สุวรรณภูมิหล่นตุ๊บ! ร่วง 11 อันดับ ติดที่ 77 จาก 100 สนามบินดีที่สุดในโลก
https://ch3plus.com/news/economy/ch3onlinenews/296663
SKYTRAX บริษัทจัดอันดับให้แก่อุตสาหกรรมการบิน ประกาศผลการจัดอันดับ 100 อันดับ สนามบินที่ดีที่สุดในโลก ปี 2022 จากการโหวตของผู้เดินทางโดยเครื่องบิน ระหว่างปี 2021-2022
โดยอันดับ 1 ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด (Hamad International Airport) ตั้งอยู่ในกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ แชมป์เก่า / ตามมาด้วย สนามบินฮาเนดะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่รักษามาตรฐาน และอยู่ในอันดับ 2 เช่นเดิม ขณะที่อันดับ 3 ได้แก่ สนามบินชางงี ประเทศสิงคโปร์ อันดับ 4 สนามบินนาริตะ กรุงโตเกียว ขึ้นมาจากอันดับ 5 ในปีก่อนหน้า และอันดับ 5 ได้แก่ สนามบินอินชอน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ลงมาจากอันดับ 4
อันดับ 6 สนามบิน ชาร์ลเดอโกล์ กรุงปารีส ฝรั่งเศส เลื่อนจากอันดับที่ 15 ขึ้นมา / อันดับ 7 สนามบินมิวนิค ประเทศเยอรมนี อันดับ 8 / สนามบินอิสตันบูล ประเทศตุรกี / อันดับ 9 สนามบินซูริค สวิตเซอร์แลนด์ และอันดับ 10 สนามบินคันไซ ประเทศญี่ปุ่น
ส่วนสนามบินสุวรรณภูมิของไทยนั้นร่วงลงถึง 11 อันดับ ลงไปอยู่ที่อันดับ 77 โดยร่วงลงมาจากอันดับที่ 66 ในปี 2021
วิกฤตต้นทุน ดอกเบี้ยขาขึ้น ธุรกิจรัดเข็มขัด-ชะลอลงทุนใหม่
https://www.prachachat.net/economy/news-957828
ธุรกิจปรับแผนรับมือวิกฤต “เงินเฟ้อ” ทั้งราคาพลังงาน-ค่าไฟฟ้า-วัตถุดิบพุ่งไม่หยุด จุดเปลี่ยน “ดอกเบี้ยขาขึ้น” กระทบต้นทุนธุรกิจพุ่งทุกมิติ ฝ่ายวิจัยทีทีบีชี้ธุรกิจอ่วมส่งผ่านต้นทุนไม่ได้ “เอสเอ็มอี” เจอผลกระทบดอกเบี้ยหนักสุด เพราะทุนหมุนเวียนส่วนใหญ่เป็นเงินกู้
เคแบงก์เผยเอสเอ็มอีแห่ขอวงเงินสินเชื่อตุนสภาพคล่องรับมือช่วงยากลำบาก พร้อมสัญญาณชะลอการลงทุนใหม่ “เอสซีจี-กระทิงแดง” รีวิวแผนธุรกิจรายเดือน “เอไอเอส” ยึดนโยบายรัดเข็มขัด ฟากธุรกิจโรงแรมเหนื่อยหนักแบกภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่ม “เซ็นทารา” ปรับแผนเอาต์ซอร์ซ ลดต้นทุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสงครามรัสเซีย-ยูเครนส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตอีกหลายตัว ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง พร้อมกันนี้ยังมีสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม กนง.ในเดือน ส.ค.นี้ หมายถึงต้นทุนการเงินที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีก
และล่าสุด นาย
คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ก็ยอมรับว่ามีแนวโน้มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) งวด ก.ย.-ธ.ค. 2565 จะปรับขึ้นมากกว่า 40 สตางค์ ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าปรับขึ้นอีก
ธุรกิจแบกต้นทุน-ส่งผ่านไม่ได้
นาย
นริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics) กล่าวว่า ตอนนี้การส่งผ่านต้นทุนจากผู้ผลิตมายังผู้บริโภคยังทำได้ไม่หมด เห็นได้จากตัวเลขเงินเฟ้อฝั่งผู้บริโภคที่โต 7.1% แต่เงินเฟ้อฝั่งผู้ผลิตโตถึง 13%
“แปลว่าราคาสินค้าที่ผู้บริโภคเจอตอนนี้ ยังส่งผ่านมาจากผู้ผลิตไม่หมด คือ ภาคธุรกิจยังต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไว้อยู่ เพราะเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว ขณะที่รายได้ครัวเรือนยังไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นมาก ถ้าดูราคาน้ำมันตั้งแต่ก่อนโควิดถึงปัจจุบันปรับขึ้นแล้วเกือบ 2 เท่าตัว ที่เพิ่มเยอะอีกตัวคือ ราคาเหล็ก และวัตถุดิบอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคเกษตรที่ราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้น”
โดยต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรวม 2 ปี ก็เพิ่มขึ้นแล้ว 73% เหล็กรวม ๆ เพิ่มขึ้นแล้ว 16-17% สินค้าเกษตรรวมเพิ่มขึ้นแล้ว 10% วัตถุดิบอุตสาหกรรมรวมเพิ่มขึ้นแล้วเกือบ 10% และวัตถุดิบอาหารรวม ๆ เพิ่มแล้ว 8-9% ซึ่ง การคำนวณต้นทุนเหล่านี้ยังไม่ได้บวกต้นทุนค่าแรง ซึ่งมีโอกาสปรับขึ้นอีก”
จากการเข้าไปศึกษางบดุลของธุรกิจกลุ่มต่าง ๆ พบว่า กลุ่มธุรกิจที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย ประกอบด้วยขนส่งและโลจิสติกส์, ประมง, ผู้ผลิตไฟฟ้า, เหมืองแร่ หิน ทราย, เคมีภัณฑ์, โรงสีและผู้ส่งออกข้าว, สินค้าเกษตรแปรรูป, อาหาร, เลี้ยงสัตว์, ผู้ผลิตเหล็ก และวัสดุก่อสร้าง ส่วนผู้ผลิตพลังงานมีการส่งผ่านต้นทุนไปได้
เอสเอ็มอีน่าห่วงที่สุด
นาย
นริศกล่าวว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีน่าเป็นห่วงที่สุด เพราะไม่มีความสามารถในการส่งผ่านราคาไปยังผู้บริโภค ถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่และมีการส่งออกจะส่งผ่านต้นทุนได้ง่ายกว่า ส่วนแนวโน้มดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็จะกระทบเอสเอ็มอีมากกว่า เพราะส่วนใหญ่ใช้เงินกู้เป็นทุนหมุนเวียน ซึ่งสินเชื่อประเภทนี้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ถ้าดอกเบี้ยขึ้นก็จะมีภาระเพิ่มขึ้นทันที ส่วนรายใหญ่สามารถวางแผนกู้ระยะยาวได้
ช่วงนี้ภาวะเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง ผลกระทบจากเงินเฟ้อจะยังมีจนถึงปีหน้า ดังนั้น ภาคธุรกิจอาจจะต้องเก็บสภาพคล่องไว้ พร้อมกับลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ปรับแต่งงบดุลให้ดีขึ้น แข็งแกร่งขึ้น อย่างหนี้สินที่ไม่จำเป็นก็อย่าเพิ่งไปสร้าง เป็นต้น
ซ้ำเติมโรงแรม-หนี้ครัวเรือน
ดร.
