🛑 บางครั้งประวัติศาสตร์ก็ไม่ใช่สิ่งที่น่าเชื่อถือได้ มีหลายครั้งที่การบันทึกประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือน
โดยเฉพาะเรื่องราวประวัติบุคคลสำคัญ
🛑 วีรบุรุษของชาติล้วนแต่มีหลายอย่างที่ถูกแต่งเติมสีสัน เพิ่มเนื้อหาที่เกินความจริง
ทำให้คนรุ่นหลังชื่นชอบวีรกรรมความกล้าหาญของพวกเขาโดยไม่สนว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องโกหก
🛑 หนึ่งในนั้นคือ…เรื่องราวของขุนนางฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ กิลล์ เดอ เรยส์ หนึ่งในตำนานที่โดดเด่นในศตวรรษที่ 15
🛑 มันเป็นเรื่องจริงตามตำนานหรือไม่ หรือกิลส์ก็เป็นบุคคลที่ถูกกล่าวหาโดยประวัติศาสตร์แบบผิดๆ
กิลส์ เดอ เรยส์ เกิดในช่วงปลาย ปี 1404 ในปราสาทชานโตเซ่ใกล้เมืองนันท์ของแคว้นบริตตัญญี
ในฐานะทายาทผู้สืบทอดเพียงคนเดียวของตระกูล กี เดอ ราวาลผู้เป็นพ่อ เป็นเจ้าบ้านของตระกูลเรยส์
ผู้เป็นเจ้าของปราสาทใหญ่โตหลายแห่ง และแมรี่ เดอ คราออนซึ่งเป็นมารดา
ก็มาจากตระกูลขุนนางที่เก่าแก่ที่สุดตระกูลหนึ่งของฝรั่งเศส ทั้งสองต่างก็มีอาณาเขต
ในกรรมสิทธิ์ของตนเป็นบริเวณกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่มากมาย
และมีรายได้จากการเก็บภาษีอากรราษฏรในแคว้น ซึ่งเมื่อกิลส์สืบทอดมรดก
ตระกูลเรยส์ก็จะกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในฝรั่งเศส
กิลส์ เดอ เรยส์เป็นเด็กอัจฉริยะ พูดจาภาษาลาตินได้คล่องแคล่วฉะฉาน
เขาเก่งเรื่องการทหารและระเบียบวินัยและมีจริยธรรมทั้งกายและปัญญา
ในปี 1415 หลังการเสียชีวิตพ่อแม่ เขาและน้องชายก็อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองคนใหม่
ฌอง เดอ คราออนซึ่งเป็นตา เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาก็ถูกคลุมถุงชนให้แต่งงานกับแคทเธอรีน เดอ ทวาล
เพื่อเพิ่มอิทธิพลแก่วงค์ตระกูลแต่กิลส์ไม่ได้สนใจเจ้าสาวของเขานัก
เวลาส่วนใหญ่มักจะหมดไปกับการสนุกสนานกับบรรดาเด็กหนุ่มที่เป็นคนสนิทของเขามากกว่า
ซึ่งกิลด์เป็นคนรักสหายเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังค่อนข้างเป็นหนุ่มเจ้าสำราญผู้มั่งคั่ง
ชอบจัดงานเลี้ยงหรูหราฟุ่มเฟือยแทบทุกวัน งานเลี้ยงแต่ละครั้งในปราสาทของกิลล์
มักมีแต่อาหารรสเลิศราคาแพง เครื่องดื่มระดับสุดยอด และงานเลี้ยงจะไม่เลิศลา
จนกว่าบรรดาแขกรับเชิญจะกระเดือกไม่เข้าหรือเมาแผ่หลาไปก่อน
ในเรื่องการทหารกิลส์ก็เข้าสู่สนามรบตั้งแต่อายุ 16 เขาเคยเข้าร่วมศึกสงครามสืบราชบัลลังก์
หรือ สงครามสืบราชสมบัติ โดยเข้าข้างดลุกแห่งบริททานี่ย์ ซึ่งกิลล์ได้รับผลตอบแทนเป็นเงิน
และที่ดินมากมาย แต่มาในปี 1425 เขาก็ได้รับใช้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส
และได้ความสามารถในการทหารจากการต่อสู้ที่ แซ็ง-โล และ เลอ ม็องส์
ระหว่าง 1427 และ 1429 ว่ากันว่ากิลส์ในยามหนุ่มนั้นเป็นอีกคนที่กระหายเลือด
ตื่นเต้นเมื่อเห็นเลือด ชอบใช้ความรุนแรงและการฆ่าเป็นอย่างมาก
ต่อมาในปี ปี 1429 พระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ทรงโปรดให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์
เข้าเฝ้าและแนะนำให้เขาได้รู้จักกับโจน ออฟ อาร์ค ซึ่งต่อมาเธอก็ได้เป็นวีรสตรีซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของฝรั่งเศสนั่นเอง
