ฝูงค้างคาวอนุรักษ์ห้องสมุดในโปรตุเกส

.

.
The Biblioteca Joanin
© xiquinhosilva/Wikimedia
.
.

คนรักหนังสือไม่ใช่คนเดียวที่ชอบนั่งอยู่ในห้องสมุด 
แต่เมื่อมีโอกาส ค้างคาวก็ชอบที่จะพักที่นั่น
และกินแมลง/หนอนหนังสือที่กินต้นฉบับเก่า
นั่นเป็นวิธีที่ค้างคาวรุ่นต่อรุ่นได้อนุรักษ์
หนังสือที่หายาก/ล้ำค่าที่เก็บรักษาไว้
ในห้องสมุดโปรตุเกสสองแห่งได้อย่างปลอดภัย
นั่นคือห้องสมุด Mafra Palace ใน Mafra
และ Biblioteca Joanina ใน Coimbra

ห้องสมุด Biblioteca Joanina 
ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางมหาวิทยาลัย Coimbra 
จัดว่าเป็นห้องสมุดที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
ได้รับการตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้ง King John V แห่งโปรตุเกส
ซึ่งเริ่มสร้างห้องสมุดในปี 1717
ระหว่างการเริ่มต้นของยุคแห่งการเรียนรู้ในยุโรป
เก็บรักษาหนังสือมากกว่า 250,000 เล่ม
รวมถึงเอกสารทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่า
และหนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรกจำนวนมากมาย
.
.

.
King John V
.
.

อาคารห้องสมุดถูกมองว่าเป็นห้องนิรภัย 
โดยมีผนังด้านนอกหนากว่า 2 เมตร พร้อมประตูไม้ Teak
ที่ช่วยให้ภายในมีอุณหภูมิคงที่และคงที่ที่ 18–20 °C
ไม้โอ๊คที่ใช้ในโครงสร้างของห้องสมุด
ทำให้เกิดกลิ่นที่ขับไล่แมลงที่อาศัยอยู่บนกระดาษ
แต่แน่นอนว่ามีฝูงค้างคาวซ่อนตัวอยู่
หลังชั้นหนังสือในตอนกลางวันที่ห้องสมุดเปิด
ในตอนกลางคืน ฝูงค้างคาวจะออกมาจากที่ซ่อน
และกินแมลงที่อาศัยอยู่ท่ามกลางหนังสือ
ก่อนที่ฝูงค้างคาวจะโผบินออกไปหากินเหยื่อเพิ่มเติม
.
.

.
ห้องอ่านหนังสืออันโอ่อ่าของ Biblioteca Joanina
©  xiquinhosilva/Wikimedia
..
.

ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า
ฝูงค้างคาวเข้ามาอาศัยในห้องสมุดเมื่อใด
แต่ทราบกันดีว่ามีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นอย่างน้อย
ทุกค่ำคืนก่อนที่ห้องสมุดจะปิดทำการ
ผู้ดูแลจะปูแผ่นหนังบนเฟอร์นิเจอร์
เพื่อป้องกันมูลค้างคาว
และทุกเช้าเจ้าหน้าที่จะถอดผ้าคลุมออก
และทำความสะอาดพื้น

ห้องสมุดอีกแห่งอยู่ในพระราชวัง Mafra 
ซึ่งอยู่ห่างจากทางใต้ 125 ไมล์ 
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของลิสบอน 
ห้องสมุดขนาดใหญ่บนชั้นสองของพระราชวัง
จัดว่าเป็นอัญมณีของสถานที่แห่งนี้
มีเพดานโค้งสูงและพื้นหินอ่อนอันงดงาม
ชั้นหนังสือไม้สไตล์ Rococo
ตั้งอยู่ข้างผนังเป็นสองแถว
คั่นด้วยระเบียงที่มีราวบันไดไม้
มีหนังสือปกหนังมากกว่า 36,000 เล่ม
(เขียนด้วยมือทีละเล่มขึ้นมา)
ยืนยันถึงขอบเขตของความรู้
ของชาวตะวันตกตั้งแต่ศตวรรษที่ 14-19
ในห้องสมุดแห่งนี้มีหนังสือ Incunabula
ที่มีค่ามหาศาล/ราคาแพงมาก
(หนังสือที่พิมพ์ก่อนปี 1500
ก่อนที่แท่นพิมพ์จะแพร่หลาย)
เช่น 1493 Nuremberg Chronicle

การพบเจอและจับเป็นฝูงค้างคาว
ที่ห้องสมุด Mafra Palace นั้นเป็นเรื่องยาก
แต่เรื่องนี้มีมานานหลายศตวรรษแล้ว
เพื่อเป็นการยกย่องสิ่งมีชีวิตที่มีปีกเหล่านี้
ผู้คุ้มครองลดจำนวนแมลง/หนอนในหนังสือ
ห้องสมุดมีตู้กระจกขนาดเล็ก
ที่จัดแสดงซากค้างคาว  3 ตัว
ที่รักษาซากให้สมบูรณ์มากที่สุด
.
.

