รถทัวร์เยือนเฟซบุ๊กเพจนายกฯ "ประยุทธ์" ลืมปิดคอมเมนต์ คนแสดงความเห็นเพียบ
https://www.thairath.co.th/news/society/2412726
เฟซบุ๊กเพจนายกฯ "ประยุทธ์" ลืมปิดคอมเมนต์ รถทัวร์ขนคนมาเยือนเพียบ ก่อนปิดกั้นไม่ให้แสดงความเห็นอีกครั้ง
วันที่ 7 มิ.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กเพจ "
ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha" ซึ่งเป็นของนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ ในช่วงค่ำของวันที่ 6 มิ.ย.65 แต่กลับลืมปิดคอมเมนต์ ทำให้มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ก่อนที่ต่อมา จะมีการปิดกั้นไม่ให้แสดงความคิดเห็นได้อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม เฟซบุ๊กเพจ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการปิดคอมเมนต์ ไม่ให้แสดงความคิดเห็นได้ หลังจากที่เปิดเพจมาไม่นาน.
ที่มาจาก เฟซบุ๊กเพจ ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha
เคาะแล้ว! ผู้ต้องขังลอกท่อทั่วกรุง 500 กม.แรก เริ่ม 1 ก.ค. ชัชชาติเผยลอกคลองแล้ว 40 สาย
https://www.matichon.co.th/bkkpataya/governorbkk/news_3386912
เคาะแล้ว! ผู้ต้องขังลอกท่อทั่วกรุง ตั้งเป้า 500 กม.แรก 15 ล. เริ่ม 1 ก.ค.นี้ ชัชชาติเผย กทม.ลอกคลองแล้ว 40 แห่ง
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ห้องประชุมชีนิมิตร ชั้น 6 สำนักการระบายน้ำ (สนน.) ศาลาว่าการ กทม.2 (ดินแดง) นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงภายหลังการประชุมหารือระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และกรมราชทัณฑ์ เรื่องการดำเนินงานล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำในกรุงเทพมหานคร ว่า
วันนี้เป็นการร่วมมือตามแนวคิดของ นาย
สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ได้มีดำริให้มีการร่วมมือกันในการลอกท่อระบายน้ำโดยผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์ ในวันนี้จึงได้เชิญอธิบดีกรมราชทัณฑ์มาปรึกษาหารือเนื่องจากที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ โดยชาวบ้านพบว่า ผู้ต้องขังลอกท่อระบายน้ำได้ดี และสามารถทำให้ผู้ต้องขังทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ต้องมีการเน้นย้ำว่า การจ้างผู้ต้องขังต้องมีหลักสิทธิมนุษยชน และปฏิบัติเหมือนคนปกติ ทั้งเรื่องค่าแรงและสวัสดิการ และต้องมาทำด้วยความสมัครใจ
นายชัชชาติกล่าวว่า ปัจจุบัน กทม.มีท่อระบายน้ำที่จำเป็นต้องลอก 6,500 กิโลเมตร (กม.) โดย สนน.ดูแลเส้นเลือดใหญ่อยู่ประมาณ 2,000 กม. และแต่ละเขตดูแลเส้นเลือดฝอยที่เป็นท่อย่อยประมาณ 4,500 กม. ซึ่งปีนี้ลอกไปแล้วประมาณ 2,000 กม. แต่ในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2565 ยังพอมีงบประมาณเหลืออยู่ จึงได้หารือกับอธิบดีกรมราชทัณฑ์ โดยให้กรมราชทัณฑ์ดำเนินการ เริ่มในวันที่ 1 ก.ค.นี้ ให้ทำให้มากที่สุด โดยจะให้เขตแต่ละแห่งหาจุดที่ต้องลอกมา และดูตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ กทม.สามารถจ้างกรมราชทัณฑ์โดยตรงได้ เพราะเป็นรัฐบาล-รัฐบาล (G2G) แต่หากสามารถทำได้ก่อน 1 ก.ค.จะเป็นเรื่องดี เพราะปัญหาน้ำท่วมประชาชนไม่รอ
“ในช่วงระหว่างการลอกท่อขอความร่วมมือประชาชนในละแวกนั้นออกมาดู เพื่อรู้ว่าภายในท่อมีอะไรอุดตันอยู่บ้าง เพราะบางแห่งมีไขมันอุดตันแสดงว่าบ้านเรือนแถวนั้นทิ้งไขมันลงมาจึงเกิดการอุดตัน ดังนั้น จะได้เห็นว่าเราให้ความร่วมมือไม่ใช่ลอกท่ออย่างเดียว แต่ประชาชนให้ความร่วมมือในการตั้งบ่อดักไขมัน จึงเกิดการสร้างความร่วมมือกันทั้ง 2 ฝ่าย” นาย
ชัชชาติกล่าว
นาย
