สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาเปรียบจักรยานไฟฟ้าสองคันที่ผมซื้อมาแล้ว ใช้แล้ว ลองแล้ว เจ็บแล้ว มาลองเปรียบเทียบเป็นข้อมูลกันเลยว่าคุณสมบัติจะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เรื่องของเรื่องคือจักรยานหลักพันมันคือความวู่วามครับจ่ายง่ายจ่ายเร็วแต่ผลลัพธ์มาพร้อมปัญหาตามมาเจ็บไม่จบครับ เลยได้มีคันที่สองโผล่มาที่จบจริงๆและขอเจ็บทีเดียวครับตัวจักรยานไฟฟ้าที่เราจะมาเปรียบเทียบวันนี้จะเป็นจักรยานไฟฟ้าตามท้องตลาด VS Ninebot B65 โนสปอนนะครับใช้เองขี่เอง มาลองอ่านกันเลยครับ
หน้าตาภาพลักษณ์
เริ่มต้นที่หน้าตาทั้งสองรุ่น จะเห็นว่าค่อนข้างต่างกันมากในเรื่องของดีไซน์ของ Ninebot eMoped B65 จะดูสวยหรูหรา หน้าตาออกไปทางมอเตอร์ไซค์ สีสรรที่เล่นตัดกันสองสี ทางแบรนด์เคลมผลิตจากวัสดุที่รีไซเคิลได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเจ้าจักรยานไฟฟ้าธรรมดาทั่วไปหน้าตาบ้านๆเห็นได้ทั่วไปตามแพลตฟอร์มออนไลน์ ฟิวจักรยานไฟฟ้าแม่บ้าน โครงสร้างทำมาจากเหล็กครับ ถ้าจอดข้างกันสามารถดูรู้ได้เลยว่าคันไหนพันคันไหนหมื่นครับ
ฟังก์ชั่นการใช้งาน
การเปิดปิดตัวเครื่องต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลยครับ จักรยานไฟฟ้าทั่วไปจะเป็นกุญแจดอกธรรมดาเหมือนกุญแจมอเตอร์ไซค์อยู่เลยครับ ส่วน Ninebot B65 จะมาพร้อม NFC Key Card แค่สัมผัสคีย์การ์ดที่หน้าจอครั้งเดียวปลดล็อคพร้อมขี่ไปแล้วครับ ส่วนลูกกุญแจมีไว้เผื่อไขเปิดที่เก็บแบตเตอรี่ได้ ส่วนตัวผมชอบ Key Card ครับพกง่ายใส่กระเป๋าตังสะดวกดีครับ
หน้าจอ
จักรยานไฟฟ้าแบบทั่วไป หน้าจอเป็นแบบไฟ LED บอกสถานะแบตเตอรี่เหลือเท่าไหร่แบบเป็นช่องๆ ไม่มีบอกความเร็วด้วยครับตอนขี่ผมก็เลยไม่รู้ว่ามันเร็วเท่าไหร่กันแน่ ซึ่งเวลาขี่กลางแจ้งหน้าจอไฟ LED มันสู้แดดไม่ได้เลยครับบางทีมองไม่เห็นแบตที่จอแสดงผลครับ ส่วนอีกตัว หน้าจอค่อนข้างสว่าง และแสดงข้อมูลค่อนข้างครบ หน้าจอแสดงระดับแบตเตอรี่ ความเร็ว เวลา ครับ
แฮนด์
จักรยานไฟฟ้าทั่วไปแฮนด์ด้านซ้ายเป็นแตรไฟฟ้า บางรุ่นก็จะมีปุ่มเปิดไฟหน้า แล้วก็ปุ่มไฟเลี้ยวด้วย แต่รุ่นที่ผมซื้อมามันไม่มีครับ ไฟหน้าใช้วิธีบิดกุญแจไปอีกแก๊ก แล้วไฟหน้าก็จะติด แฮนด์ด้านขวา มีสวิตช์เอาไว้ปรับเลือกระดับความเร็ว ต่ำ กลาง สูง ให้เลือก แต่ละยี่ห้อมันก็จะมีความเร็วสูงสุดไม่เหมือนกันครับ ส่วน Ninebot B65 