บทนำ
จขกท. แชร์เรื่องราวนี้เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน จากประสบการณ์ในมุมมองของจขกท. ไม่ได้ประสงค์จะให้ใครต้องมารับผิดชอบกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
ปฐมบท
จขกท. ก็พยายามรักษาเนื้อรักษาตัวอย่างดีเพื่อไม่ให้ตัวเองติดเชื้อโควิด แต่สุดท้ายก็ไม่รอด (จขกท. ทำประกันโควิดแบบเจอจ่ายจบไว้ บริษัทประกันแห่งหนึ่งที่ยังดำเนินกิจการอยู่ และกรมธรรม์ยังมีความคุ้มครองอยู่ในวันที่ติดเชื้อ) วันที่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อก็คิดอยู่ว่าจะยังไปเสียเงินตรวจ RT-PCR ดีไหม จะเสียเงินเปล่าหรือไม่ (เดือดร้อนจากการติดเชื้อแล้ว จะเดือดร้อนกับค่าตรวจเพิ่มอีกดีหรือไม่) เพราะเรียกร้องสินไหมไปแล้วก็ไม่รู้ว่าจะได้หรือเปล่า สุดท้ายก็คิดซะว่าแทงหวยโควิด ถ้าบริษัทประกันจ่ายสินไหมได้ก็เหมือนถูกหวย ถ้าไม่ได้มาก็เหมือนถูกหวยกิน ปกติก็ถูกกิน 2 ครั้งต่อเดือนอยู่แล้ว ผลสุดท้ายแล้วจขกท. จะได้สินไหมหรือไม่ ก็ต้องลุ้นกันต่อไป
บทที่ 2 ล่าแม่มด
จขกท. อยู่ในกลุ่ม facebook และ LINE ที่เกี่ยวข้องกับเคลมประกันโควิด มีผู้ร่วมชะตากรรมมากมาย ต่างคนก็ต่างมีความคิดเห็นและมุมมองของตัวเอง ซึ่งเป็นปกติธรรมดาของมนุษย์แต่ จขกท. เห็นบางข้อความที่เหมือนการล่าแม่มด เช่น ถ้าบริษัทไม่มีเงินจ่ายก็ให้พนักงานจ่ายแทน (ตัวพนักงานเองก็ลำบากเพราะอาจจะตกงาน) ซึ่งจขกท. ก็เห็นใจทั้งพนักงานที่ถูกผู้เอาประกันกดดันและตัวผู้เอาประกันเอง ที่บางคนอาจรู้สึกเหมือนถูกโกง พยายามจะหาผู้ที่มารับผิดชอบเรื่องนี้
บทที่ 3 องค์ประกอบ
ถ้าจะถามว่าเรื่องนี้เป็นความผิดของใคร พูดกลางๆ ก็คือผิดได้ทุกคน
1.บริษัทประกัน
1.1 ไม่มีนักคณิตศาสตร์คำนวณเบี้ยหรือยังไง หรือถ้าคำนวณพลาดก็ต้องรับผิดชอบ
1.2 ทำไมรู้ว่าตัวเองไม่สามารถจ่ายสินไหมได้ แล้วยังจะขาย
2.ตัวแทนและนายหน้า ทำไมเลือกแนะนำบริษัทประกันที่ไม่มีความมั่นคงให้ลูกค้า
3.ตัวลูกค้า ทำไมไม่เลือกบริษัทประกันที่เสนอเบี้ยสูง (จากที่สังเกตบริษัทที่ปิดแล้ว 4 บริษัท ค่าเบี้ยประกันโควิดแบบเจอจ่ายจบ ราคาต่ำกว่าบริษัทที่ยังคงเปิดอยู่)
ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะโทษว่าเป็นความผิดของบริษัทประกัน หรือตัวแทนนายหน้า ไม่โทษตัวเองเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่เราลืมไปคนหนึ่งหรือเปล่า???
4.สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)
4.1 กำกับและพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีความเข้มแข็งมั่นคง ยังไง? ให้ปิดไป 4 บริษัท และอาจมีเพิ่มขึ้นอีก จากประกันโควิด และธุรกิจประกันภัยจะเข้มแข็งมั่นคงได้อย่างไร ถ้าภาพลักษณ์ธุรกิจประกันภัยแย่ในสายตาประชาชน
4.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้ ระบบเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ ยังไง? เจ้าหนี้บริษัทประกัน ที่ไม่ใช่ผู้เอาประกัน เช่น อู่ โรงพยาบาล อื่นๆ บริษัทประกันเป็นสถาบันการเงินปิดหลายๆบริษัทในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน มีโอกาสกระทบระบบเศรษฐกิจ
4.3 คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน ยังไง? ประกันโควิดมีผู้ที่ถูกลอยแพจากบริษัทประกันที่ปิดแล้วจำนวนมาก ถึงวันนี้ยังไม่ได้รับสินไหม แล้วยังลากลูกค้าประกันรถยนต์ อัคคีภัยให้เดือดร้อนไปด้วย
องค์กรต่อจากนี้ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับประกันภัยเช่นกัน
5.สมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมนายหน้าประกันวินาศภัย 2 กลุ่มนี้เป็นตัวแทนของกลุ่มบริษัทประกันและกลุ่มนายหน้า ทำไมไม่เรียกร้องอย่างหนักแน่นและแน่วแน่ ให้มีทางออกก่อนจะสายเกินไป ก่อนที่ผู้เอาประกันจะเดือดร้อน จขกท. เห็นสมาคมชาวสวนยางเรียกร้องสิทธิหลายครั้งและก็ไม่เลิกจนกว่าผู้มีอำนาจจะรับฟังและแก้ไขปัญหาให้ หรือพูดง่ายๆว่าสมาคมไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเอง อย่างที่สมาชิกและประชาชนคาดหวัง
6.กองทุนประกันวินาศภัย ทราบดีว่าเงินในกองทุนมีอยู่อย่างจำกัดเพียงใด ทำไมไม่แจ้งให้ คปภ. ทราบและแก้ไขด้วยวิธีอื่นๆ ปล่อยให้ คปภ. แจ้งประชาชนว่าจะได้เงินจากกองทุนประกันวินาศภัยอย่างแน่นอน ยอมให้ คปภ. โยนปัญหามาทิ้งที่กองทุนประกันวินาศภัย (เหมือนยอมเป็นแพะแทน คปภ.และบริษัทประกันภัย)
บทที่ 5 แบบประกัน
ขอขยายความเพิ่มเติมการทำงานของระบบประกันภัยเท่าที่ทราบ
1.บริษัทประกันภัยจะเสนอขายประกันใดๆต้องมีนักคณิตศาสตร์ที่ผ่านการรับรอง และ คปภ. ยอมรับ คำนวณเบี้ยประกัน ซึ่งการคำนวณเบี้ยประกันภัยใช้หลักสถิติ (คือดูจากปีก่อนว่าเป็นอย่างไร นำมาคิดเบี้ยประกันปีนี้) จะเห็นได้ว่ารัฐบาลพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะให้มีผู้ติดเชื้อน้อยที่สุด ผลทำให้สถิตผู้ติดเชื้อน้อย เมื่อบริษัทประกันนำมาใช้เบี้ยประกันจึงเป็นเช่นที่ท่านเห็น แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลไม่ได้ดำเนินนโยบายเข้มข้นตามเดิม ทำให้มีความติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลายพันเท่า(จากวันละหลักสิบเป็นหลักหมื่น) นักคณิตศาสตร์คำนวณถูกต้อง ณ เวลาที่คำนวณ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสถานการณ์เปลี่ยนไปจากเดิมมาก จึงเกิดปัญหาอย่างที่เป็นข่าว บ้างท่านอาจสังเกตเห็นว่า แล้วอย่างนั้นปีแรก คำนวณเบี้ยอย่างไร(ไม่มีสถิติ) ตอบง่ายๆว่า เดา นั่งเทียนตามความกล้าขอแต่ละบริษัทเลย สังเกตว่าปีแรกบริษัทรับประกันน้อยและเบี้ยสูงกว่าปีที่สอง เงื่อนไขการรับก็มากกว่า
