คุณพร้อมถอดหน้ากากอนามัยหรือยัง?



คุณพร้อมถอดหน้ากากอนามัยหรือยัง?

แม้ว่าช่วงนี้จะมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากขึ้น เช่น การประกาศให้สวมหรือถอดหน้ากากอนามัยได้ตามความสมัครใจ แต่ก็ยังให้คงมาตรการป้องกันตัวเองที่เหมาะสม เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ โดยเฉพาะตอนนี้ที่มีการพบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5



สำหรับสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 นั้นพบข้อมูลมาหลายเดือนแล้ว โดยเฉพาะประเทศทางยุโรปที่พบอัตราติดเชื้อกลับมาสูงขึ้น แม้องค์การอนามัยโลกจะจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลและต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากความสามารถในการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น หลบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอว่ามีความรุนแรงมากขึ้นซึ่งต้องรอข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติม สำหรับประเทศไทยก็มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องซึ่งขณะนี้ยังพบ BA.4 และ BA.5 ในกลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศในสัดส่วนสูงกว่าผู้ติดที่เชื้อในประเทศ 

ทั้งนี้การรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็ม3 หรือ เข็ม4 เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันสูงมากพอยังเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็น เพราะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อและป้องกันอาการรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ ซึ่งจากข้อมูลประสิทธิภาพวัคซีนพบว่าเข็ม 4 ป้องกันติดเชื้อ 76% ลดการเสียชีวิตได้ 96% แต่ทั้งเข็ม 3 และเข็ม 4 สามารถลดการเสียชีวิตได้ดีมากกว่า90 %



** ตัวคุณเอง หรือคนใกล้ชิด พร้อมสำหรับการถอดหน้ากากอนามัยแล้วหรือยังมาดูกัน!

1. คนที่มีความพร้อมมากพอที่จะถอดหน้ากากอนามัยไม่ใช่ทุกคน แต่ต้องเป็นคนที่ได้รับวัคซีน mRNA เช่น ไฟเซอร์ โมเดอร์นา หรือวัคซีนประเภท adenovirus vector เช่น แอสตร้าเซเนกา และต้องมีวัคซีน mRNA เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น เรียบร้อยแล้ว 
 
2. ถึงจะถอดหน้ากากอนามัยได้ แต่การถอดหน้ากากอนามัยควรถอดเมื่ออยู่ในสถานที่เปิดโล่ง ไม่แออัด และจำนวนคนไม่หนาแน่นจนเกินไป เช่น สวนสาธารณะ ชายหาด สนามกีฬา หรือมีการเว้นระยะห่างจากบุคคลอื่นไม่ต่ำกว่า 2 เมตร แต่หากเป็นสถานที่ปิด เช่น อาคารแบบปิด ผับ บาร์ สถานบันเทิง รวมทั้งสถานที่ทำงานที่มีแอร์ หรือพื้นที่จัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก โรงพยาบาล ยังมีความจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยเหมือนเดิม
 
3. ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์ ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงยังจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มโรคเบาหวานแบบคุมไม่ได้ และกลุ่มที่ภูมิต้านทานบกพร่อง



** แม้ช่วงนี้จะมีผู้ติดเชื้อโควิดไม่มาก แต่ก็พบว่าเริ่มเพิ่มสูงขึ้นบ้าง เนื่องจากมีการผ่อนคลายกิจกรรมหลายอย่าง เช่น สถานบันเทิง และแม้การติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง แต่บางคนอาจเป็นภาวะลองโควิดที่มีอาการเรื้อรังได้ ดังนั้น ไม่ติดเชื้อดีที่สุดครับ



ขอบคุณข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่