JJNY : เผ่าภูมิชูแผนแก้เงินเฟ้อ-รายได้ฝืด│ราคาน้ำมันโลกพุ่ง5%│ถกปัญหาอาหารสัตว์ล่ม│USชี้ชัดทหารรัสเซียก่ออาชญากรรมสงคราม

“เผ่าภูมิ” เมิน 10 มาตรการลดค่าครองชีพรัฐ ชูแผน แก้เงินเฟ้อ-รายได้ฝืด
https://www.thairath.co.th/news/politic/2349575

ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เมิน 10 มาตรการลดค่าครองชีพรัฐบาล ชู แผนบันได 3 ขั้น แก้เงินเฟ้อ-รายได้ฝืด ยัน ต้องตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ไม่ให้ราคาน้ำมันส่งผ่านไปที่ราคาสินค้า
 
วันที่ 24 มี.ค. 65 ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และผู้อำนวยการศูนย์นโยบายพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึง 10 มาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาลว่า 10 มาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาล เป็นเพียงภาพเล็ก จากภาพใหญ่ทั้งหมดที่ต้องมองในการแก้ปัญหาของแพง-รายได้ทรุด ปัญหาเงินเฟ้อ-รายได้ฝืด
 
ภาวะของแพงของไทยนั้นคือ Cost-push inflation คือ ต้นทุนราคาน้ำมันและปัจจัยการผลิตปรับตัวขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้นทุนสูงขึ้น ผลักภาระไปที่ผู้บริโภค ส่งผลทำให้สินค้าแพงขึ้น ที่สำคัญคือไทยเจอปัญหานี้ในขณะที่ยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด ทำให้เกิดภาวะของแพง ในขณะที่รายได้ยังทรุด
การรับมือเงินเฟ้อ-รายได้ฝืด ขอเสนอแผนบันได 3 ขั้น
 
“ขั้นที่ 1 ตรึงราคาสินค้าผ่านการสนับสนุนค่าจ้างไปที่นายจ้าง” ปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันอยู่นอกเหนือการควบคุม และการอุ้มราคาน้ำมันระยะยาวนั้นก็เกินกำลัง แต่โจทย์สำคัญ คือ ต้องตัดจุดเชื่อมโยงระหว่าง “ราคาน้ำมัน” กับ “สินค้าแพง” ทำอย่างไรต้นทุนราคาน้ำมันไม่ถูกส่งผ่านไปที่ผู้บริโภค ส่งผลให้ของแพงขึ้น คำตอบคือการลดต้นทุนการผลิตส่วนอื่นให้ผู้ผลิตเพื่อชดเชยต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
 
มาตรการที่ใช้แก้ Cost-push inflation ที่มีประสิทธิภาพสูง คือ การสนับสนุนค่าจ้างแรงงานบางส่วนไปที่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ หรือ Wage Subsidy โดยรัฐสนับสนุนค่าจ้างแรงงานบางส่วนตรงไปที่ผู้ประกอบการเป็นเวลา 6 เดือน โดยผูกกับเงื่อนไขการตรึงราคาสินค้า ไม่ขึ้นราคาสินค้า จะช่วยลดต้นทุนผู้ประกอบการด้านค่าจ้างชดเชยกับต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้ไม่ต้องผลักภาระไปที่ผู้บริโภค การป้องกันราคาสินค้าไม่ให้ขึ้นตั้งแต่แรกนั้นสำคัญมาก เพราะเมื่อสินค้าราคาขึ้นแล้วยากมากที่จะปรับลง ส่งผลเรื่องเงินเฟ้อลากยาวนานขึ้น
 
