รายละเอียดการโอนลอยมอเตอร์ไซค์ขนส่งจตุจักร ไม่ยาก ไม่แพง อย่างที่คิด (2565)

สวัสดีครับ  กระทู้นี้จะมาแบ่งปันประสบการณ์การโอนลอยรถมอเตอร์ไซค์ที่ขนส่งนะครับ 

ผมคิดว่าเรื่องสิ่งต้องเตรียมน่าจะพอมีคนตั้งกระทู้บอกไว้อยู่แล้ว เช่น เล่ม เอกสารโอน เอกสารมอบอำนาจ สำเนา ฯลฯ 

ในกรณีนี้ ทำให้ง่ายที่สุด รถต้องเป็นรถต่อภาษี พรบ ให้ครบก่อนนะครับ  (ผมตามต่อภาษีที่ ตรอ. ครับ เพราะคิดว่าน่าจะง่ายกว่า ราคาไม่ห่างกับการต่อที่ขนส่ง แล้วก็ช่วงนั้นสภาพรถผมยังไม่ค่อยพร้อมเท่าไหร่ครับ)
...

- เข้าเรื่องการโอนจ้า -

การโอนจากต่างจังหวัดใช้เวลาทั้งหมด 2 วัน  (1 วันแล้วก็ เว้นรอประมาณ 2- 3 วัน เจ้าหน้าที่จะนัดมาใหม่ เพื่อรอดำเนินเรื่องย้ายรถเข้ากรุงเทพฯ)

สำหรับคนที่ขี่รถคลาสสิค รถเก่า ไม่ต้องกลัวเลยครับ ถ้ามีเล่ม ผมสนับสนุนให้ไปทำเรื่องให้เสร็จ ไม่ยากครับ !!!  แค่ทำรถให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยครับ 

รถผมเป็นรถวิบากโบราณ ยี่ห้อ Yamaha รุ่น Dt100x (100cc ปีพ.ศ. 2524) 



รถคันนี้ เจ้าของเก่าอยู่ที่สระบุรี ไม่เคยเจอกัน
ผมซื้อขายผ่านช่างคนกลาง มีเล่มทะเบียน สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของเก่า สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของเก่า สัญญาซื้อขายรถที่เตรียมไว้เผื่อครับ  
 

นอกนั้นให้เรานำเอกสารการโอน การมอบอำนาจ มากรอกเอาเอง **ในกรณีที่เราติดต่อกับเจ้าของรถคนเก่าลำบากครับ** // ที่ขนส่งเขาจะหยิบใบให้เรากรอกเองครับ แต่ถ้าอยากให้เสร็จไว ไปหาปริ๊นเอกสารมากรอกรอไว้ก่อนดีกว่าครับ เช่น เอกสารมอบอำนาจ เอกสารการโอน  

....

- วันแรก ย้ายรถเข้ากรุงเทพฯ -

 

แน่นอนครับ วันแรกก็จะเอ๋อๆหน่อย ไปผิดอาคารบ้างอะไรบ้าง

รถผมมาจากต่างจังหวัด ที่จะย้ายมากรุงเทพฯ
ถามไปถามมา เจ้าหน้าที่ให้ไปเริ่มที่อาคาร 2 เพื่อทำเรื่องย้ายรถเข้ากรุงเทพก่อนครับ 

ก็มึนๆขี่รถไปจอดที่อาคาร 2  เดินเข้าไปหน้าตึก จะมีโซนทำเรื่องรถมอเตอร์ไซค์ จะมีเจ้าหน้าที่นั่งเป็น 2 ส่วน 

ส่วนแรกจะให้คำแนะนำ ให้เรากรอกเอกสาร ตรวจเช็คเอกสารขาดหรือเกิน  ***ถ้าเรามีสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของรถไว้ กับเล่มทะเบียน ก็ไม่ต้องกลัวอะไรครับ เจ้าหน้าที่จะหยิบใบยื่นเรื่อง แล้วกรอกตามที่เจ้าหน้าที่บอกครับ 

แปปเดียวเสร็จ เจ้าหน้าที่ตรวจๆ ส่งไปส่วนต่อไป คือยื่นเอกสาร ตรวจเช็คเพื่อรับเข้าทำเรื่อง ปุ๊บปั๊บเสร็จครับ

เจ้าหน้าที่ให้นำเอกสารเข้าไปยื่นด้านในอาคาร 2 และจ่ายเงิน

- เสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท

- ถ่ายเอกสาร 2 บาท

รับบัตรคิว รอส่งเรื่องย้ายรถเข้า 

- เสียค่าคำขอย้าย 25 บาท 

วันแรกเสียเงินทั้งหมด 57 บาท !!!

