ประโยคจากสุภาษิตโบราณที่กล่าวว่า “สิ่งที่คุณอยากพูดไม่ใช่ประเด็น แต่เป็นวิธีการพูดต่างหาก” ประโยคดังกล่าวค่อนข้างมีผลในโลกปัจจุบันอย่างมาก
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับในการทำพรีเซนต์อย่างไรให้คุ้มค่าต่อการจับตามอง
เราร่วมมือกับทาง CARE International เพื่อนำเสนอเทคนิคในการสร้างพรีเซนต์อย่างไรให้โดดเด่นกว่าใครๆ
เมื่อหลายปีก่อนการพรีเซนต์หรือนำเสนอนั้นไม่เพียงแค่นั่งพูดแล้วจบอยู่ในห้องๆเดียวผ่านออนไลน์แบบปัจจุบัน เราต้องมีทั้งแผ่นเสนองาน
ใช้กริยาท่าทางในการพูด เข้าใจบรรยากาศโดยรวมในห้อง และเห็นความต้องการของผู้ฟัง
แต่ในตอนนี้ หลายๆคนต่างทำงานอยู่ที่บ้าน ทำให้ธรรมชาติในการทำงานเปลี่ยนไป แต่การสร้างงานพรีเซนต์นั้นต้องชัดเจนสำหรับทุกคนเช่นเดิม
ไม่ว่าจะมีใครฟังจากที่ไหนก็ตามในโลกออนไลน์
แล้วเราจะสร้างสไลด์นำเสนอผลงานอย่างไรให้ทรงพลังสะกดทุกสายตา? มีอะไรที่จะช่วยได้บ้าง? เทคนิคต่อไปนี้จะมาช่วยสร้างความแตกต่าง
ให้กับพรีเซนต์ของคุณได้อย่างคาดไม่ถึง
ภาพโดย miniwide
ความตั้งใจคืออะไร?
ก่อนจะเริ่มทำหรือเขียนอะไรก็ตามลงในสไลด์ คิดก่อนว่าคุณอยากจะให้ตัวพรีเซนต์ของคุณทำหน้าที่อะไร?
- อยากให้ผู้ชมจดจำอะไร?
- ผู้ชมควรจะต้องรู้สึกอย่างไรตอนจบ?
- หลังพูดเสร็จอยากให้ผู้ชมทำอะไรต่อ?
เขียน Keyword หลักๆของคุณในกระดาษ ไม่ต้องกลัวเพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ปรากฎในงานพรีเซนต์ของคุณแน่นอน
ช่วงเริ่มต้นคุณจะวางแผนอย่างไรก็ได้ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสร้าง Roadmap ให้คุณ ถึงแม้คุณจะเขียนสิ่งที่คุณไม่ได้ใช้
แต่ถ้าทำไปเรื่อยๆคุณอาจจะวนกลับมาใช้ก็ได้
ภาพโดย miniwide
ออกแบบลักษณะและอารมณ์ให้กับงานศิลป์
หลังจากวางแผนภารกิจในการนำเสนอทั้งหมดแล้ว ก็มาเริ่มเข้างานออกแบบต่อได้ โดยในขั้นตอนนี้เราแนะนำให้มี 3 สิ่งนี้ในงาน
- มีรูปภาพประกอบให้เกิดจินตนาการ
- เลือกธีมสี
- จัดวางรูปภาพและเลือกรูปภาพที่หลากหลาย
ใส่ไอเดียต่างๆเหล่านี้ในบอร์ดวางแผน หรือทำโฟลเดอร์แยกไว้เพื่อให้ง่ายต่อการหยิบใช้และจัดแจงงานในพรีเซนต์
