คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
แถลงข่าวการรายงานผู้ติดเชื้อจาก ATK โดย นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา
ด่วน!! กรมควบคุมโรค แถลงข่าวการรายงานผู้ติดเชื้อจาก ATK
โดย นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
เวลา 16.00 น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534573184827677
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 2 เม.ย. 2565)
รวม 130,054,244 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 2 เมษายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 176,452 โดส
เข็มที่ 1 : 47,350 ราย
เข็มที่ 2 : 22,204 ราย
เข็มที่ 3 : 106,898 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 55,674,806 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 50,377,647 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 24,001,791 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534572361494426
ตอบข้อสงสัย ทำไมผู้สูงอายุจึงควรรับวัคซีน COVID-19
ที่มา : World Health Organization Thailand
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534525658165763
สธ. ปรับแนวทางการรักษา COVID-19 กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มโรคเรื้อรัง
ให้ Admit ที่โรงพยาบาลหากติดเชื้อ
ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534534501498212
จ่ายตลาดอย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ที่มา: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534549844830011
กรมการแพทย์ เผย มาตรการรักษาผู้ป่วยโควิด กลุ่ม 608 เข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล ไม่เสียค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ UCEP plus เพื่อลดความรุนแรงและการเสียชีวิต
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ในปัจจุบัน ยังคงพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย โดยในวันที่ 1 เม.ย.65 มีจำนวนผู้เสียชีวิต 92 ราย ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดจากการแพร่ระบาดของเชื้อโอมิครอน การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่ม 608 ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม ปัจจุบันผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามเกณฑ์ UCEP plus โดยหลักโรงพยาบาลไม่สามารถปฏิเสธการรักษาได้ อย่างไรก็ตามการเข้ารับการรักษาต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วย แต่หากเตียงในโรงพยาบาลเต็ม ขอให้ประสานกับเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วยต่อไป นอกจากนี้ยังมีความห่วงใยกลุ่มเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด 19 เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยเช่นกัน
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534586054826390
WHO เตือน พบ โอมิครอนลูกผสม XE แพร่เร็วกว่าทุกสายพันธุ์ เจอในไทยแล้ว
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ภาพและข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ ‘Center for Medical Genomics’ ความว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกคำเตือนเกี่ยวกับโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม “XE” ที่แพร่เชื้อติดต่อได้ง่าย และรวดเร็วกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่เราเคยประสบมา
ล่าสุด ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสม “XE” จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างสวอปจากผู้ติดเชื้อ ชาวไทย 1 ราย และจากการตรวจกรองด้วยเทคโนโลยี “Massarray Genotyping” พบสายพันธุ์ลูกผสม “เดลตาครอน (เดลตา X โอมิครอน)” อีก 1 ราย ซึ่งต้องยืนยันด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมอีกครั้งหนึ่ง
ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534605044824491
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2565 จำนวน 97 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534573364827659
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แชร์ได้เลย! มาตรการเดินทางเข้าประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 65 ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับอนุมัติ Thailand Pass และมีกำหนดเดินทางเข้าไทยแบบ Test and Go ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 65 สามารถเดินทางเข้าไทยโดย "ใช้มาตรการใหม่"
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/345782757584462
เริ่มแล้ว 1 เมษายน ยกเลิก RT-PCR ก่อนเข้าประเทศ 72 ชม. ทุกกลุ่ม "นายกฯ" กำชับทุกฝ่ายปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเข้มงวด "การ์ดอย่าตก" ช่วยกันชะลอการติดเชื้อ
จากมติศบค. ล่าสุด ได้มีการปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ประเภท Test & Go , Sandbox และ Alternative Quarantine นั้น ให้ยกเลิกการตรวจ RT-PCR 72 ชั่วโมง ก่อนเดินทางเข้าประเทศทั้งสามกลุ่ม ลดระยะเวลาของการเดินทางเข้าไทยในรูปแบบ Sandbox เหลือ 5 วัน พร้อมปรับรูปแบบการตรวจหาเชื้อเมื่อมาถึงประเทศไทยและระหว่างพำนักในประเทศ
