คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ขอออกตัวก่อนว่า ไม่ได้เรียนทางล่ามโดยตรง แต่มีเพื่อนที่ทำงานล่าม และเคยทำงานล่ามแปลพร้อม( simultaneous interpretation) มาเมื่อหลายทศวรรษแล้ว แปลในที่ประชุมจากไทย เป็นอังกฤษ (ซึ่งมาทราบเอาทีหลังว่า ค่อนข้างจะย้อนแย้งกับทฤษฏีการแปลที่ต้องแปลภาษาต่างประเทศ มาเป็นภาษาแม่)
กระบวนการถอคความในการทำงานของล่าม จากสกุลปารีส อย่างสถาบันการแปลและล่ามชั้นสูง แห่งกรุงปารีส (ESIT, Paris) ซึ่งผู้ก่อตั้งก็ทำงานล่ามเป็นอาชีพ มาก่อน เสนอว่า การแปล หรือการทำล่าม จะต้องมีขั้นตอน 3 ประการดังนี้
1. การทำความเข้าใจต้นฉบับ (comprehension) หมายถึงผู้รับสารที่ทำหน้าที่ตัวกลาง อย่างล่ามจะต้องเข้าใจต้นฉบับชนิด ไม่มีรูโหว่ หรือ 100 เปอร์ฯ เพื่อให้ได้ -ความหมาย- หรือสาร ที่ออกมาเป็นภาพ ไม่ใช่เป็นคำ (จากต้นฉบับ หรือในภาษาปลายทาง)
2. การสลัดจากภาษาต้นฉบับ (deverbalisation) ซึ่งผ่านกระบวนการคิดเป็นภาพ (visualisation) - รูปธรรม หรือคิดเป็นมโนทัศน์ (conceptualisation) นามธรรม หมายถึงการสกัดสารต้นภาษาต้นทาง ไม่มีคำ รูปประโยค หรือเสียงจากภาษาต้นทางที่เกาะสารนั้นอยู่ จะต้องได้ สาร จากต้นฉบับอย่างชัดเจน ครบถ้วน
3. การถ่ายทอดเป็นภาษาใหม่ (ภาษาปลายทาง) เมื่อผ่านกระบวนการ ผละจากภาษา หมายถึง ผู้แปล หรือล่าม เป็นอิสระจากพันธนาการทางภาษา อย่างคำ รูปประโยค หรือเสียง ในภาษาต้นทาง ผู้แปลจะไม่ค่อยเจออุปสรรคที่จะถ่ายทอด สาร นั้น ออกมาเป็นภาษาปลายทาง (หรือภาษาแม่) ที่ตนคุ้นชินมากกว่า ภาษาต่างประเทศ
ในแง่ของการทำงานแปล อันนี้เราพอมีเวลา ทั้งสามกระบวนการ เช่นเราอ่านต้นฉบับใช้เวลา 5-10-30-60 นาที ก็แล้วแต่ความยาวของต้นฉบับ เราหยุดพักได้ แล้วเราค่อยกลับมาอ่านใหม่ เพื่อให้เกิดการผละจากภาษา และค่อยจรดปากกา หรือจิ้มคีย์บอรด์ ถ่ายออกมาเป็นภาษาใหม่
ทว่า ในการทำงานล่าม ผู้ถ่ายสาร อย่างล่าม ไม่มีเวลาที่จะเสียไปง่ายๆขนาดนั้น กระบวนการที่เราจะทำความเข้าใจสารที่เราได้ยิน ใช้เวลาสั้นมากประมาณ 3-5 วินาที ที่เราได้ยิน สาร เข้าหูเราแล้ว แล้วล่ามจะต้องถ่ายสารออกไปจากปากตนเอง พร้อมกับฟัง สารที่จะได้ยินต่อไป
