สังคมยุคนี้ มีเรื่องกระทบใจมากมายไปหมด
ไม่ว่าจะเรื่องสุขภาพ โควิด สิ่งแวดล้อมแย่ สงคราม ปัญหาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ... ฯลฯ
สำหรับชาวพุทธ
เรื่องวุ่นวายของพระและการปกครองของสงฆ์ ก็เป็นเรื่องหมักหมม มานานมากๆๆๆ
และก็ผุดให้เห็นอยู่บ่อยๆ ในยุค internet นี้
มันมีสารพัดเรื่องที่กระทบใจเรา สร้างความสงสัย ขุ่นข้องหมองใจ
สร้างความโกรธ ความไม่พอใจให้เกิดขึ้นในใจ
แน่นอนว่า ปุถุชนนั้น ไม่มีใครหนีพ้นอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง ฯลฯ
เมื่อมีอะไรที่ไม่น่าพอใจมากระทบ ก็ต้องรู้สึกเป็นธรรมดา
ประโยคที่ว่า
"โกรธ" แต่ "ไม่เกลียด" เป็นประโยคที่สะกิดใจเรามากเลย
เรามองว่า ประโยคนี้ น่าจะเหมาะกับชาวพุทธทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ฝึกภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน
เพราะสื่อถึงผลแห่งการฝึกฝนภาวนา ที่จะทำให้เรา "รู้ทัน" ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกที่ผุดขึ้นในใจ
แล้วไม่หลงไปปรุงแต่งต่อเติม ไม่หลงไปยินดียินร้ายกับสิ่งกระทบต่างๆ
คนที่ไม่ได้ฝึกภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน อาจจะไม่เห็นด้วย
หรืออาจจะไม่เชื่อว่า
"โกรธ" แต่ "ไม่เกลียด" เป็นเรื่องที่สามารถฝึกฝนให้เกิดขึ้นได้
เราได้ฟังคลิปนี้ ก็ถือว่าสะกิดใจเราได้ดี ก็เลยเอามาแบ่งปันสำหรับผู้ฝึกภาวนาละกันค่ะ
ใครสนใจก็ลองฟังดูค่ะ คลิปไม่ยาวอะไรนัก
หมายเหตุ : ผู้บรรยาย พูดในคอร์สการสอนสติปัฏฐานตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน
ซึ่งใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย (การสร้างจังหวะ) เป็นอารมณ์กรรมฐาน
แต่ผู้ที่ฝึกภาวนาด้วยการใช้ลมหายใจ หรือเดินจงกรม หรือเทคนิคอื่นๆ
ก็น่าจะพอเข้าใจหลักการอยู่นะคะ เพราะมันก็เป็นหลักการเดียวกันของสติปัฏฐานค่ะ
"โกรธ" แต่ "ไม่เกลียด"
ไม่ว่าจะเรื่องสุขภาพ โควิด สิ่งแวดล้อมแย่ สงคราม ปัญหาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ... ฯลฯ
สำหรับชาวพุทธ
เรื่องวุ่นวายของพระและการปกครองของสงฆ์ ก็เป็นเรื่องหมักหมม มานานมากๆๆๆ
และก็ผุดให้เห็นอยู่บ่อยๆ ในยุค internet นี้
มันมีสารพัดเรื่องที่กระทบใจเรา สร้างความสงสัย ขุ่นข้องหมองใจ
สร้างความโกรธ ความไม่พอใจให้เกิดขึ้นในใจ
แน่นอนว่า ปุถุชนนั้น ไม่มีใครหนีพ้นอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง ฯลฯ
เมื่อมีอะไรที่ไม่น่าพอใจมากระทบ ก็ต้องรู้สึกเป็นธรรมดา
ประโยคที่ว่า "โกรธ" แต่ "ไม่เกลียด" เป็นประโยคที่สะกิดใจเรามากเลย
เรามองว่า ประโยคนี้ น่าจะเหมาะกับชาวพุทธทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ฝึกภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน
เพราะสื่อถึงผลแห่งการฝึกฝนภาวนา ที่จะทำให้เรา "รู้ทัน" ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกที่ผุดขึ้นในใจ
แล้วไม่หลงไปปรุงแต่งต่อเติม ไม่หลงไปยินดียินร้ายกับสิ่งกระทบต่างๆ
คนที่ไม่ได้ฝึกภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน อาจจะไม่เห็นด้วย
หรืออาจจะไม่เชื่อว่า "โกรธ" แต่ "ไม่เกลียด" เป็นเรื่องที่สามารถฝึกฝนให้เกิดขึ้นได้
เราได้ฟังคลิปนี้ ก็ถือว่าสะกิดใจเราได้ดี ก็เลยเอามาแบ่งปันสำหรับผู้ฝึกภาวนาละกันค่ะ
ใครสนใจก็ลองฟังดูค่ะ คลิปไม่ยาวอะไรนัก
หมายเหตุ : ผู้บรรยาย พูดในคอร์สการสอนสติปัฏฐานตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน
ซึ่งใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย (การสร้างจังหวะ) เป็นอารมณ์กรรมฐาน
แต่ผู้ที่ฝึกภาวนาด้วยการใช้ลมหายใจ หรือเดินจงกรม หรือเทคนิคอื่นๆ
ก็น่าจะพอเข้าใจหลักการอยู่นะคะ เพราะมันก็เป็นหลักการเดียวกันของสติปัฏฐานค่ะ