"ธรรม" ที่เราได้บรรลุแล้วนี้
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
ตสฺส มยฺหํ ราชกุมาร เอตทโหสิ อธิคโต โข เม อยํ ธมฺโม คมฺภีโร ทุทฺทโส ทุรนุโพโธ สนฺโต ปณีโต อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโย ฯ อาลยรามา โข ปนายํ ปชา อาลยรตา อาลยสมฺมุทิตา ฯ อาลยรามาย โข ปน ปชาย อาลยรตาย อาลยสมฺมุทิตาย ทุทฺทสํ อิทํ ฐานํ ยทิทํ อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจสมุปฺปาโท ฯ อิทํปิ โข ฐานํ ทุทฺทสํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ ฯ อหญฺเจว โข ปน ธมฺมํ เทเสยฺยํ ปเร จ เม น อาชาเนยฺยํ โส มมสฺส กิลมโถ สา มมสฺส วิเหสาติ ฯ
คำแปล : ราชกุมาร อาตมภาพนั้นได้มีความดำริว่า ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ส่วนหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลิน
ในอาลัย ฐานะที่หมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย นี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท ถึงแม้ฐานะอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดทิ้งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรมและผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา
___________________
ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นชื่อว่าเห็น "เรา"
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
อลํ วกฺกลิ กึ เต อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเฐน ฯ โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ ฯ ธมฺมํ หิ วกฺกลิ ปสฺสนฺโต มํ ปสฺสติ มํ ปสฺสนฺโต ธมฺมํ ปสฺสติ ฯ
คำแปล : อย่าเลย วักกลิ จะมีประโยชน์อะไรด้วยร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นอยู่นี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ความจริง เมื่อเห็นธรรมก็ชื่อว่าเห็นเรา เมื่อเห็นเราก็ชื่อว่าเห็นธรรม
___________________
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท
ผู้นั้นชื่อว่าเห็น "ธรรม"
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
วุตฺตํ โข ปเนตํ ภควตา โย ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ปสฺสตีติ ฯ
คำแปล : อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท
___________________
เห็นธรรม
คือเห็น "ธรรมกาย"
• คัมภีร์อรรถกถา (ปกรณ์บาลี)
อริยสจฺจทสฺสเนน หิ ภควโต ธมฺมกาโย
ทิฏฺโฐ นาม โหติ. วุตฺตเญฺหตํ:- "โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสติ. โย มํ ปสฺสติ, โส ธมฺมํ ปสฺสตี"ติ. ตสฺมาสฺส ธมฺมกายทสฺสนํ ปเคว สิทฺธํ, ปวาเรตฺวา ปน รูปกายํ ทฏฺฐุกาโม อโหสีติ.
คำแปล : ก็เพราะเห็นอริยสัจ จึงเป็นอันชื่อว่า เธอได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม เพราะฉะนั้น การเห็นธรรมกายจึงสำเร็จแก่เธอก่อนทีเดียว ก็แลครั้นปวารณาแล้ว เธอได้มีความประสงค์จะเห็นรูปกาย
___________________
ตถาคต
คือ "ธรรมกาย"
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ ฯ
คำแปล : ดูกรวาเสฏฐะ เพราะคำว่า ธรรมกาย (กายธรรม) ก็ดี พรหมกาย (กายอันประเสริฐ) ก็ดี ธรรมภูต (อุบัติขึ้นโดยธรรม) ก็ดี พรหมภูต (อุบัติขึ้นอย่างประเสริฐ) ก็ดี ล้วนเป็นคำที่ใช้กล่าวถึง (อธิวจนํ) ตถาคต
___________________
พึงเห็นตถาคต
โดยการเข้าถึง "ธรรมกาย"
