คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 24
สาธุ ท่านวินโย จขกท ที่ตั้งกระทู้มาให้พวกเราร่วมกันศึกษานะคะ _/\_
ขออนุญาต แสดงข้อมูล เพื่อให้ทุกท่านร่วมกันพิจารณานะคะ มี 4 เรื่องค่ะ
1.สัญญาเจตสิก
2.สติเจตสิก
3.สติเจตสิกในวิถีจิต
4.กฏไตรลักษณ์
1.สัญญาเจตสิก
สัญญาเจตสิก เป็นเจตสิกในกลุ่มสัพพสาธารณเจตสิก เป็นจิตพื้นฐานที่เกิดประกอบกับจิตทุกดวง ไม่ว่าจะเป็นกุศล อกุศล กิริยา วิบาก เชิญอ่าน ลักษณะสัญญาเจตสิก ตามภาพนะคะ
ทุกขณะจิต สัญญาจะมีหน้าที่จำ บันทึกๆๆๆๆ ไม่มีเว้นว่างเลย แต่คุณภาพเป็นอย่างไรก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย
_____________________________________________________
2.สติเจตสิก
ลักษณะของ สติเจตสิก ดังภาพนะคะ
สติเจตสิก เกิดได้กับ โสภณจิต(กุศลจิต) ทั่วไปในชีวิตประจำวันปกติ ระลึกรู้อารมณ์ที่อดีตสัญญาเก็บไว้ และเกิดในขณะพิจารณารูปนาม สติปัฏฐานสี่ อารมณ์เป็นปัจจุบัน
เมื่อเป็นตามนี้ เราคงไม่กล่าวว่า พระอรหันต์มีสติเป็นบางเวลา บางเรื่อง ใช่ไหมคะ
และแม้ว่า สติเจตสิก และสัญญาเจตสิก เป็นนามคนละชนิด ไม่ได้เกิดพร้อมกันตลอดเวลา แต่ก็เกี่ยวข้องกันมากทีเดียว
____________________________________________________________________
3.ในวิถีจิต
เมื่อใดที่ จิตมีการทำงาน จิตจะเกิดเรียงกันเป็นชุดตามลำดับ เรียกว่า วิถีจิต
เมื่อใด ที่จิตพักจากการทำงาน จิตก็จะไม่ได้เกิดเรียงเป็นวิถี แต่ก็จะเกิดเพื่อรักษาองค์แห่งภพไว้ เรียกว่า ภวังค์จิต เช่น เมื่อนอนหลับสนิทไม่ฝัน เป็นต้น
ในวิถีจิตแต่ละวิถี แบ่งได้เป็นช่วงๆ
ช่วงที่ 1 รับอารมณ์ที่มากระทบ (มีจิตทำหน้าที่ส่วนนี้หลายดวง)
ช่วงที่ 1 คือรับอารมณ์ที่มากระทบ อารมณ์ต่างๆ ก็คือ วิบากที่มากระทบ ซึ่งมีทั้ง กุศล และอกุศลวิบาก พระอรหันต์ต้องรับผลทั้งสองด้านตามบุพพกรรมของท่านในอดีต
ช่วงที่ 2 ตัดสินอารมณ์ (โวฏฐัพพนะจิต)
จิตดวงนี้จะตัดสินอารมณ์ทีรับมาจากช่วงที่ 1 โดยถ้าจิตมีโยนิโสมนสิการ ในทางที่ดี ก็ทำให้ ช่วงที่ 3 ชวน เป็นกุศลชวน หรือถ้าขาดโยนิโสมนสิการ ก็ทำให้ ช่วงที่ 3 เป็นอกุศลชวน
โวฏฐัพพนะจิตของพระอรหันต์ จะตัดสินไปในทางที่ดี เสมอ ทำให้ ช่วงที่ 3 ไม่เป็นอกุศลชวน เลย
ช่วงที่ 3 เสพอารมณ์ (ชวนจิต)
เป็นวิถีจิตที่เสพอารมณ์ มีทั้ง กุศล อกุศล และ กิริยาจิต (พระอรหันต์)
และชวนจิตของพระอรหันต์ เป็นกิริยาจิต ที่มี สติเจตสิก เกิดร่วมเสมอ
การทำงานในช่วงที่ 3 นี่เองที่เป็นเหตุให้เกิดการแสดงออกทั้ง วาจา กาย และเป็นเหตุให้ เกิดวิบากในอนาคต
ช่วงที่ 4 รับอารมณ์ที่เหลือจากช่วงที่ 3
........................