2.ส่งให้คปภ.อนุมัติ แบบประกัน เงื่อนไข อัตราเบี้ยประกันทั้งเบี้ยขั้นสูง(ห้ามขายแพงเอาเปรียบประชาชน จริงๆจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดก็ได้ ประกันภัยไม่ใช่ธุรกิจผูกขาด เช่น เหล้าเบียร์ ห้างค้าปลีก)และเบี้ยขั้นต่ำ(ขายถูกไปก็ไม่ได้เพราะกลัวว่าเดี๋ยวจะไม่มีเงินจ่ายสินไหม) ใช่แล้ว คปภ. พิจารณาเรื่องนี้ด้วย แต่ประกันโควิดก็ยังมีปัญหา ขนาดเอาเบี้ยขั้นสูงมาขายยังขาดทุนเลย
บางคนเข้าใจว่าแบบประกันแค่แจ้งให้ทราบเท่านั้น (แจ้งเพื่อทราบ ส่งอะไรไปต้องผ่านหมด แต่คงเคยได้ยินกันว่า"ยังไม่มีแบบประกัน" นั้นเพราะ คปภ.ต้องการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเนื่องจากสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาฝ่ายเดียว แบบประกัน ราคา เงื่อนไขทั้งหมด ต้องผ่านการพิจารณาก่อน ถึงออกขายได้ เพื่อป้องกันบริษัทประกันเอาเปรียบ) และการขอแบบบริษัทต่างแห่งต่างขอ ทั้งที่จะขอเหมือนกัน 100% ก็ต้องรอพิจารณา บางครั้งก็เร็ว บางครั้งก็ช้ามาก ไม่ทราบแน่ชัดว่าเพราะอะไร แต่คุณอาจจะทราบ^^ คุณอาจจะเคยได้ยินว่า"ยังไม่มีแบบประกัน" ทั้งที่บริษัทประกันอื่นก็ขายอยู่
ประกันโควิดเป็นประกันที่ คปภ. สนับสนุนให้ออกขาย เพื่อช่วยรัฐบาลเพิ่มความมั่นใจให้ประชาชน (แบบประกันที่บริษัทไม่อยากขาย แต่รัฐขอให้ขาย เช่น ประกันภัยข้าวนาปี ประกันภัยโค-กระบือ)
เมื่อ คปภ. พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วจึงอนุมัติให้บริษัทประกันขายได้
3.แบบประกันที่ผ่านการอนุมัติแล้วถึงว่าผูกพันผู้เอาประกันและผู้รับประกัน สิทธิในการบอกเลิกสัญญา จึงควรกระทำได้ แต่คปภ. เลือกวิธีการแก้ไขสิ่งที่อนุมัติไปแล้วโดยให้มีผลย้อนหลัง จขกท.ไม่เชี่ยวชาญเรื่องกฏหมาย ท่านใดทราบข้อกฏหมาย ช่วยเพิ่มเติมให้ด้วยว่าถูกต้องตามหลักกฏหมายหรือไม่ อย่างไร
4.บริษัทประกันต้องจ่ายสินไหมตามสัญญาประกันภัย แต่ก็มีประเด็น เช่น
4.1 กรณีที่บริษัทแจ้งตั้งแต่รับประกันว่าไม่รับผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์,สาธารณะสุข ซึ่งกรณีนี้ผู้เอาประกันควรเข้าใจ ว่าสัญญานี้ไม่ถูกต้องมาตั้งแต่เริ่ม และเห็นใจบริษัทประกันภัยด้วย
4.2 กรณีที่ต้องใช้เอกสารตัวจริง แต่บริษัทแจ้งว่าเอกสารตัวจริงต้องมีลายเซ็นต์และประทับตราด้วย ซึ่ง รพ. ส่วนใหญ่จะประทับตราอย่างเดียว บริษัทประกันที่ทำ กำลังทำให้ภาพลักษณ์ของประกันภัยโดยรวมแย่ลงในสายตาประชาชน
บทที่ 6 ประกันโควิดเกิดขึ้นเพราะอะไร