มาพร้อมปุ่มลัดบริเวณบริเวณมือจับทั้ง 2 ข้าง ซึ่งสามารถใช้ได้หลายแบบครับ กดเบรกมือและกดปุ่มขวามือพร้อมกัน 1 ครั้งเป็นการใช้ในการเปิดเบาะจักรยาน หรือตอนขับเราสามารถเปิดระบบ cruise control โดยการกดปุ่มขวามือ 1 ครั้งได้เลยครับ ส่วนการเปิดไฟสามารถใช้ฝ่ามือ Double tab ที่จอแสดงผลได้หรือ shortcut กดที่ปุ่มสองครั้งทางขวามือได้เช่นกัน ความพิเศษของจักรยานรุ่นนี้จะมีไฟบอกสถานะการขับบริเวณมือจับขึ้นสีเขียวคือเครื่องพร้อมใช้งาน แต่หากขึ้นสีแดงคือยังไม่พร้อมใช้งาน บิดยังไงก็ไม่ไปครับ
เบาะนั่ง
เบาะนั่งเป็นส่วนสำคัญนะครับ เพราะมันคือจุดเริ่มต้นความสบายในการขับขี่ถ้านั่งไปแล้วเมื่อยตูดให้ขี่ต่อคงไม่ไหวอ่ะครับ ผมว่าเจ้าตัวแพงออกแบบมาดีเลยครับ เป็นโครงสร้างรูปแบบสามเหลี่ยมบานๆ โดยคำนึงถึงความสมดุล และอ้างอิงจากสรีระมนุษย์ทำให้ผู้ขับรู้สึกสบาย เบาะนั่งขนาดกว้างนั่งสบาย เพิ่มเติมคือความทันสมัยของเจ้าตัวหลักหมื่น มี Sensor Seat ระบบเซนเซอร์ตรวจจับผู้ขับขี่ เพิ่มความปลอดภัยเมื่อเผลอบิดคันเร่งขณะไม่มีผู้ขับขี่ จักรยานไฟฟ้าทั่วไปเป็นแบบเบาะนั่งจักรยานทั่วไปครับตัวเบาะก็โอเครนั่งไม่ได้ลำบากมากนักครับ ขับไกลๆก็ไม่ได้รู้สึกเมื่อยมากครับ
ที่วางเท้า
สิ่งที่ผมชอบเกี่ยวกับตัวจักรยานไฟฟ้าทั่วไปคือ ที่วางเท้าใหญ่โตมาก วางเท้าสบายครับ บางทีก็ใช้วางของได้ด้วย เมื่อเทียบกับที่วางเท้าของ Ninebot B65 จะเล็กกว่าครับ แต่ก็ไม่ได้รู้สึกอึดอัดอะไรตอนขี่นะ
หน้าจอ
ข้อเสียของจักรยานไฟฟ้าทั่วไปจะบอกระดับแบตเตอรี่เป็นขีดๆ มันจะไม่สามารถบอกอะไรเราได้เป๊ะ 100% นะครับ เพราะมาตรวัดแบบนี้มันจะพิจารณาจากแรงดันไฟฟ้าที่แบตเตอรี่จ่ายออกมาได้ ปัญหาก็คือ พอเราจอดอยู่เฉยๆ หรือ ปล่อยคันเร่ง มอเตอร์ไฟฟ้าไม่ดึงไฟจากแบตเตอรี่ มันก็จะบอกระดับแบตเตอรี่ออกมาสูงกว่าความเป็นจริงอยู่ประมาณนึงเสมอครับ ตัว Ninebot B65 จะบอกความจุแบตเตอรรี่ขีดถี่ๆ และมีตัวเลขแสดงที่จอตอนเปิดเครื่อง จากที่ผมขับมาความแม่นค่อนข้างตรงนะ
ไฟหน้า
ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของจักรยานไฟฟ้าทั้งสองคันที่ผมซื้อคือ ไม่มีไฟเลี้ยว ส่วนไฟเลี้ยวต้องไปหามาติดเพิ่มเองครับ จักรยานไฟฟ้าทั่วไปจะมีแค่ไฟหน้าไว้ส่องสว่างตอนกลางคืน ขออวยความไฮโซของ Ninebot B65 มีทั้งไฟหน้าไฟหลัง แบบ Clear vision sensitive lighting เป็นระบบไฟหน้ารถอัจฉริยะเปิด-ปิดอัตโนมัติตามการใช้งาน ที่มีความสว่างถึง 7,700 cd (ผมอ่านแมนน่วลแล้วเค้าบอกมา 555) และระยะส่องสว่างไกลถึง 25 เมตร อายุการใช้งานยาวนานถึง 10,000 ชั่วโมง หรือจะเปิด-ปิดไฟหน้าง่ายๆ แค่แตะที่หน้าจอ 2 ครั้งเพื่อเปิด และแตะอีก 2 ครั้งเพื่อปิดไฟหน้าครับ ส่วนจักรยานไฟฟ้าทั่วไปคือไฟธรรมดาแหละครับ