• คัมภีร์อัษฏสาหัสริกา (ปกรณ์สันสกฤต)
ธรฺมกายปรินิษฺปตฺติโต มํ ภิกฺษโว ทฺรกฺษยถ ฯ
คำแปล : ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นเราโดยการเข้าถึงธรรมกาย
___________________
เพราะไม่เห็น "ธรรม"
จึงชื่อว่าไม่เห็นธรรมกาย
• คัมภีร์อรรถกถา (ปกรณ์บาลี)
เอเตน มํสจกฺขุนา ตถาคตทสฺสนํ รูปกายสโมธานญฺจ อการณํ ญาณจกฺขุนาว ทสฺสนํ ธมฺมกายสโมธานเมว จ ปมาณนฺติ ทสฺ เสติ ฯ เตเนวาห ธมฺมํ หิ โส ภิกขเว ภิกฺขุ น ปสฺสติ ธมฺมํ อปสฺสนฺโต มํ น ปสฺสตีติ ฯ ตตฺถ ธมฺโม นาม นววิโธ โลกุตฺตรธมฺโม โส จ อภิชฺฌาทีหิ ทุสฺสิตจิตฺเตน น สกฺกา ปสฺสิตํ ตสฺมา ธมฺมสฺส อทสฺสนโต ธมฺมกายํ น ปสฺสตีติ
คำแปล : ด้วยคำนี้ พระองค์ทรงแสดงว่า การเห็นพระตถาคตเจ้าด้วยมังสจักษุก็ดี การอยู่ร่วมกันโดยรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ แต่การเห็นด้วยญาณจักษุและการอยู่ร่วมกันโดยธรรมกายเท่านั้นเป็นประมาณ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมก็ไม่เห็นเรา ในข้อความนั้น โลกุตรธรรม 9 ชื่อว่าธรรม เธอผู้มีจิตที่ถูกอภิชฌาเป็นต้นประทุษร้ายย่อมไม่อาจเห็นได้ เมื่อไม่เห็นธรรม เธอจึงได้ชื่อว่าไม่เห็นธรรมกาย
___________________
ไม่ว่าตถาคตจะเกิดขึ้นหรือไม่
ธาตุ คือ "ธรรมที่ตั้งมั่นและแน่นอน" ก็ยังอยู่
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
อุปฺปาทา วา ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ, ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา อิทปฺปจฺจยตา. ตํ ตถาคโต อภิสมฺพุชฺฌติ อภิสเมติ. อภิสมฺพุชฺฌิตฺวา อภิสเมตฺวา อาจิกฺขติ เทเสติ ปญฺญาเปติ ปฏฺฐเปติ วิวรติ วิภชติ อุตฺตานีกโรติ. ‘ปสฺสถา’ติ จาห. ..อิมสฺมํ สติ อิทํ โหติ...
คำแปล : พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ (ธรรมที่ตั้งมั่น) ธัมมนิยาม (ธรรมที่แน่นอน) อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้
___________________
ไม่ว่าตถาคตจะเกิดขึ้นหรือไม่
เหล่าสรรพสัตว์ก็ยังมี "ตถาคตครรภ์" อยู่
• คัมภีร์รัตนโคตรวิภาค (ปกรณ์สันสกฤต)
อุตฺปาทาทฺวา ตถาคตานามนุตฺปาทาทฺวา สไทไวเต สตฺตฺวาสฺตถาคตครฺภา อิต ฯ
คำแปล : ไม่ว่าตถาคตจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ก็มีตถาคตครรภ์อยู่ตลอดเวลานั่นแล
___________________
เหล่าเวไนยสัตว์ทั้งหลาย
ล้วนมี "ตถาคต" ที่นั่งอย่างสงบอยู่
• คัมภีร์ตถาคตครรภ์ (ปกรณ์จีน)
佛言:“如是善男子!我以佛眼观一切众生,贪欲恚痴诸烦恼中,有如来智、如来眼、如来身,结加趺坐俨然不动。”
คำแปล : พระพุทธองค์ตรัสว่า “เราใช้พุทธจักขุตรวจตราเวไนยสัตว์ สามารถเห็นได้ว่า ในท่ามกลางกิเลสของความโลภ โกรธ หลง ล้วนมีปัญญาของตถาคต ดวงตาของตถาคต กายของตถาคต นั่งอย่างสงบ ไม่ขยับเขยื้อน”
___________________
ตถาคตครรภ์
คือ "ธรรมกาย"
• คัมภีร์รัตนโคตรวิภาค (ปกรณ์สันสกฤต)
ตถาคตครฺภ อิติ ศาริปุตฺร ธรฺมกายสฺไยตทธิวจนมฺ ฯ
คำแปล : ดูก่อนสารีบุตร คำว่า ตถาคตครรภ์ นี้ เป็นชื่อของธรรมกาย
___________________
ตถาคตครรภ์ที่หลุดพ้นจากกิเลส
จึงเรียกว่า "ธรรมกาย"
• คัมภีร์รัตนโคตรวิภาค (ปกรณ์สันสกฤต)
อยเมว จ ภควํสฺตถาคตธรฺมกาโย’วินิรฺมุกฺตเกฺลศโกศสฺตถาคตครฺภะ สูจฺยเต ฯ
คำแปล : ข้าแต่พระผู้มีพระภาค อนึ่ง ธรรมกายแห่งตถาคตนี้นั่นแล แม้ยังไม่หลุดพ้นจากการห่อหุ้มจากเครื่องห่อหุ้มคือกิเลส ย่อมถูกเรียกว่า ตถาคตครรภ์
___________________
"จิต" นี้ผุดผ่อง
แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลส
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐนฺติ ฯ ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ วิปฺปมุตฺตนฺติ ฯ
คำแปล : จิตนี้ผุดผ่อง แต่จิตนั้นแลเศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลัง จิตนี้ผุดผ่องและจิตนั้นแลหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลัง
___________________
สรรพชีวิตล้วนมี "พุทธครรภ์"
• คัมภีร์รัตนโคตรวิภาค (ปกรณ์สันสกฤต)
สทา สรฺเว พุทฺธครฺภาะ ศรีริณะ ฯ
คำแปล : สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงจึงมีพุทธครรภ์ตลอดเวลา
___________________
ธรรมกาย เป็น "ตถตา"
• คัมภีร์รัตนโคตรวิภาค (ปกรณ์สันสกฤต)
สฺวภาโว ธรฺมกาโย’สฺย ตถตา โคตฺรมิตฺยปิ ฯ
คำแปล : สวภาวะของตถาคตครรภ์นี้ เป็นธรรมกาย เป็นตถตา เป็นโคตร
___________________
การทำจิตของตนให้ "ผ่องแผ้ว"
คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ ฯ
คำแปล : การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
___________________
ตั้งจิตไว้ในภายใน
ทำจิตให้มี "ธรรมเอก" ผุดขึ้น
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
อิธานนฺท ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชํ ปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ ทุติยํ ฌานํ ตติยํ ฌานํ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ฯ เอวํ โข อานนฺท ภิกฺขุ อชฺฌตฺตเมว จิตฺตํ สณฺฐเปติ สนฺนิสาเทติ เอโกทิกโรติ สมาทหติ ฯ
คำแปล : ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน บรรลุตติยฌาน บรรลุจตุตถฌาน ภิกษุตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตให้มั่น เป็นอย่างนี้
___________________
ธรรมทั้งหลายปรากฏ
ดุจ "พระอาทิตย์อุทัย" ขึ้นสาดส่อง
• คัมภีร์วินัยปิฎก (ปกรณ์บาลี)
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ สุริโยวโอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ ฯ
คำแปล : เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยขึ้นสาดส่องท้องฟ้าให้สว่างไสวฉะนั้น
___________________
พุทธลักษณะของพระธรรมกาย
พระโยคาวจร "พึงระลึกถึง" เนือง ๆ
• คัมภีร์ธัมมกายาทิ (ปกรณ์บาลี)
อิมํ ธมฺมกายพุทฺธลกฺขณํ โยคาวจรกุลปุตฺเตน ติกฺขญเณน สพฺพญฺญุพุทฺธภาวํ ปตฺเถนฺเตน ปุนปฺปุนํ อนุสฺสริตพฺพํ ฯ
คำแปล : พุทธลักษณะของพระธรรมกายนี้ อันโยคาวจรกุลบุตรผู้มีญาณอันกล้า เมื่อปรารถนาซึ่งภาวะแห่งสัพพัญญูพุทธเจ้า พึงระลึกถึงเนือง ๆ
___________________
ธรรมกายเป็นบ่อเกิด
แห่ง "รัตนะ" ทั้งหลาย
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺติ โก ทิสฺวา นปฺปสีทติ ฯ
คำแปล : บุคคลใดยังธรรมกายให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้น ไม่มี
___________________
พระปัจเจกผู้สยมภู
ทรงมี "ธรรมกาย" สมบูรณ์
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภูฯ มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา
คำแปล : พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมอันใหญ่ มีธรรมกายสมบูรณ์
___________________
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงมีทั้ง "รูปกาย" และ "ธรรมกาย"
• คัมภีร์กถาวัตถุ (ปกรณ์บาลี)
