🏋🏼 ก็เป็นสิ่งที่หลายคนที่ออกกำลังกายประจำๆ อาจจะมีกังวลกันอยู่บ้างนะครับ เวลาที่มีเหตุให้ออกกำลังกายไม่ได้ ว่ามันจะส่งผลอะไรบ้าง งานนี้เขาก็ศึกษาว่าถ้าเราต้องนอนพักรักษาตัว (Bed rest ,BR) หรือพักฟื้นจากการออกกำลังกายระยะสั้นๆ มีผลยังไงกับไมโตรคอนเดรียในกล้ามเนื้อบ้าง
📚 งานนี้เขาให้ผู้ชายสูงอายุสุขภาพดี ไม่อ้วน ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อน้อย จำนวน 10 คน อายุเฉลี่ย 71.5 ปีมาเป็นกลุ่มทดลอง เป็นคนที่ไม่เคยทำการฝึก Resistance Exercise Training มาก่อนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
📝 วิธีการทดลอง วันแรกเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อด้วย Muscle biopsy และวัด Body composition ด้วย BIA ก่อน จากนั้นวันถัดมา ก็ให้แต่ละคนมาทำการฝึกกล้ามเนื้อขา โดยใช้ขาข้างที่ถนัด วอร์มที่ 50%1RM สองเซ็ท แล้วก็ฝึกที่ 75%RM อีก 6 เซ็ท ด้วยท่า Leg extension และ Leg curl แต่ละเซ็ททำ 12 rep แล้วก็พักวันเว้นวัน
🗒 หลังจากฝึกไป 4 รอบ จากนั้นวันที่ 8 ก็เก็บตัวอย่างชิ้นกล้ามเนื้ออีกที แล้วก็ให้ทำการจำลองการเข้าพักรักษาตัว 5 วัน เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ ระหว่างทดลองก็มีเก็บตัวอย่างเลือดและตัวอย่างชิ้นเนื้อย่อยๆอีกหลายครั้ง เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลนะครับ
🔎 สิ่งที่เขาต้องการดูผลก็คือ Citrate synthase enzyme , mitochondrial dynamics , mitochondrial biogenesis และ mitophagy ซึ่งในงานวิจัยอื่นๆ ที่ทดสอบการที่หยุดใช้งานกล้ามเนื้อ พบว่ามันมีการเผาผลาญระดับเซลล์ของเจ้าไมโตคอนเดรียที่ผิดปกติออกไป แต่ว่างานต่างๆเหล่านั้นระยะเวลาพัก BR คือ 7-14 วัน ซึ่งต่างจากงานนี้ที่เป็นระยะเวลาแค่ 5 วัน
👴🏻 ผลที่เขาพบซึ่งทำในกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มนี้ ไม่มีอะไรที่แตกต่างไปในช่วงระยะเวลา BR 5 วันดังกล่าว ทั้งในแง่กิจกรรมของเอนไซม์และการแสดงออกของโปรตีน ที่เป็นตัวควบคุมปริมาณ , dynamics , biogenesis และ mitophagy นอกจากนั้นการฝึก 7 วันก่อนหน้า BR ก็ไม่ได้ส่งผลอะไรด้วย
🧓🏼 อย่างไรก็ตามนั่นคือผลในกลุ่มผู้สูงอายุ และระยะเวลาพักเพียง 5 วันนะครับ ในกลุ่มของเด็กๆ ผู้ใหญ่ หรือการพักที่นานกว่านั้นจากงานวิจัยอื่นๆ พบว่ามีผลต่างให้เห็นที่มากกว่างานนี้ เพราะว่าในกลุ่มผู้สูงอายุเนี่ย ไม่ว่าจะเป็นการไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อ หรือการฝึกกล้ามเนื้อ มีอัตราการสังเคราะห์ที่มันเกิดขึ้นช้ากว่า เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่หรือกลุ่มที่อายุน้อยกว่า
