.
.
ตั้วโดยสารหีบศพชั้นสาม สำหรับผู้โดยสาร
London Necropolis Railway © qi.com
.
.
ในปี 1848 ในลอนดอน
มันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่จะมีชีวิตอยู่
และที่แย่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ยังไงทุกคนต้องตาย
อหิวาตกโรคเพิ่งจะระบาดไปทั่วเมือง
คร่าชีวิตชาวเมืองไปเกือบ 15,000 คน
และศพก็กองเต็มไปหมด แบบตายประชดป่าช้า
สุสานที่โบสถ์ก็รอการฝังจำนวนมาก
แต่มีปัญหาสำคัญคือ ไม่มีที่ว่างให้ฝังศพ
ในปี ค.ศ. 1801
ประชากรของลอนดอนเพิ่มสูงขึ้น
เมืองนี้มีคนอาศัยอยู่ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านคน
ในปี ค.ศ. 1851
ตัวเลขประชากรเพิ่มขึ้นเท่าตัวเกือบสองล้านครึ่ง
แต่พื้นที่ฝังศพ 300 เอเคอร์ (750 ไร่ 2.5/ไร่)
ที่จัดสรรไว้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
ทำให้ต้องมีการขุดหลุมฝังศพเก่าออก
และหลุมฝังศพที่ค่อนข้างใหม่ออก
(มักจะเป็นพวกคนจน/คนอนาถา/คนยากไร้)
เพื่อให้มีที่ว่างสำหรับการฝังศพใหม่
ซากศพเก่าถูกย่ำยีและกระจัดกระจาย
ทำให้ดินและแหล่งน้ำปนเปื้อนเชื้อโรคต่าง ๆ
ส่งผลให้เกิดโรคระบาดครั้งใหม่
อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ โรคหัด ไทฟอยด์
โรคที่แพร่หลายในลอนดอน ยุค Victorian
ในที่สุด ทางการจึงมีการลงมติตัดสินใจว่า
ไม่จำเป็นต้องฝังศพในสุสานลอนดอน อีกต่อไป
แต่แทนที่จะสร้างสุสานใหม่หลายแห่งนอกเมือง
แต่ให้มีสุสานแห่งหนึ่งใน Brookwood
ห่างจากลอนดอน 37 กิโลเมตร
กลายเป็นสุสานที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร
พื้นที่ดังกล่าวครอบคลุม 1,500 เอเคอร์/3,750 ไร่
โดยได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งาน
ยาวนานกว่า 350 ปีในการผังศพแต่ละศพ
เพื่อจะส่งเรือข้ามฟากคนตาย
(ความเชื่อตามตำนานคนตายตัองลงเรือ
ข้ามแม่น้ำแครอน ต้องให้ค่าจ้างที่เป็นเงิน
ซึ่งญาติผู้ตายจะนำเหรียญใส่ในปากของผู้ตายเรียกว่า เหรียญแครอน ให้แครอนคนพายเรือ)
และครอบครัวที่โศกเศร้าเดินทางไปส่งศพในทางไกล
จึงได้สร้างทางรถไฟขึ้นเฉพาะ
ชื่อ London Necropolis Railway
ทุกวัน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1854
รถไฟขบวนเดียวที่บรรทุกโลงศพ
และครอบครัวของผู้ตายที่ไปส่งศพ
ได้ออกจากลอนดอนไปยัง Brookwood
สถานีเฉพาะใน Waterloo ระยะทาง 37 กิโลเมตร
รถไฟไม่มีการหยุดระหว่างทางใช้เวลาเดินทาง 40 นาที
ผู้ร่วมไว้อาลัยจะไปถึง Brookwood หลังเที่ยงวันไม่นานนัก
ฝังศพเสร็จและจัดงานศพที่สถานีรถไฟหนึ่งใน 2 แห่งของสุสาน
จากนั้นขึ้นรถไฟขบวนเดิมกลับลอนดอนภายในเวลา 15.30 น
.
เช่นเดียวกับรถไฟโดยสารทั่วไป
รถไฟ Necropolis มีตั๋วหลายประเภท
ตั๋วชั้นหนึ่งทำให้ครอบครัวเลือกได้ว่า
ต้องการจะฝังคนตายไว้ที่ใดภายในสุสาน
ทั้งยังสามารถสร้างอนุสรณ์สถานถาวรเหนือหลุมศพได้อีกด้วย
ตั๋วชั้นสองมีเงื่อนไขเลือกสถานที่ฝังศพบางส่วน
แต่การสร้างอนุสรณ์สถานถาวรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ตั๋วชั้นสามเป็นงานศพคนอนาถา/คนยากไร้
ช่องสำหรับที่นั่งและสำหรับศพที่จะไปฝัง
ยังถูกแบ่งแยกตามศาสนา
และตามธรรมเนียมในสมัยนั้น
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนที่แตกต่าง
จากภูมิหลังทางสังคมต่าง ๆ ปะปนกัน
.
