แถลงข่าว โครงการ รักลูก ให้รอด ปลอดภัยเมื่อใช้รถ
ในวันพฤหัสบดี ที่ 7 เม.ย.54 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 2
สำนักเลขาธิการแพทยสภา ตึกสำนักปลัด กระทรวงสาธารณสุข อาคาร 6 ชั้น 7
มีข้อมูลอุบัติเหตุกับเด็กอายุ 1 ถึง 14 ปี
โดยคุณหมอสมศักดิ์ โล่เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์
แห่งประเทศไทยประธานโครงการรักลูกให้รอดปลอดภัยเมื่อใช้รถ บอกว่า
อุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ในเด็กอายุ 1
ถึง 14 ปี รองจากจมน้ำ ทั้งสองสาเหตุพบสถิติสูงสุดในเดือนเมษายน
คุณหมอพิมพ์ภา เตชะกมลสุข นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
บอกว่า ข้อมูลสำนักระบาดวิทยาในแต่ละปีมีเด็กอายุน้อยกว่า 14 ปี
ประสบอุบัติเหตุรถโดยสาร รถยนต์ ปิกอัพ หรือรถตู้ 5,500 รายต่อปีหรือ
15 คนต่อวันบาดเจ็บรุนแรงต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 1,400 คนต่อปี
เสียชีวิตรวม 70 คนต่อปี ในจำนวนนี้เป็นปิกอัพ 1,190 ราย รถยนต์ 170 ราย
สถิติบาดเจ็บช่วงสงกรานต์ 10 วัน พบเกิดอุบัติเหตุทางถนนถึง 1,100 ราย
จำนวนนี้บาดเจ็บเกิดจากรถยนต์ รถตู้ ปิกอัพ 132 ราย ตาย 6 ราย
คุณหมออดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี บอกว่า
เข็มขัดนิรภัยใช้กับเด็กที่อายุน้อยกว่า 9 ปี หรือ
สูงน้อยกว่า 140 เซนติเมตรไม่ได้
เพราะแทนที่เข็มขัดจะพาดจากไหล่ลงหน้าตัก
กลับจะพาดที่ลำตัวและท้องน้อยแทน
เมื่อรถเบรกหรือชนกะทันหัน
เข็มขัดแทนที่จะนิรภัยกลับจะทำอันตรายให้เด็ก
ขณะที่เด็กอาจได้รับอันตรายจากถุงลมนิรภัยด้วย
เพราะการทำงานของถุงลมนิรภัยจะสร้างความปลอดภัย
ให้ผู้โดยสารที่นั่งห่างจากถุงลม 25 เซนติเมตร
แต่กรณีเด็กนั่งตักผู้ใหญ่ที่นั่งหน้า
จะทำให้เด็กอยู่ใกล้ถุงลมนิรภัยมากเกินไป
จนอาจได้รับอันตรายจากแรงกระแทกเมื่อถุงลมนิรภัยทำงาน
โดยเฉพาะการบาดเจ็บที่สมอง
การใช้อุปกรณ์นิรภัยสำหรับทารกและเด็กเล็กเป็นสิ่งสำคัญมากและต้องใช้อย่างถูกต้อง.
http://www.csip.org/csip/autopage/show_page.php?h=119&s_id=164&d_id=165
แถลงข่าว โครงการ รักลูก ให้รอด ปลอดภัยเมื่อใช้รถ
ในวันพฤหัสบดี ที่ 7 เม.ย.54 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 2
สำนักเลขาธิการแพทยสภา ตึกสำนักปลัด กระทรวงสาธารณสุข อาคาร 6 ชั้น 7
มีข้อมูลอุบัติเหตุกับเด็กอายุ 1 ถึง 14 ปี
โดยคุณหมอสมศักดิ์ โล่เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์
แห่งประเทศไทยประธานโครงการรักลูกให้รอดปลอดภัยเมื่อใช้รถ บอกว่า
อุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ในเด็กอายุ 1
ถึง 14 ปี รองจากจมน้ำ ทั้งสองสาเหตุพบสถิติสูงสุดในเดือนเมษายน
คุณหมอพิมพ์ภา เตชะกมลสุข นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
บอกว่า ข้อมูลสำนักระบาดวิทยาในแต่ละปีมีเด็กอายุน้อยกว่า 14 ปี
ประสบอุบัติเหตุรถโดยสาร รถยนต์ ปิกอัพ หรือรถตู้ 5,500 รายต่อปีหรือ
15 คนต่อวันบาดเจ็บรุนแรงต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 1,400 คนต่อปี
เสียชีวิตรวม 70 คนต่อปี ในจำนวนนี้เป็นปิกอัพ 1,190 ราย รถยนต์ 170 ราย
สถิติบาดเจ็บช่วงสงกรานต์ 10 วัน พบเกิดอุบัติเหตุทางถนนถึง 1,100 ราย
จำนวนนี้บาดเจ็บเกิดจากรถยนต์ รถตู้ ปิกอัพ 132 ราย ตาย 6 ราย
คุณหมออดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี บอกว่า
เข็มขัดนิรภัยใช้กับเด็กที่อายุน้อยกว่า 9 ปี หรือ
สูงน้อยกว่า 140 เซนติเมตรไม่ได้
เพราะแทนที่เข็มขัดจะพาดจากไหล่ลงหน้าตัก
กลับจะพาดที่ลำตัวและท้องน้อยแทน
เมื่อรถเบรกหรือชนกะทันหัน
เข็มขัดแทนที่จะนิรภัยกลับจะทำอันตรายให้เด็ก
ขณะที่เด็กอาจได้รับอันตรายจากถุงลมนิรภัยด้วย
เพราะการทำงานของถุงลมนิรภัยจะสร้างความปลอดภัย
ให้ผู้โดยสารที่นั่งห่างจากถุงลม 25 เซนติเมตร
แต่กรณีเด็กนั่งตักผู้ใหญ่ที่นั่งหน้า
จะทำให้เด็กอยู่ใกล้ถุงลมนิรภัยมากเกินไป
จนอาจได้รับอันตรายจากแรงกระแทกเมื่อถุงลมนิรภัยทำงาน
โดยเฉพาะการบาดเจ็บที่สมอง
การใช้อุปกรณ์นิรภัยสำหรับทารกและเด็กเล็กเป็นสิ่งสำคัญมากและต้องใช้อย่างถูกต้อง.
http://www.csip.org/csip/autopage/show_page.php?h=119&s_id=164&d_id=165