“ขั้นที่ 2 สนับสนุนลดค่าใช้จ่ายไปที่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง” ซึ่งตรงนี้แม้เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป เพื่อเป็นการลดภาระของประชาชนในยามที่ของแพงแต่รายได้ทรุด แต่ต้องไม่ใช่การหว่านแห แต่ต้องดูแลให้ครบทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบ จาก 10 มาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาลนั้น พุ่งตรงไปที่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบบางส่วนเท่านั้น แต่ยังไม่ครอบคลุม เรายังไม่เห็นมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นราคาปุ๋ย ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาลี ข้าวโพด ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับการเลี้ยงสัตว์ รวมถึงผู้ประกอบการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากค่าขนส่งระหว่างประเทศที่สูงขึ้น ภาคขนส่งสาธารณะและภาคโลจิสติกส์กลุ่มรถบรรทุก ก็ยังถูกละเลย และการขยายเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เหล่านี้ยังไม่เห็น
 
“ขั้นที่ 3 เร่งสร้างรายได้ให้กับประชาชน กระตุ้นการจ้างงาน” การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ การทำให้คนมีรายได้ มีงานทำ เพียงพอที่จะสู้กับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ปัจจุบันมาตรการ Soft Loan ได้ถูกแปลงเป็นมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและพักทรัพย์พักหนี้ ซึ่งปัจจุบันมีปัญหามาก ยอดไม่เดิน ยังเหลือวงเงินอยู่ และยังไม่เห็นแนวทางจาก ธปท. ว่าจะทำอย่างไรกับวงเงินตรงนี้ ควรแปลงวงเงินตรงนี้ไปเป็น “สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำพิเศษเพื่อการกระตุ้นการจ้างงานและฟื้นฟูกิจการ” โดยผูกเงื่อนไขการจ้างงานเพิ่ม เพื่อกระตุ้นการจ้างงาน โดยใช้กลไกธนาคารเฉพาะกิจของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น
 
การแก้ปัญหาของแพง-รายได้ทรุด ปัญหาเงินเฟ้อ-รายได้ฝืด ต้องมองสาเหตุให้ชัด และต้องมองให้ครบ ไม่ใช่แค่ 10 มาตรการของรัฐบาล ซึ่งเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ต้องตัดไฟตั้งแต่ต้นลมไม่ให้ราคาน้ำมันส่งผ่านไปที่ราคาสินค้า ระหว่างทางต้องลดค่าใช้จ่ายไปที่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ไม่หว่านแหแต่ต้องครอบคลุม และปลายทางที่สำคัญที่สุดการสร้างงานให้รายได้เพียงพอสู้ค่าครองชีพเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด.


 
ขึ้นไม่พัก! เช็คราคาน้ำมันโลก พุ่งอีก 5% เกิน 120 ดอลลาร์แล้ว
https://ch3plus.com/news/economy/morning/284045
  
ราคาน้ำมันโลกพุ่ง 5% สาเหตุมาจาก ท่อส่งน้ำมันจากคาซัคสถานที่ส่งไปรัสเซียหยุดชะงัก เพราะได้รับความเสียหายจากพายุ ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลก มีดังนี้
 
• ตลาดไนเม็กซ์ นิวยอร์ก เพิ่มขึ้น 5.66 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 114.93 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
• ตลาดเบรนท์ ลอนดอน เพิ่มขึ้น 6.12 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 121.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
• น้ำมันกลั่นสำเร็จรูป สิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 0.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 140.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/ggSPxIvF7VE

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
  

 
ถกปัญหา"อาหารสัตว์"ล่ม เผยจม.เปิดผนึก ชี้บรรยากาศส่อความขัดแย้งหนัก
https://www.nationtv.tv/news/378867728

ประชุมแก้ปัญหา"อาหารสัตว์"ล่ม สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยส่งหนังสือด่วนที่สุดถึงอธิบดีกรมการค้าภายใน ลาประชุม เผยบรรยากาศประชุมอาจไม่เอื้อให้หาทางออก ด้านกรมการค้าภายในแจ้งเลื่อนประชุมไม่มีกำหนด

23 มี.ค.65  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยทำหนังสือด่วนที่สุดถึงอธิบดีกรมการค้าภายใน แจ้งลาประชุมหารือเพื่อแก้ไขและผ่อนคลายปัญหาราคาสินค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ย้ำกรมการค้าภายในสามารถตัดสินใจบนข้อมูลที่มีอยู่แล้ว

โดยเนื้อความจดหมายระบุว่า 
 
"ตามที่ กรมการค้าภายในได้มีหนังสือเชิญประชุมหารือเพื่อแก้ไขและผ่อนคลายปัญหาราคาสินค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยมีกำหนดในวันที่ 23 มีนาคม 2565 เวลา 13.00 น. และขอปรับเปลี่ยนเวลาประชุมเป็น 15.00 น.

