ส่องเศรษฐกิจยุคของปรับขึ้นราคา พ่อค้า-แม่ค้าจะไปต่อหรือพอแค่นี้?
https://ch3plus.com/news/economy/morning/297810
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ ที่ร้านขายน้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋ บ้านโคก ต.หนองเสม็ด อ.เมือง จ.ตราด ซึ่งเป็นร้านของ นาย
พุฒิพงศ์ วิจิตร วัย 49 ปี และภรรยา เปิดร้านขายปาท่องโก๋มานานถึง 12 ปี เริ่มแบกภาระต้นทุนข้าวของที่ปรับราคาขึ้นเท่าตัว
นาย
พุฒิพงศ์ เปิดเผยว่า ร้านของตนเปิดขายน้ำเต้าหู้ และปาท่องโก๋มานาน หลังเจอพิษโควิด-19 ก็ยังพอขายได้ เนื่องจากขายอยู่กับบ้านเอง ไม่ต้องเสียค่าเช่า แต่ลูกค้าลดลงบ้างเล็กน้อย แต่มาปี 65 หนักยิ่งกว่าโควิด-19 อีก ก็จะเห็นได้ชัดเจนคือ วัตถุดิบอย่างเช่นน้ำมันพืช ที่ต้องนำมาทอดปาท่องโก๋ เมื่อก่อนลิตรละ 30 กว่าบาท แต่มาปีนี้ปรับราคาขึ้น 70 กว่าบาท ซึ่งร้านต้องใช้น้ำมันพืชสดใหม่ทุกวัน ตกวันละ 4-5 ลิตร ส่วนแก๊สหุงต้มก็ปรับราคาเช่นเดียวกันใช้เท่าเดิม แต่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ตนต้องแบกภาระต้นทุน ปาท่องโก๋เคยขาย 4 ตัว 5 บาท ก็ต้องลดลงมาขาย 3 ตัว 5 บาท ซึ่งลูกค้าก็เข้าใจเนื่องจากของขึ้นทุกอย่าง แม้กระทั่งแป้งมัน ที่นำมาทำปาท่องโก๋ ปีนี้หนักมาก จะไปต่อหรือพอแค่นี้ ก็ต้องขอสู้อีกพัก นอกจากนี้ หลังจากเจอพิษโควิด-19 ก่อนหน้านี้ได้นำหมูย่างมาขายเป็นรายได้เสริม หมูกลับปรับราคาขึ้น ก็ต้องทนสู้ขายไป แม้ว่ายอดขายจะเหมือนเดิม แต่กำไรก็ได้น้อยลงกว่าเก่า
ขณะที่ จ.ขอนแก่น ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจราคาขายข้าวสารที่ร้านอำนวยค้าขาว ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งเป็นร้านขายข้าวสารที่มีประชาชนมาซื้อข้าวสารอย่างไม่ขาดสาย โดยที่ทางร้านติดป้ายราคาขายไว้ที่กระสอบข้าวแต่ละชนิดอย่างชัดเจน
นาง
อำนวย มาซา อายุ 60 ปี เจ้าของร้าน กล่าวว่า ที่ร้านไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ค้าข้าว แต่ก็พอจะรู้ว่าการขึ้นราคาข้าสารนั้นมาจากสาเหตุใดบ้าง อาจเป็นเพราะน้ำมันขึ้นราคา ก็มีส่วนที่ทำให้ข้าวสารปรับราคาขึ้น เพราะน้ำมันแพงค่าขนส่งก็แพงขึ้น อีกส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่ผู้ค้าข้าว ส่งออกข้าวหอมมะลิได้มากขึ้น เพราะเท่าที่ทราบต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศยูเครนที่มีผลกระทบจากสงคราม ได้สั่งซื้อข้าวจากประเทศไทยจำนวนมาก