ถ้าพระอรหันต์ไม่หลับสนิท จิตท่านจะทำงานเป็นวิถี และมีชวน เป็นกิริยาจิตที่มีสติเกิดร่วมเสมอ (อาจมีข้อยกเว้นเช่น ท่านเข้านิโรธสมาบัติ ที่จิตเจตสิกดับหมด)
กิริยาจิตของพระอรหันต์ ก็จะเป็นปัจจัยให้ การแสดงออกทางกาย วาจา ใจ เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศลเลย
หากมีการกล่าวว่า พระอรหันต์ แสดงออกทางวาจาหรือกาย แต่จิตท่านไม่รู้อะไรด้วยกับการแสดงออก
ก็เท่ากับว่า กาย วาจา สามารถเคลื่อนไหวได้อิสระจากจิต
ถ้าเช่นนั้นเราก็ต้องมาช่วยกันหาว่า กาย วาจา ท่าน มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย มีหลักฐานอะไรบ้างไหมมาสนับสนุนคำกล่าวนี้
____________________________________________________________________
4.กฏไตรลักษณ์
เราทบทวนนิยามของกฏไตรลักษณ์กันนะคะ
สติเจตสิก สัญญาเจตสิก เป็นนามธรรมที่อยู่ในกฏไตรลักษณ์ มีลักษณะไม่เที่ยง ไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ ไม่มีตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของสิ่งใด
นั่นคือ สติ และสัญญา มีสภาพเกิดดับๆๆๆ ด้วยความรวดเร็วมาก มีความแปรปรวนตลอดเวลา
คำว่า สัญญาไม่เที่ยง ไม่ได้แปลว่า จำไม่ได้ หรือ หลงลืม หรือ ความจำเสื่อม เหมือนที่เรามักจะพูดเล่นกันเป็นข้ออ้างในเวลาที่เราลืมอะไร
ุถ้าสัญญาไม่เที่ยงแปลว่ามีความเสื่อม ดังนั้น จิต เจตสิกของผู้ที่เจริญภาวนาจนบรรลุธรรม เพราะเหตุใดจึงไม่เสื่อมตามกฏนี้
และ สัญญาไม่เที่ยง ก็ไม่ได้หมายความว่ามีการกวัดแกว่งไปมาแบบสุ่ม วันนี้จำดี วันนี้จำไม่ดี
แต่จริงๆ สัญญาเจตสิกจะเป็นอย่างไรล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย
ในศาสนาพุทธ เราไม่อ้างกฏไตรลักษณ์ โดยเพิกเฉยกฏของเหตุปัจจัย ใช่ไหมคะ
_____________________________________________________________
บุคคลจะเป็นไปอย่างไร ก็เป็นไปตามขั้นตอนในสังคม แต่ที่สำคัญคือ ร่วมกันเรียนรู้หลักการที่ถูกต้องจากหลักฐานที่พอจะหาได้นะคะ
หากมีข้อผิดพลาดยินดีรับฟังคำชี้แนะค่ะ
_/\_
ขออนุญาต แสดงข้อมูล เพื่อให้ทุกท่านร่วมกันพิจารณานะคะ มี 4 เรื่องค่ะ
1.สัญญาเจตสิก
2.สติเจตสิก
3.สติเจตสิกในวิถีจิต
4.กฏไตรลักษณ์
1.สัญญาเจตสิก