การใช้งานจริงต่างกันมากแค่ไหน
ความรู้สึกแรกคือเรื่องการออกตัวครับ จักรยานไฟฟ้าทั่วไปจะมีการออกตัวจะช้ากว่า ค่อนข้างหนืด จักรยานไฟฟ้า Ninebot B65 จะให้ฟีลการออกตัวเหมือนมอเตอร์ไซค์ครับบิดแล้วไปเลยไม่มีความหน่วงครับ
จักรยานไฟฟ้าทั่วไปความเร็วจะอยู่ที่ 25 กม/ชม. แต่ผมบิดจริงวัดแล้วรู้สึกว่าบิดได้ไม่ถึงที่เค้าเคลมนะครับ อีกรุ่นความเร็วสูงสุด 38 กม/ชม.ความเร็วหน้าจอที่แสดงบิดถึงครับ หลังจากขี่ไปสักนิดนึงจะเริ่มรู้สึกคุ้นเคยกับความเร็วของจักรยานทั้งสองเองครับ ปัญหาหลักๆจะเจอตอนขึ้นเนิน หรือสะพานครับ จักรยานไฟฟ้าธรรมดาต้องเร่งความเร็วจากไกลๆให้มีแรงส่งถึงจะขึ้นได้ ไม่งั้นจะเป็นแบบในภาพ แตกต่างจาก Ninebot B65 ที่มีแรงมอเตอร์ค่อนข้างเยอะพอสมควร เรียกได้ว่าขึ้นได้สบายๆ
ล้อ
ตัวจักรยานไฟฟ้าทั่วไปเป็นแบบล้อ 14 นิ้ว มีความหนากว่าจักรยานทั่วไป เรียกว่าเป็นล้อมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กเลยจะดีกว่า รูปร่างหน้าตาก็ประมาณที่เห็นครับ ส่วนอีกรุ่นจะเป็นล้อลมขนาดใหญ่ ดอกยางก็ลายสวยเลยแหละ
บันไดปั่น
บอกก่อนนะครับจักรยานไฟฟ้าบางรุ่นไม่มีขาถีบถ้ารถคุณแบตหมดกลางทางมีทางเดียวคือการเข็นครับ
ขาถีบของจักรยานไฟฟ้าทั่วไปจะอยู่ในตำแหน่งที่มันปั่นยากๆ หน่อยๆ เหมือนออกแบบมาแปะๆ ไว้แต่มันปั่นลำบากมาก และหนืดสุดๆ เรียกได้ว่าปั่นแทบไม่ไป ส่วนขาถีบของ Ninebot B65 ก็ออกแบบมาดีกว่าหน่อย แต่ถามว่าปั่นสะดวกเหมือนจักรยานเลยไหม อันนี้ก็คงไม่ขนาดนั้น แต่เอาเป็นว่าถ้าแบตหมดขึ้นมาจริงๆ Ninebot คงปั่นต่อได้ ส่วน อีกคัน จอดดีกว่า
เบรกมือ
เบรกทั้ง 2 ตัวจะเป็นการเบรกผ่านเบรกมือครับ คุณภาพวัสดุค่อนข้างแตกต่างกันทั้งตัวเบรกมือและแฮนด์ ส่วนตัวคิดว่า Ninebot B65 เบรกดูหนึบกว่า แต่ด้วยน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างหนักกว่าจึงทำให้ระยะเบรกทั้ง 2 ตัว พอๆกัน และเจ้า Ninebot B65 ระบบเบรกจะเป็นดิสเบรกหน้า ข้างหลังเป็นดรัมเบรกซึ่งเบรกผมลองทดสอบแล้วมั่นใจเลยว่ามาเร็วๆเอาอยู่
เบาะซ้อน
