สัญชาตญาณความเป็นพ่อเป็นแม่มักดูแลลูกน้อยให้อยู่ภายในอ้อมกอด คู่ไปกับการสอดส่องด้วยสายตาเพื่อไม่ให้ภัยอันตรายใดๆ มาแพ้วพานแม้ปลายเล็บ แต่ใครจะรู้หรือไม่ว่าในอ้อมกอดแห่งความหวังดีนั้น กลับมีอันตรายที่คาดไม่ถึงและรุนแรงจนทำให้เป็นอ้อมกอดแห่งมรณะ ตรงนี้หมายถึง "การกอดลูก อุ้มลูก ให้ลูกนั่งตักบนรถยนต์"
จึงเป็นที่มาของโครงการ "รักลูก..ให้ปลอดภัย..เมื่อใช้รถ" ที่เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ร่วมกับ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดแถลงข่าวที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี เผยว่า จากการสำรวจพบว่าอุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเสียชีวิตในเด็ก รองจากการจมน้ำ โดยสถิติในปี พ.ศ.2554 พบมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทั้งประเทศได้รับอุบัติเหตุจากการโดยสารรถยนต์ทุกประเภทรวม 1,827 ราย เสียชีวิต 614 ราย ขณะสถิติปี พ.ศ.2555 พบเฉพาะเทศกาลสงกรานต์มีการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 28 ราย คิดเป็น 8.8% แบ่งเป็นอุบัติเหตุจากรถยนต์ 13 ราย คิดเป็น 46% ที่เหลือเป็นการเสียชีวิตจากรถมอเตอร์ไซค์
"เด็กที่เสียชีวิตทั้งหมดนั้น สาเหตุเกิดจากไม่ได้ใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือคาร์ซีท 100% ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ไม่สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยที่มากับตัวรถได้ เพราะไม่สมดุลกับสรีระร่างกาย อย่างสายเข็มขัดเมื่อคาดแล้วจะไปอยู่บริเวณคอและช่องท้อง จึงอันตรายหากประสบเหตุ ฉะนั้นการใช้คาร์ซีทจึงมีความจำเป็นมาก"
การรณรงค์ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ผล
ยืนยันได้จากการสำรวจพบว่าทั้งประเทศมีผู้ปกครองใช้คาร์ซีทไม่ถึง 1% เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงอันตราย รวมถึงคาร์ซีทยังมีราคาแพง เนื่องจากนำเข้าจากต่างประเทศและถูกจัดเป็นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย จึงมีภาษีนำเข้า 30% ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเราได้ผลักดันให้สินค้าดังกล่าวเป็นกลุ่มสินค้ากลุ่มความปลอดภัยและให้ลดภาษีเหลือ 5% แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับผลตอบรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กแบ่งเป็น 3 ประเภทตามช่วงอายุ ดังนี้ คาร์ซีทประเภท rear facing หรือแบบหันหน้าไปกระจกหลัง สำหรับเด็กแรกเกิดถึง 2 ปี ซึ่งในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเบรกกะทันหัน คาร์ซีทประเภทนี้จะช่วยลดแรงกระแทก และช่วยปกป้องส่วนหัว คอ และกระดูกสันหลังของเด็กได้ดีที่สุด, คาร์ซีทประเภท forward facing หรือเบาะแบบหันไปทางกระจกหน้ารถ สำหรับเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป และคาร์ซีทบูสเตอร์ Booster ที่เป็นคาร์ซีทเปล่าๆ ไม่มีเข็มขัดเหมือนคาร์ซีทข้างต้น แต่เป็นเบาะหนุนสูงให้สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยของรถได้ เหมาะสำหรับเด็กอายุ 4 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ทั้งคาร์ซีทและบูสเตอร์ซีทในประเทศไทยวันนี้ มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 3,000-40,000 บาท สูงต่ำตามช่วงอายุและคุณภาพผลิตภัณฑ์