รัฐบาลพยาบาลหาทางเพิ่มความเชื่อมั่นให้ประชาชน เพื่อพยุงเศรษฐกิจ คปภ.ก็ตอบสนองนโยบาย โดยใช้ประกันภัย เริ่มจากบริษัทประกันที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และบริษัทประกันที่เป็นเด็กดี เชื่อฟัง ทำแบบขออนุมัติและก็อนุมัติอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับแบบประกันส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นประกันที่เพิ่งเกิดใหม่ และผลมิได้เป็นไปตามธรรมชาติหรืออุบัติเหตุ แต่ผลจะเป็นตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าภัยด้านการเมืองไม่ควรรับประกันภัย
(เป็นข้อมูลเท่าที่ทราบ หากท่านมีข้อมูลเพิ่มเติม แจ้งเพิ่มเติมได้เลย)
ผลลัพธ์
มีข่าวลือหนากูว่า คนบางคนเห็นช่องหาเงินจากการทำประกันโควิด โดยเฉพาะรูปแบบ เจอ จ่าย จบ ทำให้มีการติดเชื้อโดยความตั้งใจ ซึ่งทำให้มีผู้ป่วยโควิดมากขึ้น สวนทางกับความต้องการในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อของรัฐบาล และยังส่งเสริมให้เกิดการทุจริตที่ยากเก่าการตรวจสอบ ซึ่งจนถึงบัดนี้ ก็ไม่ได้แก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม
บทที่ 7 นิทาน
ลองนึกภาพตาม คุณมีลูก กำลังจะจมน้ำตาย และมีชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่ง มาจับคุณไว้ ไม่ยอมให้คุณลงไปช่วยทั้งที่คุณได้ตะโกนบอกว่าคุณว่ายน้ำเป็น แต่ชายฉกรรจ์กลุ่มดังกล่าว ตอบคุณกลับอย่างสุภาพว่า ที่ต้องจับคุณไว้เพื่อให้คุณปลอดภัย หากคุณต้องการช่วยลูกให้ตะโกนเรียกให้คนอื่นลงไปช่วย โดยชายฉกรรจ์กลุ่มดังกล่าวมิได้ทำอะไร จับให้คุณมองลูกจมน้ำตายต่อหน้าต่อตา เด็กคนที่หนึ่งก็แล้ว เด็กคนที่สองก็แล้ว ชายฉกรรจ์กลุ่มนี้ก็ยังทำเหมือนเดิม เด็กคนที่สามและสี่ก็ตามไป คุณคิดว่าสังคมนี้เป็นอย่างไร ทำไมให้สิทธิชายฉกรรจ์กลุ่มนี้ทำแบบนี้ และสังคมยังเข้าใจว่าชายฉกรรจ์กลุ่มนี้เป็น Hero ช่วยไม่ให้พ่อแม่จมน้ำไปพร้อมกับลูก ทำไมสังคมจึงคิดเช่นนั้น? มีอะไรบิดเบี่ยวในสังคมรึเปล่า?
บทที่ 8 ทางออก?
เมื่อบริษัทประกันปิดตัวลง ตามระบบประกันภัยแล้ว กองทุนจะเป็นผู้ชำระบัญชี รับผิดชอบเจ้าหนี้และลูกหนี้แทนบริษัทประกัน กองทุนประกันวินาศภัยจึงมีบทบาท เป็นความหวังของผู้เอาประกัน จขกท. ได้ยินคำพูดนี้จากทั้งบริษัทประกันและ คปภ. ว่า “หากบริษัทประกันปิด ท่านยังสามารถได้รับสินไหมจากกองทุนประกันวินาศภัยอย่างแน่นอน” จริงรึเปล่า?
วันที่ 5/6/2565 11.17น. ประชาชาติธุรกิจ ได้สัมภาษณ์ นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย ข้อมูล ณ สิ้นเดือนเมษายน 2565 มีหนี้สินประมาณ 40,000 ล้านบาท แต่มีทรัพย์สินอยู่ประมาณ 6,000 ล้านบาท และกองทุนมีรายได้ปีละ 600 ล้านบาท จ่ายหนี้ได้ประมาณปีละ 400 ล้านบาท
ลองคิดดูเล่นๆ จากข้อมูลปัจจุบัน โดยไม่ปรับเปลี่ยนใดๆ
สมมติที่ 1 เงินขาดอีก 34,000 ล้านบาท ต้องใช้เวลาเก็บรายได้อีก 566 ปี
สมมติที่ 2 มีหนี้สิน 40,000 ล้านบาท จ่ายหนี้ได้ปีละ 400 ล้านบาท ต้องใช้เวลาจ่ายหนี้อีก 100 ปี
