วินมอไซค์โคราชมึน มาตรการรัฐช่วยค่าน้ำมัน 3 เดือน ยังไม่ได้สักราย
https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2383902
ผู้ขับขี่จยย.รับจ้างที่โคราช เผยมาตรการช่วยค่าน้ำมัน 3 เดือนของรัฐ ยังไม่ได้สิทธิ์สักราย ขณะที่รถตู้โดยสารสาธารณะวอนรัฐช่วยเหลือให้เท่าเทียมกัน
วันที่ 4 พ.ค. 65 ภายหลังจากที่ที่ประชุม ครม.เห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานในปัจจุบัน สำหรับช่วยเหลือค่าน้ำมันผู้ประกอบอาชีพวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง โดยให้ส่วนลดราคาน้ำมัน “
กลุ่มเบนซิน” ทั้งหมด สำหรับผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง (วินมอเตอร์ไซค์) ที่มีใบอนุญาต - จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จำนวน 106,655 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มี.ค. 2565) ในรูปแบบรัฐร่วมจ่าย 50% ไม่เกิน 50 บ./คน/วัน และไม่เกิน 250 บ./คน/เดือน กับปั๊มน้ำมันที่ร่วมโครงการ เริ่ม พ.ค.-ก.ค. 2565 (รวม 3 เดือน) พร้อมยกเว้นภาษีเงินได้ฯ สำหรับผู้ที่ได้รับเงินจากโครงการนี้ โดยผู้ขับขี่วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างจะต้องยืนยันสิทธิ์และเงื่อนไขผ่านแอปพลิเคชัน และจ่ายเงินโดยสแกนคิวอาร์โค้ดกับปั๊มน้ำมันที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น
ล่าสุด วันนี้ (4 พฤษภาคม 2565) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สอบถามกลุ่มผู้ประกอบอาชีพวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ โคราช ซึ่งมีอยู่กว่า 40 คัน พบว่าทุกคนยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เนื่องจากไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรถึงจะได้สิทธิ์ โดยนาย
องอาจ พบโชค อายุ 53 ปี วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างรายหนึ่ง กล่าวว่า ได้ติดตามข่าวนี้มาบ้าง แต่ไม่รู้รายละเอียดที่ชัดเจนว่า รัฐบาลจะช่วยเหลืออย่างไร เพราะขนส่งในท้องที่ก็ไม่ได้มีการแจ้งรายละเอียดให้รับทราบถึงขั้นตอนต่างๆ ที่จะได้รับสิทธิ์ ซึ่งการช่วยเหลือวันละ 50 บาท แม้ไม่มากสำหรับใครหลายคน แต่สำหรับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างถือว่าสามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าน้ำมันได้เป็นอย่างดี
"ทุกวันนี้ลูกค้าก็ลดลงมาก จากเดิมก่อนช่วงโควิด-19 ระบาด จะมีรายได้ประมาณ 600-700 บาท แต่ตอนนี้เหลือแค่วันละ 200 กว่าบาทเอง ซึ่งยังน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำด้วยซ้ำ ถ้าคนที่ผ่อนรถจักรยานยนต์อยู่ จะอยู่ไม่ได้แน่นอน ต้องไปหาอาชีพอื่นทำเป็นรายได้เสริม ถึงจะอยู่รอด" นาย
องอาจ กล่าว
ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปที่ท่ารถตู้โดยสารสาธารณะ ภายในสถานีขนส่งนครราชสีมาแห่งที่ 2 พบว่าบรรยากาศเป็นไปด้วยความเงียบเหงา เนื่องจากประชาชนยังหวาดกลัวการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้มีผู้มาใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะลดลงกว่า 80% โดยนาย
อำนาจ ชำเกษม อายุ 64 ปี ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะ สายโคราช-ขอนแก่น กล่าวว่า ทุกวันนี้คิวรถตู้แทบจะไม่ได้วิ่งตามเวลาที่กำหนด เพราะแต่ละคันจะต้องรอให้ผู้โดยสารซื้อตั๋วขึ้นรถให้ได้อย่างน้อยเที่ยวละ 8 คนขึ้นไป หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของที่นั่งทั้งหมด 13 ที่นั่ง ถ้าผู้โดยสารไม่ถึง 8 ที่นั่ง วิ่งรถออกไปก็จะไม่คุ้มทุน แต่ถ้ารถคันไหนที่ใช้น้ำมันดีเซลไม่ต้องพูดถึงเลย คงเลิกวิ่งไปนานแล้ว ที่อยู่ได้เพราะใช้แก๊ส NGV จึงสามารถอยู่ได้ แต่ช่วงหลังๆ ค่าครองชีพต่างๆ เริ่มปรับราคาสูงขึ้นไปหมด ทำให้ขณะนี้รายได้ที่น้อยอยู่แล้ว บวกกับรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารเริ่มจะอยู่ไม่ได้แล้วเหมือนกัน จึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการออกมาช่วยเหลือเหมือนกับช่วยวินมอเตอร์ไซค์ด้วย.
