คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
ขออนุญาตเสนอความเห็นนะครับ
การฝึกจิต หรือการฝึกวิปัสสนา
เป็นการฝึกสติ และฝึกให้จิตมีปัญญา
ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น รับทราบสิ่งที่มากระทบผัสสะตามความเป็นจริง โดยไม่ปรุงแต่ง
ฝึกให้จิตอ่อนโยน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา ละการเบียดเบียน
ไม่ได้ฝึกให้จิต ไปตามดูตามรู้นิมิต เช่น นรก สวรรค์
การฝึกจิต ต้องการกำลังของสติ และ ต้องการกำลังของฌาน หรือ ญาณ
หากวันใดวันหนึ่ง ชีวิตพบเจอวิบาก ไม่ว่าจะเป็นจาก โรคทางสมอง หรือสมองเสื่อมด้วยโรคชรา
การฝึกจะหยุดลงตรงนั้น จิตพัฒนาปล่อยวางได้แค่ไหน ก็ได้แค่นั้น
ฝึกไปต่อไม่ได้ เพราะการไปต่อ หรือ การพัฒนาจิต ยังต้องการกำลังของสติ ฌาน และ ญาณ
การวัดผลการฝึก มีหลายระดับ
- ระดับความคิด สำหรับคนทั่วไป อย่างเราๆท่านๆ
- ระดับพระโสดาบัน สมาธิพอประมาณ ปัญญาพอประมาณ ละสังโยชน์ข้อ 1-3
- ระดับพระสกทาคามี สมาธิพอประมาณ ปัญญาพอประมาณ เบาบางสังโยชน์ข้อ 4,5
- ระดับพระอนาคามี สมาธิสมบูรณ์ ปัญญาพอประมาณ ละสังโยชน์ข้อ 4-5
- ระดับพระอรหันต์ สมาธิสมบูรณ์ ปัญญาสมบูรณ์ ละสังโยชน์ข้อ 6-10
การฝึกจิต ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ
ฝึกจิตให้เข้าใจพระสัจธรรมที่ว่า
ธรรมทั้งปวง ใครๆไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งปวง มีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ มีเสื่อมไป สลายไปเป็นธรรมดา ไม่เที่ยง
ใครไปยึดมั่นในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ย่อมเป็นทุกข์
สำหรับท่านที่ฝึกจิต จนถึงระดับพระอนาคามีแล้ว
มีสติสมบูรณ์แล้ว แต่ยังมีกิเลสอย่างละเอียดที่ต้องละอีก 5 ข้อ ตามสังโยชน์ข้อ 6-10
การละกิเลสอย่างละเอียด จำเป็นต้องใช้กำลังของสติ ที่มีความเร็วมากขึ้น
เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของจิต การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์กับความคิด ได้ทัน
ดังนั้นหากสติไม่สมบูรณ์ สัญญา (ความจำได้หมายรู้) ไม่สมบูรณ์
การฝึกของชาตินี้ ก็ต้องจบลงเพียงแค่นี้
สำหรับจิตของท่านที่ฝึกมาจนละกิเลส ตามสังโยชน์ได้ถึง 5 ข้อแล้ว จะยังละกิเลส 5 ข้อแรกได้อยู่หรือไม่
คำตอบอยู่ที่ เราเข้าใจธรรมชาติของจิตหรือไม่
ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของจิต
ท่านใดที่ฝึกจิตถึงระดับพระโสดาบันแล้ว
จะรับรู้ความรู้สึกได้ว่า การไม่ถอยหลังกลับ คือ อะไร
