12 เมษายน 2565 จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบแนวทางอภัยโทษจัดชั้นและเลื่อนชั้นเข้มขึ้น โดยต้องรับโทษมาแล้วอย่างน้อย 1 ใน 3 ชี้การอภัยโทษยังมีความจำเป็น จูงใจให้นักโทษมีความหวัง ไม่ก่อจลาจล แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณนั้น
ล่าสุด รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในการประชุม ครม. เต็มคณะ ที่ตึกสันติไมตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลกระทรวงยุติธรรม ได้นำรายงานของกระทรวงยุติธรรมเกี่ยวกับการอภัยโทษมาให้ที่ประชุมทราบ ซึ่งเป็นการปรับปรุงแนวทางการจัดชั้น เลื่อนชั้นนักโทษ เพื่อให้มีแนวทางที่ชัดเจนขึ้น โดยเป็นการรับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอภัยโทษที่ตั้งโดยนายกรัฐมนตรี โดยนายวิษณุใช้เวลาในการอธิบายเรื่องนี้นานมาก โดยย้ำถึงหลักเกณฑ์อภัยโทษว่า จะต้องได้รับโทษมาแล้ว 1 ใน 3 ก่อน
นายวิษณุ ยังมีการยกตัวอย่างนักโทษในบางคดี เช่น คดีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ ที่มีโทษจำคุก 48 ปี ติดคุกมาแล้ว 4 ปี และได้ลดมาเรื่อย ๆ จนเหลือ 10 ปี และยังมีโอกาสได้ลดโทษในโอกาสต่อไปได้อีก รวมถึงคดีนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือเสี่ยเปี๋ยง ถูกจำคุก 2 คดี คดีแรก 48 ปี ปัจจุบันเหลือโทษ 6 ปี คดีที่สอง โทษ 50 ปี จำคุกไปแล้ว 4 ปี เหลือจำคุก 14 ปี และคดีของจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้รับโทษ 50 ปี ติดคุกมาแล้ว 5 ปี เหลือรับโทษอีก 9 ปี ซึ่งหากมีการอภัยโทษอีก ยังมีโอกาสจะได้ลดโทษอีก
ทั้งนี้ การขอมีได้ใน 2 กรณี คือ 1.นักโทษเขียนฎีกาเอง และ 2.รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาขอให้ ส่วนจะเป็นการลดโทษ หรือปล่อยตัว ก็แล้วแต่ ส่วนที่มีการวิจารณ์กันว่า การออกพระราชกฤษฎีกาเมื่อปลายปี 2564 ออกมาบ่อยเกินนั้น นายกฯได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่าไม่ได้ผิดกฎหมาย มีสิทธิจะขอได้ในโอกาสสำคัญและวันสำคัญ ขณะที่นายกฯ ได้สรุปว่า ให้ยึดหลักการการรับโทษ 1 ใน 3 ก่อน และให้ดำเนินการอย่างระมัดระวังที่สุด.
#roundtablethailand
roundtablethailand.com
@@@ ความคืบหน้า การลดโทษ @@@
ล่าสุด รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในการประชุม ครม. เต็มคณะ ที่ตึกสันติไมตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลกระทรวงยุติธรรม ได้นำรายงานของกระทรวงยุติธรรมเกี่ยวกับการอภัยโทษมาให้ที่ประชุมทราบ ซึ่งเป็นการปรับปรุงแนวทางการจัดชั้น เลื่อนชั้นนักโทษ เพื่อให้มีแนวทางที่ชัดเจนขึ้น โดยเป็นการรับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอภัยโทษที่ตั้งโดยนายกรัฐมนตรี โดยนายวิษณุใช้เวลาในการอธิบายเรื่องนี้นานมาก โดยย้ำถึงหลักเกณฑ์อภัยโทษว่า จะต้องได้รับโทษมาแล้ว 1 ใน 3 ก่อน
นายวิษณุ ยังมีการยกตัวอย่างนักโทษในบางคดี เช่น คดีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ ที่มีโทษจำคุก 48 ปี ติดคุกมาแล้ว 4 ปี และได้ลดมาเรื่อย ๆ จนเหลือ 10 ปี และยังมีโอกาสได้ลดโทษในโอกาสต่อไปได้อีก รวมถึงคดีนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือเสี่ยเปี๋ยง ถูกจำคุก 2 คดี คดีแรก 48 ปี ปัจจุบันเหลือโทษ 6 ปี คดีที่สอง โทษ 50 ปี จำคุกไปแล้ว 4 ปี เหลือจำคุก 14 ปี และคดีของจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้รับโทษ 50 ปี ติดคุกมาแล้ว 5 ปี เหลือรับโทษอีก 9 ปี ซึ่งหากมีการอภัยโทษอีก ยังมีโอกาสจะได้ลดโทษอีก
ทั้งนี้ การขอมีได้ใน 2 กรณี คือ 1.นักโทษเขียนฎีกาเอง และ 2.รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาขอให้ ส่วนจะเป็นการลดโทษ หรือปล่อยตัว ก็แล้วแต่ ส่วนที่มีการวิจารณ์กันว่า การออกพระราชกฤษฎีกาเมื่อปลายปี 2564 ออกมาบ่อยเกินนั้น นายกฯได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่าไม่ได้ผิดกฎหมาย มีสิทธิจะขอได้ในโอกาสสำคัญและวันสำคัญ ขณะที่นายกฯ ได้สรุปว่า ให้ยึดหลักการการรับโทษ 1 ใน 3 ก่อน และให้ดำเนินการอย่างระมัดระวังที่สุด.
#roundtablethailand
roundtablethailand.com