ชัชชาติกล่าวว่า ส่วนกรณีที่ผู้อำนวยการ สนน.บอกว่าลอกเพียงแค่ 2 คลองนั้น คือถูกต้อง เพราะนั่นคือคลองหลัก แต่คลองย่อยที่สำนักงานเขตดูแลลอกท่อไปประมาณ 40 คลอง ก็เป็นสิ่งที่ผู้อำนวยการ สนน.พูดถูกต้อง เพราะพูดในฐานะที่ดูแลคลองหลัก แต่ตนอาจจะสื่อสารผิดเองและไม่เข้าใจกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กทม.ได้ตั้งเป้าหมายและงบประมาณไว้หรือไม่ นาย
ชัชชาติกล่าวว่า เบื้องต้นตั้งเป้าหมายขุดลอกท่อ 500 กิโลเมตร โดยใช้งบประมาณ 15 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่สมเหตุสมผล ถึงแม้เอกชนจะเสนอราคาต่ำ แต่คุณภาพกลับไม่ได้ ดังนั้น ในเรื่องของราคาไม่สามารถเปรียบเทียบกับเอกชน จึงมั่นใจว่าราชทัณฑ์จะทำได้ดีกว่า
“กทม.จะเริ่มจ้างกรมราชทัณฑ์ในการลอกท่อระบายน้ำโดยนักโทษชั้นเยี่ยมเป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้ โดยการจ้างแรงงานนักโทษดังกล่าวผ่านกระบวนการระหว่างรัฐ ตามกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน ปี 2563 โดยไม่ต้องเข้ากระบวนการ e-bidding ซึ่งก่อนหน้านี้ที่ กทม.ไม่สามารถจ้างกรมราชทัณฑ์ได้ เนื่องจากมีเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ.2560” นาย
ชัชชาติกล่าว
ด้าน นาย
อายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า จากนี้กรมราชทัณฑ์จะคัดเลือกผู้ต้องขังชั้นดีเยี่ยม 1,000 คน จากกรมราชทัณฑ์ 10 แห่ง โดยผู้ต้องขังจะต้องตรวจหาเชื้อโควิดด้วย ATK ทั้งก่อนออกมาและก่อนเข้าไป และได้รับวัคซีนครบโดสแล้วทุกคน และต้องสมัครใจที่จะออกมาทำงาน ซึ่งผู้ต้องขังจะได้รับค่าจ้างร้อยละ 70 เพื่อเก็บออม และเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสังคม โดยจะได้รับสิทธิทุกอย่างอย่างเท่าเทียม
เปิดดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทย ครั้งแรก พบ 3 ปัง 10 พัง ใน 5 ปีข้างหน้า
https://ch3plus.com/news/economy/morning/294830
รองศาสตราจารย์ ดร.
อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผย ดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทย (Durian Risk Index: DURI) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อประเมินสถานการณ์ทุเรียนไทย โดย DURI < 50 หมายถึงสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงน้อย DURI = 50 หมายถึงปกติ และ DURI > 50 หมายถึง มีความเสี่ยงมาก โดยเกณฑ์การพิจารณา ประกอบด้วย Zero covid การขนส่ง ผลผลิตไทย ความสัมพันธ์ไทย-จีน คุณภาพทุเรียนผลผลิตเพื่อนบ้าน การผูกขาดของพ่อค้าคนกลาง แรงงาน การสวมสิทธิทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน และสภาพภูมิอากาศ
พบว่า สถานการณ์ทุเรียนในปี 2562-2563 มีความเสี่ยงน้อย แต่อีก 5 ปี ข้างหน้าจะมีโอกาสความเสี่ยงสูง ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเนื้อที่เพาะปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าทุกภาคในประเทศไทย และผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 70,703 ตันต่อปี โดยในปี 2564 เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น 6 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2554 เนื่องจากปลูกทุเรียนแทนพืชอื่น
ส่วนปี 2565-2569 หรือ 5 ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 337,648 ตันต่อปี หรือ 5 เท่าจากช่วงปี 2554-2564
โดยราคาทุเรียนหมอนทองที่เกษตรกรขายได้ที่สวน เฉลี่ยทั้งประเทศ ปี 2554-2556 ราคาเพิ่มเฉลี่ย 5.5 บาท/กก. และลดลงในปี 2557 จากผลผลิตทุเรียนที่เพิ่มขึ้น และการขยายพื้นที่เพาะปลูก ก่อนที่ช่วงปี 2558-2564 ราคาเพิ่มเฉลี่ย 11.4 บาท/กก.