.
.
แผนที่ตั้งสุสานต่าง ๆ ที่อยู่รอบนอกลอนดอน
เพื่อจัดการวิกฤตการฝังศพ เส้นสีแดงระบุเส้นทาง
London Necropolis Railway
จาก London ไปยัง Brookwood Cemetery
© iridescent/Wikimedia
.
.
ในปี ค.ศ. 1852
ได้เสนอวิธีแก้ปัญหาวิกฤตการฝังศพ
วงแหวนของสุสานแห่งใหม่ให้ขยายออก
หรืออยู่ระหว่างการพัฒนานอกพื้นที่
ที่สร้างขึ้นแห่งใหม่ในลอนดอน
แต่นี่เป็นเพียงวิธีแก้ปัญหาชั่วคราว
Edwin Chadwick วางแผนแก้ไขวิกฤติ
ด้วยการสร้างสุสานใหม่ขนาดใหญ่ 2 แห่ง
นอกเขตฝังศพ Metropolitan Burial District
ในขณะที่แกนนำโครงการสุสาน Necropolis
วางแผนสุสานขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียว
ที่ห่างไกลจากมหานครลอนดอน
เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจาก
การเติบโตของเมือง โดยทางรถไฟ
ทางรถไฟสาย London Necropolis
ไม่เคยหยุดวิ่งตามการคาดการณ์ของ
London Necropolis Company
แต่จุดสูงสุด ระหว่างปี 1894 - 1903
รถไฟบรรทุกศพได้เพียง 2,300 ศพต่อปี
ซึ่งน้อยกว่าจำนวนศพที่คาดการณ์ไว้ว่า
จะบรรทุกศพได้ถึง 50,000 ศพ
ในปี ค.ศ. 1902
การให้บริการรถไฟรายวันยุติลง
เพราะไม่มีผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
จึงให้บริการตามที่มีคนต้องการเท่านั้น
ในช่วงทศวรรษที่ 1930
กลายเป็นเรื่องปกติของรถไฟสายนี้
ที่จะให้บริการมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์
ในคืนวันที่ 16-17 เมษายน 1941
ความตายของทางรถไฟสายนี้ก็เกิดขึ้น
การโจมตีทางอากาศที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในลอนดอน
โดยกองทัพอากาศนาซีเยอรมัน
ระเบิดได้ทำลาย London Necropolis Railway Station
และทำให้รางรถไฟส่วนใหญ่ฉีกขาดใช้การไม่ได้
หลังสงครามสงบลงแล้ว
London Necropolis Company
ตัดสินใจยุติเส้นทางรถไฟสายนี้
เพราะไม่คุ้มการลงทุน และกระแสเงินสดรับ
รวมทั้งรถไฟสายนี้ได้วิ่งมา 87 ปีแล้ว
โดยขนส่งศพได้น้อยกว่า 200,000 ศพ
เหลือเพียงความทรงจำบาง ๆ บางส่วน
เกี่ยวกับบริการรถไฟสายที่ไม่ปกตินี้เท่านั้น
ที่ยังคงหลงหลืออยู่จนทุกวันนี้
ทั้งสองสถานีในสุสานถูกทำลายไปในช่วงทศวรรษ 1960
และซากปรักหักพังภายหลังถูกไฟไหม้
โครงเหล็กที่มีความยาวถูกยกออกไป
เพื่อหลอมละลายหรือนำกลับมาใช้ใหม่ที่อื่น ใ
ในลอนดอน อาคารทางเข้าไปยังสถานีส่วนตัว
ที่ 121 Westminster Bridge Road
สภาพยังคงไม่เสียหายเป็นส่วนใหญ่
แต่ชื่อ LONDON NECROPOLIS RAILWAY
ที่เคยจารึกไว้ในศิลานั้นไม่หลงเหลืออีกต่อไป
ทางรถไฟ London Necropolis Railway
แม้ว่าจะไม่ใช่ทางรถไฟเพียงแห่งเดียวในโลก
ที่อุทิศให้กับผู้โดยสารที่เสียชีวิต
เพราะตั้งแต่ปี 1867 - 1948
สุสาน Rookwood ใกล้กับ Sydney
ก็ให้บริการทางรถไฟที่คล้ายกันเรียกว่า
Rookwood Cemetery Line
ใน Melbourne ก็มีการขนศพไป Springvale Necropolis
ทางรถไฟ Spring Vale Cemetery โดยเฉพาะ
ใน Berlin ก็มีทางรถไฟคนตาย Friedhofsbahn
เปิดให้ดำเนินการ ตั้งแต่ ค.ศ. 1913 - 1952
และในฟินแลนด์ ก็มีบริการทางรถไฟประเภทเดียวกัน
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3mIcixX
https://bit.ly/3Qo20AE
https://bit.ly/3OdgVvt
.
