ให้พวกทะแนะมาเป็นทนาย เอาเรื่องมโนมาตั้งข้อหา จบคดีหลายคนจะหาทางกลับบ้านไม่ถูก อย่ามาแก้เขินภายหลังว่าเป็นอุบัติเหตุ

พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ

คดีแตงโมสักนิด เพราะตอนนี้ใครก็พูดถึงกันผมจึงอยากขอมีเอี่ยวสักนิดครับ
..
1) การดำเนินคดีอาญา ระบบของไทยอนุญาตให้ผู้เสียหาย/ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายฟ้องคดีเองต่อศาลได้โดยตรงหรือจะกล่าวโทษ/ร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแทนก็ได้ ระบบหลังนี่จะเรียกว่าระบบดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ
.
2) ในกรณีของแตงโม ในเบื้องต้นพนักงานสอบสวนตำรวจรวบรวมหลักฐานแล้วเสนอต่ออัยการพิจารณา ข้อหาประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ( ไม่ใช่เจตนาฆ่าทำให้มีการวิพากย์วิจารณ์ มากมาย และมีขาประจำเข้ามาวิจารณ์ตำรวจอย่างหนัก )
.
3) ต่อมาแม่ของผู้ตายจะฟ้องคดีอาญาเอง ซึ่ง ก็เป็นไป ตาม ป.วิ.อาญา ม.28 ซึ่งไม่ตัดสิทธิอัยการที่จะดำเนินคดีต่อไป ( แต่อัยการอาจขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ซึ่งโดยทั่วไปอัยการจะไม่ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมเว้นแต่จะเป็นคดีสำคัญอย่างยิ่ง)
.
4)หากไม่มีการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ผลที่ตามมาคือ อัยการและผู้จัดการแทนผู้เสียหายก็ต่างคนต่างดำเนินคดีอาญาในการกระทำกรรมเดียวกัน โดยในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องก็ดำเนินคดีไปโดยใช้สำนวนและหลักฐานของพนักงานสอบสวน ส่วนฝ่ายแม่คุณแตงโมก็ใช้หลักฐานของตน ที่จะต่างกัน คือ คดีแม่คุณแตงโมฟ้องจะต้องไต่สวนมูลฟ้องหากมีมูลศาลจึงประทับฟ้อง ในขณะที่อัยการฟ้องศาลก็ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง
.
5) หากคดีใดพิจารณาเสร็จก่อน ก็ถือว่าคดีทุกคดีต้องยุติลง ตามหลักการที่ว่าจำเลยต้องได้รับความทุกข์ทรมานจากการดำเนินคดีอาญาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำไม่ได้ ดังนั้น หากมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้องแล้ว ย่อมจะฟ้องอีกไม่ได้ คดีใครจะเสร็จก่อน?

6) คำถาม คือ ผู้เสียหายจะขอให้ศาลสั่งให้เอาหลักฐานในสำนวนการสอบสวนส่งมอบให้ผู้เสียหายที่ฟ้องเองได้หรือไม่ ผมเข้าใจว่าใน ป.วิ.อาญา กำหนดให้อำนาจศาลสามารถเรียกสำนวนคดีจากอัยการทั้งหมดได้แต่ต้องหลังจากสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ศาลจึงเรียกสำนวนมาดูเพื่อความกระจ่างเท่านั้น ผมจึงเห็นว่าจะไม่มีการส่งมอบสำนวนของตำรวจให้ฝ่ายผุ้เสียหาย
.
7) ผู้เสียหายใช้สิทธิขอให้ตำรวจเปิดเผยสำนวนหลักฐานได้หรือไม่ คำตอบ คือไม่ได้เพราะเมื่อมีการดำเนินคดี สำนวนหลักฐานจะเป็นความลับ เพราะหากเปิดเผยย่อมทำให้ทนายความของคูความอีกฝ่ายทราบแนวทางและหลักฐาน กระบวนพิจารณาย่อมเสื่อมเสีย ดังนั้น โดยหลักการตาม หลัก พรบ.ข้อมูลข่าวสาร ฯ จึงรับรองว่าไม่ต้องเปิดเผย
.
  ผู้เสียหายต้องแสวงหาพยานหลักฐานเอง ซึ่งค่อนข้างยาก และยังต้องไต่สวนมูลฟ้อง คดีน่าจะเดินได้ช้ามากพอสมควร ดังนั้น จึงต้องพิจารณาว่าการระดมแย่งกันมาฟ้องมีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัร ผมเห็นว่าเสียหายมากโดยเฉพาะค่าทนายความในการฟ้องศาล และเสียเวลาเพราะคดีต้องเข้าระบบรางหรือกำหนเก่อนหลังในการพิจารณาคดี โอกาสที่คดีอัยการจะเสร็จก่อนจึงมากกว่า
.
9) หากแม่แตงโมไม่เห็นด้วยกับการดำเนินคดีของตำรวจควรดำเนินการอย่างไร กรณีเคยมีคำพิพากษารองรับไว้ว่าอัยการสามารถนำหลักฐานที่ไม่ผ่านการสอบสวนเสนอต่อศาลได้ ดังนั้น การร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการ แาจจะเป็นทางออกที่ดี ซึ่งอัยการอาจจะสั่งให้พนักงานสอบสวนเพิ่มเติม หรือกรณีคดีอยู่ชั้นพิจารณาแล้วอัยการก็อาจจะขอเสนอพยานหลักฐานนั่นต่อศาลให้พิจารณาได้เช่นกัน
.
10) แม่แตงโมขอศาลเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ ไดีไหม ? ดีกว่าไปไต่สวนมูลฟ้องไหม? มีข้อจำกัดอะไรบ้างในการดำเนินกระบวนพิจารณา ถ้าในกรณีที่แม่แตงโมไม่เห็นด้วยกับตำรวจและอัยการ การเข้ามาร่วมกันคงเกิดไม่ได้ ??
..
เอาเป็นว่า ลองใจเย็นๆแล้วพิจารณาดู คดีสมัยผมทำเป็นพนักงานสอบสวน ที่วุ่นวายก็เพราะมีทะแนะเยอะเกินไปนี่แหละครับ แม่แตงโมลองพิจารณาข้อดีข้อเสียต่างๆแล้วจัดไปครั

ที่มา https://www.facebook.com/pol.kusonsinwut/posts/3237407896526513
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่