นพ.อดิศักดิ์มีข้อแนะนำในช่วงสงกรานต์นี้ว่า ผู้ปกครองควรจัดหาที่นั่งนิรภัยคาร์ซีทสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 9 ปี ขณะที่เด็กอายุน้อยกว่า 13 ปีควรให้นั่งที่ด้านหลังรถยนต์ เพราะที่นั่งด้านหลังสามารถลดความเสี่ยงการบาดเจ็บรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุลงได้ถึง 5 เท่า และควรเลี่ยงไม่ให้เด็กนั่งหลังกระบะ เพราะการนั่งหลังกระบะมีความเสี่ยงสูง 8 เท่าเมื่อเทียบกับผู้โดยสารนั่งในรถยนต์ และเด็ก 1 ใน 3 ของการนั่งหลังกระบะยังมีโอกาสพลัดตกโดยไม่มีการชน
น.ส.สุธีรา ต่อสุทธิ์กนก อายุ 33 ปี ผู้ปกครองที่ใช้คาร์ซีท เผยว่า ใช้คาร์ซีทกับลูกของตัวเองตั้งแต่ 2 เดือน เพราะเคยเห็นลูกของญาติประสบอุบัติเหตุ จากการไม่ใช้คาร์ซีท ซึ่งเมื่อรถเบรกกะทันหันทำให้เด็กตกลงไปที่พื้นรถจนหัวแตก เลยกลัวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับลูกตัวเอง
"อยากเสนอให้ภาครัฐออกกฎหมายให้มีการใช้คาร์ซีท เหมือนกับในต่างประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย บังคับใช้คาร์ซีทกับเด็กตั้งแต่แรกเกิด โดยทางโรงพยาบาลจะไม่ยอมปล่อยให้เด็กกลับบ้านเด็ดขาด หากตรวจพบว่ารถที่นำมารับนั้นไม่มีที่นั่งสำหรับเด็ก เช่นเดียวกับแท็กซี่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีคาร์ซีทเก็บไว้หลังรถ ซึ่งเมื่อมีผู้โดยสารเด็กขึ้นมา ผู้ขับจะนำมาใช้ทันที ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเขาบังคับใช้กฎหมายเรื่องนี้อย่างเคร่งครัด"
"ผู้ปกครองหลายคนมักเข้าใจว่าการกอดลูกเอาไว้น่าจะปลอดภัยกว่าการให้นั่งคาร์ซีท แต่จริงๆ ในจังหวะที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนมากผู้ปกครองจะตกใจและเผลอปล่อยลูกหลุดมือ ทำให้เด็กกระเด็นตกพื้นรถ หรือไม่ก็กระเด็นออกจากตัวรถ จนนำมาซึ่งการบาดเจ็บและเสียชีวิต" น.ส.สุธีราทิ้งท้าย
อยากให้พ่อแม่ทุกๆ คนนึกถึงความปลอดภัยของลูก
หน้า 23 มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 15 เมษายน 2557
รักลูกให้ถูกทาง ไม่กอดลูก..ไม่ให้นั่งตักขณะขับรถ?
จึงเป็นที่มาของโครงการ "รักลูก..ให้ปลอดภัย..เมื่อใช้รถ" ที่เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ร่วมกับ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดแถลงข่าวที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี เผยว่า จากการสำรวจพบว่าอุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเสียชีวิตในเด็ก รองจากการจมน้ำ โดยสถิติในปี พ.ศ.2554 พบมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทั้งประเทศได้รับอุบัติเหตุจากการโดยสารรถยนต์ทุกประเภทรวม 1,827 ราย เสียชีวิต 614 ราย ขณะสถิติปี พ.ศ.2555 พบเฉพาะเทศกาลสงกรานต์มีการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 28 ราย คิดเป็น 8.8% แบ่งเป็นอุบัติเหตุจากรถยนต์ 13 ราย คิดเป็น 46% ที่เหลือเป็นการเสียชีวิตจากรถมอเตอร์ไซค์
"เด็กที่เสียชีวิตทั้งหมดนั้น สาเหตุเกิดจากไม่ได้ใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือคาร์ซีท 100% ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ไม่สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยที่มากับตัวรถได้ เพราะไม่สมดุลกับสรีระร่างกาย อย่างสายเข็มขัดเมื่อคาดแล้วจะไปอยู่บริเวณคอและช่องท้อง จึงอันตรายหากประสบเหตุ ฉะนั้นการใช้คาร์ซีทจึงมีความจำเป็นมาก"
