ฝูงค้างคาวช่วยกำจัดโรคมาลาเรีย

1.

.
© Sangaroon/Shutterstock.com
.
.

60 ปีก่อน สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญหน้ากับ
ความท้าทายอย่างมากในการขจัด
โรคมาลาเรีย ให้หมด
ภายในพื้นที่ 3.8 ล้านตารางไมล์

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)
ซึ่งเป็นสถาบันสาธารณสุขชั้นนำของประเทศ
ได้รับการยกย่องอย่างมากจากแผนการนี้

ในเวลาอีก 4 ปีต่อมา
CDC  ได้ทุ่มเทให้กับการฉีดพ่น DDT
ในบ้านเรือนนับล้าน ๆ แห่งทั่วประเทศ
เพียงเวลาแค่  3 ปี ผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย
ลดลงจาก 15,000 คนในปี 1947
เหลือเพียง 2,000 คนในปี 1950
ในปีต่อมา ไม่พบผู้ป่วยมาลาเรียอีกเลย
(ภายหลังอีกหลายปี จึงรู้ถึงพิษตกค้าง DDT)

ประสิทธิภาพการทำงานของ DDT
ในการฆ่ายุงยังไม่ทราบกันจนกระทั่งปี 1939
เมื่อ Paul Hermann Müller นักเคมีชาวสวิส
ได้ค้นพบสารเคมีดังกล่าวใช้ในการฆ่าแมลง
ก่อนหน้านี้การควบคุมโรคมาลาเรีย
ถูกจำกัดไว้เฉพาะมาตรการเชิงรุก
เช่น การกำจัดยุงโดยการระบายน้ำไม่ให้ท่วมขัง
หรือการใช้สารพิษ Paris green หรือ Pyrethrum
 
ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ผ่านมา
ก่อนที่โรคมาลาเรียจะกลายเป็น
ภัยคุกคามที่ร้ายแรงกับชาวบ้าน
และปศุสัตว์ในท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา
นายแพทย์ของรัฐ Texas ได้เริ่มทดลอง
ใช้ฝูงค้างคาวต่อสู้กับยุงที่ติดเชื้อมาลาเรีย
.
.

.
.

ในตอนแรก นายแพทย์  Charles Campbell
ได้พยายามสร้างรังที่อยู่ของค้างคาว
โดยใช้กล่องใส่ของที่มีขนาด/รูปทรงต่าง ๆ
แต่หลังจากที่ทดลองมาหลายปี
ก็ไม่ประสบความสำเร็จเลย
จึงตระหนักว่าค้างคาวแตกต่างนกชนิดต่าง ๆ
ค้างคาวต้องการรังที่อยู่ที่ใหญ่กว่าพวกนก

ในปี 1907
ท่านจึงลงทุนด้วยเงินส่วนตัว 500 เหรียญสหรัฐ
ด้วยการสร้างบ้านค้างคาวหลังแรก
เป็นหอคอยค้างคาวสูง 30 ฟุต
ที่ U.S. Experimental Farm
ใกล้กับ San Antonio
ภายในบ้านค้างคาวมีการสร้างชั้นต่าง ๆ
วางเอียงเรียงรายให้มีค้างคาวเกาะพักอยู่ได้
และมีเศษผ้ายาว 20 หลาที่เต็มไปด้วย
Guano ฉี่และขี้ของค้างคาวแขวนไว้
เพื่อทำให้ค้างคาวรู้สึกเหมือนอยู่ที่รังพวกมัน
ด้วยการเลียนแบบรังที่อยู่ของค้างคาว
และยังได้วางเศษเนื้อขาหมูรมควันไว้ข้างใน


แต่โชคร้ายที่ความพยายามของท่าน
ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีค้างคาว
แม้แต่ตัวเดียวที่เข้ามาพักในรังแห่งนี้

ในเวลาอีก 3 ปีต่อมา
ท่านยังใช้เงินในการปรับปรุงหอคอยแห่งนี้อีก
แต่ค้างคาวก็ไม่เข้ามาพักในรังสักตัวอีก

ก่อนที่ท่านจะสิ้นหวัง
ท่านได้จับค้างคาวมาราว 500 ตัว
โดยจับค้างคาวมาจากสถานที่อื่น
และขังพวกมันอยู่ภายในหอคอยแห่งนี้
โดยหวังว่าการที่พวกมันอยู่ข้างในนี้
จะช่วยทำให้ฝูงค้างคาว
ที่บินผ่านไปมาจะเข้ามาอยู่ร่วมด้วย
แต่ผลการทดลองครั้งนี้ก็ยังล้มเหลวอีก
ก่อนที่ท่านจะโค่นหอคอยแห่งนี้ลงมา
เพราะฝูงนกกระจอกหลายร้อยตัวเข้าไปอยู่แทน


