สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 52
ถ้าเป็นสวนปาล์ม ยังไงก็หนีไม่พ้นปุ๋ยเคมีครับ และต้องใส่ปุ๋ยเยอะๆเท่านั้นครับ อย่างของกงสีผม ใส่ที่ 20 kg. / ต้น / ปี ปีนึงใส่ปุ๋ย 3-4ครั้งครับ(ถ้าปีไหนมีครั้งที่4คือ ใส่โดโลไมต์ หรือปุ๋ยอินทรีย์ครับ ไม่อย่างนั้นดินมันจะเสียใยระยะยาวครับ)
ถ้าไม่อัดปุ๋ยเยอะ ปาล์มจะขาดคอ(ไม่เป็นดอกผล หรือเป็นดอกเกสรเยอะมากๆ)ภาษาบ้านๆคือ ปาล์มขาดคอ
พอมันโตขึ้น ปาล์มจะผอมแห้งยังกะต้นมะพร้าว ภาษาบ้านๆคือ คอเรียว
ทลายและลูกที่ออกมาลีบแบน และมีจำนวนน้อยตลอดไป
ต้องฆ่าทิ้งแล้วปลูกใหม่ อัดปุ๋ยเยอะๆเท่านั้น ถึงจะทำให้ปาล์มต้นใหญ่ทลายเยอะเป็นรอบคอ จำนวนทลายต่อต้นเยอะ 15วันแทงปาล์มได้แล้ว ทำให้ทั้งปี จะได้ผลผลิตสูงมากๆที่8-12ตันต่อไร่ต่อปี(จริงๆ6-8ตันต่อไร่ต่อปีก็หรูแล้วครับ จากที่แปลงเพาะระบุไว้4-6ต้นต่อไร่ต่อปี) และนานๆครั้งมันจะ ปาล์มมันจะขาดคอทั้งแปลงที่ปลูกในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นเหตุผลว่า ทำไมอินโดนีเซียที่ปลูกปาล์มเยอะสุด ถึงมีปัญหาขาดแคลนปาล์มน้ำมันซะเอง
สาเหตุที่เยอะขนาดนั้น เพราะปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ดูดแร่ธาตุในดินได้เก่งมากๆ และดูดน้ำเยอะมากๆ
ถ้ามันสูงใหญ่ โคนต้นปาล์ม แม้แต่หญ้าก็ขึ้นแทบไม่รอดครับ(มันจะขึ้นและโตหลังจากใส่ปุ๋ยไปได้ไม่นานนัก แล้วโตไม่ขึ้น) เพราะแสงแดดโดนแย่งไม่พอ ยังโดนแย่งแร่ธาตุและน้ำไปหมด + ความแรงและเยอะของปุ๋ย มันจะตายเอง หลังจากเราใส่ปุ๋ยใหม่ๆครับ
และปาล์มที่ดี ใส่ปุ๋ยพอเหมาะ น้ำไม่ขาด ใบมันจะต้องเขียวเข้มมาก หรือภาษาบ้านๆคือใบดำครับ ถ้ามันออกเขียวแสดงว่าปุ๋ยไม่พอครับ ถ้าใบเหลืองคือมันขาดปุ๋ยหรือน้ำแล้ว(ซึ่งปุ๋ยอินทรีทำให้ปาล์มใบดำไม่ได้เลยครับ) และถ้าใบดำแต่เป็นช่อดอกเยอะ ช่อผลน้อยหรือไม่มีเลย แต่ใบยังดำแสดงว่า มันขาดน้ำ หรือ ดูดปุ๋ยได้ไม่ครบ ดินเริ่มเสียเพราะปาล์มดูดแร่ธาตุในดินไปจนเสียสมดุล+เริ่มมีธาตุไนโตรเจนตกค้างในดินแล้วทำให้ดินเป็นกรด เป็นสาเหตุที่ตองใส่โดโลไมต์และปุ๋ยอินทรีย์ในบางปี เพื่อปรับสภาพเดินและปรับสูตรปุ๋ย พอดินเป็นปกติ ก็จะใส่ตามเดิมไปอีก4-6ปี
