‘โทนี’ แนะทีมศก. อ่านเล่มดัง ตำราแก้วิกฤตเศรษฐกิจ กู้แจก มีแต่พัง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3337029
‘โทนี’แนะทีมศก.อ่านเล่มดัง ตำราแก้วิกฤตเศรษฐกิจ กู้แจก มีแต่พัง
เมื่อช่วงค่ำวันที่ 10 พฤษภาคม เฟซบุ๊ก
CARE • แคร์ คิด เคลื่อน ไทย ได้ไลฟ์สด การพูดคุยกับ
โทนี วู้ดซัม หรือ นาย
ทักษิณ ชินวัตร ในหัวข้อ
ระบอบทักษิณในมัลติเวิร์สของความจน
โดยระหว่างการไลฟ์สด ได้แนะนำหนังสือชื่อ
the changing world order ของ เรย์
ดาลิโอ (Ray Dalio) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับระเบียบโลกที่เปลี่ยนไป โดยหยิบยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากมาย จากประเทศที่ประสบความสำเร็จ และประเทศที่ล้มเหลว มีการศึกษาเรื่องราวในอดีตถึงปัจจุบันว่า ความล้มเหลว หรือความสำเร็จ นำมาสู่การผงาดเป็นประเทศมหาอำนาจของแต่ละประเทศ
โดยในหนังสือเนื้อหาเตือนว่า ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีหนี้เพิ่มขึ้นมาก แต่ขณะที่ดอกเบี้ยต่ำมาก เปิดโอกาสให้แต่ละประเทศพิมพ์แบงก์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินอ่อนแอลง ประเทศที่มีหนี้เยอะ มีการกู้และนำมาแจก อันตราย เพราะจะทำให้ค่าเงินอ่อน กำลังซื้อของคนในประเทศ และของประเทศเอง จะตกต่ำ ในที่สุดจะพังลง ฉะนั้น เงินไม่ว่าจะกู้มา หรือหาได้ก็แล้วแต่ ต้องนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำมาแจก มีแต่พังกับพัง จึงอยากแนะนำหนังสือเล่มนี้เป็นพิเศษให้กับ นาย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนาย
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไปอ่าน จะช่วยให้เข้าใจ ไม่เช่นนั้นจะติดอยู่กับพาราดามแบบเก่า ที่วางไว้ตั้งแต่สมัย นาย
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และใครที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีคลังสมัยหน้าของพรรคเพื่อไทย ก็ควรจะอ่านเช่นกัน
“แต่ผมไม่ขอร้องให้นายกรัฐมนตรีอ่าน เพราะไม่มีเวลา ท่านยุ่ง”
สรท.ห่วงศึกรัสเซียยูเครนกระทบส่งออกฉุดการค้า
https://www.innnews.co.th/news/news_337021/
สรท.ห่วงสงครามรัสเซียยูเครนกระทบส่งออกทางอ้อม ทำวัตถุดิบผลิตสินค้าขาดแคลน ฉุดตัวเลขการค้าหด
นาย
ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สรท. เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า สรท.มีความเป็นห่วงผลกระทบที่เกิดขึ้น จากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ และไม่มีท่าทีจะเจรจาให้คลี่คลายได้ โดยเฉพาะผลกระทบทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นกับการส่งออกของไทย สงครามอาจทำให้วัตถุดิบในการผลิตสินค้าบางรายการขาดแคลน โดยเฉพาะชิบเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการผลิตรถยนต์ และนอกจากขาดแคลนแล้วราคาจะมีการปรับสูงขึ้นด้วย อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยในระยะถัดไป
นอกจากนี้ตลาดคู่ค้าของประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบจากสงครามมากขึ้น มีผลต่อคำสั่งซื้อชะลอตัวลง โดยเฉพาะคู่ค้าในฝั่งสหภาพยุโรปเนื่องจากสงครามมีผลโดยตรงต่อการขนถ่ายสินค้าและราคาค่าระวางเรือที่ยังคงอยู่ในระดับสูงถึงแม้ว่าจะมีการปรับตัวลดลงมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังถือว่ามีราคาสูงกว่าช่วงปกติมากและโอกาสที่จะปรับราคาค่าระวางลงเป็นไปได้น้อย
ผู้ส่งออกไทยควรปรับแผนเปลี่ยนตลาดเน้นขายในภูมิภาคอาเซียน และเอเชีย ให้มากขึ้นเนื่องจากหลายประเทศ มีความต้องการสินค้าเพื่อเข้ามาทดแทนในช่วงที่ปิดประเทศมาตลอด 2 ปีจากการระบาดของโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เริ่มที่จะขยายคำสั่งซื้อมากขึ้นแล้ว เชื่อว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 การส่งออกของไทยจึงยังคงเติบโตได้อย่างน้อยร้อยละ 5
“ปลากระป๋อง”ดิ้นขอขึ้น 2 บาท ต้นทุน “เหล็ก-ขนส่ง” พุ่งไม่หยุด
https://www.prachachat.net/marketing/news-928204
อุตฯปลากระป๋องหมื่นล้านสะเทือน ต้นทุนการผลิต “ปลา-กระป๋อง-ขนส่ง” พุ่ง บาทอ่อนทุบซ้ำต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าแพง “ซูเปอร์ ซีเชฟ-โรซ่า-ปุ้มปุ้ย” ยื่นขอปรับราคา 2 บาท/กระป๋อง ตามรอย “ทียู” “ซีเล็ค” ขอขึ้น 5-7% สมาคมอาหารสำเร็จรูปชี้แนวโน้มต้นทุนสูงต่อเนื่อง “ผักกระป๋อง ปลากระป๋อง เครื่องปรุงรส”เริ่มเจรจาค้าปลีกขอปรับราคาขึ้นตาม
ถึงวันนี้ อุตสาหกรรมปลากระป๋องที่มีมูลค่ารวมมากกว่า 9,000 ล้านบาท กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทั้งต้นทุนวัตถุดิบ ทั้งปลาแมคเคอเรลและปลาซาร์ดีน ที่ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ และแพ็กเกจจิ้ง โดยเฉพาะเหล็กที่ใช้ผลิตกระป๋องปรับสูงขึ้น รวมทั้งได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าเงินบาทอ่อนค่า และเนื่องจากปลากระป๋องเป็นสินค้าควบคุม ผู้ผลิตจึงยังไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ และต้องรอการอนุญาตจากกรมการค้าภายในก่อน แต่จากปัญหาต้นทุนที่หนักขึ้น ทำให้หลาย ๆ รายหันไปใช้วิธีการปรับขึ้นราคาขายส่งด้วยรูปแบบต่าง ๆ แทนเพื่อคงมาร์จิ้นไว้
แจงต้นทุนขึ้นทุกอย่าง
นาย
อมรพันธุ์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซี แวลู จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปลากระป๋องแบรนด์ “
ซูเปอร์ ซีเชฟ” เปิดเผย “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากต้นทุนการผลิตสินค้าทุกอย่างที่เพิ่มในรอบปีที่ผ่านมา อาทิ พลังงานทุกชนิด กระป๋อง แผ่นเหล็ก น้ำมันพืช ซอสมะเขือเทศ ปลา ค่าขนส่ง บรรจุภัณฑ์ทุกประเภท ที่ปรับขึ้นตั้งแต่ 20-50% ขณะที่ถ่านหินปรับขึ้นไป 100% ผู้ผลิตจึงมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคาอย่างน้อย 20% แต่เนื่องจากกำลังซื้อผู้บริโภคอ่อนแรงมากคงปรับขึ้นขนาดนั้นไม่ได้ แต่ควรให้ปลากระป๋องขึ้นราคากระป๋องละ 2 บาท