.
.
North Station เป็น 1 ใน 2 สถานีทางไปสุสาน
ซึ่งผู้โดยสารสามารถพักผ่อน/หย่อนใจหลังจบพิธี
© Private collection of John Clarke
.
.
.
ทางเข้า Westminster Bridge Road สร้างขึ้นในปี 1854
ไปยังสถานีรถไฟ London Necropolis Railway แห่งแรก
แล้วถูกเลิกหลังจากสถานีแห่งใหม่สร้างขึ้นในปี 1902
.
.
.
รถไฟ Necropolis ในปี 1907 กำลังเทียบท่าชานชาลา
North Station ที่ Brookwood Cemetery © John Clarke
.
.
.
สถาพอาคาร London Necropolis Railway ใน London
ที่ถูกทิ้งระเบิดในคืนวันที่ 16-17 เมษายน 1941 © John Clarke
.
.
.
ทางเข้าสถานี ในปี 1902 ซ้าย และทุกวันนี้ขวา
.
.
.
ส่วนของรางรถไฟที่อยู่นอกสถานี Brookwood Station
เพื่อระลึกถึง Brookwood Cemetery Railway
London Necropolis Company
© Nedueb/Wikimedia
.
.
.
สภาพที่ยังหลงเหลืออยู่ของ สถานีรถไฟ
Brookwood North © iridescent/Wikimedi
.
.
.
สถานีรถไฟ Brookwood Station ให้บริการในปี 1864
ทุกวันนี้ยังให้บริการผู้โดยสารตามปกติ
© Paul Smith/Wikimed
.
.
.
ทิศใต้ (ฝั่งสุสาน) ทางเข้าสถานีรถไฟ Brookwood
คันดินยกสูงอยู่ด้านหลังรั้ว เดิมเป็นรางรถไฟ Necropolis
ที่เชื่อมต่อกับทางรถไฟสายหลัก London–Salisbury
© iridescent/Wikimedia
.
.
.
South station ในปี 2011
ในปี 1854 อาคารด้านหน้าคือ โบสถ์นิกาย Anglican chapel
ชานชาลาสถานีรถไฟเดิมใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของโบสถ์
.
.
.
หัวรถจักรไอน้ำ LSWR M7 ใช้งานทางรถไฟ
สาย London Necropolis Railway
.
.
.
ในช่วงหลายทศวรรษหลังจากการล่มสลายของ LNC
สุสานส่วนใหญ่ค่อย ๆ กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า
.
.
.
โบสถ์/หลุมฝังศพที่ Brookwood American Cemetery and Memorial
.
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
ครั้งหนึ่ง จขกท.เคยถามเพื่อนรุ่นพี่
ชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค ว่า เผาศพได้ไหม
แล้วบรรจุเฉพาะกระดูกใส่ช่องเล็ก ๆ
เพราะสุสานคริสต์แถวบ้านใกล้จะเต็มแล้ว
เพื่อนสนิทของ จขกท. ก็ถูกฝังศพอยู่ที่นั่น
ธรรมเนียมคริสต์ฝังศพซ้อนกัน 2 ศพได้
แกบอกว่า ตราบใดที่ Pope ยังไม่มีคำสั่ง
ก็ต้องฝังศพไปตามเดิมก่อน
ส่วนศพของแตงโม (นิดา ภัทรนิดา)
มีการเผาศพเสร็จแล้วใส่ในช่องใส่กระดูก
พร้อมชื่อ/ป้ายเคียงข้างกับคุณพ่อของเธอ
เธอเป็นคริสต์นิกายโปรแตสแตนส์ เมธอดิสท์
การตีความของผู้สอนศาสนาจึงแตกต่างกัน
.
.
