โยน ถูกเผาทั้งเป็น ตามรูปแบบการกับแม่มดในยุคนั้น แถมยังเผาถึง 3 ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีซากให้ออกมาทำความวุ่นวายได้อีก
“โยน ออฟ อาร์ค” คนไทยอาจจดจำเธอจากภาพยนตร์ แต่เธอมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์โลก แม้ว่าในอีกมิติความเป็นตัวเธอ จะยังคงสร้างความสงสัยกับชาวโลกมาจนบัดนี้ว่าเธอคือใครกันแน่?
โยน ออฟ อาร์ค หรือ ฌาน ดาร์ก เธอเป็นทั้งสาวชาวนาธรรมดา นักรบ แม่มด และนักบุญ แต่ทั้งหมดรวมกันเธอยังเป็นบุคคลที่ควรแค่กแก่การกล่าวถึง
เมื่อ 588 ปีก่อน ตรงกับวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 1974 เธอต้องสังเวยชีวิต “ทั้งเป็น” บนกองไฟ ให้กับความอยุติธรรมบางอย่าง ที่กว่าเธอจะได้การตีตราใหม่ว่า “ผู้บริสุทธิ์” นั่นก็ตอนที่ร่างของเธอเป็นเถ้าธุลีหายไปกับสายลมหลายสิบปีแล้ว
เสียงกระซิบจากสวรรค์
ในวัยต้น โยน หรือ โจน เป็นเฉกเช่นเด็กสาวธรรมดาทั่วไป เป็นบุตรีของฌาคส์ ดาร์ก และอิสซาเบลลา โรเม ครอบครัวชาวนาที่เมืองดอมเรมีในแถบที่ราบของแคว้นลอร์เรน ทางภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส
ด้วยเหตุที่ฝรั่งเศสในขณะนั้นถูกยึดครองโดยประเทศอังกฤษเจ้าอาณานิคม ในช่วงของการเกิดเหตุการณ์ของสงครามร้อยปี การพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพจึงเป็นเป้าหมายหลักของประเทศ
ตามประวัติ โยนเป็นคนที่เคร่งศาสนาเป็นอย่างมาก ว่ากันว่าเธอจะไปสวดมนต์ที่โบสถ์แบร์มงต์ ใกล้กับเมืองเกรอซ์ เป็นประจำทุกวันเสาร์ หรือยามว่าง
แต่แล้ววันหนึ่ง ชีวิตของเด็กสาววัยเพียง 17 ปี ก็ต้องพบกับจุดเปลี่ยนไปชั่วกาลถึงขั้นจุดจบ แน่นอนมีทฤษฎีสมคบคิดมากมาย ที่ระบุว่า โยนถูกเลือกโดยกองทัพฝรั่งเศสให้สวมบทบาทผู้นำ สาวบริสทุธิ์ที่มาเพื่อเรียกขวัญและวิญญาณชาวฝรั่งเศสและทหารกลับมาอีกครั้ง
แต่ฉากหน้าเธอบอกทุกคนว่า ในช่วงวัย 12 อยู่ๆ เธอได้ยินเสียงจากพระเจ้า ทรงสั่งให้ตนเองเป็นผู้ที่สามารถปลดปล่อยประเทศฝรั่งเศสออกจากกองทัพของประเทศอังกฤษได้
ภาพวาดแสดงภาพฌานออฟอาร์คเข้าเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7
นิมิตรนี้เกิดขึ้นขณะที่ออกไปเดินในทุ่งคนเดียว จนเมื่อเสียงจากสรรค์หายไป เธอก็ร้องไห้ด้วยความปีติ ต่อมาเมื่อเธออายุได้ 16 ปี โยนจึงขอให้ญาตินำตัวไปให้ผู้บังคับบัญชากองทหาร เคานท์โรแบร์ต เดอ โบดริคูร์ต อนุญาตให้เธอไปเฝ้า "มกุฎราชกุมารชาร์ลส์" ในราชสำนักฝรั่งเศสที่ชีนง