จากการศึกษาของหลายๆสถาบัน พบว่าภาพสามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้เข้าใจกว่าคำพูด เมื่อผู้คนเห็นภาพจะเกิดอารมณ์
ถึงขั้นเปลี่ยนพฤติกรรมไปโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัวก็ตาม
ที่ต้องพูดถึงประเด็นนี้เพราะ หลายๆคนชอบรอจนถึงโค้งสุดท้ายก่อนจะใส่ภาพเข้าไปในสไลด์ แทนที่จะใส่ไปพร้อมกับข้อความในสไลด์เลย
หลังจากใส่รูปภาพเสร็จอย่าลืมใส่ข้อความหรือประโยคในนั้นด้วย
จัดแจงงานให้เสร็จในเวลาที่กำหนด
เมื่อคุณมีภาพใหญ่ในหัวแล้วว่าจะทำอะไร มีสไลด์รอพรีเซนต์พร้อมแล้ว ถึงเวลาเข้าสู่ช่วงการนำเสนอผลงาน
เริ่มจากพูดคร่าวๆว่าเนื้อหาทั้งหมดเราจะมีพูดถึงอะไรบ้าง และกำหนดเวลาว่าจะพูดกี่นาที จบแล้วไปตรงไหนต่อ โดยมีเทคนิคใช้ฝึกดังนี้
- สร้างสไลด์ 10 อัน
- พูดให้จบใน 20 นาที
- ใช้ฟอนต์ใหญ่กว่าขนาด 30 ในสไลด์
สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีทักษะที่ดีในการนำเสนองาน การกำหนดเวลาให้กับงานพรีเซนต์จะช่วยให้คนดูไม่เกิดอาการเบื่อเสียก่อน
จนไม่สนใจงานของคุณอีกต่อไป
ภาพโดย Catrin1309
กฎแผนงานสัดส่วน 5/5/5
อีกหนึ่งเทคนิคยอดนิยมสำหรับการทำพรีเซนก็คือสัดส่วน 5/5/5 ประกอบไปด้วย
- ห้ามมีคำเกิน 5 คำในประโยค
- ห้ามมีประโยคเกิน 5 บรรทัดในสไลด์
- ถ้าต้องใส่ประโยคเยอะๆในสไลด์ ไม่ควรมีเกิน 5 สไลด์ในงานพรีเซนต์ทั้งหมด
กฎนี้จะช่วยสร้างความระมัดระวังให้ผู้พรีเซนต์ เพราะทุกอย่างในสไลด์จะส่งผลต่อตัวผู้ชมอย่างมากว่าจะติดตามคุณต่อหรือไม่
สรุปให้ฟังเมื่อมีโอกาส
สำหรับสไลด์ที่มีข้อมูลเยอะๆ เป็นเรื่องยากที่จะแกะประเด็นออกมาให้เข้าใจง่าย ควรจะวางข้อมูลเสริมไว้ที่ขอบจอหรือใส่ Hyperlink
ในสไลด์เพื่อให้ง่ายต่อผู้ฟังในการไปหาข้อมูลต่อ
ถ้าคุณต้องนำเสนอข้อมูลกราฟฟิกและสถิติ ต้องแน่ใจว่าเห็นแล้วเข้าใจง่าย ไม่ทำให้ผู้ชมสับสนจนประเด็นเบี่ยงเบนไป
ภาพโดย GoodStudio
สร้างความมั่นใจ