หลุมศพของคนจีนตามสุสานจีนแถวบ้าน
สุสานมักเป็นของเอกชน/มูลนิธิ
ห้ามฝังซ้อนกัน ที่ใครที่มัน การฝังซ้อนกัน
มีความเชื่อว่าจะไปข่มทับ/ขี่ครอบครัวคนตายเดิม
หรือทำให้ครอบครัวคนเก่าเดือดร้อน/ยากจน
ทั้งยังมีกฏกติกาว่า ถ้าขุดศพออกจากหลุม
สิทธิ์ในการฝังศพหลุมเดิมสิ้นสุดทันที
ต้องไปหาที่ใหม่ในการฝังศพ หรือไปฝังที่อื่น
บางคนเชื่อหมอฮวงจุ๊ยคนตายว่า
หลุมที่ฝังศพจุดนี้บ่ดี ต้องย้ายไปฝังที่ใหม่
แบบเชื่อว่า หลุมศพคนตายส่งผลดี/ร้าย
ให้กับลูกหลานได้ (เชื่อมากก็เรื่องมาก/เสียเงิน)
กฏขัอนี้ไม่ใช้บังคับกับศพอนาถา/ศพไร้ญาติ
ส่วนหลุมศพร้างศพ ไม่ค่อยมีการ Reuse
เว้นแต่ทายาทคนตายเชื่อหมอฮวงจุ๊ยคนตาย
วิชาศาสตร์มืดแยกแขนงจากฮวงจุ๊ยคนเป็น
ที่ว่าการอำเภอนาหม่อม สงขลา
ก็มาจากการล้างป่าช้าเดิม พวกศพไร้ญาติ
จขกท. เคยถามเพื่อนรุ่นพี่ที่เป็นนายอำเภอ
" เห็นผี บ้างไหม ๆ "
แกบอกแกกับครอบครัวอยู่มา 4 ปี
ไม่หอนเห็นผีสักตัว
.
.
ส่วนศพคนมุสลิมฝังซัอนทับศพเดิมได้
สอบถามจาก ผศ.สุเทพ ทิพย์ธารา
เชื้อสายสุลต่านสุลัยมาน อดีตเจ้านครรัฐสงขลา
ต้นสกุล ณ พัทลุง พิทักษ์คุมพล ศรียาภัย
คนยุดยามาทำงานที่สงขลา กับเพื่อนมุสลิมสุนนี
ท่านว่าแถวบ้านเดิมท่าน
เวลาขุดหลุมฝังศพมักจะขุดให้ลึกมาก
ลึกระดับพ้นหัวคนขุดราว 2 เมตร ก่อนฝังศพ
แล้วปักหมุดไม้หมุดหินหัวท้ายเป็นหมาย
นานวันเข้าหมุดชำรุดสูญหาย หรือญาติจำไม่ได้
ถ้าขุดฝังศพในหลุมเดิมเจอกระดูกคนตายเดิม
ถ้าเลี่ยงได้เลี่ยง แต่ถ้าจำเป็นเร่งด่วน
หรือคาดว่าศพเดิมตายมานานมากแล้ว
ก็พูนดินทับกระดูกคนก่อนราว 20 เซนติเมตร
แล้วพูนดินหลุมศพใหม่ให้สูงขึ้นกว่าผิวดินเดิม
มากกว่า 20 เซนติเมตร พรัอมปักหมุดหมาย
ท่านบอกแถวบ้านท่านมักเจอบ่อย
เพราะที่ฝังศพแถวบ้านท่านเก่าแก่มาก
ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานีในอดีต
.
.
แต่โบราณศพคนไทยพุทธที่นับถือผีด้วย
ถ้าสตรีตายทั้งกลมมักจะฝัง ไม่เผา
เชื่อว่าถ้าเผาจะทำบาป เป็นการทำลาย
สายใยผูกพัน/พรากลูกพรากแม่
ถ้าจะเผาต้องผ่าแยกแม่ลูก ก่อนเผา
ศพคนตายโหง นักโทษประหารชีวิต ก็ฝังเช่นกัน
มักเชื่อว่าเฮี้ยน ดุร้าย ถ้าเผาแล้วสะกดผียาก
เพราะไร้ศพที่จะทำพิธีสะกดวิญญาณ
เว้นแต่เจอเจ้าอาวาสจอมขมังเวทย์มีวิชาดี
หรือสัปเหร่อจอมคาถาอาคมก็เผาทิ้งได้
แต่ปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวเริ่มลดน้อยลงแล้ว
รถไฟสายคนตาย London Necropolis Railway
.