หลังจากความล้มเหลวในครั้งนั้น
นายแพทย์  Charles Campbell ได้ปลีกวิเวก
โดยหยุดทำหน้าที่การเป็นหมอรักษาคนไข้
แล้วปล่อยให้ครอบครัวอยู่ตามลำพัง
โดยท่านเดินทางขึ้นไปอยู่ตามป่าเขา
และใช้เวลานานหลายเดือนที่นั่น
เพื่อศึกษาพฤติกรรม/ถิ่นที่อยู่ของฝูงค้างคาว
เมื่อท่านได้ข้อมูลมากเพียงพอแล้ว
ท่านจึงเดินทางกลับบ้าน
แล้วเริ่มสร้างหอคอยค้างคาวอีกครั้ง
.
.

.

.
.

ท่านเรียนรู้ว่าฝูงค้างคาวชอบที่จะอยู่ใกล้น้ำ
จึงสร้างหอคอยค้างคาวอยู่ใกล้กับทะเลสาบ
Mitchell
พื้นที่ราบลุ่ม
ที่มีน้ำท่าไหลเข้าสู่เป็นที่เพาะพันธุ์ยุงดีมากเลย
ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิจนถึงฤดูใบไม้ร่วง
พื้นที่นี้ต่างเต็มไปด้วยการรบกวนของฝูงยุง
จนทำให้พวกชาวนาในพื้นที่โดยรอบ
ต้องยอมหลบหนีโดยยอมทิ้งพืชผล/ผลผลิต
และขณะเดียวกันปศุสัตว์ในพื้นทึ่
ก็ยังต้องทนทุกข์ทรมานจากฝูงยุง


ในฤดูใบไม้ผลิปี 1911
หอคอยค้างคาวแห่งใหม่สร้างเสร็จแล้ว
มีผู้ใหญ่และเด็กเพียง 78 คน
จากจำนวนประชากร 87 คน
ที่อาศัยอยู่รอบทะเลสาบ Mitchell
ที่เป็นโรคมาลาเรีย

ในที่สุด ท่านก็ได้ลิ้มรสชาติแห่งความสำเร็จ
ในฤดูร้อนปีนั้น ท่านกลับไปที่ทะเลสาบ Mitchell
และเฝ้าดูด้วยความพึงพอใจ
เมื่อค้างคาวจำนวนหลายร้อยตัว
พุ่งตัวออกจากหอคอยค้างคาวเป็นแนวยาว
โดยใช้เวลาถึง 5 นาทีกว่าจะหมดแนวบิน
ท่านรู้ว่า หอคอยค้างคาวของท่านที่สร้างไว้
ยังมีที่เพียงพอให้ค้างคาวอยู่ได้อีกหลายพันตัว
ท่านจึงหันความสนใจไปยังป่าไม้
ที่มีบ้านพักคนล่าสัตว์ ซึ่งเป็นพื้นที่พักนอน
ของฝูงค้างคาวในเวลากลางวัน


พื้นที่แห่งนั้นอยู่ห่างออกไป
ประมาณ 500 หลาจากหอคอยค้างคาว
เป้าหมายคือ การไล่ต้อนฝูงค้างคาวทั้งหมด
ให้ออกจากพื้นที่ค้างคาวพักนอน
หลังล่าเหยื่อในตอนกลางวัน
ให้พวกมันบินเข้าไปพักนอนในหอคอยค้างคาว
และผลคือ หอคอยของท่านเต็มไปด้วยค้างคาว

ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนพ้องน้องพี่
พวกท่านได้รอคอยจนถึงใกล้รุ่งอรุณแล้ว
ก่อนที่ฝูงค้างคาวจะกลับมานอน
ที่รังป่าไม้/ที่พักคนล่าสัตว์หลังเดิม
เพื่อนพ้องน้องพี่ของท่านต่างร้องรำทำเพลง
พร้อมเสียงเครื่องดนตรี  Clarinets, Piccolos, Trombones
ตีกลอง ฉิ่งฉาบ พร้อมส่งเสียงดังกันอย่างเต็มที่
ฝูงค้างคาวต่างตกใจกับเสียงที่ได้ยิน
ต่างพากันบินหนีไปพักตามหอคอยค้างคาว
ต่อมา  พวกท่านยังได้ไล่ต้อนให้ฝูงค้างคาว
ให้ไปพักนอนตามบ้านร้างหลังต่าง ๆ

เย็นวันต่อมา  
ท่านได้เดินทางไปรอคอยที่หอคอยค้างคาว
ทึ่ริมทะเลสาบ และในตอนนี้ฝูงค้างคาว
ที่เดินทางออกไปหากินต้องใช้เวลาเกือบ
2 ชั่วโมงกว่าจะออกมาหมดหอคอยค้างคาว

