คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
หลักคิดของผม คือ
ถ้าสามารถทำงานเอกชนชั้นดี ในองค์กรที่มีกิจการมั่นคง
มีเงินเดือนหรือรายได้ สตาร์ท หลายหมื่น ถึง แสนกว่าบาท ต่อเดือน
แบบนี้ ไม่ต้องมาทำงานราชการหรอกครับ
เงินเดือนส่วนต่างนั้น มากพอที่จะชดเชยเรื่องความมั่นคง และสวัสดิการต่าง ๆ ของราชการได้สบาย
อย่ามาติดกับดักความมั่นคงของงานราชการเลย
แต่!!!!!!
ถ้างานเอกชนที่ทำ ได้เงินเดือนรายรับน้อยกว่า, เท่ากับ หรือได้มากกว่างานราชการแค่นิดหน่อย ในตำแหน่งที่ใช้วุฒิเท่ากัน
(คิดที่เงินเดือนข้าราชการ ฐาน ป.ตรี 15,000 บาท)
แบบนี้ถือว่างานราชการดีกว่ามาก ๆ
ก็รีบมาเป็นข้าราชการให้ไวเลย
ส่วนกรณีที่ว่ามาของเจ้าของกระทู้
เป็นข้าราชการครู วุฒิ ป.ตรี เงินเดือนสตาร์ทประมาณ 15,050 - 15,800
ข้าราชการครู จะได้เงินวิทยฐานะ + เงินค่าตอบแทนพิเศษ
- ครูชำนาญการ 3,500
- ครูชำนาญการพิเศษ 5,600 + 5,600
- ครูเชี่ยวชาญ 9,900 + 9,900
- ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
เทียบเท่า C10 ได้ 13,000 + 13,000
เทียบเท่า C11 ได้ 15,600 + 15,600
(แต่ส่วนมากจะตันอยู่ที่ระดับชำนาญการพิเศษ)
เปรียบเทียบกับงานเอกชนเงินเดือน 45,000 มีโบนัส 1 - 4 เดือน
ถ้าแนวโน้มงานนี้สามารถทำไปได้เรื่อย ๆ จนเกษียณ
และได้ปรับเงินเดือนขึ้นเรื่อย ๆ
(และถ้ามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเกษียณมาก็คงได้หลักล้าน)
ถึงแม้ข้าราชการครูจะได้เงินเพิ่มพิเศษนอกจากเงินเดือน
แต่ถ้าเป็นผม ผมทำงานเอกชนนี้ต่อไปดีกว่า
เพราะส่วนต่างเงินเดือนขนาดนี้ แบ่งกินแบ่งใช้แบ่งออมได้สบาย ๆ
แต่สุดท้ายก็ต้องดูปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบด้วย
เช่น Work life balance, ความหนักเบาของงาน, ความมั่นคงของงานเอกชนปัจจุบัน, ความก้าวหน้า, ความใกล้-ไกลบ้าน ฯลฯ เป็นต้น
ส่วนนี่คือความเห็นเดิมของผมในกระทู้ก่อน อาจจะพอเป็นข้อมูลได้บ้าง
(เงินเดือน 35,000 สอบติดราชการ ควรทำดีไหม - https://ppantip.com/topic/41237942/comment4)
ความคิดเห็นที่ 4
สอบติดเป็น ข้าราชการเลยใช่ไม๊
ไม่ใช่พวก พนักงานราชการ ลูกจ้าง อะไรนะครับ
แล้วสอบติดตำแหน่งอะไร สังกัดอะไรครับ
----------------------------------------
ไหน ๆ กระทู้ก็รันไปไกลแล้ว ผมขอแก้ไขเพิ่มเติมความคิดเห็นตรงนี้เลยละกัน
ถ้าเป็นกระทู้ทำนอง "งานราชการ กับ งานเอกชน เลือกอะไรดี"
เราจะเห็นคนอวยงานราชการ เยอะมากกกกกก เหมือนกระทู้นี้
แต่ถ้าเป็นกระทู้ทำนอง "คนทำงานราชการโชคดีจัง วิกฤติแบบนี้ก็ไม่เดือดร้อนอะไร"
จะเห็นด่าคนทำงานราชการ เยอะมากกกกกก
ทำไมมันช่างย้อนแย้งจังเลยนะครับ
ผม
ในฐานะที่ทำงานราชการมาตลอดชีวิต โดยไม่เคยทำงานเอกชนเลย
สอบบรรจุเป็นข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาการธรรมดา ๆ
ในองค์กรธรรมดา ๆ ที่ไม่มีเงินเพิ่มพิเศษอะไรนอกจากเงินเดือน
รับราชการมา 7 ปี กว่า แล้วได้ลาออกเมื่ออายุ 3X
ตอนเป็นระดับชำนาญการ เงินเดือน 25,xxx + OT 3 - 4 พันบาท
เพื่อมารับราชการที่ใหม่
ที่ซึ่งได้เงินเพิ่มพิเศษสตาร์ทราว 1 เท่า ของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ
ผมก็ไม่ได้มองเลยว่า ข้าราชการ ดีเด่กว่างานเอกชนมากมายอะไรนัก
ภายใต้เงื่อนไข
ถ้างานเอกชนนั้น ได้เงินเดือนหรือรายได้มากกว่าข้าราชการอยู่พอสมควรในจำนวนนึง
และได้ทำงานในธุรกิจหรือองค์กรที่ค่อนข้างมั่นคง
เรื่องสวัสดิการรักษาพยาบาล
ตัวพนักงานเอกชนใช้ประกันสังคม พ่อแม่ใช้ 30 บาทก็จริง
(แต่บางทีพ่อเม่เป็นข้าราชการบำนาญ ใช้สิทธิข้าราชการอยู่ด้วยซ้ำ)
เอาเข้าจริงแล้ว สิทธิ 30 บาท หลัก ๆ ก็ไม่ค่อยต่างกับสิทธิข้าราชการหรอกครับ
(คนที่บอกว่าต่าง ลองบอกหน่อยว่าต่างตรงไหนบ้าง และต่างอย่างมีนัยสำคัญไม๊)
โรงพยาบาลก็ที่เดียวกัน หมอก็คนเดียวกัน ไม่ใช่เหรอ
ต่างสิทธิกัน หมอเขาจะให้การรักษาต่างกันรึไง???
ข้อแตกต่างหลัก ๆ ก็คือสิทธิ 30 บาท จะต้องเข้าโรงพยาบาลต้นสังกัดก่อน
กับมีบางอย่างที่เบิกได้/ไม่ได้ สลับกันต่างกันนิดหน่อยก็เท่านั้นแหละ
เห็นคนเชียร์งานราชการเพราะหวังสิทธิรักษาพยาบาล
คือถ้าเราคุยเรื่องนี้กันก่อนปี พ.ศ.2545 ก็เข้าใจได้นะ
เพราะก่อนหน้านั้นยังมีสิทธิคนไข้อนาถาอยู่
แต่นี่ปี พ.ศ.2565 ครับ เรามีหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้วนะครับทุกคน
ผมสงสัยจังเลยว่า ไม่รู้จักสิทธิ 30 บาท กันหรอ
แล้วก่อนหน้าที่ลูกหลานจะทำงานราชการ เขาออกค่ารักษากันเองเหรอครับ
คนพูดมาจากอดีต ก่อนปี พ.ศ. 2545 รึไงกัน
อีกอย่างนึง ถ้าทำงานเอกชนดี ๆ ได้เงินเดือนเยอะ ๆ
ก็มีตังค์ไปซื้อประกันสุขภาพ, ประกันอุบัติเหตุดี ๆ ได้อยู่แล้วนี่
มาดูต่อที่เรื่องบำนาญ สำหรับคนที่เชียร์เพราะข้าราชการมีบำนาญ
ก็โอเคแหละ ถ้าคุณอายุยืน มันก็ดีที่จะมีเงินใช้ไปตลอดชีวิตจนตาย
แต่ถ้าคุณตายตอนอายุ 62 ล่ะ???
หรือตายก่อนเกษียณล่ะ???
เงินเดือนน้อย ๆ ที่สู้อดทนกินมาตลอด ไม่เปล่าประโยชน์เลยเหรอ???
จะเป็นการขาดทุนในการรับเงินบำนาญไปกี่บาท???
ขาดทุนเงินเดือนไปกี่บาท???
เคยคิดประเด็นนี้กันบ้างไม๊ครับ
แต่สำหรับคนทำงานเอกชน ที่ได้รับเงินเดือน/รายได้สูงกว่าข้าราชการมาก ๆ
เขาสามารถใช้จ่ายเงินหาความสุขได้ตลอดการทำงาน
สามารถนำเงินส่วนต่างนั้น มาจับจ่ายใช้สอยได้มากมาย
อยากกินอะไร ก็ได้กิน
อยากได้อะไร ก็ได้ซื้อ
ซื้อเสื้อผ้าดี ๆ ไปเที่ยวที่สวย ๆ สนุก ๆ
ซื้อบ้าน ซื้อรถ ส่งลูกเรียนโรงเรียนดี ๆ
ตั้งตัวได้เร็วกว่าข้าราชการเงินเดือนสตาร์ท 15,000 ตั้งเท่าไหร่
ทั้งยังสามารถนำเงินส่วนต่างไปลงทุนต่อยอดให้ได้ผลตอนแทนได้อีก
ไม่ว่าจะซื้อหุ้น ซื้อกองทุน ทำประกันชีวิต เปิดร้านกาแฟ ฯลฯ
และถ้าทำงานในองค์กรดี ๆ ที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ทั้งเงินลงทุน ทั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งเงินประกันสังคม ฯลฯ รวม ๆ กัน
เกษียณมาต้องได้หลักหลายล้านแหละครับ
งานราชการมันไม่ได้ดีกว่างานเอกชนแบบเป็นสูตรสำเร็จขนาดนั้นหรอกครับ
ผมเห็นบางคนสอบติดตำรวจ, ทหารชั้นประทวน
จะลาออกจากงานเอกชนเงินเดือน 2 - 3 หมื่น งี้
ผมว่ามันไม่ใช่อะครับ
ใช่ครับ งานราชการเป็นงานที่ดีมากงานนึง มีข้อดีเยอะแยะมากมาย
แต่ก็ไม่ใช่งานที่ดีเลิศเลอเพอร์เฟคอะไรขนาดนั้นหรอกนะ
ผมคิดแบบนี้นะครับ
ถ้าสามารถทำงานเอกชนชั้นยอด ในองค์กรมั่นคง
มีเงินเดือนหรือรายได้ สตาร์ท หลายหมื่น ถึง แสนกว่าบาท ต่อเดือน
แบบนี้ ไม่ต้องมาทำงานราชการหรอกครับ
เงินเดือนส่วนต่างนั้น มากพอที่จะชดเชยเรื่องความมั่นคง และสวัสดิการต่าง ๆ ของราชการได้สบาย
อย่ามาติดกับดักความมั่นคงของงานราชการเลย
แต่!!!!!!
ถ้างานเอกชนที่ทำ ได้เงินเดือนรายรับน้อยกว่า, เท่ากับ หรือได้มากกว่างานราชการแค่นิดหน่อย ในตำแหน่งที่ใช้วุฒิเท่ากัน
(คิดที่เงินเดือนข้าราชการ ฐาน ป.ตรี 15,000 บาท)
แบบนี้ถือว่างานราชการดีกว่ามาก ๆ
ก็รีบมาเป็นข้าราชการให้ไวเลย
ส่วนกรณีที่ว่ามาของเจ้าของกระทู้
เป็นข้าราชการวุฒิ ป.ตรี เงินเดือน 15,000
และเป็นองค์กรที่ไม่มีเงินเพิ่มพิเศษอะไร
ถ้าเป็นผม ผมทำงานเอกชนนี้ต่อไปดีกว่า
เว้นแต่ได้ทำงานราชการในองค์กรที่มีเงินเพิ่มพิเศษต่าง ๆ
แบบนี้ ผมจะเชียร์ให้มารับราชการเป็นข้าราชการ
เพราะก็จะไปเข้าหลักคิดของผม
ที่ว่า ถ้ารายได้รวมไม่ต่างกับของข้าราชการในระดับวุฒิเดียวกันมากนัก
แบบนี้เป็นข้าราชการจะดีกว่า
แต่สุดท้ายก็ต้องดูปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบด้วย
เช่น Work life balance, ความหนักเบาของงาน, ความมั่นคงของงานเอกชนปัจจุบัน, ความก้าวหน้า, ความใกล้-ไกลบ้าน ฯลฯ เป็นต้น
ใบ้ให้นิดนึง
คุณลองดูคนอายุเยอะ ๆ ที่ทำงานเอกชน แต่กลับแนะนำให้ทำงานราชการดู
(อย่างในกระทู้นี้ เป็นต้น)
คนพวกนี้ คือคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือประสบความสำเร็จในระดับกลาง ๆ ของงานเอกชนทั้งนั้น
อาจจะล้มเหลวมาก่อน หรือเพิ่งมาล้มตอนวิกฤติ หรือได้ดีกว่าเพื่อนที่เป็นข้าราชการไม่เท่าไหร่
จึงรู้สึกว่าตัวเองคิดผิดที่ไม่เลือกทำงานราชการ
ลองให้คนพวกนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง
ขึ้นเป็นระดับผู้จัดการ, อำนวยการ, บริหารขององค์กร
เงินเดือนซัก แสน สองแสน หรือหลักล้าน
ได้โบนัส 10 - 20 เดือน ดูสิ
เขาจะมาอิจฉาข้าราชการที่อายุตัว 40 - 50 ปี ได้เงินเดือนแค่ 50,000 ทำไม???
จริงไม๊???
เขาจะยังอยากทำงานราชการอยู่รึเปล่า???
ผมสงสัยจริง ๆ
ถ้าสามารถทำงานเอกชนชั้นดี ในองค์กรที่มีกิจการมั่นคง
มีเงินเดือนหรือรายได้ สตาร์ท หลายหมื่น ถึง แสนกว่าบาท ต่อเดือน
แบบนี้ ไม่ต้องมาทำงานราชการหรอกครับ
เงินเดือนส่วนต่างนั้น มากพอที่จะชดเชยเรื่องความมั่นคง และสวัสดิการต่าง ๆ ของราชการได้สบาย
อย่ามาติดกับดักความมั่นคงของงานราชการเลย
แต่!!!!!!
ถ้างานเอกชนที่ทำ ได้เงินเดือนรายรับน้อยกว่า, เท่ากับ หรือได้มากกว่างานราชการแค่นิดหน่อย ในตำแหน่งที่ใช้วุฒิเท่ากัน
(คิดที่เงินเดือนข้าราชการ ฐาน ป.ตรี 15,000 บาท)
แบบนี้ถือว่างานราชการดีกว่ามาก ๆ
ก็รีบมาเป็นข้าราชการให้ไวเลย
ส่วนกรณีที่ว่ามาของเจ้าของกระทู้
เป็นข้าราชการครู วุฒิ ป.ตรี เงินเดือนสตาร์ทประมาณ 15,050 - 15,800
ข้าราชการครู จะได้เงินวิทยฐานะ + เงินค่าตอบแทนพิเศษ
- ครูชำนาญการ 3,500
- ครูชำนาญการพิเศษ 5,600 + 5,600
- ครูเชี่ยวชาญ 9,900 + 9,900
- ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
เทียบเท่า C10 ได้ 13,000 + 13,000
เทียบเท่า C11 ได้ 15,600 + 15,600
(แต่ส่วนมากจะตันอยู่ที่ระดับชำนาญการพิเศษ)
เปรียบเทียบกับงานเอกชนเงินเดือน 45,000 มีโบนัส 1 - 4 เดือน
ถ้าแนวโน้มงานนี้สามารถทำไปได้เรื่อย ๆ จนเกษียณ
และได้ปรับเงินเดือนขึ้นเรื่อย ๆ
(และถ้ามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเกษียณมาก็คงได้หลักล้าน)
ถึงแม้ข้าราชการครูจะได้เงินเพิ่มพิเศษนอกจากเงินเดือน
แต่ถ้าเป็นผม ผมทำงานเอกชนนี้ต่อไปดีกว่า
เพราะส่วนต่างเงินเดือนขนาดนี้ แบ่งกินแบ่งใช้แบ่งออมได้สบาย ๆ
แต่สุดท้ายก็ต้องดูปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบด้วย
เช่น Work life balance, ความหนักเบาของงาน, ความมั่นคงของงานเอกชนปัจจุบัน, ความก้าวหน้า, ความใกล้-ไกลบ้าน ฯลฯ เป็นต้น
ส่วนนี่คือความเห็นเดิมของผมในกระทู้ก่อน อาจจะพอเป็นข้อมูลได้บ้าง
(เงินเดือน 35,000 สอบติดราชการ ควรทำดีไหม - https://ppantip.com/topic/41237942/comment4)
ความคิดเห็นที่ 4
สอบติดเป็น ข้าราชการเลยใช่ไม๊
ไม่ใช่พวก พนักงานราชการ ลูกจ้าง อะไรนะครับ
แล้วสอบติดตำแหน่งอะไร สังกัดอะไรครับ
----------------------------------------
ไหน ๆ กระทู้ก็รันไปไกลแล้ว ผมขอแก้ไขเพิ่มเติมความคิดเห็นตรงนี้เลยละกัน
ถ้าเป็นกระทู้ทำนอง "งานราชการ กับ งานเอกชน เลือกอะไรดี"
เราจะเห็นคนอวยงานราชการ เยอะมากกกกกก เหมือนกระทู้นี้
แต่ถ้าเป็นกระทู้ทำนอง "คนทำงานราชการโชคดีจัง วิกฤติแบบนี้ก็ไม่เดือดร้อนอะไร"
จะเห็นด่าคนทำงานราชการ เยอะมากกกกกก
ทำไมมันช่างย้อนแย้งจังเลยนะครับ
ผม
ในฐานะที่ทำงานราชการมาตลอดชีวิต โดยไม่เคยทำงานเอกชนเลย
สอบบรรจุเป็นข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาการธรรมดา ๆ
ในองค์กรธรรมดา ๆ ที่ไม่มีเงินเพิ่มพิเศษอะไรนอกจากเงินเดือน
รับราชการมา 7 ปี กว่า แล้วได้ลาออกเมื่ออายุ 3X
ตอนเป็นระดับชำนาญการ เงินเดือน 25,xxx + OT 3 - 4 พันบาท
เพื่อมารับราชการที่ใหม่
ที่ซึ่งได้เงินเพิ่มพิเศษสตาร์ทราว 1 เท่า ของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ
ผมก็ไม่ได้มองเลยว่า ข้าราชการ ดีเด่กว่างานเอกชนมากมายอะไรนัก
ภายใต้เงื่อนไข
ถ้างานเอกชนนั้น ได้เงินเดือนหรือรายได้มากกว่าข้าราชการอยู่พอสมควรในจำนวนนึง
และได้ทำงานในธุรกิจหรือองค์กรที่ค่อนข้างมั่นคง
เรื่องสวัสดิการรักษาพยาบาล
ตัวพนักงานเอกชนใช้ประกันสังคม พ่อแม่ใช้ 30 บาทก็จริง
(แต่บางทีพ่อเม่เป็นข้าราชการบำนาญ ใช้สิทธิข้าราชการอยู่ด้วยซ้ำ)
เอาเข้าจริงแล้ว สิทธิ 30 บาท หลัก ๆ ก็ไม่ค่อยต่างกับสิทธิข้าราชการหรอกครับ
(คนที่บอกว่าต่าง ลองบอกหน่อยว่าต่างตรงไหนบ้าง และต่างอย่างมีนัยสำคัญไม๊)
โรงพยาบาลก็ที่เดียวกัน หมอก็คนเดียวกัน ไม่ใช่เหรอ
ต่างสิทธิกัน หมอเขาจะให้การรักษาต่างกันรึไง???
ข้อแตกต่างหลัก ๆ ก็คือสิทธิ 30 บาท จะต้องเข้าโรงพยาบาลต้นสังกัดก่อน
กับมีบางอย่างที่เบิกได้/ไม่ได้ สลับกันต่างกันนิดหน่อยก็เท่านั้นแหละ
เห็นคนเชียร์งานราชการเพราะหวังสิทธิรักษาพยาบาล
คือถ้าเราคุยเรื่องนี้กันก่อนปี พ.ศ.2545 ก็เข้าใจได้นะ
เพราะก่อนหน้านั้นยังมีสิทธิคนไข้อนาถาอยู่
แต่นี่ปี พ.ศ.2565 ครับ เรามีหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้วนะครับทุกคน
ผมสงสัยจังเลยว่า ไม่รู้จักสิทธิ 30 บาท กันหรอ
แล้วก่อนหน้าที่ลูกหลานจะทำงานราชการ เขาออกค่ารักษากันเองเหรอครับ
คนพูดมาจากอดีต ก่อนปี พ.ศ. 2545 รึไงกัน
อีกอย่างนึง ถ้าทำงานเอกชนดี ๆ ได้เงินเดือนเยอะ ๆ
ก็มีตังค์ไปซื้อประกันสุขภาพ, ประกันอุบัติเหตุดี ๆ ได้อยู่แล้วนี่
มาดูต่อที่เรื่องบำนาญ สำหรับคนที่เชียร์เพราะข้าราชการมีบำนาญ
ก็โอเคแหละ ถ้าคุณอายุยืน มันก็ดีที่จะมีเงินใช้ไปตลอดชีวิตจนตาย
แต่ถ้าคุณตายตอนอายุ 62 ล่ะ???
หรือตายก่อนเกษียณล่ะ???
เงินเดือนน้อย ๆ ที่สู้อดทนกินมาตลอด ไม่เปล่าประโยชน์เลยเหรอ???
จะเป็นการขาดทุนในการรับเงินบำนาญไปกี่บาท???
ขาดทุนเงินเดือนไปกี่บาท???
เคยคิดประเด็นนี้กันบ้างไม๊ครับ
แต่สำหรับคนทำงานเอกชน ที่ได้รับเงินเดือน/รายได้สูงกว่าข้าราชการมาก ๆ
เขาสามารถใช้จ่ายเงินหาความสุขได้ตลอดการทำงาน
สามารถนำเงินส่วนต่างนั้น มาจับจ่ายใช้สอยได้มากมาย
อยากกินอะไร ก็ได้กิน
อยากได้อะไร ก็ได้ซื้อ
ซื้อเสื้อผ้าดี ๆ ไปเที่ยวที่สวย ๆ สนุก ๆ
ซื้อบ้าน ซื้อรถ ส่งลูกเรียนโรงเรียนดี ๆ
ตั้งตัวได้เร็วกว่าข้าราชการเงินเดือนสตาร์ท 15,000 ตั้งเท่าไหร่
ทั้งยังสามารถนำเงินส่วนต่างไปลงทุนต่อยอดให้ได้ผลตอนแทนได้อีก
ไม่ว่าจะซื้อหุ้น ซื้อกองทุน ทำประกันชีวิต เปิดร้านกาแฟ ฯลฯ
และถ้าทำงานในองค์กรดี ๆ ที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ทั้งเงินลงทุน ทั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งเงินประกันสังคม ฯลฯ รวม ๆ กัน
เกษียณมาต้องได้หลักหลายล้านแหละครับ
งานราชการมันไม่ได้ดีกว่างานเอกชนแบบเป็นสูตรสำเร็จขนาดนั้นหรอกครับ
ผมเห็นบางคนสอบติดตำรวจ, ทหารชั้นประทวน
จะลาออกจากงานเอกชนเงินเดือน 2 - 3 หมื่น งี้
ผมว่ามันไม่ใช่อะครับ
ใช่ครับ งานราชการเป็นงานที่ดีมากงานนึง มีข้อดีเยอะแยะมากมาย
แต่ก็ไม่ใช่งานที่ดีเลิศเลอเพอร์เฟคอะไรขนาดนั้นหรอกนะ
ผมคิดแบบนี้นะครับ
ถ้าสามารถทำงานเอกชนชั้นยอด ในองค์กรมั่นคง
มีเงินเดือนหรือรายได้ สตาร์ท หลายหมื่น ถึง แสนกว่าบาท ต่อเดือน
แบบนี้ ไม่ต้องมาทำงานราชการหรอกครับ
เงินเดือนส่วนต่างนั้น มากพอที่จะชดเชยเรื่องความมั่นคง และสวัสดิการต่าง ๆ ของราชการได้สบาย
อย่ามาติดกับดักความมั่นคงของงานราชการเลย
แต่!!!!!!
ถ้างานเอกชนที่ทำ ได้เงินเดือนรายรับน้อยกว่า, เท่ากับ หรือได้มากกว่างานราชการแค่นิดหน่อย ในตำแหน่งที่ใช้วุฒิเท่ากัน
(คิดที่เงินเดือนข้าราชการ ฐาน ป.ตรี 15,000 บาท)
แบบนี้ถือว่างานราชการดีกว่ามาก ๆ
ก็รีบมาเป็นข้าราชการให้ไวเลย
ส่วนกรณีที่ว่ามาของเจ้าของกระทู้
เป็นข้าราชการวุฒิ ป.ตรี เงินเดือน 15,000
และเป็นองค์กรที่ไม่มีเงินเพิ่มพิเศษอะไร
ถ้าเป็นผม ผมทำงานเอกชนนี้ต่อไปดีกว่า
เว้นแต่ได้ทำงานราชการในองค์กรที่มีเงินเพิ่มพิเศษต่าง ๆ
แบบนี้ ผมจะเชียร์ให้มารับราชการเป็นข้าราชการ
เพราะก็จะไปเข้าหลักคิดของผม
ที่ว่า ถ้ารายได้รวมไม่ต่างกับของข้าราชการในระดับวุฒิเดียวกันมากนัก
แบบนี้เป็นข้าราชการจะดีกว่า
แต่สุดท้ายก็ต้องดูปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบด้วย
เช่น Work life balance, ความหนักเบาของงาน, ความมั่นคงของงานเอกชนปัจจุบัน, ความก้าวหน้า, ความใกล้-ไกลบ้าน ฯลฯ เป็นต้น
ใบ้ให้นิดนึง
คุณลองดูคนอายุเยอะ ๆ ที่ทำงานเอกชน แต่กลับแนะนำให้ทำงานราชการดู
(อย่างในกระทู้นี้ เป็นต้น)
คนพวกนี้ คือคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือประสบความสำเร็จในระดับกลาง ๆ ของงานเอกชนทั้งนั้น
อาจจะล้มเหลวมาก่อน หรือเพิ่งมาล้มตอนวิกฤติ หรือได้ดีกว่าเพื่อนที่เป็นข้าราชการไม่เท่าไหร่
จึงรู้สึกว่าตัวเองคิดผิดที่ไม่เลือกทำงานราชการ
ลองให้คนพวกนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง
ขึ้นเป็นระดับผู้จัดการ, อำนวยการ, บริหารขององค์กร
เงินเดือนซัก แสน สองแสน หรือหลักล้าน
ได้โบนัส 10 - 20 เดือน ดูสิ
เขาจะมาอิจฉาข้าราชการที่อายุตัว 40 - 50 ปี ได้เงินเดือนแค่ 50,000 ทำไม???
จริงไม๊???
เขาจะยังอยากทำงานราชการอยู่รึเปล่า???
ผมสงสัยจริง ๆ
แสดงความคิดเห็น
เปลี่ยนงานจากเอกชนมารับราชการดีไหม?
จะขอสอบถามความคิดเห็นว่าถ้าเป็นเพื่อนๆ จะเปลี่ยนงานจากเอกชนมารับราชการไหม?
เงื่อนไขดังนี้ครับ
อายุ 32 ปี
เป็นเพศทางเลือก จึงไม่มีภรรยาและลูก ปัจจุบันอยู่ด้วยกันกับแฟน(รับราชการ)
พ่อ แม่ มีสิทธิ์รักษาข้าราขการอยู่แล้ว
มีเงินเก็บ 1 ล้านกว่าๆ
หนี้สินมีผ่อนบ้านเดือนละ 4,400 บาท
มีจ่ายประกันชีวิตปีละ 100,000 บาท
รายได้อื่นๆได้จากค่าเช่าบ้าน 4,500 บาท
งานปัจจุบัน อยู่ในจังหวัดบ้านเกิด ทำมา 4 ปี
เอกชนปัจจุบัน รายได้ประมาณ 45,000 บาท เป็นหัวหน้างาน ไม่มีรายได้อื่นเพิ่มจากที่ทำงาน
โบนัสประมาณ 1-4 เดือน
สังคมการทำงานพอใช้ได้ ไม่ดีแต่ก็ไม่แย่ เพื่อนร่วมงานดีบ้าง ลูกน้องดีบ้าง ผู้บริหารเดี๋ยวดีเดียวร้ายแต่ส่วนใหญ่ก็ดี
งานก็หนักบ้าง เบาบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ได้กลับบ้าน 17:00 น. แต่หลังจากกลับต้องรับโทรศัพท์อยู่เรื่อยๆ เพื่อแก้ปัญหา
พักร้อน 12 วัน/ปี
โควิดได้รับผลกระทบเล็กน้อย ไม่ลดเงินเดือน แต่โบนัสได้น้อยลง จากเดิม 4 เดือน เหลือ 1 เดือน
งานใหม่ที่ได้ อยู่ในจังหวัดบ้านเกิดเช่นกัน
ข้าราชการครู รายได้ประมาณ 15,000 บาท รายได้อื่นจากการสอนประมาณ 7,000 บาท
หลักๆที่ได้คือความภาคภูมิใจพ่อ แม่ และความสบายใจเมื่อเกษียนว่ามีเงินใช้และมีค่ารักษาพยาบาล
เป็นเพื่อนๆจะเปลี่ยนงานไหมครับ?
อยากทราบเงื่อนไขอะไรเพิ่มสอบถามได้ครับ