สัญญาเจตสิก เป็นเจตสิกในกลุ่มสัพพสาธารณเจตสิก เป็นจิตพื้นฐานที่เกิดประกอบกับจิตทุกดวง ไม่ว่าจะเป็นกุศล อกุศล กิริยา วิบาก เชิญอ่าน ลักษณะสัญญาเจตสิก ตามภาพนะคะ
ทุกขณะจิต สัญญาจะมีหน้าที่จำ บันทึกๆๆๆๆ ไม่มีเว้นว่างเลย แต่คุณภาพเป็นอย่างไรก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย
_____________________________________________________
2.สติเจตสิก
ลักษณะของ สติเจตสิก ดังภาพนะคะ
สติเจตสิก เกิดได้กับ โสภณจิต(กุศลจิต) ทั่วไปในชีวิตประจำวันปกติ ระลึกรู้อารมณ์ที่อดีตสัญญาเก็บไว้ และเกิดในขณะพิจารณารูปนาม สติปัฏฐานสี่ อารมณ์เป็นปัจจุบัน
เมื่อเป็นตามนี้ เราคงไม่กล่าวว่า พระอรหันต์มีสติเป็นบางเวลา บางเรื่อง ใช่ไหมคะ
และแม้ว่า สติเจตสิก และสัญญาเจตสิก เป็นนามคนละชนิด ไม่ได้เกิดพร้อมกันตลอดเวลา แต่ก็เกี่ยวข้องกันมากทีเดียว
____________________________________________________________________
3.ในวิถีจิต
เมื่อใดที่ จิตมีการทำงาน จิตจะเกิดเรียงกันเป็นชุดตามลำดับ เรียกว่า วิถีจิต
เมื่อใด ที่จิตพักจากการทำงาน จิตก็จะไม่ได้เกิดเรียงเป็นวิถี แต่ก็จะเกิดเพื่อรักษาองค์แห่งภพไว้ เรียกว่า ภวังค์จิต เช่น เมื่อนอนหลับสนิทไม่ฝัน เป็นต้น
ในวิถีจิตแต่ละวิถี แบ่งได้เป็นช่วงๆ
ช่วงที่ 1 รับอารมณ์ที่มากระทบ (มีจิตทำหน้าที่ส่วนนี้หลายดวง)
ช่วงที่ 1 คือรับอารมณ์ที่มากระทบ อารมณ์ต่างๆ ก็คือ วิบากที่มากระทบ ซึ่งมีทั้ง กุศล และอกุศลวิบาก พระอรหันต์ต้องรับผลทั้งสองด้านตามบุพพกรรมของท่านในอดีต
ช่วงที่ 2 ตัดสินอารมณ์ (โวฏฐัพพนะจิต)
จิตดวงนี้จะตัดสินอารมณ์ทีรับมาจากช่วงที่ 1 โดยถ้าจิตมีโยนิโสมนสิการ ในทางที่ดี ก็ทำให้ ช่วงที่ 3 ชวน เป็นกุศลชวน หรือถ้าขาดโยนิโสมนสิการ ก็ทำให้ ช่วงที่ 3 เป็นอกุศลชวน
โวฏฐัพพนะจิตของพระอรหันต์ จะตัดสินไปในทางที่ดี เสมอ ทำให้ ช่วงที่ 3 ไม่เป็นอกุศลชวน เลย
ช่วงที่ 3 เสพอารมณ์ (ชวนจิต)
เป็นวิถีจิตที่เสพอารมณ์ มีทั้ง กุศล อกุศล และ กิริยาจิต (พระอรหันต์)
และชวนจิตของพระอรหันต์ เป็นกิริยาจิต ที่มี สติเจตสิก เกิดร่วมเสมอ
การทำงานในช่วงที่ 3 นี่เองที่เป็นเหตุให้เกิดการแสดงออกทั้ง วาจา กาย และเป็นเหตุให้ เกิดวิบากในอนาคต
ช่วงที่ 4 รับอารมณ์ที่เหลือจากช่วงที่ 3
........................
