คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ก.ศ.ร. กุหลาบเป็นปัญญาชนที่ใฝ่รู้คนหนึ่งในยุคนั้น ศึกษารวบรวมเอกสารโบราณไว้จำนวนมากมาก ชอบคบหาสมาคมกับชาวต่างประเทศในสยาม รวมถึงเสาะหาเอกสารต่างประเทศที่บันทึกเรื่องประวัติศาสตร์ของไทยไว้หลายเรื่อง
งานเขียนของนายกุหลาบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อาจนับว่าเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ชั้นรอง (Secondary sources) เพราะอ้างอิงข้อมูลมาจากเอกสารอื่นๆ แต่เป็นหลักฐานที่มีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถืออยู่มาก เพราะพบหลักฐานว่านายกุหลาบอาศัยเอกสารโบราณที่มีอยู่จริงแต่งขยายความเพิ่มเติมหรือดัดแปลงให้ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ หรือแม้แต่แต่งเรื่องขึ้นเอง โดยอ้างถึงเอกสารที่ไม่เคยมีอยู่จริง เช่น อ้างว่าเนื้อหาที่ตนเองเขียนนำมาจากตำราจดหมายเหตุของเจ้านายขุนนางสมัยโบราณที่ตนเองได้รับสืบทอดมาเพื่อทำให้งานเขียนของตนเองดูน่าเชื่อถือ แต่ส่วนใหญ่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีเอกสารนั้นอยู่จริง บางชิ้นที่มีอยู่จริงตรวจสอบแล้วมีเนื้อหาไม่ตรงกับที่นายกุหลาบอ้าง
ผมขอยกตัวอย่างงานเขียนของนายกุหลาบใน สยามประเภท เล่ม 1 นายกุหลาบอ้างว่าคำว่า "เบี้ยหวัด" สมัยโบราณสะกดว่า "เบี้ยวรรษ" มีหลักฐานอยู่ในจารึกวัดป่าโมกข์ สมัยอยุทธยา
ให้เทียบกับจารึกวัดป่าโมกข์ของจริงทั้งสองหลัก
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/25965
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/25964
เห็นได้ว่านายกุหลาบเอาพระนามกษัตริย์ในตอนต้นของจารึกมาดัดแปลงให้พิสดารมากขึ้น แต่คงเพราะจารึกยาวมาก นายกุหลาบดัดแปลงหมดไม่ไหวจึงเปลี่ยนไปใช้วิธีการนำเสนอใจความสำคัญที่เหลือแทน โดยจารึกของจริงกล่าวถึง "พระราชสงคราม" ผู้รับผิดชอบชะลอพระพุทธไสยาสน์ไว้เพียงสั้นๆ ไม่ได้มีประวัติพิสดารอย่างที่นายกุหลาบอ้างว่าชื่อปาน อยู่ตำบลช่องนนทรี เป็นออกญาแล้วได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยา
ส่วนประโยคที่นายกุหลาบเขียนว่า "มีพระสุรสิงหนาทพระราชองการ เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม โปรฎพระราชทานเบี้ยวรรษ ขึ้นให้แก่เจ้าพญาราชสงครามอีกสามชัง" ไม่มีอยู่จริงในจารึกวัดป่าโมกข์
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่นายกุหลาบนำหลักฐานประวัติศาสตร์ที่มีอยู่จริงมาบิดเบือนแต่งเสริมเรื่องราวขึ้นเอง เพื่อพยายามทำให้คำอธิบายเรื่องทฤษฎีว่าคำว่า "เบี้ยหวัด" ในสมัยโบราณสะกด "เบี้ยวรรษ" ของตนเองดูน่าเชื่อถือมากขึ้น (แต่ทั้งนี้มีก็หลักฐานว่าสมัยก่อนมีการสะกดว่า 'เบี้ยวรรษ' จริงอยู่บ้าง)