ค่อนข้างจะเป็นเรื่องน่าทึ่งว่า ทำไม ล่าม (ระดับมืออาชีพ) สามารถฟังไปด้วย แปลในหัวไปด้วย และพูดไปด้วย (เหมือน) พร้อมๆกัน ตอบง่ายๆ คือ เขาผ่านการฝึกฝนในการปฏิบัติเช่นนี้มาแล้ว คือคุณจะมาฟังเป็นคำๆ แล้วค่อยนึกเป็นภาพ มันไม่ทันจร้า คุณต้องฟังทั้งประโยค พร้อมกันนั้น ยังสามารถคาดเดาได้ว่า ต้นฉบับต่อไป มันน่าจะไปในทิศทางไหน (จากการเตรียมตัวทำงาน อ่านเอกสารประกอบ ค้นคว้า ให้มีคลังความรู้พื้นฐานที่สอดคล้องต้องกันกับต้นฉบับ เช่น คุณจะต้องแปล(ด้วยปาก)เรื่องเทคโนโลยีโพลิเมอร์ ของการผลิตยาง ภาพในหัวคุณต้องออกมาเหมือนสารคดีที่คุณดูมา ค้นมา เวลาคุณได้รับสาร เข้าหู ภาพมันจะออกมาแบบชัดแจ้งแทงตลอดอย่างฉับพลันทันที แบบไม่ต้องเสียเวลาคิดหรือนึก)
การทำงานล่ามที่ดี จึงต้องมีการเตรียมตัวอย่างดี เพื่อให้พร้อมทำงาน ไม่ใช่ จ้างเช้า ไปทำบ่าย หรือ ไม่รู้ประเด็นหรือเรื่องที่จะแปล ไม่มีเอกสารประกอบที่จะให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ล่ามระดับมืออาชีพ จะหลีกเลี่ยงในการทำงานกับนางจ้างที่ไม่มีความเป็นอาชีพ (แนว สวยเลือกได้) เพราะเขารู้ว่า หากไม่พร้อม งานออกมาแย่ คนโดนด่าคือล่าม ไม่ใช่ต้นทาง
่
หากคุณสนใจการทำงานของล่ามมืออาชีพ จริงๆมีหนังสือแนวทฤษฏี-ปฏิบัติให้อ่านมากมาย แต่มักจะเป็นภาษาต่างประเทศ ที่มีแปลไว้เป็นภาษาไทย ค่อนข้างจะมีน้อย แต่หากมีเวลา ลองหา - ศาสตร์การแปล ที่มี รศ นพพร ประชากุล มาอ่านประกอบ จะได้ทราบขึ้นตอนในการทำงานล่ามหรือนักแปลได้ดีขึ้น
กระบวนการถอคความในการทำงานของล่าม จากสกุลปารีส อย่างสถาบันการแปลและล่ามชั้นสูง แห่งกรุงปารีส (ESIT, Paris) ซึ่งผู้ก่อตั้งก็ทำงานล่ามเป็นอาชีพ มาก่อน เสนอว่า การแปล หรือการทำล่าม จะต้องมีขั้นตอน 3 ประการดังนี้
1. การทำความเข้าใจต้นฉบับ (comprehension) หมายถึงผู้รับสารที่ทำหน้าที่ตัวกลาง อย่างล่ามจะต้องเข้าใจต้นฉบับชนิด ไม่มีรูโหว่ หรือ 100 เปอร์ฯ เพื่อให้ได้ -ความหมาย- หรือสาร ที่ออกมาเป็นภาพ ไม่ใช่เป็นคำ (จากต้นฉบับ หรือในภาษาปลายทาง)
2. การสลัดจากภาษาต้นฉบับ (deverbalisation) ซึ่งผ่านกระบวนการคิดเป็นภาพ (visualisation) - รูปธรรม หรือคิดเป็นมโนทัศน์ (conceptualisation) นามธรรม หมายถึงการสกัดสารต้นภาษาต้นทาง ไม่มีคำ รูปประโยค หรือเสียงจากภาษาต้นทางที่เกาะสารนั้นอยู่ จะต้องได้ สาร จากต้นฉบับอย่างชัดเจน ครบถ้วน
3. การถ่ายทอดเป็นภาษาใหม่ (ภาษาปลายทาง) เมื่อผ่านกระบวนการ ผละจากภาษา หมายถึง ผู้แปล หรือล่าม เป็นอิสระจากพันธนาการทางภาษา อย่างคำ รูปประโยค หรือเสียง ในภาษาต้นทาง ผู้แปลจะไม่ค่อยเจออุปสรรคที่จะถ่ายทอด สาร นั้น ออกมาเป็นภาษาปลายทาง (หรือภาษาแม่) ที่ตนคุ้นชินมากกว่า ภาษาต่างประเทศ
ในแง่ของการทำงานแปล อันนี้เราพอมีเวลา ทั้งสามกระบวนการ เช่นเราอ่านต้นฉบับใช้เวลา 5-10-30-60 นาที ก็แล้วแต่ความยาวของต้นฉบับ เราหยุดพักได้ แล้วเราค่อยกลับมาอ่านใหม่ เพื่อให้เกิดการผละจากภาษา และค่อยจรดปากกา หรือจิ้มคีย์บอรด์ ถ่ายออกมาเป็นภาษาใหม่
ทว่า ในการทำงานล่าม ผู้ถ่ายสาร อย่างล่าม ไม่มีเวลาที่จะเสียไปง่ายๆขนาดนั้น กระบวนการที่เราจะทำความเข้าใจสารที่เราได้ยิน ใช้เวลาสั้นมากประมาณ 3-5 วินาที ที่เราได้ยิน สาร เข้าหูเราแล้ว แล้วล่ามจะต้องถ่ายสารออกไปจากปากตนเอง พร้อมกับฟัง สารที่จะได้ยินต่อไป
ค่อนข้างจะเป็นเรื่องน่าทึ่งว่า ทำไม ล่าม (ระดับมืออาชีพ) สามารถฟังไปด้วย แปลในหัวไปด้วย และพูดไปด้วย (เหมือน) พร้อมๆกัน ตอบง่ายๆ คือ เขาผ่านการฝึกฝนในการปฏิบัติเช่นนี้มาแล้ว คือคุณจะมาฟังเป็นคำๆ แล้วค่อยนึกเป็นภาพ มันไม่ทันจร้า คุณต้องฟังทั้งประโยค พร้อมกันนั้น ยังสามารถคาดเดาได้ว่า ต้นฉบับต่อไป มันน่าจะไปในทิศทางไหน (จากการเตรียมตัวทำงาน อ่านเอกสารประกอบ ค้นคว้า ให้มีคลังความรู้พื้นฐานที่สอดคล้องต้องกันกับต้นฉบับ เช่น คุณจะต้องแปล(ด้วยปาก)เรื่องเทคโนโลยีโพลิเมอร์ ของการผลิตยาง ภาพในหัวคุณต้องออกมาเหมือนสารคดีที่คุณดูมา ค้นมา เวลาคุณได้รับสาร เข้าหู ภาพมันจะออกมาแบบชัดแจ้งแทงตลอดอย่างฉับพลันทันที แบบไม่ต้องเสียเวลาคิดหรือนึก)
การทำงานล่ามที่ดี จึงต้องมีการเตรียมตัวอย่างดี เพื่อให้พร้อมทำงาน ไม่ใช่ จ้างเช้า ไปทำบ่าย หรือ ไม่รู้ประเด็นหรือเรื่องที่จะแปล ไม่มีเอกสารประกอบที่จะให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ล่ามระดับมืออาชีพ จะหลีกเลี่ยงในการทำงานกับนางจ้างที่ไม่มีความเป็นอาชีพ (แนว สวยเลือกได้) เพราะเขารู้ว่า หากไม่พร้อม งานออกมาแย่ คนโดนด่าคือล่าม ไม่ใช่ต้นทาง
่
หากคุณสนใจการทำงานของล่ามมืออาชีพ จริงๆมีหนังสือแนวทฤษฏี-ปฏิบัติให้อ่านมากมาย แต่มักจะเป็นภาษาต่างประเทศ ที่มีแปลไว้เป็นภาษาไทย ค่อนข้างจะมีน้อย แต่หากมีเวลา ลองหา - ศาสตร์การแปล ที่มี รศ นพพร ประชากุล มาอ่านประกอบ จะได้ทราบขึ้นตอนในการทำงานล่ามหรือนักแปลได้ดีขึ้น
แสดงความคิดเห็น
เทคนิคการแปลแบบเรียลไทม์ นักแปลอาชีพแยกประสาทการฟังกันยังไงคะ ?