สิ่งใดที่ละได้แล้ว ตัดได้แล้ว จะทำอีกไม่ได้ โกหกอีกไม่ได้ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ไม่ได้ ผิดศีลอีก 3 ข้อก็ไม่ได้
คำว่าไม่ได้ เกินกว่าระดับความคิด เป็นการทำไม่ได้ระดับจิต
อารมณ์เหมือนในหนัง black widow ที่นาตาชา ไม่สามารถทำร้ายตัวร้ายหลักบนยานได้ แบบนั้นเลย
ถ้าอยากจะถอยหลัง ก็ต้องใช้สติ กับกำลังของ ฌานกับญาณ เช่นกัน
หากสติไม่สมบูรณ์ ความจำเสื่อมถอย ฝึกสติไม่ได้ ฝึกฌานกับญาณไม่ได้
ก็ย้อนกลับไม่ได้ สภาวะจิตของท่านก็ยังเป็นระดับพระอริยะเจ้าอยู่
เพียงแต่คนภายนอกอย่างเราๆ ท่าน สังเกตไม่ออกแล้ว
ทีนี้ สำหรับพระอรหันต์ล่ะ จะแตกต่างไปนิดหน่อย
คำว่าสติสมบูรณ์ คือ ระลึกรู้สึกตัวตลอดเวลา เกินกว่าสติอัตโนมัติไปเยอะ
ระดับที่หลวงปู่ หลวงพ่อ ท่านเคยบอกว่า นอนหลับก็ไม่ฝัน ประมาณนั้น
เมื่อสติสมบูรณ์ การตรวจจับกิเลสอย่างละเอียด ในระหว่างวันก็ง่ายขึ้น
เมื่อเจอกิเลส ก็สามารถละกิเลสด้วยกำลังของ ฌาน หรือ ญาณ ได้
ปัญหาสำคัญ คือ เราจะมีโอกาสเจอกิเลสอย่างละเอียดเหล่านั้นเมื่อไร
- รูปราคะ
- อรูปราคะ
- มานะ
- อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
- อวิชชา
การละสังโยชน์ข้อ 6-8 คือ การไม่ยึดติดกับสิ่งที่นำเรามาถึงในปัจจุบัน
การละความฟุ้งซ่าน คือ การละวาง ปล่อยวาง เข้าใจธรรมชาติของ ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ส่วนอวิชชา คือ อะไร อันนี้ขออภัยยังไม่ทราบ เลยไม่กล้าให้รายละเอียด
เมื่อพระอรหันต์ ท่านใช้กำลังของสติ ฌาน กับ ญาณ มีปัญญา จนละกิเลสทั้งหมดออกจาก จิต ได้แล้ว
ท่านจบกิจแล้ว
สติสมบูรณ์ ปัญญาสมบูรณ์ จะมารวมกันอยู่ที่จิต
ดังนั้นที่กล่าวในพระอภิธรรม ก็ ถูกต้อง สำหรับพระอรหันต์
ทีนี้ สังขารไม่เที่ยง
หากพระอรหันต์ ท่านมีวิบาก ที่ทำให้สติไม่สมบูรณ์ สัญญาไม่สมบูรณ์
ท่านจะยังเป็นพระอรหันต์หรือไม่
จิตที่หลุดพ้นแล้ว จะไม่ย้อนกลับ
เพราะการย้อนกลับ ต้อง ใช้กำลังของ สติ ฌาน กับ ญาณ
หากฝึกสติไม่ได้ กำหนดจิตไม่ได้ ย่อมจะย้อนมาเป็นปุถุชนไม่ได้เช่นกัน
เพียงแต่คนนอก จะมองไม่ออกล่ะ ว่าท่านเป็นพระอรหันต์
ที่จริง ไม่มีใครทำนาย พระอรหันต์ได้ นอกจากพระอรหันต์ด้วยกัน
ปุถุชนทำไม่ได้ พระอริยะที่ต่ำกว่าพระอรหันต์ ก็ทำไม่ได้
และเมื่อสติของท่านไม่สมบูรณ์ ก็ไม่มีใครทำนายท่านได้แล้ว
ทีนี้ มีคำถามที่น่าจะติดใจทุกคน รวมถึงผมด้วย
หาก จิตสมบูรณ์ ทั้งสติ กับ ปัญญา ย่อมจะล่วงศีล ไม่ได้
ทีนี้มาลองวิเคราะห์กัน