หากเทียบต้นทุนเฉลี่ยการผลิตปลากระป๋อง ไตรมาส 1/2565 กับต้นทุนเฉลี่ยทั้งปี 2564 เพิ่มขึ้นมาถึง 12% แยกเป็น ต้นทุนปลาซาร์ดีน 9% อัตราแลกเปลี่ยน 32-34 บาท ต้นทุนกระป๋อง 3.26-3.71 บาท หรือ 14% การนำเข้าซอสมะเขือเทศ 26% และค่าพลังงาน 100%
การที่ต้นทุนสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี ทำให้กำไรต่อกระป๋องลดลง นี่ยังไม่รวมถึงผลกระทบของค่าบาทที่อ่อนตัวลงไปถึง 33-34 บาท และสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในครึ่งปีหลังนี้ คือ การปรับค่าแรงขั้นต่ำ และราคาเหล็กที่อาจปรับตัวขึ้นไปอีก ซึ่งต้องรอคณะกรรมการทุ่มตลาดและการอุดหนุนพิจารณาภายในเดือน พ.ค.นี้
ขณะที่นายสุวิทย์ วังพัฒนมงคล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปลากระป๋อง “โรซ่า” สะท้อนปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นว่า ขณะนี้ต้นทุนการผลิตต่าง ๆ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งวัตถุดิบ ค่าขนส่ง บรรจุภัณฑ์ โดยรวมปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 10-15% จากเมื่อช่วงต้นปีที่เพิ่มขึ้น 6-7% ปัจจัยหลักมาจากราคาน้ำมันที่ส่งผลกระทบไปถึงต้นทุนการจับปลาที่เป็นวัตถุดิบหลัก รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ หรือกระป๋อง ที่ล่าสุดเพิ่งแจ้งมาว่าจะขึ้นราคาอีก ที่คาดว่าปรับขึ้นอีกในช่วงกลางปี ซึ่งจะกระทบกับผู้ผลิตค่อนข้างหนัก แม้ที่ผ่านมาจะมีการปรับราคาส่งไปเมื่อต้นปี แต่ไม่สามารถปรับขึ้นได้อีกเพราะชนเพดานแล้ว
“ที่ผ่านมาบริษัทได้ยื่นขอปรับขึ้นราคาไปยังกรมการค้าภายใน ขอกระป๋องละประมาณ 2 บาท แต่ตอนนี้ยังไม่ได้มีการเรียกคุย คาดว่าอยู่ระหว่างการพิจารณา”
จ่อเจรจาค้าปลีกปรับสัญญา
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวในเรื่องนี้ว่า ขณะนี้ราคาสินค้าส่วนใหญ่ยังไม่ปรับขึ้นราคา เนื่องจากอาหารกระป๋องเป็นสินค้าควบคุม แต่มีหลายรายที่ทำเรื่องขอปรับราคาไปแล้ว และได้รับการอนุมัติบ้างแล้ว และบางรายอยู่ระหว่างการพิจารณา ที่ผ่านมาบางรายปรับขึ้นราคาขายส่ง ส่วนราคาขายปลีกขึ้นอยู่กับคู่ค้าของแต่ละราย
สำหรับสินค้าอาหารสำเร็จรูปกลุ่มที่มีการปรับขึ้นราคาบ้างแล้ว ได้แก่ ผักกระป๋อง ปลากระป๋อง เครื่องปรุงรส ขณะเดียวกันก็มีผู้ผลิตบางรายที่ปรับตัวมาใช้ถุงเพาช์ (พลาสติก) แทนกระป๋องที่มีต้นทุนสูง ผู้ประกอบการที่มีบรรจุภัณฑ์หลายชนิดจึงพยายามเฉลี่ยต้นทุนให้มากที่สุด บางรายจึงยังไม่ขอปรับราคาเนื่องจากต้องการรักษาฐานตลาด เพราะการซื้อของผู้บริโภคยังเปราะบาง และบางส่วนยังติดสัญญาราคาขายกับห้างค้าปลีก