ถ้าพระอรหันต์ไม่หลับสนิท จิตท่านจะทำงานเป็นวิถี และมีชวน เป็นกิริยาจิตที่มีสติเกิดร่วมเสมอ (อาจมีข้อยกเว้นเช่น ท่านเข้านิโรธสมาบัติ ที่จิตเจตสิกดับหมด)
กิริยาจิตของพระอรหันต์ ก็จะเป็นปัจจัยให้ การแสดงออกทางกาย วาจา ใจ เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศลเลย
หากมีการกล่าวว่า พระอรหันต์ แสดงออกทางวาจาหรือกาย แต่จิตท่านไม่รู้อะไรด้วยกับการแสดงออก
ก็เท่ากับว่า กาย วาจา สามารถเคลื่อนไหวได้อิสระจากจิต
ถ้าเช่นนั้นเราก็ต้องมาช่วยกันหาว่า กาย วาจา ท่าน มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย มีหลักฐานอะไรบ้างไหมมาสนับสนุนคำกล่าวนี้
____________________________________________________________________
4.กฏไตรลักษณ์
เราทบทวนนิยามของกฏไตรลักษณ์กันนะคะ
สติเจตสิก สัญญาเจตสิก เป็นนามธรรมที่อยู่ในกฏไตรลักษณ์ มีลักษณะไม่เที่ยง ไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ ไม่มีตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของสิ่งใด
นั่นคือ สติ และสัญญา มีสภาพเกิดดับๆๆๆ ด้วยความรวดเร็วมาก มีความแปรปรวนตลอดเวลา
คำว่า สัญญาไม่เที่ยง ไม่ได้แปลว่า จำไม่ได้ หรือ หลงลืม หรือ ความจำเสื่อม เหมือนที่เรามักจะพูดเล่นกันเป็นข้ออ้างในเวลาที่เราลืมอะไร
ุถ้าสัญญาไม่เที่ยงแปลว่ามีความเสื่อม ดังนั้น จิต เจตสิกของผู้ที่เจริญภาวนาจนบรรลุธรรม เพราะเหตุใดจึงไม่เสื่อมตามกฏนี้
และ สัญญาไม่เที่ยง ก็ไม่ได้หมายความว่ามีการกวัดแกว่งไปมาแบบสุ่ม วันนี้จำดี วันนี้จำไม่ดี
แต่จริงๆ สัญญาเจตสิกจะเป็นอย่างไรล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย
ในศาสนาพุทธ เราไม่อ้างกฏไตรลักษณ์ โดยเพิกเฉยกฏของเหตุปัจจัย ใช่ไหมคะ
_____________________________________________________________
บุคคลจะเป็นไปอย่างไร ก็เป็นไปตามขั้นตอนในสังคม แต่ที่สำคัญคือ ร่วมกันเรียนรู้หลักการที่ถูกต้องจากหลักฐานที่พอจะหาได้นะคะ
หากมีข้อผิดพลาดยินดีรับฟังคำชี้แนะค่ะ
_/\_
แสดงความคิดเห็น
ในพระไตรปิฎก มีตัวอย่างพระอริยะ พระอรหันต์ ต่อมาท่านวิกลจริต จิตฟุ้งซ่าน และ กลับมามีสติบริบูรณ์บ้างไหม ?
ร่วมกันศึกษาโดยภาพรวม เพื่อเป็นประโยชน์ ไม่ได้มุ่งหวังที่จะตำหนิพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
คำถามในกระทู้นี้ คือวัตถุประสงค์ให้ทุกท่านที่ศึกษาได้ร่วมกันค้นคว้าศึกษาหาข้อมูลนำมาเป็นคำตอบ ที่ทั้งผมและหลายคนมีข้อสงสัย
ประสงค์ถามหลายคำถาม แต่ไม่สามารถนำไปเป็นคำถามในหัวข้อกระทู้ได้ทั้งหมด จึงขอแยกคำถามเป็นข้อ ๆ ดังนี้ นะครับ
คำถามที่ ๑.