ซึ่งราคาทุเรียนหมอนทองที่เกษตรกรขายในสวน เฉลี่ยทั้งประเทศในปี 2569 จะอยู่ที่ประมาณ 149 บาท/กก. ส่วนราคาทุเรียนขายหน้าสวน ในอีก 5 ปีข้างหน้าเฉลี่ยประมาณ 136 บาท/กก.
หากจีนนำเข้าทุเรียนไทยน้อยกว่า 10% ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2569 ประมาณ 312 บาท/กก. ซึ่งเฉลี่ยราคาในปี 2565-2569 ประมาณ 271 บาท/กก. ถ้านำเข้าเพิ่ม 10-15% ราคาขายส่ง ปี 2569 ประมาณ 362 บาท/กก. และเฉลี่ยราคาในปี 2565-2569 ประมาณ 313 บาท/กก. และหากนำเข้าเพิ่มมากกว่า 15% ปี 2569 ประมาณ 417 บาท/กก. เฉลี่ยราคา 5 ปีข้างหน้า ประมาณ 361 บาท/กก.
ส่วนราคาตามดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทย หรือ DURI ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2569 ประมาณ 238 บาท/กก. เฉลี่ยราคาในปี 2565-2569 ประมาณ 212 บาท/กก.
ส่วนทุเรียนโลก 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าผลผลิตทุเรียนโลกเพิ่มเฉลี่ย 131,303 ตันต่อปี การส่งออกเพิ่มเฉลี่ย 61,576 ตันต่อปี และช่วง 5 ปี ข้างหน้า ผลผลิตทุเรียนโลก เพิ่ม 1.8 เท่า ส่งออกทุเรียนโลกเพิ่ม 2.2 เท่า บริโภคในประเทศเพิ่ม 1.7 เท่า โดยผลผลิตเพิ่มเฉลี่ย 612,276 ตันต่อปี การส่งออกเพิ่มเฉลี่ย 273,937 ตันต่อปี
ซึ่งปี 2569 ไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกหลัก โดยส่งออกทุเรียนเพิ่มขึ้น 90.43% จากปี 2565 ขณะที่เวียดนามส่งออกเพิ่มขึ้น 156.06% ตามผลผลิตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 7 แสนตันในปี 2569
ทั้งนี้พบว่าผลผลิตทุเรียนไทย 5 ปีข้างหน้าเพิ่ม 2.4 เท่า หรืออยู่ที่ 2,904,697 ตัน และ ในปี 2569 จะส่งออกเพิ่มขึ้น 2.1 เท่า (1,905,584 ตัน) บริโภคในประเทศเพิ่ม 3.3 เท่า (999,114 ตัน) จากปี 2564
สำหรับอนาคตทุเรียนไทย 5 ปี ข้างหน้า จะ ปังหรือพัง ก็เรียกว่า 3 ปัง 10 พัง โดย 3 ปัง ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับจีน
2. ผู้บริโภคจีนมีความต้องการสูง
3. คุณภาพทุเรียนดี ไม่มีทุเรียนอ่อน
ส่วน 10 พัง ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ไทย-จีนมีปัญหา
2. คุณภาพของทุเรียนอ่อน/แก่เกินไป
3. ทุเรียนจากจีนและประเทศเพื่อนบ้าน
4. สวมสิทธิ์ทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน
5. การขนส่งมีปัญหา
6. ตลาดถูกควบคุมโดยล้ง
7. สภาพภูมิอากาศ
8. ขาดแคลนแรงงาน
9. โรคระบาด
10. ผลผลิตไทยเพิ่มมากขึ้น
JJNY : ทัวร์เยือนเพจ"ประยุทธ์"│ชัชชาติเผยลอกคลองแล้ว40สาย│ทุเรียนไทยพบ3ปัง10พัง5ปีหน้า│“อียู”ซัด“มอสโก”ต้นตอวิกฤติอาหาร
https://www.thairath.co.th/news/society/2412726
เฟซบุ๊กเพจนายกฯ "ประยุทธ์" ลืมปิดคอมเมนต์ รถทัวร์ขนคนมาเยือนเพียบ ก่อนปิดกั้นไม่ให้แสดงความเห็นอีกครั้ง
วันที่ 7 มิ.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กเพจ "ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha" ซึ่งเป็นของนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ ในช่วงค่ำของวันที่ 6 มิ.ย.65 แต่กลับลืมปิดคอมเมนต์ ทำให้มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ก่อนที่ต่อมา จะมีการปิดกั้นไม่ให้แสดงความคิดเห็นได้อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม เฟซบุ๊กเพจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการปิดคอมเมนต์ ไม่ให้แสดงความคิดเห็นได้ หลังจากที่เปิดเพจมาไม่นาน.