“ตอนนี้ราคากระป๋องยังมีแนวโน้มจะปรับขึ้นราคาอีก และภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) แผ่นเหล็ก (ทินเพลตและทินฟรี) 6 เดือน จะครบกำหนดในวันที่ 12 พฤษภาคมนี้ ขณะนี้ยังไม่ได้รับแจ้งจากกรมการค้าต่างประเทศว่าจะขยายเวลาบังคับใช้ ออกไปอีก 6 เดือนหรือไม่ ต้องรอผลการประชุมพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน หรือ ทตอ.ก่อน”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสถานการณ์ราคาแผ่นเหล็กที่ใช้ทำกระป๋อง ซึ่งเป็น 1 ในต้นทุนสำคัญที่ผู้ประกอบการขอปรับขึ้นราคาปลากระป๋องนั้น ล่าสุดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีการนำเข้า แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก (Tin Plate) หรือเหล็กวิลาส กับ แผ่นเหล็กทินฟรี (Tin Free steel) เข้ามาภายในประเทศถึง 7,000 ตัน โดยราคานำเข้าขยับขึ้นไปถึงตันละ 1,500-1,600 เหรียญจากเดิมในช่วงเดียวกันของปีก่อนมีราคาประมาณ 900-960 เหรียญ/ตัน หรือ ราคาแผ่นเหล็กทำกระป๋องปรับตัวสูงขึ้นถึง 600-640 เหรียญ/ตัน
ซีเล็ค ทูน่า นำร่องปรับไปก่อน
ก่อนหน้านี้ นาย
ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือทียู ผู้ผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง และแปรรูปของไทย แบรนด์ “ซีเล็ค ทูน่า” กล่าวถึงภาพรวมต้นทุนการผลิตปลากระป๋องที่ปรับขึ้นเฉลี่ยประมาณ 6-7% จากแพ็กเกจจิ้ง และค่าขนส่งที่ปรับขึ้นมาตั้งแต่ปีก่อน ในส่วนของแพ็กเกจจิ้งคิดเป็นสัดส่วน 10% โลจิสติกส์ สัดส่วน 20% ที่เหลืออีก 10% เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยไทยยูเนี่ยนเริ่มปรับราคามาตั้งแต่ปลายปี 2564 ตามต้นทุนชนิดสินค้า ส่วนสินค้าที่รับจ้างผลิต (ORM) ปรับขึ้นราคาเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม ภาวะต้นทุนการผลิตที่ปรับขึ้นนี้ไม่ได้กระทบแต่ทียู เพราะมีผลกับทุกอุตสาหกรรมทุกประเทศทั่วโลก
เรือประมงจ่อพบ รมว.เกษตร
นาย
มงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า เนื่องจากต้นทุนน้ำมันเป็นค่าใช้จ่ายชาวประมงถึง 60% ตอนนี้ชาวประมงเจอปัญหาทั้งค่าแรง ค่าเรือ ค่ารถบรรทุกขนส่งสินค้าสัตว์น้ำ น้ำมันแพงแบบนี้ทำให้ชาวประมงจอดเรือแล้วมากกว่า 40% ขณะเดียวกันขณะนี้ค่าเงินอ่อนมาก 3-4 บาทกว่าแล้ว ผู้ส่งออก ห้องเย็นจะได้ประโยชน์ จึงสั่งซื้อและเพิ่มออร์เดอร์ ทำให้สินค้ามีไม่พอ ทั้งหมดนี้ทำให้ราคาในประเทศสูง
“ราคาสัตว์น้ำปรับสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ แต่ราคาก็ไม่แน่ไม่นอน ตอนนี้เป็นไปตามราคาน้ำมัน ซึ่งชาวประมงไม่ออกเรือกว่า 40% เพราะสู้ต้นทุนไม่ไหว อีกทั้งต้นทุนบรรทุกสินค้าขึ้น 20% ตอนนี้อาหารทะเล สัตว์น้ำจึงมีน้อย ราคาจึงสูง จากหลาย ๆ ปัจจัยที่ชาวประมงก็แบกรับต้นทุนมาก หากน้ำมันยังแพงไปอีก 2 เดือน น่ากังวลมาก ๆ จะจอดเรือทิ้งทั้งหมด และในวันที่ 11 พ.ค.นี้ สมาคมจะเข้าหารือ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงแนวทางช่วยเหลือวิกฤตน้ำมันแพงโดยด่วน” นาย