“วันนี้เงียบ ไม่ได้ขายดีเหมือนเมื่อก่อน ตามเศรษฐกิจปัจจุบัน เพราะลูกค้าที่มาซื้อข้าวบางส่วนซื้อไปไว้ใช้ในครัวเรือน บางส่วนซื้อไปขายต่อ แต่ช่วงนี้การค้าขายยังไม่ดีคนซื้อน้อยลงเงียบกว่าเดิมเยอะ ราคาข้าวช่วงนี้มีการปรับราคาขึ้น เพราะโรงสีแจ้งมา โดยก่อนเดือนพ.ค. ข้าวสารกระสอบ 45 กิโลกรัม กระสอบละ 1,250 บาท ปรับขึ้นมาเป็น กระสอบละ 1,350 บาท แต่ลูกค้าที่เคยมาซื้อก็กลับมาซื้อเหมือนเดิม สาเหตุที่ปรับราคาขึ้นเพราะโรงสีปรับขึ้น เนื่องจากส่งออกต่างประเทศได้เยอะ และราคาน้ำมันที่แพงขึ้นมีส่วนอย่างมาก เพราะค่าขนส่งปรับอย่างอื่นก็ต้องปรับราคาขึ้นตามกลไกการตลาด พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปซื้อน้อยลง จากเดิมเคยซื้อเป็นกระสอบ”
นาย
ประชารัฐ เหง้าจำปา อายุ 58 ปี ลูกค้าที่มาซื้อข้าวสารที่ร้านดังกล่าว ระบุว่า ส่วนตัวไม่เดือดร้อน เพราะอยู่ตัวคนเดียว ส่วนครอบครัวอยู่ที่ต่างจังหวัดมีที่นา ก็ทำนา มีข้าวกิน จึงไม่เดือดร้อน เพราะเข้าใจกลไกของตลาด แต่รัฐบาลก็ควรออกมาบริหารจัดการ เพื่อลดความเดือดร้อนให้ประชาชนผู้ที่ยากจนและมีรายได้น้อย
ด้านลูกค้าอีกคนที่มาซื้อข้าวสาร เปิดเผยว่า ถ้าถามว่ากระทบไหม
"มันก็เป็นของที่ต้องซื้อ จะถูกจะแพงก็ต้องซื้อกินทุกวัน"
ในพื้นที่จ.ตรัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุเชฏฐ์ จันผุด อายุ 56 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 ต.ห้วยนาง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ซึ่งประกอบอาชีพเผาถ่านขายมานานกว่า 3 ปีแล้ว กล่าวว่า ตนมีเตาเผาถ่านทั้งหมด 4 เตา ปกติจะผลิตส่งไปขายยุ้งในกรุงเทพฯ เดือนละประมาณ 300 กระสอบ แต่ขณะนี้ลดกำลังการผลิตลง เหลือประมาณเดือนละ 100 กระสอบเท่านั้น เนื่องจากปีกไม้ยางพาราปรับราคาสูงขึ้นมาก ประกอบกับน้ำมันสำหรับเลื่อยไม้ ก็มีราคาแพง ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แม้ความต้องการใช้ถ่านของประชาชนในขณะนี้จะเพิ่มสูงขึ้นมากทั่วประเทศ เพราะหลายคนต้องการประหยัดค่าแก๊สหุงต้ม หลังจากที่ปรับราคาสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แล้วหันมาใช้เตาอั้งโล่ และวิธีการอื่น ๆ ในการปรุงอาหารแทน
ขณะเดียวกัน ล่าสุดถ่านไม้ก็มีการปรับราคาขายเพิ่มขึ้นแล้วเช่นกัน จากเดิมกระสอบละ 380 บาท เป็นกระสอบละ 400 บาท หรือเพิ่มขึ้นกระสอบละ 20 บาท แต่อย่างไรก็ตาม จากปัญหาที่ปีกไม้ยางพารา มีการปรับราคาสูงขึ้นเป็นตันละกว่า 1,000 บาท และราคาก็ยังมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา และไม้ 1 ตัน จะผลิตถ่านไม้ได้ประมาณ 3 กระสอบเท่านั้น แถมยังต้องจ่ายค่าแรงให้คนงานอีกกระสอบละ 75 บาทด้วย จึงทำให้การเผาถ่านขายไม่คุ้มทุน อีกทั้งในการส่งไปขายที่กรุงเทพฯ แต่ละครั้งจะต้องมีปริมาณอย่างน้อย 300 กระสอบขึ้นไป เพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะค่าน้ำมันที่ยังคงมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น เมื่อรายได้ไม่คุ้มทุน ตนจึงจำต้องหยุดการส่งถ่านไม้ไปยังกรุงเทพฯ และต้องลดการผลิตถ่านไม้ลงเหลือแค่เดือนละ 100 กระสอบ แล้วเอาในส่วนนี้มาแบ่งขายปลีกในจังหวัด และใกล้เคียงแทน เพราะความต้องการใช้ถ่านไม้ของประชาชนในพื้นที่ก็มีมากเช่นเดียวกัน โดยใช้วิธีการแบ่งขายถ่านไม้เป็นกระสอบ ๆ ละประมาณ 10 กิโลกรัมเศษ ขายในราคากระสอบละ 140 บาท และยังจัดถ่านไม้ใส่ถุงส่งขายปลีก ตามร้านค้า และหน้าบ้าน ในราคาถุงละ 30 บาท เพื่อให้ประชาชนได้ใช้กัน เป็นการส่งเสริมการประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ในยุคที่ราคาพลังงานทุกอย่างพุ่งสูงขึ้นรายวันเช่นนี้ ส่วนเศษถ่านไม้ จะเอาไปส่งขายให้กับโรงงานผลิตถ่านอัดแท่ง ในราคากระสอบละ 20 บาท
รถเช่า-รถทัวร์นำเที่ยวขึ้นค่าบริการ 10-15%
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_363014/
รถเช่า รถทัวร์นำเที่ยว เผย ธุรกิจเริ่มฟื้น หลังเปิดประเทศ แต่เจอพิษน้ำมันแพง ดันต้นทุนพุ่ง ขึ้นค่าบริการ 10-15%
นาย
วสุเชษฐ์ โสภณเสถียร นายกสมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย (สปข.) เปิดเผยกับสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ยอมรับว่า ธุรกิจรถเช่า ขนส่งทัวร์ท่องเที่ยวแม้จะเริ่มกลับมาฟื้นตัว มีนักท่องเที่ยว มีการเดินทาง
แต่ยังไม่ดีมาก และยังต้องมาเจอกับ น้ำมันแพง ที่ดันให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นหมด และเมื่อรัฐบาลขึ้นราคาน้ำมัน ผู้ประกอบการก็ต้องปรับขึ้นราคาการใช้บริการอย่างน้อยประมาณ 10-15%
ทั้งนี้ การประกาศเปิดประเทศในเดือนมิถุนายนปรับเงื่อนไขการเข้าประเทศจนเกือบปกติ พบว่ามีลูกค้าสอบถามและจองเดินทางเข้ามาจำนวนมาก แต่เมื่อมีปัญหาด้านต้นทุนน้ำมัน ก็ทำให้ลูกค้าหายไป
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนในการดำเนินธุรกิจได้ ภาครัฐควรกำหนดราคาที่ชัดเจนว่าจะขึ้นไปเท่าไหร่ วันที่ระบุชัดเจนเพราะหากจะขึ้นแบบสัปดาห์นี้ปรับขึ้น สัปดาห์ถัดไปปรับขึ้นอีก ผู้ประกอบการไม่สามารถวางแผนในการทำราคาขายได้ เพราะราคาน้ำมันเป็นตัวกดดันการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวไทย เนื่องจากราคาน้ำมันเกี่ยวข้องกับต้นทุนสินค้าและบริการ ที่จะปรับขึ้นหรือลงแบบ 100%
“ก้าวไกล” ออกโรงแฉ 3 กรมใน 3 กระทรวงส่อทุจริต ขู่ซักฟอก 1 รมต.คว่ำกลางสภา
https://www.bangkokbiznews.com/politics/1011978
“หมอวาโย” ออกโรงแฉยับมี 3 กรมใน 3 กระทรวงส่อทุจริต พบความผิดปกติในการใช้งบประมาณ ฝากถึง “ประยุทธ์” บอกมาเพื่อปราบโกงแต่ความจริงกลับละเลย ขู่ศึกซักฟอกครั้งนี้มี รมต. 1 คนคว่ำกลางสภาแน่
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2565 นายแพทย์
วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณ พ.ศ. 2566 เปิดเผยว่า ขณะนี้มีข้อผิดสังเกตหลายประการใน 3 กระทรวง อาจส่อถึงการทำทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่
1.
กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีนาย
วราวุธ ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการ มีการโอนงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไปในปีก่อน ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ถึงปี พ.ศ. 2565 รวม 46 รายการ เป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1,143 ล้านบาท ไปให้กับ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ซึ่งมี พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นรัฐมนตรีว่าการ โดยอ้างว่า “
ทหารมีเครื่องไม้เครื่องมือที่เพียบพร้อมกว่ากรมทรัพยากรน้ำเอง” จึงเป็นข้ออ้างที่ผิดวิสัยมากว่า หน่วยงานทหารจะมีอุปกรณ์เพียบพร้อมกว่ากรมทรัพยากรน้ำซึ่งมีหน้าที่เฉพาะได้ย่างไร ซึ่งต่อมายังปรากฏหลักฐานว่า ทหารกลับไม่สามารถดำเนินโครงการต่าง ๆ ได้แล้วเสร็จอย่างครบถ้วน โดยดำเนินการแล้วเสร็จไปได้เพียง 35 โครงการจาก 46 โครงการเท่านั้น ขัดกับข้ออ้างของหน่วยงานที่อ้างว่าทหารมีความพร้อมมากกว่า
“นอกจากนี้ มีข้าราชการน้ำดีได้แอบกระซิบและส่งข้อมูลมาให้ว่า เมื่อทหารได้รับโอนงบประมาณดังกล่าวไปแล้ว ได้โยกย้ายถ่ายเทนำไปลงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เนื่องจากมีกฎหมายพิเศษและสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ด้วยวิธีพิเศษ ซึ่งส่อไปในทางทุจริต จึงได้ขอเรียกเอกสารพยานหลักฐานดังกล่าวต่อกรมทรัพยากรน้ำในฐานะกรรมาธิการฯ เพื่อนำมาตรวจสอบต่อไป” นายแพทย์
วาโย กล่าว
2.
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระทรวงคมนาคม ซึ่งมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการ มีการให้สัมปทานแก่บริษัท BEM ด้านการขายโฆษณา ทั้งบนรถไฟฟ้าและรวมถึงพื้นที่ต่าง ๆ ในสถานี ซึ่งสามารถหารายได้ได้อย่างมหาศาล แต่รฟม.กลับทำสัญญาเรียกรับส่วนแบ่งจากเงินรายได้เพียง 7% เท่านั้น โดยในปี พ.ศ. 2564 ส่วนแบ่ง 7% ปรากฏในงบการเงินเพียง 18 ล้านบาทเศษเท่านั้น เมื่อคำนวณไปกลับต่าง ๆ แล้วหมายความว่า BEM มีรายได้จากการขายโฆษณาเพียง 20 กว่าล้านบาทต่อเดือนเท่านั้น ขัดกับราคาขายซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในอินเตอร์เน็ต เอาเฉพาะจากบริษัท PlanB โดยเมื่อคำนวณร่วมกับจำนวนจุดต่าง ๆ ที่ขายได้นั้นมีส่วนต่างอย่างมากมายมหาศาล และกลับปรากฏว่า BEM ไม่ได้ดำเนินการขายโฆษณาต่าง ๆ ด้วยตนเอง กลับไปจ้างช่วงให้กับบริษัท BMN ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการนำสัมปทานไปให้บุคคลอื่นต่อ โดยปรากฏข้อสงสัยว่า BMN อาจจ่ายเงินเป็น “ราคาเหมาถูก ๆ” ให้กับ BEM เพื่อให้ BEM สำแดงรายได้น้อย ๆ ต่อรฟม. และให้ BEM ส่งเงินส่วนแบ่ง 7% นั้นน้อยที่สุดหรือไม่ นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานอีกว่า BEM เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน BMN และ“PlanB” เองก็เป็นผู้ถือหุ้นลำดับต้น ๆ ใน BMN เช่นกัน และยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายศักดิ์สยามกับ BEM ไว้อีกมาก นายแพทย์วาโยจึงขอเรียกเอกสารสัญญาทั้งหมดที่รฟม.ทำกับ BEM เพื่อนำมาตรวจสอบต่อไป
3.
กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีนาย
ประภัตร โพธสุธน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการซึ่งกำกับดูแล ปรากฏข้อผิดสังเกตอย่างมาก คือ งบประมาณแต่ละปีซึ่งแต่เดิมได้รับจัดสรรอยู่ประมาณพันกว่าล้านบาท โดยในปี พ.ศ. 2565 ได้รับจัดสรรไป 2 พันล้านบาท แต่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กลับเพิ่มขึ้นไปถึง 15,000 ล้านบาท รวมเป็นเงินงบประมาณถึง 17,000 ล้านบาท เป็นการผิดวิสัยอย่างยิ่งของการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน
JJNY : ส่องศก.ยุคของขึ้นราคา│รถเช่า-รถทัวร์ขึ้นค่าบริการ10-15%│“ก.ก.”แฉ 3กท.ส่อทุจริต│รัสเซียรับปากส่งขีปนาวุธให้เบลารุส
https://ch3plus.com/news/economy/morning/297810
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ ที่ร้านขายน้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋ บ้านโคก ต.หนองเสม็ด อ.เมือง จ.ตราด ซึ่งเป็นร้านของ นายพุฒิพงศ์ วิจิตร วัย 49 ปี และภรรยา เปิดร้านขายปาท่องโก๋มานานถึง 12 ปี เริ่มแบกภาระต้นทุนข้าวของที่ปรับราคาขึ้นเท่าตัว
นายพุฒิพงศ์ เปิดเผยว่า ร้านของตนเปิดขายน้ำเต้าหู้ และปาท่องโก๋มานาน หลังเจอพิษโควิด-19 ก็ยังพอขายได้ เนื่องจากขายอยู่กับบ้านเอง ไม่ต้องเสียค่าเช่า แต่ลูกค้าลดลงบ้างเล็กน้อย แต่มาปี 65 หนักยิ่งกว่าโควิด-19 อีก ก็จะเห็นได้ชัดเจนคือ วัตถุดิบอย่างเช่นน้ำมันพืช ที่ต้องนำมาทอดปาท่องโก๋ เมื่อก่อนลิตรละ 30 กว่าบาท แต่มาปีนี้ปรับราคาขึ้น 70 กว่าบาท ซึ่งร้านต้องใช้น้ำมันพืชสดใหม่ทุกวัน ตกวันละ 4-5 ลิตร ส่วนแก๊สหุงต้มก็ปรับราคาเช่นเดียวกันใช้เท่าเดิม แต่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ตนต้องแบกภาระต้นทุน ปาท่องโก๋เคยขาย 4 ตัว 5 บาท ก็ต้องลดลงมาขาย 3 ตัว 5 บาท ซึ่งลูกค้าก็เข้าใจเนื่องจากของขึ้นทุกอย่าง แม้กระทั่งแป้งมัน ที่นำมาทำปาท่องโก๋ ปีนี้หนักมาก จะไปต่อหรือพอแค่นี้ ก็ต้องขอสู้อีกพัก นอกจากนี้ หลังจากเจอพิษโควิด-19 ก่อนหน้านี้ได้นำหมูย่างมาขายเป็นรายได้เสริม หมูกลับปรับราคาขึ้น ก็ต้องทนสู้ขายไป แม้ว่ายอดขายจะเหมือนเดิม แต่กำไรก็ได้น้อยลงกว่าเก่า
ขณะที่ จ.ขอนแก่น ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจราคาขายข้าวสารที่ร้านอำนวยค้าขาว ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งเป็นร้านขายข้าวสารที่มีประชาชนมาซื้อข้าวสารอย่างไม่ขาดสาย โดยที่ทางร้านติดป้ายราคาขายไว้ที่กระสอบข้าวแต่ละชนิดอย่างชัดเจน
นางอำนวย มาซา อายุ 60 ปี เจ้าของร้าน กล่าวว่า ที่ร้านไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ค้าข้าว แต่ก็พอจะรู้ว่าการขึ้นราคาข้าสารนั้นมาจากสาเหตุใดบ้าง อาจเป็นเพราะน้ำมันขึ้นราคา ก็มีส่วนที่ทำให้ข้าวสารปรับราคาขึ้น เพราะน้ำมันแพงค่าขนส่งก็แพงขึ้น อีกส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่ผู้ค้าข้าว ส่งออกข้าวหอมมะลิได้มากขึ้น เพราะเท่าที่ทราบต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศยูเครนที่มีผลกระทบจากสงคราม ได้สั่งซื้อข้าวจากประเทศไทยจำนวนมาก
