ประวัติชุมชนบ้านจีน
...ร่วม ๑๐๐ ปีมานี้ บริเวณตรอกระแหง จะมีชาวจีนมาตั้งรกรากอยู่ ชาวจีนเหล่านี้จะมีอาชีพค้าขาย
การติดต่อกับต่างจังหวัดสมัยนั้นใช้ทางเรือ มีเรือถ่อ เรือยนต์ สินค้าที่มาจากเมืองหลวงจะมาทางเรือ
มีท่าจอดเรือ ๒ แห่ง คือ ท่าปากคลองน้อย ที่เรียก "ปากคลองน้อย" เกิดจากสมัยนั้นมีผู้ทำเรือโกลนและจะทู่มาทางนี้
"การทู่เรือ" ลงมาทำให้เกิดเป็นร่องน้ำขึ้น
น้ำจะไหลจากหนองมณีบรรพต ผ่านหน้าโรงเรียนตากพิทยาคม มาทางระหว่างซอย ๒๑-๒๓ มาลงสู่แม่น้ำปิง
ชาวบ้านจึงเรียกส่วนนี้ว่า "ปากคลองน้อย" ถนนส่วนตรงนี้ นายมา นางทอง ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ทำการค้าเรือโกลนล่องส่งกรุงเทพฯ
จึงได้สร้างสะพานข้ามคลองขึ้นเป็นสะพานสูง เรียกกันว่า "สะพานทอง"
ชาวบ้านแถบนั้นก็จะจับไม้ซุงซึ่งลอยมาตามน้ำ นำมาทำเป็นแพ ให้เรือยนต์จอดและใช้ลงซักผ้า อาบน้ำ ตักน้ำกิน
สินค้าที่มาก็จะมาขึ้นที่ท่านี้ และอีกแห่งหนึ่งเหนือขึ้นไปเรียกว่า "ท่าหลวง" เพราะได้จัดทำแพขึ้นให้เป็นที่จอดเรือยนต์อีกแห่งหนึ่ง
บริเวณที่เรียกว่า "บ้านจีน" นี้ มีร้านค้าหลายร้านได้แก่
๑. บ้านนางสาวมิ้น โสภโณดร ทำการค้าเกี่ยวกับเครื่องใช้ในการบวช มีผ้าสบง จีวร กรวยอุปัจฌาย์ ดอกไม้แห้ง ฯลฯ
๒. บ้านนายง้วน นางกิมหวล โปสพันธ์ ทำการค้าเครื่องนอน หมอน มุ้ง ที่นอน
๓. บ้านขุนวัชรพุกก์ศึกษากร นางบุญมี ขุนวัชรพุกก์ศึกษากร รับราชการกระทรวงธรรมการ
ส่วนนางบุญมี ทำการค้าขายพวกเครื่องอัฏฐบริขาร อุปกรณ์การบวชพระ เครื่องเขียน แบบเรียน
๔. นายจันทร์ สุประกอบ ขายเครื่องยาสมุนไพร
๕. นายเฟ้อ นางเพียน บุญอินทร์ ขายก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้ม
๖. นายอินทร์ นางปุกเงิน ขายพวกเครื่องใช้ เครื่องแก้ว
๗. นางต่วน นางเตี้ยม คอวนิช ขายของชำ และฟั่นเทียน
๘. นายชู นางริ้ว ทองมา ขายของชำ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ถ้วยชาม เครื่องแต่งตัว (ต่างหู แหวน ทองรูปพรรณ)
๙. นายสะอาด นางส้มชู้ ต้นประทุม ค้าขายเครื่องเหล็ก
๑๐. นายมา นางทอง ทองมา นายมาทำการค้าเรือโกลน นางทองทำการค้าขายเครื่องปั้นดินเผา มุ้ง หมอน ที่นอน เครื่องทอง
๑๑. นายสุก นางผัน ช่างทำทงอ
๑๒. นางบัว ทำการค้าที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าดิบ ฝ้ายดิบ
๑๓. นายหมัง สายชุ่มอินทร์ ผู้แทนราษฎร ค้าขายสินค้าติดต่อกับแม่สอด
๑๔. นายโพ ทำการค้าพวกของขบเคี้ยว เมี่ยง ลูกอม ขนมต่างๆ
...ในหมู่บ้านนี้จะมีบ้านของหลวงบริรักษ์ประชากร (นายทองอยู่) ทำการค้าไม้ รับซื้อของป่าและทำเรือโกลน
มีฐานะร่ำรวยมากในย่านนี้ มีข้าทาสบริวารมาก แถบนี้จะเรียกกันว่า "บ้านใหญ่"
ขณะนี้บ้านนั้นได้ถูกตกทอดมาเป็นบ้านลูกหลานในตระกูลโสภโณดร บ้านชำรุดไปบ้างและมิได้ทำการซ่อมแซม
(ภาพนี้ต้องการให้เห็นความสวยงามของเพดานและราวบันได ซึ่งแต่เดิมลงจากบันไดมาก็จะเป็นท่าน้ำแม่น้ำปิง
ต่อมาได้มีการถมถนนทำให้แม่น้ำปิงแตบลง และมีถนนเลียบแม่น้ำปิงขึ้นมาแทนที่ ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นตรอกเล็กๆ
ที่เรียกว่า "ตรอกบ้านจีน" หรือ "ตรอกเรือนจีน" นั่นเองในปัจจุบัน)
ความเป็นมา
...บรรพบุรุษผู้เริ่มก่อสร้างบ้านสกุล "โสภโณดร" ที่จังหวัดตากแห่งนี้ มีชื่อว่า "จีนทองอยู่"
ประวัติความเป็นมาดั้งเดิมของจีนทองอยู่ไม่เป็นที่ปรากฏ แต่เข้าใจว่ามีอาชีพค้าขายเป็นพ่อค้าจีนที่เมืองตาก
ในขณะนั้นมีพ่อค้าจีนอีกคนหนึ่งชื่อ "จีนบุญเย็น" ทั้ง ๒ คนได้เข้าร่วมหุ้นส่วนกับพ่อค้าจีนชื่อดังอีกคนชื่อว่า "จีนเต็ง"
ทั้ง ๓ คนร่วมกันก่อตั้งบริษัท "กิมเซ่งหลี" (มาจากแซ่ของจีนทั้ง ๓) ทำกิจการผูกขาดการจัดเก็บภาษีอากรในเมืองเชียงใหม่
และค้าขายสินค้าต่างๆ ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่เรื่อยลงมาจนถึงปากน้ำโพ เมืองนครสวรรค์ และขยายสาขามาที่กรุงเทพมหานคร
ที่ตำบลสามเสน ดำเนินกิจการโรงสีและโรงจักรเลื่อยไม้ หุ้นส่วนทั้ง ๓ ได้ตกลงแบ่งความรับผิดชอบกัน
โดยที่ จีนเต็งหรืออากรเต็ง ดูแลกิจการห้าง "กิมเซ่งหลี" ที่กรุงเทพฯ
จีนบุญเย็น ดูแลกิจการที่เชียงใหม่ และจีนทองอยู่รับผิดชอบดูแลกิจการต่างๆ ประจำที่เมืองตาก
บริษัท "กิมเซ่งหลี" ได้ขยายการลงทุนกิจการต่างๆ มากมาย เช่น การทำป่าไม้ที่เชียงใหม่ ลำปางและน่าน ขยายกิจการโรงสีทั่วประเทศ
ลงทุนในกิจการธนาคาร คือ "แบงค์สยามกัมมาจล" (ธนาคารไทยพาณิชย์) กิจการเรือเมล์สยามทุน จำกัด รวมถึงกิจการค้าที่ฮ่องกงและซัวเถาอีกด้วย
จีนทั้ง ๓ ได้ทำงานสนองพระเดชพระคุณในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในการหลายอย่าง จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอุดรภัณฑ์พานิช (จีนเต็ง)
เจ้าภาษีนายอากรสังกัดกระทรวงนครบาล หลวงจิตรจำนงวานิช ปลัดฝ่ายจีนเมืองตาก สังกัดกรมท่าซ้ายและหลวงบริรักษ์ประชากร กรมการพิเศษเมือง ในสมัยรัชกาลที่ ๖
บุตรชายหลวงอุดรภัณฑ์พานิช (จีนเต็ง) นามว่า "จีนกี๊" หรือ "พระโสภณเพชรรัตน์" ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุล เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๕๖ ว่า "โสภโณดร" (แปลว่า ทิศเหนือที่งดงาม) ซึ่งเป็นคำสนธิมาจากคำว่า "โสภณ" และ "อุดร"
จีนทั้ง ๓ จึงได้น้อมรับพระมหากรุณาธิคุณในการพระราชทานนามสกุลมาใช้ร่วมกันสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ลำดับรุ่นทายาทเจ้าของบ้าน
ลำดับที่ ๑
...หลวงบริรักษ์ประชากร (จีนทองอยู่) ผู้เป็นเจ้าของบ้านรุ่นที่ ๑ ได้รับผิดชอบบริหารกิจการบริษัท "กิมเซ่งหลี"
อยู่ที่จังหวัดตากนี้เริ่มต้นปลูกสร้างเรือนไม้ทรงไทย ๒ หลัง อยู่ที่ตำบลบ้านจีนจังหวัดตาก สมรสกับนางบริรักษ์ประชากร (บุญนาค) มีบุตรธิดา ๕ คน
ลำดับที่ ๒
...หลวงบริรักษ์ประชากร (ตังกวย) เป็นบุตรของหลวงบริรักษ์ประชากร (จีนทองอยู่) และนางบริรักษ์ประชากร (บุญนาค)
สมรสกับนางกิมฮวย บุตรของนายปั่นและนางเอม คหบดีและคหบดีในตำบลบ้านจีน มีบุตรธิดา ๔ คน
ลำดับที่ ๓
...นายสมจิต โสภโณดร เป็นบุตรของหลวงบริรักษ์ประชากร (ตังกวย) และนางกิมฮวย หลังจบการศึกษาจากกรุงเทพฯ ก็กลับมาช่วยบิดามารดาประกอบธุรกิจโรงสี โรงภาพยนตร์ของครอบครัวและก่อตั้งบริษัทสงวนกิจ ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงเลื่อย ก่อตั้งและร่วมลงทุนกับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด รวมทั้งได้รับการยอมรับจากประชาชนในเขตเทศบาลให้เป็นนายกเทศมนตรีเมืองตากในสมัยหนึ่งด้วย
ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางน้อม (รักติประกร) โสภโณดร บุตรพระยาสครราชเรืองยศ (ชุ่ม รักติประกร) อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตากกับคุณหญิงสครราชเรืองยศ (โหมด รักติประกร)
ลำดับที่ ๔
...นายศรีศักดิ์ โสภโณดร เป็นบุตรนายสมจิตรและนางน้อม โสภโณดร มีน้องชายร่วมสายโลหิต ๑ คน คือ พลโท ไกรสิงห์ โสภโณดร
นายศรีศักดิ์ ได้สมรสกับ นางศรีรวญ (กุศล) โสภโณดร มีบุตรธิดา ๓ คน และรับราชการที่กรมสรรพสามิต โดยดำรงตำแหน่งสุดท้ายเป็นสรรพสามิตจังหวัดตากจนครบเกษียณอายุราชการ
อดีตของบ้านตึกหลังใหญ่ (บ้านสีฟ้า) เลขที่ ๗๙๔ ในสมัยหลวงบริรักษ์ประชากร (ตังกวย) ได้รื้อบ้านไม้หนึ่งหลังและปลูกเป็นบ้านตึกหลังใหญ่ทดแทน
และบ้านตึกหลังใหญ่แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองหรือข้าราชการต่างๆ ที่ต้องเดินทางด้วยทางน้ำเพื่อติดต่อราชการขึ้นล่องระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ
(ด้วยคุณงามความดีนี้เองจึงได้รับโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "ขุนบริรักษ์ประชากร" และต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงบริรักษ์ประชากร" แทนบิดา)
เมื่อมาถึงสมัยนายสมจิตร กับนางน้อม โสภโณดร ได้เป็นสถานที่ตั้งสำนักงานของธนาคารนครหลวง สาขาตากแห่งแรกในจังหวัด
โดยมีเจ้าของบ้านนายสมจิตร โสภโณดร เป็นผู้ก่อตั้งและร่วมลงทุนกับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ดำรงตำแหน่งตัวแทน และผู้จัดการธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาตากเป็นคนแรก
ปัจจุบันธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ได้ย้ายไปตั้ง ณ ธนาคารนครหลวงไทย ถนนมหาดไทยบำรุง ตำบลหนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดตาก
ปัจจุบันบ้านตึกหลังใหญ่นี้เป็นที่พักอาศัยส่วนตัวของครอบครัว "โสภโณดร"
ตาก-นำชมตรอกบ้านจีน ชุมชนการค้าชาวเชื้อสายจีนทางเรือ ที่มีความสัมพันธ์กับ กรุงเทพฯ-พม่า-หัวเมืองทางเหนือในอดีต
ประวัติชุมชนบ้านจีน
...ร่วม ๑๐๐ ปีมานี้ บริเวณตรอกระแหง จะมีชาวจีนมาตั้งรกรากอยู่ ชาวจีนเหล่านี้จะมีอาชีพค้าขาย
การติดต่อกับต่างจังหวัดสมัยนั้นใช้ทางเรือ มีเรือถ่อ เรือยนต์ สินค้าที่มาจากเมืองหลวงจะมาทางเรือ
มีท่าจอดเรือ ๒ แห่ง คือ ท่าปากคลองน้อย ที่เรียก "ปากคลองน้อย" เกิดจากสมัยนั้นมีผู้ทำเรือโกลนและจะทู่มาทางนี้
"การทู่เรือ" ลงมาทำให้เกิดเป็นร่องน้ำขึ้น
น้ำจะไหลจากหนองมณีบรรพต ผ่านหน้าโรงเรียนตากพิทยาคม มาทางระหว่างซอย ๒๑-๒๓ มาลงสู่แม่น้ำปิง
ชาวบ้านจึงเรียกส่วนนี้ว่า "ปากคลองน้อย" ถนนส่วนตรงนี้ นายมา นางทอง ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ทำการค้าเรือโกลนล่องส่งกรุงเทพฯ
จึงได้สร้างสะพานข้ามคลองขึ้นเป็นสะพานสูง เรียกกันว่า "สะพานทอง"
ชาวบ้านแถบนั้นก็จะจับไม้ซุงซึ่งลอยมาตามน้ำ นำมาทำเป็นแพ ให้เรือยนต์จอดและใช้ลงซักผ้า อาบน้ำ ตักน้ำกิน
สินค้าที่มาก็จะมาขึ้นที่ท่านี้ และอีกแห่งหนึ่งเหนือขึ้นไปเรียกว่า "ท่าหลวง" เพราะได้จัดทำแพขึ้นให้เป็นที่จอดเรือยนต์อีกแห่งหนึ่ง
บริเวณที่เรียกว่า "บ้านจีน" นี้ มีร้านค้าหลายร้านได้แก่
๑. บ้านนางสาวมิ้น โสภโณดร ทำการค้าเกี่ยวกับเครื่องใช้ในการบวช มีผ้าสบง จีวร กรวยอุปัจฌาย์ ดอกไม้แห้ง ฯลฯ
๒. บ้านนายง้วน นางกิมหวล โปสพันธ์ ทำการค้าเครื่องนอน หมอน มุ้ง ที่นอน
๓. บ้านขุนวัชรพุกก์ศึกษากร นางบุญมี ขุนวัชรพุกก์ศึกษากร รับราชการกระทรวงธรรมการ
ส่วนนางบุญมี ทำการค้าขายพวกเครื่องอัฏฐบริขาร อุปกรณ์การบวชพระ เครื่องเขียน แบบเรียน
๔. นายจันทร์ สุประกอบ ขายเครื่องยาสมุนไพร
๕. นายเฟ้อ นางเพียน บุญอินทร์ ขายก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้ม
๖. นายอินทร์ นางปุกเงิน ขายพวกเครื่องใช้ เครื่องแก้ว
๗. นางต่วน นางเตี้ยม คอวนิช ขายของชำ และฟั่นเทียน
๘. นายชู นางริ้ว ทองมา ขายของชำ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ถ้วยชาม เครื่องแต่งตัว (ต่างหู แหวน ทองรูปพรรณ)
๙. นายสะอาด นางส้มชู้ ต้นประทุม ค้าขายเครื่องเหล็ก
๑๐. นายมา นางทอง ทองมา นายมาทำการค้าเรือโกลน นางทองทำการค้าขายเครื่องปั้นดินเผา มุ้ง หมอน ที่นอน เครื่องทอง
๑๑. นายสุก นางผัน ช่างทำทงอ
๑๒. นางบัว ทำการค้าที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าดิบ ฝ้ายดิบ
๑๓. นายหมัง สายชุ่มอินทร์ ผู้แทนราษฎร ค้าขายสินค้าติดต่อกับแม่สอด
๑๔. นายโพ ทำการค้าพวกของขบเคี้ยว เมี่ยง ลูกอม ขนมต่างๆ
...ในหมู่บ้านนี้จะมีบ้านของหลวงบริรักษ์ประชากร (นายทองอยู่) ทำการค้าไม้ รับซื้อของป่าและทำเรือโกลน
มีฐานะร่ำรวยมากในย่านนี้ มีข้าทาสบริวารมาก แถบนี้จะเรียกกันว่า "บ้านใหญ่"
ขณะนี้บ้านนั้นได้ถูกตกทอดมาเป็นบ้านลูกหลานในตระกูลโสภโณดร บ้านชำรุดไปบ้างและมิได้ทำการซ่อมแซม
(ภาพนี้ต้องการให้เห็นความสวยงามของเพดานและราวบันได ซึ่งแต่เดิมลงจากบันไดมาก็จะเป็นท่าน้ำแม่น้ำปิง
ต่อมาได้มีการถมถนนทำให้แม่น้ำปิงแตบลง และมีถนนเลียบแม่น้ำปิงขึ้นมาแทนที่ ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นตรอกเล็กๆ
ที่เรียกว่า "ตรอกบ้านจีน" หรือ "ตรอกเรือนจีน" นั่นเองในปัจจุบัน)
ความเป็นมา
...บรรพบุรุษผู้เริ่มก่อสร้างบ้านสกุล "โสภโณดร" ที่จังหวัดตากแห่งนี้ มีชื่อว่า "จีนทองอยู่"
ประวัติความเป็นมาดั้งเดิมของจีนทองอยู่ไม่เป็นที่ปรากฏ แต่เข้าใจว่ามีอาชีพค้าขายเป็นพ่อค้าจีนที่เมืองตาก
ในขณะนั้นมีพ่อค้าจีนอีกคนหนึ่งชื่อ "จีนบุญเย็น" ทั้ง ๒ คนได้เข้าร่วมหุ้นส่วนกับพ่อค้าจีนชื่อดังอีกคนชื่อว่า "จีนเต็ง"
ทั้ง ๓ คนร่วมกันก่อตั้งบริษัท "กิมเซ่งหลี" (มาจากแซ่ของจีนทั้ง ๓) ทำกิจการผูกขาดการจัดเก็บภาษีอากรในเมืองเชียงใหม่
และค้าขายสินค้าต่างๆ ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่เรื่อยลงมาจนถึงปากน้ำโพ เมืองนครสวรรค์ และขยายสาขามาที่กรุงเทพมหานคร
ที่ตำบลสามเสน ดำเนินกิจการโรงสีและโรงจักรเลื่อยไม้ หุ้นส่วนทั้ง ๓ ได้ตกลงแบ่งความรับผิดชอบกัน
โดยที่ จีนเต็งหรืออากรเต็ง ดูแลกิจการห้าง "กิมเซ่งหลี" ที่กรุงเทพฯ
จีนบุญเย็น ดูแลกิจการที่เชียงใหม่ และจีนทองอยู่รับผิดชอบดูแลกิจการต่างๆ ประจำที่เมืองตาก
บริษัท "กิมเซ่งหลี" ได้ขยายการลงทุนกิจการต่างๆ มากมาย เช่น การทำป่าไม้ที่เชียงใหม่ ลำปางและน่าน ขยายกิจการโรงสีทั่วประเทศ
ลงทุนในกิจการธนาคาร คือ "แบงค์สยามกัมมาจล" (ธนาคารไทยพาณิชย์) กิจการเรือเมล์สยามทุน จำกัด รวมถึงกิจการค้าที่ฮ่องกงและซัวเถาอีกด้วย
จีนทั้ง ๓ ได้ทำงานสนองพระเดชพระคุณในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในการหลายอย่าง จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอุดรภัณฑ์พานิช (จีนเต็ง)
เจ้าภาษีนายอากรสังกัดกระทรวงนครบาล หลวงจิตรจำนงวานิช ปลัดฝ่ายจีนเมืองตาก สังกัดกรมท่าซ้ายและหลวงบริรักษ์ประชากร กรมการพิเศษเมือง ในสมัยรัชกาลที่ ๖
บุตรชายหลวงอุดรภัณฑ์พานิช (จีนเต็ง) นามว่า "จีนกี๊" หรือ "พระโสภณเพชรรัตน์" ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุล เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๕๖ ว่า "โสภโณดร" (แปลว่า ทิศเหนือที่งดงาม) ซึ่งเป็นคำสนธิมาจากคำว่า "โสภณ" และ "อุดร"
จีนทั้ง ๓ จึงได้น้อมรับพระมหากรุณาธิคุณในการพระราชทานนามสกุลมาใช้ร่วมกันสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ลำดับรุ่นทายาทเจ้าของบ้าน
ลำดับที่ ๑
...หลวงบริรักษ์ประชากร (จีนทองอยู่) ผู้เป็นเจ้าของบ้านรุ่นที่ ๑ ได้รับผิดชอบบริหารกิจการบริษัท "กิมเซ่งหลี"
อยู่ที่จังหวัดตากนี้เริ่มต้นปลูกสร้างเรือนไม้ทรงไทย ๒ หลัง อยู่ที่ตำบลบ้านจีนจังหวัดตาก สมรสกับนางบริรักษ์ประชากร (บุญนาค) มีบุตรธิดา ๕ คน
ลำดับที่ ๒
...หลวงบริรักษ์ประชากร (ตังกวย) เป็นบุตรของหลวงบริรักษ์ประชากร (จีนทองอยู่) และนางบริรักษ์ประชากร (บุญนาค)
สมรสกับนางกิมฮวย บุตรของนายปั่นและนางเอม คหบดีและคหบดีในตำบลบ้านจีน มีบุตรธิดา ๔ คน
ลำดับที่ ๓
...นายสมจิต โสภโณดร เป็นบุตรของหลวงบริรักษ์ประชากร (ตังกวย) และนางกิมฮวย หลังจบการศึกษาจากกรุงเทพฯ ก็กลับมาช่วยบิดามารดาประกอบธุรกิจโรงสี โรงภาพยนตร์ของครอบครัวและก่อตั้งบริษัทสงวนกิจ ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงเลื่อย ก่อตั้งและร่วมลงทุนกับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด รวมทั้งได้รับการยอมรับจากประชาชนในเขตเทศบาลให้เป็นนายกเทศมนตรีเมืองตากในสมัยหนึ่งด้วย
ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางน้อม (รักติประกร) โสภโณดร บุตรพระยาสครราชเรืองยศ (ชุ่ม รักติประกร) อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตากกับคุณหญิงสครราชเรืองยศ (โหมด รักติประกร)
ลำดับที่ ๔
...นายศรีศักดิ์ โสภโณดร เป็นบุตรนายสมจิตรและนางน้อม โสภโณดร มีน้องชายร่วมสายโลหิต ๑ คน คือ พลโท ไกรสิงห์ โสภโณดร
นายศรีศักดิ์ ได้สมรสกับ นางศรีรวญ (กุศล) โสภโณดร มีบุตรธิดา ๓ คน และรับราชการที่กรมสรรพสามิต โดยดำรงตำแหน่งสุดท้ายเป็นสรรพสามิตจังหวัดตากจนครบเกษียณอายุราชการ
อดีตของบ้านตึกหลังใหญ่ (บ้านสีฟ้า) เลขที่ ๗๙๔ ในสมัยหลวงบริรักษ์ประชากร (ตังกวย) ได้รื้อบ้านไม้หนึ่งหลังและปลูกเป็นบ้านตึกหลังใหญ่ทดแทน
และบ้านตึกหลังใหญ่แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองหรือข้าราชการต่างๆ ที่ต้องเดินทางด้วยทางน้ำเพื่อติดต่อราชการขึ้นล่องระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ
(ด้วยคุณงามความดีนี้เองจึงได้รับโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "ขุนบริรักษ์ประชากร" และต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงบริรักษ์ประชากร" แทนบิดา)
เมื่อมาถึงสมัยนายสมจิตร กับนางน้อม โสภโณดร ได้เป็นสถานที่ตั้งสำนักงานของธนาคารนครหลวง สาขาตากแห่งแรกในจังหวัด
โดยมีเจ้าของบ้านนายสมจิตร โสภโณดร เป็นผู้ก่อตั้งและร่วมลงทุนกับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ดำรงตำแหน่งตัวแทน และผู้จัดการธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาตากเป็นคนแรก
ปัจจุบันธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ได้ย้ายไปตั้ง ณ ธนาคารนครหลวงไทย ถนนมหาดไทยบำรุง ตำบลหนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดตาก
ปัจจุบันบ้านตึกหลังใหญ่นี้เป็นที่พักอาศัยส่วนตัวของครอบครัว "โสภโณดร"