ครั้งแรกไม่สำเร็จ จนกระทั่งปีต่อมาในวัย 17 โยนกลับมาอีกครั้ง และคราวนี้เธอได้เข้าไป จากนั้นก็ลุกขึ้นมาแต่งกายกลายเป็นนักรบชาย และเข้าสู่กองทัพ
สาวพรหมจรรย์แห่งออร์เลอองส์
ในสงคราม โยนออกรบตอบโต้กับกองทัพอังกฤษ ไต่เต้าจนเป็นแม่ทัพ และสามารถปลดปล่อยเมือง ออร์เลอออง (Orleans) จนได้อิสรภาพ และยังเอาชนะคำดูแคลนจากชายอกสามศอกในกองทัพได้อย่างไม่มีใครเถียง ทั้งยังพากองทัพฟาดฟันจนได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดหลายครั้ง
แถมยังมีส่วนทางอ้อมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของมกุฎราชกุมารชาร์ลส์ กลายเป็น "พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7" ช่วงนั้นเองที่โยนได้รับฉายาว่าเป็น “สาวพรหมจรรย์แห่งออร์เลอองส์”
โยนออฟอาร์คในยุทธการที่ออร์เลอองส์
แต่เรื่องยังไม่จบ เพราะย้อนไปก่อนที่พิธีสถาปนาจะเริ่มขึ้น โยนอ้างว่าได้ยินเสียงจากเบื้องบนกระซิบว่า พิธีราชาภิเษกของเจ้าชายชาร์ลส์จะต้องจัดขึ้นที่เมืองแรงส์เท่านั้น เนื่องจากพระเจ้าคลอวิสที่ 1 ซึ่งเป็นต้นตระกูลของราชวงศ์ฝรั่งเศสได้รับศีลล้างบาปที่เมืองแรงส์นี้ และกษัตริย์ของฝรั่งเศสก็ประกอบพิธีราชาภิเษกที่นี่ทุกพระองค์
ทุกอย่างจึงเป็นไปตามที่โยนบอก ท่ามกลางการปะทะกับกองทัพอังกฤษไปตลอดเส้นทางไปเมืองแรงส์ แต่ที่สุดเจ้าชายชาร์ลส์ก็ทรงขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสได้ในวันที่ 17 กรกฎาคม 1429
ว่ากันว่า หลังจากนั้นอดีตเจ้าชายที่กลายเป็นกษัตริย์ก็หมดความกระหายที่จะทำสงครามขับไล่อังกฤษอีกต่อไป แถมยังออกอาการประนีประนอมยอมความ
โดยเชิญ “ดยุคแห่งเบอร์กันดี” ข้ารับใช้ของอังกฤษมาเจรจาในวัง ในขณะที่โยนต้องการกำจัดอำนาจของอังกฤษให้หมดไปจากฝรั่งเศส ถึงตอนนั้น สาวพรหมจรรย์แห่งออร์เลออง จึงเหมือนถูกกันไปยืนคนละข้างกับราชาของเธอเสียแล้ว
สำเร็จโทษด้วยฟอนไฟ
แน่นอนจังหวะนี้ ดยุคแห่งเบอร์กันดีจึงถือโอกาสล็อบบี้คิงส์ฝรั่งเศส ด้วยทริคเด็ดที่ใช้กันทุกถิ่นหล้าทั่วโลก คือเม้าท์มอยปล่อยข่าวว่า “โยนชักจะมีความเด่นดังเป็นที่รักของประชาชน จนดูๆ แล้วเกินหน้าเกินตาคนเป็นกษัตริย์ไปเสียแล้ว” แล้วก็ได้ผลเสียด้วย
จากนั้นพระองค์และกลุ่มขุนนาง (พวกผู้ชายที่ไม่ชอบหน้าโยนอยู่แล้ว) พวกเขาจึงพากันปล่อยให้โยนกรีธาทัพไปบุกปารีสเพียงลำพัง แน่นอน ทัพของโยนจึงไม่ใช่ทัพที่มีกำลังไพร่พลมหาศาลดังแต่ก่อน ส่งผลให้โยนถูกจับได้ในที่สุด