ที่มาจาก เฟซบุ๊กเพจ ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha
เคาะแล้ว! ผู้ต้องขังลอกท่อทั่วกรุง 500 กม.แรก เริ่ม 1 ก.ค. ชัชชาติเผยลอกคลองแล้ว 40 สาย
https://www.matichon.co.th/bkkpataya/governorbkk/news_3386912
เคาะแล้ว! ผู้ต้องขังลอกท่อทั่วกรุง ตั้งเป้า 500 กม.แรก 15 ล. เริ่ม 1 ก.ค.นี้ ชัชชาติเผย กทม.ลอกคลองแล้ว 40 แห่ง
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ห้องประชุมชีนิมิตร ชั้น 6 สำนักการระบายน้ำ (สนน.) ศาลาว่าการ กทม.2 (ดินแดง) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงภายหลังการประชุมหารือระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และกรมราชทัณฑ์ เรื่องการดำเนินงานล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำในกรุงเทพมหานคร ว่า
วันนี้เป็นการร่วมมือตามแนวคิดของ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ได้มีดำริให้มีการร่วมมือกันในการลอกท่อระบายน้ำโดยผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์ ในวันนี้จึงได้เชิญอธิบดีกรมราชทัณฑ์มาปรึกษาหารือเนื่องจากที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ โดยชาวบ้านพบว่า ผู้ต้องขังลอกท่อระบายน้ำได้ดี และสามารถทำให้ผู้ต้องขังทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ต้องมีการเน้นย้ำว่า การจ้างผู้ต้องขังต้องมีหลักสิทธิมนุษยชน และปฏิบัติเหมือนคนปกติ ทั้งเรื่องค่าแรงและสวัสดิการ และต้องมาทำด้วยความสมัครใจ
นายชัชชาติกล่าวว่า ปัจจุบัน กทม.มีท่อระบายน้ำที่จำเป็นต้องลอก 6,500 กิโลเมตร (กม.) โดย สนน.ดูแลเส้นเลือดใหญ่อยู่ประมาณ 2,000 กม. และแต่ละเขตดูแลเส้นเลือดฝอยที่เป็นท่อย่อยประมาณ 4,500 กม. ซึ่งปีนี้ลอกไปแล้วประมาณ 2,000 กม. แต่ในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2565 ยังพอมีงบประมาณเหลืออยู่ จึงได้หารือกับอธิบดีกรมราชทัณฑ์ โดยให้กรมราชทัณฑ์ดำเนินการ เริ่มในวันที่ 1 ก.ค.นี้ ให้ทำให้มากที่สุด โดยจะให้เขตแต่ละแห่งหาจุดที่ต้องลอกมา และดูตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ กทม.สามารถจ้างกรมราชทัณฑ์โดยตรงได้ เพราะเป็นรัฐบาล-รัฐบาล (G2G) แต่หากสามารถทำได้ก่อน 1 ก.ค.จะเป็นเรื่องดี เพราะปัญหาน้ำท่วมประชาชนไม่รอ
“ในช่วงระหว่างการลอกท่อขอความร่วมมือประชาชนในละแวกนั้นออกมาดู เพื่อรู้ว่าภายในท่อมีอะไรอุดตันอยู่บ้าง เพราะบางแห่งมีไขมันอุดตันแสดงว่าบ้านเรือนแถวนั้นทิ้งไขมันลงมาจึงเกิดการอุดตัน ดังนั้น จะได้เห็นว่าเราให้ความร่วมมือไม่ใช่ลอกท่ออย่างเดียว แต่ประชาชนให้ความร่วมมือในการตั้งบ่อดักไขมัน จึงเกิดการสร้างความร่วมมือกันทั้ง 2 ฝ่าย” นายชัชชาติกล่าว
นายชัชชาติกล่าวว่า ส่วนกรณีที่ผู้อำนวยการ สนน.บอกว่าลอกเพียงแค่ 2 คลองนั้น คือถูกต้อง เพราะนั่นคือคลองหลัก แต่คลองย่อยที่สำนักงานเขตดูแลลอกท่อไปประมาณ 40 คลอง ก็เป็นสิ่งที่ผู้อำนวยการ สนน.พูดถูกต้อง เพราะพูดในฐานะที่ดูแลคลองหลัก แต่ตนอาจจะสื่อสารผิดเองและไม่เข้าใจกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กทม.ได้ตั้งเป้าหมายและงบประมาณไว้หรือไม่ นายชัชชาติกล่าวว่า เบื้องต้นตั้งเป้าหมายขุดลอกท่อ 500 กิโลเมตร โดยใช้งบประมาณ 15 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่สมเหตุสมผล ถึงแม้เอกชนจะเสนอราคาต่ำ แต่คุณภาพกลับไม่ได้ ดังนั้น ในเรื่องของราคาไม่สามารถเปรียบเทียบกับเอกชน จึงมั่นใจว่าราชทัณฑ์จะทำได้ดีกว่า
