ดีล SCBX ฮุบ Bitkub เริ่มเสี่ยง ได้ไม่คุ้มเสีย?
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9650000022350
มีคนได้ ก็มีคนเสียอะนะฮะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เมื่อข่าวว่าท็อปจบดีลกับไทยพาณิชย์ได้เมื่อวันที่ 2 พ.ย.2564 จึงทำให้หลายคนประหลาดใจ แน่นอนว่า ฝ่าย SCBX ก็ไม่ได้จีบแค่ท็อปคนเดียว แต่สิ่งที่เป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ในกลุ่มแฟนคลับของบิทคับ คือ ทำไมเขาจึงยอมเสียการบริหารบริษัทที่ตัวเองก่อตั้งมากับมือโดยยอมขายให้ไทยพาณิชย์มากถึง 51% เหลือสถานะแค่ผู้ถือหุ้นจนแฟนคลับบางกลุ่มรับไม่ได้ถอนตัว ปิดบัญชีไปเลยก็มี
ก่อนหน้านี้ เคยมีการซื้อขายหุ้นในธุรกิจตลาดเทรดคริปโตฯ และโบรกเกอร์คริปโตฯ รายอื่นๆ ให้ผู้เล่นรายใหญ่เกิดขึ้นบ้าง เช่น การเข้าถือหุ้นใน Zipmex ของธนาคารกรุงศรีฯ แต่ก็ไม่ใช่สัดส่วนที่สูงถึง 51% เหมือนกรณี SCBX กับบิทคับ
ในวงการสตาร์ทอัป ว่ากันว่า จุดหมายปลายทางของธุรกิจเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งหรือจุดพีก ผู้ก่อตั้งที่มองเห็นโอกาสมักจะขายธุรกิจเพื่อทำกำไร หรือ “EXIT” ออกมาพร้อมกับเงินก้อนโตที่ได้จากนักลงทุน หรือผู้เล่นรายใหญ่ที่เข้ามาเทกโอเวอร์กิจการ เพื่อไปหาความท้าทายใหม่ หรือปั้นธุรกิจใหม่ย่อมดีกว่า และเป็นวิถีที่สตาร์ทอัปกระทำกัน เพราะ “จังหวะ” คือ “โอกาส” นั่นเอง
“SCB เวลานั้นต้องการหาการฟื้นตัว หาธุรกิจใหม่เพื่อการเติบโต และอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วคือ Start Up โดย Start Up ที่เป็นไฟแนนซ์และเติบโตเร็วที่สุดก็ต้องตลาดคริปโตเคอร์เรนซี นั่นจึงทำให้ก่อนที่จะมาจบดีลกับ Bitkub นั้น SCB มีการส่งทีมงานผู้คุยกับ Exchange ที่มีใบไลเซนส์จากคณะกรรมการกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทุกราย เพราะเขาสนใจเข้าลงทุนเพื่อให้มาเป็นธุรกิจหลักในอนาคต แต่หลายบริษัทเขามองต่างว่า นี่คือธุรกิจหลักที่กำลังเติบโตอยู่ในปัจจุบัน และไม่ต้องการให้มีใครเข้ามาควบคุมหรือแบ่งปันอำนาจเลยมีการปฏิเสธไป แต่เผอิญการพูดคุยกัย Bitkub มันประสบความสำเร็จ จึงเกิดดีลนี้ขึ้น” แหล่งข่าวในวงการตลาดคริปโตฯ แสดงความเห็น
“นอกจากนี้ นี่เป็นความฉลาดท็อป-จิรายุสเจ้าของ Bitkub ที่มองออกว่า ตลาดในช่วงนั้นสำหรับบิทคับน่าจะเป็นจุดสูงสุด (Peak) แล้ว ดังนั้น การที่ได้รับโอกาสเป็นเม็ดเงินที่เหมาะสม จึงไม่แปลกที่ยอมขายหุ้นบางส่วนออกมาเพื่อทำกำไร มันก็เหมือนกับหลายธุรกิจอื่นๆ ที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้ เมื่อมีรายใหญ่เข้ามาซื้อกิจการส่วนมากก็จะเป็นช่วงที่อยู่บนจุดสูงสุดของบริษัทนั้นแล้ว ขายไปแล้วได้กำไรได้เงิน อนาคตจะออกไปเปิดใหม่อีกย่อมทำได้” แหล่งข่าวกล่าวและว่า นี่เป็นอีกสิ่งที่จะทำให้ในอนาคตตลาดคริปโตฯ เมืองไทยหวือหวานั่นคือราคาประเมินในดีลดังกล่าวที่สูงมาก นั่นย่อมทำให้ต่อไป หากธนาคารไหนสนใจจะเข้าเทกโอเวอร์ Exchange แบบนี้ต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้ามาลงทุน บนความเสี่ยงที่มีอยู่
นั่นหมายความว่า เมื่อไรก็ตามที่ซูเปอร์ดีลนี้จบสมบูรณ์ SCBX เดินไปบนความเสี่ยงของธุรกิจบิทคับแต่สำหรับกับ “ท็อป-จิรายุส” มีแต่ได้กับได้ มีคนมาช่วยรับความเสี่ยงไป และ ยัง Exit ออกมาด้วยเม็ดเงิน 1.78 หมื่นล้าน นับกันเพลินๆ มองหาโอกาสใหม่ให้ตัวเองสบายๆ และยังสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง หลัง SCBX ใส่เงินลงทุนมา บิทคับ ที่ก่อตั้งกลายเป็น “ยูนิคอร์น” ติดปีกบินเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในแวดวงสตาร์ทอัปเมืองไทยอีกด้วย
ดีล SCBX ฮุบ Bitkub เริ่มเสี่ยง ได้ไม่คุ้มเสีย?
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9650000022350
มีคนได้ ก็มีคนเสียอะนะฮะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้