แต่โยนก็เก่งกาจจนสามารถเล็ดรอดหนีออกมาได้ หลังถูกจับและถูกขังไว้ในปราสาทเทรมุย ปรากฏว่า พอโจนรีบเดินทางไปสมทบกับกองทัพฝรั่งเศสที่กำลังรบติดพันกับอังกฤษอยู่ที่ “กงปิแญ”
หอคอยที่รูอ็องที่โยนถูกจำขังระหว่างการพิจารณาคดี
โยนกลับโดนเท โดยคนกันเอง เพราะบรรดาขุนนางฝรั่งเศสได้รวมหัวกัน จับโยนส่งไปให้อังกฤษ เพื่อแลกกับเงินรางวัล 10,000 ฟรังก์
ถึงตรงนี้ น่าจะนึกออกเป็นอย่างดีว่า โยนจะถูกกระทำเยี่ยงไร เพราะที่สุดเธอก็ถูกส่งตัวไปอยู่ในความควบคุมของศาสนจักร ถูกจับขึ้นศาล ด้วยข้อกล่าวหาสำคัญที่สุด คือ การแอบอ้างตัวเป็นผู้นำสาสน์จากพระเจ้า
โยนกลายเป็นวายร้ายนอกรีต แถมยัง โดนผู้นำกลุ่มสอบสวนจำนวน 60 คน กล่าวหาว่าเธอเป็น “แม่มด” ที่มาเพื่อทำลายศาสนจักรของพระผู้เป็นเจ้า
ภาพโยนขณะถูกสืบสวนในที่คุมขัง โดยคาร์ดินัลวินเชสเตอร์ โดย Hippolyte Delaroche ค.ศ. 1824 พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์, รูออง, ฝรั่งเศส
และถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการเผาทั้งเป็น ขณะที่เธอมีอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น!!!
ว่ากันว่าในวันประหาร ซึ่งตรงกับวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 1974 ที่เมองรูออง โยนขอถือไม้กางเขน และตะโกนคำว่า “Jesus!!!!” ขณะที่เปลวเพลิงค่อยๆ กลืนเธอหายไปต่อหน้าต่อตาทุกๆ คนที่นั่น
เชื่อหรือไม่ว่า บางทีโยนอาจตายเพื่อให้ชาวฝรั่งเศสกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง ในการต่อกรกับกองทัพอังกฤษ เพราะหลังจากนั้นทัพฝรั่งเศสสามารถเอาชนะและได้อิสรภาพกลับคืนมาสู่ประเทศอีกด้วย
หลังถูกเผาทั้งเป็น ตามรูปแบบการจัดการกับแม่มดในยุคนั้น แถมยังถูกเผาถึง 3 ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีซากให้ออกมาทำความวุ่นวายได้อีก อัฐิของเธอถูกนำไปโปรยในแม่น้ำแซน (ตรงจุดที่เป็นที่ตั้งของสะพาน โยน ออฟ อาร์ค ในปัจจุบัน)
โยน ออฟ อาร์ค ถูกเผาทั้งเป็น ภาพโดย Jules-Eugène Lenepveu
ผ่านมาถึง 25 ปี ได้มีการพลิกคดีของโจนขึ้นมาวินิจฉัยใหม่ โดนพระสันตปาปา แคลลิกตัสที่ 3 วันนั้น การไต่สวนใหม่สรุปว่า โจนเป็นผู้บริสุทธิ์ และได้ประกาศให้การตัดสินลงโทษเธอเป็น “โมฆะ”
กระทั่งผ่านมาอีกถึง 488 ปี หรือในปี พ.ศ. 2452 ทางวาติกันประกาศให้โยน เป็น “มรณสักขี” และได้รับแต่งตั้งให้เป็นบุญราศีในปีเดียวกัน กระทั่งในปี 2463 พระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 15 ได้แต่งตั้งเธอเป็น นักบุญโจนออฟอาร์ค (Saint Joan of Arc) วีรสตรีผู้ปลดปล่อยประเทศฝรั่งเศส และเป็นผู้ที่มีศรัทธาอย่างมั่นคงต่อพระเจ้า มาจนทุกวันนี้
บ้านเกิดของฌาน ในปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์
และโบสถ์ประจำหมู่บ้านที่ฌานเคยเข้าไปสักการะอยู่ทางขวาหลังต้นไม้
แน่นอน โยนมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสเป็นอันมาก ต่อยอดไปถึงนักการเมืองฝรั่งเศสที่มักจะนำเรื่องราวของเธอมาปลุกเร้าความเป็นชาตินิยม
ยาวไปถึงกลุ่มนักเขียน ศิลปิน ที่สร้างผลงานจากเรื่องราวของเธออีกจำนวนมหาศาล เช่น วิลเลียม เชกสเปียร์, วอลแตร์, ฟรีดริช ชิลเลอร์ ฯลฯ
แถมในยุคร่วมสมัย เรื่องราวของโยนก็ยังคงถูกนำมาผลิตซ้ำอยู่เนืองๆ ในวัฒนธรรมป๊อป เช่น ภาพยนตร์, โทรทัศน์, วิดีโอเกม, เพลง ฯลฯ
ภาพยนตร์ The Messenger ในปี 1999
ทุกครั้งที่อ่านเรื่องราวของเธอ เราจะทั้งชื่นชม สงสาร และเจ็บใจ ว่าความยุติธรรมบางทีมันก็ถูกกดทับจากอำนาจขณะนั้น จนกว่ามันจะเกิดขึ้นก็ตอนที่สายเกินไป หรือยังไม่สายก็แล้วแต่จะคิด!
//////////////////////
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99_%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81
http://www.anyapedia.com/2013/08/blog-post_28.html
Cr.
https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/373657
"โยนออฟอาร์ค" จากแม่มดสู่นักบุญ
“โยน ออฟ อาร์ค” คนไทยอาจจดจำเธอจากภาพยนตร์ แต่เธอมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์โลก แม้ว่าในอีกมิติความเป็นตัวเธอ จะยังคงสร้างความสงสัยกับชาวโลกมาจนบัดนี้ว่าเธอคือใครกันแน่?
โยน ออฟ อาร์ค หรือ ฌาน ดาร์ก เธอเป็นทั้งสาวชาวนาธรรมดา นักรบ แม่มด และนักบุญ แต่ทั้งหมดรวมกันเธอยังเป็นบุคคลที่ควรแค่กแก่การกล่าวถึง
เมื่อ 588 ปีก่อน ตรงกับวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 1974 เธอต้องสังเวยชีวิต “ทั้งเป็น” บนกองไฟ ให้กับความอยุติธรรมบางอย่าง ที่กว่าเธอจะได้การตีตราใหม่ว่า “ผู้บริสุทธิ์” นั่นก็ตอนที่ร่างของเธอเป็นเถ้าธุลีหายไปกับสายลมหลายสิบปีแล้ว
เสียงกระซิบจากสวรรค์
ในวัยต้น โยน หรือ โจน เป็นเฉกเช่นเด็กสาวธรรมดาทั่วไป เป็นบุตรีของฌาคส์ ดาร์ก และอิสซาเบลลา โรเม ครอบครัวชาวนาที่เมืองดอมเรมีในแถบที่ราบของแคว้นลอร์เรน ทางภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส
ด้วยเหตุที่ฝรั่งเศสในขณะนั้นถูกยึดครองโดยประเทศอังกฤษเจ้าอาณานิคม ในช่วงของการเกิดเหตุการณ์ของสงครามร้อยปี การพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพจึงเป็นเป้าหมายหลักของประเทศ