เรียบร้อย เจ้าหน้าที่จะนัดวันประมาณ 3 วันถัดไปเพื่อรอดำเนินเรื่องครับ 

*** ก่อนกลับบ้าน เจ้าหน้าที่จะให้ไปตรวจสภาพรถไว้เลย
ขี่รถไปที่อาคาร 4

ขี่รถมาที่อาคาร 4 ก็ไม่มีอะไรครับ ยื่นเล่ม ยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที
ตรรวจเลขเครื่อง โครงรถ ตรงตามเล่มทะเบียน

เจ้าหน้าที่ใจดีครับ แต่ยังไงให้เราใส่อุปกรณ์ของรถให้ครบๆ 
เช่น บังโซ่ ไฟเลี้ยวติด ไฟหน้าติด แตรติด ไฟเบรคติด 

ทำรถให้เรียบร้อยไว้ก่อนก็อุ่นใจครับ 

เรียบร้อยครับ รอวันนัดค่อยมาอีกที ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จ่ายวันนัดครับ

- วันที่สอง รับรถกรุงเทพฯ และโอนชื่อรถ - 

วันนี้ไม่มึนแล้ว  มาเดินเรื่องเอกสาร ตรงไปที่อาคาร 2 เลยครับ

**** 1. วันนี้ อย่าลืมเอกสารตรวจสภาพ กับเล่ม เอกสารทุกอย่างเตรียมไว้กันเหนียว สำเนาด้วย !!! *****

**** 2 . วันนี้อย่าลืมถอดป้ายทะเบียน เพื่อนำไปคืนเจ้าหน้าที่ขนส่ง รถเราจะต้องย้ายเข้า  แล้วแลกป้ายทะเบียนเก่าเพื่อเปลี่ยนเป็นป้ายใหม่ เปลี่ยนเลขทะเบียน เป็นจังหวัดกรุงเทพฯวันนี้ครับ ***

แถวที่จอดตรงอาคาร 2 จะมีคนตาบอดรับถอดป้าย (ในกรณีถ้าเราลืมเอาอุปกรณ์ถอดแผ่นป้ายมา)

แต่ผมไปกระซิบพี่ยามให้ถอดให้ อิอิ

- เสียค่าถอดป้ายให้เขาไป 20 บาทครับ 

ถอดเรียบร้อย

เดินเข้าไปในส่วนทำเรื่องมอเตอร์ไซค์ ยื่นเอกสารนัด มาสอบถามเจ้าหน้าที่ในส่วนแรกตามเดิมครับ เขาจะให้กรอกเอกสารนู่นนี่นัน  ก็กรอกไป เดินไปยื่นเรื่อง เดินเข้าไปในตึกเหมือนวันแรกครับ

เจ้าหน้าที่ให้บัตรคิว รอเจ้าหน้าที่ตรวจข้อมูล ทำใบเสร็จ 

เรียบร้อยครับ เสียค่าใช้จ่ายวันนี้ครับ

- คำขอ 10 บาท

- ใบแทนเครื่องหมายประจำปี 20 บาท

- โอนทะเบียนรถ 100

- แผ่นป้ายใหม่ 100

- อากร 125 

วันนี่เสียเงิน 355 บาทครับ (ค่าตรวจสภาพโอนน่าจะคิดรวมไว้ในค่าโอนมั้งครบ) 



เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะพิมพ์เลขทะเบียนใหม่ กับชื่อเจ้าของใหม่มาในเล่ม ให้เราตรวจเช็คเล่มให้เรียบร้อย แล้วเดินถัดไปห้องข้างๆ

ห้องนี้ให้เรายื่นเอกสารเล่ม กับใบเสร็จของเรา  แล้วก็คืนแผ่นป้ายทะเบียนที่ถอดมาคืนให้เจ้าหน้าที่ครับ 

ได้ป้ายทะเบียนใหม่แล้ว  เป็นอันเสร็จครับ

รวมสองวัน ใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 

57 + 355 = 412 บาทครับ (ไม่รวมค่าถอดแผ่นป้ายจากน้ายาม 20) 

 หวังว่าจะเป็นประโยชน์ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่