การพรีเซนต์ตัวเองอาจเป็นสิ่งที่คนทำงานและคนหางานหลายคนเขินอายเวลาที่ต้องพูดถึงความสามารถ ผลงาน หรือความสำเร็จของตัวเอง
ซึ่งความเขินอายที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังเขียนเรซูเม่ ก็อาจทำให้เราไม่สามารถเขียนศักยภาพของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ ทำให้เรซูเม่ไม่น่าสนใจ และพลาดโอกาสในการถูกเรียกสัมภาษณ์งาน และการพรีเซนต์ตัวเองให้โดดเด่นก็ยังไม่จบอยู่แค่การเขียนเรซูเม่เท่านั้น แต่เรายังต้องพรีเซนต์ตัวเองผ่านการสัมภาษณ์งานเพื่อทำให้ตัวเองเป็นผู้สมัครที่เข้าตา HR ด้วย
กระทู้นี้ JobThai Tips เอาเทคนิคในการพรีเซนต์ตัวเองแบบ “STAR Technique” ที่สามารถใช้ได้ในหลายสถานการณ์และหลายโอกาสมาฝาก
คนทำงานส่วนมากเวลาประหม่าก็มักจะพูดวนไปวนมา หรือพูดติด ๆ ขัด ๆ และพอต้องเล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานของตัวเองทั้งในเรซูเม่ หรือระหว่างสัมภาษณ์ ก็มักจะพูดถึงแต่หน้าที่และสิ่งที่ลงมือทำ แต่ไม่ได้เล่าถึงรายละเอียดว่าทำไมถึงต้องทำหรือผลลัพธ์คืออะไร ซึ่งการพรีเซนต์ตัวเองแบบ “STAR Technique” จะทำให้เราสามารถเรียบเรียงคำพูดหรือลงรายละเอียดต่าง ๆ ได้ดีกว่าเดิม โดยเทคนิค STAR นี้ย่อมาจาก
(S) Situation:
สถานการณ์ที่เราหรือองค์กรกำลังเผชิญอยู่ตอนนั้นคืออะไรและทำไมถึงต้องมาทำสิ่งนี้ ซึ่งคำตอบในตัวย่อนี้จะแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์และอุปสรรคที่เราเคยเผชิญมา โดยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นได้ทั้งเรื่องเล็กไปจนถึงเรื่องใหญ่ เช่น นักพัฒนา อาจจะเจอกับสถานการณ์อย่างอัตราการเข้าชมเว็บไซต์ลดลง เว็บไซต์ช้าลงกว่าเดิม หรือได้รับโปรเจกต์ใหม่มาจากหัวหน้าทีม
(T) Task:
หน้าที่ประจำตำแหน่งหรือความรับผิดชอบที่ได้รับ ตรงนี้เราสามารถเล่ารายละเอียดของหน้าที่ที่เราเคยทำมา อย่างเป็นนักการตลาดที่มีหน้าที่หาช่องทางโปรโมตสินค้าตามแฟลตฟอร์ม นักพัฒนาที่คอยศึกษาเครื่องมือใหม่ ๆ มาพัฒนาเว็บไซต์
(A) Action:
สิ่งที่เราลงมือทำด้วยตัวเอง เมื่อเกิดสถานการณ์ที่เราเพิ่งยกตัวอย่างไปเรารับมือด้วยวิธีอะไร ซึ่งหน้าที่หรือสิ่งที่เราได้รับมอบหมาย (Task) อาจไม่ใช่สิ่งที่เราลงมือทำ (Action) เสมอไป เพราะเมื่อเกิดสถานการณ์ต่าง ๆ เราอาจลงมือทำมากกว่าที่เราได้รับมอบหมายมาก็ได้
(R) Result:
ผลลัพธ์ที่ได้จากสิ่งที่เราเล่ามาทั้งหมดคืออะไร หัวข้อสุดท้ายนี้จะเป็นบทสรุปเรื่องราวทั้งหมดที่เราเล่ามา และเป็นตัวบ่งชี้ว่าเราทำงานนี้ไปเพื่ออะไร สิ่งที่เราทำประสบความสำเร็จขนาดไหน แล้วจะสร้างคุณค่าให้กับองค์กรในอนาคตได้ยังไง ซึ่งผลลัพธ์อาจวัดได้จากหลายตัวแปร และแตกต่างกันไปตามรูปแบบหรือประเภทงาน เช่น มีจำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น สร้างรายได้ให้บริษัทมากขึ้น ไปจนถึงความเร็วของระยะเวลาในการทำโปรเจกต์ที่เสร็จเร็วขึ้นก็เป็นผลลัพธ์เช่นกัน นอกจากนี้การเล่าไปถึงสิ่งที่เราเรียนรู้จากสถานการณ์ครั้งนี้ก็จะทำให้ HR มีความเข้าใจเราได้ดีมากขึ้น