กรณี Test & Go, Sandbox ต้องได้รับการตรวจ RT-PCR ในวันแรกเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย และจากนั้นทำการตรวจ Self-ATK อีกครั้งในวันที่ 5 ในกรณี Quarantine ต้องตรวจ RT-PCR ในวันแรก และตรวจ RT-PCR ในวันที่ 4-5 ก่อนออกจากสถานที่กักตัว รวมทั้งการปรับลดการกักตัวเหลือ 5 วัน จากเดิม 7 วัน สำหรับนักเดินทางที่มาแบบ Sandbox และ Quarantine เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าประเทศภายใต้มาตรการสาธารณสุขที่มีความเข้มงวด ตามแนวทาง Covid Free Setting พร้อมฝากเตือนพี่น้องประชาชนให้ดูแลตนเองขั้นสูงสุด อย่าการ์ดตก ปฏิบัติตัวเองตามมาตรการต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะสามารถควบคุม ป้องกัน และชะลอการระบาดของโรคได้ โดยการผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งเพื่อดึงดูด นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจ ภายใต้มาตรการสาธารณสุขที่รัดกุมขั้นสูงสุด
https://www.facebook.com/anucha.b.dp/posts/435762748351964
ด่วน!! กรมควบคุมโรค แถลงข่าวการรายงานผู้ติดเชื้อจาก ATK
โดย นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
เวลา 16.00 น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534573184827677
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 2 เม.ย. 2565)
รวม 130,054,244 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 2 เมษายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 176,452 โดส
เข็มที่ 1 : 47,350 ราย
เข็มที่ 2 : 22,204 ราย
เข็มที่ 3 : 106,898 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 55,674,806 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 50,377,647 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 24,001,791 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534572361494426
ตอบข้อสงสัย ทำไมผู้สูงอายุจึงควรรับวัคซีน COVID-19
ที่มา : World Health Organization Thailand
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534525658165763
สธ. ปรับแนวทางการรักษา COVID-19 กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มโรคเรื้อรัง
ให้ Admit ที่โรงพยาบาลหากติดเชื้อ
ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534534501498212
จ่ายตลาดอย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ที่มา: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534549844830011
กรมการแพทย์ เผย มาตรการรักษาผู้ป่วยโควิด กลุ่ม 608 เข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล ไม่เสียค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ UCEP plus เพื่อลดความรุนแรงและการเสียชีวิต
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ในปัจจุบัน ยังคงพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย โดยในวันที่ 1 เม.ย.65 มีจำนวนผู้เสียชีวิต 92 ราย ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดจากการแพร่ระบาดของเชื้อโอมิครอน การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่ม 608 ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม ปัจจุบันผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามเกณฑ์ UCEP plus โดยหลักโรงพยาบาลไม่สามารถปฏิเสธการรักษาได้ อย่างไรก็ตามการเข้ารับการรักษาต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วย แต่หากเตียงในโรงพยาบาลเต็ม ขอให้ประสานกับเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วยต่อไป นอกจากนี้ยังมีความห่วงใยกลุ่มเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด 19 เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยเช่นกัน
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534586054826390
WHO เตือน พบ โอมิครอนลูกผสม XE แพร่เร็วกว่าทุกสายพันธุ์ เจอในไทยแล้ว
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ภาพและข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ ‘Center for Medical Genomics’ ความว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกคำเตือนเกี่ยวกับโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม “XE” ที่แพร่เชื้อติดต่อได้ง่าย และรวดเร็วกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่เราเคยประสบมา
ล่าสุด ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสม “XE” จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างสวอปจากผู้ติดเชื้อ ชาวไทย 1 ราย และจากการตรวจกรองด้วยเทคโนโลยี “Massarray Genotyping” พบสายพันธุ์ลูกผสม “เดลตาครอน (เดลตา X โอมิครอน)” อีก 1 ราย ซึ่งต้องยืนยันด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมอีกครั้งหนึ่ง
ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534605044824491
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2565 จำนวน 97 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/534573364827659