มงคลกล่าว
JJNY : ‘โทนี’แนะทีมศก. อ่านเล่มดัง│สรท.ห่วงศึกรัสเซียยูเครนกระทบส่งออก│“ปลากระป๋อง”ดิ้นขอขึ้น2บ.│ล้งรวมหัวทุบราคามังคุด
https://www.matichon.co.th/politics/news_3337029
‘โทนี’แนะทีมศก.อ่านเล่มดัง ตำราแก้วิกฤตเศรษฐกิจ กู้แจก มีแต่พัง
เมื่อช่วงค่ำวันที่ 10 พฤษภาคม เฟซบุ๊ก CARE • แคร์ คิด เคลื่อน ไทย ได้ไลฟ์สด การพูดคุยกับ โทนี วู้ดซัม หรือ นายทักษิณ ชินวัตร ในหัวข้อ ระบอบทักษิณในมัลติเวิร์สของความจน
โดยระหว่างการไลฟ์สด ได้แนะนำหนังสือชื่อ the changing world order ของ เรย์ ดาลิโอ (Ray Dalio) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับระเบียบโลกที่เปลี่ยนไป โดยหยิบยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากมาย จากประเทศที่ประสบความสำเร็จ และประเทศที่ล้มเหลว มีการศึกษาเรื่องราวในอดีตถึงปัจจุบันว่า ความล้มเหลว หรือความสำเร็จ นำมาสู่การผงาดเป็นประเทศมหาอำนาจของแต่ละประเทศ
โดยในหนังสือเนื้อหาเตือนว่า ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีหนี้เพิ่มขึ้นมาก แต่ขณะที่ดอกเบี้ยต่ำมาก เปิดโอกาสให้แต่ละประเทศพิมพ์แบงก์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินอ่อนแอลง ประเทศที่มีหนี้เยอะ มีการกู้และนำมาแจก อันตราย เพราะจะทำให้ค่าเงินอ่อน กำลังซื้อของคนในประเทศ และของประเทศเอง จะตกต่ำ ในที่สุดจะพังลง ฉะนั้น เงินไม่ว่าจะกู้มา หรือหาได้ก็แล้วแต่ ต้องนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำมาแจก มีแต่พังกับพัง จึงอยากแนะนำหนังสือเล่มนี้เป็นพิเศษให้กับ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไปอ่าน จะช่วยให้เข้าใจ ไม่เช่นนั้นจะติดอยู่กับพาราดามแบบเก่า ที่วางไว้ตั้งแต่สมัย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และใครที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีคลังสมัยหน้าของพรรคเพื่อไทย ก็ควรจะอ่านเช่นกัน
“แต่ผมไม่ขอร้องให้นายกรัฐมนตรีอ่าน เพราะไม่มีเวลา ท่านยุ่ง”
สรท.ห่วงศึกรัสเซียยูเครนกระทบส่งออกฉุดการค้า
https://www.innnews.co.th/news/news_337021/
สรท.ห่วงสงครามรัสเซียยูเครนกระทบส่งออกทางอ้อม ทำวัตถุดิบผลิตสินค้าขาดแคลน ฉุดตัวเลขการค้าหด
นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สรท. เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า สรท.มีความเป็นห่วงผลกระทบที่เกิดขึ้น จากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ และไม่มีท่าทีจะเจรจาให้คลี่คลายได้ โดยเฉพาะผลกระทบทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นกับการส่งออกของไทย สงครามอาจทำให้วัตถุดิบในการผลิตสินค้าบางรายการขาดแคลน โดยเฉพาะชิบเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการผลิตรถยนต์ และนอกจากขาดแคลนแล้วราคาจะมีการปรับสูงขึ้นด้วย อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยในระยะถัดไป
นอกจากนี้ตลาดคู่ค้าของประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบจากสงครามมากขึ้น มีผลต่อคำสั่งซื้อชะลอตัวลง โดยเฉพาะคู่ค้าในฝั่งสหภาพยุโรปเนื่องจากสงครามมีผลโดยตรงต่อการขนถ่ายสินค้าและราคาค่าระวางเรือที่ยังคงอยู่ในระดับสูงถึงแม้ว่าจะมีการปรับตัวลดลงมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังถือว่ามีราคาสูงกว่าช่วงปกติมากและโอกาสที่จะปรับราคาค่าระวางลงเป็นไปได้น้อย
ผู้ส่งออกไทยควรปรับแผนเปลี่ยนตลาดเน้นขายในภูมิภาคอาเซียน และเอเชีย ให้มากขึ้นเนื่องจากหลายประเทศ มีความต้องการสินค้าเพื่อเข้ามาทดแทนในช่วงที่ปิดประเทศมาตลอด 2 ปีจากการระบาดของโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เริ่มที่จะขยายคำสั่งซื้อมากขึ้นแล้ว เชื่อว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 การส่งออกของไทยจึงยังคงเติบโตได้อย่างน้อยร้อยละ 5
“ปลากระป๋อง”ดิ้นขอขึ้น 2 บาท ต้นทุน “เหล็ก-ขนส่ง” พุ่งไม่หยุด
https://www.prachachat.net/marketing/news-928204
อุตฯปลากระป๋องหมื่นล้านสะเทือน ต้นทุนการผลิต “ปลา-กระป๋อง-ขนส่ง” พุ่ง บาทอ่อนทุบซ้ำต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าแพง “ซูเปอร์ ซีเชฟ-โรซ่า-ปุ้มปุ้ย” ยื่นขอปรับราคา 2 บาท/กระป๋อง ตามรอย “ทียู” “ซีเล็ค” ขอขึ้น 5-7% สมาคมอาหารสำเร็จรูปชี้แนวโน้มต้นทุนสูงต่อเนื่อง “ผักกระป๋อง ปลากระป๋อง เครื่องปรุงรส”เริ่มเจรจาค้าปลีกขอปรับราคาขึ้นตาม
ถึงวันนี้ อุตสาหกรรมปลากระป๋องที่มีมูลค่ารวมมากกว่า 9,000 ล้านบาท กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทั้งต้นทุนวัตถุดิบ ทั้งปลาแมคเคอเรลและปลาซาร์ดีน ที่ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ และแพ็กเกจจิ้ง โดยเฉพาะเหล็กที่ใช้ผลิตกระป๋องปรับสูงขึ้น รวมทั้งได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าเงินบาทอ่อนค่า และเนื่องจากปลากระป๋องเป็นสินค้าควบคุม ผู้ผลิตจึงยังไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ และต้องรอการอนุญาตจากกรมการค้าภายในก่อน แต่จากปัญหาต้นทุนที่หนักขึ้น ทำให้หลาย ๆ รายหันไปใช้วิธีการปรับขึ้นราคาขายส่งด้วยรูปแบบต่าง ๆ แทนเพื่อคงมาร์จิ้นไว้
แจงต้นทุนขึ้นทุกอย่าง
นายอมรพันธุ์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซี แวลู จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปลากระป๋องแบรนด์ “ซูเปอร์ ซีเชฟ” เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากต้นทุนการผลิตสินค้าทุกอย่างที่เพิ่มในรอบปีที่ผ่านมา อาทิ พลังงานทุกชนิด กระป๋อง แผ่นเหล็ก น้ำมันพืช ซอสมะเขือเทศ ปลา ค่าขนส่ง บรรจุภัณฑ์ทุกประเภท ที่ปรับขึ้นตั้งแต่ 20-50% ขณะที่ถ่านหินปรับขึ้นไป 100% ผู้ผลิตจึงมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคาอย่างน้อย 20% แต่เนื่องจากกำลังซื้อผู้บริโภคอ่อนแรงมากคงปรับขึ้นขนาดนั้นไม่ได้ แต่ควรให้ปลากระป๋องขึ้นราคากระป๋องละ 2 บาท