โดยในขณะนั้นพระเจ้าชาร์ลสกำลังมีปัญหาเรื่องการสืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเนื่องจาก
ราชบัลลังก์ฝรั่งเศสกำลังจะตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ
เพราะตอนนั้นอังกฤษครองดินแดนทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่รวมทั้งปารีส
ทำให้อังกฤษสามารถอ้างสิทธิในการครองฝรั่งเศสในส่วนที่มีอำนาจปกครองอยู่
อีกทั้งตัวพระเจ้าชาร์ลสเองก็เป็นกษัตริย์อ่อนแอไม่มีอำนาจมากมาย
ระหว่างที่พระองค์กำลังวิตกกังวลอยู่นั้น จู่ๆ ก็มีเด็กสาวชื่อโจนผู้มีความเชื่อว่าตนได้รับคำสั่งจากพระเจ้า
ให้ดำเนินการกู้ฝรั่งเศส ได้เข้าเฝ้าพระองค์เพื่อเรียกร้องขอกำลังทหารและสิ่งที่จำเป็นในการต่อสู้
หลังจากการพบปะกันแล้วชาร์ลส์ก็ทรงมีความมั่นพระทัยขึ้นเขาเลยจัดทหารตามที่โจน
เรียกร้องพร้อมทั้งการพบปะกับกิลส์ ซึ่งเขาประทับใจในในตัวโจนและประกอบกับว่า
เขาเป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าอยู่แล้ว เขาจึงได้สาบานตนเป็นอัศวินของโจนและกลายมาเป็นมือขวาคู่ใจของเธอนับแต่นั้น
หลังจากนั้นทั้งสองสร้างผลงานไว้มากมายในสงครามร้อยปี
(กิลส์ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารในสงครามครั้งนี้เมื่อปี 1427-1435)
โดยกิลล์ได้นำทหารสู้กับข้าศึกที่เป็นอังกฤษและได้ชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า
ทำให้ได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นแม่ทัพหรือจอมพล
ตั้งแต่ยังหนุ่มและได้รับพระบรมราชานุญาติให้ประดับดอกลิซ (ตราดอกลิลลี่ของราชวงศ์ฝรั่งเศส)
ลงบนตราประจำตระกูลของเขาด้วยนับเป็นเกียตริสูงสุดเท่าที่เขาจะมีได้ในฐานะขุนนางทีเดียว
โดยหลายคนยกย่องกิลล์ว่าเขาเป็นคนที่กล้าหาญกล้าเผชิญหน้า
ผลสุดท้ายโจนก็สามารถนำกองทัพฝรั่งเศสเข้าต่อสู้ที่ออร์เลอองส์ที่ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อฝ่ายอังกฤษ
และเป็นจุดที่เปลี่ยนทิศทางของสงครามที่ทำให้ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายได้เปรียบ
หลังจากชัยชนะในยุทธการพาเทย์ ชาร์ลส์ก็ได้ทำการราชาภิเษกเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7
แห่งฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1429 ที่มหาวิหารแรงส์ในฐานะพระมหากษัตริย์โดยนิตินัย
แต่แล้ว ในปี 1430 โจนถูกจับตัวได้โดยฝ่ายเบอร์กันดีผู้ส่งตัวให้กับฝ่ายอังกฤษ
โจนถูกพิจารณาโทษว่าเป็นผู้นอกศาสนา และถูกเผาทั้งเป็น
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1431 พระเจ้าชาร์ลส์มิได้ทรงเข้าช่วยเหลือโจนแต่อย่างใด
แม้ว่าโจนจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการที่พระองค์
ได้ขึ้นครองราชย์บัลลังก์ฝรั่งเศสก็ตาม และต่อมาอีก 500 ปีต่อมา เธอถูกยกขึ้นเป็นนักบุญ
ในเวลานั้นเองกิลส์เมื่อได้ข่าวเรื่องโจนถูกประหาร นำความโศกเศร้าแก่เขาเป็นอย่างมาก
หลังจากเสร็จสิ้นสงคราม กิลล์ก็กลับไปใช้ชีวิตเจ้าสำราญที่หรูหราไม่สนใจเรื่องการสู้รบอีกครั้ง
ประกอบกับการตายของคุณปู่เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1432 เขาเริ่มฝักใฝ่ในมนต์ดำและการเล่นแร่แปรธาตุ
