เมื่อ “โรคหัวใจ” ไม่ใช่โรคของคนสูงวัยอีกต่อไป...



เมื่อ “โรคหัวใจ” ไม่ใช่โรคของคนสูงวัยอีกต่อไป...

“โรคหัวใจ” โรคยอดฮิตอันดับต้นๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ในอดีตโรคหัวใจจะเป็นโรคที่เจอได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันพบว่าคนอายุน้อยหรือวัยรุ่น มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจกันมากขึ้น

โรคหัวใจมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง แต่ในคนอายุน้อยมักจะเป็นโรคหัวใจที่เกิดจากความผิดปกติที่เป็นมาตั้งแต่เกิด หรือเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่พบมากที่สุดก็คือการสูบบุหรี่หรือแม้แต่คนที่ร่างกายแข็งแรง เป็นนักกีฬาก็มีความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติได้ โดยเฉพาะนักกีฬาอาชีพหรือผู้ที่ใช้ร่างกายหนักๆ แนะนำให้ตรวจเช็คสุขภาพหัวใจก่อน เพื่อดูว่าสามารถเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่หักโหมได้หรือไม่



โดยอาการเบื้องต้นของโรคหัวใจที่เราสามารถสังเกตได้ เช่น 
 
* เหนื่อยง่าย สังเกตได้จากพฤติกรรมเดิมๆ ที่เคยทำได้ เช่น เคยเดินขึ้นบันไดได้ 2-3 ชั้นแบบสบายๆ แต่เดี๋ยวนี้แค่ขึ้นชั้นเดียวก็รู้สึกเหนื่อยแล้ว แสดงว่าร่างกายของคุณเริ่มผิดปกติแนะนำให้รีบไปตรวจเช็กด่วน

* เจ็บแน่นหน้าอก โดยเฉพาะเวลาที่ออกแรงมักจะเจ็บบริเวณหน้าอกด้านซ้าย หายใจไม่ออก อึดอัดเหมือนมีอะไรหนักๆ มากดทับที่หน้าอก บ่งบอกว่าอาจเป็นสัญญาณของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

* หน้ามืด เป็นลม หมดสติบ่อยๆ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและทำการรักษาอย่างตรงจุด



โรคหัวใจอันตรายกว่าที่คิดนะครับ.. ดังนั้นอย่าละเลยสัญญาณผิดปกติที่หัวใจแสดงออกมา หากสังเกตพบอาการผิดปกติดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องและรับการรักษาที่เหมาะสม

ทั้งนี้การดูแลสุขภาพหัวใจและตรวจเช็กอย่างสม่ำเสมอหรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจลงได้อย่างแน่นอน..



** จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า
คลิกอ่าน >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/49
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่