.
Julie H. Case
.

.
Mafra Palace library ©  Oliveira/Wikimedia
.
.


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/3DV16Wr
https://bit.ly/3LNECt9
https://bit.ly/35TwBnh
https://bit.ly/3DVHktG
.

หมายเหตุ

ค้างคาวมีความสำคัญกับระบบนิเวศน์มาก
ค้างคาวกินแมลงสามารถกินแมลงได้ราว
500-1,000 ตัวในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง
ค้างคาวกินผลไม้ช่วยในการผสมเกสรดอกไม้
ของพืชหลายชนิดที่บานในเวลากลางคืน
และค้างคาวจะกินเฉพาะผลไม้ที่สุกงอมจัดเท่านั้น
ไม่ได้ทำลายพืชผลชองชาวสวนแต่อย่างใด
ค้างคาวน้ำตาล Brown Bat
จะกินยุงได้ถึง 1,000 ตัว/ชั่วโมง/มีอายุยืน 40 ปี
.

.
.

.
Biblioteca Joanina/Joanine Library
.
.

.
View of the monumental façade
.
.

.
Reading rooms
.
.

.
One of the reading desks
.
.

.
Shelves of the library
.
.

.
.
.
.

.
.

.
.

.
Mafra
.
.

.
Scale model of the Royal Building of Mafra in the palace museum
.
.

.
King John V of Portugal, constructor of the palace
.
.

.
The palace in 1853, during the reign of Queen Maria II of Portugal
.
.

.
Main façade of the Royal Building of Mafra
designed by architect João Frederico Ludovice
.
.

.
Mafra
.
.

.
Mafra
.
.

.
Mafra
.
.

.
Mafra
.
.

.
Principal nave of the Basilica
.
.

.
The basilica from a palace cloister
.
.

.
Cupola of the basilica
.
.

.
The palace library contains over 36,000 historic and priceless volumes
.
.

.
The library of the Palace of Mafra
.
.

.
Sculptures by the School of Mafra
.
.

.
One of the numerous cloisters
.
.

.
Woodcut of Nuremberg from the Nuremberg Chronicle
.
.

.
A typical opening, uncoloured
.
.

.
Catching a "lion fish" - a small illustration from a Latin copy
Note the red capital done in pen and ink
and the doodle in the margin below
.
.

.
The Fifth day of creation
.
.
ฝูงค้างคาวช่วยกำจัดโรคมาเลเรีย
.
.
.



เรื่องเล่าไร้สาระ


ความรู้ คือ อำนาจ หนังสือ คือ ตัวแทนอำนาจ
เช่น ราชโองการ กฎหมาย คำสั่ง
การทำลายความรู้ในอดีต คือ การเผาหนังสือ
ที่ใดเผาหนังสือได้ ก็เผาคนทั้งเป็นได้
(จิ๋นซีฮ่องเต๊ โรมัน อาหรับ นาซีเยอรมัน)
ถ้าในปัจจุบันก็แค่ปิดกั้นการเข้าถึง
www youtube line Facebook twiitter
ก็แทบไม่แตกต่างกับการทำลายความรู้

ในยุคอาณาจักรกรีก/โรมัน
ชนชาติต่าง ๆ ในยุโรป
ก็มีการตีพิมพ์หนังสือกันแล้ว
ด้วยการใช้แม่พิมพ์ไม้แกะตัวอักษรเป็นแผ่น ๆ
แล้วทาหมึกบนแผ่นไม้อัดลงบนกระดาษ
แต่ทำได้ช้ามากกว่าจะได้หนังสือแต่ละเล่ม
นอกเหนือจากคัดลายมือแบบเดิม
ทำให้เสมียน หรือ คนรู้หนังสือ 
มักจะได้รับการอภัยโทษเพราะมีน้อยรายมาก
การเรียนหนังสือมักจำกัดที่ชนชั้นสูง/บาทหลวง

(ซือหม่าเชียน นักบันทึกประวัติศาสตร์จีนชั้นนำ
ก็ถูกตอนองคชาตในสมัยราชวงศ์ฮั่น
รัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ แลกกับโทษประหารชีวิต
เพื่อบันทึกประวัติศาสตร์จีนให้สำเร็จ)