ต่อมาสงครามร้อยปีก็สิ้นสุดลง พระเจ้าชาร์ลที่เจ็ดของฝรั่งเศสได้ปกครองประเทศอย่างสงบสุข
ความขัดแย้งกลางเมืองก็ลดลง ขุนนาและแม่ทัพหลายนายปลดประจำการเพื่อให้พวกเขากลับบ้านตนเอง
เพื่อสร้างและสะสมความมั่งคงเพื่อชดเชยสิ่งที่หายไปในระหว่างสงคราม
ในปี 1434 กิลส์ถอนตัวจากชีวิตทหาร โดยเน้นอุปภัมภ์ศิลปะ สร้างโบสถ์สวยงาม
และเริ่มสนใจเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุ โดยเฉพาะการเปลี่ยนโลหะให้เป็นทอง
เขาซื้อหาหนังสือเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุมาอ่านมากมาย
ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวถึงยุคตกต่ำของกิลส์อย่างชัดเจนเพราะเขาดำเนินชีวิตแบบฟุ่มเฟือยมาตลอด
จนรายรับไม่พอกับรายจ่าย ทำให้เขาต้องขายที่ดินและทรัพย์สินของเขาจนเกือบหมดเพื่อใช้หนี้
(ยกเว้นที่ดินของภรรยา) จนเขาเหลือเพียงปราสาทสองหลัง(ปราสาท Champtocé-sur-Loire และ Ingrandes )
ที่ยังอยู่ในการครอบครองของเขา
แม้แต่เหล่าญาติต่างประณามเรื่องกิลส์ที่ใช้จ่ายสุลุ่ยสุรายจนต้องขายทรัพย์สิน
อีกทั้งพระเจ้าชาร์ลส์เองก็ยังไม่ทำให้กิลส์ทำสัญญาใดๆกับใครอีกต่อไป ใครที่ให้กิลส์ยืมเงินมีโทษหนัก
อีกทั้งยังออกกฎห้ามขายปราสาทที่เหลือและห้ามทิ้งผู้ใต้บังคับบัญชาของเขา
ในปี 1439 ในช่วงเวลาดังกล่าวกิลส์เริ่มเสาะหาผู้วิเศษต่างๆ ในการเล่นแร่แปรธาตุโลหะให้เป็นทอง
ว่ากันว่าเขาได้พบชายคนหนึ่งชื่อ ฟรานคอยส์ เปรลาติ นักเล่นแร่แปรธาตุไสยศาสตร์ที่อวดอ้างว่า
เขาสามารถทำให้กิลส์สมหวังได้โดยการบูชายันเด็กเพื่อสังเวยแก่ปีศาจที่ชื่อ บารอน
และนั้นเองถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นทำให้กิลส์กลายเป็นฆาตกรต่อเนื่องที่ฆ่าคนมากที่สุดในโลกในที่สุด
จากคำสารภาพของกิลส์(จากการถูกทรมานในการสอบสวน)
เขาบอกว่าเขาเลยฆ่าเด็กจำนวนมากมายในระหว่างฤดูใบไม้ผลิ 1423-1433
ตอนแรกเน้นเด็กฝึกงานหรือลักพาตัวเด็กจากที่ต่างๆ หลังจากนั้นก็ใช้วิธีโดยรวบรวมเด็กชายจากที่ต่างๆ
มาเพื่อเป็นเครื่องสังเวยให้กับปีศาจเนื่องจากในเวลานั้นยังมีสงครามกันอย่างต่อเนื่อง
ตามเมืองต่างๆจึงมีเด็กกำพร้าเร่ร่อนอยู่มากมาย โดยตอนแรกลูกน้องของกิลส์พาเด็กเหล่านี้
มายังปราสาท Champtocé - sur Loire หากแต่เมื่อศพเด็กล้นจนไม่มีที่เก็บ จนต้องย้ายไปที่ Machecoul
ส่วนจำนวนเหยื่อที่กิลส์ฆ่านั้นไม่แน่นอน ว่ากันว่าหลังจากถูกกิลส์ถูกจับในปี 1437
พวกเขาก็พบศพเด็กสิบศพในที่เกิดเหตุ พวกเขาถูกตัดคอเพื่อสังเวยเลือดแก่พิธี
เด็กบางคนถูกตัดแขนตัดขาเป็นชิ้นๆ บางคนถูกฟาดหัวด้วยท่อนไม้ตอกตะปู
บางคนถูกเฉือนเนื้อออกทีละน้อยในขณะที่มีชีวิต เด็กบางคนถูกผ่าท้องแล้วทึ้งไส้ออกมา
จากคำสารภาพของกิลส์บอกว่าเขาได้ข่มขืนศพของเด็กที่เสียชีวิตแล้ว อีกทั้งยังสะสมศีรษะของ
เด็กหนุ่มจำนวนมาก และศีรษะที่หน้าตาดีจะถูกเรียงไว้เหนือเตาผิงเหมือนเป็นคอลเลคชั่นพิเศษ
และชิ้นส่วนที่เหลิอเขาจะนำไปเผาหรือเอาไปทิ้งในถังส้วมซึมหรือที่คูเมือง
ในวันที่ 15 พฤษภาคม 1440 กิลส์ได้ลักพาตัวบาทหลวงคริสต์จักรไปจองจำในปราสาทของตน
เนื่องจากมีปัญหาเรื่องพิพากษากรรมสิทธิ์ปราสาท ทางด้านฝ่ายโบสถ์เองก็พยายามจับผิดกิลส์อยู่แล้ว
ประกอบกับสงสัย เกี่ยวกับคดีเด็กหายสาปสูญอยู่แล้ว จึงได้อาศัยโอกาสนี้เองนำคนเข้าตรวจปราสาทของ กิลส์
