โควิโควิดวันนี้ ติดเชื้อใหม่ 25,389 ราย เสียชีวิต 87 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3260595
โควิดวันนี้ ติดเชื้อใหม่ 25,389 ราย เสียชีวิต 87 ราย
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 25,389 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 25,342 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 47 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,377,352 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 26,084 ราย หายป่วยสะสม 1,162,876 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 244,372 ราย เสียชีวิต 87 ราย จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,727 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 22 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 28.7
นพ.ธีระ ชี้ สังคมควรตาสว่าง โควิดน่ากลัว อย่าหลงเชื่อปชส.ให้คนเข้าใจผิด
https://www.nationtv.tv/news/378868449
นพ.ธีระ ฟาด โควิด ไม่กระจอก ชี้ สังคมควรตาสว่าง อย่าหลงเชื่อคำประชาสัมพันธ์ให้คนเข้าใจผิด ชี้ แต่ละระลอกรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ Omicron แม้รุนแรงน้อย แต่ติดง่าย ป่วยได้ ตายได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ แม้จะได้รับวัคซีนไปกี่เข็ม หรือไม่ได้รับก็ตาม
30 มีนาคม 2565
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก "
Thira Woratanarat" ระบุว่า
ทะลุ 484 ล้าน เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,451,025 คน ตายเพิ่ม 3,864 คน รวมแล้วติดไปรวม 484,860,599 คน เสียชีวิตรวม 6,155,677 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี และออสเตรเลีย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.01 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 70.08 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 33.73 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 23.44
...สถานการณ์ระบาดของไทย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย
ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก
...โควิด-19 ไม่กระจอก
...โควิด-19 ไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดา
...โควิด-19 ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับไวรัสอื่นในอดีตแล้วตีขลุมว่าเหมือนกัน
โควิด-19 เป็นโรคใหม่ ที่โลกเพิ่งรู้จักมาไม่กี่ปี เราทราบกันชัดเจนว่าทำให้เกิดการระบาดทั่วโลกอย่างรุนแรงที่สุดในรอบกว่าร้อยปีที่ผ่านมา ดังที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศไปแล้ว
เชื้อไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ไปหลากหลายสายพันธุ์ และทำให้เกิดการระบาดหลายระลอก แต่ละระลอกมีความหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่สายพันธุ์ดั้งเดิมจากอู่ฮั่น สายพันธุ์จี อัลฟ่า เบต้า เดลต้า และโอไมครอนในปัจจุบัน
แม้ปัจจุบันโอไมครอนจะดูรุนแรงน้อยกว่าเดลต้า เพราะลงปอดน้อยลง อยู่ในทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น แต่แลกมาด้วยสมรรถนะการแพร่เชื้อติดเชื้อที่เร็วกว่าเดลต้าอย่างมาก จำนวนการติดเชื้อจึงมหาศาลทั่วโลก แม้ความรุนแรงเฉลี่ยจะน้อยลง แต่ก็ยังทำให้จำนวนจริงของการป่วยและการตายก็ยังอยู่ในระดับที่สูงอยู่ดี
"โควิด-19 ไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดาสำหรับทุกคน"
ประโยคข้างต้นมาจากข่าวที่มีครอบครัวสูญเสียเด็กเล็กจากการติดโควิด-19 มีไข้สูง และไปรักษาที่รพ.ได้เพียง 10 ชั่วโมงก่อนเสียชีวิต
สังคมควรตาสว่าง ไม่หลงเชื่อกับความเชื่องมงายหรือแนวคิดที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็น "กระจอก เอาอยู่ ธรรมดา เพียงพอ" หรือแม้แต่โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนเข้าใจผิดว่า ติดๆ ไปเหอะ ไม่เป็นไรหรอก ติดๆ ไปเหอะจะได้มีภูมิ หรือติดหลายๆ ครั้ง อาการจะน้อยลง เพราะจะมีภูมิ เป็นกันเยอะๆ จะได้เป็นโรคประจำถิ่น
หากไม่รู้เท่าทัน ไม่ติด ไม่ป่วย ไม่ตาย ไม่สูญเสีย...จะไม่มีทางเข้าใจ
ย้ำอีกครั้งว่า Omicron แม้จะรุนแรงน้อยกว่าเดลต้า แต่ติดง่าย ป่วยได้ ตายได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่เสี่ยง นอกจากนี้แม้จะได้รับวัคซีนไปกี่เข็ม หรือไม่ได้รับก็ตาม ดังนั้นการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นกิจวัตร ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่เราทุกคนควรปฏิบัติ ต้องเน้นย้ำว่าการฉีดวัคซีนมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงลงได้ แต่ไม่ได้การันตี 100%