สรท.วอนแบงก์ชาติพยุงบาทอ่อนสุดรอบ 5 ปี จี้รัฐลดค่าครองชีพ ตรึงราคาน้ำมันช่วย ปชช.
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7030876
สรท.วอนแบงก์ชาติพยุงบาทอ่อนสุดรอบ 5 ปี จี้รัฐลดค่าครองชีพ ตรึงราคาน้ำมันช่วยประชาชน แนะผู้ประกอบการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน
เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2565 นาย
ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนมีนาคม 2565 ว่า สรท.คาดการณ์การส่งออกไทยในไตรมาส 2/2565 (เมษายน-มิถุนายน) เติบโต 3.5-5% และคงคาดการณ์รวมทั้งปี 5% ปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทอ่อน ส่วนจะขยายตัวถึง 10% ตามที่กระทรวงการคลังต้องการหรือไม่ต้องติดตามสถานการณ์อีกครั้ง ตัวแปรหนึ่งที่สำคัญคือ ค่าเงินบาท
ข่าวแนะนำ
ขณะนี้ สรท.ใช้ระดับค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.5-34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หวังว่าภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะช่วยดูแลค่าเงินบาทให้ทรงตัวอยู่ในอ่อนค่าเช่นนี้ไปอีกระยะหนึ่งจะเป็นผลดีต่อภาคการส่งออก เพราะปัจจัยที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่ามาจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก คาดว่าจะเพิ่ม 0.5% จึงเป็นตัวผลักดันทำให้ค่าเงินทั่วโลกอ่อนลง โดยเฉพาะเงินเยนที่อ่อนลงมาก ซึ่งเปอร์เซ็นต์การอ่อนค่าของเงินบาทอ่อนค่าน้อยกว่าเงินเยน เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยจากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว
“สรท.คาดการส่งออกปีนี้จะอยู่ที่ 5% น่าจะอยู่ในระดับที่ทำได้และบรรลุตามเป้าหมาย แต่ถ้าหากเพิ่มขึ้น 10% ตามนโยบายกระทรวงการคลัง ความเป็นไปได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน อาทิ เรื่องค่าเงินบาท ต้องติดตามอีกระยะ”
นาย
ชัยชาญ กล่าวต่อว่า การส่งออกยังมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ 6 ประการ ประกอบด้วย 1.สถานการณ์สงครามระหว่างยูเครน-รัสเซีย 2.ราคาพลังงานทรงตัวระดับสูง 3.ค่าระวางปรับลงเล็กน้อยแต่ยังทรงตัวในระดับสูง 4.แรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง ประกอบกับมีแนวโน้มต้นทุนการจ้างงานสูงขึ้น 5.ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน และ 6.สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
นาย
ชัยชาญ กล่าวอีกว่า กรณีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ขอให้ภาครัฐพิจารณาโดยอ้างอิงจากปัจจัยเงินเฟ้อเป็นหลัก พร้อมทั้งบริหารเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินกว่า 5% เพื่อให้ผู้ประกอบการไม่แบกรับภาระที่สูงจนเกินไป ขณะเดียวกันแรงงานต้องไม่ขาดแคลน เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก และดูถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเหมาะสม และไม่ส่งผลรุนแรงต่อผู้ส่งออกหรือผู้ผลิต
อีกทั้งภาครัฐต้องพิจารณาควบคุมหรือปรับลดค่าใช้จ่ายภาคประชาชนในการดำรงชีวิต อาทิ ค่าเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าพลังงาน เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชน รวมถึงลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ รวมถึงผลักดันการขยายการตลาด เนื่องจากการทำตลาดใหม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
“อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องของการสนับสนุนการหาตลาดใหม่ เร่งผลักดันการค้าเข้าสู่ตลาดอาร์เซ็ป หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ให้มากที่สุด เพื่อใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงดังกล่าว”
นาย
ชัยชาญ กล่าวต่อว่า สำหรับราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง สรท.อยากให้รัฐบาลกลับมาตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร อยากให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงร่วมกับผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของประเทศไทยตรึงราคา หรืออาจขยายระยะเวลาการตรึงราคาน้ำมันดีเซล 30 บาทต่อลิตร ถึงสิ้นปีนี้ เพราะราคาที่สูงกว่า 30 บาทต่อลิตร ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตพลังงานอุตสาหกรรม และต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น
ด้าน น.ส.
รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทิศทางค่าเงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวกรอบ 34.15-34.65 บาทต่อดอลลาร์ แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 5 ปี เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทปิดที่ 34.27 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมาจากความวิตกเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและการเร่งขึ้นดอกเบี้ยและลดขนาดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งผลให้นักลงทุนปิดรับความเสี่ยง
ส่วนนาย
พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันที่ 3 พฤษภาคม ระดับ 34.46 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบสัปดาห์นี้ 34.10-34.60 บาทต่อดอลลาร์ แนวโน้มค่าเงินบาทยังผันผวนในฝั่งอ่อนค่าและมีโอกาสทดสอบแนวต้าน 34.50 บาทต่อดอลลาร์ แนะนำผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ทีมเศรษฐกิจ พท. พบสถานทูตสหรัฐ แลกเปลี่ยนแนวทางฟื้นเศรษฐกิจหลังเลือกตั้ง
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7031149
ทีมเศรษฐกิจ พท. พบสถานทูตสหรัฐ แลกเปลี่ยนแนวทางฟื้นเศรษฐกิจไทย หลังเลือกตั้ง พร้อมหารือถึงอนาคตของธุรกิจทางดิจิทัลที่ขยายตัวอย่างมาก
เมื่อวันที่ 4 พ.ค.65 นาย
พิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) ด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตนพร้อมคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคพท.ประกอบด้วยนาย
จักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ และรองเลขาธิการพรรค นาย
เลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ส.ส.เลย และกรรมการบริหารพรรค น.ส.
จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด และกรรมการบริหารพรรค นาย
กฤษฎา ตันเทอดทิตย์ ส.ส.หนองคาย นาย
พชร นริพทะพันธุ์ กรรมการบริหารพรรค น.ส.
ชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรค
เข้าพบเพื่อร่วมรับประทานอาหารค่ำที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาตามคำเชิญเมื่อวันที่ 3 พ.ค. โดยได้พบกับ H.E.
Michael Heath อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต หน่วยงานสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย Mr. James Wayman, Acting Deputy Chief of Mission,Mr.
Edwin Sagurton,
Jr. Counselor for Economic, Mr.
Kevin McCown เลขาทูตโท Mr. Paul Neville ผู้ชำนาญด้านเศรษฐกิจ โดยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นทางเศรษฐกิจและทิศทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสหรัฐฯ และประเทศไทย
คณะทำงานเศรษฐกิจของพรรค ได้ขอความเห็นสถานทูตสหรัฐในปัญหาสงครามรัสเซียยูเครนที่มีผลกระทบด้านเศรษฐกิจกับทั้งโลก และประเทศสหรัฐในฐานะมหาอำนาจจะหาทางแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลามต่อไปอย่างไร ทั้งนี้ สหรัฐเป็นตลาดการส่งออกที่สำคัญมากสำหรับไทย โดยไทยได้เปรียบดุลการค้าจากสหรัฐมาตลอด หวังว่านักลงทุนสหรัฐจะเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
นอกจากนี้ยังได้หารือถึงอนาคตของธุรกิจทางดิจิทัลที่ขยายตัวอย่างมาก เทคโนโลยีทางด้านดิจิทัล แพลตฟอร์ม ความมั่นคงทางไซเบอร์ และแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจของไทยและสหรัฐ การแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างราบรื่นและครบถ้วน คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคหวังว่าจะสามารถนำมาปฏิบัติ และดำเนินการได้หากพรรคพท.ชนะการเลือกตั้งในอนาคต
JJNY : วินมอไซค์โคราชมึน│สรท.จี้รัฐลดค่าครองชีพ│ทีมศก.พท.พบสถานทูตสหรัฐ│ทหารรัสเซียขโมยเครื่องจักรทางการเกษตรยูเครน
https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2383902