ตั้วโดยสารหีบศพชั้นสาม สำหรับผู้โดยสาร
London Necropolis Railway © qi.com
.
ในปี 1848 ในลอนดอน
มันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่จะมีชีวิตอยู่
และที่แย่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ยังไงทุกคนต้องตาย
อหิวาตกโรคเพิ่งจะระบาดไปทั่วเมือง
คร่าชีวิตชาวเมืองไปเกือบ 15,000 คน
และศพก็กองเต็มไปหมด แบบตายประชดป่าช้า
สุสานที่โบสถ์ก็รอการฝังจำนวนมาก
แต่มีปัญหาสำคัญคือ ไม่มีที่ว่างให้ฝังศพ
ในปี ค.ศ. 1801
ประชากรของลอนดอนเพิ่มสูงขึ้น
เมืองนี้มีคนอาศัยอยู่ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านคน
ในปี ค.ศ. 1851
ตัวเลขประชากรเพิ่มขึ้นเท่าตัวเกือบสองล้านครึ่ง
แต่พื้นที่ฝังศพ 300 เอเคอร์ (750 ไร่ 2.5/ไร่)
ที่จัดสรรไว้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
ทำให้ต้องมีการขุดหลุมฝังศพเก่าออก
และหลุมฝังศพที่ค่อนข้างใหม่ออก
(มักจะเป็นพวกคนจน/คนอนาถา/คนยากไร้)
เพื่อให้มีที่ว่างสำหรับการฝังศพใหม่
ซากศพเก่าถูกย่ำยีและกระจัดกระจาย
ทำให้ดินและแหล่งน้ำปนเปื้อนเชื้อโรคต่าง ๆ
ส่งผลให้เกิดโรคระบาดครั้งใหม่
อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ โรคหัด ไทฟอยด์
โรคที่แพร่หลายในลอนดอน ยุค Victorian
ในที่สุด ทางการจึงมีการลงมติตัดสินใจว่า
ไม่จำเป็นต้องฝังศพในสุสานลอนดอน อีกต่อไป
แต่แทนที่จะสร้างสุสานใหม่หลายแห่งนอกเมือง
แต่ให้มีสุสานแห่งหนึ่งใน Brookwood
ห่างจากลอนดอน 37 กิโลเมตร
กลายเป็นสุสานที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร
พื้นที่ดังกล่าวครอบคลุม 1,500 เอเคอร์/3,750 ไร่
โดยได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งาน
ยาวนานกว่า 350 ปีในการผังศพแต่ละศพ
เพื่อจะส่งเรือข้ามฟากคนตาย
(ความเชื่อตามตำนานคนตายตัองลงเรือ
ข้ามแม่น้ำแครอน ต้องให้ค่าจ้างที่เป็นเงิน
ซึ่งญาติผู้ตายจะนำเหรียญใส่ในปากของผู้ตายเรียกว่า เหรียญแครอน ให้แครอนคนพายเรือ)
และครอบครัวที่โศกเศร้าเดินทางไปส่งศพในทางไกล
จึงได้สร้างทางรถไฟขึ้นเฉพาะ
ชื่อ London Necropolis Railway
ทุกวัน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1854
รถไฟขบวนเดียวที่บรรทุกโลงศพ
และครอบครัวของผู้ตายที่ไปส่งศพ
ได้ออกจากลอนดอนไปยัง Brookwood
สถานีเฉพาะใน Waterloo ระยะทาง 37 กิโลเมตร
รถไฟไม่มีการหยุดระหว่างทางใช้เวลาเดินทาง 40 นาที
ผู้ร่วมไว้อาลัยจะไปถึง Brookwood หลังเที่ยงวันไม่นานนัก
ฝังศพเสร็จและจัดงานศพที่สถานีรถไฟหนึ่งใน 2 แห่งของสุสาน
จากนั้นขึ้นรถไฟขบวนเดิมกลับลอนดอนภายในเวลา 15.30 น
.
เช่นเดียวกับรถไฟโดยสารทั่วไป
รถไฟ Necropolis มีตั๋วหลายประเภท
ตั๋วชั้นหนึ่งทำให้ครอบครัวเลือกได้ว่า
ต้องการจะฝังคนตายไว้ที่ใดภายในสุสาน
ทั้งยังสามารถสร้างอนุสรณ์สถานถาวรเหนือหลุมศพได้อีกด้วย
ตั๋วชั้นสองมีเงื่อนไขเลือกสถานที่ฝังศพบางส่วน
แต่การสร้างอนุสรณ์สถานถาวรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ตั๋วชั้นสามเป็นงานศพคนอนาถา/คนยากไร้
ช่องสำหรับที่นั่งและสำหรับศพที่จะไปฝัง
ยังถูกแบ่งแยกตามศาสนา
และตามธรรมเนียมในสมัยนั้น
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนที่แตกต่าง
จากภูมิหลังทางสังคมต่าง ๆ ปะปนกัน
.