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวว่า ธปท.มีการปรับคาดการณ์เงินเฟ้อปีนี้ จาก 4.9% เป็น 6.2% สะท้อนว่าครึ่งปีหลังจะมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก เพราะราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ราคาก๊าซหุงต้ม รวมถึงราคาอาหารต่าง ๆ ก็ต้องปรับขึ้นอีก และมีโอกาสสูงที่จะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม กนง.รอบหน้า 0.25% และมีโอกาสที่จะทยอยปรับขึ้นรวม 1-2 ครั้ง
จากนี้คงต้องไปพิจารณาว่าถ้าขึ้นดอกเบี้ยแล้วจะดูแลผู้ได้รับผลกระทบอย่างไร เพราะในภาวะเศรษฐกิจยังไม่ได้ฟื้นเต็มที่ โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวโรงแรมจะยิ่งลำบาก และต้องดูว่าจะมีเครื่องมือไปช่วยกลุ่มเปราะบางอย่างไร เพราะการขึ้นดอกเบี้ยจะซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือน
SMEs แห่ขอวงเงินเพิ่ม
ด้าน นาย
ชัยยศ ตันพิสุทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณลูกค้าเอสเอ็มอีรับมือกับปัจจัยเสี่ยงทั้งด้านอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ผ่านการขอวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน (O/D) เสริมสภาพคล่องในธุรกิจมากขึ้น
โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่มีต้นทุนราคาสินค้าสูงขึ้น ทำให้ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น เช่น ปั๊มน้ำมัน ปิโตรเคมี เม็ดพลาสติก และอุปกรณ์ก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ และเหล็ก เป็นต้น
ขณะเดียวกันเห็นสัญญาณชะลอการลงทุนใหม่ในอุปกรณ์เครื่องจักร หรือการขยายธุรกิจ เพื่อเก็บกระแสเงินสดไว้มากที่สุด และพยายามขอวงเงินสินเชื่อให้มากที่สุด เพื่อประคองธุรกิจให้ผ่านช่วงนี้ไปก่อน
“ช่วงที่เงินเฟ้อสูงขึ้นจะพบว่าความต้องการใช้เงินในการประคองธุรกิจก็เพิ่มขึ้น เพราะต้นทุนสินค้าเพิ่ม แต่ยอดขายไม่ดีมาก ทุกคนก็พยายามลดต้นทุนค่าใช้จ่าย”
“เอสซีจี” รีวิวแผนทุกเดือน
นาย
รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย หรือ เอสซีจี กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากปัจจัยรอบด้านที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้บริษัทต้องมีการรีวิวแผนธุรกิจ และการลงทุนใหม่ เรียกได้ว่าเป็นรายเดือน และรายอาทิตย์เลย เพราะสถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนเร็วมาก
เช่น กรณีต้นทุนพลังงาน เพราะธุรกิจของเอสซีจีเกี่ยวข้องกับพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ขึ้นไปถึง 40-50% เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา แม้ไม่ได้ทำให้ต้นทุนปรับขึ้นขนาดนั้น แต่ก็ขึ้นไปอย่างน้อย 10-20% จึงต้องรีวิวแผนการลงทุนกันใหม่
“การทรานส์ฟอร์มองค์กรโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ ก็มีส่วนช่วยให้เราปรับตัวได้ดีและเร็วขึ้น เพราะตลาดและลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ซึ่งเอสซีจีทำเรื่องอินโนเวชั่นมาอย่างต่อเนื่อง และในช่วงโควิดเป็นช่วงที่ได้พิสูจน์ด้วยว่าสิ่งที่ทำไปเป็นอย่างไร สุดท้ายแล้ว ลูกค้าจะเป็นคนบอกว่าเราทำไปแล้วจะเป็นยังไงบนเป้าหมายที่ต้องการเป็นผู้นำในเรื่องอินโนเวชั่น และดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ตอนนี้ก็กำลังจะมาทำเรื่องความยั่งยืน”
