็ก 15.ปูนซีเมนต์ 16.กระดาษ 17.ยา เวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ 18.บริการผ่านห้าง ค้าปลีก-ส่ง
อย่างไรก็ตามกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ก็ออกมายอมรับว่า ผู้ประกอบการหลายรายขอปรับราคาสินค้าต่อกรม แต่ขณะนี้กรมฯ ก็ขอความร่วมมือให้ช่วยตรึงราคาต่อไปก่อน ปัจจุบันไม่มีการอนุญาตให้ปรับขึ้นราคาแม้แต่รายเดียว ซึ่งทางกรมกรมฯ ก็ติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าทุกวัน โดยมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจสถานการณ์ราคาสินค้าทั้ง กทม. และต่างจังหวัด
ยิ่งใกล้ช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ไทย ซึ่งเป็นช่วงที่ประชาชนจะมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น 5-10 % จากช่วงปกติ ก็ยิ่งเกิดความกังวลว่า สินค้าที่จำเป็นสำหรับการครองชีพจะปรับตัวขึ้นไปอีก ทำให้กรมการค้าภายในเชิญผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกและค้าส่ง และร้านสะดวกซื้อมาหารือมาร่วมประชุมเพื่อขอความร่วมมือห้ามปรับขึ้นราคาสินค้า และให้เพิ่มสต็อกสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาล คาดว่าหลังสงกรานต์ จะมีสินค้าหลายรายการปรับขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพของประชาชน
ไม่เฉพาะแค่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทนแบกภาระต้นทุนไม่ไหว ผู้ประกอบการที่ใช้วัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารสัตว์ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพด ข้าวสาลี ต่างก็ร้องขอต่อกรมการค้าภายในขอปรับราคาอาหารสัตว์ เนื่องจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในตลาดโลกพุ่งขึ้น โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซียและยูเครน เพราะเป็นผู้ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก ทำให้ต้นทุนนำเข้าข้าวสาลีสูงขึ้นมาก จึงมีแนวคิดที่จะยกเว้นมาตรการ 3:1 คือ การนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ต้องซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วน
ปัจจุบันแนวทางการแก้ไขปัญหา ก็ยังไม่มีข้อสรุป เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังคุยกันไม่จบ ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) ครั้งที่ 1/2565 เพื่อแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์ เมื่อวันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านก็ไร้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไร ทำให้ต้องมีการนัดประชุมทุกสมาคมที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปได้ในวันที่ 11 เม.ย.นี้ ก่อนจะเสนอให้ นบขพ.เคาะอีกครั้ง
นอกจากนี้ “ปุ๋ย” ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเกษตร ก็มีราคาพุ่งสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก ก็ยื่นขอปรับราคาต่อกรมการค้าภายในแล้ว ล่าสุดมี มีผู้ประกอบการ 2 รายยื่นขอปรับราคา แต่ยังไม่ได้มีการอนุมัติให้ปรับราคา อยู่ระหว่างการพิจารณาต้นทุน
การแก้ปัญหาสินค้าราคาแพงในประเทศถือเป็นปัญหาที่”แก้ยาก”เพราะกระทบไปทุกภาคส่วน หากไฟเขียวขึ้นราคา ผู้บริโภคก็เดือดร้อน แต่ไม่อนุญาตให้ขึ้นราคาผู้ผลิตก็เดือดร้อน แต่กรมการค้าภายในจะฝืนกลไกตลาดการไม่ได้แค่ไหน เพราะต้องยอมรับความจริงต้นทุนวัตถุดิบสินค้าพุ่งสูงขึ้นมากในยุคนี้ ที่ผ่านมาเมื่อราคาสินค้าขึ้นแล้ว ลงยาก จึงเป็น”เผือกร้อน”สำหรับกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องแก้ปัญหาให้เป็นที่”ถูกใจ”กับทุกฝ่าย
กสิกรไทยคาดสงกรานต์ 2565 เดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่ใช้จ่ายไม่มาก
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-907215
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินคนเดินทางท่องเที่ยวสงกรานต์มากขึ้น คาดเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.2% แต่การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวน่าจะมีมูลค่า 2.23 หมื่นล้านบาท เพิ่มไม่มากนัก เหตุต้องเผชิญภาวะค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่มากขึ้น จากราคาสินค้า-พลังงานที่พุ่งขึ้น
วันที่ 9 เมษายน 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า จากการที่ทาง ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการให้จัดงานเทศกาลสงกรานต์ในปี 2565 ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาคการท่องเที่ยว แต่เนื่องด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันยังทรงตัวสูง ขณะที่ภาระรายจ่ายในชีวิตประจำวันที่ปรับตัวสูงขึ้น ก็อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวและทำให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างจำกัด
โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยในช่วงสัปดาห์ของเทศกาลสงกรานต์ 9 วัน ระหว่างวันที่ 9-17 เม.ย. 2565 (ในบางพื้นที่จะมีการจัดงานประเพณีสงกรานต์ท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. 2565 และสถานประกอบการบางแห่ง เช่น โรงงานอุตสาหกรรมจะปิดทำการยาวเพื่อให้พนักงานเดินทางกลับภูมิลำเนา กอปรกับการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงนี้นักท่องเที่ยวจะมีการทยอยเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดในสถานที่ท่องเที่ยว) น่าจะมีจำนวน 4.6 ล้านคน-ครั้ง (การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักค้าง การเดินทางกลับภูมิลำเนาและมีการท่องเที่ยว รวมถึงการเดินทางแบบไปเช้า-เย็นกลับข้ามจังหวัด) เพิ่มขึ้น 2.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
แต่เนื่องจากผลของมาตรการรัฐ การจัดโปรโมชั่นของผู้ประกอบการท่องเที่ยว และการปรับพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวโดยหลีกเลี่ยงความแออัดและเน้นเลือกเดินทางระยะใกล้ ทำให้การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวต่อทริปโดยเฉลี่ยจึงลดลง
แม้ราคาอาหารและพลังงานจะแพงขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2565 นี้ น่าจะมีมูลค่า 2.23 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 1.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ ทิศทางตลาดท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปี 2565 นี้ แม้ธุรกิจท่องเที่ยวจะได้รับปัจจัยด้านบวกเพิ่มเติมจากการที่ทางการได้ผ่อนคลายกฎระเบียบการตรวจวัดเชื้อโควิด-19 ก่อนเดินทางเข้าประเทศของชาวต่างชาติ
อย่างไรก็ดี เนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ในระยะข้างหน้า ยังมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากยังต้องติดตามสถานการณ์โรคโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศที่ยังบั่นทอนความต้องการเดินทางท่องเที่ยวแล้ว ภาคการท่องเที่ยวก็ยังมีความท้าทายใหม่เพิ่มขึ้นจากประเด็นสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
รวมถึงขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาราคาสินค้าและพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ภาระรายจ่ายในชีวิตประจำวันปรับตัวสูงขึ้นตาม ซึ่งคงจะมีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว และความถี่ในการเดินทางท่องเที่ยวลดลง
ขณะเดียวกันปัจจัยด้านต้นทุนสร้างแรงกดดันในการทำตลาดให้กับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน เนื่องจากความต้องการเดินทางท่องเที่ยวที่ยังจำกัด แต่การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการที่สูง ทำให้การทำแพ็คเกจด้านราคายังคงต้องมีความระมัดระวัง
จากทิศทางดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวยังคงต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยการทำตลาดในช่วงเวลานี้ยังคงต้องมีความยืดหยุ่นและปรับกลยุทธ์ไปตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ที่ปัจจุบันการเดินทางท่องเที่ยวมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย
ทั้งการเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน (Leisure Travel) การเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานในสถานที่ท่องเที่ยว (Workcations) ขณะที่ปัจจุบันหลายบริษัทยังใช้รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Work from Home ซึ่งผู้ประกอบการคงจะต้องมีการจัดแพ็คเกจพิเศษระยะสั้น และระยะยาวสำหรับนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่ม
นอกจากนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญในเรื่องของการเปรียบเทียบราคาที่พักและบริการ ซึ่งหากผู้ประกอบการมีต้นทุนที่สูงก็คงจะต้องหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา โดยปรับกลยุทธ์ลงมาเจาะกลุ่มเฉพาะ หรือ Niche Market เพิ่มบริการพร้อมปรับผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวให้มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
เน้นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และให้นักท่องเที่ยสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวอย่างการถ่ายรูป เรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายพันธมิตรระหว่างผู้ประกอบท่องเที่ยวในชุมชน เช่น ร้านอาหาร โรงแรมและที่พัก บริษัทนำเที่ยวและรถเช่า เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวเดินทางอิส
บริษัทเครื่องเสียงดัง เจวีซีเคนวูด ปิดกิจการถาวร ผู้บริหารส่งพนักงานย้ายฐานกลับญี่ปุ่น
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6990264
เป็นเรื่องน่าใจหายสำหรับบริษัทที่เปิดมาเป็นเวลานานแล้วต้องปิดตัวลง อาจจะเกิดจากภาวะเศรษฐกิจ หรือ การย้ายฐานการลงทุนไปในที่ที่ต้นทุนต่ำกว่า
ล่าสุด
ข่าวสารชลบุรี-ระยอง ได้เปิดเผยภาพ โรงงานผลิตเครื่องเสียงดัง บริษัท เจวีซีเคนวูด อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด. เลขที่ 107 หมู่18 นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานี. ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ประกาศปิดกิจการถาวร
โดยบริษัท ได้แจ้งล่วงหน้าต่อพนักงาน จ่ายค่าชดเชยตามกฏหมายให้แก่พนักงานทุกคน และมีเงินสบทบให้แก่พนักงานก้อนใหญ่ เพื่อให้พนักงานไปดำรงชีวิตและใช้จ่าย ซึ่งไม่มีการประท้วงใดๆ และมีการร่ำลากันอย่างอาลัย
สำหรับบริษัทได้ทำการย้ายฐานผลิตกลับไปที่ประเทศญี่ปุ่น โดย บริษัท เจวีซีเคนวูด อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่เกี่ยวกับเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์
https://www.facebook.com/Newsofpagechonburirayong/posts/1570883123284068
JJNY : เตรียมรับ”ของแพง”หลังสงกรานต์│คาดสงกรานต์เที่ยวเพิ่ม ใช้จ่ายไม่มาก│เจวีซีเคนวูดปิดกิจการ│พบศพพลเรือนถูกฝังในบูชา
https://www.bangkokbiznews.com/business/998306
“เผือกร้อน” กรมการค้าภายใน ปมราคาสินค้า หลังผู้ประกอบการแห่ขอปรับราคาสินค้า จากราคาน้ำมันพุ่ง กระทบต้นทุนการผลิตส่วนผู้บริโภคเตรียมใจ”ของแพง”
สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกที่ปรับสูงขึ้นเกินกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน เป็นวิกฤตซ้ำเติมปัญหาราคาสินค้าของไทยให้แพงขึ้นไปอีกเพราะน้ำมันส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคจ่อปรับราคาสินค้าขายปลีกหลายรายการในเดือนเม.ย.นี้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน และ สินค้าประเภทอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นหมู ไก่สด ไข่ไก่ ผักสดบางชนิด เครื่องประกอบอาหาร และอาหารปรุงสำเร็จ ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ
ล่าสุดราคาก๊าซหุงต้มก็ปรับขึ้นมีผลบังคับ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความกังวลว่าอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารปรุงสุกจะขึ้นราคตามไปด้วย เพราะราคาสินค้าที่สูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน หรือ พ่อค้า แม่ค้า ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นขณะที่รายได้เท่าเดิมหรืออาจลดลง
แม้ว่ากระทรวงพาณิชย์ที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลราคาสินค้า จะเสียง”แข็ง”ไม่ยอมให้ปรับราคาสินค้า โดยมีการขอความร่วมมือผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้าใน 18 หมวด ประกอบด้วย 1.บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 2.หมวดอาหารสด 3.อาหารกระป๋อง 4.ข้าวสารถุง 5.ซอสปรุงรส 6.น้ำมันพืช 7.น้ำอัดลม 8.นมและผลิตภัณฑ์จากนม 9.เครื่องใช้ไฟฟ้า 10.ผลิตภัณฑ์ซักล้าง 11.ปุ๋ย 12.ยาฆ่าแมลง 13.อาหารสัตว์ 14.เหล็ก 15.ปูนซีเมนต์ 16.กระดาษ 17.ยา เวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ 18.บริการผ่านห้าง ค้าปลีก-ส่ง
อย่างไรก็ตามกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ก็ออกมายอมรับว่า ผู้ประกอบการหลายรายขอปรับราคาสินค้าต่อกรม แต่ขณะนี้กรมฯ ก็ขอความร่วมมือให้ช่วยตรึงราคาต่อไปก่อน ปัจจุบันไม่มีการอนุญาตให้ปรับขึ้นราคาแม้แต่รายเดียว ซึ่งทางกรมกรมฯ ก็ติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าทุกวัน โดยมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจสถานการณ์ราคาสินค้าทั้ง กทม. และต่างจังหวัด
ยิ่งใกล้ช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ไทย ซึ่งเป็นช่วงที่ประชาชนจะมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น 5-10 % จากช่วงปกติ ก็ยิ่งเกิดความกังวลว่า สินค้าที่จำเป็นสำหรับการครองชีพจะปรับตัวขึ้นไปอีก ทำให้กรมการค้าภายในเชิญผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกและค้าส่ง และร้านสะดวกซื้อมาหารือมาร่วมประชุมเพื่อขอความร่วมมือห้ามปรับขึ้นราคาสินค้า และให้เพิ่มสต็อกสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาล คาดว่าหลังสงกรานต์ จะมีสินค้าหลายรายการปรับขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพของประชาชน
ไม่เฉพาะแค่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทนแบกภาระต้นทุนไม่ไหว ผู้ประกอบการที่ใช้วัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารสัตว์ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพด ข้าวสาลี ต่างก็ร้องขอต่อกรมการค้าภายในขอปรับราคาอาหารสัตว์ เนื่องจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในตลาดโลกพุ่งขึ้น โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซียและยูเครน เพราะเป็นผู้ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก ทำให้ต้นทุนนำเข้าข้าวสาลีสูงขึ้นมาก จึงมีแนวคิดที่จะยกเว้นมาตรการ 3:1 คือ การนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ต้องซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วน
ปัจจุบันแนวทางการแก้ไขปัญหา ก็ยังไม่มีข้อสรุป เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังคุยกันไม่จบ ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) ครั้งที่ 1/2565 เพื่อแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์ เมื่อวันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านก็ไร้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไร ทำให้ต้องมีการนัดประชุมทุกสมาคมที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปได้ในวันที่ 11 เม.ย.นี้ ก่อนจะเสนอให้ นบขพ.เคาะอีกครั้ง
นอกจากนี้ “ปุ๋ย” ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเกษตร ก็มีราคาพุ่งสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก ก็ยื่นขอปรับราคาต่อกรมการค้าภายในแล้ว ล่าสุดมี มีผู้ประกอบการ 2 รายยื่นขอปรับราคา แต่ยังไม่ได้มีการอนุมัติให้ปรับราคา อยู่ระหว่างการพิจารณาต้นทุน
การแก้ปัญหาสินค้าราคาแพงในประเทศถือเป็นปัญหาที่”แก้ยาก”เพราะกระทบไปทุกภาคส่วน หากไฟเขียวขึ้นราคา ผู้บริโภคก็เดือดร้อน แต่ไม่อนุญาตให้ขึ้นราคาผู้ผลิตก็เดือดร้อน แต่กรมการค้าภายในจะฝืนกลไกตลาดการไม่ได้แค่ไหน เพราะต้องยอมรับความจริงต้นทุนวัตถุดิบสินค้าพุ่งสูงขึ้นมากในยุคนี้ ที่ผ่านมาเมื่อราคาสินค้าขึ้นแล้ว ลงยาก จึงเป็น”เผือกร้อน”สำหรับกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องแก้ปัญหาให้เป็นที่”ถูกใจ”กับทุกฝ่าย
กสิกรไทยคาดสงกรานต์ 2565 เดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่ใช้จ่ายไม่มาก
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-907215
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินคนเดินทางท่องเที่ยวสงกรานต์มากขึ้น คาดเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.2% แต่การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวน่าจะมีมูลค่า 2.23 หมื่นล้านบาท เพิ่มไม่มากนัก เหตุต้องเผชิญภาวะค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่มากขึ้น จากราคาสินค้า-พลังงานที่พุ่งขึ้น
วันที่ 9 เมษายน 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า จากการที่ทาง ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการให้จัดงานเทศกาลสงกรานต์ในปี 2565 ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาคการท่องเที่ยว แต่เนื่องด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันยังทรงตัวสูง ขณะที่ภาระรายจ่ายในชีวิตประจำวันที่ปรับตัวสูงขึ้น ก็อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวและทำให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างจำกัด
โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยในช่วงสัปดาห์ของเทศกาลสงกรานต์ 9 วัน ระหว่างวันที่ 9-17 เม.ย. 2565 (ในบางพื้นที่จะมีการจัดงานประเพณีสงกรานต์ท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. 2565 และสถานประกอบการบางแห่ง เช่น โรงงานอุตสาหกรรมจะปิดทำการยาวเพื่อให้พนักงานเดินทางกลับภูมิลำเนา กอปรกับการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงนี้นักท่องเที่ยวจะมีการทยอยเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดในสถานที่ท่องเที่ยว) น่าจะมีจำนวน 4.6 ล้านคน-ครั้ง (การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักค้าง การเดินทางกลับภูมิลำเนาและมีการท่องเที่ยว รวมถึงการเดินทางแบบไปเช้า-เย็นกลับข้ามจังหวัด) เพิ่มขึ้น 2.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
แต่เนื่องจากผลของมาตรการรัฐ การจัดโปรโมชั่นของผู้ประกอบการท่องเที่ยว และการปรับพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวโดยหลีกเลี่ยงความแออัดและเน้นเลือกเดินทางระยะใกล้ ทำให้การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวต่อทริปโดยเฉลี่ยจึงลดลง
