ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 1
…นาเดียอยู่ในหมู่ผู้หญิงและเด็กชาวยาซิดีที่เหลือ และถูกขนขึ้นรถไปยังโมซูลซึ่งบัดนั้นถูกพวก ISIS ใช้เป็นฐานหลักในอิรัก
ตอนแรกเธอถูกจับตัวขึ้นรสบัสจากโคโชไปยังโมซูลพร้อมกับหญิงยาซิดีคนอื่นๆ เธอถูกลวนลามตั้งแต่อยู่บนนั้น ยิ่งเธอหวีดร้องแสดงความกลัวและขยะแขยง นักรบ ISIS ก็ยิ่งเล่นงานเธอเต็มที่
“ชายคนนี้วางมือบนหน้าอกเราตลอดเวลา หมอนี่ลวนลามเรา และไม่ปล่อยเราไว้ตามลำพัง” นาเดียฟ้อง เธอคิดว่ามุสลิมน่าจะต้องมีกฎสำหรับการปฏิบัติต่อสตรีที่ดี
“พวกแกคิดว่าแกมาที่นี่เพื่ออะไร ถามจริงๆ ไม่รู้เหรอ?” นักรบ ISIS ถามเธอกลับ “ฉันไม่รู้นะว่าพวกแกคิดว่าเราพาตัวมาทำไม แต่พวกแกไม่มีทางเลือก พวกแกมานี่เพื่อเป็นซาบายา พวกแกจะต้องทำทุกอย่างที่เราสั่ง และถ้ามีใครหวีดร้องขึ้นมาอีก …เรื่องจะแย่ลงสำหรับพวกแก เชื่อฉันสิ”
ภาพแนบ: คนที่แห่หนี ISIS เข้าเคอร์ดิสถาน
นาเดียหวนคิดไปถึงนิทานเรื่อง “เลย์ลากับมัจนัน” ซึ่งเป็นนิทานอาหรับโบราณ เนื้อหาว่าด้วยคู่รักหนุ่มสาวที่ไม่สมหวัง ตอนที่แม่ของเธอเล่าให้ฟังนั้น ได้ทำการปิดเรื่องด้วยการชี้ไปที่ดาวบนท้องฟ้าและบอกว่า พระเจ้าทรงเปลี่ยนสองคนนี้ให้เป็นดาว เพราะสองคนนี้สวดมนต์ขอให้ได้อยู่คู่กันหลังความตาย
นาเดียจึงสวดมนต์บ้างว่า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดเปลี่ยนข้าพระองค์ให้เป็นดาวเพื่อให้ข้าพระองค์อยู่บนฟ้าเหนือรสบัสคันนี้ ถ้าพระองค์ทรงทำได้หนหนึ่งแล้ว พระองค์ทรงสามารถทำได้อีก”
...แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น…
ตอนแรกไม่มีใครทราบด้วยซ้ำว่า ซาบายา แปลว่าอะไร พวกเธอค่อยมาทราบก็เมื่อถูกส่งไปถึงตลาดค้าทาส…
ภาพแนบ: ภาพจากเรื่องเลย์ลากับมัจนัน
*** นาเดียเป็นซาบายา ***
พวก ISIS ปฏิบัติต่อคนนอกศาสนาแตกต่างกัน …สำหรับคนยิวหรือคริสต์นั้นมักจะได้รับการดูแลให้ความปลอดภัย เพียงแต่ต้องจ่ายภาษีที่เรียกว่า “ญิซยะฮ์” ซึ่งเป็นภาษีสำหรับคนนอกศาสนาที่อยู่ในการปกครองของรัฐมุสลิม
…แต่ ISIS เชื่อว่าพวกยาซิดีนั้นนับถือซาตาน ดังนั้นไม่จำเป็นต้องปฏิบัติด้วยแบบมนุษย์… ผู้ชายจะถูกฆ่า เด็กผู้ชายจะถูกล้างสมองไปเป็นทหาร
ส่วนผู้หญิงจะต้องเป็นทาสกาม สมาชิก ISIS มักใช้พวกนี้ทำงานบ้าน และระบายความใคร่
“ซาบายา” เป็นคำที่ ISIS ใช้เรียกทาสกามประเภทนี้ พวกเขาจะเรียกพวกเธอว่า “ซาบายาหมายเลข 1 ซาบายาหมายเลข 2 ฯลฯ”
ภาพแนบ: โฆษณาชวนเชื่อของ ISIS บอกว่าถ้าเดินทางมาร่วมจะได้คู่ครอง
และจากการตีความคัมภีร์อัลกุรอานแบบสุดโต่งของ ISIS ทำให้พวกเขาเชื่อว่าการข่มขืนกระทำชำเราทาสนั้นไม่เป็นบาป พวกนี้จึงใช้ทาสกามเป็นสินค้า เป็นรางวัลบำเหน็จให้เหล่าทหารที่มีผลงานดี หรือเป็นการโฆษณาดึงดูดให้อาสาสมัครหนุ่มฉกรรจ์จากทั่วโลกมาสวามิภักดิ์ ISIS มากขึ้น เพื่อหาเมีย…
พวก ISIS ซื้อขายทาสยาซิดีอย่างเป็นกิจจะลักษณะ มีการพัฒนาแอพลิเคชันมือถือเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ผู้หญิงยิ่งอายุน้อยก็ยิ่งมีราคาแพง เพราะถือเป็นของสด
…ผู้หญิงชาวยาซิดีต้องเผชิญการกดขี่ข่มเหงที่โหดร้ายเกินจินตนาการ โดยนอกจากต้องรองรับอารมณ์ของพวกก่อการร้ายแล้ว ยังถูก “เมียแต่ง” ของพวกนั้นรังแกต่างๆ ด้วยความริษยาที่สามีไปมีอะไรกับ “เมียทาส”
ภาพแนบ:ใบปลิวเกี่ยวกับทาสกามของ ISIS
ที่ตลาดค้าทาส มีดูชายร่างยักษ์ที่ดูเหมือนสัตว์ประหลาดคนหนึ่งแยกตัวนาเดียจากครอบครัว และพาตัวเธอไป
เธอหวาดกลัวมาก แล้วทุ่มตัวลงกอดเท้าของชายอีกคนที่ดูผอมบางกว่า “ขอร้องล่ะ พาฉันไปด้วย จะทำอะไรก็ได้ ขอแค่ไม่ได้ไปกับไอ้ยักษ์นี่”
ปรากฏว่าชายที่เธอกอดเท้านั้นเป็นผู้พิพากษาที่ไม่มีใครกล้าขัด ชื่อ ซัลมาน
…แล้วก็ดูเหมือนเขาจะถูกใจเธอ
มาถึงตอนนั้นนาเดียก็ได้แต่กลับมาสงสัยตัวเองแล้วว่า ตัดสินใจผิดพลาดครั้งใหญ่ไปแล้วหรือเปล่า?
ภาพแนบ: แอพซื้อหาทาสกามของ ISIS
วันต่อมา เธอเดินเข้าอาคารศาลโมซูล เพื่อไป “จดทะเบียน” รับรองว่าใครเป็นเจ้าของซาบายาที่ซื้อมาอย่างเป็นทางการ
เมื่อเธออยู่ต่อหน้าผู้พิพากษา เธอก็รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อ รีบอธิษฐานในใจขออภัยจากพระเจ้า …ข้าพระองค์จะเชื่อในพระองค์เสมอ ข้าพระองค์จะเป็นยาซิดีตลอดไป
ผู้พิพากษามองเธอ สั่งให้เธอยกนิกอบขึ้น แล้วถามเธอว่า “รู้จักชะฮาดะห์ไหม?”
“ค่ะ” นาเดียตอบ มันเป็นบทสวดง่ายๆ ของอิสลามที่ว่า “ไม่มีพระเป็นเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์” การพูดสิ่งนี้ จะเป็นการปฏิญาณว่าตนเองเป็นมุสลิม หรือก็คือ นาเดียประกาศเปลี่ยนศาสนา ณ ตอนนั้นเอง
ภาพแนบ: อาคารศาลโมซูล
เธอท่องมันจนจบ แล้วผู้พิพากษาก็บอกเธอว่า “ขอพระเจ้าอวยพร สิ่งที่เธอทำนั้นดีมากๆ”
จากนั้นเขาได้หันไปทางคนที่เป็นเจ้าของเธอ “เธอเป็นซาบายาของคุณแล้ว ทำกับเธอได้ตามต้องการ”
ตอนขากลับ ซัลมานได้ขู่เธอว่า “เขาสามารถใช้ภาพคอยติดตามว่าเธออยู่ไหน และอยู่กับใคร และถ้าเธอพยายามหนี เขาจะพิมพ์รูปพวกนี้เป็นร้อยๆ สำเนาพร้อมชื่อและเบอร์โทรของฉัน แขวนไว้ที่จุดตรวจทุกที่ เพื่อให้แน่ใจว่าเธอจะกลับมาหาฉัน เธอจะต้องกลับมาหาฉันแน่ๆ”
…แน่นอนว่าเธอเชื่อเขา…
ภาพแนบ: การแต่งงานในเขต ISIS
ในช่วงที่เธออยู่กับซัลมานหลายวัน เธอพยายามหลอกล่อว่าเธอมีประจำเดือนอยู่ พยายามถ่วงเวลาไว้ให้นานที่สุด แต่วันหนึ่งซัลมานก็ไม่ทนรอแล้ว บอกว่าจะมีเพศสัมพันธ์กับเธอ ไม่ว่าจะมีประจำเดือนอยู่หรือไม่
สัมผัสของซัลมานป่าเถื่อนรุนแรง เธอส่งเสียงดังลั่นซึ่งน่าจะปลุกคนทั้งเมืองให้รู้ว่าผู้พิพากษา ISIS คนนี้กำลังข่มขืนกระทำชำเราซาบายาของเขา
แต่นั่นก็ไม่ช่วยอะไร ส่วนเธอก็ได้แต่ร้องไห้หาแม่…
ภาพแนบ:เหยื่อชาวยาซิดี
อยู่มาวันหนึ่ง นาเดียนึกถึงตอนที่เธอกำลังมองออกไปนอกหน้าต่างของบ้าน มองไปจากชั้นสองเห็นกำแพงอิฐ เห็นว่านักรบ ISIS ที่ปกติเดินลาดตระเวนอยู่เสมอๆ ไม่อยู่แล้ว
ถ้าจะหนีก็ต้องหนีตอนนี้แหละ
เธอค่อยๆ พาดขาออกนอกหน้าต่าง ตามด้วยเอาลำตัวออกมา เท้าพยายามควานหาอิฐเป็นหลัก แขนที่เกาะกรอบหน้าต่างนั้นสั่นระริก แต่เธอทรงตัวได้อย่างรวดเร็ว และกำลังมองหาอิฐชั้นล่างเพื่อเหยียบต่อ
…แต่แล้วทันใดนั้นเธอก็ได้ยินเสียงขึ้นนกปืน…
“กลับเข้าข้างใน!” เสียงผู้ชายตะโกนมา …เธอตัวแข็งทื่อ…
เมื่อเธอปีนกลับเข้ามา ซัลมานกับนักรบ ISIS อีก 4 คนสั่งให้เธอถอดเสื้อผ้า หลังจากนั้นพวกเขาก็รุมข่มขืนเธออย่างโหดร้าย…
ภาพแนบ: เหยื่อชาวยาซิดี
เธอตื่นขึ้นมาตอนเช้าในสภาพเปลือยเปล่า ก่อนที่จะได้รับแจ้งว่าซัลมานขายเธอให้คนอื่นแล้ว
นาเดียถูกนำตัวมายังเขตฮัมดานิยาห์ ทางเหนือของนิเนเวห์ ให้ไปพบกับเจ้าของคนใหม่ ชื่อ มัววายา
บ้านของมัววายาเป็นบ้านที่เคยเป็นของคนอื่นมาก่อน นาเดียได้อยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยหนังสือ และมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเครื่องหนึ่งที่จอดับไป ซึ่งน่าจะเป็นห้องของนักศึกษาอายุพอๆ กับเธอคนหนึ่งที่หนีไปแล้ว
...แม้ว่าจะมัววายาจะไม่ได้แสดงท่าทางรังเกียจเธอมากเท่ากับซัลมาน แต่เขาก็ยังข่มขืนเธอเสมอ …เรื่องโฉดชั่วเช่นนี้ดำเนินไปทุกวันจนเธอไม่รู้วันรู้เวลา
ความคิดเรื่องการหลบหนีของนาเดียค่อยๆ หลุดลอยไป และความทรงจำในอดีตก็ค่อยๆ เลือนราง ร่างกายของเธอเหมือนกับไม่ใช่ร่างกายของตัวเองอีกต่อไป
ภาพแนบ: เหยื่อชาวยาซิดี
วันหนึ่งมัววายาพาเธอไปยังจุดตรวจที่เชื่อมระหว่างฮัมดานิยาห์กับโมซูล ตอนนั้นเธอรู้สึกไม่สบาย
เมื่อมีนักรบ ISIS ตัวใหญ่คนหนึ่งเดินเข้ามา เธอก็บอกเขาว่า “ขอร้องล่ะ ฉันไม่สบายจริงๆ”
นักรบนั้นตอบมาว่า “ไม่รู้เหรอว่าฉันชอบมากแค่ไหนเมื่อแกอยู่ในสภาพแบบนี้ ไม่เข้าใจเหรอว่าฉันชอบเวลาที่แกอ่อนแอ”
ปรากฏว่ามัววายาเบื่อหน่ายนาเดียแล้ว และขายเธอให้เจ้าของคนใหม่ เป็นนักรบชื่อ อะเมอร์
และอะเมอร์วางแผนนำตัวเธอไปซีเรีย
ภาพแนบ: ชาวยาซิดีที่พลัดถิ่น
“ฉันไม่อยากไปซีเรีย!” นาเดียขอร้อง
“แกต้องรอที่นี่ เราอาจไปถึงซีเรียทันพรุ่งนี้”
