หลังเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ทั้งที่บ่อนไก่และสำเพ็ง มีน้อง ๆ ที่ทำงานแวะมาถามผมว่า
“เราสามารถพอจะพิสูจน์ได้ไหมว่าไฟไหม้เกิดจากกระแสไฟฟ้าช็อต หรือ เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร?”
ต้องตอบว่าได้สิครับ หากคุณสามารถเก็บหลักฐานบริเวณต้นเพลิงได้ มีความรู้พื้นฐานทางด้านโลหะวิทยา และทราบถึงหลักการทางนิติวิศวกรรม (Forensic Engineering)
ลักษณะความเสียหายจากการอาร์คของกระแสไฟฟ้า รวมถึงฟ้าผ่าจะมีลักษณะเด่นชัด
และเกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างจุลภาคแตกต่างจากชิ้นส่วนโลหะที่ได้รับความร้อนจากไฟไหม้แต่เพียงอย่างเดียว
กรณีที่เกิดจากการอาร์คของกระแสไฟฟ้า
จุดศูนย์กลางที่เกิดการอาร์คของกระแสไฟฟ้า มักสูญเสียเนื้อโลหะที่ผิวหน้ามักและพบ Splatter
หรือสะเก็ดของโลหะหลอมเหลวกระจายอยู่โดยรอบและมีออกไซด์เกาะอยู่หนาแน่น
และมักพบบ่อหลอม หรือสามารถสังเกตุทิศทางของการอาร์ค หรือ ทิศทางของแหล่งความร้อนได้อย่างชัดเจน
หากตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคของชิ้นส่วนที่เกิดการอาร์ค
จะพบลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างจุลภาคคล้ายกับงานเชื่อม
โดยจะเกิดบริเวณที่เกิดการหลอมเหลวและพบบริเวณแนวกระทบร้อน (Heat Affected Zone)
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะพบในตำแหน่งที่เกิดการอาร์คเท่านั้น ในขณะที่บริเวณอื่น ๆ จะมีลักษณะโครงสร้างที่สม่ำเสมอ
กรณีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการอาร์คของกระแสไฟฟ้า
โครงสร้างจุลภาคที่ได้จะมีความสม่ำเสมอ และไม่เห็นทิศทางของแหล่งความร้อนอย่างชัดเจน
โครงสร้างที่เกิดการเปลี่ยนแปลงก็ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาที่เกิดไฟไหม้ และอุณหภูมิในระหว่างเกิดเหตุ
จะเห็นได้ว่าหากนำความรู้ทางวิศวกรรมที่เรามีอยู่ก็จะสามารถหาสาเหตุถึงรากของความเสียหายของเหตุการณ์ได้
อย่างไรก็ตามหากเราทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาแล้ว หากไม่มีการแก้ไข ความเสียหายและการสูญเสียก็คงดำเนินต่อไป
ดังนั้นหากท่านใดพบจุดเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม.
สามารถแจ้งข้อมูลผ่านแพลตฟอร์ม / แอพพิเคชัน Application “Traffy Fondue”
https://www.traffy.in.th/ จาก สวทช : ตัวช่วยที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง ได้เลยครับ
#เหล็กไม่เอาถ่าน
Ref.
1.
http://siamkaewkumsai.blogspot.com/2009/12/forensic-engineering.html
2. A. Casaroli,Fire Technology, 58, 553–570, 2022.
3.
https://www.traffy.in.th/
บรรลัยวิทยา: อ๊ากซซซซซซซ
“เราสามารถพอจะพิสูจน์ได้ไหมว่าไฟไหม้เกิดจากกระแสไฟฟ้าช็อต หรือ เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร?”
ต้องตอบว่าได้สิครับ หากคุณสามารถเก็บหลักฐานบริเวณต้นเพลิงได้ มีความรู้พื้นฐานทางด้านโลหะวิทยา และทราบถึงหลักการทางนิติวิศวกรรม (Forensic Engineering)
ลักษณะความเสียหายจากการอาร์คของกระแสไฟฟ้า รวมถึงฟ้าผ่าจะมีลักษณะเด่นชัด
และเกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างจุลภาคแตกต่างจากชิ้นส่วนโลหะที่ได้รับความร้อนจากไฟไหม้แต่เพียงอย่างเดียว
กรณีที่เกิดจากการอาร์คของกระแสไฟฟ้า
จุดศูนย์กลางที่เกิดการอาร์คของกระแสไฟฟ้า มักสูญเสียเนื้อโลหะที่ผิวหน้ามักและพบ Splatter
หรือสะเก็ดของโลหะหลอมเหลวกระจายอยู่โดยรอบและมีออกไซด์เกาะอยู่หนาแน่น
และมักพบบ่อหลอม หรือสามารถสังเกตุทิศทางของการอาร์ค หรือ ทิศทางของแหล่งความร้อนได้อย่างชัดเจน
หากตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคของชิ้นส่วนที่เกิดการอาร์ค
จะพบลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างจุลภาคคล้ายกับงานเชื่อม
โดยจะเกิดบริเวณที่เกิดการหลอมเหลวและพบบริเวณแนวกระทบร้อน (Heat Affected Zone)
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะพบในตำแหน่งที่เกิดการอาร์คเท่านั้น ในขณะที่บริเวณอื่น ๆ จะมีลักษณะโครงสร้างที่สม่ำเสมอ
กรณีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการอาร์คของกระแสไฟฟ้า
โครงสร้างจุลภาคที่ได้จะมีความสม่ำเสมอ และไม่เห็นทิศทางของแหล่งความร้อนอย่างชัดเจน
โครงสร้างที่เกิดการเปลี่ยนแปลงก็ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาที่เกิดไฟไหม้ และอุณหภูมิในระหว่างเกิดเหตุ
จะเห็นได้ว่าหากนำความรู้ทางวิศวกรรมที่เรามีอยู่ก็จะสามารถหาสาเหตุถึงรากของความเสียหายของเหตุการณ์ได้
อย่างไรก็ตามหากเราทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาแล้ว หากไม่มีการแก้ไข ความเสียหายและการสูญเสียก็คงดำเนินต่อไป
ดังนั้นหากท่านใดพบจุดเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม.
สามารถแจ้งข้อมูลผ่านแพลตฟอร์ม / แอพพิเคชัน Application “Traffy Fondue”
https://www.traffy.in.th/ จาก สวทช : ตัวช่วยที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง ได้เลยครับ
#เหล็กไม่เอาถ่าน
Ref.
1. http://siamkaewkumsai.blogspot.com/2009/12/forensic-engineering.html
2. A. Casaroli,Fire Technology, 58, 553–570, 2022.
3. https://www.traffy.in.th/