ศีล พื้นฐานมาจากอะไร หลักของศีล มี 5 ข้อ คือ ละเบียดเบียน เป็นสัญชาตญาณของจิตพุทธะ
จิตเมื่อบรรลุธรรมแล้ว จะมีความอ่อนโยน มีเมตตา ปล่อยวางความยึดมั่น อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นสัญชาตญาณเช่นกัน
ส่วน ศีลข้ออื่นๆ จำเป็นต้องใช้สัญญา ความจำได้หมายรู้
หากความจำได้หมายรู้มีปัญหา จะจากอาการป่วย หรือ เสื่อมตามอายุ
การจำศีลข้ออื่นๆ ได้ ย่อมกระท่อนกระแท่น ย่อมจำผิดได้ ย่อมจำพลาดได้
แต่ที่สลักลงในจิตแล้ว คือ ศีลพื้นฐานของพระอริยะ และ อริยสัจ 4 ที่จะไม่ก้าวล่วงแน่นอน
ส่วนตัวผม พึ่งมาได้ยินชื่อหลวงปู่แสง ท่านตอนเป็นข่าว
พิจารณาข่าวของท่าน ด้วยใจที่ปล่อยวาง
หลังพิจารณา หลังได้ฟังความเห็นจากหลวงปู่หลวงพ่อ หลังได้สนทนาธรรมกับเพื่อนๆในห้องศาสนา ได้ความรู้เกี่ยวกับจิตมากขึ้น
ถือว่าหลวงปู่ท่านได้ให้ความรู้โดยใช้ตัวท่านเองเป็นตัวอย่าง
ใครที่พิจารณาด้วยใจที่เป็นกลาง ย่อมได้ประโยชน์ ไม่มากก็น้อย
ใครที่พิจารณาด้วยใจที่เป็นกุศล กุศลนั้นย่อมเกิดแก่ท่าน
ใครพิจารณาด้วยใจที่เป็นอกุศล อกุศลนั้นย่อมเกิดแก่ท่านเช่นกัน
ผมเข้าใจประมาณนี้
หากมีส่วนใดที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ต้องขออภัยล่วงหน้าด้วยนะครับ
เนื่องจากสังขารไม่เที่ยง
เราจึงควรดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท เร่งพัฒนาจิตของเรา ให้หลุดพ้นจากกิเลส
จะไปหวังฝึกตอนแก่ หลังเกษียณ สภาพร่างกาย จิตใจ ความจำ ไม่พร้อม ก็ฝึกยากแล้วครับ
หากเราได้มีโอกาส เป็นโยมอุปัฏฐาก ของพระที่ท่านป่วย ชรา หรือมีโรคทางจิต
เราควรยึดถือว่า ควรดูแลท่าน ให้ห่างจากสิ่งที่ไม่เหมาะไม่สม ตามที่ทางโลกนิยาม
ถึงแม้จิตท่านจะหลุดพ้น แต่ศาสนายังต้องคงอยู่
จึงจำเป็นต้องช่วยดำรงชื่อเสียงของพระที่ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เพื่อให้ท่านเป็นตัวอย่างแก่ชนรุ่นหลัง
ถึงจะเป็นการช่วยกันสืบต่อพระพุทธศาสนา
เหมือนที่เพื่อนท่านนึงช่วยปะ link ไปยังคลิปที่หลวงพ่อท่านนึงได้ให้ความเห็นไว้ครับ
ส่วนการมองว่า สังขารเที่ยง สัญญาเที่ยง สติเที่ยง
หากคิดว่าใครไม่เที่ยง ก็คัดออก เหมือนคัดเมล็ดเสียออก
โดยคิดว่า เป็นการจรรโลง พระพุทธศาสนานั้น
อันนั้นเป็นการออกนอกทาง ออกนอกพระสัจธรรมที่ว่า
ธรรมทั้งปวง ใครๆไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ยิ่งจะทำให้พุทธศาสนา เสื่อมเร็ว เป็นการสนับสนุนเข้าทางวัดจานบิน ที่ถือว่า ทุกสิ่งเที่ยง ไปนะครับ
การฝึกจิต หรือการฝึกวิปัสสนา
