คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ตัวผมเองไม่ได้ส่งลูกเข้า inter นะครับ เรียน EP เฉยๆ แต่ เคยทำงานร่วมกับโรงเรียน. inter หลายโรงเรียน คุ้นเคยกับระบบและลักษณะโรงเรียน รวมถึงเพื่อนๆส่วนมากก็ส่งลูกเรียน inter ด้วยครับ
เหตุผลหลักของการเข้า inter
เรื่องแรกคือ ภาษาครับ เรียน"อิงลิชโปรแกรม" โดยรวมแล้ว ได้ภาษาไม่เท่ากับที่เรียน inter ครับ แน่นอนว่าเด็กสามารถฝึกฝนพัฒนาได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียน inter (ผมเองก็ไเรียนโรงเรียนไทยๆ แต่ก็ฝึกงาน เรียนต่อ และทำงานต่างประเทศ) แต่ ถ้าคิดค่าเฉลี่ย เด็ก inter จะมีภาษาอังกฤษที่ดีกว่าเด็กเรียนระบบอิงลิชโปรแกรม และ แผนสองภาษา และ แบบหลักสูตรปกติ ตามลำดับครับ โดย ภาษาที่ได้นั้น สิ่งที่แตกต่างเห็นชัดเจนคือ ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สำนวน ชั้นเชิงทางภาษา อธิบายง่ายๆ
เด็ก inter มีทักษะทางภาษาอังกฤษที่ใกล้เคียงกับเด็กที่เรียนต่างประเทศ แต่ยังใช้ภาษาไทยได้ดีในระดับใช้ชีวิตได้ สำนวน วลี ต่างๆ เหมือนกับเด็กเรียนต่างประเทศ (แต่อาจไม่ทันสมัยเท่า เพราะการอยู่ในต่างประเทศคำ หรือวลีอะไรมาเป็นกระแสก็ได้รับเร็วกว่าแน่นอน)
ส่วนเด็ก EP จะใช้ภาษาอังกฤษแบบ academic ได้ดีมาก สื่อสารภาษาอังกฤษพื้นฐานได้ดีมาก แต่ ถ้าสังเกตุดีๆจะใช้ชั้นเชิงภาษาไม่เป็นธรรมชาติเท่าเด็กเรียนนานาชาติครับ เพราะโรงเรียนแนวนี้ นอกเวลาเด็กๆยังคุยภาษาไทยกันเป็นหลักครับ ผิดกับ inter ที่แม้แต่เด็กกลับบ้านมาแล้วคุยโทรศัพท์ คุยเล่นเกมส์กัน ก็ยังคุยเป็นภาษาอังกฤษ
และแน่นอนว่า เด็กเรียนสองภาษา จะมีภาษาที่ดี ใช้งานสื่อสาร เรียนได้ดี แต่ถ้าต้องเขียนอะไรลึกๆยาวๆ ถ้าต้องคุยหรืออธิบายอะไรมากๆ การพูดหน้าชั้น การนำเสนอโครงงาน ก็จะสู้เด็กสองแบบแรกไม่ได้เลย แต่ข้อดีคือพวกเค้าอ่าน เจียน ใช้ภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว ทำงาน ศึกษาต่อในไทยได้ เด็กกลุ่มนี้ มีทางเลือกไปได้ทั้งไทยและต่างประเทศ แต่ก็นั่นแหละครับ โดยมาตรฐานเฉลี่ยแล้ว ก็ไม่สุดเท่าสองแบบแรก
และเด็กหลักสูตรปกติ เฉลี่ยแล้วใช้ภาษาอังกฤษได้ สื่อสารได้ แต่ถ้าเจอบทความลึกๆเขียนมาแบบชั้นเชิงสูงๆหน่อย ก็ไม่สามารถจับใตความมาได้ครบถ้วน การเขียนก็เช่นกัน อาจจะเขียนไวยกรณ์ถูกต้อง โครงสร้างได้ แต่ชั้นเชิงการเขียนยากจะสู้กับเด็กสามแบบบน การฟังและพูดถือเป็นจุดอ่อนที่สุดครับ เด็กกลุ่มนี้ อ่านเก่งเขียนได้ แต่พอเจอฝรั่งพูดให้ฟัง หรือต้องพูดให้ฝรั่งฟัง มักจะตายเอาง่ายๆ
ใครจะมาเถียงผมว่า ไม่จริงหรอก ของแบบนี้อยู่ที่คน ใช่ครับ มันอยู่ที่คนอย่า่งที่ผมบอกนั่นแหละว่าผมก็เรียนโรงเรียนไทยๆเลย แต่ก็ฝึกจนทำได้ แต่ก็รู้ตัวเองครับว่า สู้เพื่อนที่เรียน inter ไม่ได้ พอมีลูก สังเกตุลูกเรา ลูกเพื่อน เปรียบเทียบกับประสบการณ์บางส่วนที่สัมผัสเด็กๆมัธยมมาบ้าง พบว่า เด็กแต่ละกลุ่มที่กล่าวมาแตกต่างกันจริงๆในเรื่องของทักษะทางภาษาอังกฤษ ด้วยปัจจัยจากระบบการเรียน บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม
อีกเรื่องที่สำคัญมากๆคือ เรื่องของระบบการคิดครับ เพราะโรงเรียน inter จะแตกต่างจากหลักสูตรไทยอย่างสิ้นเชิง ระบบการคิดหลายวิชาแตกต่างกันมากเช่น คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม รวมถึงการวางแผนการศึกษาในโรงเรียนด้วย ทำให้เด็กมีบุคลิก ขั้นตอนการคิดแก้ปัญหา ขั้นตอนการเรียนรู้ ไม่เหมือนเด็กไทย คล้ายเด็กต่างชาติ ต้นแบบประเทศที่เอาหลักสูตรมา (คล้าย ไปจนถึงเหมือน แล้วแต่คน) ผมว่าข้อนี้เป็นอีกสิ่งที่หากเล็งเห็นเป้าหมายที่จะเรียนต่างประเทศแน่ๆ ทำงานข้ามชาติแน่ๆ เส้นทางนี้ก็เหมาะสมครับ
ตอนผมไปเรียนต่างประเทศ ได้เจอกับเด็กทุนรัฐบาลที่เรียนเก่งมากกกก มากแบบว่า ข้อสิบในไทยง่ายไปสำหรับเค้า เรียนมัธยมจบมาได้เลขมาตัวเดียวเลยคือ 4 ชีวิตไม่รู้จักเลขอ่น เรียนมหาวิทยาลัยชั้นยอดสอบติดคะแนนสูงลิ่ว เรียนจบมาเกียรตินิยมมีดีกรีห้อยท้าย แต่พอไปเรียนต่างประเทศ กดดันและเครียดมากเพราะ ต้องอาศัยพลังในการเรียนสูงมาก ถึงจะสู้เพื่อนได้ รู้สึกตัวเองหัวช้า วิเคราะห์อะไรสู้ชาวบ้านไม่ได้ ในขณะที่เพื่อนๆเรียนเสร็จไปเดินเล่น จิบเบียร์ค่ำๆ แล้วมานำเสนองานได้ A เค้าต้องขลุกในห้องใช้เวลาสร้างงานให้ได้ A ซึ่งเป็นแบบนี้ครึ่งคลาสเรียน มานั่งคุยกันเค้ายอมรับว่า ระบบการเรียน การคิด เราสู้พวกเค้าไม่ได้ กว่าที่เพื่อนคนนี้จะจับทางได้ ก็ตอนจะจบโท จากเด็กหัวกะทีของไทย สู่คนะรรมดาในยูฯชั้นนำของโลก และ จบด็อกเตอร์มาแบบปกติสามัญไม่ได้โดดเด่นอะไร เรียนจบกลับมาเป้นอาจารย์มหาวิทยาลัยในไทย (พยายามสอนเด็กในแบบใหม่แต่สุดท้ายก็กลืนกลับมาเป็นระบบไทยๆเช่นเคย ไม่รู้ทำไม)
เรื่องต่อมาคือ สังคม และ connection ครับ เอ้า เรื่องนี้ อย่าว่าแต่เรียน inter เลย โรงเรียนไทยๆเราหลายที่เช่น โรงเรียนชายล้วนแถวปากคลองตลาด โรงเรียนหญิงล้วนซอยตรงข้ามพัฒพงษ์ โรงเรียนประจำใหญ่ในศรีราา หรือโรงเรียนคริสต์ชื่อดังในเชียงใหม่ เหล่านี้ก็มีคนที่อยากจะให้ลูกได้เข้าเรียนเพราะในนั้น มีโอกาสที่จะพบเชื่อมโยงโอกาสหน้าที่การงาน หล่อหลอมความคิดแนวทางชีวิตในสังคมที่มั่งหมายให้ดำเนินไป บางครั้งการได้พบกับเพื่อนผู้ปกครองในแวดวงสังคมใกล้เคียงกัง ทัศนคติหน้าที่การงานทำแนวเดียวกัน ก็ทำให้เราเลี้ยงลูกได้ง่ายครับ ลูกคุณรับช่วงกิจการของคุณไปเค้าก็มีเพื่อนๆรับช่วงธุรกิจที่อาจเกื้อหนุนกันได้ในอนาคต หรือ ลูกคุณไปรับราชการในตำแหน่งสำคัญ วันหนึ่ง สายสัมพันธ์ของเพื่อนในแวดวงราชการอาจช่วยให้เจริญก้าวหน้าได้ง่ายขึ้นก็เป็นได้ นี่คือเรื่องจริงของสังคมเราครับ
วิธีนี้อาจจะถูกหรือผิด แล้วแต่คนนะครับ ได้เจอท่านหนึ่ง ทำธุรกิจใหญ่โต แต่ส่งลูกเรียนโรงเรียนรัฐชื่อดัง เป้าหมายคือ ให้เค้ามีเพื่อนๆเก่งๆ ส่วนมากเป็นครอบครัวราชการชั้นสูง เด็กพวกนี้ส่วนมากก็โตไปรับราชการหรือทำหน้าที่ในระดับสูงของหน่วยงานต่างๆ และจะกลายเป็นสายเชื่อมโยงให้ธุรกิจเค้าไปได้ลื่นไหล
มันก็คือการ"วางแผน" สังคมชีวิตให้ลูกนั่นแหละครับ
ถ้าถามส่วนตัว ผมก็ไม่ส่งเรียน inter เพราะผมต้องการให้ลูกใช้ภาษาไทย อ่านภาษาไทย เขียน อย่างคล่องแคล่ว แต่ก็ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างช่ำชองด้วย และโดยส่วนตัว ต้องการให้เรียนในระบบการศึกษาไทยมากกว่าหลักสูตรนำเข้าจากต่างชาติครับ ผมยังชอบความใกล้ชิดของครูในแบบของอนุรักษ์นิยมที่มีค่านิยมว่าครูคือพ่อแม่คนที่สอง มากกว่า ครูคือผู้ทำอาชีพนักสอน บรรยากาศแบบนี้ยากที่จะพบในโรงเรียน inter ส่วนเรื่องภาษา เราฝึกเพิ่มกัน เรื่องการคิดวิเคราะห์ เรามาฝึกฝนกันเอง และเลือกโรงเรียนที่เน้นอิสระภาพทางความคิดไม่ตีกรอบ สังคมโดยมากเป็นคนชนชั้นกลาง รับราชการเป็นส่วนใหญ่ครับ ผมซึ่งเป็นมนุษย์ฟรีแลนซ์ตลอดชาติ ฟรีแลนซ์ข้ามประเทศมายี่สิบกว่าปีจึงแปลกประหลาดในสังคมพ่อแม่เด็กที่นี่ แต่นั่นทำให้บ้านเราพอจะมีจุดเด่นที่แตกต่าง มีบทบาทที่แตกต่าง ส่งให้ลูกมีจุดเด่น บทบาท ในสังคมเค้าได้โดยไม่ต้องไปหาปมไหนมาเป็นตัวเองให้เพื่อนยอมรับ ลดโอกาสเสี่ยงที่จะกระกระสนให้ตัวเองเด่น หรือได้รับการยอมรับจากสังคม
อยากให้ลองมองกว้างๆครับ ของทุกอย่างมีมิติของมันทั้งนั้น อย่ามองเพียงเพราะมุมหนึ่งที่เราไม่ถูกใจ
ถ้ารถสปอร์ตคันหรู เครื่องเสียงสุดไฮเอ็นด์ ยังมีคนเห็นค่าในความคุ้ม ระบบการศึกษา ทำไมจะมองข้ามไป ถ้าไหว ทุกคนก็มองหาช่องทางที่ดีที่สุดที่ตัวเองเห็น
อย่าว่าแต่ inter ที่ยืมเงินรุ่นปู่ย่าตายายกันเลยครับ โรงเรียนรัฐไทยๆเรา ก็วิ่งฝากกันด้วยมุลค่าไม่แพ้ส่งเรียน inter จนจบนะครับ บางโรงเรียน รถตู้สองคันอาจยังไม่พอด้วยซ้ำ ... ห้องคอมฯใหม่ คอมฯทั้งโรงเรียนใหม่ หรือแม้แต่ สร้างโรงยิมให้ ก็มีมาแล้ว เพราะอยากให้ลูกได้เรียนที่นั่น
แก้ไขเพิ่มนะครับ
ย้อนไปอ่านที่ จขกท พิมพ์อีกที ผมรู้สึกว่า จขกท มีค่านิยมของการเลือกศึกษาที่"โบราณ" ไปหน่อย ขออภัยที่กล่าวตรงๆครับ เช่นยกตัวอย่าง"หมอ" มาเป็นเป้าหมายของการดำเนินชีวิต ในขณะที่ โลกยุคนี้ มีอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นเยอะมาก และอาชีพเหล่านั้น ส่งต่อให้ใช้ชีวิตเป็น"ประชาการโลก"ได้ง่ายกว่าเป็นหมอ ดังนั้น อยากให้เปิดใจมองครับว่า หลายๆคนไม่ได้มองเรื่องการเป็นหมอ เรียนหมอ ในมหาลัยไทย เป็นหมอในโรงพยาบาลไทยเป็นเรื่องที่ดีเลิศเป็นที่สุดอีกแล้ว ความมั่งคั่งจากการเป็นหมอ ก็ไม่ได้มากมายไปกว่าการเป็นเจ้าของร้านข้าวมันไก่ที่ดังมากๆ (อันนี้เพื่อนผมเป็นหมอพูดเองในงานรวมรุ่น กับเพื่อนอีกคนที่ทำร้านข้าวมันไก่ขึ้นห้าง ขายไปต่างประเทศด้วย)
เพื่อนรุ่นพี่ผมส่งลูกเรียนวิชา"ทำเกมส์" ครับ เพราะลูกชอบเล่นเกมส์มาก เล่นไม่หยุดไปๆมาๆ สอบเรียนคณะทำเกมส์ซะเลย มีคนมาจองตัวไปทำงานตั้งแต่ยังไม่จบ ทำงานได้ปีเดียว เก็บเงินไปต่อต่างประเทศตอนนี้เรียนต่อพร้อมทำงานต่างประเทศและคาดว่า จบแล้วจะเป็น เกมส์ครีเอเตอร์ อยู่ที่นั่นเลยเพื่อหาประสบการณ์
ลูกพี่ลูกน้องผม เรียนจบประถมในไทย พ่อแม่ย้ายไปทำงานอเมริกา ไปเรียนมัธยมที่นั่น จนจบได้สมัครเรียนต่อยูฯใหญ่ใน LA ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จบปริญญาโทแล้วทำงานในซิลิกอนวัลเลย์ พบรักการภรรยาชาวจีนตอนไปประจำที่สาขาจีน ตอนนี้ ซื้อบ้านหรูอยู่ในภูเก็ต โดยที่ยังทำงานให้บริษัทเดิม เดือนนึงบินไปครั้งนึง นอกนั้นทำงานผ่านออนไลน์ทั้งหมด รับเงินเดือนเท่าอยู่อเมริกา แต่รายจ่ายเท่าคนไทย ปีๆนึงเก็บเงินเที่ยวหรูหยู่สบายได้อย่างเหลือ เจอกันแล้วคุยเรื่อง อีกหน่อยตอนเราแก่ๆ ได้เที่ยวอวกาศแน่นอน และเค้าจะต้องไปให้ได้
คุณอาผม ทำงานราชการในไทยนี่แหละ แต่ชอบตีเทนนิส ตีจนทำอีท่าไหนไม่รู้ รู้อีกทีนึง ไปเป็นโปรสอนเทนนิสที่อเมริกา แข่งเทนนิสหาเงินเป็นอาชีพ สอนเทนนิสได้เงินมากกว่าทำงานปกติ จนเก็บเงินก้อนโต เปิดร้านอาหารไทย ทำไปทำมาอยากแต่งร้านด้วยเฟอร์นิเจอร์ไทยแกะสลัก ก็ติดต่อนำเข้าไปและกลายเป็นผู้นำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไทยรายใหญ่ของรัฐ ใหญ่จนต้องบินมาดีลกับโรงงานในไทยเพื่อส่งออกไปที่นั่น ล่าสุด ขายกิจการทั้งหมด นอนอยู่เฉยๆกินดอกกับลงทุนเก็งกำไรไปวันๆ ใช้ชีวิตเกษียณอย่างราบเรียบกับภรรยาแหม่มผมทองสุดฮ็อต(ในอดีต)ระดับเชียร์ลีดเดอร์ทีมฟุตบอลอาชีพ มีคนมาทาบทามให้ลงสมัครการเมืองท้องถิ่นแต่ไม่เอา ขออยู่เฉยๆสบายกว่า
และเพื่อนสนิทผมอีกคน เรียนวิศวกรรมจากมหาลัยดังแถวสามย่าน แต่จบปุ๊บ ผันไปเป็นช่างภาพอาชีพ ด้วยใตรัก ถ่ายภาพสัตว์ป่าให้สำนักสารคดีดังระดับโลก ไปอยู่ตามที่ต่างๆในโลกทีนึงเป็นเดือนๆเพื่อถ่ายรูปส่งให้สำนักนี้ จนอายุงานจะยี่สิบปี โอกาสชีวิตเปลี่ยน กลายเป็นเจ้าของบริษัททัวร์ ทัวร์เอ็กซ์คลูซีฟกลุ่มเล็กๆ ที่พาลูกทัวร์ไปแอบดูนกอะไรก็ไม่รู้กำลังออกไข่ หรือทัวร์ที่พาไปพบกับชนเผ่าเร้นลับในป่าดิบที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวให้ไปลองชีวิตอันสงบของพวกเค้า หรือจะไปปีนภูเขาน้ำแข็งเพื่อชมกระอาทตย์ขึ้นที่จะไม่ตกไปอีกยาวนานในมุมที่มีมนุษย์น้อยคนจะได้เห็น นอกจากดูสารคดี ปีนึงๆ ไม่ได้ร่ำรวยอะไรมาก แต่ไม่ได้ใช้เงิน โสดไม่มีพันธะ และจะผจญภัยแบบนี้ต่อไปจนกว่าจะตาย มันบอกว่า ต่อให้แก่แล้วเดินไม่ไหว มันก็จะหาสิ่งที่คนไม่เคยเห็นแถวบ้านมันนี่แหละ ตอนนี้ยังไหว ยังอยากไปให้ทุกมุมของโลกเพื่อบอกเล่าและพาคนเข้าไปสัมผัส
ชีวิต ไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียวนะครับ
เพราะคุณเอาแบบแผนชีวิตของคุณมาเป็นบรรทัดฐาน คุณจึงมองสิ่งที่คนอื่นตัดสินใจแล้วไม่เข้าใจพวกเค้า
เหตุผลหลักของการเข้า inter
เรื่องแรกคือ ภาษาครับ เรียน"อิงลิชโปรแกรม" โดยรวมแล้ว ได้ภาษาไม่เท่ากับที่เรียน inter ครับ แน่นอนว่าเด็กสามารถฝึกฝนพัฒนาได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียน inter (ผมเองก็ไเรียนโรงเรียนไทยๆ แต่ก็ฝึกงาน เรียนต่อ และทำงานต่างประเทศ) แต่ ถ้าคิดค่าเฉลี่ย เด็ก inter จะมีภาษาอังกฤษที่ดีกว่าเด็กเรียนระบบอิงลิชโปรแกรม และ แผนสองภาษา และ แบบหลักสูตรปกติ ตามลำดับครับ โดย ภาษาที่ได้นั้น สิ่งที่แตกต่างเห็นชัดเจนคือ ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สำนวน ชั้นเชิงทางภาษา อธิบายง่ายๆ
เด็ก inter มีทักษะทางภาษาอังกฤษที่ใกล้เคียงกับเด็กที่เรียนต่างประเทศ แต่ยังใช้ภาษาไทยได้ดีในระดับใช้ชีวิตได้ สำนวน วลี ต่างๆ เหมือนกับเด็กเรียนต่างประเทศ (แต่อาจไม่ทันสมัยเท่า เพราะการอยู่ในต่างประเทศคำ หรือวลีอะไรมาเป็นกระแสก็ได้รับเร็วกว่าแน่นอน)
ส่วนเด็ก EP จะใช้ภาษาอังกฤษแบบ academic ได้ดีมาก สื่อสารภาษาอังกฤษพื้นฐานได้ดีมาก แต่ ถ้าสังเกตุดีๆจะใช้ชั้นเชิงภาษาไม่เป็นธรรมชาติเท่าเด็กเรียนนานาชาติครับ เพราะโรงเรียนแนวนี้ นอกเวลาเด็กๆยังคุยภาษาไทยกันเป็นหลักครับ ผิดกับ inter ที่แม้แต่เด็กกลับบ้านมาแล้วคุยโทรศัพท์ คุยเล่นเกมส์กัน ก็ยังคุยเป็นภาษาอังกฤษ
และแน่นอนว่า เด็กเรียนสองภาษา จะมีภาษาที่ดี ใช้งานสื่อสาร เรียนได้ดี แต่ถ้าต้องเขียนอะไรลึกๆยาวๆ ถ้าต้องคุยหรืออธิบายอะไรมากๆ การพูดหน้าชั้น การนำเสนอโครงงาน ก็จะสู้เด็กสองแบบแรกไม่ได้เลย แต่ข้อดีคือพวกเค้าอ่าน เจียน ใช้ภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว ทำงาน ศึกษาต่อในไทยได้ เด็กกลุ่มนี้ มีทางเลือกไปได้ทั้งไทยและต่างประเทศ แต่ก็นั่นแหละครับ โดยมาตรฐานเฉลี่ยแล้ว ก็ไม่สุดเท่าสองแบบแรก
และเด็กหลักสูตรปกติ เฉลี่ยแล้วใช้ภาษาอังกฤษได้ สื่อสารได้ แต่ถ้าเจอบทความลึกๆเขียนมาแบบชั้นเชิงสูงๆหน่อย ก็ไม่สามารถจับใตความมาได้ครบถ้วน การเขียนก็เช่นกัน อาจจะเขียนไวยกรณ์ถูกต้อง โครงสร้างได้ แต่ชั้นเชิงการเขียนยากจะสู้กับเด็กสามแบบบน การฟังและพูดถือเป็นจุดอ่อนที่สุดครับ เด็กกลุ่มนี้ อ่านเก่งเขียนได้ แต่พอเจอฝรั่งพูดให้ฟัง หรือต้องพูดให้ฝรั่งฟัง มักจะตายเอาง่ายๆ
ใครจะมาเถียงผมว่า ไม่จริงหรอก ของแบบนี้อยู่ที่คน ใช่ครับ มันอยู่ที่คนอย่า่งที่ผมบอกนั่นแหละว่าผมก็เรียนโรงเรียนไทยๆเลย แต่ก็ฝึกจนทำได้ แต่ก็รู้ตัวเองครับว่า สู้เพื่อนที่เรียน inter ไม่ได้ พอมีลูก สังเกตุลูกเรา ลูกเพื่อน เปรียบเทียบกับประสบการณ์บางส่วนที่สัมผัสเด็กๆมัธยมมาบ้าง พบว่า เด็กแต่ละกลุ่มที่กล่าวมาแตกต่างกันจริงๆในเรื่องของทักษะทางภาษาอังกฤษ ด้วยปัจจัยจากระบบการเรียน บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม
อีกเรื่องที่สำคัญมากๆคือ เรื่องของระบบการคิดครับ เพราะโรงเรียน inter จะแตกต่างจากหลักสูตรไทยอย่างสิ้นเชิง ระบบการคิดหลายวิชาแตกต่างกันมากเช่น คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม รวมถึงการวางแผนการศึกษาในโรงเรียนด้วย ทำให้เด็กมีบุคลิก ขั้นตอนการคิดแก้ปัญหา ขั้นตอนการเรียนรู้ ไม่เหมือนเด็กไทย คล้ายเด็กต่างชาติ ต้นแบบประเทศที่เอาหลักสูตรมา (คล้าย ไปจนถึงเหมือน แล้วแต่คน) ผมว่าข้อนี้เป็นอีกสิ่งที่หากเล็งเห็นเป้าหมายที่จะเรียนต่างประเทศแน่ๆ ทำงานข้ามชาติแน่ๆ เส้นทางนี้ก็เหมาะสมครับ
ตอนผมไปเรียนต่างประเทศ ได้เจอกับเด็กทุนรัฐบาลที่เรียนเก่งมากกกก มากแบบว่า ข้อสิบในไทยง่ายไปสำหรับเค้า เรียนมัธยมจบมาได้เลขมาตัวเดียวเลยคือ 4 ชีวิตไม่รู้จักเลขอ่น เรียนมหาวิทยาลัยชั้นยอดสอบติดคะแนนสูงลิ่ว เรียนจบมาเกียรตินิยมมีดีกรีห้อยท้าย แต่พอไปเรียนต่างประเทศ กดดันและเครียดมากเพราะ ต้องอาศัยพลังในการเรียนสูงมาก ถึงจะสู้เพื่อนได้ รู้สึกตัวเองหัวช้า วิเคราะห์อะไรสู้ชาวบ้านไม่ได้ ในขณะที่เพื่อนๆเรียนเสร็จไปเดินเล่น จิบเบียร์ค่ำๆ แล้วมานำเสนองานได้ A เค้าต้องขลุกในห้องใช้เวลาสร้างงานให้ได้ A ซึ่งเป็นแบบนี้ครึ่งคลาสเรียน มานั่งคุยกันเค้ายอมรับว่า ระบบการเรียน การคิด เราสู้พวกเค้าไม่ได้ กว่าที่เพื่อนคนนี้จะจับทางได้ ก็ตอนจะจบโท จากเด็กหัวกะทีของไทย สู่คนะรรมดาในยูฯชั้นนำของโลก และ จบด็อกเตอร์มาแบบปกติสามัญไม่ได้โดดเด่นอะไร เรียนจบกลับมาเป้นอาจารย์มหาวิทยาลัยในไทย (พยายามสอนเด็กในแบบใหม่แต่สุดท้ายก็กลืนกลับมาเป็นระบบไทยๆเช่นเคย ไม่รู้ทำไม)
เรื่องต่อมาคือ สังคม และ connection ครับ เอ้า เรื่องนี้ อย่าว่าแต่เรียน inter เลย โรงเรียนไทยๆเราหลายที่เช่น โรงเรียนชายล้วนแถวปากคลองตลาด โรงเรียนหญิงล้วนซอยตรงข้ามพัฒพงษ์ โรงเรียนประจำใหญ่ในศรีราา หรือโรงเรียนคริสต์ชื่อดังในเชียงใหม่ เหล่านี้ก็มีคนที่อยากจะให้ลูกได้เข้าเรียนเพราะในนั้น มีโอกาสที่จะพบเชื่อมโยงโอกาสหน้าที่การงาน หล่อหลอมความคิดแนวทางชีวิตในสังคมที่มั่งหมายให้ดำเนินไป บางครั้งการได้พบกับเพื่อนผู้ปกครองในแวดวงสังคมใกล้เคียงกัง ทัศนคติหน้าที่การงานทำแนวเดียวกัน ก็ทำให้เราเลี้ยงลูกได้ง่ายครับ ลูกคุณรับช่วงกิจการของคุณไปเค้าก็มีเพื่อนๆรับช่วงธุรกิจที่อาจเกื้อหนุนกันได้ในอนาคต หรือ ลูกคุณไปรับราชการในตำแหน่งสำคัญ วันหนึ่ง สายสัมพันธ์ของเพื่อนในแวดวงราชการอาจช่วยให้เจริญก้าวหน้าได้ง่ายขึ้นก็เป็นได้ นี่คือเรื่องจริงของสังคมเราครับ
วิธีนี้อาจจะถูกหรือผิด แล้วแต่คนนะครับ ได้เจอท่านหนึ่ง ทำธุรกิจใหญ่โต แต่ส่งลูกเรียนโรงเรียนรัฐชื่อดัง เป้าหมายคือ ให้เค้ามีเพื่อนๆเก่งๆ ส่วนมากเป็นครอบครัวราชการชั้นสูง เด็กพวกนี้ส่วนมากก็โตไปรับราชการหรือทำหน้าที่ในระดับสูงของหน่วยงานต่างๆ และจะกลายเป็นสายเชื่อมโยงให้ธุรกิจเค้าไปได้ลื่นไหล
มันก็คือการ"วางแผน" สังคมชีวิตให้ลูกนั่นแหละครับ
ถ้าถามส่วนตัว ผมก็ไม่ส่งเรียน inter เพราะผมต้องการให้ลูกใช้ภาษาไทย อ่านภาษาไทย เขียน อย่างคล่องแคล่ว แต่ก็ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างช่ำชองด้วย และโดยส่วนตัว ต้องการให้เรียนในระบบการศึกษาไทยมากกว่าหลักสูตรนำเข้าจากต่างชาติครับ ผมยังชอบความใกล้ชิดของครูในแบบของอนุรักษ์นิยมที่มีค่านิยมว่าครูคือพ่อแม่คนที่สอง มากกว่า ครูคือผู้ทำอาชีพนักสอน บรรยากาศแบบนี้ยากที่จะพบในโรงเรียน inter ส่วนเรื่องภาษา เราฝึกเพิ่มกัน เรื่องการคิดวิเคราะห์ เรามาฝึกฝนกันเอง และเลือกโรงเรียนที่เน้นอิสระภาพทางความคิดไม่ตีกรอบ สังคมโดยมากเป็นคนชนชั้นกลาง รับราชการเป็นส่วนใหญ่ครับ ผมซึ่งเป็นมนุษย์ฟรีแลนซ์ตลอดชาติ ฟรีแลนซ์ข้ามประเทศมายี่สิบกว่าปีจึงแปลกประหลาดในสังคมพ่อแม่เด็กที่นี่ แต่นั่นทำให้บ้านเราพอจะมีจุดเด่นที่แตกต่าง มีบทบาทที่แตกต่าง ส่งให้ลูกมีจุดเด่น บทบาท ในสังคมเค้าได้โดยไม่ต้องไปหาปมไหนมาเป็นตัวเองให้เพื่อนยอมรับ ลดโอกาสเสี่ยงที่จะกระกระสนให้ตัวเองเด่น หรือได้รับการยอมรับจากสังคม
อยากให้ลองมองกว้างๆครับ ของทุกอย่างมีมิติของมันทั้งนั้น อย่ามองเพียงเพราะมุมหนึ่งที่เราไม่ถูกใจ
ถ้ารถสปอร์ตคันหรู เครื่องเสียงสุดไฮเอ็นด์ ยังมีคนเห็นค่าในความคุ้ม ระบบการศึกษา ทำไมจะมองข้ามไป ถ้าไหว ทุกคนก็มองหาช่องทางที่ดีที่สุดที่ตัวเองเห็น
อย่าว่าแต่ inter ที่ยืมเงินรุ่นปู่ย่าตายายกันเลยครับ โรงเรียนรัฐไทยๆเรา ก็วิ่งฝากกันด้วยมุลค่าไม่แพ้ส่งเรียน inter จนจบนะครับ บางโรงเรียน รถตู้สองคันอาจยังไม่พอด้วยซ้ำ ... ห้องคอมฯใหม่ คอมฯทั้งโรงเรียนใหม่ หรือแม้แต่ สร้างโรงยิมให้ ก็มีมาแล้ว เพราะอยากให้ลูกได้เรียนที่นั่น
แก้ไขเพิ่มนะครับ
ย้อนไปอ่านที่ จขกท พิมพ์อีกที ผมรู้สึกว่า จขกท มีค่านิยมของการเลือกศึกษาที่"โบราณ" ไปหน่อย ขออภัยที่กล่าวตรงๆครับ เช่นยกตัวอย่าง"หมอ" มาเป็นเป้าหมายของการดำเนินชีวิต ในขณะที่ โลกยุคนี้ มีอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นเยอะมาก และอาชีพเหล่านั้น ส่งต่อให้ใช้ชีวิตเป็น"ประชาการโลก"ได้ง่ายกว่าเป็นหมอ ดังนั้น อยากให้เปิดใจมองครับว่า หลายๆคนไม่ได้มองเรื่องการเป็นหมอ เรียนหมอ ในมหาลัยไทย เป็นหมอในโรงพยาบาลไทยเป็นเรื่องที่ดีเลิศเป็นที่สุดอีกแล้ว ความมั่งคั่งจากการเป็นหมอ ก็ไม่ได้มากมายไปกว่าการเป็นเจ้าของร้านข้าวมันไก่ที่ดังมากๆ (อันนี้เพื่อนผมเป็นหมอพูดเองในงานรวมรุ่น กับเพื่อนอีกคนที่ทำร้านข้าวมันไก่ขึ้นห้าง ขายไปต่างประเทศด้วย)
เพื่อนรุ่นพี่ผมส่งลูกเรียนวิชา"ทำเกมส์" ครับ เพราะลูกชอบเล่นเกมส์มาก เล่นไม่หยุดไปๆมาๆ สอบเรียนคณะทำเกมส์ซะเลย มีคนมาจองตัวไปทำงานตั้งแต่ยังไม่จบ ทำงานได้ปีเดียว เก็บเงินไปต่อต่างประเทศตอนนี้เรียนต่อพร้อมทำงานต่างประเทศและคาดว่า จบแล้วจะเป็น เกมส์ครีเอเตอร์ อยู่ที่นั่นเลยเพื่อหาประสบการณ์
ลูกพี่ลูกน้องผม เรียนจบประถมในไทย พ่อแม่ย้ายไปทำงานอเมริกา ไปเรียนมัธยมที่นั่น จนจบได้สมัครเรียนต่อยูฯใหญ่ใน LA ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จบปริญญาโทแล้วทำงานในซิลิกอนวัลเลย์ พบรักการภรรยาชาวจีนตอนไปประจำที่สาขาจีน ตอนนี้ ซื้อบ้านหรูอยู่ในภูเก็ต โดยที่ยังทำงานให้บริษัทเดิม เดือนนึงบินไปครั้งนึง นอกนั้นทำงานผ่านออนไลน์ทั้งหมด รับเงินเดือนเท่าอยู่อเมริกา แต่รายจ่ายเท่าคนไทย ปีๆนึงเก็บเงินเที่ยวหรูหยู่สบายได้อย่างเหลือ เจอกันแล้วคุยเรื่อง อีกหน่อยตอนเราแก่ๆ ได้เที่ยวอวกาศแน่นอน และเค้าจะต้องไปให้ได้
คุณอาผม ทำงานราชการในไทยนี่แหละ แต่ชอบตีเทนนิส ตีจนทำอีท่าไหนไม่รู้ รู้อีกทีนึง ไปเป็นโปรสอนเทนนิสที่อเมริกา แข่งเทนนิสหาเงินเป็นอาชีพ สอนเทนนิสได้เงินมากกว่าทำงานปกติ จนเก็บเงินก้อนโต เปิดร้านอาหารไทย ทำไปทำมาอยากแต่งร้านด้วยเฟอร์นิเจอร์ไทยแกะสลัก ก็ติดต่อนำเข้าไปและกลายเป็นผู้นำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไทยรายใหญ่ของรัฐ ใหญ่จนต้องบินมาดีลกับโรงงานในไทยเพื่อส่งออกไปที่นั่น ล่าสุด ขายกิจการทั้งหมด นอนอยู่เฉยๆกินดอกกับลงทุนเก็งกำไรไปวันๆ ใช้ชีวิตเกษียณอย่างราบเรียบกับภรรยาแหม่มผมทองสุดฮ็อต(ในอดีต)ระดับเชียร์ลีดเดอร์ทีมฟุตบอลอาชีพ มีคนมาทาบทามให้ลงสมัครการเมืองท้องถิ่นแต่ไม่เอา ขออยู่เฉยๆสบายกว่า
และเพื่อนสนิทผมอีกคน เรียนวิศวกรรมจากมหาลัยดังแถวสามย่าน แต่จบปุ๊บ ผันไปเป็นช่างภาพอาชีพ ด้วยใตรัก ถ่ายภาพสัตว์ป่าให้สำนักสารคดีดังระดับโลก ไปอยู่ตามที่ต่างๆในโลกทีนึงเป็นเดือนๆเพื่อถ่ายรูปส่งให้สำนักนี้ จนอายุงานจะยี่สิบปี โอกาสชีวิตเปลี่ยน กลายเป็นเจ้าของบริษัททัวร์ ทัวร์เอ็กซ์คลูซีฟกลุ่มเล็กๆ ที่พาลูกทัวร์ไปแอบดูนกอะไรก็ไม่รู้กำลังออกไข่ หรือทัวร์ที่พาไปพบกับชนเผ่าเร้นลับในป่าดิบที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวให้ไปลองชีวิตอันสงบของพวกเค้า หรือจะไปปีนภูเขาน้ำแข็งเพื่อชมกระอาทตย์ขึ้นที่จะไม่ตกไปอีกยาวนานในมุมที่มีมนุษย์น้อยคนจะได้เห็น นอกจากดูสารคดี ปีนึงๆ ไม่ได้ร่ำรวยอะไรมาก แต่ไม่ได้ใช้เงิน โสดไม่มีพันธะ และจะผจญภัยแบบนี้ต่อไปจนกว่าจะตาย มันบอกว่า ต่อให้แก่แล้วเดินไม่ไหว มันก็จะหาสิ่งที่คนไม่เคยเห็นแถวบ้านมันนี่แหละ ตอนนี้ยังไหว ยังอยากไปให้ทุกมุมของโลกเพื่อบอกเล่าและพาคนเข้าไปสัมผัส
ชีวิต ไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียวนะครับ
เพราะคุณเอาแบบแผนชีวิตของคุณมาเป็นบรรทัดฐาน คุณจึงมองสิ่งที่คนอื่นตัดสินใจแล้วไม่เข้าใจพวกเค้า
แสดงความคิดเห็น
ทำไมใครๆถึงชอบโรงเรียนอินเตอร์มากกว่าโรงเรียนไทย
มันทำให้ผมสงสัยเหลือเกินว่าโรงเรียนอินเตอร์มันดีขนาดนั้นเลยหรือ ดีถึงขนาดที่ว่าพ่อแม่บางส่วนต้องลำบากเอาเงินเก็บอันน้อยนิดของตัวเองจมลงไปกับค่าเทอมอันแสนแพงของโรงเรียนอินเตอร์ จบมาแล้วถ้าลูกทำงานได้เงินไม่คุ้มค่าหละ ผมมองว่าเรื่องเงินเดือนลูกในอนาคตก็ควรคิดไว้บ้าง ในกรณีที่พ่อแม่เองก็ไม่ได้ร่ำรวยพอที่จะมีมรดกให้เขามากมาย หรือพ่อแม่ทำงานกินเงินเดือนธรรมดา และไม่มีมีธุรกิจให้เขาสานต่อ เพราะถ้ามันไม่คุ้ม สู้เก็บเงินเป็นมรดกให้ลูกใช้ เงินตั้งตัวหลังเรียนจบ หรือทำธุรกิจให้ลูกไม่ดีกว่าหรือครับ
(สำหรับกรณีของคนที่รวยมากๆ หรือมีกิจการให้ลูกสานต่อ อันนี้ส่วนตัวคิดว่าเหมาะสมแล้ว ผมขอไม่พูดถึง)
ผมมองว่าโรงเรียนหลักสูตรแบบไทยๆหลายแห่งมันก็ไม่ได้แย่เลวร้ายถึงขั้นที่ต้องหนีไปเรียนอินเตอร์ให้ได้ แม้ทรัพยากรพ่อแม่ไม่ถึง ผมว่าในบางสาขา เช่น สายการแพทย์ การเรียนะหลักสูตรไทยจะเอ้อกว่าเสียด้วยซ้ำ เพราะการสอบเข้าแพทย์จุฬา/มหิดลในไทยได้ ต้องเรียนหลักสูตรไทย ไม่งั้นโอกาสสอบติดจะน้อยกว่ามากๆ (โรงเรียนที่ติดเยอะๆ เช่นพวก เตรียมอุดม มหิดลวิย์) ถ้าเรียนหมอเมืองนอกตั้งแต่ป.ตรีเลย ผมมองว่าไม่เหมาะสม เพราะโรคบางอย่างพบบ่อยในประเทศแถบนี้ แต่พบน้อยในแถบอื่น และในทางกลับกัน
หรือจบจากโรงเรียน 2 ที่นี้ แล้วสอบชิงทุน อย่างทุนคิง ทุนรัฐบาลต่างๆ ไปเรียนป.ตรีสาขาอื่นๆ ที่เมืองนอกเอา หรือถ้าถึงตอนนั้น พ่อแม่มีทำงานมานาน มีเงินเหลือๆแล้ว จะส่งเรียนนอกเองเลยก็ได้ มันแย่กว่าการเอาเงินปู(หมดไปหลายล้าน) ให้ลูกอยู่ตั่งแต่อนุบาล แบบการเรียนอินเตอร์จริงหรือครับ
ผมเลยสงสัยว่า การให้ลูกเรียนระบบไทยๆ แล้วไปจบที่โรงเรียนรัฐดีๆอย่างเตรียม หรือมหิดลวิทย์ มันแย่การโรงเรียนอินเตอร์อย่างไรครับ