ตามประวัติ โยนเป็นคนที่เคร่งศาสนาเป็นอย่างมาก ว่ากันว่าเธอจะไปสวดมนต์ที่โบสถ์แบร์มงต์ ใกล้กับเมืองเกรอซ์ เป็นประจำทุกวันเสาร์ หรือยามว่าง
แต่แล้ววันหนึ่ง ชีวิตของเด็กสาววัยเพียง 17 ปี ก็ต้องพบกับจุดเปลี่ยนไปชั่วกาลถึงขั้นจุดจบ แน่นอนมีทฤษฎีสมคบคิดมากมาย ที่ระบุว่า โยนถูกเลือกโดยกองทัพฝรั่งเศสให้สวมบทบาทผู้นำ สาวบริสทุธิ์ที่มาเพื่อเรียกขวัญและวิญญาณชาวฝรั่งเศสและทหารกลับมาอีกครั้ง
แต่ฉากหน้าเธอบอกทุกคนว่า ในช่วงวัย 12 อยู่ๆ เธอได้ยินเสียงจากพระเจ้า ทรงสั่งให้ตนเองเป็นผู้ที่สามารถปลดปล่อยประเทศฝรั่งเศสออกจากกองทัพของประเทศอังกฤษได้
ภาพวาดแสดงภาพฌานออฟอาร์คเข้าเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7
นิมิตรนี้เกิดขึ้นขณะที่ออกไปเดินในทุ่งคนเดียว จนเมื่อเสียงจากสรรค์หายไป เธอก็ร้องไห้ด้วยความปีติ ต่อมาเมื่อเธออายุได้ 16 ปี โยนจึงขอให้ญาตินำตัวไปให้ผู้บังคับบัญชากองทหาร เคานท์โรแบร์ต เดอ โบดริคูร์ต อนุญาตให้เธอไปเฝ้า "มกุฎราชกุมารชาร์ลส์" ในราชสำนักฝรั่งเศสที่ชีนง
ครั้งแรกไม่สำเร็จ จนกระทั่งปีต่อมาในวัย 17 โยนกลับมาอีกครั้ง และคราวนี้เธอได้เข้าไป จากนั้นก็ลุกขึ้นมาแต่งกายกลายเป็นนักรบชาย และเข้าสู่กองทัพ
สาวพรหมจรรย์แห่งออร์เลอองส์
ในสงคราม โยนออกรบตอบโต้กับกองทัพอังกฤษ ไต่เต้าจนเป็นแม่ทัพ และสามารถปลดปล่อยเมือง ออร์เลอออง (Orleans) จนได้อิสรภาพ และยังเอาชนะคำดูแคลนจากชายอกสามศอกในกองทัพได้อย่างไม่มีใครเถียง ทั้งยังพากองทัพฟาดฟันจนได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดหลายครั้ง
แถมยังมีส่วนทางอ้อมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของมกุฎราชกุมารชาร์ลส์ กลายเป็น "พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7" ช่วงนั้นเองที่โยนได้รับฉายาว่าเป็น “สาวพรหมจรรย์แห่งออร์เลอองส์”
โยนออฟอาร์คในยุทธการที่ออร์เลอองส์
แต่เรื่องยังไม่จบ เพราะย้อนไปก่อนที่พิธีสถาปนาจะเริ่มขึ้น โยนอ้างว่าได้ยินเสียงจากเบื้องบนกระซิบว่า พิธีราชาภิเษกของเจ้าชายชาร์ลส์จะต้องจัดขึ้นที่เมืองแรงส์เท่านั้น เนื่องจากพระเจ้าคลอวิสที่ 1 ซึ่งเป็นต้นตระกูลของราชวงศ์ฝรั่งเศสได้รับศีลล้างบาปที่เมืองแรงส์นี้ และกษัตริย์ของฝรั่งเศสก็ประกอบพิธีราชาภิเษกที่นี่ทุกพระองค์