เรื่องลำดับสกุลขุนนางต่างๆ ในมหามุขมาตยานุกูลวงศ์ บางสกุล เช่น สกุลบุนนาค สกุลเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ มีประวัติสายสกุลของตนอยู่จริง แต่นายกุหลาบเอามาแต่งเติมเพิ่มรายละเอียดเป็นความพิสดารมากขึ้นไปอีก และอย่างที่กล่าวคือหลายเรื่องไม่มีหลักฐานประวัติศาสตร์รองรับ เช่น อ้างว่าเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ที่โกษาธิบดีในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้เลื่อนเป็น "เจ้าพะญาวิไชยชำนาญยุทธวิสุทธิเดชอุดม บรมราชภักดีอภัยพิริยะปรากรมอรรคมหาเสนาบดีที่สมุหพระกระลาโหม" ถือศักดินา 20,000 ไร่ (หลักฐานประวัติศาสตร์ยังคงระบุว่าเป็นเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์อยู่ตลอดจนถึงแก่อสัญกรรม และการเลื่อนศักดินาขุนนางให้มากกว่า 10,000 ไร่ เพิ่งมีหลักฐานในรัชกาลที่ 4) ชื่อบุคคลหลายคนในลำดับสายสกุลต่างๆ เข้าใจว่านายกุหลาบจะแต่งขึ้นเอง เพราะไม่พบหลักฐานอื่นรองรับ
เอกสารอีกชิ้นคือ "อภินิหารบรรพบุรุษ" ที่บันทึกพระราชประวัติก่อนครองราชย์พระเจ้ากรุงธนบุรีกับรัชกาลที่ 1 และเป็นเอกสารที่ถูกอ้างอิงบ่อยครั้งจนกลายเป็นประวัติศาสตร์กระแสหลัก เรื่องราวจากเอกสารนี้เช่น พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นลูกขุนพัฒน์นายอากรบ่อนเบี้ย เมื่อประสูติมีงูมาพันตัวจนบิดาไปยกให้เป็นบุตรบุญธรรมเจ้าพระยาจักรี เรื่องที่ว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีกับรัชกาลที่ 1 ออกบิณฑบาตด้วยกันจนมีซินแสทำนายว่าจะได้เป็นกษัตริย์ หรือลำดับสกุลราชวงศ์จักรีจากโกษาปาน - เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) - พระยาราชนิกูล (ทองคำ) - พระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) - รัชกาลที่ 1 พิจารณาสำนวนแล้วเห็นชัดว่าเป็นงานเขียนของนายกุหลาบ และมีความขัดแย้งกับหลักฐานประวัติศาสตร์จำนวนมาก (นายกุหลาบมอบให้หอพระสมุดวชิรญาณ อ้างว่าคัดมาจากหนังสือหอหลวง คัดมาจากฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน แต่พิจารณาจากเนื้อหาเห็นได้ว่านายกุหลาบเอา 'ปฐมวงศ์' พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 ที่โปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก) เรียบเรียงมาแต่งเติม และปฐมวงศ์ก็เรียบเรียงขึ้นหลังจากสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์ไปแล้วด้วย) จนสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวิจารณ์ว่า อภินิหารบรรพบุรุษ ”เปนเครื่องมือของคนร้ายใช้ติเตียนพระราชวงศ์"
มีนักประวัติศาสตร์บางคนวิจารณ์ว่านายกุหลาบเป็นปัญญาชนที่ถูกชนชั้นสูงกลั่นแกล้งเพราะเป็นไพร่ นำเสนอประวัติศาสตร์โดยที่ชนชั้นสูงไม่ได้เห็นชอบ จึงถูกลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม แต่หากศึกษาจากงานเขียนของนายกุหลาบโดยละเอียด ผมเห็นว่าข้อกล่าวหาราชสำนักที่มีต่อนายกุหลาบ เช่น แสดงความเท็จอวดอ้างตนให้เขาเชื่อถือเช่นอวดอ้างว่ามีตำราซึ่งไม่มีจริง ปั้นความที่ไม่มีจริงขึ้นลวงให้คนเชื่อถือผิดๆ บิดเบือนความจริงเป็นเรื่องอื่น เสริมแต่งความจริงเกินกว่าเหตุ ฯลฯ ไม่ได้เกินเลยไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในงานเขียนของนายกุหลาบนักครับ
เรื่องข้อกล่าวหาของนายกุหลาบโดยละเอียดอ่านได้ที่ "ประกาศเรื่องประวัติสมเด็จพระสังฆราชที่นายกุหลาบเรียบเรียงลงพิมพ์นำขึ้นทูลเกล้าถวาย"
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/006/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/006/2.PDF
ส่วนตัวผมมองว่านายกุหลาบไม่ได้มีพื้นฐานความคิดแบบนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่จะต้องรวบรวมเรียบเรียงวิเคราะห์หลักฐานโดยไม่แทรกแซงแก้ไขแต่งเติมซึ่งเป็นแนวคิดที่ปรากฏในช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาโดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก แต่เขาเหมือนนักเขียนตำนานหรือพงศาวดารอย่างรัฐจารีตในแถบนี้ที่พยายามอธิบายอดีตโดยการเสริมแต่งเรื่องราวขึ้นเอง หรือแทรกแซงแก้ไขหลักฐานด้วยจุดประสงค์ต่างๆ ซึ่งในบริบทสมัยโบราณไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องผิด แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 มันกลายเป็นสิ่งที่ผิดไปจากบรรทัดฐานประวัติศาสตร์ราชสำนักยุคนั้นที่เริ่มหันมาศึกษาตามหลักเกณฑ์สมัยใหม่ครับ
เรื่องพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีพระนามว่า “เจ้าฟ้าอาภร” (ไม่มี ณ์) มีหลักฐานอยู่ในเอกสารคำให้การขุนหลวงหาวัดประดู่ทรงธรรมครับ ความว่า "อันพระมหาอุปราชนั้นพระนามเดิมนั้นชื่อเจ้าฟ้าอาภร ครั้นอยู่มาพระบิดาจึ่งประทานพระนามเรียกพระวรราชกุมาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียม ต้นฉบับเดิมก็สะกดว่า "เจ้าฟ้าภร" แต่ฉบับพิมพ์แก้เป็น "เจ้าฟ้าพร"
งานเขียนของนายกุหลาบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อาจนับว่าเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ชั้นรอง (Secondary sources) เพราะอ้างอิงข้อมูลมาจากเอกสารอื่นๆ แต่เป็นหลักฐานที่มีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถืออยู่มาก เพราะพบหลักฐานว่านายกุหลาบอาศัยเอกสารโบราณที่มีอยู่จริงแต่งขยายความเพิ่มเติมหรือดัดแปลงให้ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ หรือแม้แต่แต่งเรื่องขึ้นเอง โดยอ้างถึงเอกสารที่ไม่เคยมีอยู่จริง เช่น อ้างว่าเนื้อหาที่ตนเองเขียนนำมาจากตำราจดหมายเหตุของเจ้านายขุนนางสมัยโบราณที่ตนเองได้รับสืบทอดมาเพื่อทำให้งานเขียนของตนเองดูน่าเชื่อถือ แต่ส่วนใหญ่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีเอกสารนั้นอยู่จริง บางชิ้นที่มีอยู่จริงตรวจสอบแล้วมีเนื้อหาไม่ตรงกับที่นายกุหลาบอ้าง
ผมขอยกตัวอย่างงานเขียนของนายกุหลาบใน สยามประเภท เล่ม 1 นายกุหลาบอ้างว่าคำว่า "เบี้ยหวัด" สมัยโบราณสะกดว่า "เบี้ยวรรษ" มีหลักฐานอยู่ในจารึกวัดป่าโมกข์ สมัยอยุทธยา
ให้เทียบกับจารึกวัดป่าโมกข์ของจริงทั้งสองหลัก
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/25965
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/25964
เห็นได้ว่านายกุหลาบเอาพระนามกษัตริย์ในตอนต้นของจารึกมาดัดแปลงให้พิสดารมากขึ้น แต่คงเพราะจารึกยาวมาก นายกุหลาบดัดแปลงหมดไม่ไหวจึงเปลี่ยนไปใช้วิธีการนำเสนอใจความสำคัญที่เหลือแทน โดยจารึกของจริงกล่าวถึง "พระราชสงคราม" ผู้รับผิดชอบชะลอพระพุทธไสยาสน์ไว้เพียงสั้นๆ ไม่ได้มีประวัติพิสดารอย่างที่นายกุหลาบอ้างว่าชื่อปาน อยู่ตำบลช่องนนทรี เป็นออกญาแล้วได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยา
ส่วนประโยคที่นายกุหลาบเขียนว่า "มีพระสุรสิงหนาทพระราชองการ เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม โปรฎพระราชทานเบี้ยวรรษ ขึ้นให้แก่เจ้าพญาราชสงครามอีกสามชัง" ไม่มีอยู่จริงในจารึกวัดป่าโมกข์
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่นายกุหลาบนำหลักฐานประวัติศาสตร์ที่มีอยู่จริงมาบิดเบือนแต่งเสริมเรื่องราวขึ้นเอง เพื่อพยายามทำให้คำอธิบายเรื่องทฤษฎีว่าคำว่า "เบี้ยหวัด" ในสมัยโบราณสะกด "เบี้ยวรรษ" ของตนเองดูน่าเชื่อถือมากขึ้น (แต่ทั้งนี้มีก็หลักฐานว่าสมัยก่อนมีการสะกดว่า 'เบี้ยวรรษ' จริงอยู่บ้าง)
เรื่องลำดับสกุลขุนนางต่างๆ ในมหามุขมาตยานุกูลวงศ์ บางสกุล เช่น สกุลบุนนาค สกุลเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ มีประวัติสายสกุลของตนอยู่จริง แต่นายกุหลาบเอามาแต่งเติมเพิ่มรายละเอียดเป็นความพิสดารมากขึ้นไปอีก และอย่างที่กล่าวคือหลายเรื่องไม่มีหลักฐานประวัติศาสตร์รองรับ เช่น อ้างว่าเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ที่โกษาธิบดีในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้เลื่อนเป็น "เจ้าพะญาวิไชยชำนาญยุทธวิสุทธิเดชอุดม บรมราชภักดีอภัยพิริยะปรากรมอรรคมหาเสนาบดีที่สมุหพระกระลาโหม" ถือศักดินา 20,000 ไร่ (หลักฐานประวัติศาสตร์ยังคงระบุว่าเป็นเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์อยู่ตลอดจนถึงแก่อสัญกรรม และการเลื่อนศักดินาขุนนางให้มากกว่า 10,000 ไร่ เพิ่งมีหลักฐานในรัชกาลที่ 4) ชื่อบุคคลหลายคนในลำดับสายสกุลต่างๆ เข้าใจว่านายกุหลาบจะแต่งขึ้นเอง เพราะไม่พบหลักฐานอื่นรองรับ
เอกสารอีกชิ้นคือ "อภินิหารบรรพบุรุษ" ที่บันทึกพระราชประวัติก่อนครองราชย์พระเจ้ากรุงธนบุรีกับรัชกาลที่ 1 และเป็นเอกสารที่ถูกอ้างอิงบ่อยครั้งจนกลายเป็นประวัติศาสตร์กระแสหลัก เรื่องราวจากเอกสารนี้เช่น พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นลูกขุนพัฒน์นายอากรบ่อนเบี้ย เมื่อประสูติมีงูมาพันตัวจนบิดาไปยกให้เป็นบุตรบุญธรรมเจ้าพระยาจักรี เรื่องที่ว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีกับรัชกาลที่ 1 ออกบิณฑบาตด้วยกันจนมีซินแสทำนายว่าจะได้เป็นกษัตริย์ หรือลำดับสกุลราชวงศ์จักรีจากโกษาปาน - เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) - พระยาราชนิกูล (ทองคำ) - พระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) - รัชกาลที่ 1 พิจารณาสำนวนแล้วเห็นชัดว่าเป็นงานเขียนของนายกุหลาบ และมีความขัดแย้งกับหลักฐานประวัติศาสตร์จำนวนมาก (นายกุหลาบมอบให้หอพระสมุดวชิรญาณ อ้างว่าคัดมาจากหนังสือหอหลวง คัดมาจากฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน แต่พิจารณาจากเนื้อหาเห็นได้ว่านายกุหลาบเอา 'ปฐมวงศ์' พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 ที่โปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก) เรียบเรียงมาแต่งเติม และปฐมวงศ์ก็เรียบเรียงขึ้นหลังจากสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์ไปแล้วด้วย) จนสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวิจารณ์ว่า อภินิหารบรรพบุรุษ ”เปนเครื่องมือของคนร้ายใช้ติเตียนพระราชวงศ์"