พรีเซนต์ตัวเองแบบ “STAR Technique”
ซึ่งความเขินอายที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังเขียนเรซูเม่ ก็อาจทำให้เราไม่สามารถเขียนศักยภาพของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ ทำให้เรซูเม่ไม่น่าสนใจ และพลาดโอกาสในการถูกเรียกสัมภาษณ์งาน และการพรีเซนต์ตัวเองให้โดดเด่นก็ยังไม่จบอยู่แค่การเขียนเรซูเม่เท่านั้น แต่เรายังต้องพรีเซนต์ตัวเองผ่านการสัมภาษณ์งานเพื่อทำให้ตัวเองเป็นผู้สมัครที่เข้าตา HR ด้วย
กระทู้นี้ JobThai Tips เอาเทคนิคในการพรีเซนต์ตัวเองแบบ “STAR Technique” ที่สามารถใช้ได้ในหลายสถานการณ์และหลายโอกาสมาฝาก
คนทำงานส่วนมากเวลาประหม่าก็มักจะพูดวนไปวนมา หรือพูดติด ๆ ขัด ๆ และพอต้องเล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานของตัวเองทั้งในเรซูเม่ หรือระหว่างสัมภาษณ์ ก็มักจะพูดถึงแต่หน้าที่และสิ่งที่ลงมือทำ แต่ไม่ได้เล่าถึงรายละเอียดว่าทำไมถึงต้องทำหรือผลลัพธ์คืออะไร ซึ่งการพรีเซนต์ตัวเองแบบ “STAR Technique” จะทำให้เราสามารถเรียบเรียงคำพูดหรือลงรายละเอียดต่าง ๆ ได้ดีกว่าเดิม โดยเทคนิค STAR นี้ย่อมาจาก
(S) Situation:
สถานการณ์ที่เราหรือองค์กรกำลังเผชิญอยู่ตอนนั้นคืออะไรและทำไมถึงต้องมาทำสิ่งนี้ ซึ่งคำตอบในตัวย่อนี้จะแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์และอุปสรรคที่เราเคยเผชิญมา โดยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นได้ทั้งเรื่องเล็กไปจนถึงเรื่องใหญ่ เช่น นักพัฒนา อาจจะเจอกับสถานการณ์อย่างอัตราการเข้าชมเว็บไซต์ลดลง เว็บไซต์ช้าลงกว่าเดิม หรือได้รับโปรเจกต์ใหม่มาจากหัวหน้าทีม
(T) Task:
หน้าที่ประจำตำแหน่งหรือความรับผิดชอบที่ได้รับ ตรงนี้เราสามารถเล่ารายละเอียดของหน้าที่ที่เราเคยทำมา อย่างเป็นนักการตลาดที่มีหน้าที่หาช่องทางโปรโมตสินค้าตามแฟลตฟอร์ม นักพัฒนาที่คอยศึกษาเครื่องมือใหม่ ๆ มาพัฒนาเว็บไซต์
(A) Action:
สิ่งที่เราลงมือทำด้วยตัวเอง เมื่อเกิดสถานการณ์ที่เราเพิ่งยกตัวอย่างไปเรารับมือด้วยวิธีอะไร ซึ่งหน้าที่หรือสิ่งที่เราได้รับมอบหมาย (Task) อาจไม่ใช่สิ่งที่เราลงมือทำ (Action) เสมอไป เพราะเมื่อเกิดสถานการณ์ต่าง ๆ เราอาจลงมือทำมากกว่าที่เราได้รับมอบหมายมาก็ได้
(R) Result:
ผลลัพธ์ที่ได้จากสิ่งที่เราเล่ามาทั้งหมดคืออะไร หัวข้อสุดท้ายนี้จะเป็นบทสรุปเรื่องราวทั้งหมดที่เราเล่ามา และเป็นตัวบ่งชี้ว่าเราทำงานนี้ไปเพื่ออะไร สิ่งที่เราทำประสบความสำเร็จขนาดไหน แล้วจะสร้างคุณค่าให้กับองค์กรในอนาคตได้ยังไง ซึ่งผลลัพธ์อาจวัดได้จากหลายตัวแปร และแตกต่างกันไปตามรูปแบบหรือประเภทงาน เช่น มีจำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น สร้างรายได้ให้บริษัทมากขึ้น ไปจนถึงความเร็วของระยะเวลาในการทำโปรเจกต์ที่เสร็จเร็วขึ้นก็เป็นผลลัพธ์เช่นกัน นอกจากนี้การเล่าไปถึงสิ่งที่เราเรียนรู้จากสถานการณ์ครั้งนี้ก็จะทำให้ HR มีความเข้าใจเราได้ดีมากขึ้น