การรณรงค์ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ผล ยืนยันได้จากการสำรวจพบว่าทั้งประเทศมีผู้ปกครองใช้คาร์ซีทไม่ถึง 1% เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงอันตราย รวมถึงคาร์ซีทยังมีราคาแพง เนื่องจากนำเข้าจากต่างประเทศและถูกจัดเป็นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย จึงมีภาษีนำเข้า 30% ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเราได้ผลักดันให้สินค้าดังกล่าวเป็นกลุ่มสินค้ากลุ่มความปลอดภัยและให้ลดภาษีเหลือ 5% แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับผลตอบรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กแบ่งเป็น 3 ประเภทตามช่วงอายุ ดังนี้ คาร์ซีทประเภท rear facing หรือแบบหันหน้าไปกระจกหลัง สำหรับเด็กแรกเกิดถึง 2 ปี ซึ่งในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเบรกกะทันหัน คาร์ซีทประเภทนี้จะช่วยลดแรงกระแทก และช่วยปกป้องส่วนหัว คอ และกระดูกสันหลังของเด็กได้ดีที่สุด, คาร์ซีทประเภท forward facing หรือเบาะแบบหันไปทางกระจกหน้ารถ สำหรับเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป และคาร์ซีทบูสเตอร์ Booster ที่เป็นคาร์ซีทเปล่าๆ ไม่มีเข็มขัดเหมือนคาร์ซีทข้างต้น แต่เป็นเบาะหนุนสูงให้สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยของรถได้ เหมาะสำหรับเด็กอายุ 4 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ทั้งคาร์ซีทและบูสเตอร์ซีทในประเทศไทยวันนี้ มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 3,000-40,000 บาท สูงต่ำตามช่วงอายุและคุณภาพผลิตภัณฑ์
นพ.อดิศักดิ์มีข้อแนะนำในช่วงสงกรานต์นี้ว่า ผู้ปกครองควรจัดหาที่นั่งนิรภัยคาร์ซีทสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 9 ปี ขณะที่เด็กอายุน้อยกว่า 13 ปีควรให้นั่งที่ด้านหลังรถยนต์ เพราะที่นั่งด้านหลังสามารถลดความเสี่ยงการบาดเจ็บรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุลงได้ถึง 5 เท่า และควรเลี่ยงไม่ให้เด็กนั่งหลังกระบะ เพราะการนั่งหลังกระบะมีความเสี่ยงสูง 8 เท่าเมื่อเทียบกับผู้โดยสารนั่งในรถยนต์ และเด็ก 1 ใน 3 ของการนั่งหลังกระบะยังมีโอกาสพลัดตกโดยไม่มีการชน
น.ส.สุธีรา ต่อสุทธิ์กนก อายุ 33 ปี ผู้ปกครองที่ใช้คาร์ซีท เผยว่า ใช้คาร์ซีทกับลูกของตัวเองตั้งแต่ 2 เดือน เพราะเคยเห็นลูกของญาติประสบอุบัติเหตุ จากการไม่ใช้คาร์ซีท ซึ่งเมื่อรถเบรกกะทันหันทำให้เด็กตกลงไปที่พื้นรถจนหัวแตก เลยกลัวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับลูกตัวเอง
"อยากเสนอให้ภาครัฐออกกฎหมายให้มีการใช้คาร์ซีท เหมือนกับในต่างประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย บังคับใช้คาร์ซีทกับเด็กตั้งแต่แรกเกิด โดยทางโรงพยาบาลจะไม่ยอมปล่อยให้เด็กกลับบ้านเด็ดขาด หากตรวจพบว่ารถที่นำมารับนั้นไม่มีที่นั่งสำหรับเด็ก เช่นเดียวกับแท็กซี่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีคาร์ซีทเก็บไว้หลังรถ ซึ่งเมื่อมีผู้โดยสารเด็กขึ้นมา ผู้ขับจะนำมาใช้ทันที ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเขาบังคับใช้กฎหมายเรื่องนี้อย่างเคร่งครัด"
"ผู้ปกครองหลายคนมักเข้าใจว่าการกอดลูกเอาไว้น่าจะปลอดภัยกว่าการให้นั่งคาร์ซีท แต่จริงๆ ในจังหวะที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนมากผู้ปกครองจะตกใจและเผลอปล่อยลูกหลุดมือ ทำให้เด็กกระเด็นตกพื้นรถ หรือไม่ก็กระเด็นออกจากตัวรถ จนนำมาซึ่งการบาดเจ็บและเสียชีวิต" น.ส.สุธีราทิ้งท้าย
อยากให้พ่อแม่ทุกๆ คนนึกถึงความปลอดภัยของลูก
หน้า 23 มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 15 เมษายน 2557