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แชร์ได้เลย! มาตรการเดินทางเข้าประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 65 ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับอนุมัติ Thailand Pass และมีกำหนดเดินทางเข้าไทยแบบ Test and Go ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 65 สามารถเดินทางเข้าไทยโดย "ใช้มาตรการใหม่"
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/345782757584462
เริ่มแล้ว 1 เมษายน ยกเลิก RT-PCR ก่อนเข้าประเทศ 72 ชม. ทุกกลุ่ม "นายกฯ" กำชับทุกฝ่ายปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเข้มงวด "การ์ดอย่าตก" ช่วยกันชะลอการติดเชื้อ
จากมติศบค. ล่าสุด ได้มีการปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ประเภท Test & Go , Sandbox และ Alternative Quarantine นั้น ให้ยกเลิกการตรวจ RT-PCR 72 ชั่วโมง ก่อนเดินทางเข้าประเทศทั้งสามกลุ่ม ลดระยะเวลาของการเดินทางเข้าไทยในรูปแบบ Sandbox เหลือ 5 วัน พร้อมปรับรูปแบบการตรวจหาเชื้อเมื่อมาถึงประเทศไทยและระหว่างพำนักในประเทศ
กรณี Test & Go, Sandbox ต้องได้รับการตรวจ RT-PCR ในวันแรกเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย และจากนั้นทำการตรวจ Self-ATK อีกครั้งในวันที่ 5 ในกรณี Quarantine ต้องตรวจ RT-PCR ในวันแรก และตรวจ RT-PCR ในวันที่ 4-5 ก่อนออกจากสถานที่กักตัว รวมทั้งการปรับลดการกักตัวเหลือ 5 วัน จากเดิม 7 วัน สำหรับนักเดินทางที่มาแบบ Sandbox และ Quarantine เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าประเทศภายใต้มาตรการสาธารณสุขที่มีความเข้มงวด ตามแนวทาง Covid Free Setting พร้อมฝากเตือนพี่น้องประชาชนให้ดูแลตนเองขั้นสูงสุด อย่าการ์ดตก ปฏิบัติตัวเองตามมาตรการต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะสามารถควบคุม ป้องกัน และชะลอการระบาดของโรคได้ โดยการผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งเพื่อดึงดูด นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจ ภายใต้มาตรการสาธารณสุขที่รัดกุมขั้นสูงสุด
https://www.facebook.com/anucha.b.dp/posts/435762748351964
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน❤3เม.ย.ไทยติดเชื้อใหม่Top10โลก/ป่วย26,840คน หาย23,412คน ตาย97คน/พบXEระบาดในกลุ่มสีเขียว/WHO เตือนXEแพร่เร็ว
https://www.sanook.com/news/8541502/
https://www.bangkokbiznews.com/social/997201
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2565 แฟนเพจ Center for Medical Genomics ของ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์ข้อความว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม "XE" ที่แพร่เชื้อติดต่อได้ง่ายและรวดเร็วกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่เราเคยประสบมา
"XE" เป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่างโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย "BA.1 X BA.2" ไม่ใช่ "เดลตาครอน" ซึ่งเป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง "เดลตา X โอมิครอน" WHO ยังไม่ตั้งชื่อให้อย่างเป็นทางการจนกว่า "XE" จะแสดงอาการทางคลินิกที่รุนแรงแตกต่างไปจากสายพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน
สำหรับสายพันธุ์ลูกผสม "เดลตาครอน" หรือ "XD" WHO แจ้งว่าไม่พบการระบาดที่รวดเร็ว (transmissibility) และอาการที่รุนแรง (severity) แต่ประการใด
ล่าสุด ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดีตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสม "XE" จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างส่งตรวจจากผู้ติดเชื้อ ชาวไทย 1 ราย และจากตรวจกรองด้วยเทคโนโลยี "Massarray Genotyping" พบสายพันธุ์ลูกผสม "เดลตาครอน (เดลตา X โอมิครอน)" อีก 1 ราย ซึ่งต้องยืนยันด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมอีกครั้งหนึ่ง
องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่า Covid-19 สายพันธุ์ใหม่ XE แพร่เชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์ BA.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนที่แพร่เชื้อได้มากที่สุดในขณะนี้ถึง 10%
รายงานระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ขององค์การอนามัยโลกฉบับล่าสุดที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมาระบุว่า Covid-19 สายพันธุ์ XE เป็นลูกผสมระหว่างโอมิครอนสายพันธุ์ BA.1 และสายพันธุ์ BA.2 หรือโอมิครอนล่องหนที่เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้
องค์การอนามัยโลกระบุอีกว่า XE ยังคงเป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนต่อไปจนกว่าองค์การอนามัยโลกจะตรวจพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของการแพร่เชื้อ ลักษณะอาการป่วย รวมทั้งความรุนแรงของโรคของสายพันธุ์ลูกผสมดังกล่าว
องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า จะติดตามอย่างใกล้ชิดและประเมินความเสี่ยงด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์ลูกผสม เช่น XE อย่างใกล้ชิด และจะอัพเดตข้อมูลเมื่อมีหลักฐานเพิ่มเติม