โดยการประชุมครั้งนี้จะเป็นการประชุมต่อเนื่องจากการประชุมกับท่านปลัดกระทรวงพาณิชย์และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 ซึ่งจะพิจารณากำหนดโควต้าจำนวนนำเข้าข้าวสาลีภายใต้การผ่อนปรนมาตรการนำเข้าข้าวสาลี 3:1 ส่วนนั้น
 
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ขอเรียนท่านว่า เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา สมาคมชาวไร่มันสำปะหลัง สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสมาคมการค้าพืชไร่ ได้ออกข่าวไม่เห็นด้วยกับการผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวและมีข้อสอบถามต่างๆ ซึ่งเป็นคำถามเดิมที่ได้มีการชี้แจงไปแล้วในหลายเวที และบางคำถามกรมการค้าภายในมีข้อมูลอยู่แล้ว
 
การให้ข่าวดังกล่าวจะเป็นการสร้างบรรยากาศที่ขัดแย้งต่อที่ประชุม และทำให้การประชุมไม่มีข้อยุติคล้ายกับบรรยากาศการประชุมกับท่านปลัดทั้งสองกระทรวงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา
 
ในการนี้ เพื่อไม่ให้เกิดบรรยากาศขัดแย้งดังกล่าว สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย จึงขอลาการประชุมในครั้งนี้
 
หากกรมการค้าภายในมีข้อสอบถามข้อมูลอื่นใดเพิ่มเติมสมาคมยินดีที่จะทำหนังสือตอบคำถามไปยังท่านโดยตรงเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาต่อไป ทั้งนี้สมาคมเห็นว่าการพิจารณาผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวเป็นอำนาจของรัฐท่านสามารถตัดสินใจได้จากข้อมูลที่ท่านมีอยู่ได้"
 
ทั้งนี้ กรมการค้าภายในได้สั่งเลื่อนการประชุมออกไปแบบไม่มีกำหนด
 
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การประชุมแก้ปัญหาอาหารสัตว์อาจจะมีความยืดเยื้อ เนื่องจากเกษตรกร ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ และ ภาคราชการ ต่างยืนอยู่คนละมุม และมีแนวโน้มความขัดแย้งต่อเนื่อง
 
แหล่งข่าวระดับสูงฯ กล่าวว่า มีโอกาสสูงที่ผู้ประกอบการจะหยุดผลิตอาหารสัตว์จะหยุดไลน์ผลิตทั้งหมดหรือเลือกผลิตเฉพาะอาหารสัตว์เท่าที่สมาชิกมีความต้องการ
 
นั่นหมายถึงอาหารสัตว์มีโอกาสที่จะขาดตลาดอย่างรุนแรงกระทบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายย่อย และท้ายที่สุดกระทบกับเกษตรกรโดยตรง ทั้งนี้ แนวทางการแก้ปัญหาของกรมการค้าภายในยังไม่ชัดเจน
 
แม้การประชุมที่ผ่านมาจะมีการแถลงร่วมกันระหว่างปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และปลัดกระทรวงพาณิชย์ ที่เปิดทางให้มีการนำเข้าอาหารสัตว์ชั่วคราวไปจนถึง 31 กรกฎาคม 2565 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในภาคการผลิตไปก่อน แต่กรมการค้าภายใน ได้เรียกประชุมอีกครั้งในวันนี้ และ นำสู่การเลื่อนการประชุมอย่างไม่มีกำหนด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่