.
แผนที่ตั้งสุสานต่าง ๆ ที่อยู่รอบนอกลอนดอน
เพื่อจัดการวิกฤตการฝังศพ เส้นสีแดงระบุเส้นทาง
London Necropolis Railway
จาก London ไปยัง Brookwood Cemetery
© iridescent/Wikimedia
.
ในปี ค.ศ. 1852
ได้เสนอวิธีแก้ปัญหาวิกฤตการฝังศพ
วงแหวนของสุสานแห่งใหม่ให้ขยายออก
หรืออยู่ระหว่างการพัฒนานอกพื้นที่
ที่สร้างขึ้นแห่งใหม่ในลอนดอน
แต่นี่เป็นเพียงวิธีแก้ปัญหาชั่วคราว
Edwin Chadwick วางแผนแก้ไขวิกฤติ
ด้วยการสร้างสุสานใหม่ขนาดใหญ่ 2 แห่ง
นอกเขตฝังศพ Metropolitan Burial District
ในขณะที่แกนนำโครงการสุสาน Necropolis
วางแผนสุสานขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียว
ที่ห่างไกลจากมหานครลอนดอน
เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจาก
การเติบโตของเมือง โดยทางรถไฟ
ทางรถไฟสาย London Necropolis
ไม่เคยหยุดวิ่งตามการคาดการณ์ของ
London Necropolis Company
แต่จุดสูงสุด ระหว่างปี 1894 - 1903
รถไฟบรรทุกศพได้เพียง 2,300 ศพต่อปี
ซึ่งน้อยกว่าจำนวนศพที่คาดการณ์ไว้ว่า
จะบรรทุกศพได้ถึง 50,000 ศพ
ในปี ค.ศ. 1902
การให้บริการรถไฟรายวันยุติลง
เพราะไม่มีผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
จึงให้บริการตามที่มีคนต้องการเท่านั้น
ในช่วงทศวรรษที่ 1930
กลายเป็นเรื่องปกติของรถไฟสายนี้
ที่จะให้บริการมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์
ในคืนวันที่ 16-17 เมษายน 1941
ความตายของทางรถไฟสายนี้ก็เกิดขึ้น
การโจมตีทางอากาศที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในลอนดอน
โดยกองทัพอากาศนาซีเยอรมัน
ระเบิดได้ทำลาย London Necropolis Railway Station
และทำให้รางรถไฟส่วนใหญ่ฉีกขาดใช้การไม่ได้
หลังสงครามสงบลงแล้ว
London Necropolis Company
ตัดสินใจยุติเส้นทางรถไฟสายนี้
เพราะไม่คุ้มการลงทุน และกระแสเงินสดรับ
รวมทั้งรถไฟสายนี้ได้วิ่งมา 87 ปีแล้ว
โดยขนส่งศพได้น้อยกว่า 200,000 ศพ
เหลือเพียงความทรงจำบาง ๆ บางส่วน
เกี่ยวกับบริการรถไฟสายที่ไม่ปกตินี้เท่านั้น
ที่ยังคงหลงหลืออยู่จนทุกวันนี้
ทั้งสองสถานีในสุสานถูกทำลายไปในช่วงทศวรรษ 1960
และซากปรักหักพังภายหลังถูกไฟไหม้
โครงเหล็กที่มีความยาวถูกยกออกไป
เพื่อหลอมละลายหรือนำกลับมาใช้ใหม่ที่อื่น ใ
ในลอนดอน อาคารทางเข้าไปยังสถานีส่วนตัว
ที่ 121 Westminster Bridge Road
สภาพยังคงไม่เสียหายเป็นส่วนใหญ่
แต่ชื่อ LONDON NECROPOLIS RAILWAY
ที่เคยจารึกไว้ในศิลานั้นไม่หลงเหลืออีกต่อไป
ทางรถไฟ London Necropolis Railway
แม้ว่าจะไม่ใช่ทางรถไฟเพียงแห่งเดียวในโลก
ที่อุทิศให้กับผู้โดยสารที่เสียชีวิต
เพราะตั้งแต่ปี 1867 - 1948
สุสาน Rookwood ใกล้กับ Sydney
ก็ให้บริการทางรถไฟที่คล้ายกันเรียกว่า
Rookwood Cemetery Line
ใน Melbourne ก็มีการขนศพไป Springvale Necropolis
ทางรถไฟ Spring Vale Cemetery โดยเฉพาะ
ใน Berlin ก็มีทางรถไฟคนตาย Friedhofsbahn
เปิดให้ดำเนินการ ตั้งแต่ ค.ศ. 1913 - 1952
และในฟินแลนด์ ก็มีบริการทางรถไฟประเภทเดียวกัน
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3mIcixX
https://bit.ly/3Qo20AE
https://bit.ly/3OdgVvt
.