กองทุนยังเป็นทางออก? ประชาชนจะคาดหวังจากกองทุนได้มากน้อยเพียงใด
ปัจจิมบท
ลองนึกภาพ Super man เป็นผู้ร้าย จะสร้างความเสียหายได้ขนาดไหน? ใครจะหยุดได้? ไม่มีกลับดีกว่า
อำนาจที่ยิ่งใหญ่ ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง (ไม่ใช่รับแต่ชอบ ผิดไม่รับ)
ปล. เป็นข้อมูลเท่าที่ จขกท. ทราบ และแบ่งปันโดยสุจริต ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านอีกทางหนึ่งด้วย
มหากาพย์ประกันโควิด สุดท้ายฉันก็ไม่รอด ความผิดเกิดจากใคร
จขกท. แชร์เรื่องราวนี้เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน จากประสบการณ์ในมุมมองของจขกท. ไม่ได้ประสงค์จะให้ใครต้องมารับผิดชอบกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
ปฐมบท
จขกท. ก็พยายามรักษาเนื้อรักษาตัวอย่างดีเพื่อไม่ให้ตัวเองติดเชื้อโควิด แต่สุดท้ายก็ไม่รอด (จขกท. ทำประกันโควิดแบบเจอจ่ายจบไว้ บริษัทประกันแห่งหนึ่งที่ยังดำเนินกิจการอยู่ และกรมธรรม์ยังมีความคุ้มครองอยู่ในวันที่ติดเชื้อ) วันที่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อก็คิดอยู่ว่าจะยังไปเสียเงินตรวจ RT-PCR ดีไหม จะเสียเงินเปล่าหรือไม่ (เดือดร้อนจากการติดเชื้อแล้ว จะเดือดร้อนกับค่าตรวจเพิ่มอีกดีหรือไม่) เพราะเรียกร้องสินไหมไปแล้วก็ไม่รู้ว่าจะได้หรือเปล่า สุดท้ายก็คิดซะว่าแทงหวยโควิด ถ้าบริษัทประกันจ่ายสินไหมได้ก็เหมือนถูกหวย ถ้าไม่ได้มาก็เหมือนถูกหวยกิน ปกติก็ถูกกิน 2 ครั้งต่อเดือนอยู่แล้ว ผลสุดท้ายแล้วจขกท. จะได้สินไหมหรือไม่ ก็ต้องลุ้นกันต่อไป
บทที่ 2 ล่าแม่มด
จขกท. อยู่ในกลุ่ม facebook และ LINE ที่เกี่ยวข้องกับเคลมประกันโควิด มีผู้ร่วมชะตากรรมมากมาย ต่างคนก็ต่างมีความคิดเห็นและมุมมองของตัวเอง ซึ่งเป็นปกติธรรมดาของมนุษย์แต่ จขกท. เห็นบางข้อความที่เหมือนการล่าแม่มด เช่น ถ้าบริษัทไม่มีเงินจ่ายก็ให้พนักงานจ่ายแทน (ตัวพนักงานเองก็ลำบากเพราะอาจจะตกงาน) ซึ่งจขกท. ก็เห็นใจทั้งพนักงานที่ถูกผู้เอาประกันกดดันและตัวผู้เอาประกันเอง ที่บางคนอาจรู้สึกเหมือนถูกโกง พยายามจะหาผู้ที่มารับผิดชอบเรื่องนี้
บทที่ 3 องค์ประกอบ
ถ้าจะถามว่าเรื่องนี้เป็นความผิดของใคร พูดกลางๆ ก็คือผิดได้ทุกคน
1.บริษัทประกัน
1.1 ไม่มีนักคณิตศาสตร์คำนวณเบี้ยหรือยังไง หรือถ้าคำนวณพลาดก็ต้องรับผิดชอบ
1.2 ทำไมรู้ว่าตัวเองไม่สามารถจ่ายสินไหมได้ แล้วยังจะขาย
2.ตัวแทนและนายหน้า ทำไมเลือกแนะนำบริษัทประกันที่ไม่มีความมั่นคงให้ลูกค้า
3.ตัวลูกค้า ทำไมไม่เลือกบริษัทประกันที่เสนอเบี้ยสูง (จากที่สังเกตบริษัทที่ปิดแล้ว 4 บริษัท ค่าเบี้ยประกันโควิดแบบเจอจ่ายจบ ราคาต่ำกว่าบริษัทที่ยังคงเปิดอยู่)
ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะโทษว่าเป็นความผิดของบริษัทประกัน หรือตัวแทนนายหน้า ไม่โทษตัวเองเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่เราลืมไปคนหนึ่งหรือเปล่า???