หากเทียบต้นทุนเฉลี่ยการผลิตปลากระป๋อง ไตรมาส 1/2565 กับต้นทุนเฉลี่ยทั้งปี 2564 เพิ่มขึ้นมาถึง 12% แยกเป็น ต้นทุนปลาซาร์ดีน 9% อัตราแลกเปลี่ยน 32-34 บาท ต้นทุนกระป๋อง 3.26-3.71 บาท หรือ 14% การนำเข้าซอสมะเขือเทศ 26% และค่าพลังงาน 100%
การที่ต้นทุนสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี ทำให้กำไรต่อกระป๋องลดลง นี่ยังไม่รวมถึงผลกระทบของค่าบาทที่อ่อนตัวลงไปถึง 33-34 บาท และสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในครึ่งปีหลังนี้ คือ การปรับค่าแรงขั้นต่ำ และราคาเหล็กที่อาจปรับตัวขึ้นไปอีก ซึ่งต้องรอคณะกรรมการทุ่มตลาดและการอุดหนุนพิจารณาภายในเดือน พ.ค.นี้
ขณะที่นายสุวิทย์ วังพัฒนมงคล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปลากระป๋อง “โรซ่า” สะท้อนปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นว่า ขณะนี้ต้นทุนการผลิตต่าง ๆ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งวัตถุดิบ ค่าขนส่ง บรรจุภัณฑ์ โดยรวมปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 10-15% จากเมื่อช่วงต้นปีที่เพิ่มขึ้น 6-7% ปัจจัยหลักมาจากราคาน้ำมันที่ส่งผลกระทบไปถึงต้นทุนการจับปลาที่เป็นวัตถุดิบหลัก รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ หรือกระป๋อง ที่ล่าสุดเพิ่งแจ้งมาว่าจะขึ้นราคาอีก ที่คาดว่าปรับขึ้นอีกในช่วงกลางปี ซึ่งจะกระทบกับผู้ผลิตค่อนข้างหนัก แม้ที่ผ่านมาจะมีการปรับราคาส่งไปเมื่อต้นปี แต่ไม่สามารถปรับขึ้นได้อีกเพราะชนเพดานแล้ว
“ที่ผ่านมาบริษัทได้ยื่นขอปรับขึ้นราคาไปยังกรมการค้าภายใน ขอกระป๋องละประมาณ 2 บาท แต่ตอนนี้ยังไม่ได้มีการเรียกคุย คาดว่าอยู่ระหว่างการพิจารณา”
จ่อเจรจาค้าปลีกปรับสัญญา
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวในเรื่องนี้ว่า ขณะนี้ราคาสินค้าส่วนใหญ่ยังไม่ปรับขึ้นราคา เนื่องจากอาหารกระป๋องเป็นสินค้าควบคุม แต่มีหลายรายที่ทำเรื่องขอปรับราคาไปแล้ว และได้รับการอนุมัติบ้างแล้ว และบางรายอยู่ระหว่างการพิจารณา ที่ผ่านมาบางรายปรับขึ้นราคาขายส่ง ส่วนราคาขายปลีกขึ้นอยู่กับคู่ค้าของแต่ละราย
สำหรับสินค้าอาหารสำเร็จรูปกลุ่มที่มีการปรับขึ้นราคาบ้างแล้ว ได้แก่ ผักกระป๋อง ปลากระป๋อง เครื่องปรุงรส ขณะเดียวกันก็มีผู้ผลิตบางรายที่ปรับตัวมาใช้ถุงเพาช์ (พลาสติก) แทนกระป๋องที่มีต้นทุนสูง ผู้ประกอบการที่มีบรรจุภัณฑ์หลายชนิดจึงพยายามเฉลี่ยต้นทุนให้มากที่สุด บางรายจึงยังไม่ขอปรับราคาเนื่องจากต้องการรักษาฐานตลาด เพราะการซื้อของผู้บริโภคยังเปราะบาง และบางส่วนยังติดสัญญาราคาขายกับห้างค้าปลีก