แม้ราคาอาหารและพลังงานจะแพงขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2565 นี้ น่าจะมีมูลค่า 2.23 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 1.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ ทิศทางตลาดท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปี 2565 นี้ แม้ธุรกิจท่องเที่ยวจะได้รับปัจจัยด้านบวกเพิ่มเติมจากการที่ทางการได้ผ่อนคลายกฎระเบียบการตรวจวัดเชื้อโควิด-19 ก่อนเดินทางเข้าประเทศของชาวต่างชาติ
อย่างไรก็ดี เนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ในระยะข้างหน้า ยังมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากยังต้องติดตามสถานการณ์โรคโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศที่ยังบั่นทอนความต้องการเดินทางท่องเที่ยวแล้ว ภาคการท่องเที่ยวก็ยังมีความท้าทายใหม่เพิ่มขึ้นจากประเด็นสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
รวมถึงขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาราคาสินค้าและพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ภาระรายจ่ายในชีวิตประจำวันปรับตัวสูงขึ้นตาม ซึ่งคงจะมีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว และความถี่ในการเดินทางท่องเที่ยวลดลง
ขณะเดียวกันปัจจัยด้านต้นทุนสร้างแรงกดดันในการทำตลาดให้กับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน เนื่องจากความต้องการเดินทางท่องเที่ยวที่ยังจำกัด แต่การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการที่สูง ทำให้การทำแพ็คเกจด้านราคายังคงต้องมีความระมัดระวัง
จากทิศทางดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวยังคงต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยการทำตลาดในช่วงเวลานี้ยังคงต้องมีความยืดหยุ่นและปรับกลยุทธ์ไปตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ที่ปัจจุบันการเดินทางท่องเที่ยวมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย
ทั้งการเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน (Leisure Travel) การเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานในสถานที่ท่องเที่ยว (Workcations) ขณะที่ปัจจุบันหลายบริษัทยังใช้รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Work from Home ซึ่งผู้ประกอบการคงจะต้องมีการจัดแพ็คเกจพิเศษระยะสั้น และระยะยาวสำหรับนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่ม
นอกจากนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญในเรื่องของการเปรียบเทียบราคาที่พักและบริการ ซึ่งหากผู้ประกอบการมีต้นทุนที่สูงก็คงจะต้องหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา โดยปรับกลยุทธ์ลงมาเจาะกลุ่มเฉพาะ หรือ Niche Market เพิ่มบริการพร้อมปรับผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวให้มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
เน้นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และให้นักท่องเที่ยสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวอย่างการถ่ายรูป เรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายพันธมิตรระหว่างผู้ประกอบท่องเที่ยวในชุมชน เช่น ร้านอาหาร โรงแรมและที่พัก บริษัทนำเที่ยวและรถเช่า เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวเดินทางอิส
บริษัทเครื่องเสียงดัง เจวีซีเคนวูด ปิดกิจการถาวร ผู้บริหารส่งพนักงานย้ายฐานกลับญี่ปุ่น
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6990264
เป็นเรื่องน่าใจหายสำหรับบริษัทที่เปิดมาเป็นเวลานานแล้วต้องปิดตัวลง อาจจะเกิดจากภาวะเศรษฐกิจ หรือ การย้ายฐานการลงทุนไปในที่ที่ต้นทุนต่ำกว่า
ล่าสุด ข่าวสารชลบุรี-ระยอง ได้เปิดเผยภาพ โรงงานผลิตเครื่องเสียงดัง บริษัท เจวีซีเคนวูด อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด. เลขที่ 107 หมู่18 นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานี. ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ประกาศปิดกิจการถาวร
โดยบริษัท ได้แจ้งล่วงหน้าต่อพนักงาน จ่ายค่าชดเชยตามกฏหมายให้แก่พนักงานทุกคน และมีเงินสบทบให้แก่พนักงานก้อนใหญ่ เพื่อให้พนักงานไปดำรงชีวิตและใช้จ่าย ซึ่งไม่มีการประท้วงใดๆ และมีการร่ำลากันอย่างอาลัย
สำหรับบริษัทได้ทำการย้ายฐานผลิตกลับไปที่ประเทศญี่ปุ่น โดย บริษัท เจวีซีเคนวูด อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่เกี่ยวกับเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์
https://www.facebook.com/Newsofpagechonburirayong/posts/1570883123284068