ในปี 1452 Gutenberg อดีตช่างทำทอง
ได้คิดตัวพิมพ์จากโลหะผสม ดีบุก+ตะกั่ว
ทำให้สามารถจัดเรียงพิมพ์หนังสือ
วางบนแบบแท่นไม้รัดให้แน่น
แล้วแก้ไขคำผิดกับตีพิมพ์ได้เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก
ในสมัยนั้นยังไม่มีการจดลิขสิทธิ์กับสิทธิบัตร
จึงมีการลอกเลียนแบบไปใช้กันทั่วทั้งยุโรป
และพัฒนาการตีพิมพ์หนังสือได้อย่างรวดเร็ว
เพราะตีพิมพ์หนังสือได้ครั้งละมาก ๆ /เร็วมาก
รวมทั้งเริ่มมีการออกหนังสือพิมพ์รายสะดวก/หนังสือใต้ดินในเวลาต่อมา

ราวปี 1518-1525 
Martin Luther บาทหลวงชาวเยอรมัน
ได้ร่วมมือกับเพื่อนแปลคัมภีร์ไบเบิล
จากภาษาละตินเป็นภาษาเยอรมัน
ทำลายอำนาจความรู้เดิมที่จำกัดเฉพาะชนชั้น
แล้วนำมาเทศน์/เขียนเป็นหนังสือเยอรมัน
เพื่อคัดค้านพิธีกรรมนอกรีตของศาสนจักร
ทำให้ชาวบ้านอ่านได้เข้าใจมากขึ้น
และมีเหตุมีผลกันมากยิ่งขึ้น
จนเริ่มไม่พอใจการนอกรีตนอกรอย
ของพวกบาทหลวงคาทอลิค/พระสันตปาปา
สุดท้ายจึงนำไปสู่การตั้งศาสนาคริสต์
นิกายโปรแตสแตนส์ในเวลาต่อมา
และตามมาด้วยการรบราฆ่าฟันกัน
ระหว่างคนต่างศาสนาต่างนิกายหลายร้อยปี
จนคนในชาติยุโรปต้องออกกฎหมาย
แยกศาสนาออกจากการเมืองจนทุกวันนี้

Albert Camus อัลแบรต์ กามูส์  มีโศลกว่า
" ผมไม่มีศาสนา
ผมไม่มีลัทธิอุดมการณ์
เพราะผมเห็นผู้คนเหล่านั้น
ต่างฆ่ากันตายมามากต่อมาก
เพื่อพิสูจน์ยืนยันความเชื่อของพวกตน "

การตีพิมพ์หนังสือต่าง ๆ รวมทั้งหนังสือใต้ดิน
มีการเผยแพร่แนวคิดวิทยาการต่าง ๆ มากมาย
ความรู้ใหม่/แนวคิดใหม่ทำลายความเชื่อเดิม
เจ้านครรัฐ ศาสนจักร กับพระสันตปาปา
เริ่มสั่นคลอน/ถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสม
นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา

ในขณะเดียวกันชนชาติในยุโรป
ต่างหันมานิยมใช้ภาษาถิ่นของตน
และเริ่มมีการตีพิมพ์หนังสือภาษาถิ่นของตน
แทนภาษาละติน เพราะชาวบ้านจำนวนมาก
อ่านรู้เรื่องเข้าใจได้ง่าย ขายหนังสือได้
นำไปสู่ความเป็นชาตินิยม/ชาติของพวกตน
แต่ภาษากรีก/ละตินก็ยังมีการศึกษากันอยู่
ในหมู่ชนชั้นสูง/ผู้มีการศึกษา
ในไทยยังมีการศึกษาภาษาบาลี สันสกฤต เขมร
ในแวดวงพระภิกษุ/นักวิชาการ

การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789
แต่เริ่มใช้กิโยตินตัดคอคนในปี 1792
ก็มีผลมาจากหนังสือใต้ดินที่พิมพ์กันนอกประเทศ
แล้วลักลอบเข้ามาขาย/แจกฟรีกันในประเทศ
มีการใช้สรรพนามเหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม
เน้นไปที่พวกบาทหลวง ศักดินา ฝ่ายนิยมเจ้า
ใช้สรรพนาม il ils = it มัน พวกมัน
หรือสร้างนิยายใช้ตัวแทนเป็นสัตว์
แอบด่าบางคนว่าเป็นหมาจิ้งจอก หมาป่า หมู
แบบนิทานอีสป  Animal Farm
ไม่ต่างกับสยามที่เหยียดหยามคนกันเอง
เวลาไม่พอใจในการเมือง/ศาสนา
ด่าฝ่ายตรงข้ามว่า มัน ครอก ฝูง สารพัดสัตว์
ใช้กันใน Facebook Line Twitter Youtube
ใช้กันมากมายแทนหนังสือที่มีคนอ่านน้อยลง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่