ในพระไตรปิฎก รวมถึงอรรถกถา มีตัวอย่างพระอริยะ พระอรหันต์ ต่อมาท่านวิกลจริตจิตฟุ้งซ่าน หลงลืม และ กลับมามีสติบริบูรณ์บ้างไหม ?
-----
ก่อนที่จะถามคำถามที่ ๒ ขอนำเข้าสู่วิธีการระงับอธิกรณ์สำหรับภิกษุวิกลจริตจิตฟ้งซ้าน เป็นบ้า คือ
ในการระงับอธิกรณ์ มี ๗ ข้อนั้น คือ อธิกรณสมถะ
อธิกรณสมถะ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์, วิธีดำเนินการเพื่อระงับอธิกรณ์มี ๗ อย่าง คือ
๑. สัมมุขาวินัย วิธีระงับในที่พร้อมหน้า
๒. สติวินัย วิธีระงับโดยถือสติเป็นหลัก (มีตัวอย่างการใช้วิธีนี้กับพระทัพพมัลลบุตร)ก
๓. อมูฬหวินัย วิธีระงับสำหรับผู้หายจากเป็นบ้า (มีตัวอย่างการใช้วิธีนี้กับพระอรหันต์บ้างไหม ?)
๔. ปฏิญญาตกรณะ การทำตามที่รับ
๕. ตัสสปาปิยสิกา การตัดสินลงโทษแก่ผู้ผิด (ที่ไม่รับ)
๖. เยภุยยสิกา การตัดสินตามคำของคนข้างมาก
๗. ติณวัตถารกวินัย วิธีดุจกลบไว้ด้วยหญ้า (ประนีประนอม)
ก อ้างอิง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=6&A=8004&w=%B7%D1%BE%BE
คำถามที่ ๒
อมูฬหวินัย วิธีระงับสำหรับผู้หายจากเป็นบ้า มีตัวอย่างการใช้วิธีนี้กับพระอรหันต์บ้างไหม ?
[ข้อสังเกต เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากมีตัวอย่างพระอรหันต์วิกลจริตจิตฟุ้งซ่าน ก็น่าจะมีตัวอย่างในคัมภีร์พระไตรปิฎก]
ควรนำตัวอย่างการตัดสินการล่วงละเมิดสิกขาบทของพระพุทธเจ้าที่มีมาในพระไตรปิฎก ที่เรียกว่า วินีตวัตถุข เป็นแบบอย่าง เป็นตัวอย่างในการนำมาวินิจฉัย
ขวินีตวัตถุ เรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้ว, เรื่องที่ตัดสินแล้ว ท่านแสดงไว้เป็นตัวอย่างสำหรับเทียบเคียงตัดสิน ในการปรับอาบัติ
(ทำนองคำพิพากษาของศาลสูงสุดที่นำมาศึกษากัน)
อ้างอิง : https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C7%D4%B9%D5%B5%C7%D1%B5%B6%D8&original=1
-----
ก่อนที่จะถามคำถามที่ ๓ ขอทำความเข้าใจเรื่อง รูป และ นาม พอสังเขป ดังนี้
จิต เป็น นาม
ส่วนรูปกาย เนื้อสมอง เส้นเอ็น เส้นประสาท เป็น รูป อันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔
ทั้ง ๒ อย่างนี้เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน อิงอาศัยกัน
น่าสงสัยว่า ในคำสอนของพระพุทธศาสนานั้น จิตเป็นผู้สั่งกาย หรือ กายเป็นผู้สั่งจิต ?
ให้ชัดก็คือ นามเป็นผู้สั่งรูป หรือ รูป เป็นผู้สั่งนาม หรือว่าทั้ง ๒ อย่างนี้ต่างก็ควบคุมสั่งกันไปมา ?
