+++ กระทู้ที่เคย สนทนากับคุณ withorn_saab +++ *** พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ? *** +++

.  

***************
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=2586&Z=2679
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๔. อนุราธสูตร

         ...
...
...

 พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในเวทนาหรือ       
0           อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสัญญาหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า
.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสัญญาหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า..

             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสังขารหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า..

             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในวิญญาณหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
 
            พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

...
...

***************

--------------------
----- ขอสนทนากับคุณ withorn_saab เพื่อความต่อเนื่องในการสนทนา เกี่ยวกับเรื่องคำว่า สัตว์ ว่าคืออะไร -​---
https://ppantip.com/topic/39107522/comment29

ความคิดเห็นที่ 29

-----  พระธรรม  ที่ทรงตรัสแสดงให้ทราบว่า  
           คำว่า สัตว์  คำว่า บุคคล  ไม่ได้เป็นอะไร ไม่ได้มีอะไร  ที่นอกเหนือไปจากขันธ์ 5  เลย
      และความจริง คำว่า สัตว์  คำว่า บุคคล  ก็ไม่ได้มีอยู่ ใน ขันธ์ 5 
           เพราะคำว่า สัตว์  คำว่าบุคคล เป็นเพียง คำสมมติ  ที่ใ้เรียก  สิ่งที่มีสภาวะมีอยู่อย่างแท้จริง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน แต่ละชุด แต่ละชุด  เท่านั้นเอง

***************
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=2586&Z=2679
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๔. อนุราธสูตร
ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕

             [๒๐๘] สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนคร
เวสาลี. ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กระท่อมในป่า ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค. 
ครั้งนั้น
อัญญเดียรถีย์ปริพาชก พากันเข้าไปหาท่านพระอนุราธะจนถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระ-
*อนุราธะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
จึงได้กล่าวกะท่านอนุราธะว่า 
  ดูกรท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ทรงถึง
ความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติ ในฐานะ ๔ นี้ คือสัตว์เบื้องหน้าแต่
ตายแล้ว
 
ย่อมเกิดอีก ๑ 
ย่อมไม่เกิดอีก ๑ 
ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ 
ย่อมเกิดอีก
ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้  ๑. (ข้อความในลิงก์ บางส่วนตก เพราะถูกตัดไปอยู่ ในข้อความเหมือนกันที่อยู่ถัดไป(ข้อความเหมือนกันที่อยู่ถัดไปจึงมีข้อความซ้ำ  
ข้อความ 4 ข้อนี้ มีหลายครั้ง ซึ่งจะพูดเหมือนกัน)​

เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอนุราธะได้กล่าวกะอัญญเดียรถีย์
ปริพาชกเหล่านั้นว่า 
ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึง
ความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ 
สัตว์เบื้อง
หน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ 
ย่อมไม่เกิดอีก ๑ 
ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดก็มี ๑ ย่อมเกิดอีก
ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑. 
เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนั้นแล้ว
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่ บวชแล้ว
ไม่นาน ก็หรือว่าเป็นภิกษุเถระ แต่โง่เขลาไม่ฉลาด. 
ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าว
รุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่ และเป็นผู้โง่เขลาแล้ว พากันลุกจากอาสนะ
หลีกไป.
             [๒๐๙] เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น หลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มี
ความคิดว่า ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น พึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะ
ชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าวตามที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง
 และพึงพยากรณ์ธรรม
สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.
    
     ลำดับนั้น ท่านพระอนุราธะ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วกราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า 
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กระท่อมในป่า ไม่ไกล
พระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นอันมาก พากันเข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่
อยู่ ฯลฯ กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านพระอนุราธะ พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็น
ยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติในฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดก็หา
มิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ๑. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้
แล้ว 
ข้าพระองค์จึงได้กล่าวกะพวกเขาว่า ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรง
เป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติ นอกจากฐานะ ๔
เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อม
ไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
ข้าพระองค์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ภิกษุนี้
จักเป็นภิกษุใหม่ บวชไม่นาน ก็หรือว่าเป็นเถระ แต่โง่เขลาไม่ฉลาด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น รุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่า เป็นผู้ใหม่ เป็นผู้เขลาแล้ว ลุกจาก
อาสนะหลีกไป. เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น หลีกไปแล้วไม่นาน ข้าพระองค์เกิดความ
คิดว่า ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น พึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่า
ไม่เป็นผู้กล่าว ตามที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควร
แก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.
             [๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า 
ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
             อ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. เพราะเหตุนี้แล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า
ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
             [๒๑๑] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นรูปว่า
เป็นสัตว์บุคคลหรือ
?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นสัตว์บุคคลหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             [๒๑๒] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า
สัตว์บุคคลใน
รูปหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในเวทนาหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสัญญาหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสัญญาหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสังขารหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในวิญญาณหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             [๒๑๓] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์
บุคคลมีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ 
อย่างนั้นหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             [๒๑๔] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์
บุคคลนี้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. ดูกรอนุราธะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ เธอค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ใน
ปัจจุบันไม่ได้เลย 
ควรแลหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ถึง
ความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะบัญญัติ ย่อมบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่
ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีก
ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑?
             อ. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
             พ. ถูกละๆ อนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและทั้งบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์
จบ สูตรที่ ๔.
**************
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่