4.สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)
4.1 กำกับและพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีความเข้มแข็งมั่นคง ยังไง? ให้ปิดไป 4 บริษัท และอาจมีเพิ่มขึ้นอีก จากประกันโควิด และธุรกิจประกันภัยจะเข้มแข็งมั่นคงได้อย่างไร ถ้าภาพลักษณ์ธุรกิจประกันภัยแย่ในสายตาประชาชน
4.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้ ระบบเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ ยังไง? เจ้าหนี้บริษัทประกัน ที่ไม่ใช่ผู้เอาประกัน เช่น อู่ โรงพยาบาล อื่นๆ บริษัทประกันเป็นสถาบันการเงินปิดหลายๆบริษัทในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน มีโอกาสกระทบระบบเศรษฐกิจ
4.3 คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน ยังไง? ประกันโควิดมีผู้ที่ถูกลอยแพจากบริษัทประกันที่ปิดแล้วจำนวนมาก ถึงวันนี้ยังไม่ได้รับสินไหม แล้วยังลากลูกค้าประกันรถยนต์ อัคคีภัยให้เดือดร้อนไปด้วย
องค์กรต่อจากนี้ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับประกันภัยเช่นกัน
5.สมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมนายหน้าประกันวินาศภัย 2 กลุ่มนี้เป็นตัวแทนของกลุ่มบริษัทประกันและกลุ่มนายหน้า ทำไมไม่เรียกร้องอย่างหนักแน่นและแน่วแน่ ให้มีทางออกก่อนจะสายเกินไป ก่อนที่ผู้เอาประกันจะเดือดร้อน จขกท. เห็นสมาคมชาวสวนยางเรียกร้องสิทธิหลายครั้งและก็ไม่เลิกจนกว่าผู้มีอำนาจจะรับฟังและแก้ไขปัญหาให้ หรือพูดง่ายๆว่าสมาคมไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเอง อย่างที่สมาชิกและประชาชนคาดหวัง
6.กองทุนประกันวินาศภัย ทราบดีว่าเงินในกองทุนมีอยู่อย่างจำกัดเพียงใด ทำไมไม่แจ้งให้ คปภ. ทราบและแก้ไขด้วยวิธีอื่นๆ ปล่อยให้ คปภ. แจ้งประชาชนว่าจะได้เงินจากกองทุนประกันวินาศภัยอย่างแน่นอน ยอมให้ คปภ. โยนปัญหามาทิ้งที่กองทุนประกันวินาศภัย (เหมือนยอมเป็นแพะแทน คปภ.และบริษัทประกันภัย)
บทที่ 5 แบบประกัน
ขอขยายความเพิ่มเติมการทำงานของระบบประกันภัยเท่าที่ทราบ
1.บริษัทประกันภัยจะเสนอขายประกันใดๆต้องมีนักคณิตศาสตร์ที่ผ่านการรับรอง และ คปภ. ยอมรับ คำนวณเบี้ยประกัน ซึ่งการคำนวณเบี้ยประกันภัยใช้หลักสถิติ (คือดูจากปีก่อนว่าเป็นอย่างไร นำมาคิดเบี้ยประกันปีนี้) จะเห็นได้ว่ารัฐบาลพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะให้มีผู้ติดเชื้อน้อยที่สุด ผลทำให้สถิตผู้ติดเชื้อน้อย เมื่อบริษัทประกันนำมาใช้เบี้ยประกันจึงเป็นเช่นที่ท่านเห็น แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลไม่ได้ดำเนินนโยบายเข้มข้นตามเดิม ทำให้มีความติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลายพันเท่า(จากวันละหลักสิบเป็นหลักหมื่น) นักคณิตศาสตร์คำนวณถูกต้อง ณ เวลาที่คำนวณ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสถานการณ์เปลี่ยนไปจากเดิมมาก จึงเกิดปัญหาอย่างที่เป็นข่าว บ้างท่านอาจสังเกตเห็นว่า แล้วอย่างนั้นปีแรก คำนวณเบี้ยอย่างไร(ไม่มีสถิติ) ตอบง่ายๆว่า เดา นั่งเทียนตามความกล้าขอแต่ละบริษัทเลย สังเกตว่าปีแรกบริษัทรับประกันน้อยและเบี้ยสูงกว่าปีที่สอง เงื่อนไขการรับก็มากกว่า