https://www.posttoday.com/social/general/679704?utm_source=dable
โอมิครอนxe พบรายแรกแล้วในไทย รุนแรงหรือไม่ จะเป็นสายพันธุ์หลักไหม อ่านเลยที่นี่ หมอเฉลิมชัยเผยข้อมูลจาก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ของไทย เป็นผู้ติดเชื้อชาวไทย ที่อยู่ในกลุ่มอาการสีเขียว
โอมิครอน XE กำลังเป็นไวรัสโควิด-19 (Covid-19) กลายพันธุ์ที่ทั่วโลกกำลังจับตา โดยองค์การอนามัยโลก (WHO)ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม XE ที่แพร่เชื้อติดต่อได้ง่ายและรวดเร็วกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่เราเคยประสบมา
น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า....👇
จากที่องค์การอนามัยโลกได้รายงานการตรวจพบไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ย่อยใหม่คือ Omicron XE ซึ่งเป็นลูกผสมที่เกิดจากการรวมกันของสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่ง (BA.1) และสายพันธุ์ย่อยที่สอง (BA.2)
โดยเริ่มพบที่ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก ตั้งแต่ 19 มีนาคม 2565 จำนวน 637 ราย และได้รายงานอย่างเป็นทางการไปแล้วนั้น
ข้อมูลเบื้องต้น (ที่ยังไม่สามารถจะสรุปอย่างเป็นทางการได้) พบว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (OMC XE : Omicron XE) มีความสามารถในการแพร่ระบาดเร็วกว่า BA.2 10% และแพร่เร็วกว่าไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์หลักเดิม (B.1.1.529) 43%
จึงทำให้ทุกประเทศจะต้องติดตามข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่กันอย่างใกล้ชิดต่อไป
เพราะในทุกครั้งที่มีการตรวจพบไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ที่มีความสามารถในการแพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์หลักเดิม ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดของไวรัสสายพันธุ์หลักของการระบาดในที่สุด ได้แก่
ไวรัส Alpha แพร่เร็วกว่าอู่ฮั่น 70% ในช่วงเมษายน 2564 ประเทศไทยก็มี Alpha เป็นสายพันธุ์หลักแทนสายพันธุ์อู่ฮั่น
ไวรัส Delta แพร่เร็วกว่าไวรัส Alpha 60% ในช่วงปลายปี 2564 Delta ก็เป็นสายพันธุ์หลักแทนสายพันธุ์ Alpha
ไวรัส Omicron แพร่เร็วกว่าไวรัส Delta 4-8 เท่า ในช่วงมกราคม 2565 ไวรัส Omicron ก็กลายเป็นสายพันธุ์หลักแทนไวรัส Delta
ในช่วงที่ Omicron ระบาดนั้น ช่วงแรกสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่ง (BA.1) เป็นสายพันธุ์หลักก่อน ในเวลาไม่นานนักสายพันธุ์ย่อยที่สอง (BA.2) ก็ปรากฏขึ้นในประเทศไทย และด้วยความสามารถที่แพร่เร็วกว่า 30-40% ในขณะนี้ BA.2 ก็กลายเป็นสายพันธุ์หลักไปเรียบร้อยแล้ว
ถ้าไวรัสสายพันธุ์ย่อยลูกผสม Omicron XE แพร่เร็วกว่าสายพันธุ์ย่อยที่สอง (BA.2) จริง ก็สามารถคาดคะเนได้ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทยต่อไป
อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการแพร่ระบาด ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความรุนแรงในการก่อโรค และการดื้อต่อวัคซีน
ล่าสุด ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ของไทย ได้รายงานพบผู้ติดเชื้อไวรัส Omicron XE เคสแรกของประเทศไทยแล้ว
โดยเป็นผู้ติดเชื้อชาวไทย ที่อยู่ในกลุ่มอาการสีเขียวคือ มีอาการเล็กน้อย และหายดีเรียบร้อยแล้ว
เมื่อพบเคสแรกแล้ว ก็คงจะเป็นเรื่องที่คาดคะเนได้ไม่ยากว่า จะมีการแพร่ระบาดต่อไปในที่สุด
ส่วนจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักแทน BA.2 หรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป
เพราะถ้าสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่า ก็จะส่งผลกระทบ ทำให้การเข้าสู่จุดสูงสุดในระลอกที่สี่หรือระลอกมกราคม 2565 ล่าช้าออกไปอีก
ส่วนความรุนแรงในการก่อโรค การดื้อต่อวัคซีน ก็จะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารกันต่อไป
ในกรณีที่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นในมิติการแพร่ระบาด ความรุนแรงในการก่อโรค ตลอดจนการดื้อต่อวัคซีน ทางองค์การอนามัยโลกก็จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการพร้อมทั้งตั้งชื่อเป็นอักษรกรีกโบราณลำดับถัดไปคือ “พาย” (Pi)
อย่างไรก็ดี WHO ประเมินว่าสายพันธุ์ลูกผสม “XE” มีอัตราการแพร่ระบาด (growth advantage) เหนือกว่า BA.2 ถึง 10% อย่างไรก็ตามยังต้องรอข้อมูลจากทั่วโลกที่ร่วมด้วยช่วยกันอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมอีกระยะหนึ่งเพื่อการยืนยัน”
ตามรายงานของสำนักงานบริการสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UK Health Services Agency) หรือ "UKHSA" ยืนยันเช่นเดียวกันว่าสายพันธุ์ลูกผสม “XE” สามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่า “BA.2” ประมาณ 10% และแพร่ได้รวดเร็วกว่าโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม (B.1.1.529) ถึง 43%
https://www.thansettakij.com/general-news/519910
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
ตามคาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น วันนี้ติดเชื้อใหม่ในTop10โลก
จำนวนยอดรวมไทยยังไม่เป็นTop10นะคะ
....💕💕