ผู้ขับขี่จยย.รับจ้างที่โคราช เผยมาตรการช่วยค่าน้ำมัน 3 เดือนของรัฐ ยังไม่ได้สิทธิ์สักราย ขณะที่รถตู้โดยสารสาธารณะวอนรัฐช่วยเหลือให้เท่าเทียมกัน
วันที่ 4 พ.ค. 65 ภายหลังจากที่ที่ประชุม ครม.เห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานในปัจจุบัน สำหรับช่วยเหลือค่าน้ำมันผู้ประกอบอาชีพวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง โดยให้ส่วนลดราคาน้ำมัน “กลุ่มเบนซิน” ทั้งหมด สำหรับผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง (วินมอเตอร์ไซค์) ที่มีใบอนุญาต - จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จำนวน 106,655 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มี.ค. 2565) ในรูปแบบรัฐร่วมจ่าย 50% ไม่เกิน 50 บ./คน/วัน และไม่เกิน 250 บ./คน/เดือน กับปั๊มน้ำมันที่ร่วมโครงการ เริ่ม พ.ค.-ก.ค. 2565 (รวม 3 เดือน) พร้อมยกเว้นภาษีเงินได้ฯ สำหรับผู้ที่ได้รับเงินจากโครงการนี้ โดยผู้ขับขี่วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างจะต้องยืนยันสิทธิ์และเงื่อนไขผ่านแอปพลิเคชัน และจ่ายเงินโดยสแกนคิวอาร์โค้ดกับปั๊มน้ำมันที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น
ล่าสุด วันนี้ (4 พฤษภาคม 2565) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สอบถามกลุ่มผู้ประกอบอาชีพวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ โคราช ซึ่งมีอยู่กว่า 40 คัน พบว่าทุกคนยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เนื่องจากไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรถึงจะได้สิทธิ์ โดยนายองอาจ พบโชค อายุ 53 ปี วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างรายหนึ่ง กล่าวว่า ได้ติดตามข่าวนี้มาบ้าง แต่ไม่รู้รายละเอียดที่ชัดเจนว่า รัฐบาลจะช่วยเหลืออย่างไร เพราะขนส่งในท้องที่ก็ไม่ได้มีการแจ้งรายละเอียดให้รับทราบถึงขั้นตอนต่างๆ ที่จะได้รับสิทธิ์ ซึ่งการช่วยเหลือวันละ 50 บาท แม้ไม่มากสำหรับใครหลายคน แต่สำหรับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างถือว่าสามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าน้ำมันได้เป็นอย่างดี
"ทุกวันนี้ลูกค้าก็ลดลงมาก จากเดิมก่อนช่วงโควิด-19 ระบาด จะมีรายได้ประมาณ 600-700 บาท แต่ตอนนี้เหลือแค่วันละ 200 กว่าบาทเอง ซึ่งยังน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำด้วยซ้ำ ถ้าคนที่ผ่อนรถจักรยานยนต์อยู่ จะอยู่ไม่ได้แน่นอน ต้องไปหาอาชีพอื่นทำเป็นรายได้เสริม ถึงจะอยู่รอด" นายองอาจ กล่าว
ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปที่ท่ารถตู้โดยสารสาธารณะ ภายในสถานีขนส่งนครราชสีมาแห่งที่ 2 พบว่าบรรยากาศเป็นไปด้วยความเงียบเหงา เนื่องจากประชาชนยังหวาดกลัวการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้มีผู้มาใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะลดลงกว่า 80% โดยนายอำนาจ ชำเกษม อายุ 64 ปี ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะ สายโคราช-ขอนแก่น กล่าวว่า ทุกวันนี้คิวรถตู้แทบจะไม่ได้วิ่งตามเวลาที่กำหนด เพราะแต่ละคันจะต้องรอให้ผู้โดยสารซื้อตั๋วขึ้นรถให้ได้อย่างน้อยเที่ยวละ 8 คนขึ้นไป หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของที่นั่งทั้งหมด 13 ที่นั่ง ถ้าผู้โดยสารไม่ถึง 8 ที่นั่ง วิ่งรถออกไปก็จะไม่คุ้มทุน แต่ถ้ารถคันไหนที่ใช้น้ำมันดีเซลไม่ต้องพูดถึงเลย คงเลิกวิ่งไปนานแล้ว ที่อยู่ได้เพราะใช้แก๊ส NGV จึงสามารถอยู่ได้ แต่ช่วงหลังๆ ค่าครองชีพต่างๆ เริ่มปรับราคาสูงขึ้นไปหมด ทำให้ขณะนี้รายได้ที่น้อยอยู่แล้ว บวกกับรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารเริ่มจะอยู่ไม่ได้แล้วเหมือนกัน จึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการออกมาช่วยเหลือเหมือนกับช่วยวินมอเตอร์ไซค์ด้วย.
สรท.วอนแบงก์ชาติพยุงบาทอ่อนสุดรอบ 5 ปี จี้รัฐลดค่าครองชีพ ตรึงราคาน้ำมันช่วย ปชช.
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7030876
สรท.วอนแบงก์ชาติพยุงบาทอ่อนสุดรอบ 5 ปี จี้รัฐลดค่าครองชีพ ตรึงราคาน้ำมันช่วยประชาชน แนะผู้ประกอบการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน
เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2565 นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนมีนาคม 2565 ว่า สรท.คาดการณ์การส่งออกไทยในไตรมาส 2/2565 (เมษายน-มิถุนายน) เติบโต 3.5-5% และคงคาดการณ์รวมทั้งปี 5% ปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทอ่อน ส่วนจะขยายตัวถึง 10% ตามที่กระทรวงการคลังต้องการหรือไม่ต้องติดตามสถานการณ์อีกครั้ง ตัวแปรหนึ่งที่สำคัญคือ ค่าเงินบาท
ข่าวแนะนำ
ขณะนี้ สรท.ใช้ระดับค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.5-34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หวังว่าภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะช่วยดูแลค่าเงินบาทให้ทรงตัวอยู่ในอ่อนค่าเช่นนี้ไปอีกระยะหนึ่งจะเป็นผลดีต่อภาคการส่งออก เพราะปัจจัยที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่ามาจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก คาดว่าจะเพิ่ม 0.5% จึงเป็นตัวผลักดันทำให้ค่าเงินทั่วโลกอ่อนลง โดยเฉพาะเงินเยนที่อ่อนลงมาก ซึ่งเปอร์เซ็นต์การอ่อนค่าของเงินบาทอ่อนค่าน้อยกว่าเงินเยน เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยจากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว
“สรท.คาดการส่งออกปีนี้จะอยู่ที่ 5% น่าจะอยู่ในระดับที่ทำได้และบรรลุตามเป้าหมาย แต่ถ้าหากเพิ่มขึ้น 10% ตามนโยบายกระทรวงการคลัง ความเป็นไปได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน อาทิ เรื่องค่าเงินบาท ต้องติดตามอีกระยะ”
นายชัยชาญ กล่าวต่อว่า การส่งออกยังมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ 6 ประการ ประกอบด้วย 1.สถานการณ์สงครามระหว่างยูเครน-รัสเซีย 2.ราคาพลังงานทรงตัวระดับสูง 3.ค่าระวางปรับลงเล็กน้อยแต่ยังทรงตัวในระดับสูง 4.แรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง ประกอบกับมีแนวโน้มต้นทุนการจ้างงานสูงขึ้น 5.ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน และ 6.สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
นายชัยชาญ กล่าวอีกว่า กรณีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ขอให้ภาครัฐพิจารณาโดยอ้างอิงจากปัจจัยเงินเฟ้อเป็นหลัก พร้อมทั้งบริหารเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินกว่า 5% เพื่อให้ผู้ประกอบการไม่แบกรับภาระที่สูงจนเกินไป ขณะเดียวกันแรงงานต้องไม่ขาดแคลน เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก และดูถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเหมาะสม และไม่ส่งผลรุนแรงต่อผู้ส่งออกหรือผู้ผลิต
อีกทั้งภาครัฐต้องพิจารณาควบคุมหรือปรับลดค่าใช้จ่ายภาคประชาชนในการดำรงชีวิต อาทิ ค่าเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าพลังงาน เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชน รวมถึงลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ รวมถึงผลักดันการขยายการตลาด เนื่องจากการทำตลาดใหม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
“อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องของการสนับสนุนการหาตลาดใหม่ เร่งผลักดันการค้าเข้าสู่ตลาดอาร์เซ็ป หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ให้มากที่สุด เพื่อใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงดังกล่าว”