2.ส่งให้คปภ.อนุมัติ แบบประกัน เงื่อนไข อัตราเบี้ยประกันทั้งเบี้ยขั้นสูง(ห้ามขายแพงเอาเปรียบประชาชน จริงๆจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดก็ได้ ประกันภัยไม่ใช่ธุรกิจผูกขาด เช่น เหล้าเบียร์ ห้างค้าปลีก)และเบี้ยขั้นต่ำ(ขายถูกไปก็ไม่ได้เพราะกลัวว่าเดี๋ยวจะไม่มีเงินจ่ายสินไหม) ใช่แล้ว คปภ. พิจารณาเรื่องนี้ด้วย แต่ประกันโควิดก็ยังมีปัญหา ขนาดเอาเบี้ยขั้นสูงมาขายยังขาดทุนเลย
บางคนเข้าใจว่าแบบประกันแค่แจ้งให้ทราบเท่านั้น (แจ้งเพื่อทราบ ส่งอะไรไปต้องผ่านหมด แต่คงเคยได้ยินกันว่า"ยังไม่มีแบบประกัน" นั้นเพราะ คปภ.ต้องการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเนื่องจากสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาฝ่ายเดียว แบบประกัน ราคา เงื่อนไขทั้งหมด ต้องผ่านการพิจารณาก่อน ถึงออกขายได้ เพื่อป้องกันบริษัทประกันเอาเปรียบ) และการขอแบบบริษัทต่างแห่งต่างขอ ทั้งที่จะขอเหมือนกัน 100% ก็ต้องรอพิจารณา บางครั้งก็เร็ว บางครั้งก็ช้ามาก ไม่ทราบแน่ชัดว่าเพราะอะไร แต่คุณอาจจะทราบ^^ คุณอาจจะเคยได้ยินว่า"ยังไม่มีแบบประกัน" ทั้งที่บริษัทประกันอื่นก็ขายอยู่
ประกันโควิดเป็นประกันที่ คปภ. สนับสนุนให้ออกขาย เพื่อช่วยรัฐบาลเพิ่มความมั่นใจให้ประชาชน (แบบประกันที่บริษัทไม่อยากขาย แต่รัฐขอให้ขาย เช่น ประกันภัยข้าวนาปี ประกันภัยโค-กระบือ)
เมื่อ คปภ. พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วจึงอนุมัติให้บริษัทประกันขายได้
3.แบบประกันที่ผ่านการอนุมัติแล้วถึงว่าผูกพันผู้เอาประกันและผู้รับประกัน สิทธิในการบอกเลิกสัญญา จึงควรกระทำได้ แต่คปภ. เลือกวิธีการแก้ไขสิ่งที่อนุมัติไปแล้วโดยให้มีผลย้อนหลัง จขกท.ไม่เชี่ยวชาญเรื่องกฏหมาย ท่านใดทราบข้อกฏหมาย ช่วยเพิ่มเติมให้ด้วยว่าถูกต้องตามหลักกฏหมายหรือไม่ อย่างไร
4.บริษัทประกันต้องจ่ายสินไหมตามสัญญาประกันภัย แต่ก็มีประเด็น เช่น
4.1 กรณีที่บริษัทแจ้งตั้งแต่รับประกันว่าไม่รับผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์,สาธารณะสุข ซึ่งกรณีนี้ผู้เอาประกันควรเข้าใจ ว่าสัญญานี้ไม่ถูกต้องมาตั้งแต่เริ่ม และเห็นใจบริษัทประกันภัยด้วย
4.2 กรณีที่ต้องใช้เอกสารตัวจริง แต่บริษัทแจ้งว่าเอกสารตัวจริงต้องมีลายเซ็นต์และประทับตราด้วย ซึ่ง รพ. ส่วนใหญ่จะประทับตราอย่างเดียว บริษัทประกันที่ทำ กำลังทำให้ภาพลักษณ์ของประกันภัยโดยรวมแย่ลงในสายตาประชาชน
บทที่ 6 ประกันโควิดเกิดขึ้นเพราะอะไร
รัฐบาลพยาบาลหาทางเพิ่มความเชื่อมั่นให้ประชาชน เพื่อพยุงเศรษฐกิจ คปภ.ก็ตอบสนองนโยบาย โดยใช้ประกันภัย เริ่มจากบริษัทประกันที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และบริษัทประกันที่เป็นเด็กดี เชื่อฟัง ทำแบบขออนุมัติและก็อนุมัติอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับแบบประกันส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นประกันที่เพิ่งเกิดใหม่ และผลมิได้เป็นไปตามธรรมชาติหรืออุบัติเหตุ แต่ผลจะเป็นตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าภัยด้านการเมืองไม่ควรรับประกันภัย