และวันที่ 15 กันยายน ทางการได้จับกุมเขาและพวกไว้ได้ในที่สุด
เชื่อกันว่าการสอบสวนในครั้งนั้น มีการทารุณกรรมเพื่อทรมานให้ผู้จับกุมยอมรับสารภาพ
และถูกซัดทอดผู้ต้องหาด้วย แม้กระทั้งตัวกิลส์เองก็ไม่พ้นทัณฑ์ทรมานอย่างสาหัสเพื่อให้รับสารภาพ
วันที่12 ตุลาคม ค.ศ. 1440 มีการประกาสอย่างเป็นทางการว่า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์
ยอมรับสารภาพว่าเขาคือผู้สังหารเด็กนับร้อยคนนั้นโดยมีคำยืนยันของกิลส์มีดังต่อไปนี้
ข้าพเจ้าขอย้ำว่าที่ฆ่าพวกเด็กๆ เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับอำนาจและความร่ำรวยของข้าพเจ้า
เจตนาที่ได้กระทำลงไปมีเพียงเท่านี้ส่วนจำนวนเหยื่อที่กิลส์สังหารไปนั้นไม่สามารถระบุได้ว่ามีเท่าไหร่กันแน่
โดยจากการสันนิษฐษนระบุว่าอยู่ระหว่าง 80 และ 200 บางคนก็ 600 ขึ้นไปเหยื่อมีอายุระหว่าง 6-18 ปี และมีทั้งสองเพศ
การพิพากษาถูกจัดขึ้นที่ปราสาทนันท์และกินเวลาแค่ 1 เดือน วันที่ 23 ตุลาคม
พระสังฆราชซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาติจากพระเจ้าชาร์ลส ฟ้องกิลส์ในข้อหาประกอบพฤติกรรมนอกรีต
สังหารเด็ก ทำสัญญาปีศาจ และกระทำตนขัดต่อหลักธรรมชาติ ซึ่งโทษคือประหารสถานเดียวเท่านั้น
ในวันที่ 26 ตุลาคม 1440 เวลา 9:00 กิลล์(และพรรคพวกสองคน)
ได้ถูกนำตัวไปประหารโดยการแขวนคอและเผา(ในครั้งแรก จะมีการตัดสินโทษเผาทั้งเป็น
แต่เนื่องจากการเผาทั้งเป็นถือเป็นการลบหลู่เกียรติมากในสมัยนั้น และด้วยว่ากิลส์เองก็มีความชอบ
เขาจึงรอดโทษเผาทั้งเป็นไป) กิลส์ได้เดินไปที่ตะแลงแกงที่ใช้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอที่
เมื่อถึงเวลาประหารชีวิต กิลส์ถูกนำตัวขึ้นตะแลงแกง ถูกสร้างขึ้น ผู้คนมาชมล้นหลาม
จนต้องมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการแย่งชิงตัวนักโทษประหาร
กิลส์เดินเข้าหาความตายของตนอย่างองอาจ ไม่มีความพรั่นพรึงแม้แต่น้อย
ถุงผ้าคลุมศีรษะถูกนำมาสวมแล้วเพชฌฆาตนำเชือกบ่วงคล้องคอมาสวม จากนั้นก็เปิดพื้นใต้ฝ่าเท้านักโทษ
ร่างของเขาหล่นลงไปในช่อง หลังจากนั้นพวกเขาก็นำร่างไร้วิญญาณของเขาไปเผาไฟ และฝังตามพิธีกรรมคาทอลิก
หากแต่ต่อมาทั้งหมดก็ถูกทำลายในสมัยปฏิวัติฝรั่งเศส
ส่วนภรรยาของกิลส์แต่งงานใหม่กับดยุคที่มีอำนาจและร่ำรวยก่อนที่เธอจะตายโดยไม่มีบุตร
นี้คือภาพลักษณ์ของกิลส์ที่เรารู้จักกันดี แน่นอนสิ่งที่ตามมาก็คือมันเป็นเรื่องจริงตามตำนานหรือไม่
หรือกิลส์ก็เป็นบุคคลที่ถูกกล่าวหาโดยประวัติศาสตร์แบบผิดๆ กิลส์กลายเป็นเหยื่ออีกรายที่ถูกใส่ร้าย
โดยอุบายทางการเมืองที่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมและการหักหลัง อาจเป็นเพราะฝีมือของดยุคจอห์นแห่งแคว้นบริตตัญญี
ที่เป็นผู้กล่าวหาตัวกิลส์ เพราะถ้าเกิดเขาได้ปราสาทและทรัพย์สมบัติมูลค่ามหาศาลจะตกเป็นของเขาในทันที
หรือจะเป็นการรวมหัวของพระเจ้าชาร์ลสและโบสถ์ร่วมมือกัน เนื่องจากพระเจ้าชาร์ลสต้องการดินแดน
ในครอบครองของตระกูลกิลส์ อีกทั้งกิลส์ยังสอบสวนด้วยวิธีโบราณเหมือนยุคล่าแม่มด
ถูกทรมานเพื่อสารภาพทั้งที่ไม่มีหลักฐานอะไรชี้แน่ชัดว่าเขาผิดตามข้อกล่าวหา
ด้วยเรื่องราวและบุคลิกที่แสนจะโดดเด่นทำให้กิลส์ปรากฏตัวออกมาหลายสื่อ
ไม่ว่าจะเป็น เพลง นวนิยาย การ์ตูน เกมส์ ภาพยนตร์ โดยการ์ตูน