นายชัยชาญ กล่าวต่อว่า สำหรับราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง สรท.อยากให้รัฐบาลกลับมาตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร อยากให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงร่วมกับผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของประเทศไทยตรึงราคา หรืออาจขยายระยะเวลาการตรึงราคาน้ำมันดีเซล 30 บาทต่อลิตร ถึงสิ้นปีนี้ เพราะราคาที่สูงกว่า 30 บาทต่อลิตร ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตพลังงานอุตสาหกรรม และต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น
ด้าน น.ส.รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทิศทางค่าเงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวกรอบ 34.15-34.65 บาทต่อดอลลาร์ แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 5 ปี เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทปิดที่ 34.27 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมาจากความวิตกเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและการเร่งขึ้นดอกเบี้ยและลดขนาดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งผลให้นักลงทุนปิดรับความเสี่ยง
ส่วนนายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันที่ 3 พฤษภาคม ระดับ 34.46 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบสัปดาห์นี้ 34.10-34.60 บาทต่อดอลลาร์ แนวโน้มค่าเงินบาทยังผันผวนในฝั่งอ่อนค่าและมีโอกาสทดสอบแนวต้าน 34.50 บาทต่อดอลลาร์ แนะนำผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ทีมเศรษฐกิจ พท. พบสถานทูตสหรัฐ แลกเปลี่ยนแนวทางฟื้นเศรษฐกิจหลังเลือกตั้ง
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7031149
ทีมเศรษฐกิจ พท. พบสถานทูตสหรัฐ แลกเปลี่ยนแนวทางฟื้นเศรษฐกิจไทย หลังเลือกตั้ง พร้อมหารือถึงอนาคตของธุรกิจทางดิจิทัลที่ขยายตัวอย่างมาก
เมื่อวันที่ 4 พ.ค.65 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) ด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตนพร้อมคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคพท.ประกอบด้วยนายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ และรองเลขาธิการพรรค นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ส.ส.เลย และกรรมการบริหารพรรค น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด และกรรมการบริหารพรรค นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ ส.ส.หนองคาย นายพชร นริพทะพันธุ์ กรรมการบริหารพรรค น.ส.ชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรค
เข้าพบเพื่อร่วมรับประทานอาหารค่ำที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาตามคำเชิญเมื่อวันที่ 3 พ.ค. โดยได้พบกับ H.E. Michael Heath อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต หน่วยงานสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย Mr. James Wayman, Acting Deputy Chief of Mission,Mr. Edwin Sagurton,
Jr. Counselor for Economic, Mr. Kevin McCown เลขาทูตโท Mr. Paul Neville ผู้ชำนาญด้านเศรษฐกิจ โดยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นทางเศรษฐกิจและทิศทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสหรัฐฯ และประเทศไทย
คณะทำงานเศรษฐกิจของพรรค ได้ขอความเห็นสถานทูตสหรัฐในปัญหาสงครามรัสเซียยูเครนที่มีผลกระทบด้านเศรษฐกิจกับทั้งโลก และประเทศสหรัฐในฐานะมหาอำนาจจะหาทางแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลามต่อไปอย่างไร ทั้งนี้ สหรัฐเป็นตลาดการส่งออกที่สำคัญมากสำหรับไทย โดยไทยได้เปรียบดุลการค้าจากสหรัฐมาตลอด หวังว่านักลงทุนสหรัฐจะเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
นอกจากนี้ยังได้หารือถึงอนาคตของธุรกิจทางดิจิทัลที่ขยายตัวอย่างมาก เทคโนโลยีทางด้านดิจิทัล แพลตฟอร์ม ความมั่นคงทางไซเบอร์ และแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจของไทยและสหรัฐ การแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างราบรื่นและครบถ้วน คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคหวังว่าจะสามารถนำมาปฏิบัติ และดำเนินการได้หากพรรคพท.ชนะการเลือกตั้งในอนาคต