ทุกอย่างจึงเป็นไปตามที่โยนบอก ท่ามกลางการปะทะกับกองทัพอังกฤษไปตลอดเส้นทางไปเมืองแรงส์ แต่ที่สุดเจ้าชายชาร์ลส์ก็ทรงขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสได้ในวันที่ 17 กรกฎาคม 1429
ว่ากันว่า หลังจากนั้นอดีตเจ้าชายที่กลายเป็นกษัตริย์ก็หมดความกระหายที่จะทำสงครามขับไล่อังกฤษอีกต่อไป แถมยังออกอาการประนีประนอมยอมความ
โดยเชิญ “ดยุคแห่งเบอร์กันดี” ข้ารับใช้ของอังกฤษมาเจรจาในวัง ในขณะที่โยนต้องการกำจัดอำนาจของอังกฤษให้หมดไปจากฝรั่งเศส ถึงตอนนั้น สาวพรหมจรรย์แห่งออร์เลออง จึงเหมือนถูกกันไปยืนคนละข้างกับราชาของเธอเสียแล้ว
สำเร็จโทษด้วยฟอนไฟ
แน่นอนจังหวะนี้ ดยุคแห่งเบอร์กันดีจึงถือโอกาสล็อบบี้คิงส์ฝรั่งเศส ด้วยทริคเด็ดที่ใช้กันทุกถิ่นหล้าทั่วโลก คือเม้าท์มอยปล่อยข่าวว่า “โยนชักจะมีความเด่นดังเป็นที่รักของประชาชน จนดูๆ แล้วเกินหน้าเกินตาคนเป็นกษัตริย์ไปเสียแล้ว” แล้วก็ได้ผลเสียด้วย
จากนั้นพระองค์และกลุ่มขุนนาง (พวกผู้ชายที่ไม่ชอบหน้าโยนอยู่แล้ว) พวกเขาจึงพากันปล่อยให้โยนกรีธาทัพไปบุกปารีสเพียงลำพัง แน่นอน ทัพของโยนจึงไม่ใช่ทัพที่มีกำลังไพร่พลมหาศาลดังแต่ก่อน ส่งผลให้โยนถูกจับได้ในที่สุด
แต่โยนก็เก่งกาจจนสามารถเล็ดรอดหนีออกมาได้ หลังถูกจับและถูกขังไว้ในปราสาทเทรมุย ปรากฏว่า พอโจนรีบเดินทางไปสมทบกับกองทัพฝรั่งเศสที่กำลังรบติดพันกับอังกฤษอยู่ที่ “กงปิแญ”
หอคอยที่รูอ็องที่โยนถูกจำขังระหว่างการพิจารณาคดี
โยนกลับโดนเท โดยคนกันเอง เพราะบรรดาขุนนางฝรั่งเศสได้รวมหัวกัน จับโยนส่งไปให้อังกฤษ เพื่อแลกกับเงินรางวัล 10,000 ฟรังก์
ถึงตรงนี้ น่าจะนึกออกเป็นอย่างดีว่า โยนจะถูกกระทำเยี่ยงไร เพราะที่สุดเธอก็ถูกส่งตัวไปอยู่ในความควบคุมของศาสนจักร ถูกจับขึ้นศาล ด้วยข้อกล่าวหาสำคัญที่สุด คือ การแอบอ้างตัวเป็นผู้นำสาสน์จากพระเจ้า
โยนกลายเป็นวายร้ายนอกรีต แถมยัง โดนผู้นำกลุ่มสอบสวนจำนวน 60 คน กล่าวหาว่าเธอเป็น “แม่มด” ที่มาเพื่อทำลายศาสนจักรของพระผู้เป็นเจ้า
ภาพโยนขณะถูกสืบสวนในที่คุมขัง โดยคาร์ดินัลวินเชสเตอร์ โดย Hippolyte Delaroche ค.ศ. 1824 พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์, รูออง, ฝรั่งเศส
และถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการเผาทั้งเป็น ขณะที่เธอมีอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น!!! ว่ากันว่าในวันประหาร ซึ่งตรงกับวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 1974 ที่เมองรูออง โยนขอถือไม้กางเขน และตะโกนคำว่า “Jesus!!!!” ขณะที่เปลวเพลิงค่อยๆ กลืนเธอหายไปต่อหน้าต่อตาทุกๆ คนที่นั่น
เชื่อหรือไม่ว่า บางทีโยนอาจตายเพื่อให้ชาวฝรั่งเศสกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง ในการต่อกรกับกองทัพอังกฤษ เพราะหลังจากนั้นทัพฝรั่งเศสสามารถเอาชนะและได้อิสรภาพกลับคืนมาสู่ประเทศอีกด้วย
หลังถูกเผาทั้งเป็น ตามรูปแบบการจัดการกับแม่มดในยุคนั้น แถมยังถูกเผาถึง 3 ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีซากให้ออกมาทำความวุ่นวายได้อีก อัฐิของเธอถูกนำไปโปรยในแม่น้ำแซน (ตรงจุดที่เป็นที่ตั้งของสะพาน โยน ออฟ อาร์ค ในปัจจุบัน)
โยน ออฟ อาร์ค ถูกเผาทั้งเป็น ภาพโดย Jules-Eugène Lenepveu
ผ่านมาถึง 25 ปี ได้มีการพลิกคดีของโจนขึ้นมาวินิจฉัยใหม่ โดนพระสันตปาปา แคลลิกตัสที่ 3 วันนั้น การไต่สวนใหม่สรุปว่า โจนเป็นผู้บริสุทธิ์ และได้ประกาศให้การตัดสินลงโทษเธอเป็น “โมฆะ”
กระทั่งผ่านมาอีกถึง 488 ปี หรือในปี พ.ศ. 2452 ทางวาติกันประกาศให้โยน เป็น “มรณสักขี” และได้รับแต่งตั้งให้เป็นบุญราศีในปีเดียวกัน กระทั่งในปี 2463 พระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 15 ได้แต่งตั้งเธอเป็น นักบุญโจนออฟอาร์ค (Saint Joan of Arc) วีรสตรีผู้ปลดปล่อยประเทศฝรั่งเศส และเป็นผู้ที่มีศรัทธาอย่างมั่นคงต่อพระเจ้า มาจนทุกวันนี้
บ้านเกิดของฌาน ในปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์
และโบสถ์ประจำหมู่บ้านที่ฌานเคยเข้าไปสักการะอยู่ทางขวาหลังต้นไม้
แน่นอน โยนมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสเป็นอันมาก ต่อยอดไปถึงนักการเมืองฝรั่งเศสที่มักจะนำเรื่องราวของเธอมาปลุกเร้าความเป็นชาตินิยม
ยาวไปถึงกลุ่มนักเขียน ศิลปิน ที่สร้างผลงานจากเรื่องราวของเธออีกจำนวนมหาศาล เช่น วิลเลียม เชกสเปียร์, วอลแตร์, ฟรีดริช ชิลเลอร์ ฯลฯ
แถมในยุคร่วมสมัย เรื่องราวของโยนก็ยังคงถูกนำมาผลิตซ้ำอยู่เนืองๆ ในวัฒนธรรมป๊อป เช่น ภาพยนตร์, โทรทัศน์, วิดีโอเกม, เพลง ฯลฯ
ภาพยนตร์ The Messenger ในปี 1999
ทุกครั้งที่อ่านเรื่องราวของเธอ เราจะทั้งชื่นชม สงสาร และเจ็บใจ ว่าความยุติธรรมบางทีมันก็ถูกกดทับจากอำนาจขณะนั้น จนกว่ามันจะเกิดขึ้นก็ตอนที่สายเกินไป หรือยังไม่สายก็แล้วแต่จะคิด!
//////////////////////
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99_%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81
http://www.anyapedia.com/2013/08/blog-post_28.html
Cr.https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/373657