จักรยานไฟฟ้าทั่วไปเบาะซ้อนค่อนข้างยาวแต่แคบ มีติดที่เหยียบไว้ให้คนนั่งซ้อนด้วย แต่ตำแหน่งไม่ดี ขนาดที่เหยียบลีบมาก คงคิดว่าคนซ้อนจะเป็นเด็กซะมากกว่า ถ้าคนตัวสูงๆ มาซ้อน ยิ่งแย่เลย เพราะขาต้องงอเยอะมาก นั่งไม่สบาย แต่ผมลองดูแล้ว ผู้ใหญ่ไม่ได้นั่งสบายมากหรอกนะ แค่พอไหวครับ อีกรุ่นเบาะซ้อนยังไม่มีแถมมา มีโครงมาเผื่อในอนาคตใครอยากซื้อเบาะเสริมมาเพิ่มก็ได้ แต่ปกติผมใช้วางของมากกว่าเลยไม่ได้สนใจอะไร บางวันแฟนมานั่งด้วยเขาก็ไม่ได้บ่นอะไรนะครับ
ตะกร้าหน้า
ความสะดวกสบายไม่ได้มีแค่ซื้อมาไว้แค่ขี่ครับเราซื้อมาก็มีใช้ขนของใส่ของบางส่วนขอเสียของรุ่น B65 คือจะแต่มีตะขอให้เกี่ยวของแต่ไม่มีตะกร้าให้มาด้วยครับต้องซื้อเพิ่มเอาเศร้าใจครับ ในขณะที่อีกตัวที่ให้ฟิวจักรยานไฟฟ้าแม่บ้านมาเลยจะมีตะกร้าติดมาให้ด้วยครับ ไว้ไปใส่ของจ่ายตลาดได้ จุของได้ดีครับประมาณนึงครับ แต่ B65 เห็นทางร้านบอกว่าอนาคตจะมีอุปกรณ์เสริมมาเพิ่มนะครับ
แบตเตอรี่
หัวใจหลักของรถจักรยานไฟฟ้าระบบแบตเตอรี่และแผงวงจรควบคุม สองรุ่นนี้จะต่างกันที่ชนิดของแบตเตอรี่ซึ่งจะบ่งบอกถึงอายุการใช้งานและน้ำหนักของรถจะกินน้ำหนักไปมากแค่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่แบตเตอรี่หลายๆร้านจะไม่โฆษณาออกมา เป็นเรื่องที่คนขายไม่ค่อยบอกกันครับ และการรับประกันค่อนข้างสั้น ผมเลยลองแงะออกมาดูว่าจักรยานไฟฟ้ารุ่นทั่วไปเค้าใช้แบตประเภทไหน เป็นไปตามคาดใช้แบตแบบเก่าคือแบตเตอรี่กรดตะกั่ว แบตแบบแห้ง ซึ่งแบตเตอรี่แบบนี้จะมีอายุการใช้งานสั้น และการชาร์จซ้ำได้น้อยกว่าแบตประเภทลิเธียมไออนในตัว ซึ่งนี่แหละก็คือเหตุผลที่ทำไมผมถึงได้งอกคันที่สองขึ้นมา เพราะว่าแบตเตอรี่มันเริ่มเสื่อมละ เรียกว่าเสื่อมไวอยู่ ทุกวันนี้วิ่งได้สักพักก็ต้องกลับมาชาร์จแล้ว มันลาจากเราไปเร็วกว่าที่เราคิดเยอะเลย
ต่างกับตัว Ninebot B65 ใช้แบตลิเธียมไออน ของทาง Segway เค้าแหละ อันนี้เพิ่งใช้มายังไม่นาน อาจจะยังไม่รู้อายุ แต่จากประเภทแบตแล้ว แบตลิเธียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และด้วยมาตรฐาน Segway คงไม่เสียหน้าในเรื่องนี้ นอกจากอายุแบตแล้ว ยังไปถึงเรื่องระยะเวลาชาร์จ ที่ประหยัดระยะเวลาในการชาร์จ ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ให้ยาวนาน ความต่างอีกอย่างจุดวางแบตเตอรี่ของทั้งสองรุ่นจะต่างกัน Ninebot eMoped B65 สามารถถอดแบตออกมาชาร์จในบ้านได้เลย ในขณะที่แบรนด์ทั่วๆไปตัวแบตจะฝังอยู่ในตัวรถจักรยานไฟฟ้าเวลาชาร์จก็ต้องเข็นทั้งคันไปชาร์จอ่ะครับ