ในขณะที่คนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ก็สามารถติดเชื้อซ้ำได้ หากไม่ป้องกันตัว ความรู้ทางการแพทย์ปัจจุบันนั้นยังไม่สามารถฟันธงว่าติดเชื้อซ้ำแล้วจะอาการน้อยลงเสมอไป เพราะสายพันธุ์ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา งานวิจัยหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เม็กซิโก ฯลฯ ก็มีสะท้อนให้เห็นว่าความรุนแรงจากการติดเชื้อซ้ำอาจไม่ได้แตกต่างจากการติดเชื้อครั้งแรก
นอกจากนี้ความรู้เกี่ยวกับภาวะผิดปกติระยะยาว หรือ Long COVID ที่เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อนั้นมีชัดเจน ยิ่งติดเชื้อซ้ำก็ยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะดังกล่าวมากขึ้นได้ ดังนั้นการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อจึงเป็นแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกว่าการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำให้เกิดความประมาทในการใช้ชีวิต
ใส่หน้ากากเสมอ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนอื่นเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น หากไม่สบาย ควรแจ้งคนใกล้ชิด แยกตัว หยุดเรียนหยุดงาน ไปตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน
คนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ควรป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ และหมั่นตรวจสอบสุขภาพของตนเอง หากผิดปกติต่างจากอดีต ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจ และดูแลรักษาหากเป็น Long COVID ตั้งแต่เนิ่นๆ
โควิด-19 ติด...ไม่ใช่แค่คุณ
ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10224098611125525
วิจัยกรุงศรี หั่น GDP ปีนี้เหลือ 2.8% คาดวิกฤตยูเครนกระทบส่งออก-ท่องเที่ยวไทย
https://www.infoquest.co.th/2022/187495
วิจัยกรุงศรี ระบุว่า แม้ภาคส่งออกและท่องเที่ยวเดือนก.พ. ปรับดีขึ้น แต่ในระยะถัดไปอาจต้องเผชิญผลกระทบจากวิกฤตยูเครน โดยล่าสุดได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้ลงเหลือ 2.8% จากเดิมคาด 3.7% จากการสู้รบในยูเครนอาจยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาส 2 ชาติตะวันตกดำเนินมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียรุนแรงขึ้น (ยกเว้นพลังงาน) รวมถึงปรับลดมูลค่าการส่งออกปีนี้เหลือโต 2.6% จากเดิมคาด 5% และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ อยู่ที่ 5.5 ล้านคน จากเดิมคาด 7.5 ล้านคน
ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกเดือนก.พ. อยู่ที่ 23.48 พันล้านดอลาร์ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ที่ 16.2% เทียบกับเดือนม.ค. ที่ 21.26 พันล้านดอลลาร์ (+8.0%) ปัจจัยหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักทั่วโลก อยู่ในทิศทางการฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วงต้นปี เช่นเดียวกับภาคท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยในเดือนก.พ. มีจำนวน 152,954 คน จาก 133,903 คน ในเดือนก่อน นำโดยนักท่องเที่ยวรัสเซีย เยอรมนี และฝรั่งเศส
ทั้งนี้ ในช่วงต้นปี (ม.ค.-ก.พ.) เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านต่างประเทศของไทย มีสัญญาณเชิงบวกทั้งภาคส่งออกและภาคท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ในระยะถัดไปยังมีปัจจัยลบ จากผลกระทบของการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ปะทุขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนก.พ. และมีความเสี่ยงจะยืดเยื้อไปถึงไตรมาส 2
อย่างไรก็ดี แม้ผลกระทบทางตรงต่อการส่งออกของไทยอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากการส่งออกไปรัสเซียและยูเครนคิดเป็นเพียง 0.38% และ 0.05% ของการส่งออกทั้งหมดของไทยในปี 64 ตามลำดับ แต่ผลกระทบทางอ้อมค่อนข้างมีนัยสำคัญ เนื่องจาก
1. ต้นทุนการผลิตและการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นตามราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่พุ่งขึ้น
2. มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอาจกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในหลายอุตสาหกรรม เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบสำคัญรายใหญ่
และ 3. ผลเชิงลบต่อรายได้และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปที่เป็นตลาดหลักของการส่งออกและท่องเที่ยวของไทย