โยปิ โส ภควา อสีติอนุพฺยญฺชนปติมณฺทิตทฺวตฺตึสมหาปูริสสกฺขณวิจิตฺตรูปกาโย สพฺพาการปริสุทฺธสีลกฺขนฺธาทิคุณรตฺน สมิทฺธธมฺมกาโย ยสมฺหตฺต ปุญฺญมหตฺต อปฺปฏิปุคฺคโล อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
คำแปล : พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีรูปกายอันวิจิตรงดงามประดับด้วยมหาบุรุษ 32 ประการ และอนุพยัญชนะ 80 ประการ และเป็นผู้มีธรรมกายอันบริสุทธิ์แล้วในทุกหนทาง และเรืองรองด้วยศีล สมาธิ ฯลฯ เต็มไปด้วยความล้ำเลิศและคุณธรรม เป็นผู้ตื่นแล้วอย่างเต็มที่ และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน
"ธรรมกาย" คือ แก่นแท้แห่งพระพุทธศาสนา
"ธรรม" ที่เราได้บรรลุแล้วนี้
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
ตสฺส มยฺหํ ราชกุมาร เอตทโหสิ อธิคโต โข เม อยํ ธมฺโม คมฺภีโร ทุทฺทโส ทุรนุโพโธ สนฺโต ปณีโต อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโย ฯ อาลยรามา โข ปนายํ ปชา อาลยรตา อาลยสมฺมุทิตา ฯ อาลยรามาย โข ปน ปชาย อาลยรตาย อาลยสมฺมุทิตาย ทุทฺทสํ อิทํ ฐานํ ยทิทํ อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจสมุปฺปาโท ฯ อิทํปิ โข ฐานํ ทุทฺทสํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ ฯ อหญฺเจว โข ปน ธมฺมํ เทเสยฺยํ ปเร จ เม น อาชาเนยฺยํ โส มมสฺส กิลมโถ สา มมสฺส วิเหสาติ ฯ
คำแปล : ราชกุมาร อาตมภาพนั้นได้มีความดำริว่า ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ส่วนหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลิน
ในอาลัย ฐานะที่หมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย นี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท ถึงแม้ฐานะอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดทิ้งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรมและผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา
___________________
ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นชื่อว่าเห็น "เรา"
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
อลํ วกฺกลิ กึ เต อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเฐน ฯ โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ ฯ ธมฺมํ หิ วกฺกลิ ปสฺสนฺโต มํ ปสฺสติ มํ ปสฺสนฺโต ธมฺมํ ปสฺสติ ฯ
คำแปล : อย่าเลย วักกลิ จะมีประโยชน์อะไรด้วยร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นอยู่นี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ความจริง เมื่อเห็นธรรมก็ชื่อว่าเห็นเรา เมื่อเห็นเราก็ชื่อว่าเห็นธรรม
___________________
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท
ผู้นั้นชื่อว่าเห็น "ธรรม"
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
วุตฺตํ โข ปเนตํ ภควตา โย ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ปสฺสตีติ ฯ
คำแปล : อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท
___________________
เห็นธรรม
คือเห็น "ธรรมกาย"
• คัมภีร์อรรถกถา (ปกรณ์บาลี)
อริยสจฺจทสฺสเนน หิ ภควโต ธมฺมกาโย
ทิฏฺโฐ นาม โหติ. วุตฺตเญฺหตํ:- "โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสติ. โย มํ ปสฺสติ, โส ธมฺมํ ปสฺสตี"ติ. ตสฺมาสฺส ธมฺมกายทสฺสนํ ปเคว สิทฺธํ, ปวาเรตฺวา ปน รูปกายํ ทฏฺฐุกาโม อโหสีติ.
คำแปล : ก็เพราะเห็นอริยสัจ จึงเป็นอันชื่อว่า เธอได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม เพราะฉะนั้น การเห็นธรรมกายจึงสำเร็จแก่เธอก่อนทีเดียว ก็แลครั้นปวารณาแล้ว เธอได้มีความประสงค์จะเห็นรูปกาย
___________________
ตถาคต
คือ "ธรรมกาย"
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ ฯ
คำแปล : ดูกรวาเสฏฐะ เพราะคำว่า ธรรมกาย (กายธรรม) ก็ดี พรหมกาย (กายอันประเสริฐ) ก็ดี ธรรมภูต (อุบัติขึ้นโดยธรรม) ก็ดี พรหมภูต (อุบัติขึ้นอย่างประเสริฐ) ก็ดี ล้วนเป็นคำที่ใช้กล่าวถึง (อธิวจนํ) ตถาคต
___________________
พึงเห็นตถาคต
โดยการเข้าถึง "ธรรมกาย"
• คัมภีร์อัษฏสาหัสริกา (ปกรณ์สันสกฤต)
ธรฺมกายปรินิษฺปตฺติโต มํ ภิกฺษโว ทฺรกฺษยถ ฯ
คำแปล : ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นเราโดยการเข้าถึงธรรมกาย
___________________
เพราะไม่เห็น "ธรรม"
จึงชื่อว่าไม่เห็นธรรมกาย
• คัมภีร์อรรถกถา (ปกรณ์บาลี)
เอเตน มํสจกฺขุนา ตถาคตทสฺสนํ รูปกายสโมธานญฺจ อการณํ ญาณจกฺขุนาว ทสฺสนํ ธมฺมกายสโมธานเมว จ ปมาณนฺติ ทสฺ เสติ ฯ เตเนวาห ธมฺมํ หิ โส ภิกขเว ภิกฺขุ น ปสฺสติ ธมฺมํ อปสฺสนฺโต มํ น ปสฺสตีติ ฯ ตตฺถ ธมฺโม นาม นววิโธ โลกุตฺตรธมฺโม โส จ อภิชฺฌาทีหิ ทุสฺสิตจิตฺเตน น สกฺกา ปสฺสิตํ ตสฺมา ธมฺมสฺส อทสฺสนโต ธมฺมกายํ น ปสฺสตีติ
คำแปล : ด้วยคำนี้ พระองค์ทรงแสดงว่า การเห็นพระตถาคตเจ้าด้วยมังสจักษุก็ดี การอยู่ร่วมกันโดยรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ แต่การเห็นด้วยญาณจักษุและการอยู่ร่วมกันโดยธรรมกายเท่านั้นเป็นประมาณ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมก็ไม่เห็นเรา ในข้อความนั้น โลกุตรธรรม 9 ชื่อว่าธรรม เธอผู้มีจิตที่ถูกอภิชฌาเป็นต้นประทุษร้ายย่อมไม่อาจเห็นได้ เมื่อไม่เห็นธรรม เธอจึงได้ชื่อว่าไม่เห็นธรรมกาย
___________________
ไม่ว่าตถาคตจะเกิดขึ้นหรือไม่
ธาตุ คือ "ธรรมที่ตั้งมั่นและแน่นอน" ก็ยังอยู่
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
อุปฺปาทา วา ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ, ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา อิทปฺปจฺจยตา. ตํ ตถาคโต อภิสมฺพุชฺฌติ อภิสเมติ. อภิสมฺพุชฺฌิตฺวา อภิสเมตฺวา อาจิกฺขติ เทเสติ ปญฺญาเปติ ปฏฺฐเปติ วิวรติ วิภชติ อุตฺตานีกโรติ. ‘ปสฺสถา’ติ จาห. ..อิมสฺมํ สติ อิทํ โหติ...
คำแปล : พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ (ธรรมที่ตั้งมั่น) ธัมมนิยาม (ธรรมที่แน่นอน) อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้
___________________
ไม่ว่าตถาคตจะเกิดขึ้นหรือไม่
เหล่าสรรพสัตว์ก็ยังมี "ตถาคตครรภ์" อยู่
• คัมภีร์รัตนโคตรวิภาค (ปกรณ์สันสกฤต)
อุตฺปาทาทฺวา ตถาคตานามนุตฺปาทาทฺวา สไทไวเต สตฺตฺวาสฺตถาคตครฺภา อิต ฯ
คำแปล : ไม่ว่าตถาคตจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ก็มีตถาคตครรภ์อยู่ตลอดเวลานั่นแล
___________________
เหล่าเวไนยสัตว์ทั้งหลาย
ล้วนมี "ตถาคต" ที่นั่งอย่างสงบอยู่
• คัมภีร์ตถาคตครรภ์ (ปกรณ์จีน)
佛言:“如是善男子!我以佛眼观一切众生,贪欲恚痴诸烦恼中,有如来智、如来眼、如来身,结加趺坐俨然不动。”
คำแปล : พระพุทธองค์ตรัสว่า “เราใช้พุทธจักขุตรวจตราเวไนยสัตว์ สามารถเห็นได้ว่า ในท่ามกลางกิเลสของความโลภ โกรธ หลง ล้วนมีปัญญาของตถาคต ดวงตาของตถาคต กายของตถาคต นั่งอย่างสงบ ไม่ขยับเขยื้อน”
___________________
ตถาคตครรภ์
คือ "ธรรมกาย"
• คัมภีร์รัตนโคตรวิภาค (ปกรณ์สันสกฤต)
ตถาคตครฺภ อิติ ศาริปุตฺร ธรฺมกายสฺไยตทธิวจนมฺ ฯ
คำแปล : ดูก่อนสารีบุตร คำว่า ตถาคตครรภ์ นี้ เป็นชื่อของธรรมกาย
___________________
ตถาคตครรภ์ที่หลุดพ้นจากกิเลส
จึงเรียกว่า "ธรรมกาย"
• คัมภีร์รัตนโคตรวิภาค (ปกรณ์สันสกฤต)
อยเมว จ ภควํสฺตถาคตธรฺมกาโย’วินิรฺมุกฺตเกฺลศโกศสฺตถาคตครฺภะ สูจฺยเต ฯ
คำแปล : ข้าแต่พระผู้มีพระภาค อนึ่ง ธรรมกายแห่งตถาคตนี้นั่นแล แม้ยังไม่หลุดพ้นจากการห่อหุ้มจากเครื่องห่อหุ้มคือกิเลส ย่อมถูกเรียกว่า ตถาคตครรภ์
___________________
"จิต" นี้ผุดผ่อง
แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลส
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐนฺติ ฯ ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ วิปฺปมุตฺตนฺติ ฯ
คำแปล : จิตนี้ผุดผ่อง แต่จิตนั้นแลเศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลัง จิตนี้ผุดผ่องและจิตนั้นแลหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลัง
___________________
สรรพชีวิตล้วนมี "พุทธครรภ์"
• คัมภีร์รัตนโคตรวิภาค (ปกรณ์สันสกฤต)
สทา สรฺเว พุทฺธครฺภาะ ศรีริณะ ฯ
คำแปล : สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงจึงมีพุทธครรภ์ตลอดเวลา
___________________
ธรรมกาย เป็น "ตถตา"
• คัมภีร์รัตนโคตรวิภาค (ปกรณ์สันสกฤต)
สฺวภาโว ธรฺมกาโย’สฺย ตถตา โคตฺรมิตฺยปิ ฯ
คำแปล : สวภาวะของตถาคตครรภ์นี้ เป็นธรรมกาย เป็นตถตา เป็นโคตร
___________________
การทำจิตของตนให้ "ผ่องแผ้ว"
คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ ฯ
คำแปล : การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
___________________
ตั้งจิตไว้ในภายใน
ทำจิตให้มี "ธรรมเอก" ผุดขึ้น
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
อิธานนฺท ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชํ ปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ ทุติยํ ฌานํ ตติยํ ฌานํ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ฯ เอวํ โข อานนฺท ภิกฺขุ อชฺฌตฺตเมว จิตฺตํ สณฺฐเปติ สนฺนิสาเทติ เอโกทิกโรติ สมาทหติ ฯ
คำแปล : ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน บรรลุตติยฌาน บรรลุจตุตถฌาน ภิกษุตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตให้มั่น เป็นอย่างนี้
___________________
ธรรมทั้งหลายปรากฏ
ดุจ "พระอาทิตย์อุทัย" ขึ้นสาดส่อง
• คัมภีร์วินัยปิฎก (ปกรณ์บาลี)
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ สุริโยวโอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ ฯ
คำแปล : เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยขึ้นสาดส่องท้องฟ้าให้สว่างไสวฉะนั้น
___________________
พุทธลักษณะของพระธรรมกาย
พระโยคาวจร "พึงระลึกถึง" เนือง ๆ
• คัมภีร์ธัมมกายาทิ (ปกรณ์บาลี)
อิมํ ธมฺมกายพุทฺธลกฺขณํ โยคาวจรกุลปุตฺเตน ติกฺขญเณน สพฺพญฺญุพุทฺธภาวํ ปตฺเถนฺเตน ปุนปฺปุนํ อนุสฺสริตพฺพํ ฯ
คำแปล : พุทธลักษณะของพระธรรมกายนี้ อันโยคาวจรกุลบุตรผู้มีญาณอันกล้า เมื่อปรารถนาซึ่งภาวะแห่งสัพพัญญูพุทธเจ้า พึงระลึกถึงเนือง ๆ
___________________
ธรรมกายเป็นบ่อเกิด
แห่ง "รัตนะ" ทั้งหลาย
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺติ โก ทิสฺวา นปฺปสีทติ ฯ
คำแปล : บุคคลใดยังธรรมกายให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้น ไม่มี
___________________
พระปัจเจกผู้สยมภู
ทรงมี "ธรรมกาย" สมบูรณ์
• คัมภีร์สุตตันตปิฎก (ปกรณ์บาลี)
ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภูฯ มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา
คำแปล : พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมอันใหญ่ มีธรรมกายสมบูรณ์
___________________
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงมีทั้ง "รูปกาย" และ "ธรรมกาย"
• คัมภีร์กถาวัตถุ (ปกรณ์บาลี)
โยปิ โส ภควา อสีติอนุพฺยญฺชนปติมณฺทิตทฺวตฺตึสมหาปูริสสกฺขณวิจิตฺตรูปกาโย สพฺพาการปริสุทฺธสีลกฺขนฺธาทิคุณรตฺน สมิทฺธธมฺมกาโย ยสมฺหตฺต ปุญฺญมหตฺต อปฺปฏิปุคฺคโล อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
คำแปล : พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีรูปกายอันวิจิตรงดงามประดับด้วยมหาบุรุษ 32 ประการ และอนุพยัญชนะ 80 ประการ และเป็นผู้มีธรรมกายอันบริสุทธิ์แล้วในทุกหนทาง และเรืองรองด้วยศีล สมาธิ ฯลฯ เต็มไปด้วยความล้ำเลิศและคุณธรรม เป็นผู้ตื่นแล้วอย่างเต็มที่ และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน