ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณณสิริ) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามได้เคยปรารภเรื่องนี้กับเจ้าคุณวัดปากน้ำ แสดงความหนักใจให้ท่านเห็น ท่านกลับพูดว่า “คนเช่นเราไม่ใช่ไร้ปัญญา ชั่วก็รู้ ดีก็เห็น เราจะฆ่าตัวเราเองเพราะความปรารถนาลาลกทำไม ที่เขาพูดหาว่าเราอย่างนั้น บางคนคงจะไม่รู้จักคำว่า “ธรรมกาย” มีอยู่ที่ไหน หมายเอาใคร เขาอาศัยความไม่รู้มาว่าเราผู้ตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เมื่อผู้ไม่รู้มาติเตียนเรา ความไม่รู้ของเขาจะลบล้างสัจธรรมของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร ถ้าจะกลบก็กลบได้เพียงชั่วคราว
ไม่ช้าดวงแก้วของพระพุทธศาสนาก็จะเปล่งรัศมีให้ผู้มีปัญญาเห็นด้วยสายตาของตนเอง
การที่เขานำไปพูดเช่นนั้น เป็นผลแห่งการปฏิบัติที่เราได้กระทำกันอยู่ แสดงให้เห็นว่าคณะวัดปากน้ำไม่ได้กินแล้วนอน เป็นสำนักที่เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม การที่เขานำไปพูดเช่นนั้น เท่ากับเอาสำนักเราไปเผยแพร่ ดีเสียกว่าการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เพราะการที่เขานำไปพูดเช่นนั้นเป็นการกระทำของผู้พูดเอง เราไม่ได้จ้างไม่ได้วานใคร
เมื่อพูดทางไม่ดีได้ก็ต้องมีคนพูดทางดีได้เหมือนกัน ธรรมจะต้องชนะอธรรมเสมอ
เราไม่ต้องเดือดร้อนใจ เพราะธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็นของแท้ ไม่ใช่ของเก๊หรือของเทียม ธรรมกายจะปรากฏเป็นความจริงแก่ผู้เข้าถึงธรรม เรื่องอย่างนี้เราไม่หวั่น เราเชื่อในคุณพระพุทธศาสนา"
-----
กัณฑ์ที่ ๒๐
อริยธนคาถา
วันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗
..................................................
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน)
ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา
สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ
สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุ ภูตญฺจ ทสฺสนํ
อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ
ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ
อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ ฯ
ณ บัดนี้ อาตมภาพ จักได้แสดงธรรมิกถาในวันกลางเดือน ๔ นี้ แสดงในเรื่อง อริยธนคาถา แปลว่า ทรัพย์ของพระอริยเจ้า หรือแปลว่าทรัพย์อันประเสริฐ
จะแสดงตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอเป็นเครื่องปฏิการสนองประคองศรัทธา ประดับสติปัญญา คุณสมบัติของท่านพุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า
ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา ความเชื่อไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่ด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า มีอยู่แก่บุคคลใด
สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํอริยกนฺตํ ปสํสิตํ ศีลที่ดีงามอันพระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญแล้ว มีอยู่แก่บุคคลใด
สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ มีอยู่แก่บุคคลใด ความเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติทรงมีอยู่แก่บุคคลใด
อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า บุคคลนั้นเป็นคนไม่จน เป็นคนมั่งมี
อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ความเป็นอยู่ของคนนั้นไม่เปล่าจากประโยชน์
ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนํ
เพราะเหตุนั้นผู้มีปัญญา เมื่อมาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ควรประกอบความเชื่อ และประกอบศีล ประกอบความเลื่อมใส
ประกอบความเห็นธรรมไว้ในใจเนืองๆ เถิด ประเสริฐนัก
นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป เพราะเราท่านทั้งหลายเป็นคนไม่มีทรัพย์ในโลกนี้เป็นเครื่องอุ่นใจ ให้นึกถึงเงินที่รัฐบาลใช้สอย ก็มีไม่พอใช้ หรือจะนึกถึงสมบัติอันใดไม่พอใช้ทั้งนั้น
ที่เป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เมื่อมาระลึกเช่นนี้แล้ว เราควรจะตั้งใจให้ผ่องแผ้ว เรามาประสบพบพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงประทานอริยทรัพย์ไว้เป็นอเนกอนันต์ สุดที่จะพรรณนา บัดนี้ จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาไว้เป็นลำดับไป ความเชื่ออันนี้แหละให้รักษาไว้ให้มั่นในขันธสันดาน ชื่ออจลา ไม่กลับกลอก ความเชื่อที่ไม่กลับกลอก ตั้งมั่นด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า มีอยู่แก่บุคคลใด ความเชื่ออันนี้ควรสำทับให้แน่นอนไว้ในใจ ความเชื่อนี้เป็นตัวสำคัญในการปฏิบัติศาสนา
ถ้าความเชื่อนี้ไม่แน่นอน ง่อนแง่น คลอนแคลนแล้ว จะเอาตัวรอดไม่ได้ ถ้าความเชื่อไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน แน่นอนแล้ว จะเอาตัวรอดได้
ความเชื่อที่ง่อนแง่น คลอนแคลน ไม่มั่นคงนั้นเป็นไฉน?
ตั้งใจตรงลงไปว่าจะปฏิบัติในพุทธศาสนา เหมือนภิกษุ สามเณร ทอดตัวลงไปแล้วว่าเป็นพระจริงๆ เป็นเณรจริงๆ คอยรักษาความจริงอันนั้นไว้ อย่าให้กลับกลอกได้ อุบาสก อุบาสิกาก็เหมือนกัน ทอดตัวลงไปแล้วว่าต้องเป็นอุบาสก อุบาสิกาจริงๆ แล้วรักษาความจริงอันนั้นไว้ อย่าให้กลับกลอก ง่อนแง่นคลอนแคลนได้ นี้รักษาความจริงไว้ได้ ได้ชื่อว่าความเชื่ออันนั้นไม่ง่อนแง่น คลอนแคลน ตั้งมั่นด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า
ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราผู้ตถาคต คือ ธรรมกาย พระตถาคตเจ้าน่ะคือธรรมกาย
เชื่อธรรมกายนั่นเอง ไม่ใช่เชื่อลอกแลกไปทางใดทางหนึ่ง
----
ฟังเสียงทุกช่วงทั้งหมด
https://www.youtube.com/channel/UCDZFku3crc-XZ24cfwJg0bw
ขออนุโมทนาผู้จัดทำ
ช่วยอำนวยความสะดวกด้วยการฟัง กรณีไม่มีเวลาอ่านหนังสือและทำให้ไม่เมื่อยตา ฟังสบายๆ นะครับ
กรณีต้องการอ่านหนังสือท่านสามารถอ่าน หนังสือหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ฉบับรวมงานวิจัยย่อ)ได้ที่
http://en.calameo.com/books/00184146281f7dfe1b9cb
เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยความจริงทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ให้ครบถ้วน
ไม่เป็นเพียง ท่านใบลานเปล่า ที่ท่องจำตัวอักษร โดยไม่ทำเหตุให้ถึง
พระพุทธศาสนา อยู่ได้ด้วย ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
เอาข้อมูลที่เป็น ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ของจริงในพระพุทธศาสนาดีกว่า
อย่าไปรับข้อมูลเพี้ยนๆ ตีความผิดๆ แบบท่านใบลานเปล่า อีกเลย
ปฏิบัติไม่ถึง ดันทำตัวเป็นผู้พิพากษา
☆เสียงอ่านธรรมนิพนธ์ กรณีธรรมกาย☆ #020 พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) กัณฑ์ที่ ๖๑ อริยธนคาถา
ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณณสิริ) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามได้เคยปรารภเรื่องนี้กับเจ้าคุณวัดปากน้ำ แสดงความหนักใจให้ท่านเห็น ท่านกลับพูดว่า “คนเช่นเราไม่ใช่ไร้ปัญญา ชั่วก็รู้ ดีก็เห็น เราจะฆ่าตัวเราเองเพราะความปรารถนาลาลกทำไม ที่เขาพูดหาว่าเราอย่างนั้น บางคนคงจะไม่รู้จักคำว่า “ธรรมกาย” มีอยู่ที่ไหน หมายเอาใคร เขาอาศัยความไม่รู้มาว่าเราผู้ตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เมื่อผู้ไม่รู้มาติเตียนเรา ความไม่รู้ของเขาจะลบล้างสัจธรรมของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร ถ้าจะกลบก็กลบได้เพียงชั่วคราว
ไม่ช้าดวงแก้วของพระพุทธศาสนาก็จะเปล่งรัศมีให้ผู้มีปัญญาเห็นด้วยสายตาของตนเอง
การที่เขานำไปพูดเช่นนั้น เป็นผลแห่งการปฏิบัติที่เราได้กระทำกันอยู่ แสดงให้เห็นว่าคณะวัดปากน้ำไม่ได้กินแล้วนอน เป็นสำนักที่เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม การที่เขานำไปพูดเช่นนั้น เท่ากับเอาสำนักเราไปเผยแพร่ ดีเสียกว่าการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เพราะการที่เขานำไปพูดเช่นนั้นเป็นการกระทำของผู้พูดเอง เราไม่ได้จ้างไม่ได้วานใคร
เมื่อพูดทางไม่ดีได้ก็ต้องมีคนพูดทางดีได้เหมือนกัน ธรรมจะต้องชนะอธรรมเสมอ
เราไม่ต้องเดือดร้อนใจ เพราะธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็นของแท้ ไม่ใช่ของเก๊หรือของเทียม ธรรมกายจะปรากฏเป็นความจริงแก่ผู้เข้าถึงธรรม เรื่องอย่างนี้เราไม่หวั่น เราเชื่อในคุณพระพุทธศาสนา"
-----
กัณฑ์ที่ ๒๐
อริยธนคาถา
วันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗
..................................................
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน)
ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา
สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ
สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุ ภูตญฺจ ทสฺสนํ
อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ
ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ
อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ ฯ
ณ บัดนี้ อาตมภาพ จักได้แสดงธรรมิกถาในวันกลางเดือน ๔ นี้ แสดงในเรื่อง อริยธนคาถา แปลว่า ทรัพย์ของพระอริยเจ้า หรือแปลว่าทรัพย์อันประเสริฐ
จะแสดงตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอเป็นเครื่องปฏิการสนองประคองศรัทธา ประดับสติปัญญา คุณสมบัติของท่านพุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า
ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา ความเชื่อไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่ด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า มีอยู่แก่บุคคลใด
สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํอริยกนฺตํ ปสํสิตํ ศีลที่ดีงามอันพระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญแล้ว มีอยู่แก่บุคคลใด
สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ มีอยู่แก่บุคคลใด ความเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติทรงมีอยู่แก่บุคคลใด
อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า บุคคลนั้นเป็นคนไม่จน เป็นคนมั่งมี
อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ความเป็นอยู่ของคนนั้นไม่เปล่าจากประโยชน์
ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนํ
เพราะเหตุนั้นผู้มีปัญญา เมื่อมาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ควรประกอบความเชื่อ และประกอบศีล ประกอบความเลื่อมใส
ประกอบความเห็นธรรมไว้ในใจเนืองๆ เถิด ประเสริฐนัก
นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป เพราะเราท่านทั้งหลายเป็นคนไม่มีทรัพย์ในโลกนี้เป็นเครื่องอุ่นใจ ให้นึกถึงเงินที่รัฐบาลใช้สอย ก็มีไม่พอใช้ หรือจะนึกถึงสมบัติอันใดไม่พอใช้ทั้งนั้น
ที่เป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เมื่อมาระลึกเช่นนี้แล้ว เราควรจะตั้งใจให้ผ่องแผ้ว เรามาประสบพบพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงประทานอริยทรัพย์ไว้เป็นอเนกอนันต์ สุดที่จะพรรณนา บัดนี้ จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาไว้เป็นลำดับไป ความเชื่ออันนี้แหละให้รักษาไว้ให้มั่นในขันธสันดาน ชื่ออจลา ไม่กลับกลอก ความเชื่อที่ไม่กลับกลอก ตั้งมั่นด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า มีอยู่แก่บุคคลใด ความเชื่ออันนี้ควรสำทับให้แน่นอนไว้ในใจ ความเชื่อนี้เป็นตัวสำคัญในการปฏิบัติศาสนา
ถ้าความเชื่อนี้ไม่แน่นอน ง่อนแง่น คลอนแคลนแล้ว จะเอาตัวรอดไม่ได้ ถ้าความเชื่อไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน แน่นอนแล้ว จะเอาตัวรอดได้
ความเชื่อที่ง่อนแง่น คลอนแคลน ไม่มั่นคงนั้นเป็นไฉน?
ตั้งใจตรงลงไปว่าจะปฏิบัติในพุทธศาสนา เหมือนภิกษุ สามเณร ทอดตัวลงไปแล้วว่าเป็นพระจริงๆ เป็นเณรจริงๆ คอยรักษาความจริงอันนั้นไว้ อย่าให้กลับกลอกได้ อุบาสก อุบาสิกาก็เหมือนกัน ทอดตัวลงไปแล้วว่าต้องเป็นอุบาสก อุบาสิกาจริงๆ แล้วรักษาความจริงอันนั้นไว้ อย่าให้กลับกลอก ง่อนแง่นคลอนแคลนได้ นี้รักษาความจริงไว้ได้ ได้ชื่อว่าความเชื่ออันนั้นไม่ง่อนแง่น คลอนแคลน ตั้งมั่นด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า
ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราผู้ตถาคต คือ ธรรมกาย พระตถาคตเจ้าน่ะคือธรรมกาย
เชื่อธรรมกายนั่นเอง ไม่ใช่เชื่อลอกแลกไปทางใดทางหนึ่ง
----
ฟังเสียงทุกช่วงทั้งหมด
https://www.youtube.com/channel/UCDZFku3crc-XZ24cfwJg0bw
ขออนุโมทนาผู้จัดทำ
ช่วยอำนวยความสะดวกด้วยการฟัง กรณีไม่มีเวลาอ่านหนังสือและทำให้ไม่เมื่อยตา ฟังสบายๆ นะครับ
กรณีต้องการอ่านหนังสือท่านสามารถอ่าน หนังสือหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ฉบับรวมงานวิจัยย่อ)ได้ที่
http://en.calameo.com/books/00184146281f7dfe1b9cb
เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยความจริงทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ให้ครบถ้วน
ไม่เป็นเพียง ท่านใบลานเปล่า ที่ท่องจำตัวอักษร โดยไม่ทำเหตุให้ถึง
พระพุทธศาสนา อยู่ได้ด้วย ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
เอาข้อมูลที่เป็น ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ของจริงในพระพุทธศาสนาดีกว่า
อย่าไปรับข้อมูลเพี้ยนๆ ตีความผิดๆ แบบท่านใบลานเปล่า อีกเลย
ปฏิบัติไม่ถึง ดันทำตัวเป็นผู้พิพากษา