เปรียบเทียบจักรยานหลักไฟฟ้าหลักพัน VS หลักหมื่น
หน้าตาภาพลักษณ์
เริ่มต้นที่หน้าตาทั้งสองรุ่น จะเห็นว่าค่อนข้างต่างกันมากในเรื่องของดีไซน์ของ Ninebot eMoped B65 จะดูสวยหรูหรา หน้าตาออกไปทางมอเตอร์ไซค์ สีสรรที่เล่นตัดกันสองสี ทางแบรนด์เคลมผลิตจากวัสดุที่รีไซเคิลได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเจ้าจักรยานไฟฟ้าธรรมดาทั่วไปหน้าตาบ้านๆเห็นได้ทั่วไปตามแพลตฟอร์มออนไลน์ ฟิวจักรยานไฟฟ้าแม่บ้าน โครงสร้างทำมาจากเหล็กครับ ถ้าจอดข้างกันสามารถดูรู้ได้เลยว่าคันไหนพันคันไหนหมื่นครับ
ฟังก์ชั่นการใช้งาน
หน้าจอ
แฮนด์
เบาะนั่ง
ที่วางเท้า
หน้าจอ
การใช้งานจริงต่างกันมากแค่ไหน
จักรยานไฟฟ้าทั่วไปความเร็วจะอยู่ที่ 25 กม/ชม. แต่ผมบิดจริงวัดแล้วรู้สึกว่าบิดได้ไม่ถึงที่เค้าเคลมนะครับ อีกรุ่นความเร็วสูงสุด 38 กม/ชม.ความเร็วหน้าจอที่แสดงบิดถึงครับ หลังจากขี่ไปสักนิดนึงจะเริ่มรู้สึกคุ้นเคยกับความเร็วของจักรยานทั้งสองเองครับ ปัญหาหลักๆจะเจอตอนขึ้นเนิน หรือสะพานครับ จักรยานไฟฟ้าธรรมดาต้องเร่งความเร็วจากไกลๆให้มีแรงส่งถึงจะขึ้นได้ ไม่งั้นจะเป็นแบบในภาพ แตกต่างจาก Ninebot B65 ที่มีแรงมอเตอร์ค่อนข้างเยอะพอสมควร เรียกได้ว่าขึ้นได้สบายๆ
ล้อ
บันไดปั่น
บอกก่อนนะครับจักรยานไฟฟ้าบางรุ่นไม่มีขาถีบถ้ารถคุณแบตหมดกลางทางมีทางเดียวคือการเข็นครับ
ขาถีบของจักรยานไฟฟ้าทั่วไปจะอยู่ในตำแหน่งที่มันปั่นยากๆ หน่อยๆ เหมือนออกแบบมาแปะๆ ไว้แต่มันปั่นลำบากมาก และหนืดสุดๆ เรียกได้ว่าปั่นแทบไม่ไป ส่วนขาถีบของ Ninebot B65 ก็ออกแบบมาดีกว่าหน่อย แต่ถามว่าปั่นสะดวกเหมือนจักรยานเลยไหม อันนี้ก็คงไม่ขนาดนั้น แต่เอาเป็นว่าถ้าแบตหมดขึ้นมาจริงๆ Ninebot คงปั่นต่อได้ ส่วน อีกคัน จอดดีกว่า
เบรกมือ
เบรกทั้ง 2 ตัวจะเป็นการเบรกผ่านเบรกมือครับ คุณภาพวัสดุค่อนข้างแตกต่างกันทั้งตัวเบรกมือและแฮนด์ ส่วนตัวคิดว่า Ninebot B65 เบรกดูหนึบกว่า แต่ด้วยน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างหนักกว่าจึงทำให้ระยะเบรกทั้ง 2 ตัว พอๆกัน และเจ้า Ninebot B65 ระบบเบรกจะเป็นดิสเบรกหน้า ข้างหลังเป็นดรัมเบรกซึ่งเบรกผมลองทดสอบแล้วมั่นใจเลยว่ามาเร็วๆเอาอยู่
เบาะซ้อน