“วันนี้เงียบ ไม่ได้ขายดีเหมือนเมื่อก่อน ตามเศรษฐกิจปัจจุบัน เพราะลูกค้าที่มาซื้อข้าวบางส่วนซื้อไปไว้ใช้ในครัวเรือน บางส่วนซื้อไปขายต่อ แต่ช่วงนี้การค้าขายยังไม่ดีคนซื้อน้อยลงเงียบกว่าเดิมเยอะ ราคาข้าวช่วงนี้มีการปรับราคาขึ้น เพราะโรงสีแจ้งมา โดยก่อนเดือนพ.ค. ข้าวสารกระสอบ 45 กิโลกรัม กระสอบละ 1,250 บาท ปรับขึ้นมาเป็น กระสอบละ 1,350 บาท แต่ลูกค้าที่เคยมาซื้อก็กลับมาซื้อเหมือนเดิม สาเหตุที่ปรับราคาขึ้นเพราะโรงสีปรับขึ้น เนื่องจากส่งออกต่างประเทศได้เยอะ และราคาน้ำมันที่แพงขึ้นมีส่วนอย่างมาก เพราะค่าขนส่งปรับอย่างอื่นก็ต้องปรับราคาขึ้นตามกลไกการตลาด พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปซื้อน้อยลง จากเดิมเคยซื้อเป็นกระสอบ”
นายประชารัฐ เหง้าจำปา อายุ 58 ปี ลูกค้าที่มาซื้อข้าวสารที่ร้านดังกล่าว ระบุว่า ส่วนตัวไม่เดือดร้อน เพราะอยู่ตัวคนเดียว ส่วนครอบครัวอยู่ที่ต่างจังหวัดมีที่นา ก็ทำนา มีข้าวกิน จึงไม่เดือดร้อน เพราะเข้าใจกลไกของตลาด แต่รัฐบาลก็ควรออกมาบริหารจัดการ เพื่อลดความเดือดร้อนให้ประชาชนผู้ที่ยากจนและมีรายได้น้อย
ด้านลูกค้าอีกคนที่มาซื้อข้าวสาร เปิดเผยว่า ถ้าถามว่ากระทบไหม "มันก็เป็นของที่ต้องซื้อ จะถูกจะแพงก็ต้องซื้อกินทุกวัน"
ในพื้นที่จ.ตรัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุเชฏฐ์ จันผุด อายุ 56 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 ต.ห้วยนาง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ซึ่งประกอบอาชีพเผาถ่านขายมานานกว่า 3 ปีแล้ว กล่าวว่า ตนมีเตาเผาถ่านทั้งหมด 4 เตา ปกติจะผลิตส่งไปขายยุ้งในกรุงเทพฯ เดือนละประมาณ 300 กระสอบ แต่ขณะนี้ลดกำลังการผลิตลง เหลือประมาณเดือนละ 100 กระสอบเท่านั้น เนื่องจากปีกไม้ยางพาราปรับราคาสูงขึ้นมาก ประกอบกับน้ำมันสำหรับเลื่อยไม้ ก็มีราคาแพง ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แม้ความต้องการใช้ถ่านของประชาชนในขณะนี้จะเพิ่มสูงขึ้นมากทั่วประเทศ เพราะหลายคนต้องการประหยัดค่าแก๊สหุงต้ม หลังจากที่ปรับราคาสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แล้วหันมาใช้เตาอั้งโล่ และวิธีการอื่น ๆ ในการปรุงอาหารแทน
ขณะเดียวกัน ล่าสุดถ่านไม้ก็มีการปรับราคาขายเพิ่มขึ้นแล้วเช่นกัน จากเดิมกระสอบละ 380 บาท เป็นกระสอบละ 400 บาท หรือเพิ่มขึ้นกระสอบละ 20 บาท แต่อย่างไรก็ตาม จากปัญหาที่ปีกไม้ยางพารา มีการปรับราคาสูงขึ้นเป็นตันละกว่า 1,000 บาท และราคาก็ยังมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา และไม้ 1 ตัน จะผลิตถ่านไม้ได้ประมาณ 3 กระสอบเท่านั้น แถมยังต้องจ่ายค่าแรงให้คนงานอีกกระสอบละ 75 บาทด้วย จึงทำให้การเผาถ่านขายไม่คุ้มทุน อีกทั้งในการส่งไปขายที่กรุงเทพฯ แต่ละครั้งจะต้องมีปริมาณอย่างน้อย 300 กระสอบขึ้นไป เพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะค่าน้ำมันที่ยังคงมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น เมื่อรายได้ไม่คุ้มทุน ตนจึงจำต้องหยุดการส่งถ่านไม้ไปยังกรุงเทพฯ และต้องลดการผลิตถ่านไม้ลงเหลือแค่เดือนละ 100 กระสอบ แล้วเอาในส่วนนี้มาแบ่งขายปลีกในจังหวัด และใกล้เคียงแทน เพราะความต้องการใช้ถ่านไม้ของประชาชนในพื้นที่ก็มีมากเช่นเดียวกัน