[ชวนคุย] ทำไมการ์ตูนดิสนีย์ฉบับเล่มสองภาษา ไทย - อังกฤษ (รวมถึงค่ายอื่นด้วย) ถึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมและพูดถึงครับ?

สวัสดีครับ จขกท.เป็นคนที่ชอบภาษาอังกฤษมาก ๆ และถือว่าเป็นหนอนหนังสือตัวยงคนหนึ่งเลยก็ได้ครับ วันนี้ผมก็จะมาชวนเพื่อน ๆ พี่น้องชาวพันทิปพูดคุยถึงเรื่องความนิยมของคนไทยที่มีต่อหนังสือสองภาษา ไทย - อังกฤษกันนะครับ

จากที่สังเกตมาในห้องการ์ตูน เวลามีคนตั้งกระทู้ถามถึงการ์ตูนไม่ว่าจะเป็นแบบเล่มหรือแบบอนิเมชั่น ก็มักจะเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเสียส่วนใหญ่ 

แต่ทว่า เวลามีกระทู้ถามถึงการ์ตูนเก่าเรื่องโปรดในความทรงจำ การ์ตูนฝรั่งดูจะได้รับความนิยมและเป็นที่จดจำในรูปแบบการ์ตูนฉายทางทีวีหรือวิดีโอแผ่น หนังใหญ่ลงโรงเสียมากกว่า เช่นช่อง Cartoon Networks / ช่อง Disney Club ในขณะที่รูปแบบหนังสือนั้นแทบจะไม่มีคนพูดถึง หากระทู้พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องนี้แทบจะไม่ได้เลย

ในขณะที่การ์ตูนญี่ปุ่นนั้นต่อให้เก่าหรือนานแค่ไหนก็ยังมีคนหยิบมาพูดถึงอยู่เรื่อย ๆ บางเล่มคนพูดถึงเยอะจนสนพ.ตัดสินใจเอากลับมาพิมพ์ใหม่หลายรอบก็มี

เราก็เลยเกิดความสงสัยว่า ในช่วงยุค 90 ซึ่งดูเหมือนจะเป็นยุคทองของการ์ตูนทั้งสองฝั่ง ทั้งจากฝั่งอเมริกาและฝั่งญี่ปุ่น มีการ์ตูนสนุก ๆ ดี ๆ ดัง ๆ เข้ามาให้ดูมากมาย (และยุค 90 ก็เหมือนจะเป็นยุคที่ผู้คนคลั่งไคล้แนวฝรั่งกันมากด้วยดูจากเพลง ดาราและแฟชั่นยุคนั้น)

แต่ทำไมการ์ตูนญี่ปุ่นถึงยืนระยะความนิยมมาได้อย่างยาวนานจนปัจจุบัน ในขณะที่การ์ตูนฝรั่งดูเหมือนจะล้มหายตายจากไปเรื่อย ๆ อย่างเงียบเชียบ

ในด้านอนิเมชั่นอันนี้ไม่เถียงว่าช่วงยุค 2000 มานี่เป็นขาลงของดิสนีย์เหมือนกัน แต่พวก CN ยังอยู่ แล้วก็เงียบหายไปช่วงปลายยุค ขึ้น 2010 เป็นต้นมานี่สายฝรั่งก็กลับมาแบบประปรายในสายเพลงมากกว่า 

ส่วนหนังสือก็อย่างที่กล่าวมา พอพ้นยุค 90 ไปแล้วก็แทบจะตายจากไปจากตลาดหนังสือเลย ในฐานะเด็กหนุ่มวัยรุ่นคนหนึ่งที่ชอบอ่านหนังสือสองภาษาแนวนี้มาตั้งแต่เด็ก ก็รู้สึกเหงาไม่น้อย เพราะหาเพื่อนคนที่จะคุยแนวเดียวกันกับเรายากมากเลยครับตั้งแต่เด็กยันโต 

คือพวกเขาก็ชื่นชมเราที่เก่งภาษาอังกฤษโดดเด่นกว่าใคร บางคนมาถามเทคนิคด้วยซ้ำ แต่ถ้าให้มาคุยกันเรื่องแบบนี้คือคุยไม่ได้ครับ เราก็อยากจะนำเสนอให้พวกเขาอ่าน แบบมาลองอ่านด้วยกันนะ แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะไม่อิน คืออ่านแล้วเหมือนจะไม่ชอบหรือไม่เข้าใจก็ไม่ทราบ

(ถ้าแบบที่เราเล่าข้างล่างเนี่ยก็พอเข้าใจว่าทำไมไม่อินครับ แต่คือ ก่อนที่เราจะทำแบบนั้น ในโรงเรียนตรงชั้นหนังสือมันก็จะมีหนังสือพวกดิสนีย์เพื่อนน้องซึ่งมีทั้งภาษาไทยและอังกฤษในเล่มเดียวกันให้อ่าน ซึ่งก็ไม่มีใครอ่านกัน น้อยมาก 555)

ทางนี้ตอนเป็นเด็กประถมคือพราวด์ทูพรีเซ้นท์มากกกกก เอาตัวการ์ตูนดิสนีย์ที่ชอบมาวาดเป็นเรื่องเป็นราวของตัวเองแบบภาษาอังกฤษล้วน ๆ ทั้งเล่ม เย็บเล่มไปแบ่งให้เพื่อนกับครูอ่านกันน่ะ เอาสิ

แน่นอนว่าการลำดับเรื่องมันก็จะงง ๆ หน่อยตามประสาเด็กนึกไรได้ก็วาดล่ะนะครับ 555 แต่ทุกคนพูดตรงกันหมด คือภาษาผมดีมากกก 

ทีนี้พอคุยกันเรื่องการ์ตูน เราเป็นฝ่ายนำเสนอป้ายยาเขาไม่ค่อยได้ก็ต้องเป็นฝ่ายฟังล่ะนะครับ ส่วนใหญ่เพื่อน ๆ ก็จะแนะนำหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่ดัง ๆ กันในตอนนั้นให้อ่านกันล่ะครับ สมัยนั้นก็จะเป็นพวก นารูโตะ บลีช วันพีช พวกนั้นแล้วที่เอามาอ่านที่โรงเรียนกัน (นารูโตะนี่ตอนนั้นเมะดังครับ ใคร ๆ ก็พูดถึง) ส่วนยูกินี่คือไม่พูดถึงเมะ แต่เล่นการ์ดกัน 555 อีกเรื่องก็บาคุกัน เอาเป็นว่าเมะขายของเล่นแล้วกัน 555+

พอขึ้นมัธยมมาคือเริ่มเข้าสู่ยุคไลท์โนเวลจากที่ตามอนิเมะเต็มตัวล่ะครับ หันไปทางไหนก็ SAO 5555+ พอลองเปิดใจดูเพื่อเข้าสังคมก็สนุกดีครับ เริ่มตามดูเมะญี่ปุ่นนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่างกับสมัยประถมมากที่ไม่ได้ดูเลยนอกจากพวกโดเรม่อน อิคคิวซัง แต่จะอ่านมังงะเอามากกว่า พวกอินุยาฉะ ยูกิ โคนันของเรานี่คือเริ่มจากอ่านนะครับ ไม่ได้ดูเมะ เรียกว่าถ้าเทียบเป็นสัดส่วนของแต่ละช่วงวัยก็จะแบ่งได้ประมาณนี้ครับ

ประถม : 90% - 10% (ฝรั่ง - ญี่ปุ่น) ดูการ์ตูนฝรั่งเป็นหลัก อ่านการ์ตูนสองภาษาไทยอังกฤษ อ่านนิยายภาษาอังกฤษ ไปงานหนังสือทุกปีต้องมีติดมือมาสักสองสามเล่มล่ะ // อ่านการ์ตูนญี่ปุ่นบ้างเฉพาะเรื่องดัง ๆ ที่เราอ่านแล้วสนุก ไปตามต่อจากร้านเช่า ไม่ดูเมะเลยเพราะยาว อ่านเร็วกว่า

ม.ต้น : 70% - 30% (ฝรั่ง - ญี่ปุ่น) ยังคงอ่านการ์ตูนสองภาษากับนิยายอังกฤษเป็นหลักอยู่ แต่เริ่มดูเมะญี่ปุ่นตามกระแส ดูเรื่องที่สนใจในแต่ละซีซั่นบ้างแล้ว (และพบว่ามันไม่ได้ยาวอย่างที่คิดเหมือนพวกจัมป์ 5555+ ยาว 12 ตอนจบเรื่องนึงคือกำลังพอดีเลย) เริ่มอ่านไลท์โนเวล

ม.ปลาย - มหาลัย : 10% - 90% (ฝรั่ง - ญี่ปุ่น) ติดอนิเมะญี่ปุ่นหนักเลยครับ 555 โหลดเมะแฟนซับแปลไทยมาดูเต็มเครื่อง เข้าสาย L (Loli) เต็มตัวแล้ว ฮาา ช่วงนี้ของชีวิตก็คืออ่านแนวฝรั่ง อ่านภาษาอังกฤษน้อยลงอย่างน่าใจหายครับ ไปงานหนังสือยังสอยพวกการ์ตูนสองภาษามือสอง หนังสือวรรณกรรมเด็กภาษาอังกฤษมาอ่านอยู่เรื่อย ๆ นะ แต่พวกนิยายคลาสสิค วรรณกรรมดัง ๆ พวก Collins Classic / Wordworth นี่ซื้อมาดองเลย เมื่อก่อนคือซื้อมาปุ๊บอ่านปั๊บเพราะอยากรู้เนื้อหาในนั้นอ่ะนะ ตอนนี้คือที่บ้านมีบ่น ๆ ละครับ ซื้อมาก็ไม่อ่าน 555 อยากกลับไปอ่านเยอะ ๆ แบบเมื่อก่อนเหมือนกันครับ

ทีนี้ ถึงจะอ่านและดูเมะญี่ปุ่นมากขึ้นแค่ไหน แต่ก็ยังไม่เท่าเพื่อนที่ดูสายญี่ปุ่นมาตั้งแต่แรกน่ะครับ รู้ไม่เยอะเท่า พอคุยได้บ้างนิดหน่อย เพราะผมดู / อ่านเรื่องเฉพาะกลุ่มสายตัวเองมากกว่าจริง ๆ

แต่เราก็อยากมีส่วนร่วมในกลุ่มครับ ก็มีพูดเล่นมุกบ้างไรบ้างแต่มันมักจะกร่อยเสียมากกว่าเพราะเราไม่ได้รู้จริงไงครับ จนคนที่เราชอบบอกตรง ๆ ว่าอยากให้เราเป็นตัวของตัวเองมากกว่านี้

หลังจากที่เขาพูดมา และเรามานั่งแก้ไขปัญหาตัวเอง เราก็ถามตัวเองอีกครั้งว่าสิ่งที่เราชอบจริง ๆ คืออะไร ตัวตนของเราจริง ๆ คืออะไร ก็พยายามกลับมาสู่สายภาษาอังกฤษเต็มตัว สายฝรั่งเต็มตัวล่ะครับ

เพราะสิ่งที่เขาทำได้เช่นวาด เราก็ทำได้ไม่ดีเท่า แต่พยายามจะเป็นเพื่อนำเสนอเนื้อหาหลักของเราซึ่งก็คือภาษานั่นล่ะ แต่ในมุมกลับกัน สิ่งที่เราทำได้ เราเก่งเช่นภาษาและการแปล เขาก็ไม่ถนัดเช่นกัน

ทุกวันนี้คือดีขึ้นครับหลังจากดูวีทูบเบอร์ เพราะเราหาสังคมที่เหมาะกับเราได้แล้ว อยู่ในกลุ่มดิสคอร์ดวีต่างชาติคุยกับเพื่อนฝรั่งทุกวันเลยก็ว่าได้ครับ ความมั่นใจกลับมาเยอะมากเหมือนสมัยเรียนเพราะเพื่อน ๆ กันก็มาจ้างแปลภาษาอังกฤษเรื่อย ๆ หลังจากที่คิดว่าทักษะด้านนี้ของเราคงไม่มีใครต้องการ

(สายอังกฤษสมัยนั้นช่วงมัธยมที่เด่น ๆ ดัง ๆ หาเงินได้มีแต่สายสอนพิเศษครับ งานสายอื่นแทบจะไม่มีตัวตนเลยในกลุ่มสังคมเด็กมัธยม คือไม่รู้จักอาชีพ ไม่มีใครทำให้เห็นนั่นล่ะครับ ส่วนสายญี่ปุ่นเนี่ยคือเพียบ แปลแฟนซับเมะเต็มไปหมด ชมรมวาด คอสนี่เต็มเลย)

โอเค หลังจากที่พล่ามน้ำท่วมทุ่งมานาน (ขออภัยครับแต่อยากระบายจริง ๆ 555)

จากที่เราวิเคราะห์ เราคิดว่าสมัยนั้นปัญหาที่คนเข้าถึงน้อย ไม่ค่อยมีคนพูดถึง ไม่ได้มาจากเรื่องราคา เพราะสมัยนั้นสำนักพิมพ์หัวใหญ่ของไทยอย่างเนชั่นก็เอาเข้ามาแปลให้อ่านกันในราคาถูก เล่มละ 20 บาทเอง ซึ่งถูกกว่าการ์ตูนญี่ปุ่นในยุคเดียวกันอย่างยูกิโอด้วยซ้ำตามภาพข้างล่างเลยครับ





เทียบกับยูกิที่มาในยุคเดียวกันนะครับ (ภาพใหญ่ไปขออภัย)



จากปีก็เห็นชัดเจนนะครับว่าอยู่ในช่วงยุค 90 เหมือนกัน ถึงยูกิจะมาปลาย ๆ แล้วก็เถอะ แต่ก็เป็นตำนานอยู่ดี

2.ปัจจัยเรื่องความหาซื้อยาก เข้าถึง ก็ดูจะตกไปอีก เพราะเนชั่นมีระบบสมัครสมาชิกรับเป็นรายเดือน รายปี / 2 ปีเลยสำหรับสมาชิกใหม่ แถมมีระบบต่ออายุสำหรับสมาชิกเดิมในราคาที่ไม่แพงมากด้วย (อาจจะไม่มากสำหรับจขกท.ในตอนนี้ แต่ค่าเงินสมัยนั้นน่าจะอีกเรื่อง ถึงยังไงหารจำนวนวันแล้วถือว่าถูกมาก ตกวันละ 2 บาทนิด ๆ ด้วยซ้ำ นั่งรอส่งตรงถึงบ้านทุกเดือนเลย

ขณะที่ยูกิต้องรอลุ้นซื้อหน้าแผงเอาทุกสัปดาห์รึเดือน เล่มละ 20 ถ้าสนิทกับลุงป้าร้านหนังสือก็ดีไป แต่ถ้าไม่ก็หมด อด ฮา 



3.ปัจจัยเรื่องครอบครัวมองว่าไร้สาระ ข้อนี้ก็ยิ่งน่าจะตกไปเลยสำหรับการ์ตูนดิสนีย์ของเนชั่นคอมิค เพราะภายในเล่มมีเนื้อหาสาระหลากหลายมากมาย ตัวเนื้อหาหลักก็เป็นสองภาษา ไทย อังกฤษ อ่านคู่กันฝึกภาษาได้ ผู้ใหญ่น่าจะชอบให้ลูกหลานอ่านและเปิดใจยอมรับได้ง่ายกว่า (แต่เด็กน่ะส่วนใหญ่น่าจะอ่านแต่ภาษาไทยอย่างเดียวมากกว่า 555)





เท่าที่เราเคยแลกเปลี่ยนความเห็นกับพ่อ ความเห็นของเขาหลัก ๆ คือเรื่องภาษานี่แหละ ถามว่าคนไทยยุคนั้นสนใจภาษาอังกฤษกันกี่คน คนที่สนใจก็มักจะเป็นคนมีเงินมีความรู้ การศึกษาดี ซึ่งเป้าหมายก็จะเป็นอีกระดับกับตลาดทั่วไปไปเลย

ซึ่งนั่นก็รวมถึงการ์ตูนสองภาษายุคหลังอย่างสคูบี้ดูในภาพล่างนี่ด้วย ก็ยังเป็นอะไรที่คนอ่านน้อยอยู่ดี ซึ่ง จขกท.อ่านหมดนะนั่นน่ะ อ่านประโยคภาษาไทยก่อน แล้วมาอ่านเอาศัพท์อังกฤษข้างล่างอีกทีต่อเนื่องกันจนจบเล่ม ทำแบบนี้ทุกเล่ม มันเลยไม่ยากเกินไปนัก



ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นล่วงหน้า เพื่อน ๆ พี่น้องชาวพันทิปคิดเห็นกันยังไงบอกกันได้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่