“กทม.จะเริ่มจ้างกรมราชทัณฑ์ในการลอกท่อระบายน้ำโดยนักโทษชั้นเยี่ยมเป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้ โดยการจ้างแรงงานนักโทษดังกล่าวผ่านกระบวนการระหว่างรัฐ ตามกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน ปี 2563 โดยไม่ต้องเข้ากระบวนการ e-bidding ซึ่งก่อนหน้านี้ที่ กทม.ไม่สามารถจ้างกรมราชทัณฑ์ได้ เนื่องจากมีเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ.2560” นายชัชชาติกล่าว
ด้าน นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า จากนี้กรมราชทัณฑ์จะคัดเลือกผู้ต้องขังชั้นดีเยี่ยม 1,000 คน จากกรมราชทัณฑ์ 10 แห่ง โดยผู้ต้องขังจะต้องตรวจหาเชื้อโควิดด้วย ATK ทั้งก่อนออกมาและก่อนเข้าไป และได้รับวัคซีนครบโดสแล้วทุกคน และต้องสมัครใจที่จะออกมาทำงาน ซึ่งผู้ต้องขังจะได้รับค่าจ้างร้อยละ 70 เพื่อเก็บออม และเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสังคม โดยจะได้รับสิทธิทุกอย่างอย่างเท่าเทียม
เปิดดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทย ครั้งแรก พบ 3 ปัง 10 พัง ใน 5 ปีข้างหน้า
https://ch3plus.com/news/economy/morning/294830
รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผย ดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทย (Durian Risk Index: DURI) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อประเมินสถานการณ์ทุเรียนไทย โดย DURI < 50 หมายถึงสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงน้อย DURI = 50 หมายถึงปกติ และ DURI > 50 หมายถึง มีความเสี่ยงมาก โดยเกณฑ์การพิจารณา ประกอบด้วย Zero covid การขนส่ง ผลผลิตไทย ความสัมพันธ์ไทย-จีน คุณภาพทุเรียนผลผลิตเพื่อนบ้าน การผูกขาดของพ่อค้าคนกลาง แรงงาน การสวมสิทธิทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน และสภาพภูมิอากาศ
พบว่า สถานการณ์ทุเรียนในปี 2562-2563 มีความเสี่ยงน้อย แต่อีก 5 ปี ข้างหน้าจะมีโอกาสความเสี่ยงสูง ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเนื้อที่เพาะปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าทุกภาคในประเทศไทย และผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 70,703 ตันต่อปี โดยในปี 2564 เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น 6 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2554 เนื่องจากปลูกทุเรียนแทนพืชอื่น
ส่วนปี 2565-2569 หรือ 5 ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 337,648 ตันต่อปี หรือ 5 เท่าจากช่วงปี 2554-2564
โดยราคาทุเรียนหมอนทองที่เกษตรกรขายได้ที่สวน เฉลี่ยทั้งประเทศ ปี 2554-2556 ราคาเพิ่มเฉลี่ย 5.5 บาท/กก. และลดลงในปี 2557 จากผลผลิตทุเรียนที่เพิ่มขึ้น และการขยายพื้นที่เพาะปลูก ก่อนที่ช่วงปี 2558-2564 ราคาเพิ่มเฉลี่ย 11.4 บาท/กก.