🏋🏼 ส่วนที่ว่าการฝึกก่อนหน้า เป็นเวลา 7 วันไม่ได้ส่งผลอะไร นั้นก็ต้องเข้าใจกันอีกนิดด้วยนะครับว่าระยะเวลามันสั้นไปกว่าที่จะเห็นผลอะไรได้ รวมถึง Intensity ของการฝึกก็อาจจะไม่ได้หนักมากจนกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมอะไรกับไมโตคอนเดรียได้ แต่ด้วยความที่ subj เป็นกลุ่มนี้ นั่นจะให้หนักมากเหมือนวัยรุ่นก็คงไม่ใช่
📌 โดยสรุป ผลที่พบในกลุ่มผู้สูงอายุ (65-80) ที่สุขภาพดีการต้องหยุดพักออกกำลังกายไประยะเวลาสั้นๆ ก็ไม่ได้เกิดต่างอะไรกับเจ้าไมโตรคอนเดรียนักนะครับ แต่ถ้าเป็นในกลุ่มที่สุขภาพมีปัญหา มีภาวะกล้ามเนื้อน้อย หรืออื่นๆ ผลอาจจะไม่เหมือนกัน และเช่นกัน ในกลุ่มคนช่วงวัยอื่น ก็อาจจะให้ผลที่แตกต่างกันออกไปอีก
😎 ตรงนี้เมื่อนำไปดูกับอีกหลายๆงานที่เคยศึกษาไว้ ก็แนะนำว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่กล้ามเนื้อเขาถดถอยลงไปเรื่อยๆ การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยกระตุ้นและรักษากล้ามเนื้อของเขาไว้ได้มากกว่า ไม่ได้ออก แต่ถ้ามีเหตุให้จำเป็นต้องพักเป็นระยะเวลาสั้นๆ ข้อมูลจากงานนี้ ก็น่าจะทำให้เราสบายใจได้อย่างนึง ว่ามันไม่ได้มีผลเสียอะไรเร็วขนาดนั้นนะครับ ✌🏼
📌 แต่ถ้าระยะเวลานานกว่านั้น อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า มันจะเริ่มพบว่าให้ผลที่แตกต่างกันออกไปแล้ว ก็ลองนำไปปรับใช้กับการดูแลตัวเอง และดูแลคนที่เราห่วงใยกันดูนะครับ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-07-05-no-effect-of-five-days-of-bed-rest-or-short-term-resistance-exercise-prehabilitation-on-markers-of-skeletal-muscle-mitochondrial-content-and-dynamics-in-older-adults/
ไม่สบายต้องนอนพัก หยุดออกกำลังกาย 5 วัน จะเป็นอะไรมั้ย 🤔
📚 งานนี้เขาให้ผู้ชายสูงอายุสุขภาพดี ไม่อ้วน ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อน้อย จำนวน 10 คน อายุเฉลี่ย 71.5 ปีมาเป็นกลุ่มทดลอง เป็นคนที่ไม่เคยทำการฝึก Resistance Exercise Training มาก่อนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
📝 วิธีการทดลอง วันแรกเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อด้วย Muscle biopsy และวัด Body composition ด้วย BIA ก่อน จากนั้นวันถัดมา ก็ให้แต่ละคนมาทำการฝึกกล้ามเนื้อขา โดยใช้ขาข้างที่ถนัด วอร์มที่ 50%1RM สองเซ็ท แล้วก็ฝึกที่ 75%RM อีก 6 เซ็ท ด้วยท่า Leg extension และ Leg curl แต่ละเซ็ททำ 12 rep แล้วก็พักวันเว้นวัน
🗒 หลังจากฝึกไป 4 รอบ จากนั้นวันที่ 8 ก็เก็บตัวอย่างชิ้นกล้ามเนื้ออีกที แล้วก็ให้ทำการจำลองการเข้าพักรักษาตัว 5 วัน เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ ระหว่างทดลองก็มีเก็บตัวอย่างเลือดและตัวอย่างชิ้นเนื้อย่อยๆอีกหลายครั้ง เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลนะครับ
🔎 สิ่งที่เขาต้องการดูผลก็คือ Citrate synthase enzyme , mitochondrial dynamics , mitochondrial biogenesis และ mitophagy ซึ่งในงานวิจัยอื่นๆ ที่ทดสอบการที่หยุดใช้งานกล้ามเนื้อ พบว่ามันมีการเผาผลาญระดับเซลล์ของเจ้าไมโตคอนเดรียที่ผิดปกติออกไป แต่ว่างานต่างๆเหล่านั้นระยะเวลาพัก BR คือ 7-14 วัน ซึ่งต่างจากงานนี้ที่เป็นระยะเวลาแค่ 5 วัน
👴🏻 ผลที่เขาพบซึ่งทำในกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มนี้ ไม่มีอะไรที่แตกต่างไปในช่วงระยะเวลา BR 5 วันดังกล่าว ทั้งในแง่กิจกรรมของเอนไซม์และการแสดงออกของโปรตีน ที่เป็นตัวควบคุมปริมาณ , dynamics , biogenesis และ mitophagy นอกจากนั้นการฝึก 7 วันก่อนหน้า BR ก็ไม่ได้ส่งผลอะไรด้วย
🧓🏼 อย่างไรก็ตามนั่นคือผลในกลุ่มผู้สูงอายุ และระยะเวลาพักเพียง 5 วันนะครับ ในกลุ่มของเด็กๆ ผู้ใหญ่ หรือการพักที่นานกว่านั้นจากงานวิจัยอื่นๆ พบว่ามีผลต่างให้เห็นที่มากกว่างานนี้ เพราะว่าในกลุ่มผู้สูงอายุเนี่ย ไม่ว่าจะเป็นการไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อ หรือการฝึกกล้ามเนื้อ มีอัตราการสังเคราะห์ที่มันเกิดขึ้นช้ากว่า เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่หรือกลุ่มที่อายุน้อยกว่า
🏋🏼 ส่วนที่ว่าการฝึกก่อนหน้า เป็นเวลา 7 วันไม่ได้ส่งผลอะไร นั้นก็ต้องเข้าใจกันอีกนิดด้วยนะครับว่าระยะเวลามันสั้นไปกว่าที่จะเห็นผลอะไรได้ รวมถึง Intensity ของการฝึกก็อาจจะไม่ได้หนักมากจนกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมอะไรกับไมโตคอนเดรียได้ แต่ด้วยความที่ subj เป็นกลุ่มนี้ นั่นจะให้หนักมากเหมือนวัยรุ่นก็คงไม่ใช่
📌 โดยสรุป ผลที่พบในกลุ่มผู้สูงอายุ (65-80) ที่สุขภาพดีการต้องหยุดพักออกกำลังกายไประยะเวลาสั้นๆ ก็ไม่ได้เกิดต่างอะไรกับเจ้าไมโตรคอนเดรียนักนะครับ แต่ถ้าเป็นในกลุ่มที่สุขภาพมีปัญหา มีภาวะกล้ามเนื้อน้อย หรืออื่นๆ ผลอาจจะไม่เหมือนกัน และเช่นกัน ในกลุ่มคนช่วงวัยอื่น ก็อาจจะให้ผลที่แตกต่างกันออกไปอีก
😎 ตรงนี้เมื่อนำไปดูกับอีกหลายๆงานที่เคยศึกษาไว้ ก็แนะนำว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่กล้ามเนื้อเขาถดถอยลงไปเรื่อยๆ การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยกระตุ้นและรักษากล้ามเนื้อของเขาไว้ได้มากกว่า ไม่ได้ออก แต่ถ้ามีเหตุให้จำเป็นต้องพักเป็นระยะเวลาสั้นๆ ข้อมูลจากงานนี้ ก็น่าจะทำให้เราสบายใจได้อย่างนึง ว่ามันไม่ได้มีผลเสียอะไรเร็วขนาดนั้นนะครับ ✌🏼
📌 แต่ถ้าระยะเวลานานกว่านั้น อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า มันจะเริ่มพบว่าให้ผลที่แตกต่างกันออกไปแล้ว ก็ลองนำไปปรับใช้กับการดูแลตัวเอง และดูแลคนที่เราห่วงใยกันดูนะครับ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-07-05-no-effect-of-five-days-of-bed-rest-or-short-term-resistance-exercise-prehabilitation-on-markers-of-skeletal-muscle-mitochondrial-content-and-dynamics-in-older-adults/