อยากรู้ว่าสมัยนี้การนับ Gen ของไอดอลคือตามใจฉันเลยหรือเปล่าคะ ?

เทียบกันง่าย ๆ 
2 ตัวอย่าง

1. SNSD เบอร์หนึ่ง 2nd Gen -- ลากยาวตั้งแต่ ปี 2009 - 2016 = 8 ปี 
ในช่วง 2011-2016 มีวงดังๆ รุ่นใหม่ขึ้นมา เช่น ซิสตาร์ / เอพิงค์   แต่แฟนคลับของสองวงนี้ไม่เคลมว่าเป็นเบอร์หนึ่งของ Gen 3 แล้วผลัดใบไปแบบเนียนๆ 
ก็อยู่ในเจน 2 นั่นแหละ จนSNSD ค่อยๆ เฟดออก และมี ทไวซ์ กับ ยอจาชินกู ขึ้นมาดัง 

2. Blackpink ดังหลังทไวซ์ และยอจาชินกู แต่ก็มาลากยาวจนปัจจุบัน 2018 - 2022 = 5 ปี แต่ปรากฎว่าช่วงที่Blackpink ดังมากๆ มีวงน้องใหม่เดบิวต์และดังไวเช่นกัน เลยพากันเปลี่ยนเจน ไปแย่งกันเป็นเบอร์หนึ่งในเจน 4 กันเลย

คือจริงๆแล้วไม่ได้มีกำหนดตายตัว ถูกต้องไหมคะ ว่า เจน 1-2-3-4 คือเดบิวต์ในช่วงนั้น ช่วงนี้ แต่ละเจนต้องกำหนดไว้ 4 ปี 8 ปี บลาๆๆ 

แต่ใช้ความรู้สึกเองว่า ถ้าไม่สามารถก้าวผ่านวงที่เป็นอันดับ 1 ในปัจจุบัน ก็ผลัดเจนไปเลย เพราะอย่างน้อยจะได้ ใช้คำว่า เบอร์ 1 เจน... ได้ 
แล้วอย่างนี้ เจน 5-6-7-8-9 ไม่ผลัดเจนกันไวมากขึ้นเหรอคะ เพราะไอดอลยุคหลังทำลายสถิติกันเป็นว่าเล่น (ไม่ได้หมายความว่าทำลายสถิติได้คือก้าวข้ามวงที่เป็นที่ 1 ในยุคนั้นไปได้นะคะ) แต่รู้สึกว่า เออมันไวกันไปมาก ๆ แปปๆมาเจน 3 เจน 4 ไปแล้ว

ทั้งๆที่ยุค 2009 - 2016 วงที่ปังมากๆ แต่ก้าวไม่พ้นโซชิก็ไม่เห็นจะเคลมว่าเป็นที่ 1 ของเจน 3 แล้วนับเจนเองต่อๆไปเลย

เลยด่วนสรุปเองไปว่า สมัยก่อนแต่ละเจนจะผลัดกันก็ต่อเมื่อรุ่นพี่ค่อยๆจางลง แต่ปัจจุบันแต่ละเจนเหมือนจะระบุไปเลยว่าผลัดทุก 4 ปี เพื่อสร้างที่ยืนให้วงรุ่นน้องได้มีบทบาทในฐานะตัวท้อป ถูกไหมคะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
การนับเจนมันมีระยะช่วงปีที่ค่อนข้างได้รับการยอมรับจากแฟน K-Pop ส่วนใหญ่อยู่ครับ
โดยการนับเจนมันไม่ได้นับจากว่าวงไหนเข้ามาเป็นเบอร์ 1 หรือเข้ามา Dominate วงการเพลงในตอนนั้น
แต่นับจากช่วงปีที่เดบิวต์ โดยมีปัจจัยเสริมคือช่วงอายุของไอดอล การเล่นข่าวของสื่อที่ต้องเล่นพร้อมๆกันโดยสำนักข่าวใหญ่ที่น่าเชื่อถือหลายๆแห่ง
และสิ่งแวดล้อมที่เป็นบริบทโดยรอบ เช่น พฤติกรรมการฟังเพลงของคนฟัง และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในการเสพสื่อบันเทิงในรูปแบบเพลง

เจน 1 = นับจากวงที่เดบิวต์ตั้งแต่ปี 1996-2002
   - ไอดอลส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นปลายเจน X ถึงต้นเจน Y
   - พฤติกรรมการฟังเพลงของคนฟังเน้นซื้อ Physical Album เพราะเป็นช่องทางเดียวที่จะสามารถเข้าถึงผลงานเพลงของศิลปินได้ในตอนนั้น
   - ความดังของไอดอลกระจุกอยู่แต่ในเกาหลี ยังไม่เป็น Phenomenon ในระดับภูมิภาค