(ซึ่งมักจะใส่ 13-7-35 หรือ 0-0-60 ซึ่งถ้าใส่ถูกช่วงเปะๆ ปาล์มจะออกทลายเต็มคอครับ แต่ถ้าใส่ 0-0-60 ผิดหรือเยอะไป มันจะสำลักปุ๋ยจะกลายเป็นดินเค็มแทน และปาล์มจะใบเหลือง ทลายเล็กแทน)
รอบล่าสุดที่เพิ่งแทงไปของแปลง 320 ไร่ ยังได้ไร่ละ0.3-0.5ตัน/รอบ/15วัน(เฉพาะปีนี้)ครับ*
สวนทุเรียนเอง ถ้าไม่ใช้สารเคมีมารักษาโรคให้ต้นทุเรียน ปัจจุบันนี้เป็นไปไม่ได้เลยครับ 10-20 ปีมานี้ ทุเรียนติดโรคและตายง่ายมากๆ
แต่ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ผมยืนยันว่า ทำได้อยู่ แต่ผลผลิตต้อไร่จะต่ำ ผลไม่สวย และติดโรคแล้วตายง่ายมากๆ
สวนยางพาราสวนสุดท้าย ก่อนจะโค่นไม้ยางขาย 2-3 ปี จะใส่แต่ปุ๋ยยูเรียเท่านั้น ปีสุดท้ายไม่ใส่ปุ๋ย อายุตอนโค่นคือ20-25ปี(หรือน้ำยางออกไม่คุ้มค่าปุ๋ยแล้ว) ขนาดไม้ ได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า10นิ้ว ต้นนึงหนักประมาณ600-800kg. จำนวน75ต้นต่อไร่ สวนสุดท้ายมี 88 ไร่ โค่นตอนไม้ยางพารา กิโลละ 2.5 บาท/kg (ปัจจุบันนี้ราคาตกเหลือแต่ 1.5-1.7฿) ได้ไป 10.5 ล้าน (จริงๆได้13ล้านครับเพราะหักค่าโค่น)
แต่ถ้าเป็นแปลงใหญ่สุดคือ 320ไร่ อันนั้นได้ราคาไม้ยางแพงสุดแล้วคือ กิโลละ 3.5฿ ยางอายุเกิน25ปี(โค่นช้าเพราะยางโลละ100) รอบนั้นได้ไป 70 ล้านบาท (กำไรทั้งหมดน่าจะ80ล้าน เพราะจำได้ว่า ต้นมันใหญ่มากแล้ว และน้ำยางออกน้อยมากแล้ว อากงจึงโค่นตอนยางโลละ100เลย แบบไม่รอไม่ใส่ปุ๋ยเร่งอะไรแล้ว)
จริงๆพี่สาวคือ จะรู้เยอะกว่า เพราะอากงพามาดูตอนที่สวนยังกรีดยางได้และดูตอนรีดยางกันด้วย( แต่ไม่ได้เห็นกรีด เพราะต้องพาไปตอนกลางคืน)
มาดูทันตั้งแต่สวนปาล์มแปลงแรก และที่ดินก่อนสร้างบ้านใหญ่ ซึ่งเป็นสวนเงาะ สวนทุเรียน สวนมังคุด สวนลองกอง สวนลางสาด และสวนโกโก้ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น บ้านใหญ่ของกงสี และปลูกปาล์มกับทุเรียนแทน
ซึ่งพี่สาวก็ไม่ได้มาดูแลสายงานทำสวนของกงสีครับ แต่ก็มาดูและคุมงานเป็นครั้งคราว
ต่อให้มีที่ดินปลูกเยอะ มันไม่คุ้มหรอกครับ ที่จะเอาที่ดินไร่นึงเป็นแสนๆ ใส่แต่ปุ๋ยอินทรีย์ โดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทนที่ตามมา ว่ามันคุ้มทุนและได้กำไรภายในกี่ปี และจะหากำไรจากมันได้อีกกี่ปี
ปล. กงสีผมก็มีกิจการร้านขายปุ๋ยและอุปกรณ์การเกษตรค่อนข้างใหญ่ และได้สัมปทานทั้งปุ๋ยหลักๆที่นิยมใส่กัน พวกปุ๋ยใข่มุก ปุ๋ยมรกต(คงเดายี่ห้อออกนะ เพราะมันมีแค่3-4ยี่ห้อ) ราคายังถูกกว่าปุ๋ยผสมบางยี่ห้ออีกครับ แถมมไม่เป็นฝุ่นด้วย
ยังดีที่ปาล์มมันราคาแพง ใส่ปุ๋ยในราคากระสอบละ1,500-1,700 ยังไม่เป็นภาระมากครับ เพราะต้นทุนสูง แต่ผลตอบแทนยังสูงตามอยู่ (ถ้าราคาปาล์ม5-6บาท/กิโล ก็ลดการใส่แทนครับ เหลือปีละครั้ง-2ครั้ง)
*แก้เลขผิด
ถ้าไม่อัดปุ๋ยเยอะ ปาล์มจะขาดคอ(ไม่เป็นดอกผล หรือเป็นดอกเกสรเยอะมากๆ)ภาษาบ้านๆคือ ปาล์มขาดคอ
พอมันโตขึ้น ปาล์มจะผอมแห้งยังกะต้นมะพร้าว ภาษาบ้านๆคือ คอเรียว
ทลายและลูกที่ออกมาลีบแบน และมีจำนวนน้อยตลอดไป
ต้องฆ่าทิ้งแล้วปลูกใหม่ อัดปุ๋ยเยอะๆเท่านั้น ถึงจะทำให้ปาล์มต้นใหญ่ทลายเยอะเป็นรอบคอ จำนวนทลายต่อต้นเยอะ 15วันแทงปาล์มได้แล้ว ทำให้ทั้งปี จะได้ผลผลิตสูงมากๆที่8-12ตันต่อไร่ต่อปี(จริงๆ6-8ตันต่อไร่ต่อปีก็หรูแล้วครับ จากที่แปลงเพาะระบุไว้4-6ต้นต่อไร่ต่อปี) และนานๆครั้งมันจะ ปาล์มมันจะขาดคอทั้งแปลงที่ปลูกในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นเหตุผลว่า ทำไมอินโดนีเซียที่ปลูกปาล์มเยอะสุด ถึงมีปัญหาขาดแคลนปาล์มน้ำมันซะเอง
สาเหตุที่เยอะขนาดนั้น เพราะปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ดูดแร่ธาตุในดินได้เก่งมากๆ และดูดน้ำเยอะมากๆ
ถ้ามันสูงใหญ่ โคนต้นปาล์ม แม้แต่หญ้าก็ขึ้นแทบไม่รอดครับ(มันจะขึ้นและโตหลังจากใส่ปุ๋ยไปได้ไม่นานนัก แล้วโตไม่ขึ้น) เพราะแสงแดดโดนแย่งไม่พอ ยังโดนแย่งแร่ธาตุและน้ำไปหมด + ความแรงและเยอะของปุ๋ย มันจะตายเอง หลังจากเราใส่ปุ๋ยใหม่ๆครับ
และปาล์มที่ดี ใส่ปุ๋ยพอเหมาะ น้ำไม่ขาด ใบมันจะต้องเขียวเข้มมาก หรือภาษาบ้านๆคือใบดำครับ ถ้ามันออกเขียวแสดงว่าปุ๋ยไม่พอครับ ถ้าใบเหลืองคือมันขาดปุ๋ยหรือน้ำแล้ว(ซึ่งปุ๋ยอินทรีทำให้ปาล์มใบดำไม่ได้เลยครับ) และถ้าใบดำแต่เป็นช่อดอกเยอะ ช่อผลน้อยหรือไม่มีเลย แต่ใบยังดำแสดงว่า มันขาดน้ำ หรือ ดูดปุ๋ยได้ไม่ครบ ดินเริ่มเสียเพราะปาล์มดูดแร่ธาตุในดินไปจนเสียสมดุล+เริ่มมีธาตุไนโตรเจนตกค้างในดินแล้วทำให้ดินเป็นกรด เป็นสาเหตุที่ตองใส่โดโลไมต์และปุ๋ยอินทรีย์ในบางปี เพื่อปรับสภาพเดินและปรับสูตรปุ๋ย พอดินเป็นปกติ ก็จะใส่ตามเดิมไปอีก4-6ปี
(ซึ่งมักจะใส่ 13-7-35 หรือ 0-0-60 ซึ่งถ้าใส่ถูกช่วงเปะๆ ปาล์มจะออกทลายเต็มคอครับ แต่ถ้าใส่ 0-0-60 ผิดหรือเยอะไป มันจะสำลักปุ๋ยจะกลายเป็นดินเค็มแทน และปาล์มจะใบเหลือง ทลายเล็กแทน)
รอบล่าสุดที่เพิ่งแทงไปของแปลง 320 ไร่ ยังได้ไร่ละ0.3-0.5ตัน/รอบ/15วัน(เฉพาะปีนี้)ครับ*
สวนทุเรียนเอง ถ้าไม่ใช้สารเคมีมารักษาโรคให้ต้นทุเรียน ปัจจุบันนี้เป็นไปไม่ได้เลยครับ 10-20 ปีมานี้ ทุเรียนติดโรคและตายง่ายมากๆ
แต่ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ผมยืนยันว่า ทำได้อยู่ แต่ผลผลิตต้อไร่จะต่ำ ผลไม่สวย และติดโรคแล้วตายง่ายมากๆ
สวนยางพาราสวนสุดท้าย ก่อนจะโค่นไม้ยางขาย 2-3 ปี จะใส่แต่ปุ๋ยยูเรียเท่านั้น ปีสุดท้ายไม่ใส่ปุ๋ย อายุตอนโค่นคือ20-25ปี(หรือน้ำยางออกไม่คุ้มค่าปุ๋ยแล้ว) ขนาดไม้ ได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า10นิ้ว ต้นนึงหนักประมาณ600-800kg. จำนวน75ต้นต่อไร่ สวนสุดท้ายมี 88 ไร่ โค่นตอนไม้ยางพารา กิโลละ 2.5 บาท/kg (ปัจจุบันนี้ราคาตกเหลือแต่ 1.5-1.7฿) ได้ไป 10.5 ล้าน (จริงๆได้13ล้านครับเพราะหักค่าโค่น)
แต่ถ้าเป็นแปลงใหญ่สุดคือ 320ไร่ อันนั้นได้ราคาไม้ยางแพงสุดแล้วคือ กิโลละ 3.5฿ ยางอายุเกิน25ปี(โค่นช้าเพราะยางโลละ100) รอบนั้นได้ไป 70 ล้านบาท (กำไรทั้งหมดน่าจะ80ล้าน เพราะจำได้ว่า ต้นมันใหญ่มากแล้ว และน้ำยางออกน้อยมากแล้ว อากงจึงโค่นตอนยางโลละ100เลย แบบไม่รอไม่ใส่ปุ๋ยเร่งอะไรแล้ว)
จริงๆพี่สาวคือ จะรู้เยอะกว่า เพราะอากงพามาดูตอนที่สวนยังกรีดยางได้และดูตอนรีดยางกันด้วย( แต่ไม่ได้เห็นกรีด เพราะต้องพาไปตอนกลางคืน)
มาดูทันตั้งแต่สวนปาล์มแปลงแรก และที่ดินก่อนสร้างบ้านใหญ่ ซึ่งเป็นสวนเงาะ สวนทุเรียน สวนมังคุด สวนลองกอง สวนลางสาด และสวนโกโก้ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น บ้านใหญ่ของกงสี และปลูกปาล์มกับทุเรียนแทน
ซึ่งพี่สาวก็ไม่ได้มาดูแลสายงานทำสวนของกงสีครับ แต่ก็มาดูและคุมงานเป็นครั้งคราว
ต่อให้มีที่ดินปลูกเยอะ มันไม่คุ้มหรอกครับ ที่จะเอาที่ดินไร่นึงเป็นแสนๆ ใส่แต่ปุ๋ยอินทรีย์ โดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทนที่ตามมา ว่ามันคุ้มทุนและได้กำไรภายในกี่ปี และจะหากำไรจากมันได้อีกกี่ปี
ปล. กงสีผมก็มีกิจการร้านขายปุ๋ยและอุปกรณ์การเกษตรค่อนข้างใหญ่ และได้สัมปทานทั้งปุ๋ยหลักๆที่นิยมใส่กัน พวกปุ๋ยใข่มุก ปุ๋ยมรกต(คงเดายี่ห้อออกนะ เพราะมันมีแค่3-4ยี่ห้อ) ราคายังถูกกว่าปุ๋ยผสมบางยี่ห้ออีกครับ แถมมไม่เป็นฝุ่นด้วย
ยังดีที่ปาล์มมันราคาแพง ใส่ปุ๋ยในราคากระสอบละ1,500-1,700 ยังไม่เป็นภาระมากครับ เพราะต้นทุนสูง แต่ผลตอบแทนยังสูงตามอยู่ (ถ้าราคาปาล์ม5-6บาท/กิโล ก็ลดการใส่แทนครับ เหลือปีละครั้ง-2ครั้ง)
*แก้เลขผิด
ความคิดเห็นที่ 6
ถ้าทำนาปีละครั้ง ฤดูน้ำหลากก็ปล่อยให้น้ำท่วมท้องนา ช่วงเวลาอื่นที่ไม่ใช่ฤดูทำนาก็ปลูกพื้นอย่างอื่นแล้วไถกลบให้เป็นปุ๋ยพืชสดไป
เลี้ยงวัวเลี้ยงควายก็เอามูลมาเป็นปุ๋ย อย่างนี้ไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมีก็คงได้
แต่ตอนนี้มันเปลี่ยนไป ทำนาทั้งปี เก็บเกี่ยวเสร็จ ลงใหม่เลย แร่ธาตุสารอาหารในดินก็หมด ต้องพึ่งปุ๋ยเคมีอย่างเลี่ยงไม่ได้
พวกปุ๋ยมูลสัตว์ ปุ๋ยพืชสดต่างๆ หรือ อาศัยน้ำหลากพัดพาสารอาหารมาทับถมคงไม่มี หรือมีก็ไม่เพี่ยงพอต่อการปลูกแบบนี้
เลี้ยงวัวเลี้ยงควายก็เอามูลมาเป็นปุ๋ย อย่างนี้ไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมีก็คงได้
แต่ตอนนี้มันเปลี่ยนไป ทำนาทั้งปี เก็บเกี่ยวเสร็จ ลงใหม่เลย แร่ธาตุสารอาหารในดินก็หมด ต้องพึ่งปุ๋ยเคมีอย่างเลี่ยงไม่ได้
พวกปุ๋ยมูลสัตว์ ปุ๋ยพืชสดต่างๆ หรือ อาศัยน้ำหลากพัดพาสารอาหารมาทับถมคงไม่มี หรือมีก็ไม่เพี่ยงพอต่อการปลูกแบบนี้
ความคิดเห็นที่ 15
ปุ๋ยหมักแม่โจ้ ต้นทุนต่ำ(แต่ใช้แรงเยอะถ้าทำเยอะ) ธาตุอาหารครบ
ช่วงนี้หน้าทุเรียน เอาเปลือกทุเรียนมาทำก็ได้
https://www.facebook.com/groups/836331036476777/posts/887347471375133/
ช่วงนี้หน้าทุเรียน เอาเปลือกทุเรียนมาทำก็ได้
https://www.facebook.com/groups/836331036476777/posts/887347471375133/
แสดงความคิดเห็น
ขอถามแบบคนโง่ ๆ เลยนะคะ ทำนาทำสวน ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยเคมีเลยชาวสวนสามารถทำได้ไหมคะ