เดี๋ยวนี้เรามีมาตรฐานการทำงานที่ดูแปลกออกไปหรือเปล่า

อย่างคดีของคุณโรม กับป่ารอยต่อเห็นทางโฆษกศาลออกมาชี้แจงขั้นตอนดูแล้วมันแปลกๆ
1. ใช้คำว่า "ผู้ต้องหา"
2. ตร.ขอออกหมายจับ 3 ครั้ง
3. ผู้ร้องยืนยันว่าได้ทำการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน "จนเสร็จสิ้น"
4. ข้ออ้างที่ "ผู้ต้องหา" ไม่เข้ามาพบ แล้วสรุปว่าฟังไม่ขึ้น(ไม่อาจรับฟังได้) และให้สันนิษฐานว่า "ผู้ต้องหาจะหลบหนี"
5. จึงเป็นกรณีที่มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดอาญา และมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนีไม่ยอมมาพบผู้ร้องตามหมายเรียก
6. อัยการ สั่งให้เลื่อนการฟ้องคดี เหตุจาก "ทำสำนวนไม่เรียบร้อย"

-เอาประเด็นผู้ต้องหาก่อน
 “ผู้ต้องหา” หมายความถึงบุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล

 จะใช้คำเรียกว่า "ผู้ต้องหา" ผู้กล่าวหา ควรมีหลักฐานหรือมีบุคคล ยืนยันชัดเจน ว่าได้กระทำความผิด
 ถ้าเพียง สันนิษฐานว่าน่าจะได้กระทำความผิดโดยไม่มีหลักฐานชัดเจน น่าจะใชัคำเรียกว่า "ผู้ต้องสงสัย"

-ออกหมายจับ
 ก็มี 2 เหตุผล 1.คือโทษตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป (คดีนี้ไม่เข้าข่าย) หรือ 2. มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี
 แต่ประเด็นในทั้ง 2 ข้อ ต้องเริ่มด้วยการมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้ทำความผิดอาญา

 เท่าที่อ่านดูเหมือนว่าจะออกหมายเรียกไปแล้ว "ผู้ต้องหา"ร้องไห้ตามที่อ้างไว้) ไม่เข้าพบ แล้วโยงไปว่า "มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี" ถึงออกหมายจับ
 ตรงนี้เราดูแปลกๆ ที่ไม่มีการยืนยันหรือกล่าวอ้างว่า มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้ทำความผิดอาญา หรือ "จะหลบหนี"
 มีสัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณโรม จะหลบหนี หรือมีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง? ว่าตามข้อเท็จจริงนะ

-อัยการ สั่งให้เลื่อนการฟ้องคดี
  จะแปลว่าการร้องขอออกหมายจับ 3 ครั้งในขณะที่ยัง "ไม่พร้อม" ดำเนินคดีหรือเปล่า แล้วจะจับมาทำไม จับมาก่อนเพื่ออะไร ขังไว้ก่อนพ่อสอนไว้?
  ดูจากเวลาที่ใช้ก็ไม่ใช่เวลาสั้นๆ นะ ราวๆ ครึ่งปีตั้งแต่รับคดีและต้องทำสำนวนส่งอัยการเพื่อสั่งฟ้อง

ทำให้สงสัยว่า มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้ทำความผิดอาญา หรือ "จะหลบหนี" มีอยู่ครบถ้วนจริงหรือเปล่าที่เป็นเหตุให้ออกหมายจับ

ประโยคนี้ในรัฐธรรมนูญมีความหมายว่าอะไร?
“ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้”
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่