โดยใช้วิธีการแบ่งขายถ่านไม้เป็นกระสอบ ๆ ละประมาณ 10 กิโลกรัมเศษ ขายในราคากระสอบละ 140 บาท และยังจัดถ่านไม้ใส่ถุงส่งขายปลีก ตามร้านค้า และหน้าบ้าน ในราคาถุงละ 30 บาท เพื่อให้ประชาชนได้ใช้กัน เป็นการส่งเสริมการประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ในยุคที่ราคาพลังงานทุกอย่างพุ่งสูงขึ้นรายวันเช่นนี้ ส่วนเศษถ่านไม้ จะเอาไปส่งขายให้กับโรงงานผลิตถ่านอัดแท่ง ในราคากระสอบละ 20 บาท
รถเช่า-รถทัวร์นำเที่ยวขึ้นค่าบริการ 10-15%
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_363014/
รถเช่า รถทัวร์นำเที่ยว เผย ธุรกิจเริ่มฟื้น หลังเปิดประเทศ แต่เจอพิษน้ำมันแพง ดันต้นทุนพุ่ง ขึ้นค่าบริการ 10-15%
นายวสุเชษฐ์ โสภณเสถียร นายกสมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย (สปข.) เปิดเผยกับสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ยอมรับว่า ธุรกิจรถเช่า ขนส่งทัวร์ท่องเที่ยวแม้จะเริ่มกลับมาฟื้นตัว มีนักท่องเที่ยว มีการเดินทาง
แต่ยังไม่ดีมาก และยังต้องมาเจอกับ น้ำมันแพง ที่ดันให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นหมด และเมื่อรัฐบาลขึ้นราคาน้ำมัน ผู้ประกอบการก็ต้องปรับขึ้นราคาการใช้บริการอย่างน้อยประมาณ 10-15%
ทั้งนี้ การประกาศเปิดประเทศในเดือนมิถุนายนปรับเงื่อนไขการเข้าประเทศจนเกือบปกติ พบว่ามีลูกค้าสอบถามและจองเดินทางเข้ามาจำนวนมาก แต่เมื่อมีปัญหาด้านต้นทุนน้ำมัน ก็ทำให้ลูกค้าหายไป
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนในการดำเนินธุรกิจได้ ภาครัฐควรกำหนดราคาที่ชัดเจนว่าจะขึ้นไปเท่าไหร่ วันที่ระบุชัดเจนเพราะหากจะขึ้นแบบสัปดาห์นี้ปรับขึ้น สัปดาห์ถัดไปปรับขึ้นอีก ผู้ประกอบการไม่สามารถวางแผนในการทำราคาขายได้ เพราะราคาน้ำมันเป็นตัวกดดันการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวไทย เนื่องจากราคาน้ำมันเกี่ยวข้องกับต้นทุนสินค้าและบริการ ที่จะปรับขึ้นหรือลงแบบ 100%
“ก้าวไกล” ออกโรงแฉ 3 กรมใน 3 กระทรวงส่อทุจริต ขู่ซักฟอก 1 รมต.คว่ำกลางสภา
https://www.bangkokbiznews.com/politics/1011978
“หมอวาโย” ออกโรงแฉยับมี 3 กรมใน 3 กระทรวงส่อทุจริต พบความผิดปกติในการใช้งบประมาณ ฝากถึง “ประยุทธ์” บอกมาเพื่อปราบโกงแต่ความจริงกลับละเลย ขู่ศึกซักฟอกครั้งนี้มี รมต. 1 คนคว่ำกลางสภาแน่
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2565 นายแพทย์วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณ พ.ศ. 2566 เปิดเผยว่า ขณะนี้มีข้อผิดสังเกตหลายประการใน 3 กระทรวง อาจส่อถึงการทำทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่
1.กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีนายวราวุธ ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการ มีการโอนงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไปในปีก่อน ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ถึงปี พ.ศ. 2565 รวม 46 รายการ เป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1,143 ล้านบาท ไปให้กับ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นรัฐมนตรีว่าการ โดยอ้างว่า “ทหารมีเครื่องไม้เครื่องมือที่เพียบพร้อมกว่ากรมทรัพยากรน้ำเอง” จึงเป็นข้ออ้างที่ผิดวิสัยมากว่า หน่วยงานทหารจะมีอุปกรณ์เพียบพร้อมกว่ากรมทรัพยากรน้ำซึ่งมีหน้าที่เฉพาะได้ย่างไร ซึ่งต่อมายังปรากฏหลักฐานว่า ทหารกลับไม่สามารถดำเนินโครงการต่าง ๆ ได้แล้วเสร็จอย่างครบถ้วน โดยดำเนินการแล้วเสร็จไปได้เพียง 35 โครงการจาก 46 โครงการเท่านั้น ขัดกับข้ออ้างของหน่วยงานที่อ้างว่าทหารมีความพร้อมมากกว่า