.
.
North Station เป็น 1 ใน 2 สถานีทางไปสุสาน
ซึ่งผู้โดยสารสามารถพักผ่อน/หย่อนใจหลังจบพิธี
© Private collection of John Clarke
.
.
.
ทางเข้า Westminster Bridge Road สร้างขึ้นในปี 1854
ไปยังสถานีรถไฟ London Necropolis Railway แห่งแรก
แล้วถูกเลิกหลังจากสถานีแห่งใหม่สร้างขึ้นในปี 1902
.
.
.
รถไฟ Necropolis ในปี 1907 กำลังเทียบท่าชานชาลา
North Station ที่ Brookwood Cemetery © John Clarke
.
.
.
สถาพอาคาร London Necropolis Railway ใน London
ที่ถูกทิ้งระเบิดในคืนวันที่ 16-17 เมษายน 1941 © John Clarke
.
.
.
ทางเข้าสถานี ในปี 1902 ซ้าย และทุกวันนี้ขวา
.
.
.
ส่วนของรางรถไฟที่อยู่นอกสถานี Brookwood Station
เพื่อระลึกถึง Brookwood Cemetery Railway
London Necropolis Company
© Nedueb/Wikimedia
.
.
.
สภาพที่ยังหลงเหลืออยู่ของ สถานีรถไฟ
Brookwood North © iridescent/Wikimedi
.
.
.
สถานีรถไฟ Brookwood Station ให้บริการในปี 1864
ทุกวันนี้ยังให้บริการผู้โดยสารตามปกติ
© Paul Smith/Wikimed
.
.
.
ทิศใต้ (ฝั่งสุสาน) ทางเข้าสถานีรถไฟ Brookwood
คันดินยกสูงอยู่ด้านหลังรั้ว เดิมเป็นรางรถไฟ Necropolis
ที่เชื่อมต่อกับทางรถไฟสายหลัก London–Salisbury
© iridescent/Wikimedia
.
.
.
South station ในปี 2011
ในปี 1854 อาคารด้านหน้าคือ โบสถ์นิกาย Anglican chapel
ชานชาลาสถานีรถไฟเดิมใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของโบสถ์
.
.
.
หัวรถจักรไอน้ำ LSWR M7 ใช้งานทางรถไฟ
สาย London Necropolis Railway
.
.
.
ในช่วงหลายทศวรรษหลังจากการล่มสลายของ LNC
สุสานส่วนใหญ่ค่อย ๆ กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า
.
.
.
โบสถ์/หลุมฝังศพที่ Brookwood American Cemetery and Memorial
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
ครั้งหนึ่ง จขกท.เคยถามเพื่อนรุ่นพี่
ชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค ว่า เผาศพได้ไหม
แล้วบรรจุเฉพาะกระดูกใส่ช่องเล็ก ๆ
เพราะสุสานคริสต์แถวบ้านใกล้จะเต็มแล้ว
เพื่อนสนิทของ จขกท. ก็ถูกฝังศพอยู่ที่นั่น
ธรรมเนียมคริสต์ฝังศพซ้อนกัน 2 ศพได้
แกบอกว่า ตราบใดที่ Pope ยังไม่มีคำสั่ง
ก็ต้องฝังศพไปตามเดิมก่อน
ส่วนศพของแตงโม (นิดา ภัทรนิดา)
มีการเผาศพเสร็จแล้วใส่ในช่องใส่กระดูก
พร้อมชื่อ/ป้ายเคียงข้างกับคุณพ่อของเธอ
เธอเป็นคริสต์นิกายโปรแตสแตนส์ เมธอดิสท์
การตีความของผู้สอนศาสนาจึงแตกต่างกัน
.
.