กระทิงแดงถกปรับแผน
นาย
สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด เปิดเผยว่า จากผลกระทบเงินเฟ้อสูงขึ้น ทำให้ดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาขึ้น ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ รายเล็กต้องปรับตัว หาแนวทางลดต้นทุนต่าง ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจเพื่อรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลก
สำหรับ TCP ก็ต้องปรับตัว จากที่มีการวางแผนระยะยาว 3 ปี ขณะนี้ต้องคิดหาแนวทางเคลื่อนธุรกิจต่อ โดยวางแผนงานกับทีมผู้บริหารกันทุกเดือน เพื่อรับการเปลี่ยนแปลง โดยโปรเจ็กต์การลงทุนต่าง ๆ ยังดำเนินต่อไป
“ยอมรับว่าค่อนข้างกังวลกับสถานการณ์ภาพรวมของโลก เรื่องความขัดแย้งสงครามรัสเซียและยูเครน ภาวะเงินเฟ้อ ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และยังมีความรุนแรงขึ้นต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้เราคุมไม่ได้ ก็ต้องจับตาดูกันต่อไป”
เครือสหพัฒน์ไม่ใช้เงินกู้
ขณะที่ นาย
เวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภครายใหญ่ แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า ต้นทุนการเงินที่เพิ่มขึ้นคงไม่กระทบกับเครือสหพัฒน์ แต่มีส่วนที่จะกระทบลูกค้าสหพัฒน์มากกว่า เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา บริษัทในเครือสหพัฒน์ทั้งหมดได้บทเรียนจากวิกฤตต้มยำกุ้งมา เพราะฉะนั้น เรื่องเงินจึงไม่มีปัญหา เพราะส่วนมากบริษัทไม่ได้ใช้เงินกู้ แต่มีเงินสดในมือค่อนข้างมาก
โรงแรมเหนื่อยแบกดอกเบี้ยเงินกู้
นาง
มาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (THA) กล่าวกับ
“ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทั้งภาวะเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการบริหารจัดการที่สูงขึ้น เนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการโรงแรมส่วนใหญ่พึ่งพาเงินกู้จากสถาบันการเงินเข้ามาหมุนเวียนเพื่อพยุงธุรกิจในวงเงินที่ค่อนข้างสูง
ขณะที่รายได้ยังกลับมาในสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวยังกลับมาไม่มากนัก บวกกับราคาที่ยังไม่สามารถปรับขึ้นได้ ส่งผลให้การฟื้นตัวของธุรกิจต้องใช้เวลาที่นานขึ้น
“ปัญหาตอนนี้คือความเหลื่อมล้ำของธุรกิจ เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังมีจำนวนไม่มากพอที่จะกระจายเข้าไปในโรงแรมทุกเซ็กเมนต์ บางแห่งเปิดแล้วมีรายได้เพียงพอสำหรับการบริหาร บางโรงแรมยังขาดทุน บางโรงแรมยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากตลาดนักท่องเที่ยวที่เคยเป็นตลาดเป้าหมายยังไม่กลับมา”
นาง
มาริสากล่าวด้วยว่า สถานการณ์ธุรกิจวันนี้เปลี่ยนเร็วมาก ทั้งพฤติกรรมนักท่องเที่ยว รวมถึงดีมานด์ในตลาด ผู้ประกอบการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้เร็ว ทั้งด้านกลยุทธ์การตลาด การบริหารบุคลากร รวมถึงการบริหารด้านไฟแนนซ์ เพื่อดูแลต้นทุนให้ธุรกิจยังสามารถเดินต่อไปได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
นอกจากนี้ยังต้องมีจุดขาย หรือความโดดเด่นที่ชัดเจน โฟกัสและให้บริการที่เฉพาะเจาะจงสำหรับลูกค้าแต่ในละกลุ่มมากยิ่งขึ้น รวมถึงต้องบริหารและให้บริการที่ยืดหยุ่นขึ้นด้วย เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าและขยายฐานลูกค้าใหม่
JJNY : สุวรรณภูมิหล่นตุ๊บ!│วิกฤตต้นทุนธุรกิจรัดเข็มขัด-ชะลอลงทุนใหม่│หนุ่มลองแจ้ง‘เพื่อนชัชชาติ’│ผู้นำอังกฤษเยือนยูเครน
https://ch3plus.com/news/economy/ch3onlinenews/296663
SKYTRAX บริษัทจัดอันดับให้แก่อุตสาหกรรมการบิน ประกาศผลการจัดอันดับ 100 อันดับ สนามบินที่ดีที่สุดในโลก ปี 2022 จากการโหวตของผู้เดินทางโดยเครื่องบิน ระหว่างปี 2021-2022
โดยอันดับ 1 ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด (Hamad International Airport) ตั้งอยู่ในกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ แชมป์เก่า / ตามมาด้วย สนามบินฮาเนดะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่รักษามาตรฐาน และอยู่ในอันดับ 2 เช่นเดิม ขณะที่อันดับ 3 ได้แก่ สนามบินชางงี ประเทศสิงคโปร์ อันดับ 4 สนามบินนาริตะ กรุงโตเกียว ขึ้นมาจากอันดับ 5 ในปีก่อนหน้า และอันดับ 5 ได้แก่ สนามบินอินชอน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ลงมาจากอันดับ 4
อันดับ 6 สนามบิน ชาร์ลเดอโกล์ กรุงปารีส ฝรั่งเศส เลื่อนจากอันดับที่ 15 ขึ้นมา / อันดับ 7 สนามบินมิวนิค ประเทศเยอรมนี อันดับ 8 / สนามบินอิสตันบูล ประเทศตุรกี / อันดับ 9 สนามบินซูริค สวิตเซอร์แลนด์ และอันดับ 10 สนามบินคันไซ ประเทศญี่ปุ่น
ส่วนสนามบินสุวรรณภูมิของไทยนั้นร่วงลงถึง 11 อันดับ ลงไปอยู่ที่อันดับ 77 โดยร่วงลงมาจากอันดับที่ 66 ในปี 2021
วิกฤตต้นทุน ดอกเบี้ยขาขึ้น ธุรกิจรัดเข็มขัด-ชะลอลงทุนใหม่
https://www.prachachat.net/economy/news-957828
ธุรกิจปรับแผนรับมือวิกฤต “เงินเฟ้อ” ทั้งราคาพลังงาน-ค่าไฟฟ้า-วัตถุดิบพุ่งไม่หยุด จุดเปลี่ยน “ดอกเบี้ยขาขึ้น” กระทบต้นทุนธุรกิจพุ่งทุกมิติ ฝ่ายวิจัยทีทีบีชี้ธุรกิจอ่วมส่งผ่านต้นทุนไม่ได้ “เอสเอ็มอี” เจอผลกระทบดอกเบี้ยหนักสุด เพราะทุนหมุนเวียนส่วนใหญ่เป็นเงินกู้
เคแบงก์เผยเอสเอ็มอีแห่ขอวงเงินสินเชื่อตุนสภาพคล่องรับมือช่วงยากลำบาก พร้อมสัญญาณชะลอการลงทุนใหม่ “เอสซีจี-กระทิงแดง” รีวิวแผนธุรกิจรายเดือน “เอไอเอส” ยึดนโยบายรัดเข็มขัด ฟากธุรกิจโรงแรมเหนื่อยหนักแบกภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่ม “เซ็นทารา” ปรับแผนเอาต์ซอร์ซ ลดต้นทุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสงครามรัสเซีย-ยูเครนส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตอีกหลายตัว ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง พร้อมกันนี้ยังมีสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม กนง.ในเดือน ส.ค.นี้ หมายถึงต้นทุนการเงินที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีก
และล่าสุด นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ก็ยอมรับว่ามีแนวโน้มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) งวด ก.ย.-ธ.ค. 2565 จะปรับขึ้นมากกว่า 40 สตางค์ ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าปรับขึ้นอีก