จักรยานไฟฟ้าทั่วไปเบาะซ้อนค่อนข้างยาวแต่แคบ มีติดที่เหยียบไว้ให้คนนั่งซ้อนด้วย แต่ตำแหน่งไม่ดี ขนาดที่เหยียบลีบมาก คงคิดว่าคนซ้อนจะเป็นเด็กซะมากกว่า ถ้าคนตัวสูงๆ มาซ้อน ยิ่งแย่เลย เพราะขาต้องงอเยอะมาก นั่งไม่สบาย แต่ผมลองดูแล้ว ผู้ใหญ่ไม่ได้นั่งสบายมากหรอกนะ แค่พอไหวครับ อีกรุ่นเบาะซ้อนยังไม่มีแถมมา มีโครงมาเผื่อในอนาคตใครอยากซื้อเบาะเสริมมาเพิ่มก็ได้ แต่ปกติผมใช้วางของมากกว่าเลยไม่ได้สนใจอะไร บางวันแฟนมานั่งด้วยเขาก็ไม่ได้บ่นอะไรนะครับ
ตะกร้าหน้า
ความสะดวกสบายไม่ได้มีแค่ซื้อมาไว้แค่ขี่ครับเราซื้อมาก็มีใช้ขนของใส่ของบางส่วนขอเสียของรุ่น B65 คือจะแต่มีตะขอให้เกี่ยวของแต่ไม่มีตะกร้าให้มาด้วยครับต้องซื้อเพิ่มเอาเศร้าใจครับ ในขณะที่อีกตัวที่ให้ฟิวจักรยานไฟฟ้าแม่บ้านมาเลยจะมีตะกร้าติดมาให้ด้วยครับ ไว้ไปใส่ของจ่ายตลาดได้ จุของได้ดีครับประมาณนึงครับ แต่ B65 เห็นทางร้านบอกว่าอนาคตจะมีอุปกรณ์เสริมมาเพิ่มนะครับ
แบตเตอรี่
หัวใจหลักของรถจักรยานไฟฟ้าระบบแบตเตอรี่และแผงวงจรควบคุม สองรุ่นนี้จะต่างกันที่ชนิดของแบตเตอรี่ซึ่งจะบ่งบอกถึงอายุการใช้งานและน้ำหนักของรถจะกินน้ำหนักไปมากแค่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่แบตเตอรี่หลายๆร้านจะไม่โฆษณาออกมา เป็นเรื่องที่คนขายไม่ค่อยบอกกันครับ และการรับประกันค่อนข้างสั้น ผมเลยลองแงะออกมาดูว่าจักรยานไฟฟ้ารุ่นทั่วไปเค้าใช้แบตประเภทไหน เป็นไปตามคาดใช้แบตแบบเก่าคือแบตเตอรี่กรดตะกั่ว แบตแบบแห้ง ซึ่งแบตเตอรี่แบบนี้จะมีอายุการใช้งานสั้น และการชาร์จซ้ำได้น้อยกว่าแบตประเภทลิเธียมไออนในตัว ซึ่งนี่แหละก็คือเหตุผลที่ทำไมผมถึงได้งอกคันที่สองขึ้นมา เพราะว่าแบตเตอรี่มันเริ่มเสื่อมละ เรียกว่าเสื่อมไวอยู่ ทุกวันนี้วิ่งได้สักพักก็ต้องกลับมาชาร์จแล้ว มันลาจากเราไปเร็วกว่าที่เราคิดเยอะเลย
ต่างกับตัว Ninebot B65 ใช้แบตลิเธียมไออน ของทาง Segway เค้าแหละ อันนี้เพิ่งใช้มายังไม่นาน อาจจะยังไม่รู้อายุ แต่จากประเภทแบตแล้ว แบตลิเธียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และด้วยมาตรฐาน Segway คงไม่เสียหน้าในเรื่องนี้ นอกจากอายุแบตแล้ว ยังไปถึงเรื่องระยะเวลาชาร์จ ที่ประหยัดระยะเวลาในการชาร์จ ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ให้ยาวนาน ความต่างอีกอย่างจุดวางแบตเตอรี่ของทั้งสองรุ่นจะต่างกัน Ninebot eMoped B65 สามารถถอดแบตออกมาชาร์จในบ้านได้เลย ในขณะที่แบรนด์ทั่วๆไปตัวแบตจะฝังอยู่ในตัวรถจักรยานไฟฟ้าเวลาชาร์จก็ต้องเข็นทั้งคันไปชาร์จอ่ะครับ