พระพุทธพจน์ต้อไปนี้ นำมาใช้เป็นตัวอย่างเพื่อพิจารณาได้ไหม ว่า นามสั่งรูป หรือ รูปสั่งนาม ?
นิพเพธิกสูตร
กมฺมํ ภิกฺขเว เวทิตพฺพํ ฯเปฯ กมฺมนิโรธคามินีปฏิปทา เวทิตพฺพาติ
อิติ โข ปเนตํ วุตฺตํ กิญฺเจตํ ปฏิจฺจ วุตฺตํ เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา ฯ
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม’
เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นตัวกรรม บุคคล คิดแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ
อ้างอิง : https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=16208&w=%E0%A8%B5%B9%D2%C7%E8%D2
---
อีกตัวอย่างหนึ่ง
ยมกวรรค จักขุปาลเถรวัตถุ
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ
ธรรมทั้งหลายมีใจ เป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าคนมีใจชั่ว ก็จะพูดชั่วหรือทำชั่วตามไปด้วย เพราะความชั่วนั้นทุกข์ย่อมติดตามเขาไปเหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น
ยมกวรรค มัฏฐกุณฑลีวัตถุ
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายินี ฯ
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าคนมีใจดี ก็จะพูดดีหรือทำดีตามไปด้วย เพราะความดีนั้น สุขย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตัวเขาไป ฉะนั้น
อ้างอิง : https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=10
ข้อสังเกตของผู้เขียน
ในขณะที่จิตฟุ้งซ่าน วิกลจริต เป็นบ้า จิตไม่สามารถควบคุมได้ (ไม่มีสติ ขาดสติ)
แม้ละเมิดสิกขาบทในขณะนั้น พระพุทธเจ้าไม่ให้ปรับอาบัติ ให้ภิกษุผู้ปกติดูแลรักษา ต่อเมื่อรักษาหายแล้วจึงให้ อมูฬหวินัย
การดำรงชีวิตเป็นไปคล้ายกับอยู่ด้วยสัญชาตญาณ (สัตว์ทั่วไป)
กรณีนี้ จิตที่เลอะเลือน หลงลืม ไม่สามารถสั่งรูป --> แสดงออกโดยไร้การควบคุม
หรือ เป็นการแสดงออกเพราะรูปกายสั่งจิต
คำถามที่ ๓
เป็นไปได้หรือไม่ ที่พระอริยะ พระอรหันต์ซึ่งมีสติสมบูรณ์ปราศจากกิเลสอันเศร้าหมอง (จิต คือ นาม ปราศจากกิเลส)
แล้วต่อมามีสภาพเป็นผู้วิกลจริต จิตฟุ้งซ่าน เบ็นบ้า (จิตเศร้าหมอง) เพราะเหตุปัจจัยจากรูป (ธาตุ ๔) แปรปรวน
มีตัวอย่างในพระไตรปิฎกหรือไม่
หมายเหตุ คำถามนี้ แยกออกมาจากข้อ ๑ เพื่อให้นำความรู้ ความชำนาญทางการแพทย์ ร่วมวินิจฉัย โดยไม่ทิ้งหลักธรรม
----
คำถามที่ ๔
ถ้าพระอริยะ พระอรหันต์ ตกเป็นผู้วิกลจริต จิตฟุ้งซ่าน เป็นบ้า และกระทำกาละในระหว่างที่ยังไม่หายจากอาการนั้น
ในขณะนั้นจิตของท่านเศร้าหมอง หรือ ปราศจากกิเลส ?
และ ท่านจะเข้าสู่ อนุปาทิเสสนิพพานได้อย่างไร ? (ข้อนี้ นักอภิธรรม น่าจะอธิบายคำตอบได้)
ศึกษาค้นคว้าวินิจฉัยไปตามธรรม อิงอรรถอิงธรรม อิงวินัย โดยวางบุคคล ลงก่อนนะครับ
ขอบคุณมากครับ