เจน 2 = นับจากวงที่เดบิวต์ตั้งแต่ปี 2003-2011
   - ไอดอลแทบทั้งหมดในเจน 2 เป็นคนรุ่นเจน Y
   - เริ่มมีทางเลือกในการฟังเพลงผ่าน Digital Platform เข้ามา เช่น Melon Chart
   - ยอดขาย Physical Album ลดลงจากเจน 1 เพราะคนฟังเข้าถึงการฟังเพลงได้มากขึ้น
   - แต่เจน 2 เป็นเจนที่ทำให้กระแส K-Pop โด่งดังเป็นอย่างมากในระดับภูมิภาค
         - เป็นยุคที่ K-Pop โด่งดังไปทั่วทั้งเอเชีย โดยเฉพาะโซนเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
   - ก่อกำเนิดคำว่า Hallyu Wave
   - เป็นจุดเริ่มต้นของการเป็น Worldwide Phenomenon ของ K-Pop
   - YouTube เริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการเพลง K-Pop แต่ยังไม่มากเท่ากับเจนถัดไป
          - ในยุคเจน 2 ครองวงการเพลงเกาหลีโดยเฉพาะช่วงปลายยุค (2011-2015) ยอดวิวเกิน 100 ล้านวิวถือว่าสูงมากระดับปรากฏการณ์

เจน 3 = นับจากวงที่เดบิวต์ตั้งแต่ปี 2012-2017
   - ไอดอลส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นกลาง-ปลายเจน Y ถึงต้นเจน Z
   - YouTube มีบทบาทมากขึ้นกว่าในยุคของเจน 2
          - ยอดวิว 100 ล้านวิวไม่ใช่ยอดที่สูงมากอีกต่อไป ต้องมากกว่า 200-300 ล้านวิวจึงจะเรียกว่า "ยอดวิวสูง"
   - เป็นเจนที่ทำให้ K-Pop ไม่ใช่แค่ Asia Phenomenon แต่ขยายไปเป็น Worldwide Phenomenon
   - การเข้าถึงสินค้าเกี่ยวกับ K-Pop ทำได้ง่ายขึ้น ทำให้ยอดขายอัลบั้มของไอดอลเจน 3 เพิ่มสูงขึ้นจากยอดขายอัลบั้มของไอดอลเจน 2
          - และเกิดปรากฏการณ์ล้านแตกในอัลบั้มเดียวกับวงในรุ่นอย่าง EXO, BTS, NCT, Seventeen และ Blackpink
             ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นในช่วงของเจน 2 ถ้าจะสืบย้อนไปว่าไอดอลก่อนหน้าเจน 3 วงไหนเคยขายอัลบั้มได้เกิน 1 ล้านก๊อปปี้ในอัลบั้มเดียว
             ก็ต้องย้อนไปถึงยุคของไอดอลเจน 1 เลย ซึ่ง ณ ตอนนั้นเป็นยุคที่ Physical Album เป็นช่องทางเข้าถึงผลงานเพลงหลัก
   - Spotify เริ่มเข้ามามีบทบาทในความสำเร็จของไอดอล K-Pop

เจน 4 = นับจากวงที่เดบิวต์ตั้งแต่ปี 2018-ปัจจุบัน
   - ไอดอลแทบทั้งหมดเป็นคนรุ่นเจน Z
   - ช่องทางการฟังเพลง K-Pop หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็น YouTube, Melon, Spotify และอื่นๆ
   - ได้รับเอฟเฟ็กต์จากไอดอลรุ่นเจน 3 ทำให้เจน 4 เป็นรุ่นที่ทำยอดขายอัลบั้มได้ค่อนข้างสูงถ้าเทียบกับรุ่นพี่
    สังเกตว่าวงไอดอลเจน 4 ยอดขายอัลบั้มเกินแสนกันเป็นว่าเล่น ในขณะที่เจน 2-3 วงไหนมียอดขายอัลบั้มเกินแสนถือว่าปังมากแล้ว
    และยอดขายอัลบั้มเกินล้านไม่ใช่เรื่องเกินฝันอีกต่อไป เพราะ ณ ตอนนี้มีไอดอลเจน 4 ถึง 2 วงแล้ว
    ที่มียอดขายอัลบั้มเกิน 1 ล้านก๊อปปี้ต่ออัลบั้มเดียว คือ Stray Kids และ Enhypen และยังมีวงที่โอกาสล้านแตกในอัลบั้มเดียวสูงมาก
    อยู่อีกหลายวง เช่น TXT, Treasure, Ateez, The Boyz และ aespa
   - แต่ในขณะเดียวกัน เจน 4 ก็เป็นรุ่นที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 หนักกว่ารุ่นพี่ๆ ซึ่งสร้างความแตกต่างจากเจน 1-3 ชัดเจน
    ในขณะที่วงเจน 1-3 ได้มีประสบการณ์ทัวร์คอนเสิร์ตพบปะแฟนคลับแบบ In-Person บ่อยๆ รวมไปถึงแฟนไซน์แบบเจอตัวแฟนคลับจริง
    เจน 4 เป็นรุ่นที่ต้องชินกับการทำ Online Concert, Online Event และ Video Call Sign มากกว่าการได้เจอกับแฟนคลับแบบตัวต่อตัว
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ก้คือต้องรอให้ BP ลงมาก่อน หรือมีคนไปแทนใช่มั้ยคะถึงเปลี่ยนเจนได้ โอเคร แกร

สรุปคือตั้งกระทู้มาบอก สาวรถเครื่องว่า พวกเทอไม่ใช่เบอร์ 1 เจน 4 นะ เจน 3 ยังอยู่เลย เข้าใจมั้ย

เนี่ยแหละสาระทั้งหมดของกระทู้นี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่