มังงะญี่ปุ่น
กิลล์ เดอ เรยส์ ปีศาจหรือเหยื่อกันแน่? l บันทึกลึกลับ
โดยเฉพาะเรื่องราวประวัติบุคคลสำคัญ
🛑 วีรบุรุษของชาติล้วนแต่มีหลายอย่างที่ถูกแต่งเติมสีสัน เพิ่มเนื้อหาที่เกินความจริง
ทำให้คนรุ่นหลังชื่นชอบวีรกรรมความกล้าหาญของพวกเขาโดยไม่สนว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องโกหก
🛑 หนึ่งในนั้นคือ…เรื่องราวของขุนนางฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ กิลล์ เดอ เรยส์ หนึ่งในตำนานที่โดดเด่นในศตวรรษที่ 15
🛑 มันเป็นเรื่องจริงตามตำนานหรือไม่ หรือกิลส์ก็เป็นบุคคลที่ถูกกล่าวหาโดยประวัติศาสตร์แบบผิดๆ
กิลส์ เดอ เรยส์ เกิดในช่วงปลาย ปี 1404 ในปราสาทชานโตเซ่ใกล้เมืองนันท์ของแคว้นบริตตัญญี
ในฐานะทายาทผู้สืบทอดเพียงคนเดียวของตระกูล กี เดอ ราวาลผู้เป็นพ่อ เป็นเจ้าบ้านของตระกูลเรยส์
ผู้เป็นเจ้าของปราสาทใหญ่โตหลายแห่ง และแมรี่ เดอ คราออนซึ่งเป็นมารดา
ก็มาจากตระกูลขุนนางที่เก่าแก่ที่สุดตระกูลหนึ่งของฝรั่งเศส ทั้งสองต่างก็มีอาณาเขต
ในกรรมสิทธิ์ของตนเป็นบริเวณกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่มากมาย
และมีรายได้จากการเก็บภาษีอากรราษฏรในแคว้น ซึ่งเมื่อกิลส์สืบทอดมรดก
ตระกูลเรยส์ก็จะกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในฝรั่งเศส
กิลส์ เดอ เรยส์เป็นเด็กอัจฉริยะ พูดจาภาษาลาตินได้คล่องแคล่วฉะฉาน
เขาเก่งเรื่องการทหารและระเบียบวินัยและมีจริยธรรมทั้งกายและปัญญา
ในปี 1415 หลังการเสียชีวิตพ่อแม่ เขาและน้องชายก็อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองคนใหม่
ฌอง เดอ คราออนซึ่งเป็นตา เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาก็ถูกคลุมถุงชนให้แต่งงานกับแคทเธอรีน เดอ ทวาล
เพื่อเพิ่มอิทธิพลแก่วงค์ตระกูลแต่กิลส์ไม่ได้สนใจเจ้าสาวของเขานัก
เวลาส่วนใหญ่มักจะหมดไปกับการสนุกสนานกับบรรดาเด็กหนุ่มที่เป็นคนสนิทของเขามากกว่า
ซึ่งกิลด์เป็นคนรักสหายเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังค่อนข้างเป็นหนุ่มเจ้าสำราญผู้มั่งคั่ง
ชอบจัดงานเลี้ยงหรูหราฟุ่มเฟือยแทบทุกวัน งานเลี้ยงแต่ละครั้งในปราสาทของกิลล์
มักมีแต่อาหารรสเลิศราคาแพง เครื่องดื่มระดับสุดยอด และงานเลี้ยงจะไม่เลิศลา
จนกว่าบรรดาแขกรับเชิญจะกระเดือกไม่เข้าหรือเมาแผ่หลาไปก่อน
ในเรื่องการทหารกิลส์ก็เข้าสู่สนามรบตั้งแต่อายุ 16 เขาเคยเข้าร่วมศึกสงครามสืบราชบัลลังก์
หรือ สงครามสืบราชสมบัติ โดยเข้าข้างดลุกแห่งบริททานี่ย์ ซึ่งกิลล์ได้รับผลตอบแทนเป็นเงิน
และที่ดินมากมาย แต่มาในปี 1425 เขาก็ได้รับใช้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส
และได้ความสามารถในการทหารจากการต่อสู้ที่ แซ็ง-โล และ เลอ ม็องส์
ระหว่าง 1427 และ 1429 ว่ากันว่ากิลส์ในยามหนุ่มนั้นเป็นอีกคนที่กระหายเลือด
ตื่นเต้นเมื่อเห็นเลือด ชอบใช้ความรุนแรงและการฆ่าเป็นอย่างมาก
ต่อมาในปี ปี 1429 พระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ทรงโปรดให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์
เข้าเฝ้าและแนะนำให้เขาได้รู้จักกับโจน ออฟ อาร์ค ซึ่งต่อมาเธอก็ได้เป็นวีรสตรีซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของฝรั่งเศสนั่นเอง