ธุรกิจแบกต้นทุน-ส่งผ่านไม่ได้
นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics) กล่าวว่า ตอนนี้การส่งผ่านต้นทุนจากผู้ผลิตมายังผู้บริโภคยังทำได้ไม่หมด เห็นได้จากตัวเลขเงินเฟ้อฝั่งผู้บริโภคที่โต 7.1% แต่เงินเฟ้อฝั่งผู้ผลิตโตถึง 13%
“แปลว่าราคาสินค้าที่ผู้บริโภคเจอตอนนี้ ยังส่งผ่านมาจากผู้ผลิตไม่หมด คือ ภาคธุรกิจยังต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไว้อยู่ เพราะเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว ขณะที่รายได้ครัวเรือนยังไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นมาก ถ้าดูราคาน้ำมันตั้งแต่ก่อนโควิดถึงปัจจุบันปรับขึ้นแล้วเกือบ 2 เท่าตัว ที่เพิ่มเยอะอีกตัวคือ ราคาเหล็ก และวัตถุดิบอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคเกษตรที่ราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้น”
โดยต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรวม 2 ปี ก็เพิ่มขึ้นแล้ว 73% เหล็กรวม ๆ เพิ่มขึ้นแล้ว 16-17% สินค้าเกษตรรวมเพิ่มขึ้นแล้ว 10% วัตถุดิบอุตสาหกรรมรวมเพิ่มขึ้นแล้วเกือบ 10% และวัตถุดิบอาหารรวม ๆ เพิ่มแล้ว 8-9% ซึ่ง การคำนวณต้นทุนเหล่านี้ยังไม่ได้บวกต้นทุนค่าแรง ซึ่งมีโอกาสปรับขึ้นอีก”
จากการเข้าไปศึกษางบดุลของธุรกิจกลุ่มต่าง ๆ พบว่า กลุ่มธุรกิจที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย ประกอบด้วยขนส่งและโลจิสติกส์, ประมง, ผู้ผลิตไฟฟ้า, เหมืองแร่ หิน ทราย, เคมีภัณฑ์, โรงสีและผู้ส่งออกข้าว, สินค้าเกษตรแปรรูป, อาหาร, เลี้ยงสัตว์, ผู้ผลิตเหล็ก และวัสดุก่อสร้าง ส่วนผู้ผลิตพลังงานมีการส่งผ่านต้นทุนไปได้
เอสเอ็มอีน่าห่วงที่สุด
นายนริศกล่าวว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีน่าเป็นห่วงที่สุด เพราะไม่มีความสามารถในการส่งผ่านราคาไปยังผู้บริโภค ถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่และมีการส่งออกจะส่งผ่านต้นทุนได้ง่ายกว่า ส่วนแนวโน้มดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็จะกระทบเอสเอ็มอีมากกว่า เพราะส่วนใหญ่ใช้เงินกู้เป็นทุนหมุนเวียน ซึ่งสินเชื่อประเภทนี้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ถ้าดอกเบี้ยขึ้นก็จะมีภาระเพิ่มขึ้นทันที ส่วนรายใหญ่สามารถวางแผนกู้ระยะยาวได้
ช่วงนี้ภาวะเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง ผลกระทบจากเงินเฟ้อจะยังมีจนถึงปีหน้า ดังนั้น ภาคธุรกิจอาจจะต้องเก็บสภาพคล่องไว้ พร้อมกับลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ปรับแต่งงบดุลให้ดีขึ้น แข็งแกร่งขึ้น อย่างหนี้สินที่ไม่จำเป็นก็อย่าเพิ่งไปสร้าง เป็นต้น
ซ้ำเติมโรงแรม-หนี้ครัวเรือน
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวว่า ธปท.มีการปรับคาดการณ์เงินเฟ้อปีนี้ จาก 4.9% เป็น 6.2% สะท้อนว่าครึ่งปีหลังจะมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก เพราะราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ราคาก๊าซหุงต้ม รวมถึงราคาอาหารต่าง ๆ ก็ต้องปรับขึ้นอีก และมีโอกาสสูงที่จะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม กนง.รอบหน้า 0.25% และมีโอกาสที่จะทยอยปรับขึ้นรวม 1-2 ครั้ง
