ตั้งอยู่เลขที่ ๓ ถนนมูลเมือง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วัดทรายมูลเมือง ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง ทางด้านทิศเหนือของแจ่งกะต๊ำ
บริเวณเขตกำแพงวัดมีพื้นที่ทั้งหมด ๓ ไร่ ๒ งาน ๙๖ ตารางวา โดยมีอาณาเขตติดต่อทั้งสี่ด้านดังนี้
- ทิศเหนือ จรดถนนมูลเมือง ซอย ๑ และธรณีสงฆ์
- ทิศใต้ จรดศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิ์การสังคมผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์
- ทิศตะวันออก จรดถนนมูลเมืองและคูเมือง
- ทิศตะวันตก จรดที่ดินเลขที่ ๓๙
โดยมีเขตธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง คือ ทางด้านทิศเหนือเป็นธรณีสงฆ์ที่ติดกับถนนมูลเมืองซอย ๑ เป็นบางส่วน
รวมทั้งทางด้านทิศตะวันตกอีกส่วนหนึ่ง มีเนื้อที่ ๑ งาน ๙๙ ตารางวา
(ภาพพิธียกช่อฟ้าอุโบสถงานทำบุญถวายเสนาสนะและถาวรวัตถุต่างๆ)
วัดทรายมูลเมือง สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๐ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช
เนื่องจากได้พบพระพุทธรูปโบราณภายในวัด ที่ฐานพระพุทธรูปได้จารึกปีที่สร้างในช่วงเวลาดังกล่าว
ต่อมาได้รับการฟื้นฟูในสมัยยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง
ก่อนที่จะได้ชื่อวัดทรายมูลเมืองนั้น วัดนี้มีชื่อว่า "อารามบ้านปะ"
ดังนั้นสันนิษฐานว่ากลุ่มคนที่มาฟื้นฟูวัดในยุคนั้น น่าจะเป็นชาว "แม่ปะ" (บางแห่งเขียนว่า "แม่ปละ")
จากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้กล่าวว่าในสมัยพระเจ้ากาวิละ ได้กวาดต้อน "ชาวแม่ปะ" ให้มาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ ดังข้อความที่ว่า
"แตกหนีไปเมืองปอน พร่องอยู่เมืองยวม พร่องริมคง...พร่องไปอยู่แม่ปะผากู เมืองธรางค็มี"
(ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี,๒๕๓๘: ๑๒๑)
ดังนั้นพระเจ้ากาวิละจึงกวาดต้อนผู้คนทางด้านตะวันตกของแม่น้ำคง (สาละวิน) มาไว้ที่เมืองเชียงใหม่ ดังข้อความที่ว่า
"เถิงสักกราช ๑๑๔๕ ตัวปลีก่าเหม้า ...พระเปนเจ้าแต่งหื้อนายจันราชาเปนแม่ทับคุมรี้พลไพตีเอาบ้านท่าฝั่งฟากแม่น้ำน้ำคง... ถัดนั้น พระเปนเจ้าแต่งแสนราชโกฏ คุมริพลไพตีบ้านแม่ปะ ได้แสนขัติยะ หมื่นชุมพู กวาดเอาครอบครัวเข้ามาใส่บ้านเมือง"
(ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๘: ๑๒๒)
...ข้อความจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้กล่าวถึงการเข้าไปตีเอาบ้านแม่ปะ แสดงให้เห็นว่าเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่มีจำนวนคนที่มากพอสมควร
และเมื่อรบชนะแล้วจึงมาไว้ในเมืองเชียงใหม่ คือ บ้านแม่ย่อย อำเภอสันทราย และบริเวณวัดทรายมูลเมือง
จึงมีชื่อเดิมว่า "อารามบ้านปะ" ตามชื่อกลุ่มคนดั้งเดิมที่มาบูรณะวัด
ข้อสันนิษฐานนี้สอดคล้องกับเรื่องเล่าของ พระโพธิรังษี (บุญศรี พุทธิญาโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพันตอง
...วัดทรายมูลเมืองเป็นพื้นที่ที่สำคัญที่สะท้อนการจัดการบริหารน้ำในเมืองเชียงใหม่
โดยจะมีท่ออยู่หน้าวัดเพื่อระบายน้ำจากคูเมืองออกไปยังคลองแม่ข่า จึงเป็นพื้นที่รับน้ำมาแต่โบราณ
นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่ "ครูบาเจ้าพุทธวชิรวงสาอรัญญวาสี" จำพรรษา ท่านเป็นศิษย์ของ "ครูบาเจ้าปัญญามหาป่าเจ้า"
บางแห่งเรียก "ครูบาเจ้าปัญญาวชิระ" หมายถึง มหาสวาธุเจ้าวชิรมหาป่า วัดสวนดอก มหาราชครูเมืองเชียงใหม่
ดังนั้นวัดทรายมูลได้เป็นสำนักเรียนภาษาบาลีที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่
ดังจะเห็นได้จากข้อความท้ายใบลานที่ยืนยันข้อสันนิษฐานดังกล่าว
อุโบสถเก่าแก่ของวัดทรายมูล
ด้านท้ายวัด จะมีหอเสื้อวัด ตามแบบฉบับวัดในล้านนา
...วัดทรายมูลเมืองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.๒๔๕๐
มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือ "โฮงหลวง" (กุฏิสงฆ์หลังใหญ่)
ก่อสร้างด้วยปูนและไม้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือ ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๙
ซึ่งปัจจุบันได้บูรณะให้เป็นพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงล้านนา
(ภาพนี้เป็นโฮงหลวงก่อนจะมีการปรับปรุง น่าเสียดายที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่ในภาพแล้ว)
นอกจากนี้ยังมี "หอพระไตรปิฎกลายคำ" ครึ่งปูนครึ่งไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของวัด
ผมเองตั้งใจบันทึกภาพหอพระไตรปิฎกนี้ ด้วยสาเหตุที่ว่า ลายคำต่างๆ นั้น ดูว่าจะเลือนจางหายไปในอีกไม่นาน
จึงขออนุญาตทางวัด ขึ้นไปถ่ายภาพเก็บไว้
ลายคำเป็นลายเขียนลงรักปิดทองล่องชาด พยายามปรับให้เห็นลวดลายชัดๆ จึงจำเป็นต้องทำ Contrast
หอพระไตรปิฎกหลังนี้ปัจจุบันไม่ได้ใช้เก็บคัมภีร์ใดๆ แล้ว ย้ายไปเก็บจัดแสดงไว้ที่โฮงหลวง
ช่องทางขึ้นลงหอพระไตรปิฎก เป็นช่องทางเล็กๆ พอลอดได้ ใช้แผ่นผ้าใบกรอบไม้ระแนงทำเป็นฝาปิดแบบผลักกระดก
บันไดทางขึ้นอาจดูชันสักหน่อย แต่ไม่ยากลำบากในการขึ้นลง
ยามค่ำคืน เปิดโคมไฟสว่างไสว ดูสวยงาม
<<< บันทึกท้ายกระทู้ >>>
วัดทรายมูลนี้ เป็นที่รู้จักในเรื่องท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งผมเองได้ลงไว้ในกระทู้ก่อนหน้าไปแล้ว
สิ่งที่น่าเสียดายก็คือโฮงหลวง ได้มีการจัดเก็บสิ่งของที่น่าสนใจ แต่ไม่สามารถบันทึกภาพได้ ทำให้บุคคลที่ไม่สะดวกเดินทาง
ขาดโอกาสในการชมไปบ้าง
เชียงใหม่-นำชมวัดทรายมูลเมือง (อารามบ้านปะ) กราบพระเจ้า ๕ พระองค์,ชมโฮงหลวงและหอพระไตรปิฎกลายคำ
ตั้งอยู่เลขที่ ๓ ถนนมูลเมือง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วัดทรายมูลเมือง ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง ทางด้านทิศเหนือของแจ่งกะต๊ำ
บริเวณเขตกำแพงวัดมีพื้นที่ทั้งหมด ๓ ไร่ ๒ งาน ๙๖ ตารางวา โดยมีอาณาเขตติดต่อทั้งสี่ด้านดังนี้
- ทิศเหนือ จรดถนนมูลเมือง ซอย ๑ และธรณีสงฆ์
- ทิศใต้ จรดศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิ์การสังคมผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์
- ทิศตะวันออก จรดถนนมูลเมืองและคูเมือง
- ทิศตะวันตก จรดที่ดินเลขที่ ๓๙
โดยมีเขตธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง คือ ทางด้านทิศเหนือเป็นธรณีสงฆ์ที่ติดกับถนนมูลเมืองซอย ๑ เป็นบางส่วน
รวมทั้งทางด้านทิศตะวันตกอีกส่วนหนึ่ง มีเนื้อที่ ๑ งาน ๙๙ ตารางวา
(ภาพพิธียกช่อฟ้าอุโบสถงานทำบุญถวายเสนาสนะและถาวรวัตถุต่างๆ)
วัดทรายมูลเมือง สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๐ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช
เนื่องจากได้พบพระพุทธรูปโบราณภายในวัด ที่ฐานพระพุทธรูปได้จารึกปีที่สร้างในช่วงเวลาดังกล่าว
ต่อมาได้รับการฟื้นฟูในสมัยยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง
ก่อนที่จะได้ชื่อวัดทรายมูลเมืองนั้น วัดนี้มีชื่อว่า "อารามบ้านปะ"
ดังนั้นสันนิษฐานว่ากลุ่มคนที่มาฟื้นฟูวัดในยุคนั้น น่าจะเป็นชาว "แม่ปะ" (บางแห่งเขียนว่า "แม่ปละ")
จากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้กล่าวว่าในสมัยพระเจ้ากาวิละ ได้กวาดต้อน "ชาวแม่ปะ" ให้มาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ ดังข้อความที่ว่า
"แตกหนีไปเมืองปอน พร่องอยู่เมืองยวม พร่องริมคง...พร่องไปอยู่แม่ปะผากู เมืองธรางค็มี"
(ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี,๒๕๓๘: ๑๒๑)
ดังนั้นพระเจ้ากาวิละจึงกวาดต้อนผู้คนทางด้านตะวันตกของแม่น้ำคง (สาละวิน) มาไว้ที่เมืองเชียงใหม่ ดังข้อความที่ว่า
"เถิงสักกราช ๑๑๔๕ ตัวปลีก่าเหม้า ...พระเปนเจ้าแต่งหื้อนายจันราชาเปนแม่ทับคุมรี้พลไพตีเอาบ้านท่าฝั่งฟากแม่น้ำน้ำคง... ถัดนั้น พระเปนเจ้าแต่งแสนราชโกฏ คุมริพลไพตีบ้านแม่ปะ ได้แสนขัติยะ หมื่นชุมพู กวาดเอาครอบครัวเข้ามาใส่บ้านเมือง"
(ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๘: ๑๒๒)
...ข้อความจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้กล่าวถึงการเข้าไปตีเอาบ้านแม่ปะ แสดงให้เห็นว่าเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่มีจำนวนคนที่มากพอสมควร
และเมื่อรบชนะแล้วจึงมาไว้ในเมืองเชียงใหม่ คือ บ้านแม่ย่อย อำเภอสันทราย และบริเวณวัดทรายมูลเมือง
จึงมีชื่อเดิมว่า "อารามบ้านปะ" ตามชื่อกลุ่มคนดั้งเดิมที่มาบูรณะวัด
ข้อสันนิษฐานนี้สอดคล้องกับเรื่องเล่าของ พระโพธิรังษี (บุญศรี พุทธิญาโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพันตอง
...วัดทรายมูลเมืองเป็นพื้นที่ที่สำคัญที่สะท้อนการจัดการบริหารน้ำในเมืองเชียงใหม่
โดยจะมีท่ออยู่หน้าวัดเพื่อระบายน้ำจากคูเมืองออกไปยังคลองแม่ข่า จึงเป็นพื้นที่รับน้ำมาแต่โบราณ
นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่ "ครูบาเจ้าพุทธวชิรวงสาอรัญญวาสี" จำพรรษา ท่านเป็นศิษย์ของ "ครูบาเจ้าปัญญามหาป่าเจ้า"
บางแห่งเรียก "ครูบาเจ้าปัญญาวชิระ" หมายถึง มหาสวาธุเจ้าวชิรมหาป่า วัดสวนดอก มหาราชครูเมืองเชียงใหม่
ดังนั้นวัดทรายมูลได้เป็นสำนักเรียนภาษาบาลีที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่
ดังจะเห็นได้จากข้อความท้ายใบลานที่ยืนยันข้อสันนิษฐานดังกล่าว
อุโบสถเก่าแก่ของวัดทรายมูล
ด้านท้ายวัด จะมีหอเสื้อวัด ตามแบบฉบับวัดในล้านนา
...วัดทรายมูลเมืองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.๒๔๕๐
มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือ "โฮงหลวง" (กุฏิสงฆ์หลังใหญ่)
ก่อสร้างด้วยปูนและไม้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือ ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๙
ซึ่งปัจจุบันได้บูรณะให้เป็นพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงล้านนา
(ภาพนี้เป็นโฮงหลวงก่อนจะมีการปรับปรุง น่าเสียดายที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่ในภาพแล้ว)
นอกจากนี้ยังมี "หอพระไตรปิฎกลายคำ" ครึ่งปูนครึ่งไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของวัด
ผมเองตั้งใจบันทึกภาพหอพระไตรปิฎกนี้ ด้วยสาเหตุที่ว่า ลายคำต่างๆ นั้น ดูว่าจะเลือนจางหายไปในอีกไม่นาน
จึงขออนุญาตทางวัด ขึ้นไปถ่ายภาพเก็บไว้
ลายคำเป็นลายเขียนลงรักปิดทองล่องชาด พยายามปรับให้เห็นลวดลายชัดๆ จึงจำเป็นต้องทำ Contrast
หอพระไตรปิฎกหลังนี้ปัจจุบันไม่ได้ใช้เก็บคัมภีร์ใดๆ แล้ว ย้ายไปเก็บจัดแสดงไว้ที่โฮงหลวง
ช่องทางขึ้นลงหอพระไตรปิฎก เป็นช่องทางเล็กๆ พอลอดได้ ใช้แผ่นผ้าใบกรอบไม้ระแนงทำเป็นฝาปิดแบบผลักกระดก
บันไดทางขึ้นอาจดูชันสักหน่อย แต่ไม่ยากลำบากในการขึ้นลง
ยามค่ำคืน เปิดโคมไฟสว่างไสว ดูสวยงาม
<<< บันทึกท้ายกระทู้ >>>
วัดทรายมูลนี้ เป็นที่รู้จักในเรื่องท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งผมเองได้ลงไว้ในกระทู้ก่อนหน้าไปแล้ว
สิ่งที่น่าเสียดายก็คือโฮงหลวง ได้มีการจัดเก็บสิ่งของที่น่าสนใจ แต่ไม่สามารถบันทึกภาพได้ ทำให้บุคคลที่ไม่สะดวกเดินทาง
ขาดโอกาสในการชมไปบ้าง