โดยในขณะนั้นพระเจ้าชาร์ลสกำลังมีปัญหาเรื่องการสืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเนื่องจาก
ราชบัลลังก์ฝรั่งเศสกำลังจะตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ
เพราะตอนนั้นอังกฤษครองดินแดนทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่รวมทั้งปารีส
ทำให้อังกฤษสามารถอ้างสิทธิในการครองฝรั่งเศสในส่วนที่มีอำนาจปกครองอยู่
อีกทั้งตัวพระเจ้าชาร์ลสเองก็เป็นกษัตริย์อ่อนแอไม่มีอำนาจมากมาย
ระหว่างที่พระองค์กำลังวิตกกังวลอยู่นั้น จู่ๆ ก็มีเด็กสาวชื่อโจนผู้มีความเชื่อว่าตนได้รับคำสั่งจากพระเจ้า
ให้ดำเนินการกู้ฝรั่งเศส ได้เข้าเฝ้าพระองค์เพื่อเรียกร้องขอกำลังทหารและสิ่งที่จำเป็นในการต่อสู้
หลังจากการพบปะกันแล้วชาร์ลส์ก็ทรงมีความมั่นพระทัยขึ้นเขาเลยจัดทหารตามที่โจน
เรียกร้องพร้อมทั้งการพบปะกับกิลส์ ซึ่งเขาประทับใจในในตัวโจนและประกอบกับว่า
เขาเป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าอยู่แล้ว เขาจึงได้สาบานตนเป็นอัศวินของโจนและกลายมาเป็นมือขวาคู่ใจของเธอนับแต่นั้น
หลังจากนั้นทั้งสองสร้างผลงานไว้มากมายในสงครามร้อยปี
(กิลส์ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารในสงครามครั้งนี้เมื่อปี 1427-1435)
โดยกิลล์ได้นำทหารสู้กับข้าศึกที่เป็นอังกฤษและได้ชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า
ทำให้ได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นแม่ทัพหรือจอมพล
ตั้งแต่ยังหนุ่มและได้รับพระบรมราชานุญาติให้ประดับดอกลิซ (ตราดอกลิลลี่ของราชวงศ์ฝรั่งเศส)
ลงบนตราประจำตระกูลของเขาด้วยนับเป็นเกียตริสูงสุดเท่าที่เขาจะมีได้ในฐานะขุนนางทีเดียว
โดยหลายคนยกย่องกิลล์ว่าเขาเป็นคนที่กล้าหาญกล้าเผชิญหน้า
ผลสุดท้ายโจนก็สามารถนำกองทัพฝรั่งเศสเข้าต่อสู้ที่ออร์เลอองส์ที่ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อฝ่ายอังกฤษ
และเป็นจุดที่เปลี่ยนทิศทางของสงครามที่ทำให้ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายได้เปรียบ
หลังจากชัยชนะในยุทธการพาเทย์ ชาร์ลส์ก็ได้ทำการราชาภิเษกเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7
แห่งฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1429 ที่มหาวิหารแรงส์ในฐานะพระมหากษัตริย์โดยนิตินัย
แต่แล้ว ในปี 1430 โจนถูกจับตัวได้โดยฝ่ายเบอร์กันดีผู้ส่งตัวให้กับฝ่ายอังกฤษ
โจนถูกพิจารณาโทษว่าเป็นผู้นอกศาสนา และถูกเผาทั้งเป็น
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1431 พระเจ้าชาร์ลส์มิได้ทรงเข้าช่วยเหลือโจนแต่อย่างใด
แม้ว่าโจนจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการที่พระองค์
ได้ขึ้นครองราชย์บัลลังก์ฝรั่งเศสก็ตาม และต่อมาอีก 500 ปีต่อมา เธอถูกยกขึ้นเป็นนักบุญ
ในเวลานั้นเองกิลส์เมื่อได้ข่าวเรื่องโจนถูกประหาร นำความโศกเศร้าแก่เขาเป็นอย่างมาก
หลังจากเสร็จสิ้นสงคราม กิลล์ก็กลับไปใช้ชีวิตเจ้าสำราญที่หรูหราไม่สนใจเรื่องการสู้รบอีกครั้ง
ประกอบกับการตายของคุณปู่เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1432 เขาเริ่มฝักใฝ่ในมนต์ดำและการเล่นแร่แปรธาตุ
ต่อมาสงครามร้อยปีก็สิ้นสุดลง พระเจ้าชาร์ลที่เจ็ดของฝรั่งเศสได้ปกครองประเทศอย่างสงบสุข
ความขัดแย้งกลางเมืองก็ลดลง ขุนนาและแม่ทัพหลายนายปลดประจำการเพื่อให้พวกเขากลับบ้านตนเอง
เพื่อสร้างและสะสมความมั่งคงเพื่อชดเชยสิ่งที่หายไปในระหว่างสงคราม
ในปี 1434 กิลส์ถอนตัวจากชีวิตทหาร โดยเน้นอุปภัมภ์ศิลปะ สร้างโบสถ์สวยงาม
และเริ่มสนใจเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุ โดยเฉพาะการเปลี่ยนโลหะให้เป็นทอง
เขาซื้อหาหนังสือเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุมาอ่านมากมาย
ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวถึงยุคตกต่ำของกิลส์อย่างชัดเจนเพราะเขาดำเนินชีวิตแบบฟุ่มเฟือยมาตลอด
จนรายรับไม่พอกับรายจ่าย ทำให้เขาต้องขายที่ดินและทรัพย์สินของเขาจนเกือบหมดเพื่อใช้หนี้
(ยกเว้นที่ดินของภรรยา) จนเขาเหลือเพียงปราสาทสองหลัง(ปราสาท Champtocé-sur-Loire และ Ingrandes )
ที่ยังอยู่ในการครอบครองของเขา
แม้แต่เหล่าญาติต่างประณามเรื่องกิลส์ที่ใช้จ่ายสุลุ่ยสุรายจนต้องขายทรัพย์สิน
อีกทั้งพระเจ้าชาร์ลส์เองก็ยังไม่ทำให้กิลส์ทำสัญญาใดๆกับใครอีกต่อไป ใครที่ให้กิลส์ยืมเงินมีโทษหนัก
อีกทั้งยังออกกฎห้ามขายปราสาทที่เหลือและห้ามทิ้งผู้ใต้บังคับบัญชาของเขา
ในปี 1439 ในช่วงเวลาดังกล่าวกิลส์เริ่มเสาะหาผู้วิเศษต่างๆ ในการเล่นแร่แปรธาตุโลหะให้เป็นทอง
ว่ากันว่าเขาได้พบชายคนหนึ่งชื่อ ฟรานคอยส์ เปรลาติ นักเล่นแร่แปรธาตุไสยศาสตร์ที่อวดอ้างว่า
เขาสามารถทำให้กิลส์สมหวังได้โดยการบูชายันเด็กเพื่อสังเวยแก่ปีศาจที่ชื่อ บารอน
และนั้นเองถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นทำให้กิลส์กลายเป็นฆาตกรต่อเนื่องที่ฆ่าคนมากที่สุดในโลกในที่สุด
จากคำสารภาพของกิลส์(จากการถูกทรมานในการสอบสวน)
เขาบอกว่าเขาเลยฆ่าเด็กจำนวนมากมายในระหว่างฤดูใบไม้ผลิ 1423-1433
ตอนแรกเน้นเด็กฝึกงานหรือลักพาตัวเด็กจากที่ต่างๆ หลังจากนั้นก็ใช้วิธีโดยรวบรวมเด็กชายจากที่ต่างๆ
มาเพื่อเป็นเครื่องสังเวยให้กับปีศาจเนื่องจากในเวลานั้นยังมีสงครามกันอย่างต่อเนื่อง
ตามเมืองต่างๆจึงมีเด็กกำพร้าเร่ร่อนอยู่มากมาย โดยตอนแรกลูกน้องของกิลส์พาเด็กเหล่านี้
มายังปราสาท Champtocé - sur Loire หากแต่เมื่อศพเด็กล้นจนไม่มีที่เก็บ จนต้องย้ายไปที่ Machecoul
ส่วนจำนวนเหยื่อที่กิลส์ฆ่านั้นไม่แน่นอน ว่ากันว่าหลังจากถูกกิลส์ถูกจับในปี 1437
พวกเขาก็พบศพเด็กสิบศพในที่เกิดเหตุ พวกเขาถูกตัดคอเพื่อสังเวยเลือดแก่พิธี
เด็กบางคนถูกตัดแขนตัดขาเป็นชิ้นๆ บางคนถูกฟาดหัวด้วยท่อนไม้ตอกตะปู
บางคนถูกเฉือนเนื้อออกทีละน้อยในขณะที่มีชีวิต เด็กบางคนถูกผ่าท้องแล้วทึ้งไส้ออกมา
จากคำสารภาพของกิลส์บอกว่าเขาได้ข่มขืนศพของเด็กที่เสียชีวิตแล้ว อีกทั้งยังสะสมศีรษะของ
เด็กหนุ่มจำนวนมาก และศีรษะที่หน้าตาดีจะถูกเรียงไว้เหนือเตาผิงเหมือนเป็นคอลเลคชั่นพิเศษ
และชิ้นส่วนที่เหลิอเขาจะนำไปเผาหรือเอาไปทิ้งในถังส้วมซึมหรือที่คูเมือง
ในวันที่ 15 พฤษภาคม 1440 กิลส์ได้ลักพาตัวบาทหลวงคริสต์จักรไปจองจำในปราสาทของตน
เนื่องจากมีปัญหาเรื่องพิพากษากรรมสิทธิ์ปราสาท ทางด้านฝ่ายโบสถ์เองก็พยายามจับผิดกิลส์อยู่แล้ว
ประกอบกับสงสัย เกี่ยวกับคดีเด็กหายสาปสูญอยู่แล้ว จึงได้อาศัยโอกาสนี้เองนำคนเข้าตรวจปราสาทของ กิลส์
และวันที่ 15 กันยายน ทางการได้จับกุมเขาและพวกไว้ได้ในที่สุด