ท่านจึงเชื่อว่า ท่านได้ประสบความสำเร็จแล้ว
ในการนำฝูงค้างคาวทั้งหมดออกจากพื้นที่ป่าไม้
กระท่อมล่าสัตว์และไร่ปศุสัตว์ที่ถูกทอดทิ้ง
ให้ไปพักอาศัยยังหอคอยค้างคาวของท่าน

ในปี 1914
ที่ทะเลสาบ Mitchell
4 ปีให้หลังจากการสร้างหอคอยค้างคาว
ไม่ปรากฏว่ามีคนไข้เป็นโรคมาลาเรีย
จากประชากรที่อาศัยอยู่รอบทะเลสาบแห่งนี้

เมื่อผลการทดลองของท่านมีการแพร่กระจาย
จึงมีการสอบถามเกี่ยวกับหอคอยค้างคาว
มาจากทั่วประเทศและแม้แต่ในอิตาลี
เพราะผลงานที่ยิ่งใหญ่แบบนี้มีต้นทุนต่ำมาก
และมีประสิทธิภาพกำจัดยุง/โรคมาลาเรีย

City Council of San Antonio จึงออกฎหมาย
ห้ามไม่ให้ใครฆ่าค้างคาวภายในเขตเมือง
ในปีเดียวกัน Municipal Bat Roost เป็นเมืองแรก
ที่ให้การสนับสนุนสร้างหอคอยค้างคาว
ใน San Antonio และการฆ่าค้างคาว
เป็นเรื่องผิดกฎหมายทั่วทั้งรัฐ Texas

หอคอยค้างคาวที่ทะเลสาบ Mitchell
กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของชาวบ้าน
ในทุกเย็นจะมีคนมานั่งรอชม
ฝูงค้างคาวบินออกมาหากิน
ไม่น้อยกว่า 250,000 ตัวในทุกตอนเย็น
ทางท้องถิ่นจึงได้สร้างที่นั่ง
และทำให้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนชาวบ้าน

ตั้งแต่ปี 1914-1929
มีหอคอยค้างคาวรวม 16 แห่ง
ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ Texas ถึง Italy
แต่ตอนนี้เหลืออยู่ราว 2-3 หลัง
ในที่ดินส่วนบุคคล
เพราะหอคอยค้างคาว
ที่ทะเลสาบ Mitchell ถูกรื้อลงในปี 1950
เพราะเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในตัวค้างคาว
รัฐ Texas ต้องยกเลิกกฎหมายคุ้มครองค้างคาว

หอคอยค้างคาวที่ยังเหลืออยู่
สร้างขึ้นในปี 1918
ใกล้กับเมือง Comfort ในรัฐ Texas
เขตบ้านพักชนบทของอดีตนายกเทศมนตรี
หอคอยรูปทรงปิรามิดที่มีความสูง 30 ฟุต
และยกพื้นคอนกรีตประมาณ 7 ฟุตจากพื้นดิน
ช่วยเก็บ Guano ของเสียที่ค้างค้าวถ่ายออกมา

Guano เป็นปุ๋ยชั้นดีและเป็นผลพลอยได้
จากการใช้เป็นประโยชน์ของหอคอยค้างคาว
แต่เดิมหอคอยค้างคาวที่ทะเลสาบ Mitchell
มีค่าเฉลี่ย Guano ราว 2,000 กิโลกรัมต่อปี

หอคอยค้างคาวที่  Comfort
มีการตั้งชื่อว่า Hygieostatic Bat Roost
Hygieostatic ถูกประดิษฐ์คำจาก
Albert Steves อดีตนายกเทศมนตรี
มาจากภาษา Greek  Hygiea (สุขภาพ)
และ Stasis (ความยั่งยืน)
ทุกวันนี้ยังมีค้างคาวราวพันตัวที่อาศัยอยู่
จากเดิมที่เคยมีร่วมหมื่นตัว

เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2QfRxrO
https://bit.ly/2RulIw3
.
.

.
The Hygieostatic Bat Roost  
ใกล้ Comfort, Texas
© Larry D. Moore/Wikimedia
.
.


.
หอคอยที่ประสพความสำเร็จไม่มากนัก  Sugarloaf Key ใน Florida
พายุเฮอริเคนทำลายลงในปี 2017
© donielle/Flickr
.
.


.
Municipal Bat Roost สนับสนุนงบประมาณ
โดย  City Council of San Antonia, Texas
17 มีนาคม 1916
.
.

.
.

.
© https://bit.ly/2IG9xZ8
.
.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่