ซึ่งราคาทุเรียนหมอนทองที่เกษตรกรขายในสวน เฉลี่ยทั้งประเทศในปี 2569 จะอยู่ที่ประมาณ 149 บาท/กก. ส่วนราคาทุเรียนขายหน้าสวน ในอีก 5 ปีข้างหน้าเฉลี่ยประมาณ 136 บาท/กก.
หากจีนนำเข้าทุเรียนไทยน้อยกว่า 10% ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2569 ประมาณ 312 บาท/กก. ซึ่งเฉลี่ยราคาในปี 2565-2569 ประมาณ 271 บาท/กก. ถ้านำเข้าเพิ่ม 10-15% ราคาขายส่ง ปี 2569 ประมาณ 362 บาท/กก. และเฉลี่ยราคาในปี 2565-2569 ประมาณ 313 บาท/กก. และหากนำเข้าเพิ่มมากกว่า 15% ปี 2569 ประมาณ 417 บาท/กก. เฉลี่ยราคา 5 ปีข้างหน้า ประมาณ 361 บาท/กก.
ส่วนราคาตามดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทย หรือ DURI ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2569 ประมาณ 238 บาท/กก. เฉลี่ยราคาในปี 2565-2569 ประมาณ 212 บาท/กก.
ส่วนทุเรียนโลก 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าผลผลิตทุเรียนโลกเพิ่มเฉลี่ย 131,303 ตันต่อปี การส่งออกเพิ่มเฉลี่ย 61,576 ตันต่อปี และช่วง 5 ปี ข้างหน้า ผลผลิตทุเรียนโลก เพิ่ม 1.8 เท่า ส่งออกทุเรียนโลกเพิ่ม 2.2 เท่า บริโภคในประเทศเพิ่ม 1.7 เท่า โดยผลผลิตเพิ่มเฉลี่ย 612,276 ตันต่อปี การส่งออกเพิ่มเฉลี่ย 273,937 ตันต่อปี
ซึ่งปี 2569 ไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกหลัก โดยส่งออกทุเรียนเพิ่มขึ้น 90.43% จากปี 2565 ขณะที่เวียดนามส่งออกเพิ่มขึ้น 156.06% ตามผลผลิตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 7 แสนตันในปี 2569
ทั้งนี้พบว่าผลผลิตทุเรียนไทย 5 ปีข้างหน้าเพิ่ม 2.4 เท่า หรืออยู่ที่ 2,904,697 ตัน และ ในปี 2569 จะส่งออกเพิ่มขึ้น 2.1 เท่า (1,905,584 ตัน) บริโภคในประเทศเพิ่ม 3.3 เท่า (999,114 ตัน) จากปี 2564
สำหรับอนาคตทุเรียนไทย 5 ปี ข้างหน้า จะ ปังหรือพัง ก็เรียกว่า 3 ปัง 10 พัง โดย 3 ปัง ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับจีน
2. ผู้บริโภคจีนมีความต้องการสูง
3. คุณภาพทุเรียนดี ไม่มีทุเรียนอ่อน
ส่วน 10 พัง ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ไทย-จีนมีปัญหา
2. คุณภาพของทุเรียนอ่อน/แก่เกินไป
3. ทุเรียนจากจีนและประเทศเพื่อนบ้าน
4. สวมสิทธิ์ทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน
5. การขนส่งมีปัญหา
6. ตลาดถูกควบคุมโดยล้ง
7. สภาพภูมิอากาศ
8. ขาดแคลนแรงงาน
9. โรคระบาด
10. ผลผลิตไทยเพิ่มมากขึ้น