เป็นการฝึกสติ และฝึกให้จิตมีปัญญา
ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น รับทราบสิ่งที่มากระทบผัสสะตามความเป็นจริง โดยไม่ปรุงแต่ง
ฝึกให้จิตอ่อนโยน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา ละการเบียดเบียน
ไม่ได้ฝึกให้จิต ไปตามดูตามรู้นิมิต เช่น นรก สวรรค์
การฝึกจิต ต้องการกำลังของสติ และ ต้องการกำลังของฌาน หรือ ญาณ
หากวันใดวันหนึ่ง ชีวิตพบเจอวิบาก ไม่ว่าจะเป็นจาก โรคทางสมอง หรือสมองเสื่อมด้วยโรคชรา
การฝึกจะหยุดลงตรงนั้น จิตพัฒนาปล่อยวางได้แค่ไหน ก็ได้แค่นั้น
ฝึกไปต่อไม่ได้ เพราะการไปต่อ หรือ การพัฒนาจิต ยังต้องการกำลังของสติ ฌาน และ ญาณ
การวัดผลการฝึก มีหลายระดับ
- ระดับความคิด สำหรับคนทั่วไป อย่างเราๆท่านๆ
- ระดับพระโสดาบัน สมาธิพอประมาณ ปัญญาพอประมาณ ละสังโยชน์ข้อ 1-3
- ระดับพระสกทาคามี สมาธิพอประมาณ ปัญญาพอประมาณ เบาบางสังโยชน์ข้อ 4,5
- ระดับพระอนาคามี สมาธิสมบูรณ์ ปัญญาพอประมาณ ละสังโยชน์ข้อ 4-5
- ระดับพระอรหันต์ สมาธิสมบูรณ์ ปัญญาสมบูรณ์ ละสังโยชน์ข้อ 6-10
การฝึกจิต ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ
ฝึกจิตให้เข้าใจพระสัจธรรมที่ว่า
ธรรมทั้งปวง ใครๆไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งปวง มีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ มีเสื่อมไป สลายไปเป็นธรรมดา ไม่เที่ยง
ใครไปยึดมั่นในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ย่อมเป็นทุกข์
สำหรับท่านที่ฝึกจิต จนถึงระดับพระอนาคามีแล้ว
มีสติสมบูรณ์แล้ว แต่ยังมีกิเลสอย่างละเอียดที่ต้องละอีก 5 ข้อ ตามสังโยชน์ข้อ 6-10
การละกิเลสอย่างละเอียด จำเป็นต้องใช้กำลังของสติ ที่มีความเร็วมากขึ้น
เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของจิต การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์กับความคิด ได้ทัน
ดังนั้นหากสติไม่สมบูรณ์ สัญญา (ความจำได้หมายรู้) ไม่สมบูรณ์
การฝึกของชาตินี้ ก็ต้องจบลงเพียงแค่นี้
สำหรับจิตของท่านที่ฝึกมาจนละกิเลส ตามสังโยชน์ได้ถึง 5 ข้อแล้ว จะยังละกิเลส 5 ข้อแรกได้อยู่หรือไม่
คำตอบอยู่ที่ เราเข้าใจธรรมชาติของจิตหรือไม่
ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของจิต
ท่านใดที่ฝึกจิตถึงระดับพระโสดาบันแล้ว
จะรับรู้ความรู้สึกได้ว่า การไม่ถอยหลังกลับ คือ อะไร
สิ่งใดที่ละได้แล้ว ตัดได้แล้ว จะทำอีกไม่ได้ โกหกอีกไม่ได้ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ไม่ได้ ผิดศีลอีก 3 ข้อก็ไม่ได้
คำว่าไม่ได้ เกินกว่าระดับความคิด เป็นการทำไม่ได้ระดับจิต
อารมณ์เหมือนในหนัง black widow ที่นาตาชา ไม่สามารถทำร้ายตัวร้ายหลักบนยานได้ แบบนั้นเลย
ถ้าอยากจะถอยหลัง ก็ต้องใช้สติ กับกำลังของ ฌานกับญาณ เช่นกัน
หากสติไม่สมบูรณ์ ความจำเสื่อมถอย ฝึกสติไม่ได้ ฝึกฌานกับญาณไม่ได้
ก็ย้อนกลับไม่ได้ สภาวะจิตของท่านก็ยังเป็นระดับพระอริยะเจ้าอยู่
เพียงแต่คนภายนอกอย่างเราๆ ท่าน สังเกตไม่ออกแล้ว
ทีนี้ สำหรับพระอรหันต์ล่ะ จะแตกต่างไปนิดหน่อย
คำว่าสติสมบูรณ์ คือ ระลึกรู้สึกตัวตลอดเวลา เกินกว่าสติอัตโนมัติไปเยอะ
ระดับที่หลวงปู่ หลวงพ่อ ท่านเคยบอกว่า นอนหลับก็ไม่ฝัน ประมาณนั้น
เมื่อสติสมบูรณ์ การตรวจจับกิเลสอย่างละเอียด ในระหว่างวันก็ง่ายขึ้น
เมื่อเจอกิเลส ก็สามารถละกิเลสด้วยกำลังของ ฌาน หรือ ญาณ ได้
ปัญหาสำคัญ คือ เราจะมีโอกาสเจอกิเลสอย่างละเอียดเหล่านั้นเมื่อไร
- รูปราคะ
- อรูปราคะ
- มานะ
- อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
- อวิชชา
การละสังโยชน์ข้อ 6-8 คือ การไม่ยึดติดกับสิ่งที่นำเรามาถึงในปัจจุบัน
การละความฟุ้งซ่าน คือ การละวาง ปล่อยวาง เข้าใจธรรมชาติของ ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ส่วนอวิชชา คือ อะไร อันนี้ขออภัยยังไม่ทราบ เลยไม่กล้าให้รายละเอียด
เมื่อพระอรหันต์ ท่านใช้กำลังของสติ ฌาน กับ ญาณ มีปัญญา จนละกิเลสทั้งหมดออกจาก จิต ได้แล้ว
ท่านจบกิจแล้ว
สติสมบูรณ์ ปัญญาสมบูรณ์ จะมารวมกันอยู่ที่จิต
ดังนั้นที่กล่าวในพระอภิธรรม ก็ ถูกต้อง สำหรับพระอรหันต์
ทีนี้ สังขารไม่เที่ยง
หากพระอรหันต์ ท่านมีวิบาก ที่ทำให้สติไม่สมบูรณ์ สัญญาไม่สมบูรณ์
ท่านจะยังเป็นพระอรหันต์หรือไม่
จิตที่หลุดพ้นแล้ว จะไม่ย้อนกลับ
เพราะการย้อนกลับ ต้อง ใช้กำลังของ สติ ฌาน กับ ญาณ
หากฝึกสติไม่ได้ กำหนดจิตไม่ได้ ย่อมจะย้อนมาเป็นปุถุชนไม่ได้เช่นกัน
เพียงแต่คนนอก จะมองไม่ออกล่ะ ว่าท่านเป็นพระอรหันต์
ที่จริง ไม่มีใครทำนาย พระอรหันต์ได้ นอกจากพระอรหันต์ด้วยกัน
ปุถุชนทำไม่ได้ พระอริยะที่ต่ำกว่าพระอรหันต์ ก็ทำไม่ได้
และเมื่อสติของท่านไม่สมบูรณ์ ก็ไม่มีใครทำนายท่านได้แล้ว
ทีนี้ มีคำถามที่น่าจะติดใจทุกคน รวมถึงผมด้วย
หาก จิตสมบูรณ์ ทั้งสติ กับ ปัญญา ย่อมจะล่วงศีล ไม่ได้
ทีนี้มาลองวิเคราะห์กัน
ศีล พื้นฐานมาจากอะไร หลักของศีล มี 5 ข้อ คือ ละเบียดเบียน เป็นสัญชาตญาณของจิตพุทธะ
จิตเมื่อบรรลุธรรมแล้ว จะมีความอ่อนโยน มีเมตตา ปล่อยวางความยึดมั่น อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นสัญชาตญาณเช่นกัน
ส่วน ศีลข้ออื่นๆ จำเป็นต้องใช้สัญญา ความจำได้หมายรู้
หากความจำได้หมายรู้มีปัญหา จะจากอาการป่วย หรือ เสื่อมตามอายุ
การจำศีลข้ออื่นๆ ได้ ย่อมกระท่อนกระแท่น ย่อมจำผิดได้ ย่อมจำพลาดได้
แต่ที่สลักลงในจิตแล้ว คือ ศีลพื้นฐานของพระอริยะ และ อริยสัจ 4 ที่จะไม่ก้าวล่วงแน่นอน
ส่วนตัวผม พึ่งมาได้ยินชื่อหลวงปู่แสง ท่านตอนเป็นข่าว
พิจารณาข่าวของท่าน ด้วยใจที่ปล่อยวาง
หลังพิจารณา หลังได้ฟังความเห็นจากหลวงปู่หลวงพ่อ หลังได้สนทนาธรรมกับเพื่อนๆในห้องศาสนา ได้ความรู้เกี่ยวกับจิตมากขึ้น
ถือว่าหลวงปู่ท่านได้ให้ความรู้โดยใช้ตัวท่านเองเป็นตัวอย่าง
ใครที่พิจารณาด้วยใจที่เป็นกลาง ย่อมได้ประโยชน์ ไม่มากก็น้อย
ใครที่พิจารณาด้วยใจที่เป็นกุศล กุศลนั้นย่อมเกิดแก่ท่าน
ใครพิจารณาด้วยใจที่เป็นอกุศล อกุศลนั้นย่อมเกิดแก่ท่านเช่นกัน
ผมเข้าใจประมาณนี้
หากมีส่วนใดที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ต้องขออภัยล่วงหน้าด้วยนะครับ
เนื่องจากสังขารไม่เที่ยง
เราจึงควรดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท เร่งพัฒนาจิตของเรา ให้หลุดพ้นจากกิเลส
จะไปหวังฝึกตอนแก่ หลังเกษียณ สภาพร่างกาย จิตใจ ความจำ ไม่พร้อม ก็ฝึกยากแล้วครับ
หากเราได้มีโอกาส เป็นโยมอุปัฏฐาก ของพระที่ท่านป่วย ชรา หรือมีโรคทางจิต
เราควรยึดถือว่า ควรดูแลท่าน ให้ห่างจากสิ่งที่ไม่เหมาะไม่สม ตามที่ทางโลกนิยาม
ถึงแม้จิตท่านจะหลุดพ้น แต่ศาสนายังต้องคงอยู่
จึงจำเป็นต้องช่วยดำรงชื่อเสียงของพระที่ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เพื่อให้ท่านเป็นตัวอย่างแก่ชนรุ่นหลัง
ถึงจะเป็นการช่วยกันสืบต่อพระพุทธศาสนา
เหมือนที่เพื่อนท่านนึงช่วยปะ link ไปยังคลิปที่หลวงพ่อท่านนึงได้ให้ความเห็นไว้ครับ
ส่วนการมองว่า สังขารเที่ยง สัญญาเที่ยง สติเที่ยง
หากคิดว่าใครไม่เที่ยง ก็คัดออก เหมือนคัดเมล็ดเสียออก
โดยคิดว่า เป็นการจรรโลง พระพุทธศาสนานั้น
อันนั้นเป็นการออกนอกทาง ออกนอกพระสัจธรรมที่ว่า
ธรรมทั้งปวง ใครๆไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ยิ่งจะทำให้พุทธศาสนา เสื่อมเร็ว เป็นการสนับสนุนเข้าทางวัดจานบิน ที่ถือว่า ทุกสิ่งเที่ยง ไปนะครับ
แสดงความคิดเห็น
ถามจริงจีงนะครับ พระอริยะบุคคลที่ได้อนันตริยะสมาธิแล้วจะกำหนดจิตไม่ได้ แล้วจะกำหนดจิตไปนรก สวรรค์ได้ยังไงครับ