“บอกแล้วไง ไม่มีทางที่ฉันจะไปซีเรีย!” เธอรู้สึกโกรธมากที่ต้องแยกจากบ้านเกิดและครอบครัวไปไกล
“แกคิดว่าแกมีสิทธิ์เลือกเหรอ? คิดดูดีๆ เมื่อวานนี้แกอยู่ไหน แล้ววันนี้แกอยู่ไหน”
อะเมอร์จะเตรียมชุดให้เธอไว้ใส่ จึงทิ้งให้เธออยู่บ้านตามลำพัง
การถูกขู่ว่าจะต้องไปซีเรีย ปลุกให้นาเดียต้องรีบหนีอีกครั้ง
…แม้ว่าเธอจะกลัวประสบการณ์หลบหนีครั้งแรก แต่ครั้งนี้เธอสบโอกาสที่ประตูไม่ได้ล็อก และบ้านไม่มียามเฝ้า เธอจึงออกมายืนอยู่นอกบ้านได้อย่างง่ายดาย
*** หลังจากนั้น ***
เธอเดินเตร็ดเตร่อยู่บนทางเท้าของโมซูลอย่างไร้จุดหมาย เธอรู้ว่าจะต้องมองหาครอบครัวยากจน เพราะมีโอกาสมากกว่าที่คนพวกนี้จะไม่ได้สวามิภักดิ์ ISIS แต่ต้องทนอยู่เพราะตอนเกิดสงครามนั้นไม่มีเงินย้ายหนีไปที่อื่น
...มันมีความเสี่ยงว่าพวกเขาอาจส่งตัวเธอกลับเพื่อเอาเงินรางวัล แต่เธอก็มีทางเลือกไม่มาก
นาเดียเดินมากว่า 2 ชั่วโมง จนฟ้ามืดมองไม่เห็นทางข้างหน้าแล้ว พอแล้ว เธอจึงกลั้นใจเคาะประตูบ้านหลังหนึ่ง
…ประตูเปิดออก ข้างในเป็นครอบครัว 6-7 คน มีตั้งแต่เด็กทารก ไปจนถึงคนชรา เธอเดินเข้าไปข้างในทันที
“ขอร้องล่ะ ช่วยฉันที ฉันเป็นยาซิดี พวก ISIS บุกหมู่บ้านของฉัน จับตัวฉันเป็นซาบายา”
“เธอต้องการอะไรจากเรา” หญิงชราคนหนึ่งถาม
“ลองจินตนาการว่าถ้าลูกสาวของคุณถูกลักพาตัวจากครอบครัว และต้องถูกข่มขืนและทุกข์ทรมาน คุณจะรู้สึกอย่างไร? …ขอร้องล่ะ โปรดช่วยฉันที” นาเดียอ้อนวอน
ครอบครัวนี้ดีกับนาเดียเหลือเกิน พวกเขามาจากเผ่าอะซาวีที่มีความใกล้ชิดกับยาซิดีมาช้านาน พวกเขาวางแผนพาเธอหลบหนี โดยจะมีผู้ชายคนหนึ่งในครอบครัว ชื่อ นัสเซอร์ ไปส่งเธอที่เขตเคอร์ดิสถาน เธอจะทำทีเป็นภรรยาของเขาที่เดินทางไปเมืองนั้นเพื่อเยี่ยมญาติ
นาเดียตระหนักว่าครอบครัวนี้ต้องเสี่ยงภัยเพื่อเธอมากเพียงใด… หากถูกจับได้ พวก ISIS อาจมาฆ่าพวกเขา จับผู้หญิงไปเป็นทาส และเกณฑ์ผู้ชายไปเป็นทหาร
“เราสาบานว่าต่อแต่นี้ เราจะช่วยผู้หญิงแบบเธอให้มากขึ้น” ครอบครัวนี้สัญญา
“มีหญิงสาวอีกมากมายต้องการคนอย่างคุณ” นาเดียตอบ
หลังจากผ่านจุดตรวจของ ISIS ออกจากโมซูลมาได้ เธอกับนัสเซอร์นั่งแท็กซี่มาถึงเออร์บิล (ในเขตเคอร์ดิสถานอิรัก) ที่นั่นทหารเคิร์ดได้สัมภาษณ์เธอและเธอเปิดเผยข้อมูลไป
ภาพแนบ: เออร์บิล
เมื่อจะต้องจากกัน นาเดียได้แต่ร้องไห้กับนัสเซอร์ เธอรู้สึกกลัวแทนเขามากและรู้สึกผิดที่ทำให้พวกเขาต้องเสี่ยงอันตราย
“พราะคุณทำสิ่งนี้เพื่อฉัน คุณช่วยชีวิตฉันไว้” นาเดียร้องไห้
“มันเป็นหน้าที่ของฉัน เท่านั้นเอง” นัสเซอร์ตอบ “ขอพระเจ้าทรงสถิตอยู่กับเธอ นาเดีย”
“ขอพระเจ้าทรงสถิตอยู่กับเธอ นัสเซอร์” นาเดียตอบ เธอสวดมนต์ขอให้พระเจ้าของยาซิดีให้ช่วยคุ้มครองครอบครัวเขา
หลังจากนั้นกลายเป็นว่าเรื่องราวของเธอกลับถูกเผยแพร่ออกไป (จากพวกเคิร์ดที่สัมภาษณ์เธอนั่นแหละ เป็นเพราะว่าเคิร์ดอิรักแตกแยกกันเอง และพวกนี้ต้องการให้ข่าวโจมตีเพซเมอร์กาที่ไม่สามารถปกป้องชาวยาซิดีได้)
นาเดียได้รับการช่วยเหลือมาอยู่ในเคอร์ดิสถานอิรัก แล้วลี้ภัยต่อไปยังประเทศเยอรมนี
ตอนแรกเธอถูกจับตัวขึ้นรสบัสจากโคโชไปยังโมซูลพร้อมกับหญิงยาซิดีคนอื่นๆ เธอถูกลวนลามตั้งแต่อยู่บนนั้น ยิ่งเธอหวีดร้องแสดงความกลัวและขยะแขยง นักรบ ISIS ก็ยิ่งเล่นงานเธอเต็มที่
“ชายคนนี้วางมือบนหน้าอกเราตลอดเวลา หมอนี่ลวนลามเรา และไม่ปล่อยเราไว้ตามลำพัง” นาเดียฟ้อง เธอคิดว่ามุสลิมน่าจะต้องมีกฎสำหรับการปฏิบัติต่อสตรีที่ดี