(เป็นข้อมูลเท่าที่ทราบ หากท่านมีข้อมูลเพิ่มเติม แจ้งเพิ่มเติมได้เลย)
ผลลัพธ์
มีข่าวลือหนากูว่า คนบางคนเห็นช่องหาเงินจากการทำประกันโควิด โดยเฉพาะรูปแบบ เจอ จ่าย จบ ทำให้มีการติดเชื้อโดยความตั้งใจ ซึ่งทำให้มีผู้ป่วยโควิดมากขึ้น สวนทางกับความต้องการในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อของรัฐบาล และยังส่งเสริมให้เกิดการทุจริตที่ยากเก่าการตรวจสอบ ซึ่งจนถึงบัดนี้ ก็ไม่ได้แก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม
บทที่ 7 นิทาน
ลองนึกภาพตาม คุณมีลูก กำลังจะจมน้ำตาย และมีชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่ง มาจับคุณไว้ ไม่ยอมให้คุณลงไปช่วยทั้งที่คุณได้ตะโกนบอกว่าคุณว่ายน้ำเป็น แต่ชายฉกรรจ์กลุ่มดังกล่าว ตอบคุณกลับอย่างสุภาพว่า ที่ต้องจับคุณไว้เพื่อให้คุณปลอดภัย หากคุณต้องการช่วยลูกให้ตะโกนเรียกให้คนอื่นลงไปช่วย โดยชายฉกรรจ์กลุ่มดังกล่าวมิได้ทำอะไร จับให้คุณมองลูกจมน้ำตายต่อหน้าต่อตา เด็กคนที่หนึ่งก็แล้ว เด็กคนที่สองก็แล้ว ชายฉกรรจ์กลุ่มนี้ก็ยังทำเหมือนเดิม เด็กคนที่สามและสี่ก็ตามไป คุณคิดว่าสังคมนี้เป็นอย่างไร ทำไมให้สิทธิชายฉกรรจ์กลุ่มนี้ทำแบบนี้ และสังคมยังเข้าใจว่าชายฉกรรจ์กลุ่มนี้เป็น Hero ช่วยไม่ให้พ่อแม่จมน้ำไปพร้อมกับลูก ทำไมสังคมจึงคิดเช่นนั้น? มีอะไรบิดเบี่ยวในสังคมรึเปล่า?
บทที่ 8 ทางออก?
เมื่อบริษัทประกันปิดตัวลง ตามระบบประกันภัยแล้ว กองทุนจะเป็นผู้ชำระบัญชี รับผิดชอบเจ้าหนี้และลูกหนี้แทนบริษัทประกัน กองทุนประกันวินาศภัยจึงมีบทบาท เป็นความหวังของผู้เอาประกัน จขกท. ได้ยินคำพูดนี้จากทั้งบริษัทประกันและ คปภ. ว่า “หากบริษัทประกันปิด ท่านยังสามารถได้รับสินไหมจากกองทุนประกันวินาศภัยอย่างแน่นอน” จริงรึเปล่า?
วันที่ 5/6/2565 11.17น. ประชาชาติธุรกิจ ได้สัมภาษณ์ นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย ข้อมูล ณ สิ้นเดือนเมษายน 2565 มีหนี้สินประมาณ 40,000 ล้านบาท แต่มีทรัพย์สินอยู่ประมาณ 6,000 ล้านบาท และกองทุนมีรายได้ปีละ 600 ล้านบาท จ่ายหนี้ได้ประมาณปีละ 400 ล้านบาท
ลองคิดดูเล่นๆ จากข้อมูลปัจจุบัน โดยไม่ปรับเปลี่ยนใดๆ
สมมติที่ 1 เงินขาดอีก 34,000 ล้านบาท ต้องใช้เวลาเก็บรายได้อีก 566 ปี
สมมติที่ 2 มีหนี้สิน 40,000 ล้านบาท จ่ายหนี้ได้ปีละ 400 ล้านบาท ต้องใช้เวลาจ่ายหนี้อีก 100 ปี
กองทุนยังเป็นทางออก? ประชาชนจะคาดหวังจากกองทุนได้มากน้อยเพียงใด
ปัจจิมบท
ลองนึกภาพ Super man เป็นผู้ร้าย จะสร้างความเสียหายได้ขนาดไหน? ใครจะหยุดได้? ไม่มีกลับดีกว่า
อำนาจที่ยิ่งใหญ่ ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง (ไม่ใช่รับแต่ชอบ ผิดไม่รับ)
ปล. เป็นข้อมูลเท่าที่ จขกท. ทราบ และแบ่งปันโดยสุจริต ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านอีกทางหนึ่งด้วย