ก่อนหน้านี้เคยแปลแบบเรียลไทม์ครั้งนึง โดยฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะมีส่งสคริปต์มาให้เราได้เตรียมตัวก่อน
ถึงเวลาก็อ่านสคริปต์ที่ว่าได้เลย เรามีหน้าที่แค่ต้องอ่านให้ตรงกับสิ่งที่ผู้พรีเซ้นท์กำลังพูด
ซึ่งขนาดที่มีสคริปต์แบบที่ว่า ยังเจอปัญหาคือผู้พรีเซ้นท์พูดนอกบท ก็ต้องแก้สถานการณ์ไปตามหน้างานกันไปค่ะ
มาตอนนี้ เราต้องรับหน้าที่แปลในที่ประชุม ซึ่งแปลแบบเรียลไทม์ แปลสด ไม่มีสคริปต์ใดๆ และต้องรับหน้าที่นี้เป็นหลักเลย
เรารู้สึกทึ่งมาก ที่เห็นนักแปลรุ่นเก๋า ได้รับหน้าที่แปลในงานใหญ่ ๆ ระดับประเทศ
เราอยากทราบว่าพวกเขาแยกประสาทการฟังได้ยังไงคะ
ต้องนำสารจากฝ่าย A ไปส่งต่อให้ฝ่าย B ทันที อีกทั้งยังต้องฟังประโยคถัด ๆ ไปที่ฝ่าย A พูดต่อไปเรื่อย ๆ ไม่หยุด
เราเข้าใจค่ะว่างานแบบนี้ มันต้องอาศัยประสบการณ์ และ ความชำนาญในระดับหนึ่ง
แต่เราไม่สามารถใช้เวลานานในการปรับตัวได้ขนาดนั้นจริง ๆ ค่ะ
ถึงแม้จะไม่สามารถเก่งได้แบบเขาในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ก็ขอเทคนิคพิเศษที่ทำให้เราสามารถทำหน้าที่นี้ได้ดีขึ้น และ ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ
นอกเหนือจากชั่วโมงบินที่ต้องสะสมแล้ว พี่ ๆ สายภาษาท่านไหนมีเทคนิคพิเศษในด้านนี้เพิ่มเติม รบกวนมาแชร์ให้เราฟังหน่อยนะคะ
ปล. ส่วนตัวเป็นคนตื่นเต้นง่าย เครียดง่าย โดยเฉพาะอะไรที่เราไม่คุ้นชิน หรือ สิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ค่ะ
เรามักจะเจอปัญหา แปล ๆ ไปแล้วพอถึงจุดนึง ข้อมูลมันล้นหัว... หัวเราก็จะ blank ขาวโพลน ว่างเปล่าทันทีเลยค่ะ (เป็นเฉพาะกับงานที่เราไม่คุ้นเคยเท่านั้นค่ะ)
รบกวนแนะนำเราด้วยค่ะ
ขอบคุณทุกท่านล่วงหน้าค่ะ
***เพิ่มเติมข้อมูล