“พวกแกคิดว่าแกมาที่นี่เพื่ออะไร ถามจริงๆ ไม่รู้เหรอ?” นักรบ ISIS ถามเธอกลับ “ฉันไม่รู้นะว่าพวกแกคิดว่าเราพาตัวมาทำไม แต่พวกแกไม่มีทางเลือก พวกแกมานี่เพื่อเป็นซาบายา พวกแกจะต้องทำทุกอย่างที่เราสั่ง และถ้ามีใครหวีดร้องขึ้นมาอีก …เรื่องจะแย่ลงสำหรับพวกแก เชื่อฉันสิ”
ภาพแนบ: คนที่แห่หนี ISIS เข้าเคอร์ดิสถาน
นาเดียหวนคิดไปถึงนิทานเรื่อง “เลย์ลากับมัจนัน” ซึ่งเป็นนิทานอาหรับโบราณ เนื้อหาว่าด้วยคู่รักหนุ่มสาวที่ไม่สมหวัง ตอนที่แม่ของเธอเล่าให้ฟังนั้น ได้ทำการปิดเรื่องด้วยการชี้ไปที่ดาวบนท้องฟ้าและบอกว่า พระเจ้าทรงเปลี่ยนสองคนนี้ให้เป็นดาว เพราะสองคนนี้สวดมนต์ขอให้ได้อยู่คู่กันหลังความตาย
นาเดียจึงสวดมนต์บ้างว่า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดเปลี่ยนข้าพระองค์ให้เป็นดาวเพื่อให้ข้าพระองค์อยู่บนฟ้าเหนือรสบัสคันนี้ ถ้าพระองค์ทรงทำได้หนหนึ่งแล้ว พระองค์ทรงสามารถทำได้อีก”
...แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น…
ตอนแรกไม่มีใครทราบด้วยซ้ำว่า ซาบายา แปลว่าอะไร พวกเธอค่อยมาทราบก็เมื่อถูกส่งไปถึงตลาดค้าทาส…
ภาพแนบ: ภาพจากเรื่องเลย์ลากับมัจนัน
*** นาเดียเป็นซาบายา ***
พวก ISIS ปฏิบัติต่อคนนอกศาสนาแตกต่างกัน …สำหรับคนยิวหรือคริสต์นั้นมักจะได้รับการดูแลให้ความปลอดภัย เพียงแต่ต้องจ่ายภาษีที่เรียกว่า “ญิซยะฮ์” ซึ่งเป็นภาษีสำหรับคนนอกศาสนาที่อยู่ในการปกครองของรัฐมุสลิม
…แต่ ISIS เชื่อว่าพวกยาซิดีนั้นนับถือซาตาน ดังนั้นไม่จำเป็นต้องปฏิบัติด้วยแบบมนุษย์… ผู้ชายจะถูกฆ่า เด็กผู้ชายจะถูกล้างสมองไปเป็นทหาร
ส่วนผู้หญิงจะต้องเป็นทาสกาม สมาชิก ISIS มักใช้พวกนี้ทำงานบ้าน และระบายความใคร่
“ซาบายา” เป็นคำที่ ISIS ใช้เรียกทาสกามประเภทนี้ พวกเขาจะเรียกพวกเธอว่า “ซาบายาหมายเลข 1 ซาบายาหมายเลข 2 ฯลฯ”
ภาพแนบ: โฆษณาชวนเชื่อของ ISIS บอกว่าถ้าเดินทางมาร่วมจะได้คู่ครอง
และจากการตีความคัมภีร์อัลกุรอานแบบสุดโต่งของ ISIS ทำให้พวกเขาเชื่อว่าการข่มขืนกระทำชำเราทาสนั้นไม่เป็นบาป พวกนี้จึงใช้ทาสกามเป็นสินค้า เป็นรางวัลบำเหน็จให้เหล่าทหารที่มีผลงานดี หรือเป็นการโฆษณาดึงดูดให้อาสาสมัครหนุ่มฉกรรจ์จากทั่วโลกมาสวามิภักดิ์ ISIS มากขึ้น เพื่อหาเมีย…
พวก ISIS ซื้อขายทาสยาซิดีอย่างเป็นกิจจะลักษณะ มีการพัฒนาแอพลิเคชันมือถือเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ผู้หญิงยิ่งอายุน้อยก็ยิ่งมีราคาแพง เพราะถือเป็นของสด
…ผู้หญิงชาวยาซิดีต้องเผชิญการกดขี่ข่มเหงที่โหดร้ายเกินจินตนาการ โดยนอกจากต้องรองรับอารมณ์ของพวกก่อการร้ายแล้ว ยังถูก “เมียแต่ง” ของพวกนั้นรังแกต่างๆ ด้วยความริษยาที่สามีไปมีอะไรกับ “เมียทาส”
ภาพแนบ:ใบปลิวเกี่ยวกับทาสกามของ ISIS
ที่ตลาดค้าทาส มีดูชายร่างยักษ์ที่ดูเหมือนสัตว์ประหลาดคนหนึ่งแยกตัวนาเดียจากครอบครัว และพาตัวเธอไป
เธอหวาดกลัวมาก แล้วทุ่มตัวลงกอดเท้าของชายอีกคนที่ดูผอมบางกว่า “ขอร้องล่ะ พาฉันไปด้วย จะทำอะไรก็ได้ ขอแค่ไม่ได้ไปกับไอ้ยักษ์นี่”
ปรากฏว่าชายที่เธอกอดเท้านั้นเป็นผู้พิพากษาที่ไม่มีใครกล้าขัด ชื่อ ซัลมาน
…แล้วก็ดูเหมือนเขาจะถูกใจเธอ
มาถึงตอนนั้นนาเดียก็ได้แต่กลับมาสงสัยตัวเองแล้วว่า ตัดสินใจผิดพลาดครั้งใหญ่ไปแล้วหรือเปล่า?
ภาพแนบ: แอพซื้อหาทาสกามของ ISIS
วันต่อมา เธอเดินเข้าอาคารศาลโมซูล เพื่อไป “จดทะเบียน” รับรองว่าใครเป็นเจ้าของซาบายาที่ซื้อมาอย่างเป็นทางการ
เมื่อเธออยู่ต่อหน้าผู้พิพากษา เธอก็รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อ รีบอธิษฐานในใจขออภัยจากพระเจ้า …ข้าพระองค์จะเชื่อในพระองค์เสมอ ข้าพระองค์จะเป็นยาซิดีตลอดไป
ผู้พิพากษามองเธอ สั่งให้เธอยกนิกอบขึ้น แล้วถามเธอว่า “รู้จักชะฮาดะห์ไหม?”