เชื่อกันว่าการสอบสวนในครั้งนั้น มีการทารุณกรรมเพื่อทรมานให้ผู้จับกุมยอมรับสารภาพ
และถูกซัดทอดผู้ต้องหาด้วย แม้กระทั้งตัวกิลส์เองก็ไม่พ้นทัณฑ์ทรมานอย่างสาหัสเพื่อให้รับสารภาพ
วันที่12 ตุลาคม ค.ศ. 1440 มีการประกาสอย่างเป็นทางการว่า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์
ยอมรับสารภาพว่าเขาคือผู้สังหารเด็กนับร้อยคนนั้นโดยมีคำยืนยันของกิลส์มีดังต่อไปนี้
ข้าพเจ้าขอย้ำว่าที่ฆ่าพวกเด็กๆ เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับอำนาจและความร่ำรวยของข้าพเจ้า
เจตนาที่ได้กระทำลงไปมีเพียงเท่านี้ส่วนจำนวนเหยื่อที่กิลส์สังหารไปนั้นไม่สามารถระบุได้ว่ามีเท่าไหร่กันแน่
โดยจากการสันนิษฐษนระบุว่าอยู่ระหว่าง 80 และ 200 บางคนก็ 600 ขึ้นไปเหยื่อมีอายุระหว่าง 6-18 ปี และมีทั้งสองเพศ
การพิพากษาถูกจัดขึ้นที่ปราสาทนันท์และกินเวลาแค่ 1 เดือน วันที่ 23 ตุลาคม
พระสังฆราชซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาติจากพระเจ้าชาร์ลส ฟ้องกิลส์ในข้อหาประกอบพฤติกรรมนอกรีต
สังหารเด็ก ทำสัญญาปีศาจ และกระทำตนขัดต่อหลักธรรมชาติ ซึ่งโทษคือประหารสถานเดียวเท่านั้น
ในวันที่ 26 ตุลาคม 1440 เวลา 9:00 กิลล์(และพรรคพวกสองคน)
ได้ถูกนำตัวไปประหารโดยการแขวนคอและเผา(ในครั้งแรก จะมีการตัดสินโทษเผาทั้งเป็น
แต่เนื่องจากการเผาทั้งเป็นถือเป็นการลบหลู่เกียรติมากในสมัยนั้น และด้วยว่ากิลส์เองก็มีความชอบ
เขาจึงรอดโทษเผาทั้งเป็นไป) กิลส์ได้เดินไปที่ตะแลงแกงที่ใช้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอที่
เมื่อถึงเวลาประหารชีวิต กิลส์ถูกนำตัวขึ้นตะแลงแกง ถูกสร้างขึ้น ผู้คนมาชมล้นหลาม
จนต้องมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการแย่งชิงตัวนักโทษประหาร
กิลส์เดินเข้าหาความตายของตนอย่างองอาจ ไม่มีความพรั่นพรึงแม้แต่น้อย
ถุงผ้าคลุมศีรษะถูกนำมาสวมแล้วเพชฌฆาตนำเชือกบ่วงคล้องคอมาสวม จากนั้นก็เปิดพื้นใต้ฝ่าเท้านักโทษ
ร่างของเขาหล่นลงไปในช่อง หลังจากนั้นพวกเขาก็นำร่างไร้วิญญาณของเขาไปเผาไฟ และฝังตามพิธีกรรมคาทอลิก
หากแต่ต่อมาทั้งหมดก็ถูกทำลายในสมัยปฏิวัติฝรั่งเศส
ส่วนภรรยาของกิลส์แต่งงานใหม่กับดยุคที่มีอำนาจและร่ำรวยก่อนที่เธอจะตายโดยไม่มีบุตร
นี้คือภาพลักษณ์ของกิลส์ที่เรารู้จักกันดี แน่นอนสิ่งที่ตามมาก็คือมันเป็นเรื่องจริงตามตำนานหรือไม่
หรือกิลส์ก็เป็นบุคคลที่ถูกกล่าวหาโดยประวัติศาสตร์แบบผิดๆ กิลส์กลายเป็นเหยื่ออีกรายที่ถูกใส่ร้าย
โดยอุบายทางการเมืองที่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมและการหักหลัง อาจเป็นเพราะฝีมือของดยุคจอห์นแห่งแคว้นบริตตัญญี
ที่เป็นผู้กล่าวหาตัวกิลส์ เพราะถ้าเกิดเขาได้ปราสาทและทรัพย์สมบัติมูลค่ามหาศาลจะตกเป็นของเขาในทันที
หรือจะเป็นการรวมหัวของพระเจ้าชาร์ลสและโบสถ์ร่วมมือกัน เนื่องจากพระเจ้าชาร์ลสต้องการดินแดน
ในครอบครองของตระกูลกิลส์ อีกทั้งกิลส์ยังสอบสวนด้วยวิธีโบราณเหมือนยุคล่าแม่มด
ถูกทรมานเพื่อสารภาพทั้งที่ไม่มีหลักฐานอะไรชี้แน่ชัดว่าเขาผิดตามข้อกล่าวหา
ด้วยเรื่องราวและบุคลิกที่แสนจะโดดเด่นทำให้กิลส์ปรากฏตัวออกมาหลายสื่อ
ไม่ว่าจะเป็น เพลง นวนิยาย การ์ตูน เกมส์ ภาพยนตร์ โดยการ์ตูน
มังงะญี่ปุ่น