การเริ่มพูดและฝึกไปพร้อมกับเปิดสไลด์จะช่วยให้คุณสร้างความมั่นใจได้ดียิ่งขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางท่านยังแนะนำว่าคนเราควรฝึกพูดวนไปอย่างน้อย 10 รอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจสูงสุด พร้อมกับเขียนโน๊ตลงไปในกระดาษเล็กๆถ้าทำได้ เพราะจะช่วยให้คุณไม่ลืมว่าอยู่ตรงไหนแล้ว
การศึกษาหลายครั้งพบว่า เขียนโน๊ตลงในกระดาษด้วยมือตัวเองนั้นช่วยให้เราจำพรีเซนต์ได้ดีขึ้น ดีกว่าการพิมพ์
ถ้าเป็นไปได้หรือมีโอกาส คุณควรฝึกพรีเซนต์ด้วยอุปกรณ์ใดๆก็ตามที่จะใช้ในการพรีเซนต์จริง
แต่ถ้าคุณต้องพรีเซนต์ออนไลน์คุณต้องเข้าไปในห้องรอก่อนใคร Log-out ทุกโปรแกรมหรือปิดโปรแกรมทุกชนิดที่จะรบกวนการพรีเซนต์ของคุณ
ทั้งหมดนี้คือวิธีที่จะทำให้คุณกลายเป็นเทพเจ้าแห่งการทำพรีเซนต์ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณไต่เต้าและประสบความสำเร็จในอาชีพอย่างแน่นอน
บทความต้นฉบับ : How to Make an Impactful Presentation
เรียบเรียงโดย ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24
ทำ Present อย่างไรให้น่าดูและทรงพลังสะกดทุกสายตา
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับในการทำพรีเซนต์อย่างไรให้คุ้มค่าต่อการจับตามอง
เราร่วมมือกับทาง CARE International เพื่อนำเสนอเทคนิคในการสร้างพรีเซนต์อย่างไรให้โดดเด่นกว่าใครๆ
เมื่อหลายปีก่อนการพรีเซนต์หรือนำเสนอนั้นไม่เพียงแค่นั่งพูดแล้วจบอยู่ในห้องๆเดียวผ่านออนไลน์แบบปัจจุบัน เราต้องมีทั้งแผ่นเสนองาน
ใช้กริยาท่าทางในการพูด เข้าใจบรรยากาศโดยรวมในห้อง และเห็นความต้องการของผู้ฟัง
แต่ในตอนนี้ หลายๆคนต่างทำงานอยู่ที่บ้าน ทำให้ธรรมชาติในการทำงานเปลี่ยนไป แต่การสร้างงานพรีเซนต์นั้นต้องชัดเจนสำหรับทุกคนเช่นเดิม
ไม่ว่าจะมีใครฟังจากที่ไหนก็ตามในโลกออนไลน์
แล้วเราจะสร้างสไลด์นำเสนอผลงานอย่างไรให้ทรงพลังสะกดทุกสายตา? มีอะไรที่จะช่วยได้บ้าง? เทคนิคต่อไปนี้จะมาช่วยสร้างความแตกต่าง
ให้กับพรีเซนต์ของคุณได้อย่างคาดไม่ถึง
ก่อนจะเริ่มทำหรือเขียนอะไรก็ตามลงในสไลด์ คิดก่อนว่าคุณอยากจะให้ตัวพรีเซนต์ของคุณทำหน้าที่อะไร?
- ผู้ชมควรจะต้องรู้สึกอย่างไรตอนจบ?
- หลังพูดเสร็จอยากให้ผู้ชมทำอะไรต่อ?