“ค่ะ” นาเดียตอบ มันเป็นบทสวดง่ายๆ ของอิสลามที่ว่า “ไม่มีพระเป็นเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์” การพูดสิ่งนี้ จะเป็นการปฏิญาณว่าตนเองเป็นมุสลิม หรือก็คือ นาเดียประกาศเปลี่ยนศาสนา ณ ตอนนั้นเอง
ภาพแนบ: อาคารศาลโมซูล
เธอท่องมันจนจบ แล้วผู้พิพากษาก็บอกเธอว่า “ขอพระเจ้าอวยพร สิ่งที่เธอทำนั้นดีมากๆ”
จากนั้นเขาได้หันไปทางคนที่เป็นเจ้าของเธอ “เธอเป็นซาบายาของคุณแล้ว ทำกับเธอได้ตามต้องการ”
ตอนขากลับ ซัลมานได้ขู่เธอว่า “เขาสามารถใช้ภาพคอยติดตามว่าเธออยู่ไหน และอยู่กับใคร และถ้าเธอพยายามหนี เขาจะพิมพ์รูปพวกนี้เป็นร้อยๆ สำเนาพร้อมชื่อและเบอร์โทรของฉัน แขวนไว้ที่จุดตรวจทุกที่ เพื่อให้แน่ใจว่าเธอจะกลับมาหาฉัน เธอจะต้องกลับมาหาฉันแน่ๆ”
…แน่นอนว่าเธอเชื่อเขา…
ภาพแนบ: การแต่งงานในเขต ISIS
ในช่วงที่เธออยู่กับซัลมานหลายวัน เธอพยายามหลอกล่อว่าเธอมีประจำเดือนอยู่ พยายามถ่วงเวลาไว้ให้นานที่สุด แต่วันหนึ่งซัลมานก็ไม่ทนรอแล้ว บอกว่าจะมีเพศสัมพันธ์กับเธอ ไม่ว่าจะมีประจำเดือนอยู่หรือไม่
สัมผัสของซัลมานป่าเถื่อนรุนแรง เธอส่งเสียงดังลั่นซึ่งน่าจะปลุกคนทั้งเมืองให้รู้ว่าผู้พิพากษา ISIS คนนี้กำลังข่มขืนกระทำชำเราซาบายาของเขา
แต่นั่นก็ไม่ช่วยอะไร ส่วนเธอก็ได้แต่ร้องไห้หาแม่…
ภาพแนบ:เหยื่อชาวยาซิดี
อยู่มาวันหนึ่ง นาเดียนึกถึงตอนที่เธอกำลังมองออกไปนอกหน้าต่างของบ้าน มองไปจากชั้นสองเห็นกำแพงอิฐ เห็นว่านักรบ ISIS ที่ปกติเดินลาดตระเวนอยู่เสมอๆ ไม่อยู่แล้ว
ถ้าจะหนีก็ต้องหนีตอนนี้แหละ
เธอค่อยๆ พาดขาออกนอกหน้าต่าง ตามด้วยเอาลำตัวออกมา เท้าพยายามควานหาอิฐเป็นหลัก แขนที่เกาะกรอบหน้าต่างนั้นสั่นระริก แต่เธอทรงตัวได้อย่างรวดเร็ว และกำลังมองหาอิฐชั้นล่างเพื่อเหยียบต่อ
…แต่แล้วทันใดนั้นเธอก็ได้ยินเสียงขึ้นนกปืน…
“กลับเข้าข้างใน!” เสียงผู้ชายตะโกนมา …เธอตัวแข็งทื่อ…
เมื่อเธอปีนกลับเข้ามา ซัลมานกับนักรบ ISIS อีก 4 คนสั่งให้เธอถอดเสื้อผ้า หลังจากนั้นพวกเขาก็รุมข่มขืนเธออย่างโหดร้าย…
ภาพแนบ: เหยื่อชาวยาซิดี
เธอตื่นขึ้นมาตอนเช้าในสภาพเปลือยเปล่า ก่อนที่จะได้รับแจ้งว่าซัลมานขายเธอให้คนอื่นแล้ว
นาเดียถูกนำตัวมายังเขตฮัมดานิยาห์ ทางเหนือของนิเนเวห์ ให้ไปพบกับเจ้าของคนใหม่ ชื่อ มัววายา
บ้านของมัววายาเป็นบ้านที่เคยเป็นของคนอื่นมาก่อน นาเดียได้อยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยหนังสือ และมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเครื่องหนึ่งที่จอดับไป ซึ่งน่าจะเป็นห้องของนักศึกษาอายุพอๆ กับเธอคนหนึ่งที่หนีไปแล้ว
...แม้ว่าจะมัววายาจะไม่ได้แสดงท่าทางรังเกียจเธอมากเท่ากับซัลมาน แต่เขาก็ยังข่มขืนเธอเสมอ …เรื่องโฉดชั่วเช่นนี้ดำเนินไปทุกวันจนเธอไม่รู้วันรู้เวลา
ความคิดเรื่องการหลบหนีของนาเดียค่อยๆ หลุดลอยไป และความทรงจำในอดีตก็ค่อยๆ เลือนราง ร่างกายของเธอเหมือนกับไม่ใช่ร่างกายของตัวเองอีกต่อไป
ภาพแนบ: เหยื่อชาวยาซิดี
วันหนึ่งมัววายาพาเธอไปยังจุดตรวจที่เชื่อมระหว่างฮัมดานิยาห์กับโมซูล ตอนนั้นเธอรู้สึกไม่สบาย
เมื่อมีนักรบ ISIS ตัวใหญ่คนหนึ่งเดินเข้ามา เธอก็บอกเขาว่า “ขอร้องล่ะ ฉันไม่สบายจริงๆ”
นักรบนั้นตอบมาว่า “ไม่รู้เหรอว่าฉันชอบมากแค่ไหนเมื่อแกอยู่ในสภาพแบบนี้ ไม่เข้าใจเหรอว่าฉันชอบเวลาที่แกอ่อนแอ”
ปรากฏว่ามัววายาเบื่อหน่ายนาเดียแล้ว และขายเธอให้เจ้าของคนใหม่ เป็นนักรบชื่อ อะเมอร์
และอะเมอร์วางแผนนำตัวเธอไปซีเรีย
ภาพแนบ: ชาวยาซิดีที่พลัดถิ่น
“ฉันไม่อยากไปซีเรีย!” นาเดียขอร้อง
“แกต้องรอที่นี่ เราอาจไปถึงซีเรียทันพรุ่งนี้”
“บอกแล้วไง ไม่มีทางที่ฉันจะไปซีเรีย!” เธอรู้สึกโกรธมากที่ต้องแยกจากบ้านเกิดและครอบครัวไปไกล
“แกคิดว่าแกมีสิทธิ์เลือกเหรอ? คิดดูดีๆ เมื่อวานนี้แกอยู่ไหน แล้ววันนี้แกอยู่ไหน”
อะเมอร์จะเตรียมชุดให้เธอไว้ใส่ จึงทิ้งให้เธออยู่บ้านตามลำพัง
การถูกขู่ว่าจะต้องไปซีเรีย ปลุกให้นาเดียต้องรีบหนีอีกครั้ง
…แม้ว่าเธอจะกลัวประสบการณ์หลบหนีครั้งแรก แต่ครั้งนี้เธอสบโอกาสที่ประตูไม่ได้ล็อก และบ้านไม่มียามเฝ้า เธอจึงออกมายืนอยู่นอกบ้านได้อย่างง่ายดาย
*** หลังจากนั้น ***
เธอเดินเตร็ดเตร่อยู่บนทางเท้าของโมซูลอย่างไร้จุดหมาย เธอรู้ว่าจะต้องมองหาครอบครัวยากจน เพราะมีโอกาสมากกว่าที่คนพวกนี้จะไม่ได้สวามิภักดิ์ ISIS แต่ต้องทนอยู่เพราะตอนเกิดสงครามนั้นไม่มีเงินย้ายหนีไปที่อื่น
...มันมีความเสี่ยงว่าพวกเขาอาจส่งตัวเธอกลับเพื่อเอาเงินรางวัล แต่เธอก็มีทางเลือกไม่มาก
นาเดียเดินมากว่า 2 ชั่วโมง จนฟ้ามืดมองไม่เห็นทางข้างหน้าแล้ว พอแล้ว เธอจึงกลั้นใจเคาะประตูบ้านหลังหนึ่ง
…ประตูเปิดออก ข้างในเป็นครอบครัว 6-7 คน มีตั้งแต่เด็กทารก ไปจนถึงคนชรา เธอเดินเข้าไปข้างในทันที
“ขอร้องล่ะ ช่วยฉันที ฉันเป็นยาซิดี พวก ISIS บุกหมู่บ้านของฉัน จับตัวฉันเป็นซาบายา”
“เธอต้องการอะไรจากเรา” หญิงชราคนหนึ่งถาม
“ลองจินตนาการว่าถ้าลูกสาวของคุณถูกลักพาตัวจากครอบครัว และต้องถูกข่มขืนและทุกข์ทรมาน คุณจะรู้สึกอย่างไร? …ขอร้องล่ะ โปรดช่วยฉันที” นาเดียอ้อนวอน
ครอบครัวนี้ดีกับนาเดียเหลือเกิน พวกเขามาจากเผ่าอะซาวีที่มีความใกล้ชิดกับยาซิดีมาช้านาน พวกเขาวางแผนพาเธอหลบหนี โดยจะมีผู้ชายคนหนึ่งในครอบครัว ชื่อ นัสเซอร์ ไปส่งเธอที่เขตเคอร์ดิสถาน เธอจะทำทีเป็นภรรยาของเขาที่เดินทางไปเมืองนั้นเพื่อเยี่ยมญาติ
นาเดียตระหนักว่าครอบครัวนี้ต้องเสี่ยงภัยเพื่อเธอมากเพียงใด… หากถูกจับได้ พวก ISIS อาจมาฆ่าพวกเขา จับผู้หญิงไปเป็นทาส และเกณฑ์ผู้ชายไปเป็นทหาร
“เราสาบานว่าต่อแต่นี้ เราจะช่วยผู้หญิงแบบเธอให้มากขึ้น” ครอบครัวนี้สัญญา
“มีหญิงสาวอีกมากมายต้องการคนอย่างคุณ” นาเดียตอบ
หลังจากผ่านจุดตรวจของ ISIS ออกจากโมซูลมาได้ เธอกับนัสเซอร์นั่งแท็กซี่มาถึงเออร์บิล (ในเขตเคอร์ดิสถานอิรัก) ที่นั่นทหารเคิร์ดได้สัมภาษณ์เธอและเธอเปิดเผยข้อมูลไป
ภาพแนบ: เออร์บิล
เมื่อจะต้องจากกัน นาเดียได้แต่ร้องไห้กับนัสเซอร์ เธอรู้สึกกลัวแทนเขามากและรู้สึกผิดที่ทำให้พวกเขาต้องเสี่ยงอันตราย
“พราะคุณทำสิ่งนี้เพื่อฉัน คุณช่วยชีวิตฉันไว้” นาเดียร้องไห้
“มันเป็นหน้าที่ของฉัน เท่านั้นเอง” นัสเซอร์ตอบ “ขอพระเจ้าทรงสถิตอยู่กับเธอ นาเดีย”
“ขอพระเจ้าทรงสถิตอยู่กับเธอ นัสเซอร์” นาเดียตอบ เธอสวดมนต์ขอให้พระเจ้าของยาซิดีให้ช่วยคุ้มครองครอบครัวเขา
หลังจากนั้นกลายเป็นว่าเรื่องราวของเธอกลับถูกเผยแพร่ออกไป (จากพวกเคิร์ดที่สัมภาษณ์เธอนั่นแหละ เป็นเพราะว่าเคิร์ดอิรักแตกแยกกันเอง และพวกนี้ต้องการให้ข่าวโจมตีเพซเมอร์กาที่ไม่สามารถปกป้องชาวยาซิดีได้)
นาเดียได้รับการช่วยเหลือมาอยู่ในเคอร์ดิสถานอิรัก แล้วลี้ภัยต่อไปยังประเทศเยอรมนี
แสดงความคิดเห็น
***โศกนาฎกรรมของ นาเดีย มูรัด***
เนื่องจากประชากรอิรักส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ และรัฐบาลอิรักหลายยุคหลายสมัยจึงได้พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะกลืนชาติพันธุ์ต่างๆ ให้กลายเป็นอาหรับตามแนวคิดชาตินิยมด้วย โชคดีนาเดียอาศัยอยู่ในหมู่บ้านโคโช ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวยาซิดี ตั้งอยู่ในเขตซินจาร์ของอิรักเหนือบริเวณโดยรอบเป็นภูเขา ซึ่งอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจใดๆ ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบนักตอนที่มีการพยายามกลืนชาติดังกล่าว
ภาพประกอบ หญิงยาซิดีในเครื่องแต่งกายโบราณ
ชาวโคโชมีประมาณ 200 ครอบครัว ถึงอย่างนั้นทุกครอบครัวก็สนิทสนมกันหมด พวกเขาอยู่กันอย่างใกล้ชิด ไปมาหาสู่กันเสมอ แม้มีฐานะยากจน แต่ก็มีความสุขตามอัตภาพ และสืบสานวัฒนธรรมของพวกตนมาแต่โบราณ
ด้วยความเป็นศาสนาปิด และมีประชากรน้อย (ทั้งในโลกมีชาวยาซิดีประมาณ 1,500,000 คน อยู่ในอิรัก 500,000 - 700,000 คน) พวกยาซิดีจึงถูกกดขี่เสมอ… นาเดียบอกว่าชนชาติของเธอถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาแล้วมากกว่า 70 ครั้ง โดยผู้ที่สังหารยาซิดีมักอ้างว่าเทพที่มีสัญลักษณ์เป็นนกยูงที่พวกเขาบูชานั้นคือซาตาน
ภาพแนบ: เทพนกยูงของยาซิดี เรียกว่า ทาอุส เมเลก หรือเมเลก ทาอุส
…ด้วยเหตุนี้ชาวยาซิดีจึงหวาดกลัวคำว่าซาตาน หรือภาษาอาหรับคือ “ชัยฏอน” มาก ถึงกับไม่ยอมพูดคำดังกล่าว ความเชื่อนี้ครอบคลุมไปถึงการเลี่ยงพูดศัพท์ภาษายาซิดีที่ออกเสียงคล้ายคำว่า "ชัยฏอน" เช่นคำว่ากะหล่ำปลี และสีน้ำเงินด้วย
อย่างไรก็ตามในระดับชาวบ้านแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างชาวยาซิดีกับชาวอาหรับ (มุสลิมซุนนี) ที่อาศัยอยู่ข้างเคียงกันก็มิได้แย่
พวกเขาพึ่งพาอาศัยกันมาโดยตลอด นาเดียเห็นมีหมอมุสลิมมารักษาผู้ป่วยในหมู่บ้านของเธอเสมอ และมีพ่อค้ามุสลิมเอาสินค้าแปลกๆ มาขายเรื่อยๆ ชาวยาซิดีเองยังไปรับจ้างคนกลุ่มอื่นทำงานบ่อยๆ พวกเขาเป็นมิตรกับทั้งชาวอาหรับและเคิร์ด
ภาพแนบ: แผนที่ชาติพันธุ์ในประเทศอิรัก
คนโคโชมีเพื่อนมุสลิมมากมาย แต่นาเดียก็มองว่า “ไม่เคยสนิทใจกันอย่างที่สุด” เพราะหลักศาสนานั้นต่างกัน เช่นเมื่อชาวยาซิดีเชิญเพื่อนมุสลิมที่สนิทมางานแต่งงาน ชาวมุสลิมก็มักปฏิเสธอาหารเพราะกลัวจะผิดหลัก แม้ว่าการปฏิเสธนั้นจะสุภาพมากๆ แต่ก็มักทำให้เกิดบรรยากาศอึนๆ
...อย่างไรก็ตามนั่นยังไม่ใช่เรื่องใหญ่นัก เมื่อเทียบกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังอเมริกาทำสงครามโค่นล้มเผด็จการ ซัดดัม ฮุสเซน ในปี 2003…
ในตอนนั้นทุกอย่างเหมือนจะดีขึ้น ช่วงแรกมีทหารอเมริกันเข้ามาเยี่ยมพวกโคโซบ่อยถึงสัปดาห์ละครั้ง พร้อมแจกเสบียง และให้สัญญาว่าจะจัดหาอาชีพ การศึกษา และความมั่นคงปลอดภัยให้ ต่อมายังมีการตั้งเสาสัญญาณมือถือกับจานดาวเทียม ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พวกเขาไม่ต้องดูแต่รายการทีวีของรัฐบาลอิรัก โดยสามารถเลือกดูข่าวของพวกเคิร์ด หรือดูละครน้ำเน่าจากตุรกีก็ยังได้ งานต่างๆ ที่เคยถูกจำกัด ไม่ให้ชาวยาซิดีทำเช่น งานในกองทัพและงานตำรวจ ก็มีการเปิดโอกาสให้ทำได้
…แต่นั่นไม่ใช่แง่มุมทั้งหมดของเรื่องนี้…
ภาพแนบ: ทหารอเมริกันถ่ายรูปหน้าอนุสรณ์ “มือแห่งชัยชนะ” ในกรุงแบกแดด
เมื่ออเมริกาทำสงครามกับซัดดัม ได้เกลี้ยกล่อมพวกชีอะห์และเคิร์ดที่เคยถูกซัดดัมกดขี่มาร่วมสู้ นั่นทำให้เมื่อชนะแล้ว พวกชีอะห์และเคิร์ดได้รับอำนาจเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก ขณะที่พวกอาหรับซุนนีนั้นกลับเป็นฝ่ายต้องกล้ำกลืนฝืนใจ
…ในตอนที่ซัดดัมถูกโค่นล้มนั้นนาเดียมีอายุเพียง 10 ปี แต่เธอก็สัมผัสบรรยากาศอันทุกข์ระทมในหมู่บ้านชาวอาหรับสุหนี่ที่อยู่รอบข้างได้
…ตอนนั้นเกิดบรรยากาศแห่งความหวาดระแวงระหว่างคนต่างเผ่าต่างศาสนาอบอวลไปทั่ว…
ภาพแนบ: การประท้วงของมุสลิมสุหนี่ในอิรัก
ชาวอาหรับสุหนี่ที่กลับเป็นฝ่ายถูกกดขี่และสิ้นหวังได้หันเข้าหาศาสนามากขึ้น คนที่เคยเป็นมิตรรักหลายๆ คนก็เริ่มไปเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มที่มีแนวทางรุนแรง เวลาผ่านไป ทหารอเมริกันมาหาชาวบ้านโคโชน้อยลง เพราะติดปัญหาต้องจัดการการก่อความไม่สงบในจุดต่างๆ ก็แทบจะมีทหารไม่พออยู่แล้ว ห้วงบรรยากาศนั้นกลุ่มคลั่งศาสนาหัวรุนแรงที่เรียกว่า ISIS ก็เติบโตแข็งกล้าขึ้นเป็นอันมากในหมู่พวกอาหรับซุนนี พวกนี้โหดร้ายทารุณ มีชื่อเสียงฉาวโฉ่ แม้กระนั้นพวกมันก็ได้รับการสนับสนุนมาก โดยอาศัยความเกลียดชังของกลุ่มสุหนี่มาหล่อเลี้ยง
...บริเวณหมู่บ้านเริ่มมีคดีผู้คนชาวยาซิดีก็ถูกกลุ่มหัวรุนแรงจับไปเรียกค่าไถ่... ชาวนาสองคน รวมทั้งคนงานของบ้านนาเดียถูกจับตัวไป ค่าไถ่นั้นสูงมากเป็นเงินจำนวนที่คนในหมู่บ้านโคโชไม่เคยแม้แต่ฝันถึง...
“หากไม่มีเงินจ่ายก็เปลี่ยนศาสนาเป็นมุสลิมเสีย” นี่คือสารที่กลุ่มหัวรุนแรงส่งมา
…สุดท้ายคนที่ถูกจับบางคนก็หนีมาได้ แต่บางคนก็หายไปเลย…
เพราะไร้กำลัง พวกเขาจึงพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง แต่กลับถูกระรานอยู่เสมอ โดยเฉพาะกลุ่มคลั่งศาสนาที่ยกเรื่องการบูชาซาตานมาเบียดเบียนพวกเขาอีก โดยนอกจากลักพาตัวคนแล้ว ยังมีการขโมยไก่และแกะตัวผู้ไปจากหมู่บ้านโคโชด้วย
…รัฐบาลอิรักในยุคบ้านเมืองวุ่นวายนั้นไม่ได้ช่วยเหลือชาวโคโช ดังนั้นสิ่งเดียวที่กั้นกลางระหว่างโคโชกับ ISIS คือกองกำลัง “เพชเมอร์กา” ที่รัฐบาลเคิร์ดอิรัก (หมายถึงเคอร์ดิสถานอิรัก หรือเขตปกครองตนเองของเคิร์ดที่อเมริกาตบรางวัลให้เคิร์ดหลังโค่นซัดดัม) ส่งมาช่วย
ภาพแนบ: ภูเขาซินจาร์
พวกเพชเมอร์การับประกันเป็นมั่นเหมาะว่าจะปกป้องโคโชดีกว่าเออร์บิล หรือเมืองหลวงของเขตเคอร์ดิสถานเสียอีก
…เวลาผ่านไปอีกหลายปี ความขัดแย้งในอิรักก็มิได้หมดไป แม้อเมริกาเคยสามารถกำราบพวก ISIS ลงได้ระยะหนึ่ง แต่การกำราบนั้นไม่เด็ดขาด และอเมริกามีปัญหาเรื่องงบประมาณและการขาดความชอบธรรมในการทำสงครามมากขึน้เรื่อยๆ
…ดังนั้นอเมริกาจึงยอมถอนทหารออกจากอิรักในปี 2011 ทั้งที่ยังจัดการกับภัยคุกคามนี้ไม่หมด…
ภาพแนบ: ทหารอเมริกันชุดสุดท้ายออกจากอิรัก
*** ISIS ผงาด ***
สุญญากาศทางอำนาจที่เกิดหลังการจากไปของอเมริกา ทำให้เชื้อไฟที่ยังเหลืออยู่ของพวก ISIS เติบโตขึ้น พวกเขากลายเป็นกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติที่มีอิทธิพลมากทั้งในซีเรีย และอิรัก
…ถึงปี 2014 ตอนนั้นนาเดียอายุ 21 ปีแล้ว มีข่าวว่ากลุ่มก่อการร้าย ISIS มีกำลังกล้าแข็งถึงขั้นบุกเข้าตีเมืองโมซูล เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอิรักแตก บีบให้กองทัพรัฐบาลอิรักต้องถอยร่นไม่เป็นกระบวน ข่าวนี้ทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านโคโชรู้สึกหวาดกลัวอกสั่นขวัญแขวน
…เพราะเมืองโมซูลนี้อยู่ห่างจากหมู่บ้านโคโชเพียง 150 กิโลเมตร
ภาพแนบ: เมืองโมซูล
ตอนนี้รัฐบาลเคิร์ดได้ส่งทหารเพชเมอร์กามาช่วยเหลือเพิ่ม ชาวโคโชปรึกษากันว่าจะอพยพไปเขตเคอร์ดิสถาน ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าปลอดภัยกว่าดีไหม? …แต่การไปที่นั่นแปลว่าพวกเขาต้องทิ้งบ้านช่อง ทรัพย์สินกลายเป็นผู้ลี้ภัย มีชีวิตอยู่อย่างแออัดในค่ายผู้อพยพ…
มันไม่ใช่เรื่องง่าย หลายคนทำไม่ได้… พวกเขารู้สึกเสียดายหมู่บ้านที่ตนสร้างขึ้นมาจากน้ำพักน้ำแรง …สำหรับชาวโคโชนั้น พวกเขาต้องใช้เงินเก็บทั้งชีวิตจึงจะสร้างบ้านแบบที่ทำด้วยคอนกรีตขึ้นได้ นอกจากนั้นหากอพยพไปแล้ว จะทำอย่างไรกับฝูงแกะ? แล้วไหนจะพวกเด็กๆ อีกล่ะ จะลำบากกันอย่างไรบ้าง?
บางคนกลัวว่าถ้าย้ายออกไป คนอื่นๆ ที่จ้องอยู่ก็จะเข้ามาอยู่แทน เหมือนที่เคยเกิดขึ้นหลายครั้งสมัยรัฐบาลอิรักฆ่าล้างเผ่าพันธุ์พวกเคิร์ด แล้วเอาชาวอาหรับไปอาศัยแทนในบ้านร้างของชาวเคิร์ด
แผนที่การบุกของ ISIS ทางเหนือของอิรักช่วงกลางปี 2014 วงสีแดงคือภูเขาซินจาร์ วงสีเขียวคือกรุงแบกแดด
...สุดท้ายจึงมีการประชุมหมู่บ้านและมีข้อสรุปว่าทั้งหมู่บ้านจะไม่ย้ายออก ผู้นำหมู่บ้านหวังว่าความสัมพันธ์ที่ดีกับหมู่บ้านอาหรับซุนนีที่อยู่ใกล้ๆ กันจะช่วยคุ้มภัยได้ นอกจากนี้ทหารเพชเมอร์กายังน่าจะช่วยรบป้องกันหรือไม่ก็พาพวกเขาไปยังที่ปลอดภัยได้ตามที่รับปาก…
…แต่อนิจจาเมื่อ ISIS เข้ามาจริงๆ เหตุการณ์มันเลวร้ายมาก…
พวกหัวรุนแรงได้ระดมยิงระเบิดเข้ามาทำลายแนวต้านแตกโดยง่าย จากนั้นก็มีบุกเข้าอย่างรวดเร็วและโหดเหี้ยม
ภาพแนบ: ผู้ลี้ภัยชาวยาซิดี
และในสถานการณ์ที่ข้าศึกเกินกำลัง พวกทหารเพชเมอร์กาก็ได้รับคำสั่งจากหน่วยเหนือให้ “ถอย” เพื่อรักษากำลังพลไว้สู้ต่อ…
…ดังนั้นพวกเพชเมอร์กาที่เคยสัญญาว่าจะปกป้องโคโชดีกว่าเออร์บิลจึงล่าถอย …โดยไม่มีการเตือนชาวบ้าน และไม่มีการลำเลียงชาวบ้านหนีไปด้วย
…นั่นอาจจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องทางยุทธศาสตร์ แต่ก็เท่ากับเป็นการปล่อยให้ชาวยาซิดีตายอย่างเจ็บปวดที่สุด…
แม้ชาวยาซิดีจะพยายามตั้งแนวป้องกันขึ้นมาปกป้องตัวเองขนาดไหน แต่พวกเขาก็เป็นชาวบ้านไม่ใช่ทหาร พวก ISIS จึงบดขยี้กองกำลังป้องกันตัวเองฝ่ายยาซิดีที่มีไม่กี่ร้อยคนอย่างง่ายดาย นาเดียทราบทีหลังว่าที่ ISIS สามารถทำการใหญ่ได้ขนาดนี้ เพราะตอนนั้นหมู่บ้านอาหรับซึนนีรอบๆ ให้การต้อนรับสนับสนุนพวกเขาอย่างดี …โดยไม่สนใจพวกยาซิดีที่เคยเป็นเพื่อนบ้านกันมาจะเป็นอย่างไร
“พวกแกอาจจะสงสัยว่าทำไมเราถึงเพิ่งมาโจมตีพวกแกตอนนี้” พวก ISIS ที่จับตัวนาเดียบอก “แต่ไม่เลย… เราได้ให้สัญญาณเตือนว่าจะโจมตีพวกแกมานานแล้ว ในตอนที่เราขโมยไก่ของพวกแก นั่นหมายถึงพวกเขาจะเอาผู้หญิงและเด็ก …และในตอนที่เราขโมยและฆ่าแกะตัวผู้ นั่นหมายถึงเราจะฆ่าผู้นำของพวกแก…”
…วันที่โคโชถูกยึดนั้นพวกผู้ชายยาซิดีรวมทั้งพี่น้องของนาเดียหกคนถูกฆ่าทิ้งหมด ผู้หญิงแก่บางคนเช่นแม่ของนาเดียก็ถูกฆ่าด้วย…
ตอนนั้นชาวยาซิดีที่รอดประมาณ 50,000 คนสามารถหนีพวก ISIS ขึ้นเขาซินจาร์ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ และต้องติดอยู่ตรงนั้นหลายวันโดยขาดทั้งอาหาร, น้ำ, และยารักษาโรค
ภาพแนบ: ผู้ลี้ภัยชาวยาซิดี
ทัพเคิร์ดเพชเมอร์กาถอยไปรวมกำลังได้แล้วก็ยกกลับมาตีคืนภายในเวลา 5-6 วัน เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม ปี 2014
…แต่มันก็สายไปแล้ว สายไปมากจริงๆ…
มีผู้ชายชาวยาซิดีประมาณ 5,000 คน ถูกสังหาร และมีผู้หญิงกับเด็กราว 5,200 คน ถูกลักพาตัว
ภาพแนบ: หลุมศพหมู่ที่หมู่บ้านโคโชที่ถูกค้นพบภายหลัง
…นาเดียอยู่ในหมู่ผู้หญิงและเด็กชาวยาซิดีที่เหลือ และถูกขนขึ้นรถไปยังโมซูลซึ่งบัดนั้นถูกพวก ISIS ใช้เป็นฐานหลักในอิรัก
ตอนแรกเธอถูกจับตัวขึ้นรสบัสจากโคโชไปยังโมซูลพร้อมกับหญิงยาซิดีคนอื่นๆ เธอถูกลวนลามตั้งแต่อยู่บนนั้น ยิ่งเธอหวีดร้องแสดงความกลัวและขยะแขยง นักรบ ISIS ก็ยิ่งเล่นงานเธอเต็มที่
“ชายคนนี้วางมือบนหน้าอกเราตลอดเวลา หมอนี่ลวนลามเรา และไม่ปล่อยเราไว้ตามลำพัง” นาเดียฟ้อง เธอคิดว่ามุสลิมน่าจะต้องมีกฎสำหรับการปฏิบัติต่อสตรีที่ดี
“พวกแ