หลุมศพของคนจีนตามสุสานจีนแถวบ้าน
สุสานมักเป็นของเอกชน/มูลนิธิ
ห้ามฝังซ้อนกัน ที่ใครที่มัน การฝังซ้อนกัน
มีความเชื่อว่าจะไปข่มทับ/ขี่ครอบครัวคนตายเดิม
หรือทำให้ครอบครัวคนเก่าเดือดร้อน/ยากจน
ทั้งยังมีกฏกติกาว่า ถ้าขุดศพออกจากหลุม
สิทธิ์ในการฝังศพหลุมเดิมสิ้นสุดทันที
ต้องไปหาที่ใหม่ในการฝังศพ หรือไปฝังที่อื่น
บางคนเชื่อหมอฮวงจุ๊ยคนตายว่า
หลุมที่ฝังศพจุดนี้บ่ดี ต้องย้ายไปฝังที่ใหม่
แบบเชื่อว่า หลุมศพคนตายส่งผลดี/ร้าย
ให้กับลูกหลานได้ (เชื่อมากก็เรื่องมาก/เสียเงิน)
กฏขัอนี้ไม่ใช้บังคับกับศพอนาถา/ศพไร้ญาติ
ส่วนหลุมศพร้างศพ ไม่ค่อยมีการ Reuse
เว้นแต่ทายาทคนตายเชื่อหมอฮวงจุ๊ยคนตาย
วิชาศาสตร์มืดแยกแขนงจากฮวงจุ๊ยคนเป็น
ที่ว่าการอำเภอนาหม่อม สงขลา
ก็มาจากการล้างป่าช้าเดิม พวกศพไร้ญาติ
จขกท. เคยถามเพื่อนรุ่นพี่ที่เป็นนายอำเภอ
" เห็นผี บ้างไหม ๆ "
แกบอกแกกับครอบครัวอยู่มา 4 ปี
ไม่หอนเห็นผีสักตัว
.
.
ส่วนศพคนมุสลิมฝังซัอนทับศพเดิมได้
สอบถามจาก ผศ.สุเทพ ทิพย์ธารา
เชื้อสายสุลต่านสุลัยมาน อดีตเจ้านครรัฐสงขลา
ต้นสกุล ณ พัทลุง พิทักษ์คุมพล ศรียาภัย
คนยุดยามาทำงานที่สงขลา กับเพื่อนมุสลิมสุนนี
ท่านว่าแถวบ้านเดิมท่าน
เวลาขุดหลุมฝังศพมักจะขุดให้ลึกมาก
ลึกระดับพ้นหัวคนขุดราว 2 เมตร ก่อนฝังศพ
แล้วปักหมุดไม้หมุดหินหัวท้ายเป็นหมาย
นานวันเข้าหมุดชำรุดสูญหาย หรือญาติจำไม่ได้
ถ้าขุดฝังศพในหลุมเดิมเจอกระดูกคนตายเดิม
ถ้าเลี่ยงได้เลี่ยง แต่ถ้าจำเป็นเร่งด่วน
หรือคาดว่าศพเดิมตายมานานมากแล้ว
ก็พูนดินทับกระดูกคนก่อนราว 20 เซนติเมตร
แล้วพูนดินหลุมศพใหม่ให้สูงขึ้นกว่าผิวดินเดิม
มากกว่า 20 เซนติเมตร พรัอมปักหมุดหมาย
ท่านบอกแถวบ้านท่านมักเจอบ่อย
เพราะที่ฝังศพแถวบ้านท่านเก่าแก่มาก
ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานีในอดีต
.
.
แต่โบราณศพคนไทยพุทธที่นับถือผีด้วย
ถ้าสตรีตายทั้งกลมมักจะฝัง ไม่เผา
เชื่อว่าถ้าเผาจะทำบาป เป็นการทำลาย
สายใยผูกพัน/พรากลูกพรากแม่
ถ้าจะเผาต้องผ่าแยกแม่ลูก ก่อนเผา
ศพคนตายโหง นักโทษประหารชีวิต ก็ฝังเช่นกัน
มักเชื่อว่าเฮี้ยน ดุร้าย ถ้าเผาแล้วสะกดผียาก
เพราะไร้ศพที่จะทำพิธีสะกดวิญญาณ
เว้นแต่เจอเจ้าอาวาสจอมขมังเวทย์มีวิชาดี
หรือสัปเหร่อจอมคาถาอาคมก็เผาทิ้งได้
แต่ปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวเริ่มลดน้อยลงแล้ว