หลังจากวางแผนภารกิจในการนำเสนอทั้งหมดแล้ว ก็มาเริ่มเข้างานออกแบบต่อได้ โดยในขั้นตอนนี้เราแนะนำให้มี 3 สิ่งนี้ในงาน
- เลือกธีมสี
- จัดวางรูปภาพและเลือกรูปภาพที่หลากหลาย
ใส่ไอเดียต่างๆเหล่านี้ในบอร์ดวางแผน หรือทำโฟลเดอร์แยกไว้เพื่อให้ง่ายต่อการหยิบใช้และจัดแจงงานในพรีเซนต์
จากการศึกษาของหลายๆสถาบัน พบว่าภาพสามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้เข้าใจกว่าคำพูด เมื่อผู้คนเห็นภาพจะเกิดอารมณ์
ถึงขั้นเปลี่ยนพฤติกรรมไปโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัวก็ตาม
ที่ต้องพูดถึงประเด็นนี้เพราะ หลายๆคนชอบรอจนถึงโค้งสุดท้ายก่อนจะใส่ภาพเข้าไปในสไลด์ แทนที่จะใส่ไปพร้อมกับข้อความในสไลด์เลย
หลังจากใส่รูปภาพเสร็จอย่าลืมใส่ข้อความหรือประโยคในนั้นด้วย
จัดแจงงานให้เสร็จในเวลาที่กำหนด
เมื่อคุณมีภาพใหญ่ในหัวแล้วว่าจะทำอะไร มีสไลด์รอพรีเซนต์พร้อมแล้ว ถึงเวลาเข้าสู่ช่วงการนำเสนอผลงาน
เริ่มจากพูดคร่าวๆว่าเนื้อหาทั้งหมดเราจะมีพูดถึงอะไรบ้าง และกำหนดเวลาว่าจะพูดกี่นาที จบแล้วไปตรงไหนต่อ โดยมีเทคนิคใช้ฝึกดังนี้
- สร้างสไลด์ 10 อัน
- พูดให้จบใน 20 นาที
- ใช้ฟอนต์ใหญ่กว่าขนาด 30 ในสไลด์
สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีทักษะที่ดีในการนำเสนองาน การกำหนดเวลาให้กับงานพรีเซนต์จะช่วยให้คนดูไม่เกิดอาการเบื่อเสียก่อน
จนไม่สนใจงานของคุณอีกต่อไป
อีกหนึ่งเทคนิคยอดนิยมสำหรับการทำพรีเซนก็คือสัดส่วน 5/5/5 ประกอบไปด้วย
- ห้ามมีประโยคเกิน 5 บรรทัดในสไลด์
- ถ้าต้องใส่ประโยคเยอะๆในสไลด์ ไม่ควรมีเกิน 5 สไลด์ในงานพรีเซนต์ทั้งหมด
กฎนี้จะช่วยสร้างความระมัดระวังให้ผู้พรีเซนต์ เพราะทุกอย่างในสไลด์จะส่งผลต่อตัวผู้ชมอย่างมากว่าจะติดตามคุณต่อหรือไม่
สรุปให้ฟังเมื่อมีโอกาส
สำหรับสไลด์ที่มีข้อมูลเยอะๆ เป็นเรื่องยากที่จะแกะประเด็นออกมาให้เข้าใจง่าย ควรจะวางข้อมูลเสริมไว้ที่ขอบจอหรือใส่ Hyperlink
ในสไลด์เพื่อให้ง่ายต่อผู้ฟังในการไปหาข้อมูลต่อ
ถ้าคุณต้องนำเสนอข้อมูลกราฟฟิกและสถิติ ต้องแน่ใจว่าเห็นแล้วเข้าใจง่าย ไม่ทำให้ผู้ชมสับสนจนประเด็นเบี่ยงเบนไป
สร้างความมั่นใจ
การเริ่มพูดและฝึกไปพร้อมกับเปิดสไลด์จะช่วยให้คุณสร้างความมั่นใจได้ดียิ่งขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางท่านยังแนะนำว่าคนเราควรฝึกพูดวนไปอย่างน้อย 10 รอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจสูงสุด พร้อมกับเขียนโน๊ตลงไปในกระดาษเล็กๆถ้าทำได้ เพราะจะช่วยให้คุณไม่ลืมว่าอยู่ตรงไหนแล้ว
แต่ถ้าคุณต้องพรีเซนต์ออนไลน์คุณต้องเข้าไปในห้องรอก่อนใคร Log-out ทุกโปรแกรมหรือปิดโปรแกรมทุกชนิดที่จะรบกวนการพรีเซนต์ของคุณ
ทั้งหมดนี้คือวิธีที่จะทำให้คุณกลายเป็นเทพเจ้าแห่งการทำพรีเซนต์ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณไต่เต้าและประสบความสำเร็จในอาชีพอย่างแน่นอน
บทความต้นฉบับ : How to Make an Impactful Presentation
เรียบเรียงโดย ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24