จากนี้คงต้องไปพิจารณาว่าถ้าขึ้นดอกเบี้ยแล้วจะดูแลผู้ได้รับผลกระทบอย่างไร เพราะในภาวะเศรษฐกิจยังไม่ได้ฟื้นเต็มที่ โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวโรงแรมจะยิ่งลำบาก และต้องดูว่าจะมีเครื่องมือไปช่วยกลุ่มเปราะบางอย่างไร เพราะการขึ้นดอกเบี้ยจะซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือน
SMEs แห่ขอวงเงินเพิ่ม
ด้าน นายชัยยศ ตันพิสุทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณลูกค้าเอสเอ็มอีรับมือกับปัจจัยเสี่ยงทั้งด้านอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ผ่านการขอวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน (O/D) เสริมสภาพคล่องในธุรกิจมากขึ้น
โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่มีต้นทุนราคาสินค้าสูงขึ้น ทำให้ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น เช่น ปั๊มน้ำมัน ปิโตรเคมี เม็ดพลาสติก และอุปกรณ์ก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ และเหล็ก เป็นต้น
ขณะเดียวกันเห็นสัญญาณชะลอการลงทุนใหม่ในอุปกรณ์เครื่องจักร หรือการขยายธุรกิจ เพื่อเก็บกระแสเงินสดไว้มากที่สุด และพยายามขอวงเงินสินเชื่อให้มากที่สุด เพื่อประคองธุรกิจให้ผ่านช่วงนี้ไปก่อน
“ช่วงที่เงินเฟ้อสูงขึ้นจะพบว่าความต้องการใช้เงินในการประคองธุรกิจก็เพิ่มขึ้น เพราะต้นทุนสินค้าเพิ่ม แต่ยอดขายไม่ดีมาก ทุกคนก็พยายามลดต้นทุนค่าใช้จ่าย”
“เอสซีจี” รีวิวแผนทุกเดือน
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย หรือ เอสซีจี กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากปัจจัยรอบด้านที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้บริษัทต้องมีการรีวิวแผนธุรกิจ และการลงทุนใหม่ เรียกได้ว่าเป็นรายเดือน และรายอาทิตย์เลย เพราะสถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนเร็วมาก
เช่น กรณีต้นทุนพลังงาน เพราะธุรกิจของเอสซีจีเกี่ยวข้องกับพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ขึ้นไปถึง 40-50% เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา แม้ไม่ได้ทำให้ต้นทุนปรับขึ้นขนาดนั้น แต่ก็ขึ้นไปอย่างน้อย 10-20% จึงต้องรีวิวแผนการลงทุนกันใหม่
“การทรานส์ฟอร์มองค์กรโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ ก็มีส่วนช่วยให้เราปรับตัวได้ดีและเร็วขึ้น เพราะตลาดและลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ซึ่งเอสซีจีทำเรื่องอินโนเวชั่นมาอย่างต่อเนื่อง และในช่วงโควิดเป็นช่วงที่ได้พิสูจน์ด้วยว่าสิ่งที่ทำไปเป็นอย่างไร สุดท้ายแล้ว ลูกค้าจะเป็นคนบอกว่าเราทำไปแล้วจะเป็นยังไงบนเป้าหมายที่ต้องการเป็นผู้นำในเรื่องอินโนเวชั่น และดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ตอนนี้ก็กำลังจะมาทำเรื่องความยั่งยืน”
กระทิงแดงถกปรับแผน
นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด เปิดเผยว่า จากผลกระทบเงินเฟ้อสูงขึ้น ทำให้ดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาขึ้น ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ รายเล็กต้องปรับตัว หาแนวทางลดต้นทุนต่าง ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจเพื่อรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลก
สำหรับ TCP ก็ต้องปรับตัว จากที่มีการวางแผนระยะยาว 3 ปี ขณะนี้ต้องคิดหาแนวทางเคลื่อนธุรกิจต่อ โดยวางแผนงานกับทีมผู้บริหารกันทุกเดือน เพื่อรับการเปลี่ยนแปลง โดยโปรเจ็กต์การลงทุนต่าง ๆ ยังดำเนินต่อไป
“ยอมรับว่าค่อนข้างกังวลกับสถานการณ์ภาพรวมของโลก เรื่องความขัดแย้งสงครามรัสเซียและยูเครน ภาวะเงินเฟ้อ ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และยังมีความรุนแรงขึ้นต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้เราคุมไม่ได้ ก็ต้องจับตาดูกันต่อไป”
เครือสหพัฒน์ไม่ใช้เงินกู้
ขณะที่ นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภครายใหญ่ แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า ต้นทุนการเงินที่เพิ่มขึ้นคงไม่กระทบกับเครือสหพัฒน์ แต่มีส่วนที่จะกระทบลูกค้าสหพัฒน์มากกว่า เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา บริษัทในเครือสหพัฒน์ทั้งหมดได้บทเรียนจากวิกฤตต้มยำกุ้งมา เพราะฉะนั้น เรื่องเงินจึงไม่มีปัญหา เพราะส่วนมากบริษัทไม่ได้ใช้เงินกู้ แต่มีเงินสดในมือค่อนข้างมาก
โรงแรมเหนื่อยแบกดอกเบี้ยเงินกู้
นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (THA) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทั้งภาวะเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการบริหารจัดการที่สูงขึ้น เนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการโรงแรมส่วนใหญ่พึ่งพาเงินกู้จากสถาบันการเงินเข้ามาหมุนเวียนเพื่อพยุงธุรกิจในวงเงินที่ค่อนข้างสูง
ขณะที่รายได้ยังกลับมาในสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวยังกลับมาไม่มากนัก บวกกับราคาที่ยังไม่สามารถปรับขึ้นได้ ส่งผลให้การฟื้นตัวของธุรกิจต้องใช้เวลาที่นานขึ้น
“ปัญหาตอนนี้คือความเหลื่อมล้ำของธุรกิจ เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังมีจำนวนไม่มากพอที่จะกระจายเข้าไปในโรงแรมทุกเซ็กเมนต์ บางแห่งเปิดแล้วมีรายได้เพียงพอสำหรับการบริหาร บางโรงแรมยังขาดทุน บางโรงแรมยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากตลาดนักท่องเที่ยวที่เคยเป็นตลาดเป้าหมายยังไม่กลับมา”
นางมาริสากล่าวด้วยว่า สถานการณ์ธุรกิจวันนี้เปลี่ยนเร็วมาก ทั้งพฤติกรรมนักท่องเที่ยว รวมถึงดีมานด์ในตลาด ผู้ประกอบการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้เร็ว ทั้งด้านกลยุทธ์การตลาด การบริหารบุคลากร รวมถึงการบริหารด้านไฟแนนซ์ เพื่อดูแลต้นทุนให้ธุรกิจยังสามารถเดินต่อไปได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
นอกจากนี้ยังต้องมีจุดขาย หรือความโดดเด่นที่ชัดเจน โฟกัสและให้บริการที่เฉพาะเจาะจงสำหรับลูกค้าแต่ในละกลุ่มมากยิ่งขึ้น รวมถึงต้องบริหารและให้บริการที่ยืดหยุ่นขึ้นด้วย เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าและขยายฐานลูกค้าใหม่