ล่าสุดวิจัยกรุงศรี ประเมินในกรณีฐานการสู้รบในยูเครน จะส่งผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกของไทยลดลง 3.0% แต่คาดว่าจะได้อานิสงส์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้น จึงปรับลดคาดการณ์มูลค่าการส่งออก (ในรูปดอลลาร์) ในปีนี้เติบโตที่ 2.6% จากเดิมคาดขยายตัว 5.0% ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ปรับลดลงเหลือ 5.5 ล้านคน จากเดิมคาด 7.5 ล้านคน
สำหรับมาตรการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตพลังงานวงเงินกว่า 8 หมื่นล้านบาท ทางการคาด GDP ยังเติบโตได้ที่ 3% ล่าสุดรัฐบาลอนุมัติ 10 มาตรการลดภาระค่าครองชีพช่วยเหลือประชาชน เป็นมาตรการระยะสั้น 3 เดือน คาดจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่เดือนพ.ค.-ก.ค. 65
ทั้งนี้ รัฐบาลระบุวงเงินที่ใช้สำหรับดำเนินมาตรการข้างต้นรวมทั้งสิ้น 80,247 ล้านบาท แบ่งเป็น กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินกู้) วงเงิน 39,520 ล้านบาท, กองทุนประกันสังคม (ปรับลดเงินสมทบ) วงเงิน 35,224 ล้านบาท, งบกลางจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 65 วงเงิน 3,740 ล้านบาท และ บมจ.ปตท. (PTT) วงเงิน 1,763 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี ทางการดำเนินมาตรการระยะสั้น เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน (ราว 40 ล้านคน) ภายใต้การประเมินสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนเบื้องต้นอาจนาน 3 เดือน ผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลต่อ GDP และอัตราเงินเฟ้อ เป็น 3 กรณี คือ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 100 ดอลลาร์/บาร์เรล ราคาดีเซลเฉลี่ย 33 บาท/ลิตร อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 5.0% GDP โต 3.5%
2. ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 125 ดอลลาร์/บาร์เรล ราคาดีเซลเฉลี่ย 40 บาท/ลิตร อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 6.2% GDP โต 3.2%
3. ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 150 ดอลลาร์/บาร์เรล ราคาดีเซลเฉลี่ย 46 บาท/ลิตร อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 7.2% GDP โต 3.0%
JJNY : ติดเชื้อ25,389 เสียชีวิต87│นพ.ธีระชี้สังคมควรตาสว่าง│วิจัยกรุงศรีหั่น GDP เหลือ 2.8%│“ชัชชาติ” ลงพื้นที่หนองจอก
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3260595
โควิดวันนี้ ติดเชื้อใหม่ 25,389 ราย เสียชีวิต 87 ราย
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 25,389 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 25,342 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 47 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,377,352 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 26,084 ราย หายป่วยสะสม 1,162,876 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 244,372 ราย เสียชีวิต 87 ราย จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,727 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 22 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 28.7
นพ.ธีระ ชี้ สังคมควรตาสว่าง โควิดน่ากลัว อย่าหลงเชื่อปชส.ให้คนเข้าใจผิด
https://www.nationtv.tv/news/378868449
นพ.ธีระ ฟาด โควิด ไม่กระจอก ชี้ สังคมควรตาสว่าง อย่าหลงเชื่อคำประชาสัมพันธ์ให้คนเข้าใจผิด ชี้ แต่ละระลอกรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ Omicron แม้รุนแรงน้อย แต่ติดง่าย ป่วยได้ ตายได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ แม้จะได้รับวัคซีนไปกี่เข็ม หรือไม่ได้รับก็ตาม
30 มีนาคม 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat" ระบุว่า
ทะลุ 484 ล้าน เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,451,025 คน ตายเพิ่ม 3,864 คน รวมแล้วติดไปรวม 484,860,599 คน เสียชีวิตรวม 6,155,677 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี และออสเตรเลีย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.01 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 70.08 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 33.73 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 23.44
...สถานการณ์ระบาดของไทย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย
ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก
...โควิด-19 ไม่กระจอก
...โควิด-19 ไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดา
...โควิด-19 ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับไวรัสอื่นในอดีตแล้วตีขลุมว่าเหมือนกัน
โควิด-19 เป็นโรคใหม่ ที่โลกเพิ่งรู้จักมาไม่กี่ปี เราทราบกันชัดเจนว่าทำให้เกิดการระบาดทั่วโลกอย่างรุนแรงที่สุดในรอบกว่าร้อยปีที่ผ่านมา ดังที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศไปแล้ว
เชื้อไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ไปหลากหลายสายพันธุ์ และทำให้เกิดการระบาดหลายระลอก แต่ละระลอกมีความหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่สายพันธุ์ดั้งเดิมจากอู่ฮั่น สายพันธุ์จี อัลฟ่า เบต้า เดลต้า และโอไมครอนในปัจจุบัน
แม้ปัจจุบันโอไมครอนจะดูรุนแรงน้อยกว่าเดลต้า เพราะลงปอดน้อยลง อยู่ในทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น แต่แลกมาด้วยสมรรถนะการแพร่เชื้อติดเชื้อที่เร็วกว่าเดลต้าอย่างมาก จำนวนการติดเชื้อจึงมหาศาลทั่วโลก แม้ความรุนแรงเฉลี่ยจะน้อยลง แต่ก็ยังทำให้จำนวนจริงของการป่วยและการตายก็ยังอยู่ในระดับที่สูงอยู่ดี
"โควิด-19 ไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดาสำหรับทุกคน"
ประโยคข้างต้นมาจากข่าวที่มีครอบครัวสูญเสียเด็กเล็กจากการติดโควิด-19 มีไข้สูง และไปรักษาที่รพ.ได้เพียง 10 ชั่วโมงก่อนเสียชีวิต
สังคมควรตาสว่าง ไม่หลงเชื่อกับความเชื่องมงายหรือแนวคิดที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็น "กระจอก เอาอยู่ ธรรมดา เพียงพอ" หรือแม้แต่โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนเข้าใจผิดว่า ติดๆ ไปเหอะ ไม่เป็นไรหรอก ติดๆ ไปเหอะจะได้มีภูมิ หรือติดหลายๆ ครั้ง อาการจะน้อยลง เพราะจะมีภูมิ เป็นกันเยอะๆ จะได้เป็นโรคประจำถิ่น
หากไม่รู้เท่าทัน ไม่ติด ไม่ป่วย ไม่ตาย ไม่สูญเสีย...จะไม่มีทางเข้าใจ
ย้ำอีกครั้งว่า Omicron แม้จะรุนแรงน้อยกว่าเดลต้า แต่ติดง่าย ป่วยได้ ตายได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่เสี่ยง นอกจากนี้แม้จะได้รับวัคซีนไปกี่เข็ม หรือไม่ได้รับก็ตาม ดังนั้นการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นกิจวัตร ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่เราทุกคนควรปฏิบัติ ต้องเน้นย้ำว่าการฉีดวัคซีนมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงลงได้ แต่ไม่ได้การันตี 100%
ในขณะที่คนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ก็สามารถติดเชื้อซ้ำได้ หากไม่ป้องกันตัว ความรู้ทางการแพทย์ปัจจุบันนั้นยังไม่สามารถฟันธงว่าติดเชื้อซ้ำแล้วจะอาการน้อยลงเสมอไป เพราะสายพันธุ์ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา งานวิจัยหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เม็กซิโก ฯลฯ ก็มีสะท้อนให้เห็นว่าความรุนแรงจากการติดเชื้อซ้ำอาจไม่ได้แตกต่างจากการติดเชื้อครั้งแรก
นอกจากนี้ความรู้เกี่ยวกับภาวะผิดปกติระยะยาว หรือ Long COVID ที่เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อนั้นมีชัดเจน ยิ่งติดเชื้อซ้ำก็ยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะดังกล่าวมากขึ้นได้ ดังนั้นการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อจึงเป็นแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกว่าการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำให้เกิดความประมาทในการใช้ชีวิต
ใส่หน้ากากเสมอ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนอื่นเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น หากไม่สบาย ควรแจ้งคนใกล้ชิด แยกตัว หยุดเรียนหยุดงาน ไปตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน
คนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ควรป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ และหมั่นตรวจสอบสุขภาพของตนเอง หากผิดปกติต่างจากอดีต ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจ และดูแลรักษาหากเป็น Long COVID ตั้งแต่เนิ่นๆ
โควิด-19 ติด...ไม่ใช่แค่คุณ
ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10224098611125525
วิจัยกรุงศรี หั่น GDP ปีนี้เหลือ 2.8% คาดวิกฤตยูเครนกระทบส่งออก-ท่องเที่ยวไทย
https://www.infoquest.co.th/2022/187495
วิจัยกรุงศรี ระบุว่า แม้ภาคส่งออกและท่องเที่ยวเดือนก.พ. ปรับดีขึ้น แต่ในระยะถัดไปอาจต้องเผชิญผลกระทบจากวิกฤตยูเครน โดยล่าสุดได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้ลงเหลือ 2.8% จากเดิมคาด 3.7% จากการสู้รบในยูเครนอาจยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาส 2 ชาติตะวันตกดำเนินมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียรุนแรงขึ้น (ยกเว้นพลังงาน) รวมถึงปรับลดมูลค่าการส่งออกปีนี้เหลือโต 2.6% จากเดิมคาด 5% และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ อยู่ที่ 5.5 ล้านคน จากเดิมคาด 7.5 ล้านคน
ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกเดือนก.พ. อยู่ที่ 23.48 พันล้านดอลาร์ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ที่ 16.2% เทียบกับเดือนม.ค. ที่ 21.26 พันล้านดอลลาร์ (+8.0%) ปัจจัยหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักทั่วโลก อยู่ในทิศทางการฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วงต้นปี เช่นเดียวกับภาคท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยในเดือนก.พ. มีจำนวน 152,954 คน จาก 133,903 คน ในเดือนก่อน นำโดยนักท่องเที่ยวรัสเซีย เยอรมนี และฝรั่งเศส
ทั้งนี้ ในช่วงต้นปี (ม.ค.-ก.พ.) เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านต่างประเทศของไทย มีสัญญาณเชิงบวกทั้งภาคส่งออกและภาคท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ในระยะถัดไปยังมีปัจจัยลบ จากผลกระทบของการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ปะทุขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนก.พ. และมีความเสี่ยงจะยืดเยื้อไปถึงไตรมาส 2
อย่างไรก็ดี แม้ผลกระทบทางตรงต่อการส่งออกของไทยอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากการส่งออกไปรัสเซียและยูเครนคิดเป็นเพียง 0.38% และ 0.05% ของการส่งออกทั้งหมดของไทยในปี 64 ตามลำดับ แต่ผลกระทบทางอ้อมค่อนข้างมีนัยสำคัญ เนื่องจาก
1. ต้นทุนการผลิตและการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นตามราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่พุ่งขึ้น
2. มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอาจกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในหลายอุตสาหกรรม เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบสำคัญรายใหญ่
และ 3. ผลเชิงลบต่อรายได้และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปที่เป็นตลาดหลักของการส่งออกและท่องเที่ยวของไทย
ล่าสุดวิจัยกรุงศรี ประเมินในกรณีฐานการสู้รบในยูเครน จะส่งผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกของไทยลดลง 3.0% แต่คาดว่าจะได้อานิสงส์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้น จึงปรับลดคาดการณ์มูลค่าการส่งออก (ในรูปดอลลาร์) ในปีนี้เติบโตที่ 2.6% จากเดิมคาดขยายตัว 5.0% ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ปรับลดลงเหลือ 5.5 ล้านคน จากเดิมคาด 7.5 ล้านคน
สำหรับมาตรการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตพลังงานวงเงินกว่า 8 หมื่นล้านบาท ทางการคาด GDP ยังเติบโตได้ที่ 3% ล่าสุดรัฐบาลอนุมัติ 10 มาตรการลดภาระค่าครองชีพช่วยเหลือประชาชน เป็นมาตรการระยะสั้น 3 เดือน คาดจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่เดือนพ.ค.-ก.ค. 65
ทั้งนี้ รัฐบาลระบุวงเงินที่ใช้สำหรับดำเนินมาตรการข้างต้นรวมทั้งสิ้น 80,247 ล้านบาท แบ่งเป็น กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินกู้) วงเงิน 39,520 ล้านบาท, กองทุนประกันสังคม (ปรับลดเงินสมทบ) วงเงิน 35,224 ล้านบาท, งบกลางจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 65 วงเงิน 3,740 ล้านบาท และ บมจ.ปตท. (PTT) วงเงิน 1,763 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี ทางการดำเนินมาตรการระยะสั้น เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน (ราว 40 ล้านคน) ภายใต้การประเมินสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนเบื้องต้นอาจนาน 3 เดือน ผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลต่อ GDP และอัตราเงินเฟ้อ เป็น 3 กรณี คือ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 100 ดอลลาร์/บาร์เรล ราคาดีเซลเฉลี่ย 33 บาท/ลิตร อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 5.0% GDP โต 3.5%
2. ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 125 ดอลลาร์/บาร์เรล ราคาดีเซลเฉลี่ย 40 บาท/ลิตร อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 6.2% GDP โต 3.2%
3. ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 150 ดอลลาร์/บาร์เรล ราคาดีเซลเฉลี่ย 46 บาท/ลิตร อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 7.2% GDP โต 3.0%