“นอกจากนี้ มีข้าราชการน้ำดีได้แอบกระซิบและส่งข้อมูลมาให้ว่า เมื่อทหารได้รับโอนงบประมาณดังกล่าวไปแล้ว ได้โยกย้ายถ่ายเทนำไปลงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เนื่องจากมีกฎหมายพิเศษและสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ด้วยวิธีพิเศษ ซึ่งส่อไปในทางทุจริต จึงได้ขอเรียกเอกสารพยานหลักฐานดังกล่าวต่อกรมทรัพยากรน้ำในฐานะกรรมาธิการฯ เพื่อนำมาตรวจสอบต่อไป” นายแพทย์วาโย กล่าว
2.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระทรวงคมนาคม ซึ่งมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการ มีการให้สัมปทานแก่บริษัท BEM ด้านการขายโฆษณา ทั้งบนรถไฟฟ้าและรวมถึงพื้นที่ต่าง ๆ ในสถานี ซึ่งสามารถหารายได้ได้อย่างมหาศาล แต่รฟม.กลับทำสัญญาเรียกรับส่วนแบ่งจากเงินรายได้เพียง 7% เท่านั้น โดยในปี พ.ศ. 2564 ส่วนแบ่ง 7% ปรากฏในงบการเงินเพียง 18 ล้านบาทเศษเท่านั้น เมื่อคำนวณไปกลับต่าง ๆ แล้วหมายความว่า BEM มีรายได้จากการขายโฆษณาเพียง 20 กว่าล้านบาทต่อเดือนเท่านั้น ขัดกับราคาขายซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในอินเตอร์เน็ต เอาเฉพาะจากบริษัท PlanB โดยเมื่อคำนวณร่วมกับจำนวนจุดต่าง ๆ ที่ขายได้นั้นมีส่วนต่างอย่างมากมายมหาศาล และกลับปรากฏว่า BEM ไม่ได้ดำเนินการขายโฆษณาต่าง ๆ ด้วยตนเอง กลับไปจ้างช่วงให้กับบริษัท BMN ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการนำสัมปทานไปให้บุคคลอื่นต่อ โดยปรากฏข้อสงสัยว่า BMN อาจจ่ายเงินเป็น “ราคาเหมาถูก ๆ” ให้กับ BEM เพื่อให้ BEM สำแดงรายได้น้อย ๆ ต่อรฟม. และให้ BEM ส่งเงินส่วนแบ่ง 7% นั้นน้อยที่สุดหรือไม่ นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานอีกว่า BEM เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน BMN และ“PlanB” เองก็เป็นผู้ถือหุ้นลำดับต้น ๆ ใน BMN เช่นกัน และยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายศักดิ์สยามกับ BEM ไว้อีกมาก นายแพทย์วาโยจึงขอเรียกเอกสารสัญญาทั้งหมดที่รฟม.ทำกับ BEM เพื่อนำมาตรวจสอบต่อไป
3. กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีนายประภัตร โพธสุธน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการซึ่งกำกับดูแล ปรากฏข้อผิดสังเกตอย่างมาก คือ งบประมาณแต่ละปีซึ่งแต่เดิมได้รับจัดสรรอยู่ประมาณพันกว่าล้านบาท โดยในปี พ.ศ. 2565 ได้รับจัดสรรไป 2 พันล้านบาท แต่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กลับเพิ่มขึ้นไปถึง 15,000 ล้านบาท รวมเป็นเงินงบประมาณถึง 17,000 ล้านบาท เป็นการผิดวิสัยอย่างยิ่งของการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน