สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 21
ผมว่าบางทีคนที่มีเงินมากๆใช้เงินได้ไม่คุ้มค่า ส่วนคนที่จนไม่ค่อยมีเงินบางคนใช้เงินได้คุ้มค่ามากกว่า เงินเพียงจำนวนเล็กน้อยกลับสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้มากกว่าในขณะที่เศรษฐีถูกลูกผลาญเงินไปมากมายมหาศาลและเสียคนอีกต่างหาก ไม่จำเป็นที่จะต้องเห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง
มีเพื่อนที่พ่อแม่เป็นเพียงร้านขายข้าวแกงส่งลูกเรียนโรงเรียนประถมมัธยมใกล้บ้าน และเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐ พอเรียนจบปริญญาตรีแล้วลูกมีเป้าหมายอยากเรียนต่อที่ออสเตรเลีย พ่อแม่ก็ให้เงินออมกับลูก 1 ล้านบาทแล้วบอกว่าที่เหลือลูกต้องไปหาเอาข้างหน้าเอง เพื่อนก็ใช้เงินนั้นตั้งต้นไปเรียนที่ออสเตรเลียและทำงานล้างจานรับเป็นเด็กเสิร์ฟส่งตัวเองจนเรียนจบทำงานและตั้งรกรากอยู่ที่ออสเตรเลีย ผมว่าเงิน 1 ล้านบาทนี้คุ้มค่ามากๆเลย ถ้าเทียบกับเศรษฐีบางทีเงิน 1 ล้านบาทใช้เพียงไม่กี่เทอมก็หมดแล้วสำหรับการศึกษาขั้นต้นโรงเรียนอินเตอร์ และไม่ได้อะไรอีกต่างหาก แต่นี่สามารถสร้างอนาคตให้คนหนึ่งคนไปตั้งรกรากที่ต่างประเทศได้เลย
ส่วนตัวก็เป็นเจ้าของกิจการ และสามารถส่งลูกเรียนอินเตอร์ได้ แต่ไม่ได้ให้เรียน หลายๆคนที่ศักยภาพไม่เพียงพอที่จะส่งลูกเรียนอินเตอร์ แต่ก็พยายามกล้ำกลืนเพื่ออยากให้ลูกได้คอนเนคชั่น แต่ตรงกันข้ามกับความคิดของผมเลย ผมมีความสามารถส่งให้เรียนได้สบายๆแต่ผมกลับไม่อยากให้ลูกได้สังคมแบบนั้นที่มีแต่ลูกคนรวย ผมอยากให้ลูกโตมาในโรงเรียนธรรมดาที่เด็กชาวบ้านธรรมดาเรียนและถูกปฏิบัติเหมือนกับเด็กธรรมดา ผมว่าแบบนี้จะดีกับเด็กที่สุด ไม่รู้นะแล้วแต่นานาจิตตัง ทุกวันนี้ทั้งสองคนกำลังจะเข้ามหาวิทยาลัยตั้งแต่อนุบาลจนถึงตอนนี้ใช้เงินน้อยมากในการเรียนและเลี้ยงดูขึ้นมา ตอนนี้ทั้งสองคนเรียนอยู่ในทุนรัฐบาลของเครือมหิดลวิทยานุสรณ์ไม่ต้องเสียเงินเลยฟรีทุกอย่างเป็นโรงเรียนกินนอน เพราะเขาได้อยู่ในสังคมของเด็กธรรมดาเลยต้องต่อสู้ด้วยความสามารถของตัวเองตลอดเวลา
เพราะว่าตอนที่ตัวเองเป็นเด็กก็โตมาแบบนี้เรียนโรงเรียนของรัฐมหาวิทยาลัยของรัฐ มีเพื่อนทุกระดับชั้นทั้งจนและรวย คนจนที่เป็นแบบอยากได้ดีก็มีมาก ความสู้ชีวิตความพยายาม เคยคิดว่าเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก
ใครที่อยากให้ลูกเรียนนานาชาติเพื่อจะได้ connection เพียงอย่างเดียวโดยไม่รู้ว่าเรียนจบแล้วจะไปไหนต่อผมคิดว่ามันแพงเกินไปแต่ได้ประโยชน์น้อย ส่วนพ่อแม่ที่มีแนวทางอยู่แล้วว่าหลังจากจบนานาชาติแล้วจะไปเรียนต่อที่ไหนและวางแผนการทำงานไว้แล้วว่าจะสามารถทำงานอะไรได้ที่เป็นหนทางที่ดีของชีวิตของเขา แบบนั้นคิดถูกแล้วที่เรียนนานาชาติ มันค่อนข้างเป็น 2 ทางที่แตกต่างกัน ซึ่งผมก็เข้าใจว่าบางทีโรงเรียนของรัฐก็ไม่ได้ตอบโจทย์ของคุณพ่อคุณแม่ประเภทหลัง
ตอนนี้ผมก็พูดกับเด็กๆเสมอว่าให้จำประสบการณ์ช่วงนี้ของชีวิตไว้ให้ดี เราต้องมีเพื่อนทุกระดับชั้น อย่าดูถูกคนที่จนกว่า บางทีคนที่จนกว่าอาจจะสามารถเอาชนะเราก็ได้ใครจะไปรู้ เราต้องเรียนรู้ความพยายามและการสู้ชีวิตจากเขา เพราะชีวิตไม่ง่าย ต้องสู้ต้องฝ่าฟัน และหวังว่าถ้าเธอมีครอบครัววันหน้าเธอจะภูมิใจในเส้นทางที่เธอโตขึ้นมา อย่าหาแต่เงินแล้วเทเเงินให้โรงเรียนราคาแพงเพราะคิดว่าจะดีกว่า โดยที่ไม่มีเป้าหมายว่าเรียนไปเพื่ออะไรจบจากนี้แล้วจะไปเรียนอะไรต่อจบแล้วจะทำงานอะไร เพียงแค่เห็นว่าอะไรแพงกว่าน่าจะดีกว่าเป็นความคิดที่ค่อนข้างจะผิด
แต่ถ้าวันหน้าทำงานแล้วมีเงินเก็บมากๆและคิดว่าโรงเรียนนานาชาติจบแล้วจะส่งให้ไปต่อต่างประเทศ เพื่อที่จะจะได้เป็นประโยชน์ในการทำงานนี้ๆเลี้ยงตัวเองต่อไปในอนาคต ถ้าแบบนั้นการเรียนนานาชาติก็อาจจะเป็นเรื่องที่ดี ทั้งการเรียนโรงเรียนรัฐบาลต่อมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงของไทยหรือการเรียนนานาชาติแล้วไปต่อต่างประเทศมันค่อนข้างเป็น 2 เส้นทางที่แตกต่างกันมีข้อดีข้อเสียในตัวเองแล้วแต่แต่ละคนจะเลือกทางที่เหมาะสมกับตัวเอง
มีเพื่อนที่พ่อแม่เป็นเพียงร้านขายข้าวแกงส่งลูกเรียนโรงเรียนประถมมัธยมใกล้บ้าน และเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐ พอเรียนจบปริญญาตรีแล้วลูกมีเป้าหมายอยากเรียนต่อที่ออสเตรเลีย พ่อแม่ก็ให้เงินออมกับลูก 1 ล้านบาทแล้วบอกว่าที่เหลือลูกต้องไปหาเอาข้างหน้าเอง เพื่อนก็ใช้เงินนั้นตั้งต้นไปเรียนที่ออสเตรเลียและทำงานล้างจานรับเป็นเด็กเสิร์ฟส่งตัวเองจนเรียนจบทำงานและตั้งรกรากอยู่ที่ออสเตรเลีย ผมว่าเงิน 1 ล้านบาทนี้คุ้มค่ามากๆเลย ถ้าเทียบกับเศรษฐีบางทีเงิน 1 ล้านบาทใช้เพียงไม่กี่เทอมก็หมดแล้วสำหรับการศึกษาขั้นต้นโรงเรียนอินเตอร์ และไม่ได้อะไรอีกต่างหาก แต่นี่สามารถสร้างอนาคตให้คนหนึ่งคนไปตั้งรกรากที่ต่างประเทศได้เลย
ส่วนตัวก็เป็นเจ้าของกิจการ และสามารถส่งลูกเรียนอินเตอร์ได้ แต่ไม่ได้ให้เรียน หลายๆคนที่ศักยภาพไม่เพียงพอที่จะส่งลูกเรียนอินเตอร์ แต่ก็พยายามกล้ำกลืนเพื่ออยากให้ลูกได้คอนเนคชั่น แต่ตรงกันข้ามกับความคิดของผมเลย ผมมีความสามารถส่งให้เรียนได้สบายๆแต่ผมกลับไม่อยากให้ลูกได้สังคมแบบนั้นที่มีแต่ลูกคนรวย ผมอยากให้ลูกโตมาในโรงเรียนธรรมดาที่เด็กชาวบ้านธรรมดาเรียนและถูกปฏิบัติเหมือนกับเด็กธรรมดา ผมว่าแบบนี้จะดีกับเด็กที่สุด ไม่รู้นะแล้วแต่นานาจิตตัง ทุกวันนี้ทั้งสองคนกำลังจะเข้ามหาวิทยาลัยตั้งแต่อนุบาลจนถึงตอนนี้ใช้เงินน้อยมากในการเรียนและเลี้ยงดูขึ้นมา ตอนนี้ทั้งสองคนเรียนอยู่ในทุนรัฐบาลของเครือมหิดลวิทยานุสรณ์ไม่ต้องเสียเงินเลยฟรีทุกอย่างเป็นโรงเรียนกินนอน เพราะเขาได้อยู่ในสังคมของเด็กธรรมดาเลยต้องต่อสู้ด้วยความสามารถของตัวเองตลอดเวลา
เพราะว่าตอนที่ตัวเองเป็นเด็กก็โตมาแบบนี้เรียนโรงเรียนของรัฐมหาวิทยาลัยของรัฐ มีเพื่อนทุกระดับชั้นทั้งจนและรวย คนจนที่เป็นแบบอยากได้ดีก็มีมาก ความสู้ชีวิตความพยายาม เคยคิดว่าเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก
ใครที่อยากให้ลูกเรียนนานาชาติเพื่อจะได้ connection เพียงอย่างเดียวโดยไม่รู้ว่าเรียนจบแล้วจะไปไหนต่อผมคิดว่ามันแพงเกินไปแต่ได้ประโยชน์น้อย ส่วนพ่อแม่ที่มีแนวทางอยู่แล้วว่าหลังจากจบนานาชาติแล้วจะไปเรียนต่อที่ไหนและวางแผนการทำงานไว้แล้วว่าจะสามารถทำงานอะไรได้ที่เป็นหนทางที่ดีของชีวิตของเขา แบบนั้นคิดถูกแล้วที่เรียนนานาชาติ มันค่อนข้างเป็น 2 ทางที่แตกต่างกัน ซึ่งผมก็เข้าใจว่าบางทีโรงเรียนของรัฐก็ไม่ได้ตอบโจทย์ของคุณพ่อคุณแม่ประเภทหลัง
ตอนนี้ผมก็พูดกับเด็กๆเสมอว่าให้จำประสบการณ์ช่วงนี้ของชีวิตไว้ให้ดี เราต้องมีเพื่อนทุกระดับชั้น อย่าดูถูกคนที่จนกว่า บางทีคนที่จนกว่าอาจจะสามารถเอาชนะเราก็ได้ใครจะไปรู้ เราต้องเรียนรู้ความพยายามและการสู้ชีวิตจากเขา เพราะชีวิตไม่ง่าย ต้องสู้ต้องฝ่าฟัน และหวังว่าถ้าเธอมีครอบครัววันหน้าเธอจะภูมิใจในเส้นทางที่เธอโตขึ้นมา อย่าหาแต่เงินแล้วเทเเงินให้โรงเรียนราคาแพงเพราะคิดว่าจะดีกว่า โดยที่ไม่มีเป้าหมายว่าเรียนไปเพื่ออะไรจบจากนี้แล้วจะไปเรียนอะไรต่อจบแล้วจะทำงานอะไร เพียงแค่เห็นว่าอะไรแพงกว่าน่าจะดีกว่าเป็นความคิดที่ค่อนข้างจะผิด
แต่ถ้าวันหน้าทำงานแล้วมีเงินเก็บมากๆและคิดว่าโรงเรียนนานาชาติจบแล้วจะส่งให้ไปต่อต่างประเทศ เพื่อที่จะจะได้เป็นประโยชน์ในการทำงานนี้ๆเลี้ยงตัวเองต่อไปในอนาคต ถ้าแบบนั้นการเรียนนานาชาติก็อาจจะเป็นเรื่องที่ดี ทั้งการเรียนโรงเรียนรัฐบาลต่อมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงของไทยหรือการเรียนนานาชาติแล้วไปต่อต่างประเทศมันค่อนข้างเป็น 2 เส้นทางที่แตกต่างกันมีข้อดีข้อเสียในตัวเองแล้วแต่แต่ละคนจะเลือกทางที่เหมาะสมกับตัวเอง
ความคิดเห็นที่ 73
ตอบในฐานะที่ตอนนี้ลูกเรียนโรงเรียนอินเตอร์อยู่นะคะ ค่าเทอมตอนนี้ในวัยช่วงอนุบาล อยู่ปีนึงประมาณ 5 แสน อยากจะขอแสดงความคิดเห็นว่า ทางเราเองไม่ได้เป็นเจ้าของธุรกิจใดๆค่ะ เป็นพนักงานเงินเดือนที่ทำงานมาค่อนข้างนานแล้วจึงได้เรทเงินเดือนสูงประมาณนึง รวมกับทางคู่สมรสด้วยเอามารวมกันเป็นรายได้ของครอบครัว เราทั้งคู่ไม่ได้เป็นเจ้าของธุรกิจค่ะ เงินเดือนบวกกันสองคนพร้อมรายได้พิเศษเป็นที่ปรึกษาและจุกจิกประมาณเดือนละ7แสน หักภาษีรายปีแล้ว
ทางบ้านไม่ได้ร่ำรวยหรือมีเงินเก่าใดๆค่ะเลยค่ะทั้งคู่เลยค่ะ ทำเองสร้างเอง ตอนที่เราเรียนหนังสือตอนเด็กก็เรียนโรงเรียนรัฐบาลปกติเลยค่ะ มหาลัยก็เรียนปกติ พอเรียนจบถึงได้มีโอกาสได้ไปทำงานที่ต่างประเทศระยะค่อนข้างนาน แล้วทางบ้านก็ไม่ได้มีฐานะใดๆนะคะ บ้านเมื่อก่อนอยู่อาศัยตึกแถว แชร์อยู่กัน2ครอบครัวกับครอบครัวน้องชายของคุณพ่อด้วย ตึกแถวห้องเดียวแชร์กันอยู่8คนนะคะ ตัวเราไม่ได้มีห้องนอนของตัวเองด้วยซ้ำ จนเราโตจบมหาลัยเลยค่ะ พอแต่งงานถึงได้มีบ้านของตัวอง
การที่ลูกเรียนอินเตอร์คำนวนแล้วจะหักสัดส่วนเป็น%ที่ใช้จ่ายเป็นค่าเทอมค่อนข้างเยอะ แต่ว่าครอบครัวเราเป็นคนไม่ได้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยค่ะ ไม่ได้ใช้กระเป๋าแพง หรือทานข้าวมื้อแพงๆบ่อย ก็กินตามห้างบ้างค่ะ ทำกินเองที่บ้าน รถที่ตอนนี้ใช้รับส่งลูกก็เป็นรถญี่ปุ่นอายุ7ปีกว่าแล้ว ซ่อมเรื่อยๆ ในบ้านก็มีรถแค่สองคันเท่านั้นเอง ซึ่งก็เก่าทั้งคู่ค่ะ สามีก็ไปทำนั่งรถแท็กซี่ไปบ้าง รถไฟฟ้าบ้าง บ้านไม่ได้อยู่ในเมืองด้วยค่ะ อยู่เส้นนอกเมือง ทุกวันก็ใช้เวลาเดินทางเข้าไปทำงานประมาณ40นาทีขึ้น แล้วเราก็มีส่งเงินให้คุณพ่อคุณแม่แต่ละฝ่ายรายเดือน และค่าใช้จ่ายจิปาถะในบ้านด้วย บ้านเราไม่มีพี่เลี้ยงเพราะตั้งใจจะเลี้ยงดูลูกกันเอง แต่เรามีแม่บ้าน1คนค่ะ เพราะทำงานประจำทั้งคู่ไม่อยากเหนื่อยทำงานบ้าน
จริงๆต้องเรียกว่า ครอบครัวเรา"เลือก"ที่จะใช้เงินไปกับการศึกษาของลูกมากกว่า ซึ่งแต่ละบ้านนั้นไม่เหมือนกันค่ะ ไม่มีผิดถูก หากบ้านนึงจะเลือกลงทุนกับการเรียนลูกตั้งแต่ตอนเด็ก หรืออีกบ้านจะเลือกเก็บเงินไว้ลงทุนแล้วค่อยส่งเรียนมหาลัยดีๆตอนโต นั่นคือ"ทางเลือก"ของแต่ละบ้าน
ครอบครัวอื่นๆที่โรงเรียนลูกเรา หากได้คุยกับพ่อแม่ที่ส่งลูกเรียนอินเตอร์ จะมีคนที่รวยมาก มากจริงๆแบบมีคนขับรถ มีพีเลี้ยงมีแม่บ้าน บ้านมีรถเยอะมากก็มี แล้วก็มีคนที่บ้านทำธุรกิจเล็กๆ บางคนก็ขายประกัน คนที่เป็นพนักงานประจำแบบเราก็มี จริงๆมีเยอะแยะหลากหลายอาชีพมากค่ะ และโรงเรียนอินเตอร์ก็มีหลายเกรดหลายราคาด้วยค่ะ( ไม่นับโรงเรียนไทยที่เปิดเป็นEPนะคะ) ขอตอบในฐานะคนเป็นแม่ ที่เราส่งลูกเรียนแม้สัดส่วนค่าใช้จ่ายจะหารเฉลี่ยเป็นรายเดือนสูงอยู่ แต่เพราะระบบการศึกษาไทยมีลักษณะที่ทางครอบครัวเราไม่เห็นด้วยในบางเรื่องและไม่ใช่ทิศทางที่เราอยากเลี้ยงลูกไปในทางนั้น เราเลยไม่ได้ตัดสินใจส่งลูกไปเรียนระบบของของรัฐ ยกตัวอย่างง่ายๆที่เห็นภาพได้ง่ายเช่น การจำกัดทรงผมเด็ก การแต่งตัว สิทธิการแสดงออกด้านแสดงความคิดเห็น หรือระบบการเรียนการสอนที่ส่วนมากค่อนข้างจะเป็นแบบสอน-จำ-จด-ท่องเพื่อการสอบ ไม่ค่อยเน้นการปฎิบัติจริงหรือความเข้าใจจริงๆ
โรงเรียนอินเตอร์นักเรียนต่อห้องน้อยกว่า ครูดูแลทั่วถึง ครูจะเหมือนเป็นเพื่อนกับครูเลย ไม่ชอบอะไร ไม่เข้าใจตรงนั้น ถามได้ โต้เถียง แสดงความคิดเห็นได้ค่ะ ต่างจากโรงเรียนรัฐที่ระบบอวุโสค่อนข้างสูงและมีมานาน คำตอบที่ถูกคือคำตอบที่ครูคิด ไม่ใช่คำตอบที่แตกต่างไปจากครูผู้สอน เด็กโรงเรียนรัฐเลยไม่ค่อยกล้าแสดงความเห็นที่แตกต่างจากเพื่อนหรือครู โรงเรียนอินเตอร์การแสดงความเห็นหรือส่วนร่วมในการตัดสินใจด้านการเรียนการสอนของของครูจะไม่เหมือนกับโรงเรียนไทยค่ะ โรงเรียนอินเตอร์คือครูและผู้บริหารจะพร้อมเปิดรับความเห็นมากๆและพร้อมปรับปรุงไปด้วยกัน เพราะเป้าหมายคือเด็กเป็นหลัก และด้วยค่าเทอมด้วยค่ะ ทางโรงเรียนสามารถจัดสรรให้โรงเรียนมีสิ่งอำนวยความสะดวกกับนักเรียนได้เยอะและหลากหลายและครบถ้วนทั้งดนตรี กีฬา วิทย์ อื่นๆมากมายตามที่เด็กต้องการ อีกทั้งครูผู้สอนที่สมัครและคัดเลือกมามีความรู้ความสามารถ สอนเก่ง สนุก เข้าใจ ใส่ใจเด็ก เนื่องจากการแข่งขันด้านเเงินเดือนและสวัสดิการที่ดีกว่าโรงเรียนรัฐ เหมือนกับคัดคนทำงานบริษัทดีๆค่ะ ครูที่ดีเลยมีมาสมัครเยอะ หลายๆที่คือครูมาจากมหาลัยดังๆที่ต่างประเทศบินมาสอน ประสบการณ์เยอะ ที่สำคัญเลยเค้าเคารพสิทธิและความคิดเห็นของเด็กมาก ไม่ค่อยมีวัฒนธรรมเอเชียมาบังระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ เช่นการถ่ายรูปเด็ก หากจะต้องมีการถ่ายรูปใดๆหากติดหน้าเด็ก ต้องมีเอกสารมาขออนุญาตผู้ปกครองก่อน หรือการลงโทษจะไม่มีการลงโทษที่กระทบร่างกายและจิตใจเด็กโดยเด็ดขาด ลูกเพื่อนของที่โรงเรียนอายุน้องโตแล้ว หากมีการประพฤติไม่ดีมีการถามเห็นผลตัวต่อตัวไม่ให้อายเพื่อนๆ ให้เด็กอธิบายเหตุผล รับฟัง แนะนำค่ะ หาข้อสรุปร่วมกัน ไม่มีการตีหรือทำให้อับอายหรือประจานหรืออะไรล่วงเกินสิทธิของเด็กโดยเด็ดขาด
โรงเรียนอินเตอร์ดีๆที่เช่น ISB โรงเรียนบริหารและดูแลโดยมูลนิธิ ซึ่งนั่นแปลว่าไม่ใช่โรงเรียนที่แสวงหาผลกำไร และมั่นใจได้ว่าเงินทุกบาทของค่าเทอมจะไปที่การพัฒนาสำหรับเด็กนักเรียนทั้งหมด และไม่ใช่ว่ามีเงินก็เข้าได้นะคะ สักส่วนเด็กไทย20%waiting lists ยาวมาก และไม่ได้หมายความว่าเข้าได้ทุกคนด้วยค่ะ แต่ที่เคยไปคุยกับพ่อมแม่ที่นู่นคือเด็กก็เดินไปโรงเรียน กินอาหารปกติ คนบ้านอยู่แถวนั้นก็เอารถกอล์ฟที่บ้านขับใกล้ๆไปเรียน คือไม่ได้ว่าเรียนอินเตอร์แล้วเด็กทุกคนจะห้วสูง พ่อแม่จะหยิ่ง ไม่ใช่นะคะ พ่อแม่ที่เป็นแบบนั้นก็มีค่ะ พ่อแม่ที่ไม่เป็นก็มีค่ะ เหมือนคนในสังคมค่ะ ไม่ใช่จำกัดแค่สังคมเด็กที่เรียนอินเตอร์
บ้านเราไม่ใช่ว่าอยากได้สังคม ไม่ใช่ว่าอยากได้รู้จักกับคนรวยๆ สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่เรามองหาจากโรงเรียนอินเตอร์ค่ะ แต่การศึกษาของระบบรัฐไทยหรือโรงเรียนEPมันไม่ตอบโจทย์ของเรามากกว่าค่ะเพราะเราไม่ได้อยากได้แค่ภาษาค่ะเหมือนโรงเรียนEP เราไม่ได้คาดหวังว่าโตไปเค้าต้องได้เงินเดือนหลายแสน จบมาเอาเงินมาให้พ่อแม่มากมาย เราในฐานะแม่อยากให้เค้าได้exlporeหาสิ่งที่เค้าชอบหาศักยภาพของเค้าได้เต็มที่ในวัยเค้าเท่านั้นเองจริงๆค่ะ โตไปถ้าเค้าทำงานได้เงินหลักหมื่นหรือน้อยกว่านั้น นั่นคือชีวิตของเค้าค่ะ เค้าต้องไปหาค้นหาตัวเองและอนาคต ไม่เกี่ยวกับเรา เราลงทุนกับลูกไม่เคยหวังจะได้เงินกลับมาตอบแทน เรามีวางแผนเงินหลังเกษียณอายุและประกันสุขภาพและประกันชีวิตโดยไม่ต้องรบกวนลูกหลาน ลูกไม่ใช่ธนาคารของเราหรือแผนการเงินหลังเกษียณของพ่อแม่ค่ะ หลายคนๆตอนนี้ทำงานที่ตัวเองทำอยู่หรือเรียนมหาลัยคณะที่ตัวเองเรียนโดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองชอบอะไรด้วยซ้ำเนอะ
สิ่งสำคัญที่ครอบครัวเราอยากได้คืออยากให้ลูกมีความกล้าหาญในการการมองตัวเองให้ทะลุปริญญา การมองตัวเองให้ออกว่า ตัวเองชอบอะไร อยากทำอะไรเพื่อต่อยอดเป็นอาชีพในอนาคต ก่อนที่จะตัดสินใจเรียนต่อ ไม่จำเป็นต้องเข้ามหาลัยโดยไม่รู้ว่าว่าตัวเองชอบมั้ย หรือไม่ต้องตามเพื่อน หรือกลัวเรียนจบช้ากว่าเพื่อน ไม่ต้องกลัวว่าคนนอกจะนินทาว่าไม่เอาถ่านหรือใดๆ ทางเราไม่สนใจเลยค่ะ ที่ต่างประเทศจะมี Gap year เพื่อให้เด็กที่เรียนจบม.ปลายไป ท่องเที่ยว ไปทดลองทำงาน ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง เพื่อให้เค้าค้นหาตัวเอง ซึ่งเราก็ตั้งใจจะให้ลูกทำแบบนั้นเหมือนกันค่ะ ถ้าลูกตัดสินใจจะไม่เข้ามหาวิทยาลัย หรืออยากจะลองทำงานเลย หรืออยากลองหาตัวเองอีกสักปีนึงเพื่อหาว่าเค้าชอบอะไรจริงๆ หรือจะไม่เรียนต่อแล้วขอทำงานเลย ทางครอบครัวเราโอเคค่ะ เพราะถึงตอนนั้นเค้าคงอายุ18แล้ว เราถือว่าเค้าเป็นผู้ใหญ่แล้ว เราปูทางมาเพื่อให้เค้าคิดได้ด้วยตัวเองด้วยการสอนและโรงเรียนที่ไปในทิศทางด้วยกัน ตอนนั้นเราถือว่าเค้าเป็นผู้ใหญ๋เต็มตัวพอจะตัดสินใจเองได้ โดยเราทั้งคู่จะเคารพการตัดสินใจของลูกค่ะและให้คำแนะนำหากลูกต้องการแต่ไม่กดดันใดๆ เราสองคนตั้งใจไว้อย่างนั้น โชคดีที่เรามีคู่ชีวิตที่มองเห็นไปในทิศทางเดียวกัน และสำหรับลูกเอง เราว่ามันต้องใช้ความกล้าหาญในตัวเองมากที่จะใช่ชีวิตและก้าวผ่านความคาดหวังของสังคม เราเป็นพ่อแม่วันนึงเราก็แก่แล้วตายไป แต่เค้าต้องใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเอง เราแค่หวังว่าเค้าจะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข พอใจในสิ่งที่มีไม่ว่าจะมีมากหรือน้อย...
ในโลกนี้มันไม่มีหลักสูตรการศึกษาไหนที่ดีที่สุด ไม่ว่าจากเป็นการศึกษาภาครัฐ ภาคเอกชนไทย หรืออินเตอร์ หรือระบบโรงเรียนทางเลือก หรือ Home school อยู่ที่แต่ละบ้านแต่ละครอบครัว และตัวเด็กเอง เราเองก็รู้จักบ้านที่เด็กไม่เข้ามหาลัยเรียนOnsiteแต่เลือกที่จะเรียนออนไลน์ เรียนหลายๆวิชา หลายๆคณะเพื่อหาว่าตัวเองชอบอะไรจริงๆก่อน แล้วค่อยไปสมัครเข้าคณะที่ตัวชอบจริงๆภายหลัง หรือเด็กที่เรียน Home school พ่อแม่สอนเองก็มีความรู้ความสามารถไม่แพ้เด็กที่ไปโรงเรียนเลยค่ะ ไม่อยากให้ใช้คำพูดเสียดสีหรือดึงกันลงมาว่า ทำธุรกิจสีเทา หยิ่ง เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ จบมาก็เกาะพ่อแม่บ้าง เพราะจะเอาความคิดตัวเองไปเหมารวมว่าเด็กคนนี้เรียนระบบนี้จบมาจะเป็นแบบนี้ทุกคนก็ไม่ถูกต้องค่ะ ระบบการศึกษาอื่นก็มีเด็กที่Failออกจากระบบการศึกษาเพราะปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ถ้าโลกนี้.....ถ้ามีระบบการศึกษาที่ทุกคนยอมรับว่าดีที่สุด ทุกๆบ้านก็คงส่งลูกตัวเองไปทางนั้นแล้ว แต่เด็กทุกคนมีความพิเศษไม่เหมือนกัน และแต่ละบ้านก็ความคิดเห็นไม่เหมือนกันเพราะเติบโตมาแตกต่าง ทัศนคติก็แตกต่างกันค่ะ ทุกระบบการศึกษามีจุดเด่นและจุดด้อยเหมือนกันหมดค่ะ ระบบอินเตอร์ไม่ได้ดีที่สุดสำหรับเด็กทุกคนค่ะ และพ่อแม่ที่ส่งลูกเรียนอินเตอร์ก็ไม่ได้ใช้เงินฟุ่มเฟือยหรือฟาดเอาเงินสู้เพราะเห็นว่าแพงกว่าแล้วจะดีกว่านะคะ เค้าคิดกันมาแล้วค่ะ
ทางบ้านไม่ได้ร่ำรวยหรือมีเงินเก่าใดๆค่ะเลยค่ะทั้งคู่เลยค่ะ ทำเองสร้างเอง ตอนที่เราเรียนหนังสือตอนเด็กก็เรียนโรงเรียนรัฐบาลปกติเลยค่ะ มหาลัยก็เรียนปกติ พอเรียนจบถึงได้มีโอกาสได้ไปทำงานที่ต่างประเทศระยะค่อนข้างนาน แล้วทางบ้านก็ไม่ได้มีฐานะใดๆนะคะ บ้านเมื่อก่อนอยู่อาศัยตึกแถว แชร์อยู่กัน2ครอบครัวกับครอบครัวน้องชายของคุณพ่อด้วย ตึกแถวห้องเดียวแชร์กันอยู่8คนนะคะ ตัวเราไม่ได้มีห้องนอนของตัวเองด้วยซ้ำ จนเราโตจบมหาลัยเลยค่ะ พอแต่งงานถึงได้มีบ้านของตัวอง
การที่ลูกเรียนอินเตอร์คำนวนแล้วจะหักสัดส่วนเป็น%ที่ใช้จ่ายเป็นค่าเทอมค่อนข้างเยอะ แต่ว่าครอบครัวเราเป็นคนไม่ได้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยค่ะ ไม่ได้ใช้กระเป๋าแพง หรือทานข้าวมื้อแพงๆบ่อย ก็กินตามห้างบ้างค่ะ ทำกินเองที่บ้าน รถที่ตอนนี้ใช้รับส่งลูกก็เป็นรถญี่ปุ่นอายุ7ปีกว่าแล้ว ซ่อมเรื่อยๆ ในบ้านก็มีรถแค่สองคันเท่านั้นเอง ซึ่งก็เก่าทั้งคู่ค่ะ สามีก็ไปทำนั่งรถแท็กซี่ไปบ้าง รถไฟฟ้าบ้าง บ้านไม่ได้อยู่ในเมืองด้วยค่ะ อยู่เส้นนอกเมือง ทุกวันก็ใช้เวลาเดินทางเข้าไปทำงานประมาณ40นาทีขึ้น แล้วเราก็มีส่งเงินให้คุณพ่อคุณแม่แต่ละฝ่ายรายเดือน และค่าใช้จ่ายจิปาถะในบ้านด้วย บ้านเราไม่มีพี่เลี้ยงเพราะตั้งใจจะเลี้ยงดูลูกกันเอง แต่เรามีแม่บ้าน1คนค่ะ เพราะทำงานประจำทั้งคู่ไม่อยากเหนื่อยทำงานบ้าน
จริงๆต้องเรียกว่า ครอบครัวเรา"เลือก"ที่จะใช้เงินไปกับการศึกษาของลูกมากกว่า ซึ่งแต่ละบ้านนั้นไม่เหมือนกันค่ะ ไม่มีผิดถูก หากบ้านนึงจะเลือกลงทุนกับการเรียนลูกตั้งแต่ตอนเด็ก หรืออีกบ้านจะเลือกเก็บเงินไว้ลงทุนแล้วค่อยส่งเรียนมหาลัยดีๆตอนโต นั่นคือ"ทางเลือก"ของแต่ละบ้าน
ครอบครัวอื่นๆที่โรงเรียนลูกเรา หากได้คุยกับพ่อแม่ที่ส่งลูกเรียนอินเตอร์ จะมีคนที่รวยมาก มากจริงๆแบบมีคนขับรถ มีพีเลี้ยงมีแม่บ้าน บ้านมีรถเยอะมากก็มี แล้วก็มีคนที่บ้านทำธุรกิจเล็กๆ บางคนก็ขายประกัน คนที่เป็นพนักงานประจำแบบเราก็มี จริงๆมีเยอะแยะหลากหลายอาชีพมากค่ะ และโรงเรียนอินเตอร์ก็มีหลายเกรดหลายราคาด้วยค่ะ( ไม่นับโรงเรียนไทยที่เปิดเป็นEPนะคะ) ขอตอบในฐานะคนเป็นแม่ ที่เราส่งลูกเรียนแม้สัดส่วนค่าใช้จ่ายจะหารเฉลี่ยเป็นรายเดือนสูงอยู่ แต่เพราะระบบการศึกษาไทยมีลักษณะที่ทางครอบครัวเราไม่เห็นด้วยในบางเรื่องและไม่ใช่ทิศทางที่เราอยากเลี้ยงลูกไปในทางนั้น เราเลยไม่ได้ตัดสินใจส่งลูกไปเรียนระบบของของรัฐ ยกตัวอย่างง่ายๆที่เห็นภาพได้ง่ายเช่น การจำกัดทรงผมเด็ก การแต่งตัว สิทธิการแสดงออกด้านแสดงความคิดเห็น หรือระบบการเรียนการสอนที่ส่วนมากค่อนข้างจะเป็นแบบสอน-จำ-จด-ท่องเพื่อการสอบ ไม่ค่อยเน้นการปฎิบัติจริงหรือความเข้าใจจริงๆ
โรงเรียนอินเตอร์นักเรียนต่อห้องน้อยกว่า ครูดูแลทั่วถึง ครูจะเหมือนเป็นเพื่อนกับครูเลย ไม่ชอบอะไร ไม่เข้าใจตรงนั้น ถามได้ โต้เถียง แสดงความคิดเห็นได้ค่ะ ต่างจากโรงเรียนรัฐที่ระบบอวุโสค่อนข้างสูงและมีมานาน คำตอบที่ถูกคือคำตอบที่ครูคิด ไม่ใช่คำตอบที่แตกต่างไปจากครูผู้สอน เด็กโรงเรียนรัฐเลยไม่ค่อยกล้าแสดงความเห็นที่แตกต่างจากเพื่อนหรือครู โรงเรียนอินเตอร์การแสดงความเห็นหรือส่วนร่วมในการตัดสินใจด้านการเรียนการสอนของของครูจะไม่เหมือนกับโรงเรียนไทยค่ะ โรงเรียนอินเตอร์คือครูและผู้บริหารจะพร้อมเปิดรับความเห็นมากๆและพร้อมปรับปรุงไปด้วยกัน เพราะเป้าหมายคือเด็กเป็นหลัก และด้วยค่าเทอมด้วยค่ะ ทางโรงเรียนสามารถจัดสรรให้โรงเรียนมีสิ่งอำนวยความสะดวกกับนักเรียนได้เยอะและหลากหลายและครบถ้วนทั้งดนตรี กีฬา วิทย์ อื่นๆมากมายตามที่เด็กต้องการ อีกทั้งครูผู้สอนที่สมัครและคัดเลือกมามีความรู้ความสามารถ สอนเก่ง สนุก เข้าใจ ใส่ใจเด็ก เนื่องจากการแข่งขันด้านเเงินเดือนและสวัสดิการที่ดีกว่าโรงเรียนรัฐ เหมือนกับคัดคนทำงานบริษัทดีๆค่ะ ครูที่ดีเลยมีมาสมัครเยอะ หลายๆที่คือครูมาจากมหาลัยดังๆที่ต่างประเทศบินมาสอน ประสบการณ์เยอะ ที่สำคัญเลยเค้าเคารพสิทธิและความคิดเห็นของเด็กมาก ไม่ค่อยมีวัฒนธรรมเอเชียมาบังระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ เช่นการถ่ายรูปเด็ก หากจะต้องมีการถ่ายรูปใดๆหากติดหน้าเด็ก ต้องมีเอกสารมาขออนุญาตผู้ปกครองก่อน หรือการลงโทษจะไม่มีการลงโทษที่กระทบร่างกายและจิตใจเด็กโดยเด็ดขาด ลูกเพื่อนของที่โรงเรียนอายุน้องโตแล้ว หากมีการประพฤติไม่ดีมีการถามเห็นผลตัวต่อตัวไม่ให้อายเพื่อนๆ ให้เด็กอธิบายเหตุผล รับฟัง แนะนำค่ะ หาข้อสรุปร่วมกัน ไม่มีการตีหรือทำให้อับอายหรือประจานหรืออะไรล่วงเกินสิทธิของเด็กโดยเด็ดขาด
โรงเรียนอินเตอร์ดีๆที่เช่น ISB โรงเรียนบริหารและดูแลโดยมูลนิธิ ซึ่งนั่นแปลว่าไม่ใช่โรงเรียนที่แสวงหาผลกำไร และมั่นใจได้ว่าเงินทุกบาทของค่าเทอมจะไปที่การพัฒนาสำหรับเด็กนักเรียนทั้งหมด และไม่ใช่ว่ามีเงินก็เข้าได้นะคะ สักส่วนเด็กไทย20%waiting lists ยาวมาก และไม่ได้หมายความว่าเข้าได้ทุกคนด้วยค่ะ แต่ที่เคยไปคุยกับพ่อมแม่ที่นู่นคือเด็กก็เดินไปโรงเรียน กินอาหารปกติ คนบ้านอยู่แถวนั้นก็เอารถกอล์ฟที่บ้านขับใกล้ๆไปเรียน คือไม่ได้ว่าเรียนอินเตอร์แล้วเด็กทุกคนจะห้วสูง พ่อแม่จะหยิ่ง ไม่ใช่นะคะ พ่อแม่ที่เป็นแบบนั้นก็มีค่ะ พ่อแม่ที่ไม่เป็นก็มีค่ะ เหมือนคนในสังคมค่ะ ไม่ใช่จำกัดแค่สังคมเด็กที่เรียนอินเตอร์
บ้านเราไม่ใช่ว่าอยากได้สังคม ไม่ใช่ว่าอยากได้รู้จักกับคนรวยๆ สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่เรามองหาจากโรงเรียนอินเตอร์ค่ะ แต่การศึกษาของระบบรัฐไทยหรือโรงเรียนEPมันไม่ตอบโจทย์ของเรามากกว่าค่ะเพราะเราไม่ได้อยากได้แค่ภาษาค่ะเหมือนโรงเรียนEP เราไม่ได้คาดหวังว่าโตไปเค้าต้องได้เงินเดือนหลายแสน จบมาเอาเงินมาให้พ่อแม่มากมาย เราในฐานะแม่อยากให้เค้าได้exlporeหาสิ่งที่เค้าชอบหาศักยภาพของเค้าได้เต็มที่ในวัยเค้าเท่านั้นเองจริงๆค่ะ โตไปถ้าเค้าทำงานได้เงินหลักหมื่นหรือน้อยกว่านั้น นั่นคือชีวิตของเค้าค่ะ เค้าต้องไปหาค้นหาตัวเองและอนาคต ไม่เกี่ยวกับเรา เราลงทุนกับลูกไม่เคยหวังจะได้เงินกลับมาตอบแทน เรามีวางแผนเงินหลังเกษียณอายุและประกันสุขภาพและประกันชีวิตโดยไม่ต้องรบกวนลูกหลาน ลูกไม่ใช่ธนาคารของเราหรือแผนการเงินหลังเกษียณของพ่อแม่ค่ะ หลายคนๆตอนนี้ทำงานที่ตัวเองทำอยู่หรือเรียนมหาลัยคณะที่ตัวเองเรียนโดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองชอบอะไรด้วยซ้ำเนอะ
สิ่งสำคัญที่ครอบครัวเราอยากได้คืออยากให้ลูกมีความกล้าหาญในการการมองตัวเองให้ทะลุปริญญา การมองตัวเองให้ออกว่า ตัวเองชอบอะไร อยากทำอะไรเพื่อต่อยอดเป็นอาชีพในอนาคต ก่อนที่จะตัดสินใจเรียนต่อ ไม่จำเป็นต้องเข้ามหาลัยโดยไม่รู้ว่าว่าตัวเองชอบมั้ย หรือไม่ต้องตามเพื่อน หรือกลัวเรียนจบช้ากว่าเพื่อน ไม่ต้องกลัวว่าคนนอกจะนินทาว่าไม่เอาถ่านหรือใดๆ ทางเราไม่สนใจเลยค่ะ ที่ต่างประเทศจะมี Gap year เพื่อให้เด็กที่เรียนจบม.ปลายไป ท่องเที่ยว ไปทดลองทำงาน ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง เพื่อให้เค้าค้นหาตัวเอง ซึ่งเราก็ตั้งใจจะให้ลูกทำแบบนั้นเหมือนกันค่ะ ถ้าลูกตัดสินใจจะไม่เข้ามหาวิทยาลัย หรืออยากจะลองทำงานเลย หรืออยากลองหาตัวเองอีกสักปีนึงเพื่อหาว่าเค้าชอบอะไรจริงๆ หรือจะไม่เรียนต่อแล้วขอทำงานเลย ทางครอบครัวเราโอเคค่ะ เพราะถึงตอนนั้นเค้าคงอายุ18แล้ว เราถือว่าเค้าเป็นผู้ใหญ่แล้ว เราปูทางมาเพื่อให้เค้าคิดได้ด้วยตัวเองด้วยการสอนและโรงเรียนที่ไปในทิศทางด้วยกัน ตอนนั้นเราถือว่าเค้าเป็นผู้ใหญ๋เต็มตัวพอจะตัดสินใจเองได้ โดยเราทั้งคู่จะเคารพการตัดสินใจของลูกค่ะและให้คำแนะนำหากลูกต้องการแต่ไม่กดดันใดๆ เราสองคนตั้งใจไว้อย่างนั้น โชคดีที่เรามีคู่ชีวิตที่มองเห็นไปในทิศทางเดียวกัน และสำหรับลูกเอง เราว่ามันต้องใช้ความกล้าหาญในตัวเองมากที่จะใช่ชีวิตและก้าวผ่านความคาดหวังของสังคม เราเป็นพ่อแม่วันนึงเราก็แก่แล้วตายไป แต่เค้าต้องใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเอง เราแค่หวังว่าเค้าจะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข พอใจในสิ่งที่มีไม่ว่าจะมีมากหรือน้อย...
ในโลกนี้มันไม่มีหลักสูตรการศึกษาไหนที่ดีที่สุด ไม่ว่าจากเป็นการศึกษาภาครัฐ ภาคเอกชนไทย หรืออินเตอร์ หรือระบบโรงเรียนทางเลือก หรือ Home school อยู่ที่แต่ละบ้านแต่ละครอบครัว และตัวเด็กเอง เราเองก็รู้จักบ้านที่เด็กไม่เข้ามหาลัยเรียนOnsiteแต่เลือกที่จะเรียนออนไลน์ เรียนหลายๆวิชา หลายๆคณะเพื่อหาว่าตัวเองชอบอะไรจริงๆก่อน แล้วค่อยไปสมัครเข้าคณะที่ตัวชอบจริงๆภายหลัง หรือเด็กที่เรียน Home school พ่อแม่สอนเองก็มีความรู้ความสามารถไม่แพ้เด็กที่ไปโรงเรียนเลยค่ะ ไม่อยากให้ใช้คำพูดเสียดสีหรือดึงกันลงมาว่า ทำธุรกิจสีเทา หยิ่ง เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ จบมาก็เกาะพ่อแม่บ้าง เพราะจะเอาความคิดตัวเองไปเหมารวมว่าเด็กคนนี้เรียนระบบนี้จบมาจะเป็นแบบนี้ทุกคนก็ไม่ถูกต้องค่ะ ระบบการศึกษาอื่นก็มีเด็กที่Failออกจากระบบการศึกษาเพราะปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ถ้าโลกนี้.....ถ้ามีระบบการศึกษาที่ทุกคนยอมรับว่าดีที่สุด ทุกๆบ้านก็คงส่งลูกตัวเองไปทางนั้นแล้ว แต่เด็กทุกคนมีความพิเศษไม่เหมือนกัน และแต่ละบ้านก็ความคิดเห็นไม่เหมือนกันเพราะเติบโตมาแตกต่าง ทัศนคติก็แตกต่างกันค่ะ ทุกระบบการศึกษามีจุดเด่นและจุดด้อยเหมือนกันหมดค่ะ ระบบอินเตอร์ไม่ได้ดีที่สุดสำหรับเด็กทุกคนค่ะ และพ่อแม่ที่ส่งลูกเรียนอินเตอร์ก็ไม่ได้ใช้เงินฟุ่มเฟือยหรือฟาดเอาเงินสู้เพราะเห็นว่าแพงกว่าแล้วจะดีกว่านะคะ เค้าคิดกันมาแล้วค่ะ
ความคิดเห็นที่ 3
ลูกผมเรียนอินเตอร์2คน จากสามคน
ผมทำงานเป็นลูกจ้างธรรมดาในองค์กรใหญ่
ส่วนค่าเรียนอินเตอร์ แม่ผมจ่าย
ทำไมแม่ผมมีตังค์? 1.แต่งกะลูกคนรวย 2. ยืมเงินพ่อสามี(ปู่ผม) ไปปล่อยกู้แล้วโดนไม่คืนนานมาก แต่ลูกหนี้ดันเอาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ เลยคืนหนี้มาเป็นหุ้นในตลาดก่อนพาร์ 3.หุ้นมันมีค่าเท่าทวีหลายสิบเท่า
ผมทำงานเป็นลูกจ้างธรรมดาในองค์กรใหญ่
ส่วนค่าเรียนอินเตอร์ แม่ผมจ่าย
ทำไมแม่ผมมีตังค์? 1.แต่งกะลูกคนรวย 2. ยืมเงินพ่อสามี(ปู่ผม) ไปปล่อยกู้แล้วโดนไม่คืนนานมาก แต่ลูกหนี้ดันเอาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ เลยคืนหนี้มาเป็นหุ้นในตลาดก่อนพาร์ 3.หุ้นมันมีค่าเท่าทวีหลายสิบเท่า
แสดงความคิดเห็น
คนที่ส่งลูกเรียนอินเตอร์ได้นี่ เขาทำงานอะไรกันครับ
แถมค่าใช้จ่ายของเด็กมันไม่ได้มีแค่ค่าเทอมอย่างเดียว ไหนจะค่ากินอยู่ ค่าเสื้อผ้า ค่าของเล่น พาไปเที่ยว บางคนจ้างพี่เลี้ยง บางคนส่งเรียนเปียโน เรียนว่ายน้ำ ค่ารักษาพยาบาลเวลเจ็บป่วยอีก เชื่อว่าค่าใช้จ่ายเด็กอินเตอร์น่าจะอลังการพอสมควร
นั่นแสดงว่าพ่อแม่ต้องหาเงินได้เดือนนึงเกือบๆล้านหรือมากกว่านั้น
ในขณะที่คนส่วนใหญ่มีลูกกันตอนอายุ 20 ปลายๆ ไม่ก็ 30 ต้นๆ สมมติง่ายๆว่ามีลูกตอน 30 ลูกเข้าอนุบาลตอน 33
ในวัยนี้ใครหลายคนที่ไม่ได้มีต้นตระกูลร่ำรวยมาก่อน น่าจะยังผ่อนบ้านผ่อนรถไม่ครบเลย
ถ้าเป็นพนังงานบริษัทก็น่าจะยังไม่ถึงระดับผู้จัดการ เงินเดือนอย่างมากก็แสนปลายๆ บวกลบจากไม่เกินแสนนึง
ถ้าทำงานด้านการทูตก็น่าจะยังไม่ได้เป็นเอกอัครราชทูต
ถ้าเป็นหมอก็น่าจะเพิ่งจบเฉพาะทาง ไม่ก็เรียนเฉพาะทางต่อยอดอยู่ อายุเท่านี้น่าจะได้เต็มที่ก็ 2-3 แสน
ถ้าเป็นผู้พิพากษา ก็ได้ยินมาว่าเงินเดือนรวมทุกอย่างแค่สองแสนกว่าๆ
เลยสงสัยว่าถ้าไม่ได้ร่ำรวยมาแต่ต้นตระกูล เขาต้องทำงานอะไรกันครับ ถึงจะส่งลูกเรียนอินเตอร์ได้ ต้องมีธุรกิจส่วนตัวเท่านั้นใช่ไหมครับ
ปล. ไม่นับพวกธุรกิจสีเทานะครับ พวกนั้นรวยจริง ผมไม่เถียง