ทำไมบางครั้งภาษาไทยถิ่นถูกจัดเป็นภาษาแยก บางครั้งถูกจัดเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาไทย

จขกท. ไปดูสถิติมาจากแหล่งหนึ่งระบุว่าภาษาไทยนั้นมีผู้พูดเป็นภาษาแม่อยู่ราว 20 ล้านคน อยู่ลำดับประมาณที่ 50 ของโลก ถ้านับรวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองด้วยก็จะมีผู้พูดอยู่ราว 60 ล้านคน ใกล้เคียงกับจำนวนประชากรไทย แหล่งข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าทางผู้จัดทำจัดให้ภาษาไทย (หรือภาษาไทยกลาง, ภาษาไทยมาตรฐาน, ภาษากรุงเทพฯ) เป็นภาษาหนึ่ง แล้วจัดให้ภาษาไทยถิ่นคือเหนือ, อีสาน, ใต้ เป็นภาษาแยก ทว่าในบางแหล่งข้อมูลนั้นจัดให้ภาษาไทยถิ่นเป็นเพียงสำเนียงของภาษาไทย เลยอยากทราบว่า ทำไมบางครั้งภาษาไทยถิ่นถูกจัดเป็นภาษาแยก บางครั้งถูกจัดเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาไทย มีหลักการหรือคำอธิบายอย่างไรบ้างครับ แล้วตกลงภาษาถิ่น ควรเป็นภาษาแยกหรือเป็นสำเนียงภาษาไทยครับ

รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่