“ตอนนี้ราคากระป๋องยังมีแนวโน้มจะปรับขึ้นราคาอีก และภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) แผ่นเหล็ก (ทินเพลตและทินฟรี) 6 เดือน จะครบกำหนดในวันที่ 12 พฤษภาคมนี้ ขณะนี้ยังไม่ได้รับแจ้งจากกรมการค้าต่างประเทศว่าจะขยายเวลาบังคับใช้ ออกไปอีก 6 เดือนหรือไม่ ต้องรอผลการประชุมพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน หรือ ทตอ.ก่อน”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสถานการณ์ราคาแผ่นเหล็กที่ใช้ทำกระป๋อง ซึ่งเป็น 1 ในต้นทุนสำคัญที่ผู้ประกอบการขอปรับขึ้นราคาปลากระป๋องนั้น ล่าสุดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีการนำเข้า แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก (Tin Plate) หรือเหล็กวิลาส กับ แผ่นเหล็กทินฟรี (Tin Free steel) เข้ามาภายในประเทศถึง 7,000 ตัน โดยราคานำเข้าขยับขึ้นไปถึงตันละ 1,500-1,600 เหรียญจากเดิมในช่วงเดียวกันของปีก่อนมีราคาประมาณ 900-960 เหรียญ/ตัน หรือ ราคาแผ่นเหล็กทำกระป๋องปรับตัวสูงขึ้นถึง 600-640 เหรียญ/ตัน
ซีเล็ค ทูน่า นำร่องปรับไปก่อน
ก่อนหน้านี้ นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือทียู ผู้ผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง และแปรรูปของไทย แบรนด์ “ซีเล็ค ทูน่า” กล่าวถึงภาพรวมต้นทุนการผลิตปลากระป๋องที่ปรับขึ้นเฉลี่ยประมาณ 6-7% จากแพ็กเกจจิ้ง และค่าขนส่งที่ปรับขึ้นมาตั้งแต่ปีก่อน ในส่วนของแพ็กเกจจิ้งคิดเป็นสัดส่วน 10% โลจิสติกส์ สัดส่วน 20% ที่เหลืออีก 10% เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยไทยยูเนี่ยนเริ่มปรับราคามาตั้งแต่ปลายปี 2564 ตามต้นทุนชนิดสินค้า ส่วนสินค้าที่รับจ้างผลิต (ORM) ปรับขึ้นราคาเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม ภาวะต้นทุนการผลิตที่ปรับขึ้นนี้ไม่ได้กระทบแต่ทียู เพราะมีผลกับทุกอุตสาหกรรมทุกประเทศทั่วโลก
เรือประมงจ่อพบ รมว.เกษตร
นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า เนื่องจากต้นทุนน้ำมันเป็นค่าใช้จ่ายชาวประมงถึง 60% ตอนนี้ชาวประมงเจอปัญหาทั้งค่าแรง ค่าเรือ ค่ารถบรรทุกขนส่งสินค้าสัตว์น้ำ น้ำมันแพงแบบนี้ทำให้ชาวประมงจอดเรือแล้วมากกว่า 40% ขณะเดียวกันขณะนี้ค่าเงินอ่อนมาก 3-4 บาทกว่าแล้ว ผู้ส่งออก ห้องเย็นจะได้ประโยชน์ จึงสั่งซื้อและเพิ่มออร์เดอร์ ทำให้สินค้ามีไม่พอ ทั้งหมดนี้ทำให้ราคาในประเทศสูง
“ราคาสัตว์น้ำปรับสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ แต่ราคาก็ไม่แน่ไม่นอน ตอนนี้เป็นไปตามราคาน้ำมัน ซึ่งชาวประมงไม่ออกเรือกว่า 40% เพราะสู้ต้นทุนไม่ไหว อีกทั้งต้นทุนบรรทุกสินค้าขึ้น 20% ตอนนี้อาหารทะเล สัตว์น้ำจึงมีน้อย ราคาจึงสูง จากหลาย ๆ ปัจจัยที่ชาวประมงก็แบกรับต้นทุนมาก หากน้ำมันยังแพงไปอีก 2 เดือน น่ากังวลมาก ๆ จะจอดเรือทิ้งทั้งหมด และในวันที่ 11 พ.ค.นี้ สมาคมจะเข้าหารือ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงแนวทางช่วยเหลือวิกฤตน้ำมันแพงโดยด่วน” นายมงคลกล่าว