มีนักประวัติศาสตร์บางคนวิจารณ์ว่านายกุหลาบเป็นปัญญาชนที่ถูกชนชั้นสูงกลั่นแกล้งเพราะเป็นไพร่ นำเสนอประวัติศาสตร์โดยที่ชนชั้นสูงไม่ได้เห็นชอบ จึงถูกลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม แต่หากศึกษาจากงานเขียนของนายกุหลาบโดยละเอียด ผมเห็นว่าข้อกล่าวหาราชสำนักที่มีต่อนายกุหลาบ เช่น แสดงความเท็จอวดอ้างตนให้เขาเชื่อถือเช่นอวดอ้างว่ามีตำราซึ่งไม่มีจริง ปั้นความที่ไม่มีจริงขึ้นลวงให้คนเชื่อถือผิดๆ บิดเบือนความจริงเป็นเรื่องอื่น เสริมแต่งความจริงเกินกว่าเหตุ ฯลฯ ไม่ได้เกินเลยไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในงานเขียนของนายกุหลาบนักครับ
เรื่องข้อกล่าวหาของนายกุหลาบโดยละเอียดอ่านได้ที่ "ประกาศเรื่องประวัติสมเด็จพระสังฆราชที่นายกุหลาบเรียบเรียงลงพิมพ์นำขึ้นทูลเกล้าถวาย"
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/006/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/006/2.PDF
ส่วนตัวผมมองว่านายกุหลาบไม่ได้มีพื้นฐานความคิดแบบนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่จะต้องรวบรวมเรียบเรียงวิเคราะห์หลักฐานโดยไม่แทรกแซงแก้ไขแต่งเติมซึ่งเป็นแนวคิดที่ปรากฏในช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาโดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก แต่เขาเหมือนนักเขียนตำนานหรือพงศาวดารอย่างรัฐจารีตในแถบนี้ที่พยายามอธิบายอดีตโดยการเสริมแต่งเรื่องราวขึ้นเอง หรือแทรกแซงแก้ไขหลักฐานด้วยจุดประสงค์ต่างๆ ซึ่งในบริบทสมัยโบราณไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องผิด แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 มันกลายเป็นสิ่งที่ผิดไปจากบรรทัดฐานประวัติศาสตร์ราชสำนักยุคนั้นที่เริ่มหันมาศึกษาตามหลักเกณฑ์สมัยใหม่ครับ
เรื่องพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีพระนามว่า “เจ้าฟ้าอาภร” (ไม่มี ณ์) มีหลักฐานอยู่ในเอกสารคำให้การขุนหลวงหาวัดประดู่ทรงธรรมครับ ความว่า "อันพระมหาอุปราชนั้นพระนามเดิมนั้นชื่อเจ้าฟ้าอาภร ครั้นอยู่มาพระบิดาจึ่งประทานพระนามเรียกพระวรราชกุมาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียม ต้นฉบับเดิมก็สะกดว่า "เจ้าฟ้าภร" แต่ฉบับพิมพ์แก้เป็น "เจ้าฟ้าพร"
แสดงความคิดเห็น
งานเขียนของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ถือว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไหมครับ
แต่หนังสือเล่มนี้มีคำพิศดารแปลกๆ เช่น พระนามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (เจ้าฟ้าพร) ตอนที่ยังเป็นกรมพระราชวังบวร ก็เรียกว่า เจ้าฟ้าอาภรณ์
อ่าน จดหมายเหตุ เรื่องไต่สวนนายกุหลาบ ซึ่งแต่ประวัติสมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว สา)
ก็ไปเจอสำเนาพระราชหัตถเลขา ก็ว่าเป็นถ้อยคำอันไม่น่าเชื่อ ถึงขั้นทรงรับสั่งห้ามใครเชื่อถือเรื่องประวัติสมเด็จพระสังฆราช ที่ ก.ศ.ร. กุหลาบ แต่งขึ้น
จึงอยากสอบถามผู้ชำนาญด้านประวัติศาสตร์ ผู้ชอบศึกษาประวัติศาสตร์ คิดเห็นยังไงกับ งานเขียน ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ครับ
ผมไม่แน่ใจว่าจะเหมือนกับกรณี เอี๊ยะเม๊ง อักษรมัต ที่กล่าวในหนังสือพระประวัติสมเด็จเจ้ากรุงธนบุรี ว่าพระเจ้าตากไม่ได้ถูกสำเร็จโทษ แต่สิ้นพระชนม์ที่เมืองนครศรีธรรมราช สุดท้ายก็โดนทางการเก็บเรียบ หรือเปล่า
ขอบคุณครับ